Top Banner
60

วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

Dec 28, 2019

Download

Documents

dariahiddleston
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด
Page 2: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด
Page 3: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

วัตถุประสงค์1.เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมทั้งผลงานวิเคราะห์วิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง

2.เพื่อเป็นสื่อเผยแพร่กิจกรรมและการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรมแก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข

ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

3.เพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

4.เพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทัศนะและความคิดเห็น

คณะที่ปรึกษา

นพ.วิทิตอรรถเวชกุล ภก.สมชายศรีชัยนาค

ภก.วันชัยศุภจัตุรัส ภญ.พิศมรกลิ่นสุวรรณ

นายธนวัฒน์ทองประดิษฐ์ ภญ.วลัยรัตน์อนุเขตร์

นายมนูญบุบผะเรณู นายถาวรว่องชูวงศ์

บรรณาธิการนางสาวศิริวรรณเอียวพันธ์

หัวหน้ากองบรรณาธิการนายพิสิฐพงศ์ธรรมบำรุง

กองบรรณาธิการภก.สิทธิ์ถิระภาคภูมิอนันต์ ภญ.เพ็ญทิพาแก้วเกตุทองภญ.สุจิตราคชเสนี ภก.รังสรรค์โยธาประเสริฐน.ส.คันธรัตน์มณีโชติ

ศิลปกรรมนายคำรพศิริพงษ์ นายจุมพลศศิพงษ์อนันต์

ภาพประกอบนายยุทธนาตันติพาณิชย์ นางสุนิสาพรหมประสิทธิ์

พิสูจน์อักษรน.ส.ลักษมีจันทร์ไทย

สมาชิกสัมพันธ์นางชัชมณฑ์บุญนาม

สำนักงานวารสารกองประชาสัมพันธ์องค์การเภสัชกรรม75/1ถนนพระรามที่6ราชเทวีกรุงเทพฯ10400โทรศัพท์/โทรสาร026448856http://www.gpo.or.th

วารสารองค์การเภสัชกรรมปีที่35ฉบับที่1ตุลาคม2551-มีนาคม2552

Page 4: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

2

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

นิพนธ์ต้นฉบับ

- การประเมินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต:กรณีศึกษาเขตตรวจราชการที่2 3

- ความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาและการจัดจ่ายยาในงานบริการผู้ป่วยนอก 20 โรงพยาบาลหนองไผ่

- การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด 30 และผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันณโรงพยาบาลเลิดสิน

สกู๊ปพิเศษ

- ค่ายอาสายาเพื่อชีวิตสิ่งดีๆ...ที่องค์การเภสัชกรรมมีให้ 38

สรุปข่าวเด่น... องค์การเภสัชกรรม

- เดินหน้าเฟส2โครงการก่อสร้างอาคารผลิตยาเอดส์มาตรฐานสากล 41

- พร้อมผลิตยาซีแอลตามนโยบายสธ. 43

- เตรียมสำรองผลิตยาหวัดนกพร้อมลงเข็มโรงงานวัคซีนปีนี้ 44

- ผลิตยาจิตเวชถูกกว่านำเข้า10เท่า 46

- เผยแพร่ความรู้การใช้ยาผ่านสารคดีวิทยุ6คลื่น 47

- อภ.จัดงานวันเด็กแห่งชาติสร้างสัมพันธ์สายใยครอบครัว 49

- อภ.ได้รับรางวัลระดับดีงานวันนักประดิษฐ์ 51 จากชุดตรวจสารให้ความเผ็ดในพริกป่น

- 7องค์กรร่วมโครงการจัดหาดวงตาตั้งเป้า8,200รายใน5ปี 53 เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ82พรรษา

- ออกหน่วยเคลื่อนที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ 55

สารบัญ

Page 5: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

3

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาระบบการจัดหาและกระจายยาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญองค์ประกอบหนึ่งของการบริหารจัดการระบบยา

ซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกยา(SelectionofDrug) การผลิตและการนำเข้า(ProductionandImportation)

การจัดหาและกระจายยา(DrugProcurementandDistribution) และการใช้ยา(DrugUtilization) โดยการ

จดัหายาทีม่ปีระสทิธภิาพจะมุง่เนน้ทีก่ารให้ไดม้าซึง่ยาทีม่คีณุภาพดี ราคาทีเ่หมาะสมมีใหบ้รกิารอยา่งเพยีงพอ

และสนับสนุนระบบการส่งต่อผู้ป่วย การจัดหายาของหน่วยงานต่างๆ มีปัญหาที่ต้องให้ความสนใจที่สำคัญ

สองประการ ประการแรกคือจะทราบได้อย่างไรว่ายาที่จัดซื้อได้เป็นยาที่มีคุณภาพ ประการที่สองคือยาที่จัดซื้อ

ได้มีราคาเหมาะสมหรือไม่

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และกระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำ

หลักเกณฑ์การจัดซื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่9 กันยายน2546 โดยมี

หลักการสำคัญคือให้มีการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมกันในระดับเขต ตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อยา

กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และหากมีส่วนใดที่มิได้กล่าวไว้ในมาตรการฯ ดังกล่าว ให้ดำเนินการ

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

ในปี2548 กระทรวงสาธารณสุขได้ทดลองดำเนินการจัดซื้อยาร่วมกันในระดับเขต ตามมาตรการเพิ่ม

ประสิทธิภาพการจัดซื้อยากระทรวงสาธารณสุขจำนวน5เขตได้แก่เขตตรวจราชการที่1,2,5,13และ19

2.วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา1.กระบวนการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตของเขตตรวจราชการที่2

2.ผลการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตในเขตตรวจราชการที่2ทั้งในเรื่องความประหยัดและความ

พึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง

3.สมมุติฐานการวิจัยในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีสมมุติฐานการวิจัยดังนี้

3.1 การจัดซื้อยาโดยวิธีการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตของเขตตรวจราชการที่2 มีความสัมพันธ์กับความ

ประหยัดในงบประมาณที่จัดซื้อ

3.2ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตของเขตตรวจราชการที่2

การประเมินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต :

กรณีศึกษาเขตตรวจราชการที่ 2ภญ.อัปสรบุญยัง*

*เภสัชกร7กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

Page 6: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

4

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

4.วิธีการศึกษาเป็นการประเมินผลการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เขต

ตรวจราชการที่2ตามมตทิีป่ระชมุกระทรวงสาธารณสขุเครือ่งมอืที่ใช้ในการศกึษาคอืแบบสอบถามทีจ่ดัทำขึน้

เพื่อเก็บข้อมูลและแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

5.ผลการวิจัยการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตของเขตตรวจราชการที่2

ตามมติคณะรัฐมนตรี9 กันยายน2546 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนต่างๆ

และเสนอผลการวิเคราะห์ออกเป็น4ตอนดังนี้

ตอนที่1ข้อมูลทั่วไป

ตอนที่2ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

ตอนที่3ความประหยัดในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

ตอนที่4การประเมินความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

ตอนที่5ปัญหาในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

5.1 ข้อมูลทั่วไป

พบว่าจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งสิ้นในภาพรวม จำนวน255 ชุด มีแบบสอบถามตอบกลับจำนวน

ทั้งสิ้น120ฉบับคิดเป็นร้อยละ47.06ของแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด

ตารางที่1แสดงจำนวนและร้อยละของแบบสอบถามที่ตอบกลับจำแนกตามจังหวัด

เขต จังหวัด จำนวนที่ส่งแบบสอบถาม จำนวนที่ตอบกลับ ร้อยละของการตอบกลับ

เขต2 ตาก 45 19 42.22

พิษณุโลก 50 21 42.00

เพชรบูรณ์ 60 23 38.33

สุโขทัย 50 34 68.00

อุตรดิตถ์ 50 23 46.00

รวม 255 120 47.06

5.2 ขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

สรุปรายละเอียดการดำเนินการของเขตตรวจราชการที่2ดังแสดงในตารางที่2

Page 7: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

5

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ตารางที่2แสดงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตของเขตตรวจราชการที่2

ตั้งแต่ปี2548-2550

กิจกรรม ปีงบประมาณ2548

ปีงบประมาณ 2549

เขต2 จัดทำโครงการและอนุมัติงบดำเนินการจำนวน24,000บาท

จัดทำโครงการและอนุมัติงบดำเนินการจำนวน70,000บาท

เขต2 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายจัดซื้อยาร่วมระดับเขตและคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดเขต2โดยมี ผู้แทนจากโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องแต่ละระดับไม่มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมและมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุระดับเขต

แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายจัดซื้อยาร่วมระดับเขตและคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดเขต2โดยมีผู้แทนจาก โรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องแต่ละระดับไม่มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมและมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุระดับเขต

เขต2 เป็นยาที่โรงพยาบาลในทุกจังหวัดในเขตใช้ได้ร่วมกันเป็นยาที่มีปริมาณการใช้สูงเป็นยาที่องค์การเภสัชกรรมมิได้ผลิต มีผู้จำหน่ายหลายรายในประเทศรวมทั้ง ยาที่ราคาจัดซื้อทั่วไปเกินราคากลางเนื่องจากมีผู้จำหน่ายรายเดียว

เป็นยาที่โรงพยาบาลในทุกจังหวัดในเขตใช้ได้ร่วมกันเป็นยาที่มีปริมาณการใช้สูงเป็นยาที่องค์การเภสัชกรรมมิได้ผลิตและมี ผู้จำหน่ายหลายรายในประเทศ

เขต2 แบบสอบถามข้อมูลจากโรงพยาบาล ทุกแห่งและราคาประมาณการจะใช้ราคาต่ำที่สุด

แบบสอบถามข้อมูลจากโรงพยาบาลทุกแห่งและราคา ประมาณการจะใช้ราคาจากฐานนิยม

เขต2 ใช้specificationของกระทรวงและคณะกรรมการพิจารณาปรับรายละเอียดให้เหมาะสม

ใช้specificationของกระทรวงและคณะกรรมการพิจารณาปรับรายละเอียดให้เหมาะสม

เขต2 ขออนุมัติจัดซื้อโดยวิธีประกวดราคาจาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง

ขออนุมัติจัดซื้อโดยวิธีประกวดราคาจากผู้ตรวจราชการกระทรวง

เขต2 ดำเนินการตามระเบียบพัสดุคัดเลือกไว้บริษัทเดียว

ดำเนินการตามระเบียบพัสดุคัดเลือกไว้บริษัทเดียว

เขต2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ ไม่จำกัดปริมาณระยะเวลา1ปี

ทำสัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ ระยะเวลา1ปีแต่รมว.สธ.ไม่ลงนามอนุมัติซื้อ

เขต2 ทำสัญญาร่วมกันและแต่ละโรงพยาบาลสั่งซื้อจากบริษัทโดยตรง

ทำสัญญาร่วมกันและแต่ละโรงพยาบาลสั่งซื้อจากบริษัทโดยตรง

เขต2 มากกว่า12วันทำการ มากกว่า12วันทำการ

เขต2 สุ่มตัวอย่างส่งตรวจเฉพาะรายการที่ได้รับแจ้งว่ามีปัญหาการใช้

สุ่มตัวอย่างส่งตรวจเฉพาะรายการที่ได้รับแจ้งว่ามีปัญหาการใช้

เขต2 มีระบบให้รายงานทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อเพื่อรวบรวมเสนอคณะกรรมการฯ

ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ(ไม่มีการลงนามในสัญญา)

Page 8: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

6

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

กิจกรรม ปีงบประมาณ2548

ปีงบประมาณ 2549

เขต2 ดำเนินการจัดซื้อ28รายการและจัดซื้อ22รายการยกเลิก6รายการเนื่องจากไม่มีผู้ยื่นเสนอราคา2รายการราคาสูงกว่าที่โรงพยาบาลในเขตเคยจัดซื้อ2รายการและไม่ตรงตามspec2รายการ

ดำเนินการจัดซื้อ60รายการและจัดซื้อ58รายการยกเลิก2รายการเนื่องจากไม่มีผู้ยื่นเสนอราคา1รายการและราคาสูงกว่าที่โรงพยาบาลในเขตเคยจัดซื้อ1รายการ(ไม่มีการลงนามในสัญญา)

เขต2 ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ชัดเจนค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่จะเป็นค่าพาหนะค่าที่พัก และเบี้ยเลี้ยงผู้เข้าร่วมประชุมค่าอาหารสำหรับการประชุม

ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ชัดเจนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นค่าพาหนะค่าที่พักและเบี้ยเลี้ยงผู้เข้าร่วมประชุมค่าอาหารสำหรับ การประชุม

5.3 ความประหยัดในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

ในปี2548เขต2ซึ่งประกอบด้วย5จังหวัดคือพิษณุโลกตากเพชรบูรณ์สุโขทัยและอุตรดิตถ์ได้

ดำเนินการทดลองจัดซื้อยาร่วมระดับเขตจำนวน28รายการและเปิดซองประกวดราคาได้จำนวน22รายการ

คิดเป็นมูลค่าประหยัดเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานของราคาอ้างอิงเป็นเงิน3,396,144.38บาทโดยมียาจำนวน14

รายการที่ราคาต่ำกว่า มียา3 รายการที่ราคาสูงกว่า และมียาที่ราคาเท่ากับราคาอ้างอิงดังกล่าว5 รายการ

รายละเอียดดังแสดงในตารางที่3

ตารางที่3แสดงมูลค่าประหยัดจากการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตเขต1ปี2548เทียบกับค่ามัธยฐานของราคา

อ้างอิง

ลำดับ รายชื่อเวชภัณฑ์“ยา”ขนาดบรรจุ

รายชื่อบริษัท

ประมาณ การจัดซื้อ

ราคาที่จัดซื้อรวมระดับเขต

ราคาอ้างอิง(มัธยฐาน)

มูลค่าประหยัด

1 Omeprazole40mginj ขวด Olic 37,000 326.35 220.00 -3,934,950.00

2 5%Dextroseand0.45%SodiumChloride

1,000ml

GHP 499,500 17.75 17.50 -124,875.00

3 Medroxyprogesterone 50mg/ml(3ml)inj

ขวด Umeda 144,600 13.23 12.95 -40,488.00

4 Busulfan2mgtab เม็ด Diethelm 6,000 7.81 7.81 -

5 Chlorambucil2mgtab เม็ด Diethalm 11,000 14.55 14.55 -

6 Digoxin0.05mg/ml60mlelixir

ขวด Diethelm 1,239 175.48 175.48 -

7 Digoxin0.25mg/mlinj ขวด Diethelm 3,460 35.10 35.10 -

8 Melphalan2mgtab เม็ด Diethelm 7,125 19.90 19.90 -

Page 9: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

7

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ลำดับ รายชื่อเวชภัณฑ์“ยา”ขนาดบรรจุ

รายชื่อบริษัท

ประมาณ การจัดซื้อ

ราคาที่จัดซื้อรวมระดับเขต

ราคาอ้างอิง(มัธยฐาน)

มูลค่าประหยัด

9 Cefazolin1ginj ขวด Millimed 74,800 12.20 12.31 8,377.60

10 Hyoscine-N-butylbromide 10mgtab

เม็ด Greatermybacin

3,708,000 0.45 0.45 17,056.80

11 Mercaptopurine50mgtab เม็ด Bioscience 7,500 26.67 32.96 47,175.00

12 0.9%SodiumChloride 1,000ml

ถุง V&V 234,690 17.75 18.00 58,672.50

13 Nifedipine10mgtab เม็ด Patarlab 4,962,800 0.49 0.50 62,035.00

14 Gemfibrozil300mgtab เม็ด Greatermybacin

2,755,700 0.63 0.67 133,375.88

15 DiclofenacNa25mgtab เม็ด Masalab 13,596,000 0.09 0.10 190,344.00

16 Cefotaxime1ginj ขวด Millimed 75,300 14.98 18.19 241,713.00

17 Atenolol50mgtab เม็ด Berlin 4,828,200 0.23 0.31 386,256.00

18 Ranitidine150mgtab เม็ด Millimed 7,597,000 0.34 0.41 487,727.40

19 Ciprofloxacin200mg/ 100mlinj

ขวด M&H 51,500 39.59 56.71 881,680.00

20 Clindamycinphosphate 600mginj

ขวด MacroPhar 13,000 105.40 175.00 904,800.00

21 Simvastatin10mgtab เม็ด Berlin 3,405,060 0.53 0.96 1,464,175.80

22 Ceftriaxone1ginj ขวด Millimed 407,020 13.91 20.33 2,613,068.40

รวมมูลค่าประหยัด 3,396,144.38

ในปี2549เขต2ได้ดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตจำนวน60รายการและเปิดซองประกวดราคา

ได้จำนวน58รายการคิดเป็นมูลค่าประหยัดเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานของราคาอ้างอิงเป็นเงิน25,336,900.00

บาท โดยมียาจำนวน36 รายการที่ราคาต่ำกว่า มียา16 รายการที่ราคาสูงกว่า และมียาที่ราคาเท่ากับราคา

อ้างอิงดังกล่าว6รายการดังรายละเอียดตามตารางที่4

Page 10: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

8

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ตารางที่4มูลค่าประหยัดจากการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตเขต2ปี2549เทียบกับค่ามัธยฐานของราคาอ้างอิง

ลำดับ รายชื่อเวชภัณฑ์“ยา”ขนาด บรรจุ

รายชื่อบริษัทประมาณการ

จัดซื้อราคาที่จัดซื้อรวมเขต

ราคาอ้างอิง(มัธยฐาน)

มูลค่าประหยัด

1 Tolperisone50mg 1,000เม็ด

บ.เมดไลน์จำกัด

6,000 1,809.00 900.00 -5,454,000.00

2 Salbutamol100mcg/ puff200puff

1ขวด บ.ดีทแฮล์มจำกัด

60,000 139.10 86.33 -,166,200.00

3 Dextrose5%+sodiumchloride0.45%inj

1,000ml

บ.เยเนอรัล ฮอสปิตัลฯจำกัด

600,000 24.00 23.00 -600,000.00

4 ferrous+วิตามินรวมสูตรเสริมธาตุเหล็ก

1,000เม็ด

บ.แรนแบ็กซี่ยูนิเคมจำกัด

10,000 208.94 165.00 -439,350.00

5 Medroxyprogesterone50mg/mlin3ml

1ขวด บ.แมคโครฟาร์จำกัด

300,000 13.50 12.47 -309,000.00

6 Sodiumchloride0.9%injection1,000ml

1ถุง บ.วีแอนด์วีกรุงเทพจำกัด

300,000 24.00 23.00 -300,000.00

7 CalciumCarbonate 600mg

500เม็ด บ.มิลลิเมดจำกัด

8,500 165.85 133.00 -279,225.00

8 Metronidazole0.5% ขนาด100mlinj

1ขวด บ.เยนเนอร์ ราลดรั๊กเฮาส์ จำกดั

250,000 18.50 17.50 -250,000.00

9 Dextrose5%inwater 100mlinjection

1ถุง บ.ส.เจริญเภสัชเทรดดิ้งจำกัด

450,000 16.00 15.50 -225,000.00

10 Albumin20%(50ml) 1ขวด บ.บีเจซีเทรดดิ้งจำกัด

8,000 620.00 600.00 -160,000.00

11 Sodiumchloride0.9%injection100ml

1ถุง บ.ส.เจริญเภสัชเทรดดิ้งจำกัด

250,000 16.00 15.40 -150,000.00

12 Ibuprofen400mg 500เม็ด บ.ยูเมด้าจำกัด

10,000 168.00 156.00 -120,000.00

13 Dextrose5%+sodiumchloride0.9%inj

1,000ml

บ.วีแอนด์วีกรงุเทพจำกดั

100,000 24.00 23.00 -100,000.00

Page 11: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

9

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ลำดับ รายชื่อเวชภัณฑ์“ยา”ขนาด บรรจุ

รายชื่อบริษัทประมาณการ

จัดซื้อราคาที่จัดซื้อรวมเขต

ราคาอ้างอิง(มัธยฐาน)

มูลค่าประหยัด

14 Dextrose5%inwater1,000mlinjection

1ถุง บ.เอเอ็นบีลาบอราตอรีจำกัด

65,000 24.00 23.00 -65,000.00

15 Cefotaxime1ginj 1ขวด บ.โมเดอร์น แมนูจำกัด

100,000 15.82 15.35 -47,000.00

16 Dextrose5%+sod.chloride0.3%inj

500ml บ.วีแอนด์วีกรงุเทพจำกดั

65,000 20.00 19.80 -13,000.00

17 Insulin100IU/mlNPHขนาด10ml

1ขวด บ.โอลิคจก./ บ.ดีทแฮล์มจำกัด

35,000 310.30 310.30 -

18 Ipratropium+FenoterolMDI200puff

1ขวด บ.ซิลลิคฟาร์มาจำกัด

55,000 267.50 267.50 -

19 Phenytoin100mgSR 1,000เม็ด

บ.ซิลลิคฟาร์มาจำกัด

3,500 1,926.00 1,926.00 -

20 Ringer-LactateSolution 1,000ml

บ.ส.เจริญเภสัชเทรดดิ้งจำกัด

40,000 40.00 40.00 -

21 Salbutamol0.5%Solขนาด20ml

1ขวด บ.เมดิโนวาจำกัด

20,000 85.60 85.60 -

22 sodiumchloride1,000mlIrrigate

1ถุง บ.ส.เจริญเภสัชเทรดดิ้งจำกัด

200,000 24.00 24.00 -

23 Cefazolin1ginj 1ขวด บ.ยูโทเปี้ยนจำกัด

80,000 12.14 12.39 20,000.00

24 Aluminium+Magnesium +Simethicone

240มล. บ.วีแอนด์วีกรงุเทพจำกดั

550,000 11.45 11.50 27,500.00

25 Ciprofloxacin200mginj 1ขวด บ.มิลลิเมดจำกัด

70,000 37.45 38.52 74,900.00

26 Colchicine0.6mg 500เม็ด บ.มิลลิเมดจำกัด

5,500 148.73 168.00 105,985.00

27 Aspirin300mg 1,000เม็ด

บ.ที.โอ.เคมีคอลส์(1979)จำกัด

6,000 225.00 250.00 150,000.00

Page 12: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

10

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ลำดับ รายชื่อเวชภัณฑ์“ยา”ขนาด บรรจุ

รายชื่อบริษัทประมาณการ

จัดซื้อราคาที่จัดซื้อรวมเขต

ราคาอ้างอิง(มัธยฐาน)

มูลค่าประหยัด

28 Spironolactone25mg 500เม็ด บ.เบอร์ลินฟารม์าซตูคิอล จำกัด

3,500 400.00 452.50 183,750.00

29 Antazoline+TetrahydrozolineOph.

10ml บ.เมดิโนวาจำกัด

120,000 10.70 13.50 336,000.00

30 Hyoscine-n-Butylbromide10mg

500เม็ด บ.ยูเมด้าจำกัด

12,000 208.00 236.70 344,400.00

31 Gemfibrosil300mg 100เม็ด บ.เซ็นทรัลโพลีเทรดดิ้งจำกัด

50,000 57.00 64.20 360,000.00

32 Atenolol100mg 500เม็ด บ.โมเดอร์น แมนูจำกัด

5,000 194.00 274.99 404,950.00

33 Simethicone80mg 500เม็ด บ.มิลลิเมดจำกัด

12,000 141.45 176.50 420,600.00

34 Diclofenac25mg 500เม็ด บ.บรูพาโอสถ จำกัด

40,000 57.38 71.00 545,000.00

35 Roxithromycin150mg 500เม็ด บ.โปลฟิารม์จำกัด

4,000 410.00 550.00 560,000.00

36 Ethinylestradiol0.03+Levonorgestrel0.15

28เม็ด บ.วีแอนด์วีกรุงเทพจำกัด

500,000 1.87 3.00 565,000.00

37 Paracetamol450mg+Orphenadrine35mg

500เม็ด บ.มิลลิเมดจำกัด

20,000 145.52 174.41 577,800.00

38 Carbidopa25mg+Levodopa250mg

100เม็ด บ.ฟาร์มา แลนด์(1982)จำกัด

3,000 488.00 695.50 622,500.00

39 Ranitidine50mg/2mlขนาด2mlinj

1ขวด บ.มิลลิเมดจำกัด

220,000 3.53 6.42 635,580.00

40 Ceftriaxone1ginj 1ขวด บ.มิลลิเมดจำกัด

550,000 16.91 18.19 706,200.00

41 Ranitidine150mg 500เม็ด บ.มิลลิเมดจำกัด

30,000 177.62 202.08 733,800.00

Page 13: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

11

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ลำดับ รายชื่อเวชภัณฑ์“ยา”ขนาด บรรจุ

รายชื่อบริษัทประมาณการ

จัดซื้อราคาที่จัดซื้อรวมเขต

ราคาอ้างอิง(มัธยฐาน)

มูลค่าประหยัด

42 Enalapril20mg 100เม็ด บ.เบอร์ลินฟารม์าซตูคิอล จำกัด

50,000 47.00 63.00 800,000.00

43 Glipizide5mg 500เม็ด บ.มิลลิเมดจำกัด

8,000 112.35 212.50 801,200.00

44 Theophyllin200mgSR(Tab)

1,000เม็ด

หจก.หาญไทย ฟาร์มา

4,000 1,380.00 1,588.79 835,160.00

45 Vancomycin500mginj 1ขวด บ.บีเจซีเทรดดิ้งจำกัด

13,000 140.00 209.00 897,000.00

46 Atenolol50mg 500เม็ด บ.โมเดอร์น แมนูจำกัด

20,000 109.50 155.00 910,000.00

47 AnalgesicCream25g 1หลอด บ.เยนเนอร์ ราลดรั๊กเฮาส์จำกัด

750,000 7.75 9.00 937,500.00

48 Tramadol50mg 100เม็ด บ.บางกอกดรักจำกัด

25,000 48.80 87.25 961,250.00

49 Ipratropium+FenoterolSol20ml

1ขวด บ.เมดิโนวาจำกัด

25,000 160.50 214.00 1,337,500.00

50 Ofloxacin200mg 100เม็ด บ.มิลลิเมดจำกัด

25,000 123.05 176.66 1,340,250.00

51 Enalapril5mg 100เม็ด บ.ฟาร์มา แลนด์(1982)จำกัด

300,000 22.45 27.00 1,365,000.00

52 Omeprazole20mg 14เม็ด บ.เบอร์ลินฟารม์าซตูคิอล จำกัด

350,000 9.80 14.42 1,617,000.00

53 Amlodipine5mg 100เม็ด บ.เบอร์ลินฟารม์าซตูคิอล จำกัด

15,000 138.70 267.50 1,932,000.00

54 Simvastatin10mg 30เม็ด บ.เบอร์ลินฟารม์าซตูคิอล จำกัด

250,000 13.41 22.50 2,272,500.00

Page 14: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

12

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ลำดับ รายชื่อเวชภัณฑ์“ยา”ขนาด บรรจุ

รายชื่อบริษัทประมาณการ

จัดซื้อราคาที่จัดซื้อรวมเขต

ราคาอ้างอิง(มัธยฐาน)

มูลค่าประหยัด

55 Ceftazidime1ginj 1ขวด บ.แอตแลน ติกฟาร์มา ซูติคอลจก.

150,000 35.00 53.50 2,775,000.00

56 Clindamycin600mginj 1ขวด บ.ยูเมด้าจำกัด

45,000 36.40 106.28 3,144,600.00

57 Sulbactam500+Cefoperazone500mginj

1ขวด บ.มิลลิเมดจำกัด

25,000 136.96 283.55 3,664,750.00

58 Omeprazole40mginj 1ขวด หจก.ภิญโญ ฟาร์มาซี

45,000 110.00 200.00 4,050,000.00

มูลค่าประหยัดรวม 25,336,900.00

5.4 การประเมินความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตของเขตตรวจ

ราชการที่2

5.4.1ปัจจัยด้านความประหยัด

จากการประเมินความเห็นผู้เกี่ยวข้องพบว่าในปัจจัยด้านความประหยัดของการจัดซื้อร่วมระดับเขต พบ

ว่าคะแนนการประเมินเป็นดังนี้ ประเด็นเรื่องการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต ทำให้ได้ยาที่มีราคาถูกกว่าการจัดซื้อ

ปกติพบว่ามีผู้เห็นด้วยค่อนข้างมากเกินกว่าร้อยละ50(ร้อยละ59.2-85.9)ซึ่งจะเห็นได้จากคะแนนค่าเฉลี่ย

ที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง 4.11 ประเด็นเรื่องการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

ทำให้ได้ยาที่มีราคาถูกกว่าการจัดซื้อร่วมระดับจังหวัด พบว่าส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเห็นด้วย เกินกว่าร้อยละ40

(ร้อยละ43.3-60.9) โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตเท่ากับ

3.86และประเด็นการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตทำให้โรงพยาบาลประหยัดค่ายาลงได้พบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยกว่า

ร้อยละ50(ร้อยละ50.4-74.8)โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

เท่ากับ4.11รายละเอียดดังแสดงในตารางที่5

Page 15: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

13

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ตารางที่5แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านความประหยัดจากการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

เขต

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง Mean

(SD)Median (IQR)

N(%) N(%) N(%) N(%) N(%)

ข้อ2 เขต232

(26.7)71

(59.2)16

(13.3)0

(0.0)1

(0.8)4.11 (0.68)

4.00 (1.00)

ข้อ3 เขต221

(17.5)52

(43.3)44

(36.7)2

(1.7)1

(0.8)3.86(0.87)

4.00 (1.00)

ข้อ4 เขต229

(24.4)60

(50.4)30

(25.2)0

(0.0)0

(0.0)4.11 (0.68)

4.00 (1.00)

5.4.2ปัจจัยด้านการดำเนินงาน

จากการประเมินความเห็นผู้เกี่ยวข้องในปัจจัยด้านการดำเนินงาน พบว่าคะแนนการประเมินเป็นดังนี้

ประเด็นเรื่องการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมีขั้นตอนยุ่งยาก พบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยร้อยละ51.7 ทำให้มีคะแนน

คา่เฉลีย่ทีบ่ง่ถงึความเหน็ดว้ยตอ่ระบบการจดัซือ้ยารว่มระดบัเขตเพยีง2.46 ประเดน็เรือ่งการจดัซือ้ยารว่มระดบั

เขตมีปัญหาอุปสรรคมาก พบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยถึงร้อยละ39.8 ทำให้มีคะแนนค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วย

ต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตเพียง2.69และประเด็นการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมีต้นทุนการดำเนินการสูง

พบว่ามีร้อยละ24.2 ที่เห็นด้วย โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

เพียง2.96อย่างไรก็ดีประเด็นการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตไม่เหมาะที่จะดำเนินการมีผู้เห็นด้วยเพียงร้อยละ15

เท่านั้นจึงมีผลให้คะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง3.00รายละเอียด

ดังแสดงในตารางที่6

Page 16: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

14

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ตารางที่6แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการดำเนินงานในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

เขต

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง Mean

(SD)Median (IQR)

N(%) N(%) N(%) N(%) N(%)

ข้อ7 เขต214

(11.7)48

(40.0)49

(40.8)7

(5.8)2

(1.7)2.46(0.84)

2.00 (1.00)

ข้อ8 เขต26

(5.1)41

(34.7)56

(47.5)13

(11.0)2

(1.7)2.69(0.80)

3.00 (1.00)

ข้อ11 เขต23

(2.5)26

(21.7)65

(54.2)25

(20.8)1

(0.8)2.96(0.75)

3.00 (0.00)

ข้อ12 เขต21

(0.8)14

(11.7)50

(41.7)46

(38.3)9

(7.5)3.40(0.82)

3.00 (1.00)

5.4.3ปัจจัยด้านคุณภาพในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

จากการประเมินความเห็นผู้เกี่ยวข้องในปัจจัยด้านคุณภาพในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต พบว่าคะแนน

การประเมินเป็นดังนี้ในปัจจัยด้านคุณภาพยามีเพียงร้อยละ27.5ที่เห็นด้วยว่าการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตได้ยา

ที่มีคุณภาพดี แต่มีเพียงร้อยละ17.6 เท่านั้นที่เห็นด้วยว่าบุคลากรทางการแพทย์ไม่เชื่อมั่นคุณภาพยาที่ได้จาก

การจัดซื้อร่วมระดับเขต ดังนั้น เมื่อแปลงเป็นคะแนนที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

จึงพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยสูงถึง3.14และ3.12ตามลำดับรายละเอียดดังแสดงในตารางที่7

ตารางที่7แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านคุณภาพยาในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

เขต

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง Mean

(SD)Median (IQR)

N(%) N(%) N(%) N(%) N(%)

ข้อ5 เขต26

(5.0)27

(22.5)68

(56.7)16

(13.3)3

(2.5)3.14 (0.80)

3.00 (1.00)

ข้อ10 เขต23

(2.5)18

(15.1)63

(52.9)32

(26.9)3

(2.5)3.12 (0.78)

3.00 (1.00)

5.4.4ปัจจัยอื่นๆ

จากการประเมินความเห็นผู้เกี่ยวข้องในปัจจัยอื่นๆ ในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต พบว่าคะแนนการ

ประเมินเป็นดังนี้ ประเด็นเรื่องการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตทำให้เกิดความสามัคคี มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ของหน่วยงานต่างๆ พบว่ามีผู้ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ45.4 สูงกว่าไม่เห็นด้วยและไม่เห็น

ด้วยอย่างยิ่งซึ่งมีเพียงร้อยละ18.4 ทำให้คะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

สูงถึง 3.32 ประเด็นเรื่องการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตทำให้เกิดความสะดวก เนื่องจากไม่ต้องดำเนินการ

e-Auctionพบว่ามีผู้ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ42.4สูงกว่าไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

Page 17: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

15

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ซึ่งมีเพียงร้อยละ9.3 ทำให้คะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง3.40

ประเด็นเรื่องผู้บริหารในเขตสนับสนุนให้มีการจัดซื้อร่วมระดับเขต พบว่ามีผู้ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง

รวมร้อยละ57.2 สูงกว่าไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งซึ่งมีเพียงร้อยละ1.6 ทำให้คะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึง

ความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง3.66 ประเด็นเรื่องการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตทำให้

สามารถดำเนินการจัดซื้อได้หลายครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยไม่ถือว่าเป็นการแบ่งซื้อ พบว่ามีผู้ที่เห็นด้วย

และเห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ56.7 สูงกว่าไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งซึ่งมีเพียงร้อยละ1.7 ทำให้

คะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง3.68ประเด็นเรื่องการจัดซื้อยาร่วม

ระดับเขตควรจะต้องมีการดำเนินการต่อไป แต่ต้องปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้สะดวกมากขึ้น พบว่ามี

ผู้ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ75.8 สูงกว่าไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งซึ่งมีเพียงร้อยละ

3.3 ทำให้คะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง3.98 ประเด็นเรื่องควร

ดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมากกว่าการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับจังหวัด พบว่ามีผู้ที่เห็นด้วยและ

เห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ44.2สูงกว่าไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งซึ่งมีเพียงร้อยละ12.5ทำให้คะแนน

เฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง3.41รายละเอียดดังแสดงในตารางที่8

ตารางที่8แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

เขต

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง Mean

(SD)Median (IQR)

N(%) N(%) N(%) N(%) N(%)

ข้อ6 เขต27

(5.9)47

(39.5)43

(36.1)21

(17.6)1

(0.8)3.32 (0.86)

3.00 (1.00)

ข้อ13 เขต28

(6.8)42

(35.6)57

(48.3)11 (9.3)

0(0.0)

3.40(0.75)

3.00 (1.00)

ข้อ14 เขต214

(11.8)54

(45.4)49

(41.2)1

(0.8)1

(0.8)3.66(0.73)

4.00 (1.00)

ข้อ15 เขต215

(12.5)53

(44.2)50

(41.7)2

(1.7)0

(0.0)3.68(0.71)

4.00 (1.00)

ข้อ16 เขต230

(25.0)61

(50.8)25

(20.8)4

(3.3)0

(0.0)3.98(0.77)

4.00 (0.75)

ข้อ17 เขต212

(10.0)

41

(34.2)

52

(43.3)

14

(11.7)

1

(0.8)

3.41

(0.85)3.00 (1.00)

Page 18: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

16

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

5.4.5ภาพรวมในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

จากการประเมินความเห็นผู้เกี่ยวข้องในภาพรวมในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตพบว่าคะแนนการประเมิน

เปน็ดงันี้ ประเดน็เรือ่งการจดัซือ้ยารว่มระดบัเขตมปีระโยชน์ในภาพรวมพบวา่มผีูท้ีเ่หน็ดว้ยและเหน็ดว้ยอยา่งยิง่

รวมสูงถึงร้อยละ82.4 ในขณะที่มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งรวมเพียงร้อยละ1.7 ดังนั้น คะแนน

เฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตจึงสูงถึง4.09 ประเด็นเรื่องโรงพยาบาลส่วนใหญ่

ตอ้งการใหม้กีารจดัซือ้ยารว่มระดบัเขตพบวา่มผีูท้ีเ่หน็ดว้ยและเหน็ดว้ยอยา่งยิง่รวมรอ้ยละ30.8สงูกวา่ความเหน็

ที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งซึ่งมีเพียงร้อยละ10.0 ทำให้คะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบ

การจัดซื้อยาร่วมระดับเขตสูงถึง3.23 ประเด็นเรื่องควรยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อร่วมระดับเขต

พบว่ามีผู้ที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ33.6 สูงกว่าผู้ที่เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งรวม

ร้อยละ16.8 จึงทำให้เมื่อแปลงเป็นค่าคะแนนเฉลี่ยที่บ่งถึงความเห็นด้วยต่อระบบการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

มีคะแนนสูงถึง3.17รายละเอียดดังแสดงในตารางที่9

ตารางที่9แสดงความคิดเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

เขต

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย ปานกลาง ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง Mean

(SD)Median (IQR)

N(%) N(%) N(%) N(%) N(%)

ข้อ1 เขต234

(28.6)64

(53.8)19

(16.0)2

(1.7)0

(0.0)4.09(0.71)

4.00 (1.00)

ข้อ9 เขต26

(5.0)31

(25.8)71

(59.2)9

(7.5)3

(2.5)3.23 (0.76)

3.00 (1.00)

ข้อ18 เขต26

(5.0)14

(11.8)59

(49.6)34

(28.6)6

(5.0)3.17(0.89)

3.00 (1.00)

สรุปข้อมูลจากตารางที่5-9 แสดงร้อยละของการเห็นด้วยอย่างยิ่งถึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อคำถามทั้ง

18ข้อจำแนกตามปัจจัยทั้ง4ด้านและการประเมินภาพรวมพบว่าปัจจัยด้านความประหยัดของการจัดซื้อร่วม

ระดับเขตมีผู้เห็นด้วยมากกว่าร้อยละ50สำหรับปัจจัยด้านการดำเนินการมีผู้เห็นด้วยถึงร้อยละ52ว่าการจัด

ซื้อยาร่วมระดับเขตมีขั้นตอนยุ่งยาก ร้อยละ40 เห็นว่าการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมีปัญหาอุปสรรคมาก และ

รอ้ยละ25ทีเ่หน็วา่การจดัซือ้ยารว่มระดบัเขตมตีน้ทนุการดำเนนิการสงูอยา่งไรกด็ีมเีพยีงรอ้ยละ23ทีเ่หน็วา่

การจัดซื้อยาร่วมระดับเขตไม่เหมาะที่จะดำเนินการ ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพยา มีเพียงร้อยละ28 ที่เห็นว่า

การจัดซื้อยาร่วมระดับเขตได้ยาที่มีคุณภาพดี แต่ก็มีเพียงร้อยละ18 เท่านั้นที่เห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์

ไม่เชื่อมั่นคุณภาพยาที่ได้จากการจัดซื้อร่วมระดับเขตดังนั้นปัจจัยด้านคุณภาพยายังเป็นประเด็นที่หาข้อสรุปที่

แน่ชัดได้ยากซึ่งควรให้ความสนใจต่อไปในอนาคตในด้านปัจจัยอื่นๆพบว่าร้อยละ76เห็นด้วยว่าควรจะต้องมี

การดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตต่อไปแต่ต้องปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้สะดวกมากขึ้นร้อยละ57

เห็นด้วยว่าการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตทำให้สามารถดำเนินการจัดซื้อได้หลายครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยไม่

ถือว่าเป็นการแบ่งซื้อทั้งนี้ร้อยละ83เห็นด้วยว่าการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมีประโยชน์ในภาพรวมอย่างไรก็ดี

Page 19: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

17

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

มีเพียงร้อยละ31ที่เห็นด้วยว่าควรดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมากกว่าการจัดซื้อยาร่วมระดับจังหวัดและ

ร้อยละ45 ที่เห็นด้วยว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า

มีเพียงร้อยละ17ที่เห็นด้วยว่าควรยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อร่วมระดับเขต

5.5ปัญหาในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

1.เนื่องจากเป็นการดำเนินการจัดซื้อร่วมกันระดับเขตครั้งแรก จึงพบว่าไม่มีความชัดเจนในข้อควร

ปฏิบัติเป็นบางกรณี

2.การรวบรวมข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากเป็นการรวบรวมข้อมูลหลากหลายแห่ง

หลายจังหวัดทำให้เกิดความล่าช้าอย่างมาก

3.รายการยาที่ดำเนินการจัดซื้อร่วมกันระดับเขตบางรายการซ้ำซ้อนกับรายการยาที่จัดซื้อร่วมกันระดับ

จังหวัด ทำให้ต้องจัดซื้อตามสัญญาเดิมของการจัดซื้อระดับจังหวัดไปจนกว่าจะจบสัญญาซึ่งส่วนใหญ่มีราคาสูง

กว่าจัดซื้อยาร่วมระดับเขต

4.จากหลักการที่คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาจะคัดเลือกผู้เสนอราคาที่เสนอราคาราย

ถัดไปอีก1-2 ราย โดยขอให้ปรับราคาลดลงมาให้เท่ากันกับราคาของผู้เสนอราคาต่ำสุด เพื่อเป็นบริษัทสำรอง

ในกรณีผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่สามารถจัดส่งยาให้ตามกำหนด ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสนอราคารายถัดไปดังกล่าว

ไม่ยินยอมปรับลดราคาลงมา ทำให้อาจเกิดปัญหาซื้อยาในราคาสูงกว่างวดแรกได้หากผู้เสนอราคาต่ำสุดมี

ปัญหาในการผลิตหรือจัดส่งยาไม่ทันตามกำหนดในสัญญา

5.ราคาที่ได้จากการประกวดราคาบางรายการพบว่าสูงกว่าราคาที่บางโรงพยาบาลเคยจัดซื้อ

6.บริษัทยาที่ยื่นเสนอราคา บางบริษัทไม่มีความเข้าใจในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ

ทำให้เกิดความขัดแย้งและมีข้อร้องเรียนในภายหลัง

6.สรุปผลและข้อเสนอแนะ6.1 สรุปผลการวิจัย

1)เขตตรวจราชการที่2 ได้มีการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต ตามหลักเกณฑ์ของมาตรการเพิ่ม

ประสิทธิภาพการจัดซื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข ในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต ในปี2548-2549

ทำให้แต่ละเขตสามารถจัดซื้อยาได้ในราคาถูกกว่าการจัดซื้อปกติโดยในปี2548จัดซื้อได้ถูกลง3.39ล้านบาท

และในปี2549จดัซือ้ไดถ้กูลง25.33ลา้นบาทเมือ่เทยีบกบัราคายาอา้งองิของศนูยข์อ้มลูขา่วสารดา้นเวชภณัฑ ์

สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

2)ผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต ในภาพรวมส่วนใหญ่ มีความเห็นด้วยว่าทำให้มี

ความประหยัดเหมาะสมที่จะดำเนินการได้ยาที่มีคุณภาพและเห็นว่ามีประโยชน์ในภาพรวม

6.2 อภิปรายผลการวิจัย

1)ดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต ตามหลักเกณฑ์ของมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อยาของ

กระทรวงสาธารณสุข เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบปฏิบัติปกติ

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุจึงเป็นเหตุผลหรือที่ทำให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในระดับต่างๆไม่

Page 20: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

18

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

มั่นใจในการจะปฏิบัติ เนื่องจากเกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดระเบียบ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในความสำเร็จ

ของการดำเนินการ

2)ความประหยัดที่ได้จากการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต สาเหตุหลักมาจากจำนวนรายการยาที่

ดำเนินการในการจัดซื้อร่วม และรวมถึงกลุ่มยาที่นำมาดำเนินการร่วมกัน โดยในภาพรวมการดำเนินการบาง

รายการจะมีราคาสูงกว่าราคาที่กำหนด เนื่องจากบริษัทปรับราคาจำหน่ายบางรายการมียาชื่อสามัญทำให้ราคา

ต่ำลงมาก เป็นต้น แต่ในภาพรวมการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต มีความประหยัดเมื่อเทียบกับราคาซื้อปกติที่ไม่ได้

มีการดำเนินการจัดซื้อร่วม

3)จากการสอบถามความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตพบว่าถึงแม้จะ

มีประเด็นว่า การจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมีขั้นตอนที่ยุ่งยากการดำเนินการมีปัญหาอุปสรรคหรือมีต้นทุนในการ

ดำเนินการสูง เนื่องจากต้องมีกรรมการดำเนินการที่เกี่ยวข้องมากเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงาน แต่

ส่วนใหญ่ก็ยังให้ความเห็นสรุปว่า การจัดซื้อยาร่วมระดับเขตยังมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการ ซึ่งส่วนสำคัญ

เนื่องจากแม้ในภาพรวมจะมีปัญหาแต่เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะเกิดความสะดวกในการ

จัดซื้อและประการสำคัญจะไม่ต้องเกรงว่าจะถูกตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินว่ามีการซื้อยาแพงกว่า

หน่วยงานอื่นๆ ในภายหลัง และการดำเนินการจัดซื้อย่อยแต่ละครั้งไม่ต้องขออนุมัติใหม่ และไม่ถูกกล่าวหาว่า

แบ่งซื้อแบ่งจ้าง เนื่องจากมีสัญญาใหญ่คือสัญญาจะซื้อจะขายราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณครอบคลุมการจัดซื้อไว้

แล้ว

6.3ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

จากการศึกษาเห็นว่าถึงแม้จะมีปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัติของการจัดซื้อยาในระดับเขต แต่ไม่ว่าจะมี

การดำเนินการจำนวนรายการมากน้อยก็ตามก็มีผลให้เกิดความประหยัดเนื่องจากได้ยาที่มีราคาถูกลง แม้บาง

รายการจะมีราคาสูงขึ้นก็ตาม แต่ราคาดังกล่าวก็เป็นราคาต่ำสุดที่สามารถจัดซื้อได้ และการดำเนินการจัดซื้อ

ร่วมระดับเขตตามมติคณะรัฐมนตรีหากดำเนินการจริงจังก็จะทำให้เกิดความสะดวกในการจัดซื้อยาดังกล่าว

ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งดังนั้นจึงมีข้อเสนอว่า

1)ในปัจจุบันที่ดำเนินการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่โรงพยาบาลต่างๆ ไม่มีรายได้จากทาง

อื่น นอกจากงบประมาณต่อหัวประชากร การใช้งบประมาณอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่มี

ความจำเป็นกับการอยู่รอดของโรงพยาบาลต่างๆ การจัดซื้อยาร่วมระดับเขต จึงเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญ

ที่จะช่วยให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินการอย่างจริงจังในทุก

ระดับซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดำเนินการแล้ว

2)การจัดซื้อยาร่วมระดับเขตที่ผ่านมามีปัญหาในการคัดเลือกรายการยาที่จะดำเนินการร่วมกันในระดับ

หนึ่ง เนื่องจากเป็นการดำเนินการร่วมกันทั้งโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่

และให้การบริการในระดับตติยภูมิ และตติยภูมิขั้นสูง ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก

และให้บริการในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ ดังนั้นรายการยาที่ใช้หลักจึงมีความแตกต่างกันดังนั้นเพื่อให้จำนวน

รายการยาที่จะดำเนินการมีความเหมาะสมจึงควรแบ่งกลุ่มยาที่จะดำเนินการเป็น3กลุ่มดังนี้

Page 21: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

19

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

กลุ่มที่1รายการยาที่มีการใช้ร่วมกันทั้งในรพศ./รพท./รพช.

กลุ่มที่2รายการยาที่มีการใช้ร่วมกันมากในรพศ./รพท.ในเขต

กลุ่มที่3รายการยาที่มีการใช้ร่วมกันมากในรพช.ในเขต

3)หากผู้บริหารระดับสูง ทั้งปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

และผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างจริงจัง การดำเนินการจัดซื้อยาร่วมจะเกิด

ประสิทธิภาพสูงสุด

4)หากมีการดำเนินการจัดซื้อยาร่วมที่เป็นระบบชัดเจน จะสามารถมีระบบการติดตามกำกับคุณภาพยา

ที่จัดซื้อได้ชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆมีความเชื่อมั่นในการใช้ยาที่ดำเนินการจัดซื้อร่วมมากขึ้น

5)การดำเนินการจัดซื้อยาร่วมในระดับเขต เป็นการดำเนินการร่วมโดยผู้แทนจากหน่วยงานในทุกระดับ

และทุกจังหวัด ดังนั้นจึงเป็นระบบที่จะสามารถทำให้เกิดธรรมาภิบาลในการจัดซื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข

ทำให้การจัดซื้อโปร่งใสตรวจสอบได้ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลในเรื่องการป้องกันการทุจริต

6)ควรมีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการประสานดำเนินการเรื่องดังกล่าว ตามมติคณะ

รัฐมนตรีรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและพัฒนาระบบให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

เพื่อให้ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ผู้วิจัยใคร่เสนอ

ข้อเสนอแนะหรือการวิจัยในครั้งต่อไปดังนี้

1)ควรมีการศึกษาเพิ่มเกี่ยวกับความเห็นและนโยบายของผู้บริหารในระดับสูงต่อการดำเนินการจัดซื้อยา

รว่มระดบัเขตตามมตคิณะรฐัมนตรดีงักลา่ว เชน่ปลดักระทรวงสาธารณสขุผูต้รวจราชการกระทรวงนายแพทย์

สาธารณสุขจังหวัดรวมถึงสำนักงานหลักประกันสุขภาพ

2)ควรศึกษาความเป็นไปได้ที่จะกำหนดให้การจัดซื้อยาร่วมเป็นกระบวนการดำเนินการปกติในด้านยา

Page 22: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

20

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา และการจัดจ่ายยา ในงานบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองไผ่

Prescribing and Dispensary Processing Error in Out Patient Services of Nong-Phai Hospital

ถาวรดาวสดใส,ภบ.*

บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาและการจัดจ่ายยา ในงาน

บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองไผ่ และเพื่อหาสาเหตุความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาและการจัดจ่ายยา

ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา และการจัดจ่ายยา ในงานบริการผู้ป่วยนอก

โรงพยาบาลหนองไผ่ในระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนมิถุนายน2551โดยใช้แบบบันทึกความคลาดเคลื่อน

ทางยาและการสัมภาษณ์ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาจำนวน82ครั้งคิดเป็น

ร้อยละ0.15 จากจำนวนใบสั่งยาทั้งหมด54,431 ใบสั่งยา อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา

จำนวน124ครั้งคิดเป็นร้อยละ0.26ซึ่งความคลาดเคลื่อนในการสั่งยานั้นสามารถจำแนกเป็น1)การสั่งยา

ผิดชนิดมีจำนวน3 ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ3.66ของใบสั่งยาที่พบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา2)การ

ไม่ระบุวิธีใช้หรือให้ผิดวิธีมีจำนวน12ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ14.633)จำนวนผิดพลาดหรือไม่ระบุจำนวน

มีจำนวน29 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ35.364) สั่งจ่ายยาผิดรูปแบบ มีจำนวน7 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ

8.545) สั่งจ่ายยาซ้ำซ้อน มีจำนวน6 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ7.326) สั่งยาไม่ตรงกับผู้ป่วย มีจำนวน

1ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ1.227)ให้ยาในกลุ่มที่ผู้ป่วยแพ้ยามีจำนวน5ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ6.10และ

8) สั่งจ่ายยาไม่ครบถ้วน มีจำนวน19 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ23.17 ส่วนความคลาดเคลื่อนในการ

จัดจ่ายยาสามารถจำแนกเป็น1) จัดยาผิดคนมีจำนวน1 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ0.70 ของใบสั่งยาที่พบ

ความคลาดเคลื่อนทางยาในการจัดจ่ายยา2) จัดยาผิดชนิด มีจำนวน71 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ50.00

3)จัดยาผิดความแรงมีจำนวน45ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ31.694)จัดยาผิดจำนวนมีจำนวน10ใบสั่งยา

คิดเป็นร้อยละ7.045) จัดยาผิดรูปแบบ มีจำนวน2 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ1.41 และ6) จัดยาไม่ครบ

รายการมีจำนวน13ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ9.16

จากผลการศึกษาพบว่าความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาและการจัดจ่ายยาก่อนส่งมอบยาให้กับผู้ป่วยนอก

ส่วนใหญ่ (ร้อยละ85.71) จะเกิดจากความผิดพลาดเชิงสุ่ม (Randomerror) ซึ่งเกิดความผิดพลาดเป็น

ครั้งคราว โดยส่วนใหญ่เป็นความผิดพลาดของบุคคล เนื่องจากความเผอเรอ หลงลืม ไม่ละเอียดรอบคอบ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีจำนวนผู้ป่วยมาก หรือถูกขัดจังหวะในระหว่างการสั่งใช้ยาและการจัดจ่ายยา

ความเร่งรีบความเครียดความเหนื่อยล้าซึ่งอาจทำให้บุคลากรขาดความละเอียดรอบคอบในการทำงานเพราะ

*ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชนโรงพยาบาลหนองไผ่จังหวัดเพชรบูรณ์

Page 23: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

21

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ต้องรีบให้บริการผู้ป่วยนอกจากนี้ยังพบความผิดพลาดเชิงระบบ(Systematicerror)ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดความ

ผดิพลาดอยา่งตอ่เนือ่งได้ โดยพบความคลาดเคลือ่นในการสัง่ใชย้าใหมท่ีเ่พิง่บรรจเุขา้รายการยาของโรงพยาบาล

มีการจำผิดพลาดของข้อมูลรูปแบบและวิธีการใช้ยา ส่วนความคลาดเคลื่อนการจัดจ่ายยายังพบสาเหตุการจัด

วางยาที่สลับผิดตำแหน่งหรือเก็บคืนยาผิดตำแหน่งทำให้เกิดการจัดจ่ายยาผิดพลาดได้

แนวทางป้องกันเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา และการจัดจ่ายยา สามารถดำเนินการได้

โดยการยึดหลักการทำงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยจะมีผลทำให้ลดความคลาดเคลื่อน

เชิงระบบ และควรดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิด

ความเร่งรีบ ความเครียด ความเหนื่อยล้าจนเกินไป จนมีผลต่อความละเอียดรอบคอบในการทำงานของ

บุคลากร เช่น การกำจัดสิ่งที่รบกวนสมาธิของเจ้าหน้าที่ การจัดให้มีอัตรากำลังที่เหมาะสมการจัดพื้นที่การ

ทำงานให้เหมาะสมเป็นต้นและควรจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์ความคลาดเคลื่อน

ทางยา เช่น อัตราการเกิด สาเหตุและแนวทางการแก้ไข เพื่อเพิ่มความตะหนักให้บุคลากรไม่อยู่ในความ

ประมาท

คำสำคัญ:ความคลาดเคลื่อนทางยางานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล

หลักการและเหตุผล

เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วยด้วยยานั้น จะ

มุ่งให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บป่วยหรือหวังผลของการ

ป้องกันโรค โดยพยายามให้มีโอกาสเสี่ยงต่ออันตราย

ที่เกิดจากยา หรือผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

ให้น้อยที่สุดและเพื่อให้เกิดประสิทธิผลการรักษาแก่

ผู้ป่วยให้มากที่สุด แต่ในความเป็นจริงของเวชปฏิบัติ

นั้นก็ยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ต้องได้รับอันตราย

จากการใช้ยา เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้ยาหลาก

หลายชนิดและรูปแบบ จึงมีโอกาสที่จะเกิดปัญหา

และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ ซึ่งอันตราย

นี้อาจเกิดจากผลอันไม่พึงประสงค์ของยา(Adverse

drugreaction)หรอือาจเกดิเพราะความคลาดเคลือ่น

ทางยาโดยเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอน คือ อาจเกิดใน

ขั้นตอนของการสั่งใช้ยา การจัดจ่ายยา การบริหาร

ยาแก่ผู้ป่วย หรืออาจเกิดเพราะความไม่ร่วมมือ

ในการใช้ยาของผู้ป่วย(1) ความคลาดเคลื่อนทางยา

อาจเกิดขึ้นได้จากทั้งผู้มีทักษะและประสบการณ์

การทำงานสงู หรอืเกดิจากผูม้ทีกัษะและประสบการณ์

การทำงานน้อย โดยอาจเกิดจากแพทย์ผู้สั่งใช้ยา

จากเภสัชกรผู้เตรียมและจ่ายยาให้กับผู้ป่วย จาก

พยาบาลผู้บริหารยาแก่ผู้ป่วย จากบุคลากรทาง

การแพทย์อื่นๆ จากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายยา

หรือแม้แต่จากตัวผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ใช้ยา โรงพยาบาล

หนองไผ่ได้นำกระบวนการคุณภาพตามแนวคิดของ

HospitalAccreditation(HA)มาใช้เป็นแนวทางใน

การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยมุ่งเน้นผู้ป่วย

เป็นศูนย์กลาง โดยให้มีการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพ

ในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ให้ผู้รับบริการได้รับ

บริการที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ครั้งที่มา

รับบริการ (2) และเพื่ อตอบสนองนโยบายของ

โรงพยาบาล ฝ่ายเภสัชกรรมจึงได้สนใจที่ จะ

ศึกษาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในเรื่อง

บทนำ

Page 24: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

22

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ความคลาดเคลื่อนทางยา เพื่อค้นหาลักษณะของ

ปัญหา สาเหตุ นำไปสู่วิธีการแก้ไขและป้องกันที่จะ

ลดความคลาดเคลื่อนให้เกิดน้อยที่สุดหรือมิ ให้

เกิดขึ้นเลย

วัตถุประสงค์1.เพื่อสำรวจข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา

ของการสั่งใช้ยาและการจัดจ่ายยา ก่อนที่จะส่งมอบ

ยาให้แก่ผู้ป่วย

2. เพื่อหาสาเหตุการเกิดความคลาดเคลื่อน

ของการสั่งใช้ยาและการจัดจ่ายยา

นิยามศัพท์เฉพาะ1.ความคลาดเคลือ่นจากการสัง่ใชย้าหมายถงึ

การเลือกใช้ยาผิด (โดยใช้หลักการเลือกยาตาม

ข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ ประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย ยา

อื่นๆที่ผู้ป่วยใช้อยู่การสั่งใช้ยาซ้ำซ้อนการสั่งใช้ยา

ที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันและปัจจัยอื่นๆ)การเลือก

ขนาดยาผิด การเลือกรูปแบบยาผิด การสั่งยาใน

จำนวนที่ผิด การเลือกวิถีทางให้ยาผิด การเลือก

ความเข้มข้นของยาผิด การเลือกอัตราเร็วในการ

ให้ยาผิดหรือการให้คำแนะนำในการใช้ยาผิดการสั่ง

ใช้ยาผิดตัวผู้ป่วยหรือการไม่ระบุชื่อยา ความแรง

ความเข้มข้น ความถี่ของการใช้ยา ที่ทำให้เกิด

ความคลาดเคลื่อนที่ส่งผลถึงตัวผู้ป่วย

2.จำนวนความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา

ผู้ป่วยนอก หมายถึง จำนวนครั้งที่พบการสั่งยาที่มี

ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทางยา ในช่วงวันที่ 1

มกราคม ถึง30 มิถุนายน2551 แหล่งข้อมูลจาก

รายงานความคลาดเคลื่อนด้านยา ห้องจ่ายยาผู้ป่วย

นอกและห้องจ่ายยานอกเวลาราชการ

3.ความคลาดเคลื่อนจากการจัดจ่ายยา

หมายถึงความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจัดจ่ายยา

ของฝ่ายเภสัชกรรมที่จ่ายยาไม่ถูกต้องตามที่ระบุใน

คำสั่งใช้ยา ได้แก่ ผิดชนิดยา รูปแบบยา ความแรง

ของยา ขนาดยา วิธีใช้ยา จำนวนยาที่สั่งจ่าย จ่าย

ผิดตัวผู้ป่วย จ่ายยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุ จ่าย

ยาที่ไม่มีคำสั่งใช้ยาเตรียมยาผิดเช่นเจือจาง/ผสม

ผิดใช้ภาชนะบรรจุยาไม่เหมาะสมฉลากยาผิดหรือ

ไม่มีผู้ป่วยที่รับยา โดยเป็นเหตุการณ์ซึ่งมีโอกาส

ที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยา เกิดความ

คลาดเคลื่อนขึ้นแต่ยังไม่ถึงมือผู้ป่วย

4.จำนวนความคลาดเคลื่อนจากการจัดจ่าย

ยาผู้ป่วยนอก หมายถึง จำนวนครั้งที่พบการจัดยาที่

มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนทางยา ในช่วงวันที่1

มกราคม ถึง30 มิถุนายน2551 แหล่งข้อมูลจาก

รายงานความคลาดเคลื่อนด้านยาห้องจ่ายยาผู้ป่วย

นอก

วิธีการวิจัยขอบเขตการวิจัย เป็นการศึกษาความคลาด

เคลื่อนในการสั่งยาและการจัดจ่ายยาก่อนส่งมอบยา

ใหก้บัผูป้ว่ยนอกในการบรกิารผูป้ว่ยนอกโรงพยาบาล

หนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วง

เดือนมกราคมถึงมิถุนายนพ.ศ.2551

เครื่องมือการศึกษา 1.แบบบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยา

2.การสัมภาษณ์

ขั้นตอนการศึกษา 1.ศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับความคลาด

เคลื่อนทางยา

2.จัดเตรียมแบบฟอร์มในการลงบันทึก

ข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาและการสัมภาษณ์

3.ประชุมชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานกับ

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

4.นำข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาที่ได้

เก็บบันทึกไว้มาวิเคราะห์

Page 25: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

23

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

5.สรุปผลข้อมูล อภิปรายผลเพื่อหาสาเหตุ

แนวทางแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดความคลาดเคลื่อน

ทางยาขึ้น

การวิเคราะห์วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่นจำนวน

ร้อยละค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษาจากการศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยา

ก่อนที่จะจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย ในงานบริการผู้ป่วยนอก

ของโรงพยาบาลหนองไผ่ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง

มิถุนายน พ.ศ.2551 แบ่งผลการวิจัยออกเป็น2

สว่นดงันี้

1.ข้อมูลทั่วไป

โรงพยาบาลหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น

โรงพยาบาลชุมชนขนาด60 เตียง มีแพทย์ประจำ

จำนวน5 คน มีบุคลากรที่รับผิดชอบงานบริการ

เภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ประกอบด้วย เภสัชกร

จำนวน3 คน, เจ้าพนักงานเภสัชกรรม จำนวน2

คน และพนักงานห้องยา จำนวน2 คน มีจำนวน

ผู้ป่วยนอกเฉลี่ยวันละ300คน

2.ข้อมูลความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาและความ

คลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา

จากการศึกษาค่าความคลาดเคลื่อนในการ

สั่งยาและความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา ในงาน

บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลหนองไผ่ ตั้งแต่

เดือนมกราคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2551 พบว่า

อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาจำนวน82

ครั้งคิดเป็นร้อยละ0.15จากจำนวนใบสั่งยาทั้งหมด

54,431 ใบสั่งยา อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนใน

การจัดจ่ายยาจำนวน124 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ0.26

(ตารางที่ 1) เมื่อจำแนกความคลาดเคลื่อนในการ

สั่งใช้ยาทั้งหมด82 ใบสั่งยา พบว่าส่วนใหญ่เป็น

ความคลาดเคลื่อนในเรื่องการระบุจำนวนผิดพลาด

หรือไม่ระบุจำนวนมากที่สุดมี29ใบคิดเป็นร้อยละ

35.36 รองลงมาเป็นเรื่องของการสั่งจ่ายยาไม่

ครบถ้วนมี19ใบคิดเป็นร้อยละ23.17และการไม่

ระบุวิธีใช้หรือให้ผิดวิธีมี12ใบคิดเป็นร้อยละ14.63

ตามลำดับดังตารางที่2และเมื่อจำแนกความคลาด

เคลื่อนในกระบวนการจัดจ่ายยา พบว่า ส่วนใหญ่

เป็นความคลาดเคลื่อนในเรื่องการจัดยาผิดชนิดมาก

ที่สุดมี71 ใบ คิดเป็นร้อยละ50.00 รองลงมาเป็น

ตารางที่ 1 แสดงผลการติดตามความคลาดเคลื่อนในการสั่งยาและความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา

งานบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลหนองไผ่ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนพ.ศ.2551

ความคลาดเคลื่อนม.ค.จำนวน(ร้อยละ)

ก.พ.จำนวน(ร้อยละ)

มี.ค.จำนวน(ร้อยละ)

เม.ย.จำนวน(ร้อยละ)

พ.ค.จำนวน(ร้อยละ)

มิ.ย.จำนวน(ร้อยละ)

รวมจำนวน(ร้อยละ)

ความคลาดเคลื่อนในการสั่งยา(Prescribingerror)

20(0.20)

4 (0.05)

18(0.21)

21 (0.21)

10(0.12)

9(0.10)

82(0.15)

ความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา(Dispensaryprocessingerror)

25(0.25)

25(0.30)

28(0.32)

28(0.28)

22 (0.27)

14 (0.15)

142 (0.26)

จำนวนใบสั่งยาของผู้ป่วยนอก 10,165(100.00)

8,457(100.00)

8,616(100.00)

9,910(100.00)

8,116(100.00)

9,167(100.00)

54,431(100.00)

Page 26: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

24

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ตารางที่2แสดงจำนวนของใบสั่งยาที่พบแยกตามประเภทของความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา(Prescribing

error)ในงานบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลหนองไผ่ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนพ.ศ.2551

ประเภทของ ความคลาดเคลื่อนที่พบ

ม.ค.จำนวน

ก.พ.จำนวน

มี.ค.จำนวน

เม.ย.จำนวน

พ.ค.จำนวน

มิ.ย.จำนวน

รวมจำนวน(ร้อยละ)

สั่งยาผิดชนิด 1 1 - 1 - - 3(3.66)

ไม่ระบุวิธีใช้หรือให้ผิดวิธี 4 - 4 3 - 1 12(14.63)

จำนวนผิดพลาดหรือไม่ระบุจำนวน 5 - 8 10 3 3 29(35.36)

สั่งจ่ายยาผิดรูปแบบ - 1 2 1 3 - 7(8.54)

สั่งจ่ายยาซ้ำซ้อน 2 2 - 1 1 - 6(7.32)

สั่งยาไม่ตรงกับผู้ป่วย - - - 1 - - 1(1.22)

ได้รับยาในกลุ่มที่ผู้ป่วยแพ้ยา 2 - 1 - 2 - 5(6.10)

สั่งจ่ายยาไม่ครบถ้วน 6 - 3 4 1 5 19(23.17)

รวม 20 4 18 21 10 9 82(100.00)

ตารางที่3แสดงจำนวนของใบสั่งยาที่พบแยกตามประเภทของความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยาในงานบริการ

ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลหนองไผ่ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนพ.ศ.2551

ประเภทของ ความคลาดเคลื่อนที่พบ

ม.ค.จำนวน

ก.พ.จำนวน

มี.ค.จำนวน

เม.ย.จำนวน

พ.ค.จำนวน

มิ.ย.จำนวน

รวมจำนวน(ร้อยละ)

จัดยาผิดคน - - - 1 - - 1(0.70)

จัดยาผิดชนิด 13 15 16 11 9 7 71(50.00)

จัดยาผิดความแรง 10 8 9 8 7 3 45(31.69)

จัดยาผิดจำนวน - 1 1 4 2 2 10(7.04)

จัดยาผิดรูปแบบ 1 - - 1 - - 2(1.41)

จัดยาไม่ครบรายการ 1 1 2 3 4 2 13(9.16)

รวม 25 25 28 28 22 14 142(100.00)

เรื่องของการจัดยาผิดความแรงมี 45 ใบ คิดเป็น

ร้อยละ31.69และการจัดยาไม่ครบรายการมี13ใบ

คิดเป็นร้อยละ9.15ตามลำดับดังตารางที่3

โดยที่สาเหตุของความคลาดเคลื่อนในการ

สั่งยาเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักดังต่อไปนี้ การสั่งยาผิด

ชนิด เนื่องจากความไม่ละเอียดรอบคอบในการระบุ

ชื่อยาที่มีความใกล้เคียงกัน การไม่ระบุวิธีใช้หรือระบุ

ผิดวิธีเนื่องจากความหลงลืมระบุวิธีใช้ในช่วงที่ผู้ป่วย

มีจำนวนมากและมีการจำข้อมูลยาผิดพลาด การ

สั่งจ่ายจำนวนของยาผิดพลาดหรือไม่ระบุจำนวน

เนื่องจากความหลงลืมระบุจำนวนในช่วงที่ผู้ป่วยมี

จำนวนมาก การสั่งจ่ายยาผิดรูปแบบเนื่องจากความ

ไม่ละเอียดรอบคอบโดยที่ชื่อยามีความใกล้เคียงกัน

และการจำข้อมูลยาผิดพลาด การสั่งจ่ายยาซ้ำซ้อน

เนื่องจากความไม่ละเอียดรอบคอบตรวจทานในการ

สั่งจ่ายยาซ้ำซ้อนในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก การ

Page 27: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

25

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ตารางที่4แสดงจำนวนของใบสั่งยาที่พบแยกตามประเภทของความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาในงานบริการ

ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลหนองไผ่ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนพ.ศ.2551

ความคลาดเคลื่อน จำนวน เหตุผล(จำนวน)รูปแบบเหตุผลความคลาดเคลื่อน

สั่งยาผิดชนิด 3 ความไม่ละเอียดรอบคอบในการระบุชื่อยาที่มีความใกล้เคียงกัน(3)

R

ไม่ระบุวิธีใช้หรือให้ผิดวิธี 12 ความหลงลืมระบุวิธีใช้ในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก(10)จำรายละเอียดผิดพลาด(2)

R S

จำนวนผิดพลาดหรือไม่ระบุจำนวน

29 ความหลงลืมระบุจำนวนในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก(29)

R

สั่งจ่ายยาผิดรูปแบบ 7 ความไม่ละเอียดรอบคอบโดยที่ชื่อยามีความใกล้เคียงกัน(6)จำรายละเอียดผิดพลาด(1)

R S

สั่งจ่ายยาซ้ำซ้อน 6 ความไม่ละเอียดรอบคอบตรวจทานในการสั่งจ่ายยาซ้ำซ้อน ในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก(6)

R

สั่งยาไม่ตรงกับผู้ป่วย 1 ความไม่ละเอียดรอบคอบในการตรวจทานนามสกุลผู้ป่วย ในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก(1)

R

ได้รับยาในกลุ่มที่ผู้ป่วยแพ้ยา 5 ความไม่ละเอียดรอบคอบในการซักประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก(5)

R

สั่งจ่ายยาไม่ครบถ้วน 19 ความหลงลืมระบุจำนวนในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก(19)

R

รวม 82

หมายเหตุ R=RandomErrorS=Systematicerror

สั่งยาไม่ตรงกับผู้ป่วยเนื่องจากความไม่ละเอียด

รอบคอบในการตรวจทานนามสกุลผู้ป่วยในช่วงที่

ผู้ป่วยมีจำนวนมาก การสั่งจ่ายยาไม่ครบถ้วนเกิดขึ้น

จากความหลงลืมระบุจำนวนในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวน

มาก การสั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาเกิดขึ้นจาก

ความไม่ละเอียดรอบคอบในการซักประวัติการแพ้ยา

ของผู้ป่วยในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก ดังแสดงใน

ตารางที่4 และสาเหตุของความคลาดเคลื่อนในการ

จัดจ่ายยาเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้ การจัด

ยาผดิคนเนือ่งจากความไมล่ะเอยีดรอบคอบตรวจทาน

นามสกุลผู้ป่วย การจัดยาผิดชนิดเกิดจากความ

ไม่ละเอียดรอบคอบโดยมีการปิดฉลากยาผิดพลาด

ชนิดยา ความไม่ละเอียดรอบคอบในการหยิบยาที่

มีชื่อคล้ายกัน และการสลับวางยาผิดตำแหน่ง การ

จัดยาผิดความแรงเกิดจากความไม่ละเอียดรอบคอบ

ของการหยิบยาผิดความแรง และการสลับวางยา

ผิดตำแหน่ง การจัดยาผิดจำนวนเกิดจากการนับ

จำนวนยาผิดพลาด การแบ่งบรรจุยาในลักษณะ

Pre-packมจีำนวนยาผดิพลาดการจดัยาผดิรปูแบบ

เกิดจากการไม่ละเอียดรอบคอบหยิบยาผิดรูปแบบ

ที่มีชื่อคล้ายกัน การจัดยาไม่ครบรายการ เกิดจาก

ความไม่ละเอียดรอบคอบในการตรวจทานจำนวน

รายการยา

Page 28: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

26

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ตารางที่5แสดงจำนวนของใบสั่งยาที่พบแยกตามประเภทของความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจัดจ่ายยา

ในงานบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลหนองไผ่ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนพ.ศ.2551

ประเภทของ ความคลาดเคลื่อนที่พบ

จำนวน เหตุผล(จำนวน)รูปแบบเหตุผลความคลาดเคลื่อน

จัดยาผิดคน 1 ความไม่ละเอียดรอบคอบตรวจทานนามสกุลผู้ป่วย(1) R

จัดยาผิดชนิด 71 ความไม่ละเอียดรอบคอบปิดฉลากยาผิดพลาดชนิดยา(24)ความไม่ละเอียดรอบคอบในการหยิบยาที่มีชื่อคล้ายกัน(33)การสลับวางยาผิดตำแหน่ง(14)

R R S

จัดยาผิดความแรง 45 ความไม่ละเอียดรอบคอบของการหยิบยาผิดความแรง(33)การสลับวางยาผิดตำแหน่ง(12)

R S

จัดยาผิดจำนวน 10 เกิดจากการนับจำนวนยาผิดพลาด(7)การแบ่งบรรจุยาในลักษณะPre-packมีจำนวนยาผิดพลาด(3)

R S

จัดยาผิดรูปแบบ 2 การไม่ละเอียดรอบคอบหยิบยาผิดรูปแบบที่มีชื่อคล้ายกัน(2) R

จัดยาไม่ครบรายการ 13 ความไม่ละเอียดรอบคอบในการตรวจทานจำนวนรายการยา(13) R

รวม 142

หมายเหตุR=RandomErrorS=Systematicerror

ตารางที่6แสดงจำนวนความคลาดเคลื่อนเชิงสุ่มและความคลาดเคลื่อนเชิงระบบในการสั่งใช้ยาและการจัด

จ่ายยาในงานบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลหนองไผ่ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายนพ.ศ.2551

ความคลาดเคลื่อนความคลาดเคลื่อน

เชิงสุ่มจำนวน(ร้อยละ)

ความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ

จำนวน(ร้อยละ)

รวมจำนวน(ร้อยละ)

1.ความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยา 79(96.34) 3(3.66) 82(100.00)

2.ความคลาดเคลื่อนการจัดจ่ายยา 113(79.58) 29(20.42) 142(100.00)

3.รวมความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาและการจัดจ่ายยา 192(85.71) 32(14.29) 224(100.00)

เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของการคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาและการจัดจ่ายยา โดยจำแนกสาเหตุของการ

คลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาและการจัดจ่ายยา ว่าเป็นความคลาดเคลื่อนเชิงสุ่มหรือความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ

ผลการศึกษาพบว่าความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาส่วนใหญ่(ร้อยละ96.34)เป็นความคลาดเคลื่อนเชิงสุ่มและ

พบว่าความคลาดเคลื่อนการจัดจ่ายยา ส่วนใหญ่(ร้อยละ79.58) เป็นความคลาดเคลื่อนเชิงสุ่ม ดังแสดงใน

ตารางที่6

Page 29: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

27

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

สรุปผลการศึกษาผลการศกึษาพบอบุตักิารณค์วามคลาดเคลือ่น

ในการสั่งยา จำนวน82 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ0.15

จากจำนวนใบสั่ งยาทั้ งหมด 54,431 ใบสั่ งยา

อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา

จำนวน142ครั้งคิดเป็นร้อยละ0.26ซึ่งใบสั่งยาที่

พบความคลาดเคลื่อนในการสั่งยานั้นสามารถจำแนก

เป็น1) การสั่งยาผิดชนิด มีจำนวน3 ใบสั่งยา คิด

เปน็รอ้ยละ3.66ของใบสัง่ยาทีพ่บความคลาดเคลือ่น

ทางยาในการสั่งยา 2) การไม่ระบุวิธี ใช้หรือให้

ผิดวิธี มีจำนวน12 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ14.63

3) จำนวนผิดพลาดหรือไม่ระบุจำนวน มีจำนวน29

ใบสัง่ยาคดิเปน็รอ้ยละ35.364)สัง่จา่ยยาผดิรปูแบบ

มีจำนวน7 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ8.545) สั่ง

จ่ายยาซ้ำซ้อน มีจำนวน6 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ

7.326) สั่งยาไม่ตรงกับผู้ป่วยมีจำนวน1 ใบสั่งยา

คิดเป็นร้อยละ1.227)ให้ยาในกลุ่มที่ผู้ป่วยแพ้ยามี

จำนวน5 ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ6.10และ8)สั่ง

จ่ายยาไม่ครบถ้วน มีจำนวน19 ใบสั่งยา คิดเป็น

ร้อยละ23.17 ซึ่งใบสั่งยาที่พบความคลาดเคลื่อนใน

การจัดจ่ายยาสามารถจำแนกเป็น1)จัดยาผิดคนมี

จำนวน1ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ0.70ของใบสั่งยา

ที่พบความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา2)จัดยาผิด

ชนิดมีจำนวน71ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ50.003)

จัดยาผิดความแรง มีจำนวน45 ใบสั่งยา คิดเป็น

ร้อยละ31.694) จัดยาผิดจำนวน มีจำนวน10

ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ7.045)จัดยาผิดรูปแบบมี

จำนวน2ใบสัง่ยาคดิเปน็รอ้ยละ1.41และ6)จดัยา

ไม่ครบรายการมีจำนวน13ใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ

9.16 โดยที่สาเหตุของความคลาดเคลื่อนในการ

สั่งยาเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักดังต่อไปนี้การสั่งยาผิด

ชนิด เนื่องจากความไม่ละเอียดรอบคอบในการระบุ

ชื่อยาที่มีความใกล้เคียงกัน การไม่ระบุวิธีใช้หรือระบุ

ผิดวิธีเนื่องจากความหลงลืมระบุวิธีใช้ในช่วงที่ผู้ป่วย

มีจำนวนมากและมีการจำข้อมูลยาผิดพลาด การ

สั่งจ่ายจำนวนของยาผิดพลาดหรือไม่ระบุจำนวน

เนื่องจากความหลงลืมระบุจำนวนในช่วงที่ผู้ป่วยมี

จำนวนมาก การสั่งจ่ายยาผิดรูปแบบเนื่องจากความ

ไม่ละเอียดรอบคอบโดยที่ชื่อยามีความใกล้เคียงกัน

และการจำข้อมูลยาผิดพลาด การสั่งจ่ายยาซ้ำซ้อน

เนื่องจากความไม่ละเอียดรอบคอบตรวจทานในการ

สั่งจ่ายยาซ้ำซ้อนในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก การ

สั่งยาไม่ตรงกับผู้ป่วยเนื่องจากความไม่ละเอียด

รอบคอบในการตรวจทานนามสกุลผู้ป่วยในช่วงที่

ผู้ป่วยมีจำนวนมาก การสั่งจ่ายยาไม่ครบถ้วนเกิดขึ้น

จากความหลงลืมระบุจำนวนในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวน

มาก การสั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาเกิดขึ้นจาก

ความไม่ละเอียดรอบคอบในการซักประวัติการแพ้ยา

ของผู้ป่วยในช่วงที่ผู้ป่วยมีจำนวนมาก ดังแสดงใน

ตารางที่4 และสาเหตุของความคลาดเคลื่อนในการ

จดัจา่ยยาเกดิขึน้จากหลายสาเหตดุงัตอ่ไปนี้การจดัยา

ผิดคนเนื่องจากความไม่ละเอียดรอบคอบตรวจทาน

นามสกุลผู้ป่วย การจัดยาผิดชนิดเกิดจากความไม่

ละเอียดรอบคอบโดยมีการปิดฉลากยาผิดพลาดชนิด

ยา ความไม่ละเอียดรอบคอบในการหยิบยาที่มีชื่อ

คล้ายกัน และการสลับวางยาผิดตำแหน่ง การจัดยา

ผิดความแรง เกิดจากความไม่ละเอียดรอบคอบ

ของการหยิบยาผิดความแรง และการสลับวางยา

ผิดตำแหน่ง การจัดยาผิดจำนวนเกิดจากการ

นับจำนวนยาผิดพลาด การแบ่งบรรจุยาในลักษณะ

Pre-pack มีจำนวนยาผิดพลาด การจัดยาผิด

รูปแบบเกิดจากการไม่ละเอียดรอบคอบหยิบยาผิด

รูปแบบที่มีชื่อคล้ายกัน การจัดยาไม่ครบรายการ

เกิดจากความไม่ละเอียดรอบคอบในการตรวจทาน

จำนวนรายการยา

Page 30: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

28

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

อภิปรายจากผลการศึกษาพบข้อมูลอุบัติการณ์ความ

คลาดเคลื่อนในการสั่งยา จำนวน82 ครั้ง คิดเป็น

ร้อยละ0.15 จากจำนวนใบสั่งยาทั้งหมด54,431

ใบสั่งยา ความคลาดเคลื่อนในการจัดจ่ายยา จำนวน

124ครั้งคิดเป็นร้อยละ0.26โดยจะพบว่าความผิด

พลาดดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่ “เกือบพลาด”(near

miss) หรือความคลาดเคลื่อนที่มีโอกาสก่อให้เกิด

อันตรายแก่ผู้ป่วยได้ อย่างไรก็ตามระดับความผิด

พลาด ยังมีค่าต่ำที่ค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่าเกณฑ์ความ

ผิดพลาด5%) ซึ่งอัตราความคลาดเคลื่อนทางยา

ไม่มีตัวเลขใดที่จะบอกว่าเป็นที่ยอมรับได้เนื่องจาก

แต่ละโรงพยาบาลแตกต่างกันในระบบการรายงาน

ระบบการตรวจหา การให้นิยามศัพท์ และการ

จำแนกชนิดของความคลาดเคลื่อน(3) ความคลาด

เคลื่อนในการสั่งยาและความคลาดเคลื่อนในการจัด

จ่ายยาก่อนส่งมอบยาให้กับผู้ป่วยนอก ส่วนใหญ่

(มากกว่าร้อยละ75) จะเกิดจากความผิดพลาดเชิง

สุ่ม (Randomerror) โดยเป็นความผิดพลาดของ

บุคคลซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวไม่เป็นระบบ

แต่เป็นความผิดพลาดเนื่องจากความเผอเรอหรือ

หลงลืมเป็นครั้งคราว (ตารางที่45 และ6) โดย

เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ถูกขัดจังหวะในระหว่างการ

สั่งใช้ยา ความเร่งรีบ ความเครียด ความเหนื่อยล้า

ซึ่งในช่วงเวลาที่มีผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมากอาจ

ทำให้เจ้าหน้าที่ขาดความละเอียดรอบคอบในการ

ทำงาน และการตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยา

สภาพแวดล้อมในการทำงานก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้

เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้แก่การรบกวนสมาธิ

เภสัชกรมักถูกรบกวนขณะตรวจสอบยา โดยต้องไป

ทำงานอีกอย่างหนึ่ง เช่น ตอบคำถามเมื่อผู้ช่วย

สอบถามเรื่องยาไปเบิกยาเพิ่มไปรับโทรศัพท์หรือ

มีการพูดคุยในขณะทำงาน เป็นต้น เช่นเดียวกันใน

บางช่วงเวลามีข้อจำกัดของจำนวนบุคลากรปฏิบัติ

งานในการสั่งยาและการจัดจ่ายยา (แพทย์ เภสัชกร

และบคุลากรการแพทย)์ เนือ่งจากตดิภารกจิบางอยา่ง

เช่น การประชุม การบริหารจัดการ เป็นต้น ทำให้

บุคลากรทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความล้า

ความเครียด อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น

ขณะที่ความผิดพลาดที่มีความผิดพลาดเชิงระบบ

(Systematic error) ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดความ

ผิดพลาดอย่างต่อเนื่องได้ โดยพบความคลาดเคลื่อน

ในการสั่งใช้ยาใหม่ที่เพิ่งบรรจุเข้ารายการยาของ

โรงพยาบาลมีการจำผิดพลาดของข้อมูลรูปแบบและ

วธิกีารใชย้าสว่นความคลาดเคลือ่นการจดัจา่ยยายงัพบ

สาเหตุการจัดวางยาที่สลับผิดตำแหน่งหรือเก็บคืนยา

ผิดตำแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ายานั้นมีความ

คล้ายคลึงกัน หรือสะกดคล้ายกัน หรือมีบรรจุภัณฑ์

คล้ายกันก็ทำให้เกิดการจัดจ่ายยาผิดพลาดได้(4)

จากผลดังกล่าวนำไปสู่การวิเคราะห์หา

แนวทางป้องกันเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการสั่ง

ใช้ยา และกระบวนการจัดยาดังต่อไปนี้ ควรมีการ

จัดสรรอัตรากำลังให้เพียงพอ การมีภาระงานมากแต่

จำนวนบุคลากรน้อยทำให้การทำงานหนักขึ้น อีกทั้ง

การบริการผู้ป่วยนอกยังถูกจำกัดเวลาโดยระยะเวลา

ในการรอคอยของผู้ป่วย (Waiting time) เป็นตัว

บังคับทำให้ต้องทำงานแข่งกับเวลาเกิดความเร่งรีบ

และอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ การ

ทำงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานตามหลักวิชาการ

ของบุคลากรเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาเชิง

ระบบ(Systematicerror) เช่น การจัดระบบงาน

ภายในโรงพยาบาลให้มีขั้นตอนของการปฏิบัติงาน

และการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสั่งยา และ

การจัดจ่ายยาให้เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง

ซึ่งการศึกษาของHeplerCDรายงานว่าความคลาด

เคลื่อนทางยาเป็นความเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้เกิดอันตราย

Page 31: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

29

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ต่อการรักษาด้วยการใช้ยาอย่างขาดความรู้ การ

ปฏิบัติงานที่ด้อยมาตรฐานหรือล้มเหลวของระบบ(5)

การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบริการ

ผู้ป่วยของโรงพยาบาลสามารถใช้เป็นประโยชน์ใน

การตรวจขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับ การได้ยาซ้ำซ้อน

การแพ้ยา และปฏิกิริยาระหว่างยา(3) นอกจากนี้ควร

ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้มีสภาพแวดล้อมการ

ทำงานที่ เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเร่งรีบ

ความเครียด ความเหนื่อยล้าจนเกินไป จนมีผลต่อ

ความละเอียดรอบคอบในการทำงานของบุคลากร

เช่น การกำจัดสิ่งที่รบกวนสมาธิของเจ้าหน้าที่

การจัดให้มีอัตรากำลังที่ เหมาะสม การจัดพื้นที่

การทำงานให้เหมาะสม เป็นต้น และควรจัดให้มี

การประชุมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์

ความคลาดเคลื่อนทางยาเช่นอัตราการเกิดสาเหตุ

และแนวทางการแก้ไข เพื่อเพิ่มความตระหนักให้

บุคลากรไม่อยู่ในความประมาท

เอกสารอ้างอิง1.AmericanSocietyofHospitalPharmacists.ASHPguidelinesonpreventingmedicationerrorsin

hospitals.AmJHospPharm.1993;50:305-14.

2.ธดิา นงิสานนท์ และคณะ. ตรงประเดน็ เนน้สูค่ณุภาพงานเภสชักรรมโรงพยาบาล. สถาบนัพฒันาและรบัรอง

คณุภาพโรงพยาบาล(พรพ.);2545.

3.The National Coordinating Counci l for Medication Error Report ing and Prevention.

(2002).Accessedthroughhttp:/www.ismp.org./pages/ismp_faq.html.

4.Robert,Spencer,Bowder.AnanalysisofdispensingerrorsinNHShospitalsInt.JPharmPract2002;

10(suppl):R6.

5.HeplerCD,StrandLM.Opportunitiesandresponsibilityinpharmaceuticalcare.AmJHospPharm.

1990;47:553-43.

6.WalterL,DennisB:MedicationErrors:LessonsinLaw.DrugTopics.1998.(ปัจจัยที่ทำให้เกิด

mederror)

7.DavisNM,CochenMR,JacobsenRB,etal.MedicationErrors :CausesandPrevention.

1sted.1981.

8.Massachusetts Coalit ion for The Prevention ofMedication Error. Safety First Alert.

2001.

9.Rebecca,GaryR., Stephen L. et al. 1998MedicationErrorStudy,Accessed through

http://www.state.ma.us/reg/boards/ph/phstudy/04phres.html.

Page 32: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

30

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ในผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด และผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ณ โรงพยาบาลเลิดสิน

Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs used in myocardial infarction and acute myocardial

infarction patients at Lerdsin Hospital สุวรรณีเจริญพิชิตนันท์ภม.*

บทคัดย่อยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(Nonsteroidalanti-inflammatorydrugs,NSAIDs)และCOX-2

inhibitors(cyclooxygenase-2inhibitors) เป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ โดย

เฉพาะCOX-2inhibitorsจะมีข้อดีกว่าNSAIDsดั้งเดิมคือมีผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารน้อยอย่างไรก็ตาม

ยาทั้งสองกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นอันตราย

โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย จึงได้ทำการศึกษาการใช้NSAIDs และCOX-2inhibitors ในผู้ป่วย

หัวใจขาดเลือด และผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพื่อค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ใช้ยาสองกลุ่มนี้ โดยศึกษาเชิง

พรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ตั้งแต่1 ตุลาคม2546 ถึง30 กันยายน2547 จากเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาลเลิดสิน ผลการศึกษา

พบวา่ผูป้ว่ยทีเ่ปน็โรคหวัใจขาดเลอืดและหวัใจขาดเลอืดเฉยีบพลนั274รายผูป้ว่ยสว่นใหญม่อีายมุากกวา่70ป ี

จำนวน96ราย(ร้อยละ35.04)ซึ่งใช้ยาNSAIDsหรือCOX-2inhibitorsทั้งหมดแบ่งเป็นเพศหญิง47ราย

(ร้อยละ48.96)เพศชาย49ราย(ร้อยละ51.04)NSAIDsที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้มากที่สุดคือDiclofenac41ราย

(ร้อยละ14.96) ส่วนCOX-2 inhibitors ที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ใช้มากที่สุดคือCelecoxib8 ราย(ร้อยละ2.92)

นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มผู้ป่วยมีการใช้ยาNSAIDs หรือCOX-2 inhibitors ร่วมกับยาแอสไพริน59 ราย

(ร้อยละ21.53)Diclofenac เป็นยาที่มีผู้ป่วยใช้ร่วมมากที่สุด26 ราย(ร้อยละ9.49) มีผู้ป่วยที่ใช้ยาCOX-2

inhibitors ร่วมกับแอสไพริน14 ราย(ร้อยละ5.10) จากการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคหัวใจขาด

เลือดและหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันบางรายอาจมีความเสี่ยงจากการใช้ยากลุ่มNSAIDsและCOX-2inhibitors

ดังนั้นจึงควรมีการติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดหากมีความจำเป็นต้องใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ และควรเลือกชนิด

ของยาที่จะใช้เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของผู้ป่วย

Abstract Nonsteroidalanti-inflammatorydrugsorNSAIDsandCOX-2inhibitorsarethedrugsthat

usedforosteoarthritispatients.COX-2inhibitorsarelessgastro-intestinaladversedrugreactions

*กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลเลิดสิน

Page 33: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

31

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

thanNSAIDs.Howeverbothdruggroupsmayhavecardiovascularadvereeventsespeciallyin

myocardialinfarctionpatients.ThestudyisaimedtostudyNSAIDsandCOX-2inhibitorsusedin

myocardialinfarction(MI)andacutemyocardialinfarctionpatients(AMI)atLerdsinHospitalby

retrospectivedescription.Dataweregathered from thepatientswhomdiagnosedMIorAMI

between1October2003-30September2004.Itwasfoundthat,therewere274MIandAMI

patients.Mostofthem,96patients(35.04%)weremorethan70yearsoldandusedthesetwo

druggroups.Of96patients,therewere47females(48.96%)and49males(51.04%).Diclofenac

hasbeenused themost in41patients (14.96%)whereascelecoxibwas themostlyCOX-2

inhibitorsusedin8patients(2.92%).Moreover,of96MIandAMIpatients,therewere59patients

(21.53%)usedthesetwodruggroupswithaspirin.Of59patients,diclofenacwasthemostlyused

for26patients (9.49%).Therewere14patients (5.10%)usedspecificCOX-2 inhibitorswith

aspirin.InconclusionsomeMIandAMIpatientswitholdagemighthavetheriskforusingNSAIDs

andCOX-2inhibitors.Thus,itisnescessarytoclosedmonitortheMIandAMIpatientswhomust

useNSAIDsorCOX-2inhibitorsandchoosetheappropriatedrugfortheirbenefitandsafety.

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non

steroidalanti-inflammatorydrugs,NSAIDs)และ

COX-2 inhib i tor (Select ive or speci f ic

cyclooxygenase-2 inhibitors) ซึ่งเป็นNSAIDs

กลุ่มใหม่ที่มีการนำมาใช้ตั้งแต่ปี2542 ยาทั้งสอง

กลุ่มนี้ถูกใช้ในการรักษาอาการอักเสบของโรคข้อ

กระดูกและกล้ามเนื้อยาNSAIDsชนิดเดิมเป็นยาที่

ต้านการอักเสบที่ receptorCOX-1 จะมีฤทธิ์ลด

การอักเสบได้ดี แต่มีผลทำให้เกิดการระคายเคือง

กระเพาะอาหาร(1) ในขณะที่COX-2inhibitorsจะมี

ข้อดีกว่าNSAIDs คือมีผลข้างเคียงต่อทางเดิน

อาหารน้อยกว่า(2,3,4)ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดีแต่

เมื่อวันที่ 30 กันยายน2547 บริษัทMerck ได้

ประกาศถอนทะเบียนตำรับยาCOX-2inhibitorsคือ

ยาrofecoxib(5) เนื่องจากพบว่ายานี้มีผลเพิ่มอัตรา

การเกิดseriousthromboembolicadverseevents

ที่สำคัญได้แก่โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย(myocardial

infarction=MI)มากกว่ายาหลอก(4,6,7)และยังมีการ

ศึกษาอื่นๆ พบว่า ยากลุ่มNSAIDs และCOX-2

inhibitorsอาจทำใหเ้กดิอาการไมพ่งึประสงคท์ีร่า้ยแรง

เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ(8-13) แต่ผู้ป่วยที่มีโรค

ข้ออักเสบมักจะต้องใช้ยาเพื่อระงับอาการปวดและ

การอักเสบของข้อ รวมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง

ต่างๆหรือโรคหัวใจที่มีอาการอักเสบข้อร่วมด้วยจึงมี

โอกาสที่จะได้รับยาNSAIDsและCOX-2inhibitors

ดังนั้นการสั่งจ่ายยาNSAIDsและCOX-2inhibitors

ในผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อ

หัวใจตาย (MI) และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

(AMI) อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ทั้งใน

ผู้ป่วยMIและAcuteMIมักต้องได้รับยาแอสไพริน

ร่วมด้วยซึ่งจะเพิ่มผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารเมื่อ

ต้องใช้ร่วมกับNSAIDs(13,14) การศึกษาการใช้ยา

Page 34: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

32

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

NSAIDs และยาต้านการอักเสบCOX-2inhibitors

ในผู้ป่วยสองกลุ่มนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และ

สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนเฝ้าระวัง

และติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ เพื่อป้องกัน

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ยาNSAIDs และCOX-2

inhibitorsในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย(MI)และ

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน(AMI)

186

88

0

50

100

150

200

MI Acute MI

จำนวนผูปวย MI, Acute MI

ราย

15 21

39 4360

96

0

20

40

60

80

100

120

จำนวนผูปวย MI, Acute MI ในชวงอายุตางๆ

< 30 ป

ราย

> 70 ป30 - 39 ป 40 - 49 ป 50 - 59 ป 60 - 69 ป

วัตถุและวิธีการการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบ

เก็บข้อมูลย้อนหลัง ในผู้ป่วยของโรงพยาบาลเลิดสิน

โดย

1.ค้นหาผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นMI และ

AMI จากเวชระเบียนผู้ป่วยตั้งแต่1 ตุลาคม2546

ถึง30กันยายน2547

2.ศึกษาการใช้ยาNSAIDs ของผู้ป่วยที่ได้

จากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและข้อมูลในคอมพิวเตอร์

3.นำขอ้มลูที่ไดม้าประเมนิเปน็คา่สถติริอ้ยละ

4.วิจารณ์และสรุป

ผลการศึกษาแผนภูมิที่1จำนวนผู้ป่วยที่เป็นMIและAMIตั้งแต่1ตุลาคม2546ถึง30กันยายน2547(N=274)

แผนภูมิที่2ผู้ป่วยMIและAMIแยกตามช่วงอายุ(N=274)

Page 35: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

33

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ตารางที่1จำนวนผู้ป่วยMIและAMI(N=274)ที่ใช้ยาNSAIDsหรือCOX-2inhibitorร่วมด้วย(N=96)

รายการยา

ผู้ป่วยMI,AMIทีใ่ช้NSAIDs/

COX-2 inhibitors (ราย)

ร้อยละของผู้ป่วยMI, AMI ที่ใช้ยาNSAIDs/COX-2

inhibitors

ผู้ป่วยที่ใช้ยา NSAIDs/COX-2

inhibitors ทั้งหมด(ราย)

ร้อยละของผู้ป่วยMI,AMIที่ใช้ยาเทียบกับ ผู้ป่วยที่ใช้NSAIDs

หรือCOX-2inhibitorsทั้งหมด

เคยใช้NSAIDs อื่นมาก่อน(ราย)

กลุ่มCOX-1(NSAIDs)

Piroxicam10mg(local) 10 3.65 2,853 0.35 4

Piroxicam-B-cyclodextric 0 0.00 2,148 0 0

Naproxen(original) 4 1.46 1,600 0.25 2

Naproxen(local) 0 0.00 540 0 0

Indomethacin25mg(local) 3 1.10 1,204 0.25 2

Ibuprofen(local) 15 5.47 6,451 0.23 3

Diclofenac25mg(local) 32 11.68 16,576 0.19 8

Diclofenac25mg(original) 9 3.28 6,083 0.15 4

Diclofenac100mg(long-acting) 0 0.00 801 0 0

Mefenamicacid(local) 2 0.73 3,211 0.06 2

แผนภูมิที่3ผู้ป่วยMIและAMIที่ใช้ยาNSAIDsหรือCOX-2แยกตามเพศ(N=96)

49

47

45

46

47

48

49

50

ชาย หญิง

จำนวนผูปวย MI, Acute MI แยกตามเพศ

จำนว

จากแผนภูมิที่1-3 จากผู้ป่วยMI และAMI

ทั้งหมด274รายพบเป็นผู้ป่วยMI(ร้อยละ67.88)

มีจำนวนมากกว่าผู้ป่วยAMI(ร้อยละ32.12)โดยจะ

พบผู้ป่วยเป็นMI และAMI เพิ่มขึ้นตามอายุ และ

ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ ตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปมี

จำนวน96 ราย คิดเป็นร้อยละ35.04 กลุ่มที่ใช้ยา

NSAIDs หรือCOX-2inhibitors เมื่อแยกตามเพศ

แล้วพบว่าเป็นเพศหญิง47 ราย (ร้อยละ48.96)

และเพศชาย49ราย(ร้อยละ51.04)

Page 36: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

34

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

รายการยา

ผู้ป่วยMI,AMIทีใ่ช้NSAIDs/

COX-2 inhibitors (ราย)

ร้อยละของผู้ป่วยMI, AMI ที่ใช้ยาNSAIDs/COX-2

inhibitors

ผู้ป่วยที่ใช้ยา NSAIDs/COX-2

inhibitors ทั้งหมด(ราย)

ร้อยละของผู้ป่วยMI,AMIที่ใช้ยาเทียบกับ ผู้ป่วยที่ใช้NSAIDs

หรือCOX-2inhibitorsทั้งหมด

เคยใช้NSAIDs อื่นมาก่อน(ราย)

Proglumethacin(original) 0 0.00 1,405 0 0

Tenoxicam(original) 0 0.00 721 0 0

Nabumetone(original) 0 0.00 219 0 0

กลุ่มSELECTIVECOX-2

Meloxicam(original) 2 0.73 3,094 0.06 1

Nimesulide(original) 2 0.73 4,320 0.05 1

กลุ่มSPECIFICCOX-2

Valdecoxib(original) 3 1.10 630 0.48 1

Celecoxib(original) 8 2.92 4,102 0.20 1

Rofecoxib(original) 6 2.19 3,910 0.15 0

ผู้ป่วยMI,AMIที่ใช้ยาที่ศึกษา 96 35.04 59,868 0.16 29

จากตารางที่1พบว่าผู้ป่วยMIและAMIที่

ได้รับยาNSAIDsหรือCOX-2inhibitorsมีจำนวน

ทั้งสิ้น96รายคิดเป็นร้อยละ35.04NSAIDsที่ถูก

ใช้มากที่สุดคือDiclofenac41ราย(ร้อยละ14.96)

ส่วนCOX-2inhibitorsที่มีอัตราการใช้มากที่สุดคือ

Celecoxib8ราย(ร้อยละ8.33)นอกจากนี้จะพบว่า

ผู้ป่วยมีการใช้ยา NSAIDs หรือกลุ่ม COX-2

inhibitors อื่นมาก่อน29 ราย (ร้อยละ30.21)

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากผู้ป่วยที่เป็นMI และ

AMIพบเพียงร้อยละ0.16 เท่านั้น จากผู้ป่วยมีการ

ใช้ยาNSAIDsหรือกลุ่มCOX-2inhibitorsทั้งหมด

59,868ราย

ตารางที่2จำนวนผู้ป่วยMI,AMIที่มีการใช้NSAIDsหรือCOX-2inhibitors(N=96)ร่วมกับแอสไพริน

(N=59)

ชื่อยาNSAIDs

ผู้ป่วยMI,AMIที่ใช้ยา NSAIDsหรือCOX-2inhibitors (ราย)

ผู้ป่วยที่ใช้แอสไพริน

ร่วมด้วย(ราย)

ร้อยละของผู้ป่วยMIและAMIที่ใช้ยาNSAIDsหรือCOX-2inhibitors ร่วมกับแอสไพรินเทียบกับผู้ป่วยที่เป็นMI

และAMIทั้งหมด(N=274)

กลุ่มCOX-1

Diclofenac25mg(local) 32 20 7.30

Diclofenac25mg(original) 9 6 2.19

Ibuprofen(local) 15 7 2.55

Page 37: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

35

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ชื่อยาNSAIDs

ผู้ป่วยMI,AMIที่ใช้ยา NSAIDsหรือCOX-2inhibitors (ราย)

ผู้ป่วยที่ใช้แอสไพริน

ร่วมด้วย(ราย)

ร้อยละของผู้ป่วยMIและAMIที่ใช้ยาNSAIDsหรือCOX-2inhibitors ร่วมกับแอสไพรินเทียบกับผู้ป่วยที่เป็นMI

และAMIทั้งหมด(N=274)

Piroxicam10mg(local) 10 7 2.55

Indomethacin25mg(local) 3 2 0.73

Mefenamicacid 2 2 0.73

Naproxen(original) 4 1 0.36

กลุ่มSELECTIVECOX-2

Nimesulide(original) 2 2 0.73

Meloxicam(original) 2 0 -

กลุ่มSPECIFICCOX-2

Celecoxib(original) 8 5 1.82

Rofecoxib(original) 6 5 1.82

Valdecoxib(original) 3 2 0.73

รวมผู้ป่วยที่มีการใช้ยาที่ศึกษา 96 59 21.53

ตารางที่3จำนวนผู้ป่วยMI,AMIกับการใช้NSAIDsหรือCOX-2inhibitorsร่วมกับแอสไพริน

ผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วย มีการใช้แอสไพริน ร้อยละ

ผู้ป่วยMI,AMIที่ใช้ยาNSAIDsหรือCOX-2inhibitors (ราย)

96 59 61.46

ผู้ป่วยMI,AMIทีไ่ม่ได้ใชย้าNSAIDsหรือCOX-2inhibitors (ราย)

178 120 67.42

รวม 274 179 65.33

จากตารางที่2 และ3 จะพบว่า ผู้ป่วยMI

และAMI ทัง้274 ราย มกีารใชย้าNSAIDs หรอื

COX-2inhibitorsรว่มกบัแอสไพรนิ59ราย(รอ้ยละ

21.53) ยาNSAIDs ที่ถูกใช้ร่วมกับยาแอสไพริน

มากทีส่ดุคอืDiclofenacมผีูป้ว่ยใช้26ราย(รอ้ยละ

9.49) พบผู้ป่วยที่ใช้COX-2 inhibitors ร่วมกับ

แอสไพรนิ14 ราย หรอืรอ้ยละ5.10 มผีูป้ว่ยทีเ่ปน็

MI และAcuteMI ที่ไม่ได้รับยาแอสไพรินร้อยละ

34.67ซึง่พบวา่มกีารใชย้าตา้นเกลด็เลอืดตวัอืน่

วิจารณ์และสรุปจากการศึกษานี้พบว่าร้อยละ35.04 ของ

ผู้ป่วยMIและAMIได้รับยาNSAIDsหรือCOX-2

inhibitors ร่วมด้วย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็น

ผู้ป่วยสูงอายุมักมีโรคข้อกระดูกร่วมด้วย โดยเฉพาะ

อาการข้อกระดูกเสื่อมซึ่งเป็นไปตามวัย แพทย์จึง

พิจารณาให้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาระงับปวดเพื่อบรรเทา

อาการของโรคข้อซึ่งมีรายงานว่ายาNSAIDsหรือ

COX-2 inhibitors ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดทางข้อ

Page 38: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

36

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ลดลงเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยซึ่งจะเห็น

ไดจ้ากการศกึษานีว้า่ผูป้ว่ยที่ใชย้ามจีำนวนไมแ่ตกตา่ง

กันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมักจะ

เคยใช้ยากลุ่มนี้มาก่อน(ตารางที่1) และใช้ยากลุ่ม

NSAIDs มากกว่ากลุ่มต้านการอักเสบCOX-2

inhibitors ทั้งนี้อาจเนื่องจากยาNSAIDs เป็นยาที่

ถูกใช้มานานและมีราคาถูก และเป็นการใช้ตามสิทธิ์

การรักษาพยาบาล แต่ยากลุ่มนี้มักจะทำให้เกิด

อาการไม่พึงประสงค์จากยาโดยเฉพาะการระคาย

เคืองต่อกระเพาะอาหาร(1) ซึ่งบางรายอาจเป็น

กระเพาะอาหารอักเสบโดยเฉพาะเมื่อใช้ต่อเนื่องเป็น

เวลานาน(2) ดังนั้นในระยะหลังจึงมีการนำยากลุ่ม

ต้านการอักเสบCOX-2 มาใช้กันมากขึ้น ซึ่งมีข้อดี

กว่าคือมีผลข้างเคียงต่อทางเดินอาหารน้อย(2,3,4)

ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดี แต่ต่อมาCOX-2

inhibitorsชนิดหนึ่งประกาศขอถอนทะเบียนตำรับยา

เมื่อปี2547(5)เนื่องจากพบว่ายานี้มีผลเพิ่มอัตราการ

เกิดseriousthromboembolicadverseevents ที่

สำคัญได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้มีการ

ศึกษากันกว้างขวางมากขึ้นถึงผลของยาNSAIDs

หรือCOX-2inhibitorsที่มีต่อหัวใจซึ่งพบว่าทำให้

เกดิอาการไมพ่งึประสงคท์ีร่า้ยแรงเกีย่วกบัหลอดเลอืด

หัวใจได้ (6-11) การใช้ยาNSAIDs หรือCOX-2

inhibitors แม้ว่าใช้ในระยะเวลาไม่นานก็เพิ่มความ

เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจที่รุนแรงได้(14) ถึงแม้ว่า

ในCLASSstudy(15) จะไม่พบความแตกต่างของผล

ต่อหัวใจระหว่างยาCOX-2 inhibitors(celecoxib)

กับNSAIDs(Ibuprofen และdiclofenac) ก็ตาม

แต่มีอีกหนึ่งรายงานพบเมื่อมีการใช้ยา celecoxib

ขนาดสูง (400-800mg) เป็นเวลานานก็พบว่ามี

ความเสี่ยงต่อหลอดเลือดหัวใจเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัย

สำคัญทางสถิติ(16) ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่

ควรต้องติดตามการใช้ยา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วย

MI และAMI ยังต้องใช้ยาแอสไพรินเพื่อต้านการ

เกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด จากการศึกษานี้พบว่า

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ21.53 มีการใช้NSAIDs หรือ

COX-2inhibitorsร่วมกับแอสไพรินซึ่งจะพบความ

เสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะในผูส้งูอายุ(13)และจากการเกบ็ขอ้มลูพบวา่

ผู้ป่วยที่ได้รับยาแอสไพรินกับNSAIDsหรือCOX-

2 inhibi tors ได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์

ต่างแผนกกันทำให้แพทย์ผู้สั่งยาNSAIDs หรือ

COX-2 inhibitors ไม่ทราบว่าผู้ป่วยของตนใช้ยา

แอสไพรินอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของเภสัชกรที่ต้อง

ติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยกลุ่มนี้และแจ้งความเสี่ยง

ดังกล่าวให้แพทย์ทราบต่อไป เพื่อความปลอดภัย

ของผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง1.TamblynR,BerksonL,DauphineeWD,etal, “UnnecessaryPrescribingofNSAIDsandthe

ManagementofNSAIDs-RelatedGastropathyinMedicalPractice”.AnnalsofInternalMedicine,1997Sep;127;6:429-438.

2.SilversteinFE,FaichG,GoldsteinJL,SimonLS,etal,“Gastrointestinaltoxicitywithcelecoxibvsnonsteroidalanti-inflammatorydrugsforosteoarthritisandrheumatoidarthritis:theCLASSstudy:Arandomizedcontrolledtrial.CelecoxibLong-termArthritisSafetyStudy”.JAMA.,2000Sep13;284(10):1247-55.

Page 39: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

37

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

3.GolsteinJL,SilversteinFE,AgrawalNM,etal, “Reducedriskofuppergastrointestinalulcercomplicationswithcelecoxib,anovelCOX-2inhibitor”.AmJGastroenterol,2000Jul;95(7): 1681-90.

4.BombardierC,LaineL,ReicinA,etal,“Comparisonofuppergastrointestinaltoxicityofrofecoxibandnaproxeninpatientswithrheumatoidarthritis”.TheNewEnglandJournalofMedicine,2000,343,1520-1528.

5.ตุลยา โพธารส,อติยาทรัพย์สังข์,ภาณีฤทธิเลิศ. “การถอนทะเบียนยาrofecoxib”สารคลังข้อมูลยาปี2547,6,4-7.

6.AndersohnF,SuissaS,GarbeE, “Useof first-andsecond-generationCyclooxygenase-2-selectivenonsteroidalanti-inflammatorydrugsandriskofacuteMyocardialinfarction”.Circulation,2006,113,1950-1957.

7.BresalierRS,SandlerRS,QuanH,etal,“Cardiovasculareventsassociatedwithrofecoxibinacolorectaladenomachemopreventiontrial”.TheNewEnglandJournalofMedicine,2005,352,1092-1102.

8.KimmelSE,BerlinJA,ReillyM,etal, “PatientsexposedtorofecoxibhavedifferentoddsofnonfatalMyocardialinfarction”.AnnalsofInternalMedicine,2005,142,157-161.

9.LevesqueLE,BrophyJM,ZhangB, “TheriskforMyocardialinfarctionwithCyclooxygenase-2inhibitors:Apopulationstudyofelderlyadults”.AnnalsofInternalMedicine,2005,142,481-489.

10.MukherjeeD,nissenSE,TopolEJ,“RiskofcardiovasculareventsassociatedwithselectiveCOX-2 inhibitor”.TheJournaloftheAmericanMedicalAssociation,2001,286:954-959.

11.NussmeierNA,WheltonAA,BrownMT,etal,“ComplicationsoftheCOX-2inhibitorsparecoxibandvaldecoxibaftercardiacsurgery”.TheNewEnglandJournalofMedicine,2004,352,1081-1091.

12.HinzB,RennerB,BruneK.“Druginsight:cyclo-oxygenase-2inhibitors-acriticalappraisal”.NatClinPractRheumatol2007;3:552-60.

13.RahmeE,BardouM,DasguptaK, “Hospitalizationforgastrointestinalbleedingassociatedwithnon-steroidalanti-inflammatorydrugsamongelderlypatientsusing low-doseaspirin:aretrospectivecohortstudy”.Rheumatology2007;46(2):265-272.

14.GrahamDJ,CampenD,HuiR,etal, “RiskofacutemyocardialinfarctionandsuddencardiacdeathinpatientstreatedwithCyclo-oxygenase2selectionandnon-selectionnon-steroidalanti-inflammatorydrugs:Nestedcase-controlstudy”.Lancet,2005,365,475-481.

15.SilversteinFE,FaichG,GoldsteinJL,etal, “Gastrointestinaltoxicitywithcelecoxibvsnonsteroidalanti-inflammatorydrugsforosteoarthritisandrheumatoidarthritis:TheCLASSstudy:Aramdomizedcontrolledtrial”.TheJournaloftheAmericanMedicalAssociation,2000,284:1247-1255.

16.SolomonSD,McMurrayJJ,PfefferMA,etal,“CardiovascularriskassociatedwithcelecoxibinaClinicaltrialforcolorectaladenomaprevention”.TheNewEnglandJournalofMedicine,2005,352,1071-1080.

Page 40: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

38

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

การช่วยเหลือสังคมโดยการจัดทำโครงการ

ค่ายอาสายาเพื่อชีวิตเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการ

สรา้งจติสำนกึใหก้บันกัศกึษาในการทีเ่ขา้ไปชว่ยเหลอื

สังคม เพื่อให้ประชาชนได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้

อย่างปกติสุข

สำหรับนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย ในโครงการค่ายพัฒนาสังคมและ

บำเพ็ญประโยชน์ ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการ

จัดทำกิจกรรมค่ายอาสา ยาเพื่อชีวิต โดยดำเนินการ

สร้างอาคารอเนกประสงค์ พร้อมห้องพยาบาล

ณ โรงเรียนบ้านห้วยสีเสียด ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา

จ.อุตรดิตถ์

จุดเริ่มต้นของการดำเนินการตามโครงการ

ดังกล่าว กลุ่มน้องๆ นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์

ได้นำเสนอโครงการมายังองค์การเภสัชกรรม ซึ่งได้

รั บการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการ

ดำเนินการครั้งนี้เป็นเงิน จำนวน100,000 บาท

พร้อมชุดยาและเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ประจำ

ค่ายอาสา ยาเพื่อชีวิต สิ่งดีๆ...

ที่องค์การเภสัชกรรมมีให้ คันธรัตน์มณีโชติกองประชาสัมพันธ์รายงาน

สกู๊ปพิเศษ

Page 41: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

39

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ห้องพยาบาล คู่มือปฐมพยาบาล เครื่องนอน2 ชุด

หนังสือเสริมความรู้ประจำห้องสมุดอุปกรณ์กีฬา

นางสาวศุภมาศ นภาวิชยานันท์ ประธาน

โครงการค่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า

กิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นรูปธรรมไม่ได้หากไม่ได้รับ

การสนับสนุนจากองค์การเภสัชกรรม ถึงแม้ว่าทาง

มหาวิทยาลัยจะมีงบประมาณให้กับชมรมอยู่แล้ว

แต่ก็ไม่เพียงพอ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมก็มาเติมเต็ม

ตรงนี้ให้กับเรา ทำให้สามารถเข้ามาดำเนินการสร้าง

ค่ายจนประสบความสำเร็จ

อยากจะชวนเพื่อนๆให้มาร่วมกันทำกิจกรรม

ที่เป็นประโยชน์แบบนี้ในยามว่างหรือปิดภาคเรียน

ดีกว่าให้เวลาเสียไปเปล่าๆโดยไม่มีประโยชน์ เพราะ

สิ่งที่ได้รับนั้นไม่ใช่เพียงแค่การได้เข้าร่วม แต่ได้

ประสบการณ์กับชีวิตมากมาย

นายสมเดียว เกตุอมร ผู้อำนวยการโรงเรียน

บ้านห้วยสีเสียด กล่าวว่า โรงเรียนบ้านห้วยสีเสียด

เป็นโรงเรียนเล็กๆ ในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เด็กนักเรียน

ในพื้นที่จะมีฐานะยากจน ซึ่งตนมีแนวคิดที่จะพัฒนา

โรงเรียนให้เป็นโรงเรียนที่น่าอยู่ น่าเรียน มีความ

ทันสมัยทัดเทียมกับโรงเรียนในเมือง ภายใต้แนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เด็กๆ ในหมู่บ้าน

เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนในเมือง เพราะจะทำให้

เสียค่าใช้จ่าย และหากโรงเรียนแห่งนี้มีความพร้อม

ทุกอย่างก็จะทำให้เด็กเข้ามาเรียนที่นี่ ซึ่งการที่

องค์การเภสัชกรรมได้สนับสนุนงบประมาณในการ

สร้างค่ายในครั้งนี้ก็ทำให้โรงเรียนแห่งนี้มีสถานที่

เรียนหนังสือและมีห้องพยาบาลไว้รักษาเด็กในยาม

เจ็บป่วย

นายบญุพมิสารผูใ้หญบ่า้นกลา่ววา่ชาวบา้น

ในพื้นที่มีจำนวน60 ครัวเรือน หมู่บ้านแห่งนี้ไม่มี

สถานีอนามัย เมื่อเวลาชาวบ้านเจ็บไข้ ได้ป่วย

ก็จะเดินทางเข้าตัวอำเภอเพื่อไปหาหมอ แต่เมื่อ

องค์การเภสัชกรรมได้สนับสนุนงบประมาณให้น้องๆ

นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มาดำเนินการสร้างอาคารอเนกประสงค์พร้อมห้อง

พยาบาลในครั้งนี้ก็จะทำให้ชาวบ้านในพื้นที่สามารถ

เข้ามาใช้บริการสถานพยาบาลแห่งนี้ในเบื้องต้นได้

รศ.เภสัชกรหญิงสาริณีย์ กฤติยานันต์ รอง

คณบดฝีา่ยกจิการนสิติคณะเภสชัศาสตร์จฬุาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย การทำกิจกรรมลักษณะดังกล่าวทาง

มหาวิทยาลัยได้บรรจุไว้ในรายวิชาเพื่อให้นักศึกษา

ซึ่งอนาคตจะต้องออกไปประกอบวิชาชีพเภสัชกร

จึงทำให้นักศึกษาได้ใช้เวลาตรงนี้เรียนรู้และพัฒนา

ตนเองฝึกการคิดเป็นการแก้ปัญหาเป็นการเข้าไป

ช่วยเหลือสังคม ฝึกการเป็นผู้นำ การอยู่ร่วมกันทั้ง

ในกลุ่มเพื่อน และในสังคม ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่

สามารถเรียนรู้ในห้องเรียนได้ นอกจากการเรียนรู้

ด้วยตนเอง และสุดท้ายนักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วม

Page 42: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

40

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

โครงการก็จะได้ฝึกตนเองให้มีจิตอาสาในการเข้าไป

ช่วยเหลือสังคม

นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ

องค์การเภสัชกรรม บอกว่า องค์การเภสัชกรรม

ได้จัดกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ ภายใต้

โครงการ“ค่ายอาสายาเพื่อชีวิต”ขึ้นปีนี้เป็นปีที่4

เพื่ อ ให้ เยาวชนใช้ เ วลาว่ า งช่ ว งปิดภาคเรี ยน

ร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคม โดยองค์การ

เภสัชกรรม ได้ให้เงินสนับสนุนการออกค่ายอาสา

พัฒนาชนบทแก่สถาบันในระดับอุดมศึกษา แห่งละ

100,000 บาท ในการสร้างอาคารอเนกประสงค์

พร้อมห้องพยาบาล และมีการมอบยา เวชภัณฑ์

และอปุกรณป์ระจำหอ้งพยาบาล พรอ้มชดุเครือ่งนอน

2 ชุด หนังสือเสริมความรู้ประจำห้องสมุด อุปกรณ์

กีฬาอีกแห่งละ20,000 บาท รวมงบประมาณปีละ

1,000,000บาทซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว3ปี รวม

17 แห่ง สำหรับชาวค่ายใดต้องการที่จะเข้าร่วมใน

กิจกรรมดังกล่าวก็สามารถนำเสนอรายละเอียดของ

โครงการได้ที่กองประชาสัมพันธ์องค์การเภสัชกรรม

ซึ่งการจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวนอกจากเด็ก

จะได้ช่วยกันพัฒนาสังคมแล้วยังพัฒนาตนเอง

ควบคู่กันไปอีกด้วย

องค์การ เภสัชกรรมยั งคงมุ่ งมั่ น ให้การ

สนับสนุนโครงการค่ายอาสา ยาเพื่อชีวิต เพื่อเป็น

ส่วนหนึ่งของสังคมในการที่จะให้เด็กนักเรียน และ

ประชาชนได้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

Page 43: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

41

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

เดินหน้าเฟส 2 โครงการก่อสร้างอาคาร ผลิตยาเอดส์มาตรฐานสากล

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ

เภสัชกรรม ได้เป็นประธานในการประชุมคณะ

กรรมการอำนวยการจัดทำแผนแม่บทโครงการย้าย

โรงงานจากถนนพระรามที่6 ไปยังบริเวณโรงงาน

เคมี คลอง10 ถนนรังสิต-นครนายก อำเภอธัญบุรี

จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา

ณหอ้งประชมุฝา่ยเภสชัเคมภีณัฑ์คลอง10ทีป่ระชมุ

สรุปข่าวเด่น... องค์การเภสัชกรรม

Page 44: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

42

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ได้สรุปความคืบหน้าของโครงการดังกล่าวว่า ขณะนี้

การดำเนินงานเฟสที่1 ในเรื่องของการก่อสร้างเป็น

ไปตามกำหนดที่ได้ต่อสัญญาขยายเวลาการก่อสร้าง

ตามมติ ครม.ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา โดย

คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้อย่าง

แน่นอน

ขณะเดียวกันได้มีการดำเนินการในเฟสที่2

ควบคู่กันไปซึ่ งจะเป็นการจัดระบบน้ำ อากาศ

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการ

พิจารณาราคากลาง เพื่อนำเสนอขออนุมัติความ

เห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม

ก่ อ น ด ำ เ นิ น ก า ร ป ร ะ ก ว ด ร า ค า ผ่ า น ร ะ บ บ

อิ เล็กทรอนิกส์ หรือ อี-อ๊อคชั่น ซึ่ งคาดว่าจะ

แล้วเสร็จและดำเนินการในเฟสที่2 ได้ภายในเดือน

พฤษภาคมนี้

อาคารผลิตยาเอดส์ตามมาตรฐานสากล

WHO-GMPจะแล้วเสร็จประมาณปี2553มีกำลัง

การผลิต1,700ล้านเม็ดต่อปี ต่อการทำงานหนึ่งกะ

และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง3,400 ล้าน

เม็ด กรณีทำงานสองกะ ครอบคลุมการใช้ยาของ

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อความ

ต้องการบำบัดรักษา อีกทั้งยังสามารถส่งออกไป

จำหน่ายยังต่างประเทศ ลดการนำเข้ายานอกและ

สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ เพื่อนำไปพัฒนายากลุ่ม

อื่นๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในระบบสาธารณสุข

ของประเทศต่อไป

โมเดลอาคารผลติยาตา้นไวรสัเอดส์

Page 45: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

43

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

พร้อมผลิตยาซีแอลตามนโยบาย สธ.

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ

เภสชักรรม เปดิเผยถงึความคบืหนา้ในการดำเนนิงาน

เพื่อรองรับนโยบายประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา

หรอืซแีอลวา่องคก์ารเภสชักรรมไดเ้พิม่ประสทิธภิาพ

ในการพัฒนาระบบบริหารคลังยา หรือVMI ให้มี

ศักยภาพสูงยิ่งขึ้น โดยจัดทำระบบบริหารจัดการยา

การสำรองยา และการกระจายยาที่ประกาศซีแอล

ทุกชนิดโดยเฉพาะ เพื่อให้มียาบริการผู้ป่วยใน

ทุกกลุ่มอาการอย่างครอบคลุม เพียงพอ และทันต่อ

ความต้องการในการบำบัดรักษา ด้วยยาที่มี

ประสิทธิภาพ ลดปัญหาผู้ป่วยดื้อยาจากการขาดยา

โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี

สำหรับการจัดหายารองรับตามนโยบายซีแอล

ขณะนี้ดำเนินการครอบคลุมใน3 กลุ่มอาการ ไม่ว่า

จะเป็นกลุ่มยาต้านไวรัสเอดส์ ยารักษาโรคมะเร็ง

และยาละลายลิ่มเลือด รักษาโรคในระบบหัวใจและ

หลอดเลือด พร้อมพัฒนาด้านการวิจัยเพื่อผลิตยา

ต้านไวรัสเอดส์ ตามนโยบายซีแอล เพื่อทดแทน

การนำเข้าเพิ่มจากกลุ่มยาต้านไวรัสเอดส์กว่า20

รายการ ที่องค์การเภสัชกรรมได้ผลิตใช้ในประเทศ

มานานกว่า10ปีซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้

องค์การเภสัชกรรมขอยืนยันต่อผู้ป่วยเพื่อให้

เกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพยา ตามนโยบายซีแอล

ว่า ยาทุกรายการผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรอง

มาตรฐานสากล มีการตรวจเยี่ยมโรงงาน และผ่าน

การตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้าน

ประสิทธิผล ความปลอดภัย และคุณภาพจาก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จนได้รับ

อนุมัติทะเบียนยา ก่อนกระจายยาผ่านระบบบริหาร

คลังยา หรือVMI นอกจากนี้ยาทุกล็อตที่นำเข้ายัง

ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์

การแพทย์ และขอยืนยันในความพร้อมขององค์การ

เภสัชกรรม ในการพัฒนาระบบการขยายกำลังการ

ผลิตด้วยการก่อสร้างอาคารผลิตยาแห่งใหม่ตาม

มาตรฐานสากล ควบคู่กับการวิจัยเพื่อพัฒนายา

รองรับนโยบายซีแอลของประเทศอย่างต่อเนื่อง

องค์ ก า ร เภสั ชกรรมยื นยั น

ความพรอ้มในการรองรบันโยบายซแีอล

ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ด้ วยยาคุณภาพที่ ผ่ านการรั บรอง

มาตรฐานสากล พร้อมจัดระบบบริหาร

คลังยา หรือ VMI เฉพาะยาซีแอล

เพื่อสำรองยา กระจายยาอย่างทั่วถึง

และเพียงพอ รองรับผู้ป่วยในทุกกลุ่ม

อาการที่ มี ความจำ เป็นต้ อง ใช้ ยา

ทั่วประเทศ

Page 46: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

44

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

องค์การเภสัชกรรมพร้อมผลิตยาต้านไวรัส

ไข้หวัดนก“จีพีโอเอฟลู”หากเกิดการระบาดโดย

มีคุณภาพทัดเทียมยาทามิฟลู เม็ดละ70บาทจาก

เดิม120 บาท ขณะนี้มีวัตถุดิบที่สำรองไว้เพื่อผลิต

ได้ทันที1ล้านเม็ดภายใน2สัปดาห์

นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ

องค์การเภสัชกรรม เปิดเผยถึงกรณีที่พบไก่ตายและ

มีเชื้อไข้หวัดนกH5-N1 ที่จังหวัดสุโขทัยว่า จาก

เหตุการณ์ดังกล่าวขณะนี้ ยังไม่พบผู้ที่สัมผัสไก่ได้รับ

เชื้อดังกล่าว แต่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม

รองรับการระบาดโรค ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้

มีการวางมาตรการการควบคุมในการแพร่ระบาดโรค

ดังกล่าวแล้ว

ในส่วนขององค์การเภสัชกรรมเองก็ได้มีการ

เตรยีมความพรอ้มกบัเรือ่งนี้ โดยมกีารสำรองยาตา้น

ไวรสัไขห้วดันก(Oseltamivir) ในชือ่ “จพีโีอ เอฟล”ู

เตรียมสำรองผลิตยาหวัดนก พร้อมลงเข็มโรงงานวัคซีนปีนี้

Page 47: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

45

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ไวจ้ำนวน170,000 เมด็และมกีารสำรองวตัถดุบิเพือ่

ผลิตยาต้านไวรัสไข้หวัดนก ไว้อีก1 ล้านเม็ด โดย

สามารถผลติไดภ้ายใน4 วนั และองคก์ารเภสชักรรม

ยังได้มีการเตรียมยาเพื่อจัดส่งให้กรมควบคุมโรคอีก

1 ล้านเม็ด ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่

ทีป่ฏบิตัหินา้ที่ในกลุม่เสีย่งดว้ยเชน่กนั

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไป

ว่า การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ดังกล่าวนั้น องค์การเภสัชกรรมก็ได้ดำเนินการ

ภายใต้โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/

ไข้หวัดนก ระดับอุตสาหกรรม ที่ตำบลทับกวาง

อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งจะใช้ระยะเวลาใน

การก่อสร้าง4 ปี ความคืบหน้าขณะนี้ได้ดำเนินการ

ในส่วนของขั้นตอนการก่อสร้างอาคารผลิตวัคซีนใน

การพิจารณาราคากลางของข้อกำหนด(TOR) เพื่อ

ดำเนินการจัดประกวดราคาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

หรือe-Auction เพื่อจัดหาบริษัทก่อสร้าง คาดว่า

โครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จประมาณปี2555 เมื่อ

โครงการแล้วเสร็จจะสามารถผลิตได้2ล้านโด๊สต่อปี

และขยายได้ถึง10 ล้านโด๊สต่อปี หากมีการระบาด

ใหญ่

ขอ ให้ ป ร ะ ช าชนทุ ก คน โป รดมั่ น ใ จ ว่ า

องค์การ เภสัชกรรมสามารถจัด เตรียมยาที่ มี

ประสิทธิภาพเทียบเท่ายาต้นแบบ และสำรอง

วัตถุดิบไว้รองรับอย่างเพียงพอและทั่วถึง และหาก

มีความจำเป็นต้องการใช้เร่งด่วนสามารถผลิตได้

ทันทีภายใน 24 ชั่วโมง ผู้อำนวยการองค์การ

เภสัชกรรมกล่าว

Page 48: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

46

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ

เภสัชกรรม กล่าวถึงการดำเนินการผลิตยารักษา

โรคจิตเวช เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของผู้ป่วยว่า

ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมอยู่ระหว่างการผลิตยา

จิตเวช2 รายการ ในรอบเดือนมกราคมนี้ โดย

องค์การเภสัชกรรมจะจำหน่ายยารักษาโรคจิตเวช

เรื้อรังราคาเม็ดละ3-5บาทถูกกว่ายาที่นำเข้าจาก

บริษัทต่างประเทศประมาณ40 บาทต่อเม็ด ขณะที่

ยาชนิดเดียวกันที่มีบริษัทยาเอกชนภายในประเทศ

ผลิตมีราคา 15 บาท องค์การเภสัชกรรมผลิต

ราคาถูกกว่า คุณภาพยาผ่านการขึ้นทะเบียนจาก

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)แล้ว

ผลิตยาจิตเวช ถูกกว่านำเข้า 10 เท่า

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไป

ว่า ในส่วนของรายการที่2ชื่อสามัญริสเพอริโดน

(Risperidone) อีก3-4 เดือนข้างหน้า องค์การ

เภสัชกรรมจะเปิดจำหน่าย ขณะนี้อยู่ระหว่างการ

ขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร

และยา เบื้องต้นกำหนดขายในราคาเม็ดละ3-5

บาทยาที่ผลิตจากต่างประเทศขายเม็ดละ20-30

บาท ส่วนยาที่ผลิตในประเทศขาย10 กว่าบาท

ทั้งนี้ยาทั้ง 2 รายการเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว

องค์การเภสัชกรรมได้นำวัตถุดิบยามาจากอินเดีย

และผลิตในประเทศไทยให้ผู้ป่วยโรคจิตได้เข้าถึงยา

มากขึ้น

Page 49: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

47

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

เผยแพร่ความรู้การใช้ยา ผ่านสารคดีวิทยุ 6 คลื่น

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ

เภสัชกรรม เปิดเผยว่า องค์การเภสัชกรรมจัดทำ

โครงการให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ

และการใช้ยาที่เหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับ

ความรู้เรื่องการใช้ยาและการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

เหมาะสมในรูปแบบสารคดีทางวิทยุจำนวน6คลื่น

โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึง30 กันยายน

2552 ประกอบด้วย สถานีวิทยุ สวพ.91FM91.0

MHz ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา

09.35 และ19.30 น. สถานีวิทยุFM98.0MHz

Page 50: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

48

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไป

ว่า องค์การเภสัชกรรมยังได้เผยแพร่จิงเกิ้ลข้อความ

สนับสนุนการใช้ยา พร้อมสโลแกนองค์การ

เภสัชกรรมรับผิดชอบชีวิตผลิตยาคุณภาพทุกช่วง

รายการตลอดวัน นับเป็นส่วนหนึ่ งที่องค์การ

เภสัชกรรมร่วมรับผิดชอบสังคม และความคาดหวัง

ของประชาชนที่อยากให้องค์การเภสัชกรรมเข้าไปมี

บทบาทในการรณรงค์ลดการใช้ยาเกินความจำเป็น

เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

จึงขอเชิญชวนทุกท่านรับฟังรายการสารคดี

วิทยุได้ตามวันเวลาดังกล่าว

Business Radioออกอากาศทุกวันจันทร์- วันศุกร์

เวลา17.37น.สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันFM99.5

MHz ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันอาทิตย์ เวลา

08.32 และ17.08 น. สถานีวิทยุ จส.100FM

100.0 MHz ออกอากาศทุกวันจันทร์- วันอาทิตย์

เวลา06.55 และ17.05 น. สถานีวิทยุFM101.0

MHz Radio Report oneออกอากาศทุกวันจันทร์-

วันศุกร์ เวลา06.30 น. ชมรมสร้าง สุขภาพFM

92.5 MHz และ AM 891 KHz

ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา10.10-

11.00น.

Page 51: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

49

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

องค์การเภสัชกรรมสานสัมพันธ์ภายใน

ครอบครัวเพื่อให้พนักงานลูกจ้างครอบครัวและ

ประชาชนทั่วไปได้ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยจัดงาน

วันเด็กแห่งชาติGPOKIDSDAYเมื่อวันเสาร์ที่10

มกราคม2552 ตั้งแต่เวลา08.00 - 14.00 น.

บริเวณหน้าตึกอำนวยการองค์การเภสัชกรรมโดย

มีนายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้ อำนวยการ

องค์การเภสัชกรรมเป็นประธานเปิดงาน

อภ.จัดงานวันเด็กแห่งชาติ สร้างสัมพันธ์สายใยครอบครัว

Page 52: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

50

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันดังกล่าวประกอบด้วย

การจัดซุ้มในรูปแบบของGameLandเพื่อให้เด็กๆ

ได้ร่วมสนุกในเกมต่างๆ มากมาย อาทิ เกมบอกต่อ

สำหรับเด็กพิการทางสายตา หนูน้อยรักษ์ โลก

โยนห่วงมหาสนุก ภาษาอังกฤษวันละคำ ตุ๊กตาล้ม

ไม่ลุก สัตว์โลกน่ารัก การแสดงบนเวทีกับGPO

KIDSซึ่งเป็นการแสดงของบุตรหลานของพนักงาน

องค์การเภสัชกรรม สมองไวกับเกมบิงโก การ

แสดงมายากลคนหน้าขาว การประกวดร้องเพลง

และโชว์เพลง เพื่อเป็นการแสดงความสามารถของ

เด็ก นอกจากนี้องค์การเภสัชกรรมยังได้จัดเตรียม

อาหารว่าง อาหารกลางวัน พร้อมขนม และ

ไอศกรีมสำหรับเด็ก และพ่อแม่ผู้ปกครองที่มา

ร่วมงานด้วย

Page 53: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

51

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ

เภสัชกรรม เปิดเผยว่า องค์การเภสัชกรรม โดย

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้มีการวิจัยและพัฒนา

สิ่งประดิษฐ์ชุดตรวจสารให้ความเผ็ดในพริกป่น

และได้มีการจัดแสดงในงานวันนักประดิษฐ์และ

วันนักประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่2 ประจำปี2552

ณอิมแพคอารีนาเมืองทองธานีระหว่างวันที่2-5

กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

จากการนำเสนอชุดตรวจดังกล่าว ทาง

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้พิจารณา

คัดเลือกให้ชุดตรวจสารให้ความเผ็ดในพริกป่น ได้รับ

รางวัลINVENTORAWARDระดับดีประเภทสาขา

เคมีและเภสัชฯ โดยเมื่อวันที่5 กุมภาพันธ์2552

ศาสตราจารย์อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการ

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้เป็นประธานมอบ

รางวัลดังกล่าวแก่องค์การเภสัชกรรมโดยมีดร.ชฎา

พิศาลพงศ์ นักวิจัย 9 ผู้ รับผิดชอบกลุ่มวิจัย

อุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และ

ดร.คมกริช หาสิตะพันธุ์ นักวิจัย 5 กลุ่มวิจัย

อุ ตสาหกรรม เภสั ชและผลิ ตภัณฑ์ ธ ร รมชาติ

สถาบันวิ จั ยและพัฒนา เป็นตั วแทนรับมอบ

ณอิมแพคอารีนาเมืองทองธานี

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไป

ว่า ประโยชน์ของชุดตรวจดังกล่าว เพื่อนำไปใช้หา

อภ.ได้รับรางวัลระดับดี งานวันนักประดิษฐ์ จากชุดตรวจสารให้ความเผ็ดในพริกป่น

Page 54: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

52

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

ปริมาณความเผ็ดของสารแคปไซซินนอยด์ในพริก

ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการด้านอาหาร นำไป

ใช้ทดสอบความเผ็ดที่เหมาะสม สามารถคงความ

สม่ำเสมอของรสชาติอาหาร ในรอบการผลิตแต่ละ

ครั้ง มีความรวดเร็ว สะดวกและประหยัดกว่าการ

ส่งตัวอย่างพริกไปตรวจในห้องแล็บซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง

ถึง1,000บาท/ครั้ง และใช้เวลานานเป็นวันขณะที่

ชุดตรวจขององค์การเภสัชกรรมมีราคาถูกกว่า โดย

1ชุดใช้งานได้ถึง20ครั้ง

สำหรับการใช้งานชุดตรวจเพียงใส่ตัวอย่าง

พริกป่นที่ต้องการทดสอบในหลอดทดลองประมาณ

1 กรัม จากนั้นเติมน้ำยาชนิดเอ 1 มิลลิลิตร

เขย่าจนเข้ากัน ทิ้งไว้ 5 - 15 นาที เพื่อให้ตก

ตะกอนจากนัน้นำสารละลายที่ได้ไปใสน่ำ้ยาบ,ีซ,ีด,ี

อ,ีเอฟและจีโดยทำทลีะขัน้ตอนคลา้ยกบัขัน้ตอนแรก

จนเหลือเพียงสารละลายแคปไซซินนอยด์ ซึ่งเป็น

สารให้ความเผ็ดเพียงตัวเดียว เมื่อได้สารละลาย

แคปไซซินนอยด์แล้ว จึงนำไปเปรียบเทียบกับแผ่น

แถบสีมาตรฐานสำหรับใช้กับชุดตรวจสารให้ความ

เผ็ดในพริกที่พัฒนาขึ้น ซึ่งเป็นโทนสีฟ้า สามารถ

บอกระดับความเผ็ดได้ 3 ระดับ คือ เผ็ดน้อย

ที่0.1% เผ็ดกลาง0.3% เผ็ดมากที่ความเข้มข้น

0.5%ขึ้นไป

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวอีกว่า

สิ่งที่จะต่อยอดในอนาคตสำหรับชุดตรวจความเผ็ด

คือ การลดขั้นตอนการทดสอบให้น้อยลงกว่าเดิม

เพือ่ความสะดวกใชง้านไมจ่ำเพาะอตุสาหกรรมอาหาร

เท่านั้น แต่ยังมุ่งเป้าจะสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้

กลุ่มผู้ค้าพริกป่นที่ต้องบดพริกเองด้วย อีกทั้ ง

สถาบันวิจัยและพัฒนายังได้มีการพัฒนามาเป็น

ผลติภณัฑย์าตา่งๆ อาทิ ยาขบัลมในกระเพาะอาหาร

และลำไส้ เจลพรกิบรรเทาอาการปวดเมือ่ยกลา้มเนือ้

หลงัไหล่และตน้คอซึง่ขณะนี้ไดว้างจำหนา่ยแลว้ที่

รา้นขายยาขององคก์ารเภสชักรรมทกุสาขา

Page 55: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

53

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

นายแผนวรรณเมธีเลขาธกิารสภากาชาดไทย

เปิดเผยว่า ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความ

ร่วมมือสนับสนุนโครงการจัดหาและบริการดวงตา

เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงเจริญพระชนมพรรษา82 พรรษา ร่วมกับ7

หนว่ยงานซึง่ประกอบดว้ยศนูยด์วงตาสภากาชาดไทย

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพ

แห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง

องค์การเภสัชกรรม และกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อ

ร่วมกันพัฒนาระบบการจัดหาดวงตาให้มีจำนวนเพิ่ม

ขึ้น พร้อมพัฒนาระบบการจัดเก็บและจัดสรรดวงตา

ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย

โรคกระจกตาพิการที่ขึ้นทะเบียนทุกรายให้ได้รับการ

ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา มีระยะเวลาดำเนินการ5 ปี

เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ2552 ซึ่งเป็นปีที่พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมพรรษา82

พรรษาถึงปีงบประมาณ2556

สำหรับเป้าหมายของการดำเนินโครงการฯ

จะมุ่งเน้นให้บริการผู้ป่วยด้วยโรคกระจกตาพิการ

ที่ขึ้นทะเบียนรอดวงตาทั้งเก่าและใหม่ให้ได้รับการ

ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาทั้งหมด โดยเริ่มต้นในปีแรก

จำนวน600 คน และเพิ่มเป็น1,200 คน1,800

คน 2,400 คน ตามลำดับในปีถัดไป จนสิ้นสุด

โครงการรวมจำนวนผู้ป่วยตลอดโครงการประมาณ

8,200 ราย หรือจนกว่าจำนวนผู้ป่วยตกค้างที่มีอยู่

จะหมดไป

7 องค์กรร่วมโครงการจัดหาดวงตา

ตั้งเป้า 8,200 ราย ใน 5 ปี

เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ 82 พรรษา

Page 56: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

54

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การ

เภสัชกรรม 1 ใน 7 เครือข่ายของโครงการฯ

เปดิเผยวา่การดำเนนิโครงการฯจะเปน็การบรูณาการ

ในการทำงานร่วมกันของ 7 หน่วยงาน มีการ

กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานไว้อย่าง

ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบจัดหาผู้มี

จิตกุศลในการบริจาคดวงตาในวงกว้ างยิ่ งขึ้ น

ด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ การสร้าง

เครือข่ายในการเปิดรับบริจาคผ่านหน่วยงานในสังกัด

ของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มความ

สะดวกในการติดต่อของผู้มีจิตศรัทธา พร้อมรองรับ

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นผ่านกรมบัญชีกลาง ระบบหลัก

ประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช. และระบบ

ประกันสังคมของสปส.

ในส่วนขององค์การเภสัชกรรม ให้การ

สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการและคุณภาพของ

บุ คลากร ให้ มี ศั กยภาพรองรั บ ในการบริ ห า ร

จัดการส่ วนงานต่ างๆ ให้สอดคล้องประสาน

ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการขับเคลื่อน

ของโครงการฯ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วาง

เป้าหมายไว้

การบูรณาการการทำงานร่วมกันเช่นนี้

เชือ่มัน่วา่ จากนี้ไปผูป้ว่ยกระจกตาพกิารทีข่ึน้ทะเบยีน

รอดวงตาไว้กับศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทยจาก

ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ว่าจะใช้สิทธิ์การรักษา

พยาบาลจากระบบใดก็ตาม จะได้รับการรักษาอย่าง

ทั่วถึง และรวดเร็วขึ้น รวมทั้งคุณภาพของการรักษา

จะได้มาตรฐานทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยไม่เสีย

ค่าใช้จ่ายใดๆ

สำหรับผู้ที่ต้องการแสดงความจำนงอุทิศ

ดวงตาให้กับศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ติดต่อ

ได้ที่ โทร. 0 2256 4039 และ 0 2256 4040

“ทำบุญสูงสุดในชีวิต ด้วยการอุทิศดวงตาให้กับศูนย์

ดวงตาสภากาชาดไทย”

Page 57: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

55

ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 วารสารองค์การเภสัชกรรม

ออกหน่วยเคลื่อนที่

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ

แผนปฏิบัติการประจำปีผ่าน “โครงการ จีพีโอ เพื่อ

ผู้ประสบภัย”โดยเดินทางไปมอบยังพื้นที่โดยตรงใน

กรณีของผู้ประสบอุทกภัยจะให้การช่วยเหลือโดยนำ

ยารักษาโรคชุดช่วยเหลือน้ำท่วม ประกอบด้วย

ยาแก้ปวด ลดไข้ ยาแก้แพ้ ยารักษาน้ำกัดเท้า

ผงน้ำตาลเกลือแร่ เวชภัณฑ์ในการทำแผล พร้อม

ดว้ยถงุยงัชพีบรรจเุครือ่งบรโิภคขา้วสารพรอ้มนำ้ดืม่

มอบให้ทุกครัวเรือนที่ประสบภัยในพื้นที่ โดยในปี

2551 ได้ออกหน่วยช่วยเหลือกว่า10 จังหวัด อาทิ

ลพบุรีชัยนาทอุทัยธานีอุตรดิตถ์ปราจีนบุรีชุมพร

นครศรีธรรมราชสงขลาพัทลุงเป็นต้น

ส่วนกรณีประสบภาวะวิกฤติภัยหนาว

จะเป็นการมอบผ้าห่ม อุปกรณ์กันหนาวครบชุด

องค์การเภสัชกรรม มีการจัดตั้งทีมเคลื่อนที่

เร็วในการออกหน่วยเคลื่อนที่เดินทางไปช่วยเหลือ

ผู้ ประสบภัยพิบัติ จากธรรมชาติ ในพื้ นที่ ต่ างๆ

ทัว่ประเทศ เปน็กจิกรรมเพือ่สงัคมทีอ่งคก์ารเภสชักรรม

ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการกำหนดเป็นหนึ่งใน

Page 58: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด

56

วารสารองค์การเภสัชกรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552

พร้อมยาสามัญประจำบ้านแก่ผู้ประสบภัยโดยตรง

โดยประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

นั้นๆ เพื่อให้การส่งมอบครอบคลุมทุกครัวเรือน

โดยในปี2551 ได้เดินทางไปมอบที่จังหวัดเชียงใหม่

และเชียงราย พร้อมสนับสนุนหน่วยราชการที่จัด

กิจกรรมต้านภัยหนาวในพื้นที่อื่นๆด้วย

Page 59: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด
Page 60: วารสารองค์การเภสัชกรรม - GPOตามระเบ ยบสำน กนายกร ฐมนตร ว าด วยการพ สด