Top Banner
28

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์...

Sep 28, 2020

Download

Documents

dariahiddleston
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
Page 2: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
Page 3: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

Page 4: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจ�ากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ (Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality)

ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๗๘๕๓-๒๐-๘

ผู้เขียน : ศาสตราจารย์ดร.ชาญณรงค์พรรุ่งโรจน์

จัดพิมพ์โดย : ส�านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ชั้น๒๔อาคารพญาไทพลาซ่าเลขที่๑๒๘ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไทเขตราชเทวีกรุงเทพฯ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์:๐๒๒๑๖๓๙๕๕ โทรสาร :๐๒๒๑๖๕๐๔๓-๖ E-mail :[email protected] http://www.onesqa.or.th

พิมพ์ครั้งที่๑ : ตุลาคม๒๕๕๘

จ�านวน : ๑๐,๐๐๐เล่ม

ออกแบบ-พิมพ์ที่ : บริษัทซีโนพับลิชชิ่งแอนด์แพคเกจจิ้งจ�ากัด โทรศัพท์:๐๒๙๓๘๓๓๐๖-๘ โทรสาร :๐๒๙๓๘๐๑๘๘ E-mail :[email protected]

ข้อมูลทางบรรณานุกรม หอสมุดแห่งชาติNationalLibraryofThailandCataloginginPublicationData

ศาสตราจารย์ดร.ชาญณรงค์พรรุ่งโรจน์. ก้าวข้ามขีดจ�ากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ. -- กรุงเทพฯ : ส�านักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน),๒๕๕๗. ๒๔หน้า ๑.การศึกษา.I.ชื่อเรื่อง.๓๗๐ISBN๙๗๘-๖๑๖-๗๘๕๓-๒๐-๘

หนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของส�านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) การพิมพ์ซ�้าหรือการน�าข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ไปเผยแพร่ ไม่ว่าโดยวิธีการใด ก็ตาม จะต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากส�านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา(องค์การมหาชน)

Page 5: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

คำานำา ๕

ปัญหาการศึกษา ๗

ก้าวข้ามขีดจำากัด ๑๑

สหัสวรรษแห่งคุณภาพ ๑๖

ส ารบัญ

Page 6: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
Page 7: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

หนังสือฉบับน้ี จัดท�าขึ้นเพื่อใช้ในการประชุมวิชาการระดับชาติและ

นานาชาติ ประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา

“ก้าวข้ามขีดจ�ากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ” เน่ืองในโอกาสครบรอบ ๑๕ ปี

ส�านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

ระหว่างวนัที่๑๔-๑๖ตลุาคม๒๕๕๘ณศนูย์นทิรรศการและการประชมุไบเทค

ส�านกังานรบัรองมาตรฐานและประเมนิคณุภาพการศกึษา(องค์การมหาชน)

ท�าหน้าทีพ่ฒันาเกณฑ์วธิกีารประเมนิคณุภาพภายนอกและท�าการประเมนิผลการ

จัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยค�านึงถึงความ

มุง่หมายและหลกัการและแนวการจดัการศกึษาในแต่ละระดบัตามทีก่�าหนด

คณุภาพการศกึษาของไทยต้องพฒันาอย่างต่อเนือ่งได้ตามความคาดหวงั

ของสงัคมถ้าทกุคนทกุสถานศกึษาทกุหน่วยงานไม่จ�านนต่อปัญหาอปุสรรคหรอื

หวงัรอการช่วยเหลอื โดยลกุขึน้มาลงมอืท�า ร่วมมอืร่วมใจ “ก้าวข้ามขดีจ�ากดั”

เพื่อมุ ่งความส�าเร็จของศิษย์เป็นส�าคัญก็เชื่อได้ว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนไป

และสามารถบรรลสุูเ่ป้าหมายแห่งคณุภาพได้ในไม่ช้า

ศาสตราจารย์ดร.ชาญณรงค์พรรุง่โรจน์

คำานำา

Page 8: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
Page 9: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

ด้วยประเทศไทยก�าลงัจะก้าวเข้าสูแ่ผนพฒันาเศรษฐกจิและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ประชาชนทุกภาคส่วนจะได้ร่วมระดม ความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อก�าหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนา ประเทศรวมถงึการก�าหนดยทุธศาสตร์เพือ่น�าไปสูก่ารพฒันาประเทศอย่างยัง่ยนืโดยในการเตรียมแผนพัฒนาดังกล่าวจะต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและประเมินผลการด�าเนินการตามแผนที่ผ่านมาในทุกๆ ด้าน ซ่ึงสภาวการณ ์ด้านการศึกษาของไทยที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยมีการจัดสรรงบประมาณ ด้านการศึกษามากท่ีสุดและเพิ่มมากขึ้นเป็นล�าดับ แต่ผลการจัดการศึกษา กลบัไม่สอดคล้องกบังบประมาณและแม้จะมคีวามพยายามปฏริปูการศกึษาแล้ว หลายครั้งก็ตามแต่ปัญหาการศึกษาส�าคัญหลักๆยังคงมีอยู่ดังนี้

ปัญหาการศึกษา

Page 10: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

๑. การขาดความต่อเนื่องเชิงนโยบาย

การขาดความต่อเนือ่งเชิงนโยบายอนัเนือ่งมาจากปัญหาการเปลีย่นรฐับาลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหารระดับสูงนโยบายที่ก�าหนดขึ้นส่งผลกระทบต่อผู้เรียนตั้งแต่ตัวป้อนเช่น

๑) การปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจากรายวิชาเป็นกลุ่มสาระ การเรียนรู้ วิชาส�าคัญถูกกลืนหายไปอาทิ ศีลธรรมประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมืองส่งผลให้ตัวป้อนเข้าสู่อุดมศึกษาขาดคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ก่อให้เกิดผลกระทบในระยะยาว

๒) นโยบายการไม่มรีะบบการตกซ�า้ชัน้มเีดก็ทีอ่่านไม่ออกเขยีนไม่ได้ใน ปัจจุบันมากถึงร้อยละ ๓๐ ทั่วประเทศ ผลคะแนน G-PAX เฉล่ีย เฟ้อและเพิ่มขึ้นทุกปีมีการตกเขียวเด็กตั้งแต่เรียนมัธยมศึกษาปีที่๔ เพื่อให้ได้จ�านวนเด็กเข้าเรียนโดยค�านึงถึงปริมาณเป็นส�าคัญ

๓) นโยบายการบรหิารจดัการโรงเรยีนขนาดเลก็มกีารเปลีย่นแปลงบ่อย ขาดความชัดเจน ในขณะท่ีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นโรงเรียน ขนาดเล็กมีมากถึงประมาณ ๒๐,๐๐๐ แห่ง ปัญหาครูไม่ครบชั้น งบประมาณไม่เพียงพอและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนต�่า

๔) นโยบายเงินกู้เพื่อการศึกษาถือเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ส�าหรับ เยาวชนท่ีมีปัญหาสถานภาพทางครอบครัว หากแต่การเปิดกว้าง และขาดการคัดกรองหรือตรวจสอบอย่างเข้มข้น จึงกลายเป็น การสร้างค่านยิมทีไ่ม่ถูกต้องให้กบัเยาวชนเกดิปัญหาการไม่ช�าระหนี้ ขาดวินัยตั้งแต่การใช้ชีวิตในวัยเรียน

๕) นโยบายการปรับเงินเดือนปริญญาตรี เป็นการเพิ่มค่านิยมปริญญา ส่งผลกระทบต่ออัตราการเข้าเรียนของนักศึกษาด้านอาชีวศึกษา ลดต�า่ลงท�าให้ภาคอตุสาหกรรมขาดแคลนแรงงานฝีมอืเพราะผูเ้รยีน ทะลักเข้าสู ่สายสามัญในระบบอุดมศึกษามากเกินความจ�าเป็น ทั้งๆที่ส่วนหนึ่งจบมาแล้วตกงานหรือต้องท�างานต�่ากว่าวุฒิ

Page 11: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

๒. การขาดการกำากับเชิงปริมาณ

การขาดการก�ากับเชิงปริมาณ มีการขยายตัวในการจัดการศึกษา ค่อนข้างสูงแต่เป็นการขยายตัวแบบอิสระไร้ทิศทางส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการในภาพรวมเช่น

๑) การเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน (Supply Side)มากกว่าความจ�าเป็นและความต้องการของสังคม(Demand Side) เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ การลงทุน และกลายเป็น ความสูญเปล่า(OverProduction)ทางการศึกษา

๒) ข้อมูลด้านการศึกษาไม่เป็นปัจจุบัน อาทิ ข้อมูลจ�านวนอาจารย์ จ�านวนผูเ้รยีนขาดการจดัเกบ็อย่างเป็นระบบขาดการจดัส่งข้อมลูที่ เป็นปัจจุบัน และขาดการก�ากับดูแลจากส่วนกลาง ท�าให้มีความ คลาดเคลือ่นด้านข้อมลูอนัส่งผลกระทบต่อการตดัสนิใจเชงินโยบาย

๓. การขาดการควบคุมคุณภาพ

การขาดการควบคุมคุณภาพด้วยสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลีย่นแปลงเพือ่การเข้าสูป่ระชาคมอาเซียนตลอดจนการปรบัเปลีย่นสถานภาพของสถาบันอุดมศึกษา ส่งผลให้การจัดการศึกษามุ่งเน้นการจัดการเชิงธุรกิจ การศกึษากลายเป็นสนิค้าทีจ่ดัขึน้เพือ่ตอบสนองความต้องการของผูเ้รยีนคณุภาพอาจารย์และหลักสูตรยังไม่เอื้อต่อการผลิตบัณฑิตอุดมศึกษาที่มีคุณภาพเช่น

๑) สถาบนัอดุมศกึษามุง่เป็นมหาวทิยาลยัสมบรูณ์แบบ(Comprehensive University) มีการขยายตัวของมหาวิทยาลัย คณะ/ภาควิชาอย่าง ต่อเนื่อง แต่การผลิตอาจารย์ที่มีคุณภาพไม่ทันต่อการขยายตัว อาจารย์ได้รับการพัฒนาไม่เพียงพอ ผลงานวิจัยมีน้อยและไม่ตอบ สนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่

Page 12: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

๒)การกระจายอ�านาจการบริหารให้กับสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมีอ�านาจ ในการอนุมัติหลักสูตรและการเปิดการเรียนการสอน ส่งผลให้มี หลกัสตูรรวมถงึการจดัการศกึษานอกทีต่ัง้เป็นจ�านวนมากทัง้ทีห่ลาย แห่งขาดความพร้อมไม่ว่าด้านเครือ่งมอืสถานที่และบคุลากรดงันัน้ คุณภาพของสภามหาวิทยาลัยมีผลต่อคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับ มหาวิทยาลัยและภาพรวมของประเทศ

ถึงแม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ แต่ทุกคนไม่อาจละเลยหรือเพิกเฉยต่อปัญหาเหล่าน้ันได้ และจะ ต้องไม่น�าปัญหาอุปสรรคมาเป็นข้อจ�ากัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการศึกษาซึ่ง ถือเป็นหัวใจส�าคัญในการพัฒนาคนให้เป็นคนคุณภาพ เป็นก�าลังส�าคัญใน การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลและยั่งยืน

๑๐

Page 13: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

“เมื่อจะทำางานอย่าหยิบยกเอาความขาดแคลนเป็นข้ออ้างจงทำางานท่ามกลางความขาดแคลนให้บรรลุผล

จงทำาด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อวันที่๔พฤศจิกายน๒๕๑๘

ก้าวข้ามขีดจำากัด

๑๑

Page 14: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

สอดคล้องกบัแนวคดิ“ก้าวข้ามขดีจ�ากดั”ส�าหรบัใช้ในการด�ารงชวีติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานที่จะต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคอย่างมากมายเป็นการสร้างความพร้อมในการทีจ่ะก้าวไปข้างหน้าด้วยความรูค้วามสามารถและศักยภาพที่ตนมี

แนวคดิการ“ก้าวขา้มขดีจำากดั”ประกอบดว้ยคำาสำาคญัดังนี้

๑. “ข้อจ�ากัด” หมายถึง ปัญหา อุปสรรค หรือเงื่อนไขที่ส่งผลให้ ไม่สามารถด�าเนินการไปสู่เป้าหมายตามความต้องการหรือความ ปรารถนาที่ตั้งไว้ เช่น ครูไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ในสถานศึกษา ครูขาดความรู้ความสามารถเน่ืองจากสอนไม่ตรง กบัความเชีย่วชาญหรอืคณุวฒุิขาดบคุลากรสายสนบัสนนุทางธรุการ เป็นต้นดงันัน้ข้อจ�ากดัของแต่ละคนหรอืหน่วยงานอาจไม่เหมอืนกนั

๒. “ขีดจ�ากัด” หมายถึง ระดับความสามารถในการจัดการกับ ปัญหาอปุสรรคและเงือ่นไขต่างๆ ภายใต้สถานการณ์หรอืข้อจ�ากดั ท่ีปรากฏ ซ่ึงขีดจ�ากัดของแต่ละบุคคลหรือหน่วยงานอาจไม่เท่ากัน เช่นบางมหาวิทยาลัยอาจมีขีดจ�ากัดด้านการวิจัยบางมหาวิทยาลัย มีขีดจ�ากัดด้านการพัฒนาบุคลากรเป็นต้น

๓. “ก้าวข้ามขีดจ�ากัด” หมายถึง ความสามารถในการด�าเนินการให ้ บรรลุเป้าหมายภายใต้ปัญหา อุปสรรค หรือเงื่อนไขต่างๆ เช่น การรวมกลุ่มของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได ้ ครบทกุชัน้โรงเรยีนขนาดเลก็ทีข่าดแคลนมกีารร่วมแบ่งปันทรพัยากร ทางการศึกษา การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการน�า ปราชญ์ชุมชน พระสงฆ์ ครูที่เกษียณแล้วหรือผู้ปกครองที่มีความรู้ ความสามารถมาช่วยสอนเป็นต้น

๑๒

Page 15: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

ทั้งนี้ “ข้อจ�ากัด” หรือ “ขีดจ�ากัด” สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเผชิญกับปัญหาอุปสรรคหรือเงื่อนไขต่างๆการก้าวข้ามขีดจ�ากัดเป็นการสร้างความพร้อมใน การเผชิญปัญหา โดยการดึงศักยภาพของตนเองหรือผู้อื่นมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการ“ก้าวข้ามขีดจำากัด”

๑ ปรับความคิด จากค�าพูดท่ีว่า “เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปล่ียน” “คิดอย่างไร ก็ได้อย่างน้ัน” แสดงให้เห็นว่าความคิดมีความส�าคัญ ต่อชีวิตคนมากเพียงใด ซ่ึงเม่ือพิจารณาความหมายของค�าแล้ว จะพบว่า “คิด” หมายถึง ท�าให้ปรากฏเป็นเรื่องขึ้นในใจ และ “ความคิด” หมายถึง ความรู ้ที่ เ กิดขึ้นภายในใจและเกิด การแสวงหาความรู้ต่อไป การคิดจึงมีความส�าคัญและมีผลต่อการ ด�าเนนิชวีติของคนอย่างยิง่ดงันัน้การทีจ่ะก้าวข้ามขดีจ�ากดัได้จงึต้อง อาศัยหลักการคิด๓ลักษณะคือ

l คดิดีคอืต้องคดิแต่ในสิง่ทีด่ีๆ คดิเชิงบวกมองหาสิง่ดีๆ เช่นคดิถงึ เป้าหมายคิดถึงอนาคตคิดถึงผลที่จะได้รับคิดถึงความก้าวหน้า ในอนาคต เป็นต้น ท้ังน้ีเพื่อเป็นการสร้างขวัญก�าลังใจ เปลี่ยน มุมมองจากวิกฤติให้เป็นโอกาสน�าปัญหาอุปสรรคและข้อจ�ากัด ต่างๆมาเป็นแรงผลักดันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ก�าหนดไว้

l คิดเป็นคือต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์เพื่อให้เกิด ความชัดเจน เห็นมุมมองท่ีหลากหลาย เครื่องมือที่จะน�ามาใช้ก็ จะหลากหลายจนไม่มีข้อจ�ากัด อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง

“ปรับความคิดเปลี่ยนการกระทำาสร้างความหวังปลุกพลังส่วนรวมร่วมสร้างเครือข่าย”

๑๓

Page 16: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

l คิดเป็นไปได้คือคิดสร้างอนาคตที่ประสบความส�าเร็จซึ่งจะต้อง มกีระบวนการคดิทีม่รีะบบและน�ามาปฏบิตัจิรงิได้จนเป็นผลส�าเรจ็ ในขณะเดียวกันก็มีความคิดว่า สิ่งที่คิดฝันไว้ย่อมเป็นไปได ้ แล้วมุ่งสู่ความส�าเร็จ

๒ เปลี่ยนการกระท�า

การพัฒนา คือ การท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยกระบวนการท�างานอย่างเป็นระบบการพฒันาสามารถด�าเนนิการได้เรือ่ยๆเพือ่ให้เหมาะสมกบัสภาพการณ์ในขณะนัน้ๆรวมถึงเพือ่เตรยีมความพร้อมในอนาคตต่อไป

สิ่งส�าคัญที่ท�าให้เกิดการพัฒนา คือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นความสามารถของมนุษย์ในการคิดค้นประดิษฐ์สร้างหรือผลิตสิ่งใหม่ขึ้นให้ปรากฏเป็นรูปธรรมหรือ “นวัตกรรม” ซ่ึงก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง ต่อชีวิตของตนเองและสังคมส่วนรวม ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้หมดสิ้นไปได้ ดังนั้น ความคิดสร้างสรรค์จึงม ีความส�าคัญต่อมนุษย์และสังคมเป็นอย่างมากจนอาจกล่าวได้ว่าหากปราศจากความคิดสร้างสรรค์แล้ว โลกของเราจะไม่อาจวิวัฒนาการไปได้หรือไม่อาจเกิด การพัฒนาหรือเจริญก้าวหน้าได้อย่างเช่นทุกวันนี้

ในการพัฒนาการศึกษา บุคลากรทางการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนการ กระท�าโดยการรเิริม่สร้างสรรค์สิง่ใหม่ๆมานะมุง่มัน่โดยไม่ย่อท้อแม้จะพบปัญหาอุปสรรค เมื่อมีความตั้งใจท่ีจะอุทิศตนและทุ่มเทก�าลังความรู้ความสามารถแล้วย่อมส่งผลให้เกดิวถิชีวีติอย่างเตม็ก�าลงัความสามารถเมือ่ทกุคนมคีวามมุง่ม่ันอตุสาหะทุ่มเทเพื่อเป้าหมายส�าคัญนั่นคือศิษย์และเมื่อสามารถปรับเปลี่ยนการกระท�าสร้างพฤติกรรมพฤติกรรมก็จะส่งผลให้เกิดวิถีชีวิตคุณภาพขึ้นในที่สุด

๑๔

Page 17: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

๓ สร้างความหวัง

ความหวัง คือ ความมุ่งมั่นหรือแรงผลักดันที่ก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การสร้างความหวังก็เพื่อทลายก�าแพงแห่งความกลัว และปัญหาอุปสรรค เพื่อผลักดันไปสู ่ความส�าเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส�าหรับการพัฒนาการศึกษา ความหวงัของทกุคนคอืการเหน็การศกึษาไทยมคีณุภาพความหวงัของครอูาจารย์คือคุณภาพศิษย์

ดังนั้น ความหวังจึงเป็นตัวท�านายที่ส�าคัญของความพึงพอใจในชีวิต และการเผชิญกิจกรรมต่างๆ

๔ สร้างการมีส่วนร่วม

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะส�าเร็จได้ก็ด้วยความร่วมมือจากทุก ภาคส่วนของสงัคมไม่ว่าจะเป็นสถานศกึษาทีต้่องจดัการศกึษาให้มคีณุภาพนกัเรยีนผู้ปกครองต้องได้รับข้อมูลคุณภาพของสถานศึกษาเพ่ือใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกเรียน รัฐบาลต้องมีร่วมรับผิดชอบต่อระบบการศึกษาของประเทศ รวมถงึการสนบัสนนุงบประมาณทีเ่หมาะสมดงันัน้ จงึต้องปลกุพลงัการมส่ีวนรวมเพ่ือให้ทกุภาคส่วนได้มส่ีวนร่วมในการพฒันาได้รบัรูถ้งึปัญหาตลอดจนร่วมลงมอืท�าเพิ่มขึ้น

๑๕

Page 18: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

วัฒนธรรมคุณภาพ เป็นหัวใจส�าคัญของการพัฒนา หากองค์กรขาดวฒันธรรมการท�างานทีม่ปีระสทิธภิาพกจ็ะส่งผลให้การขบัเคลือ่นการพฒันาเป็นไปด้วยความยากล�าบาก แต่ในทางกลับกันหากองค์กรใดมีวัฒนธรรมองค์กรที ่เข้มแข็งการพัฒนาไม่ว่าด้านใดๆก็ย่อมประสบความส�าเร็จได้โดยง่าย

เมือ่การประกนัคณุภาพเป็นเสมอืนกระจกสะท้อนให้เหน็จดุเด่นและจดุที่ควรพฒันาของสถานศกึษาดงันัน้การด�าเนนิการเพือ่ให้การศึกษามคุีณภาพและมาตรฐานมีหลักส�าคัญอยู่๓ประการดังนี้

สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

๑๖

Page 19: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

๑ Quality Development (QD) : การพัฒนาคุณภาพ

การพัฒนาคือการท�าให้เจริญขึ้นการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

การพฒันาคณุภาพ คอืการท�าให้เกิดการเปลีย่นแปลงในทกุๆด้านให้ดขีึน้โดยผ่านกระบวนการบรหิารจดัการอย่างเป็นระบบและด�าเนนิการอย่างต่อเนือ่งจนผ่านเกณฑ์หรือตัวชี้วัดที่ก�าหนดและเป็นที่ยอมรับจากสังคม

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการหรือแนวทางใน การยกระดับคุณภาพการศึกษาท่ีมีการด�าเนินการอย่างเป็นระบบ ตามขั้นตอนหรอืแนวทางทีเ่หมาะสมจนผ่านเกณฑ์ทีก่�าหนดเป็นทีย่อมรบัของบคุคลและสังคมกล่าวคือ

(๑) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาต้องเริ่มตั้งแต่ปัจเจกบุคคล เกิดจาก ความเข้าใจ อุทิศและทุ่มเท โดยด�าเนินการอย่างเป็นระบบและ ต่อเนือ่งจนเกดิเป็นวถิชีีวติคณุภาพเพือ่ให้เกดิการพฒันาอย่างยัง่ยนื

(๒) มีการประกันคุณภาพอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย การควบคุม การตรวจสอบและการประเมินผล

ในการประกนัคณุภาพการศกึษาของไทยสถานศกึษาต้องให้ความส�าคญักบัการประกนัคณุภาพภายในหรอืInternalQualityAssurance(IQA)เพราะถอืเป็นกระบวนการส�าคัญที่ด�าเนินการโดยบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อเป็น การประเมินผลและติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา อาศัยกระบวนการวิเคราะห์ SWOT เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพของสถานศึกษาว่ามีจุดเด่น(Strengths)จุดด้อย(Weaknesses)โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) เป็นอย่างไร รวมถึงม ีการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบตามหลักวงจรคุณภาพPDCAประกอบด้วยการวางแผน(Plan)การปฏิบัติงาน(Do)การประเมินผล(Check) และการปรับปรุง (Act) ทั้งนี้ หากสถานศึกษามีการก�ากับ ดูแลและด�าเนินการประกันคุณภาพภายในท่ีดีและมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลให้เกิด คุณภาพตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้

๑๗

Page 20: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

P(Plan) = Priority&Purpose&Plan

D(Do) = Do&Directing&Organizing

C(Check)= Check&Control&Continue

A(Act) = AdjustPlan&ActiontoImprovement

(๓) การพัฒนาต้องด�าเนนิการอย่างต่อเนือ่งบคุลากรต้องได้รบัการพฒันา ปลกูฝังทศันคตทิีถ่กูต้องเพือ่ให้เกดิวถิชีวีติคณุภาพมกีารท�างานอย่าง เป็นระบบเกดิแบบแผนการท�างานทีม่ปีระสทิธภิาพจนเป็นวฒันธรรม คณุภาพขององค์กรถอืเป็นห่วงโซ่แห่งคณุภาพในการพฒันาการศึกษา ของประเทศ

๒ Quality Enhancement (QE) : การส่งเสริมคุณภาพ

วธิกีารส่งเสรมิคณุภาพการศกึษาให้เกดิประสทิธภิาพและประสทิธผิลทีด่ีสถานศึกษาควรด�าเนินการโดยค�านึงถึงการขับเคลื่อนดังนี้

(๑) แรงจูงใจ (Motivation) เพราะแรงจูงใจถือเป็นแรงขับหรือ พลังท่ีกระตุ ้นให้เกิดการด�าเนินการให้บรรลุเป้าหมายหรือ ก้าวข้ามขีดจ�ากัดต่างๆได้

(๒) แรงบันดาลใจ (Inspiration) เป็นพลังอ�านาจในตนเองที่ใช้ใน การขับเคลื่อนการคิดและการกระท�าใดๆเพื่อให้บรรลุผลส�าเร็จ ได้ตามต้องการ

ส�าหรบัการส่งเสรมิ“สองแรงขับ”ส�าคญัให้น�าสูก่ารมคีณุภาพการศกึษาที่ดีนั้น สามารถท�าได้ด้วยการขับเคลื่อนการประเมินคุณภาพภายนอกให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม

ในการประเมินคุณภาพภายนอกหรือExternalQualityAssessment(EQA) สถานศึกษาต้องน�าผลการประเมินท้ังจากการประกันคุณภาพภายใน และผลประเมินภายนอกไปใช้เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

๑๘

Page 21: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

๓ Quality Framework (QF) : กรอบการประกันคุณภาพ

กรอบการประกนัคณุภาพถือเป็นแนวทางการด�าเนนิการประกนัคณุภาพการศึกษาให้ส�าเร็จลุล่วงและเป็นไปตามเกณฑ์และมีมาตรฐานตามก�าหนดปัจจุบันภูมิภาคอาเซียนมีจ�านวนนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเกือบ๒๐ล้านคนจึงมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกในกลุ่มประเทศอาเซียนภายใต้ชื่อASEANQualityAssuranceNetworkหรือAQANเพื่อร่วมพัฒนากรอบการประกันคุณภาพอาเซียน(ASEANQualityAssuranceFramework) ส�าหรับใช้เป็นเครื่องมืออ้างอิงในการสร้างมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีระบบที่คล้ายกันและใช้เป็นเครื่องมือในการเทียบเคียงมาตรฐานตลอดจนให้การด�าเนินงานด้านประกันคุณภาพเป็นไปในทศิทางเดยีวกนัโดยมวีตัถปุระสงค์ว่ากรอบการประกนัคุณภาพดงักล่าวจะน�าไปสู่การสร้างความกลมกลืน (Harmonization) ด้านการอุดมศึกษา การแลกเปลี่ยนนักศึกษา/อาจารย์ การอ�านวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายโอนหน่วยกิต และการยอมรับคุณวุฒิระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

กรอบมาตรฐานการประกันคุณภาพอาเซียน(ASEANQualityAssuranceFramework)

SEAMEO-RIHED ซ่ึงเป็นศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการอุดมศึกษาและ การพัฒนาภายใต้องค์การรฐัมนตรศีกึษาแห่งเอเชยีตะวนัออกเฉยีงใต้(SEAMEO)ร่วมกับMalaysianQualificationsAgencyจัดการประชุมว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา ส�าหรับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ้เข้าร่วมการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชกิSEAMEOทัง้๑๐ประเทศ ในการแลกเปล่ียนการเรยีนรู้เรือ่งการประกนัคณุภาพการศกึษาระดบัอดุมศกึษาการประชมุดงักล่าวส่งผลให้เกดิการก่อตัง้เครอืข่ายการประกนัคณุภาพการศกึษาของอาเชียน(ASEANQualityAssuranceNetworkหรือAQAN)

๑๙

Page 22: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

การก่อตั้ง AQAN มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือและ แลกเปลีย่นแนวปฏบิตัทิีด่ขีองการประกันคณุภาพการอดุมศกึษาในภมูภิาคเอเชยีตะวันออกเฉียงใต้ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการประกันคุณภาพการอุดมศึกษาแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลด้านการอุดมศึกษาและการยอมรับคุณวุฒิการศึกษาร่วมกัน และพัฒนากรอบการประกันคุณภาพการศึกษาของอาเชียนทัง้นี้AQANตัง้เป้าหมายในการส่งเสรมิการสร้างความกลมกลนื(Harmonization)และการยอมรับคุณวุฒิ (Mutual Recognition ofQualifications) ในระดับอดุมศกึษาภมูภิาคเอเชยีตะวนัออกเฉยีงใต้เพือ่พร้อมรบัการเคลือ่นย้ายก�าลงัคนของประชาคมอาเซยีนและได้ร่วมกนัพฒันากรอบการประกนัคณุภาพการศกึษาของอาเชียน(ASEANQualityAssuranceFramework)โดยมีหลักการส�าคัญดังนี้

๑ หน่วยประเมนิคณุภาพภายนอก (Principles of External Quality Assurance Agency)คือหน่วยงานการประกันคุณภาพภายนอกของทั้ง๑๐ประเทศอาเซียน ได้ก�าหนดให้มีมาตรฐานเดียวกันหรือเทียบเคียงกันได้หน่วยประเมินคุณภาพภายนอกต้องมีมาตรฐานเดียวกันกล่าวคือ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งตามกฎหมาย เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นจากหน่วยงานภาครัฐในประเทศ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อการประกันคุณภาพ หน่วยงานดังกล่าวต้องเป็นหน่วยงานอิสระที่ด�าเนินการโดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก มีระบบการบริหารงานที่เป็นมาตรฐาน มีการก�าหนดท่ีมาของคณะกรรมการที่ชัดเจน มีการก�าหนดนโยบายโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และตรวจสอบได้ต้องได้รับการสนบัสนนุด้านทรพัยากรอย่างเพยีงพอและยัง่ยนืมรีะบบการควบคมุตรวจสอบและประเมนิผลการด�าเนนิงานตลอดจนมกีารน�าเสนอนโยบายขัน้ตอนการปฏิบัติงานและผลประเมินการด�าเนินงานให้สาธารณะทราบ

๒๐

Page 23: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

๒ ระบบการประเมินคุณภาพภายนอก (Principles of External Quality Assurance Processes)

ระบบการประเมินคุณภาพภายนอกต้องค�านึงถึงผลประโยชน์ของผู้เรียนและสังคมเป็นส�าคัญ มีมาตรฐานเป็นท่ียอมรับในระดับนานาชาติและมีความ เชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาโดยในการพัฒนามาตรฐานต้องเปิดโอกาสให้ทกุภาคส่วนเข้ามามส่ีวนร่วมเพือ่ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสงัคมได้ในการประเมนิคณุภาพภายนอกต้องมกีารเผยแพร่หลักเกณฑ์และวิธีการให้สาธารณชนทราบโดยทั่วกัน การประเมินประกอบด้วยรายงานประเมินตนเองระดับหลักสูตรหรือสถาบัน การตรวจเยี่ยมสถานศึกษาการให้ข้อมูลป้อนกลับ การตัดสินผลอย่างเป็นทางการและการติดตามผล โดยประเมินตามข้อเท็จจริง ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่ก�าหนด เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องการประเมินจะด�าเนินการโดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองและผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง มีความเป็น มืออาชีพและปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัดทั้งนี้ต้องก�าหนดให้มีกลไกการอุทธรณ์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

๓ การประกันคุณภาพภายใน (Principles of Internal Quality Assurance)

การประกนัคณุภาพภายในเป็นหน้าทีข่องสถานศึกษาในการส่งเสรมิความสมดุลระหว่างความเป็นอิสระกับการตรวจสอบโดยสาธารณะ กล่าวคือ เป็น กระบวนการที่บุคลากรทางการศึกษาคณาจารย์นิสิตนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสยีได้เข้ามามส่ีวนร่วมในการประกันคณุภาพภายในสถานศกึษาสถานศกึษาต้องส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมคุณภาพขึ้น โดยสถานศึกษาต้องจัดสรรทรัพยากร ที่เพียงพอส�าหรับการด�าเนินงานการประกันคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ จัดให้มีการประกนัคณุภาพในทกุกจิกรรมไม่ว่าจะเป็นการเรยีนการสอนการวจิยัการให้บริการและการบรหิารจดัการโดยให้ทกุส่วนงานของถานศึกษาได้ร่วมกนัวางแผนปฏิบัติและตรวจสอบเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๒๑

Page 24: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

๔. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (Principles of National Qualifications Framework)

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติเป็นเครื่องมือท่ีแสดงระบบคุณวุฒิและมาตรฐานการวัดผลการศึกษา เป็นประโยชน์ส�าหรับการเลื่อนคุณวุฒิไปสู ่ระดับที่สูงขึ้น และเทียบผลการเรียนรู ้จากการเรียนรู ้ระดับต่างๆ และช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการเคลื่อนย้ายบุคลากรอาชีพต่างๆ ด้วยกระบวนการยอมรับคุณวุฒิการศึกษารวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต ทั้งน้ี การด�าเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติต้องเป็นการด�าเนินการโดยหน่วยงานทีไ่ด้รบัมอบอ�านาจและต้องมกีารก�าหนดหลกัการในการประกนัคุณภาพและมาตรฐานทีไ่ด้รับความเหน็ชอบร่วมกนัมกีารปรบัปรงุอยูเ่สมอเพือ่ให้สามารถตอบสนองความต้องการและการพฒันาทีเ่ปลีย่นแปลงตลอดจนควรมศีนูย์ข้อมลูที่เป็นทางการสนับสนุนการด�าเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ

กล่าวโดยสรุป การประกันคุณภาพการศึกษาจะเกิดสัมฤทธิ์ผล เป็นรูปธรรมได้ต้องมีการพัฒนาและส่งเสริมตั้งแต่ระดับสถาบัน ระดับชาต ิและระดับนานาชาติ ซึ่งปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผูอ้�านวยการส�านกังานรบัรองมาตรฐานและประเมนิคณุภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) ในฐานะประธานภาคีเครือข่าย AQAN มีความมุ ่งหวังที่จะเห็น ความส�าเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวมีความยั่งยืนและน�าไปสู่การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมเป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับสากลของภูมิภาคอาเซียนต่อไปดังนี้

ระดับสถาบัน ควรส่งเสริมให้เกิดระบบการประกันคุณภาพที่เข้มแข็ง การสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง ในเรื่องการประกันคุณภาพจะส่งผลให้เกิดกรอบแนวทางในการปฏบิตัิจนกลายเป็นวฒันธรรมคณุภาพทีส่ามารถขบัเคลือ่นให้เกดิการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๒๒

Page 25: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

Breaking Barriers Towards a Millennium of Quality

ระดับชาติ การส่งเสริมคุณภาพการศึกษาสามารถท�าได้โดย ด�าเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) หรือ Principles of NationalQualifications Framework ซ่ึงเป็นการก�าหนดสมรรถนะ (Competency) อันจะเป็นคุณประโยชน์ต่อผู้เรียนในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องการเล่ือนคุณวุฒิไป สู่ระดับที่สูงขึ้น การเทียบผลการเรียนรู้ในระดับต่างๆ การช่วยสนับสนุนการ แลกเปลี่ยนนักศึกษาและการเคลื่อนย้ายบุคลากรอาชีพต่างๆรวมทั้งการศึกษาตลอดชีวิต

ระดับนานาชาติAQANได้ก�าหนดให้ประเทศสมาชิกใช้กรอบมาตรฐานการประกนัคณุภาพการศกึษาของภมูภิาคอาเซยีน(AQAF)เป็นบรรทดัฐานเบือ้งต้นในการใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบการประกันคุณภาพของตน โดยการน�าไปใช้นั้นจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งเชื่อมั่นว่า การรวมกลุ่มเครือข่ายการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกในกลุ่มประเทศอาเซียนจะสามารถช่วยให้ระบบการศึกษาของอาเซียนมีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสามารถขับเคลื่อนให้ส�าเร็จได้อยู่ที่การ “เปิดใจ เปิดรับ” ของทุกคนด้วยความเต็มใจ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมวางแผนกลยทุธ์ทัง้การน�าผลประเมนิไปใช้วเิคราะห์สถานการณ์ปัญหาและอปุสรรคต่างๆเพื่อให้รู้จักและเข้าใจตนเองมากขึ้น สามารถด�าเนินการยกระดับคุณภาพการศกึษาได้จริง เตม็ตามศกัยภาพและขดีความสามารถทีพ่งึกระท�า กอปรกบัขณะนี้การเปิดประเทศเปิดภมูภิาคท�าให้โลกมเีสรมีากข้ึนและท�าให้นานาประเทศต่างเข้ามาใกล้กันแค่เพียงปลายนิ้วก้าวข้ามขีดจ�ากัดของโลก เกิดภาคีความร่วมมือประชาคมอาเซียน ท้ังในเรื่องความม่ันคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวฒันธรรมถอืเป็นการเปลีย่นแปลงครัง้ยิง่ใหญ่ของภมูภิาคและของโลกการเชือ่มโยงทางเศรษฐกิจก�าลังด�าเนินรุดหน้าไปอย่างต่อเน่ือง “การศึกษา” ก็เช่นกัน

๒๓

Page 26: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์

ก้าวข้ามขีดจำากัด สู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ

การเป็นตัวแปรส�าคัญในการขับเคลื่อนกลไกทางสังคมเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค ตลอดจนระดับโลก โดยเฉพาะทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่าง “ทุนมนุษย์”ท�าให้การศกึษาเป็นปัจจยัส�าคญัในการยกระดบัคณุภาพของประเทศให้ทดัเทยีมกับนานาชาติการสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายมาตรฐานคุณภาพด้านเกณฑ์การประเมินตลอดจนตวัชีว้ดัคณุภาพการศกึษาระดบัอาเซยีนจงึเป็นเรื่องทีต้่องให้ความส�าคญัและท้าทายทีท่กุภาคส่วนต้องร่วมมอืกนัเพือ่ขบัเคลือ่นองคาพยพประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกให้สามารถก้าวเดินได้อย่างม่ันคงและยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาได้อย่างยั่งยืนสืบไป

ชาญณรงค์ พรรุ ่งโรจน์. ๒๕๕๘. การบรรยายเรื่อง “ก้าวข้ามขีดจ�ากัด” วันที่๒มิถุนายน๒๕๕๘ณโรงเรียนบ้านไทรงามอ�าเภอพุนพินจังหวัด สุราษฎร์ธานี

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. ๒๕๕๗. วัฒนธรรมคุณภาพ : สร้างคน สร้างชาติ. กรุงเทพมหานคร.ซีโนพับลิชชิ่งแอนด์แพคเกจจิ้ง.

ส�านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (พิมพ์ครั้งที่ ๕). ๒๕๕๗. คู่มือ การน�าผลการประเมินคุณภาพภายนอก ไปใช้.กรุงเทพมหานคร:พิมพ์ดี.

ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.๒๕๕๖.กรอบคุณวุฒิ แห่งชาติ (NationalQualifications Framework: ThailandNQF). กรุงเทพมหานคร:สกศ.

บรรณานุกรม

๒๔

Page 27: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
Page 28: ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ · ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์