Top Banner
วารสาร วิทยาศาสตรÖสุขภาพสัตวÖ และเทคโนโลยี JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY คณะเทคนิคการสัตวแพทยÖ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรÖ ปÊที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561 VETTECH.KU ชุดทดสอบวีทีเคยู ซัลบูแทม : ตรวจสอบการปนเปÌÜอนซัลบูทามอลในเนื้อสัตวÖ อยÒางรวดเร็ว การประยุกตÖใชÓสาหรÒายสไปรูไลนÒากับการเลี้ยงสัตวÖ การจำแนกชนิดของ แคนดิดา อัลบิแคนสÖ ที่เพาะแยกจากสิ่งสÒงตรวจทางการสัตวแพทยÖดÓวยวิธีทั่วไป เร�องของชา กาแฟ และโกโกÓ Faculty of Veterinary Technology, Kasetsart University ISSN 2586-9426
43

} Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

Sep 14, 2020

Download

Documents

dariahiddleston
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสาร

วิทยาศาสตรสุขภาพสัตว

และเทคโนโลยีJOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY

คณะเทคนิคการสัตวแพทย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ปที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561

VETTECH.K

U

ชุดทดสอบวีทีเคยู ซัลบูแทม :

ตรวจสอบการปนเปอนซัลบูทามอลในเนื้อสัตว อยางรวดเร็ว

การประยุกตใชสาหรายสไปรูไลนากับการเลี้ยงสัตว

การจำแนกชนิดของ แคนดิดา อัลบิแคนส

ที่เพาะแยกจากสิ่งสงตรวจทางการสัตวแพทยดวยวิธีทั่วไป

เร�องของชา กาแฟ และโกโก

Faculty of Veterinary Technology, Kasetsart University

ISSN 2586-9426

Page 2: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 1

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี

JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY

ISSN 2586-9426

เจ้าของ

คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ส�านักงาน

คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

โทรศัพท์ 02-579-8574-5

โทรสาร 02-579-8571

Email : [email protected]

พิมพ์ที่

บริษัท เอ อาร์ ที แอดเวอร์ไทซิ่ง จ�ากัด

เลขที่ 13 ซอยรามอินทรา 14 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230

โทรศัพท์ 02-116-5194

โทรสาร 02-116-5168

Email: [email protected]

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในบทความของวารสารฉบับนี้เป็นทัศนะของผู้เขียน

กองบรรณาธิการของคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ไม่จ�าเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป

Page 3: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 3

ค�าน�า

ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ท�าให้เกิดองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมหลากหลาย เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ งานวิจัยและเทคโนโลยี

ใหม่ๆ ทางด้านนี้ และเป็นการบูรณาการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ ได้ด�าเนินการจัดท�าวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี (Journal of Animal Health

Science and Technology, JAHST) เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลย ี

ที่เกิดจากโครงการวิจัยของอาจารย์ในสาขาวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์ ปัญหาพิเศษ และวิทยานิพนธ์ของนิสิต

นักศึกษา ท้ังในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาสู่สาธารณชน อันจะน�าไปสู่การพัฒนาและการประยุกต์ใช ้

องค์ความรู้ด้านต่างๆ ในเชิงบูรณาการ โดยเผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิจัย (Research article) บทความ

วิชาการ (Academic article) บทความวิจัยสื่อสารอย่างสั้น (Short communication) และสาระน่ารู้ (Miscellaneous

article) รวมถึงบทความวิจัยในลักษณะงานบริการวิชาการแก่สังคม (Academic service article) โดยขอบเขตของ

บทความที่จะลงตีพิมพ์ เป็นงานทางด้านเทคนิคการสัตวแพทย์และการพยาบาลสัตว์ ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อ

สุขภาพของคนและสัตว์ ตลอดจนวิทยาการหรือความรู้ใหม่ที่น�าไปสู่งานวิจัยทางด้านสุขภาพสัตว์ โดยในการ

ศึกษาคลอบคลุมสัตว์เลี้ยง สัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร สัตว์ป่าและสัตว์ทดลอง

ก�าหนดออก

ปีละ 3 ฉบับ

ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน

ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม

ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม

Page 4: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

4 JAHST

ที่ปรึกษา

คณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์)

บรรณาธิการ

อาจารย์ สพ.ญ.ดร.ดวงกมล ลิ่วเฉลิมวงศ์

บรรณาธิการจัดการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒินันท์ รักษาจิตร์

กองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ น.สพ.พิบูล ไชยอนันต์ ผู้ทรงคุณวุฒิ

รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.อ�านาจ พัวพลเทพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทนพญ.ดร.อุมาพร รุ่งสุริยะวิบูลย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรัตน์ จันทะโร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ละลอกน�้า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.กัญจน์ แก้วมงคล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ฤทธิชัย พิลาไชย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.สมมาศ อิฐรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ประยุทธ กุศลรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพญ.พินิดดา ชะอุ่มผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.สมัคร สุจริต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยณรงค์ สกุลแถว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.ณัฐกานต์ มีขนอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ ดร.ธรรมาพร พิจิตราศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ ทนพญ.ดร.พรพิมล เมธีนุกูล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ สพ.ญ.ดร.เมทิตา สัสดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ ดร.วิมลรัตน์ อินศวร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ ดร.บัณฑิต มังกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อาจารย์ สพ.ญ.ดร.ภลิตา คุณดิลกพจน์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

อาจารย์ สพ.ญ.กนกวรรณ กลยณี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Professor Dr.Serge Morand Institut des Sciences de l’Evolution de

Montpellier (ISEM), Université de Montpellier II

34095 Montpellier, France

Associate Professor Dr.Pirkko Mäenpää Development services, Turku University,

FI-20014 Turku, Finland

Page 5: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 5

ฝ่ายศิลป์และภาพ นายนริศ ปานศรีแก้ว

นางศยามล มามี

นายอัศวิน ศรีพวง

ฝ่ายจัดการและเลขานุการ นางสาวอัจฉรา ลัทธิ

นายสมชาย นิลเทศ

รูปแบบการท�าต้นฉบับ

บทความและผลงานการศึกษาวิจัย ที่ประสงค์ส่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และ

เทคโนโลยี (Journal of Animal Health Science and Technology) ทุกรูปแบบเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนบทคัดย่อและส่วนเนื้อเรื่อง ความยาวของบทความไม่เกิน 14 หน้า กระดาษ A4

พิมพ์ด้วย Microsorft word 2003-2013 ใช้ตัวอักษร Cordia New ส�าหรับหัวข้อเรื่องใช้ตัวอักษรหนาขนาด

18 พอยด์ ชื่อคณะผู้วิจัยและผู้รับผิดชอบบทความใช้ตัวอักษรหนาขนาด 16 พอยด์ ช่ือสถาบันใช้ตัวอักษรปกติ

ขนาด 14 พอยด์ และเนื้อเรื่องตัวอักษรปกติขนาด 16 พอยด์ และให้ต้ังค่าหน้ากระดาษ ขอบบน (Top margin)

0.8 นิ้ว ขอบล่าง (Bottom margin) 0.8 นิ้ว ขอบซ้าย (Left margin) 1.2 นิ้ว และขอบขวา (Right margin) 0.8 นิ้ว

ระยะห่างระหว่างบรรทัด เป็น single space มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ส่วนบทคัดย่อ

1. บทคัดย่อประกอบด้วยชื่อเรื่อง (Title) ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อและที่อยู่ของหน่วยงาน และเน้ือหา

ต้องเขียนอย่างกะทัดรัด ไม่เกิน 250 ค�า พร้อมค�าส�าคัญ (Keywords)

2. ชื่อเรื่อง ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ตัวอักษรแรกของทุกค�าให้ใช้ตัวอักษร

ตัวพิมพ์ใหญ่ ยกเว้นค�าน�าหน้านาม (Article) ค�าบุพบท (Preposition) และค�าสันธาน (Conjunction)

ให้ใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก และจัดกลางหน้ากระดาษ

3. ชื่อคณะผู ้วิจัยและผู ้รับผิดชอบบทความ ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีค�าหน้านาม

หรือคุณวุฒิ และใส่เครื่องหมายดอกจัน (Asterisk, *) หลังนามสกุลของผู้รับผิดชอบบทความ

(Corresponding author) ส�าหรับภาษาไทย ให้ใส่และน�าหน้าผู้วิจัยคนสุดท้ายโดยไม่ต้องเว้นวรรค

และส�าหรับภาษาอังกฤษให้ใส่จุลภาค (Comma) หลังนามสกุล ยกเว้นคนสุดท้ายให้ใส่น�าหน้าด้วย

and และไม่ต้องใส่จุลภาคด้านหน้า “and” และจัดชิดขอบขวาของหน้ากระดาษ

4. ชื่อสถาบันขึ้นบรรทัดใหม่ หากมีมากกว่า 1 สถาบัน ให้ใช้ตัวเลขยก (Superscript) ก�ากับหน้าชื่อ

สถาบันและหลังชื่อผู้วิจัยให้ตรงกัน อีเมล์ของผู้รับผิดชอบบทความ พิมพ์บรรทัดใหม่ใต้ชื่อสถาบัน

ด้วยตัวอักษรปกติขนาด 14 พอยด์ และจัดชิดขอบขวาของหน้ากระดาษ

5. E-mail ของผู้รับผิดชอบบทความขึ้นบรรทัดใหม่ ใส่เครื่องหมายดอกจัน (Asterisk, *) ด้านหน้า

Email ใช้ ตัวอักษรปกติขนาด 14 พอยด์ และจัดชิดขอบขวาของหน้ากระดาษ

6. ค�าส�าคัญ (Keywords) ให้ขึ้นบรรทัดใหม่และมีจ�านวนไม่เกิน 5 ค�า

Page 6: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

6 JAHST

ส่วนเนื้อเรื่อง

1. เนื้อเรื่องประกอบด้วย บทน�า (Introduction) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ผลการ

วิจัย (Results) อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) สรุปผลการวิจัย (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ

(Acknowledgement) และเอกสารอ้างอิง (References)

2. บทน�า เป็นการอธิบายความส�าคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย

3. วิธีการด�าเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูลรวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

4. ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย เป็นการเสนอผลการศึกษาตามสิ่งที่ค้นพบ ให้น�าเสนอในรูปของ

ตารางแสดงผล และรูปภาพ ทั้งนี้ค�าอธิบายและรายละเอียดต่างๆ ของตารางและรูปภาพต้องมี

ความชัดเจน กระชับ และมีหมายเลขก�ากับด้านล่างของภาพ หรือตาราง อภิปรายผลการศึกษาโดย

เปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่น และ/หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

5. ภาพประกอบ ส่งไฟล์นามสกุล jpg หรือ tif และควรมีความละเอียดไม่ต�่ากว่า 300 x 300 dpi โดยให้

ใช้ รูปที่ 1 (ตัวหนา) และค�าอธิบายรูป รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของเมธิลออเรนจ์

6. ตาราง ให้ใช้ ตารางที่ 1 (ตัวหนา) อยู่เหนือตาราง เช่น ตารางที่ 1 สมบัติทางกายภาพของสารประกอบ

อินทรีย์

7. เอกสารอ้างอิง เป็นการเขียนเอกสารอ้างอิง ให้ยึดถือรูปแบบตามตัวอย่าง ดังนี้

ดวงพร สวุรรณกลุ. 2543. ชีววทิยาพืช พืน้ฐานการจดัการวชัพชื. ส�านกัพิมพ์มหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร์,

กรุงเทพฯ.

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2531. สารก�าจัดวัชพืช. เชียงใหม่คอมพิวกราฟฟิค, เชียงใหม่.

พิทวัส วิชัยดิษฐ. 2552. ผลของสารสกัดจากฟางข้าวต่อกระบวนการสรีรวิทยาบางประการ. ปัญหา

พิเศษ ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Chokejaroenrat, C., Sakulthaew, C., Satapanajaru, T., Tikhamram, T., Pho-Ong A., Mulseesuk, T.

2015. Treating methyl orange in a two-dimensional flow tank by in situ chemical oxidation

using slow-release persulfate activated with zero-valent iron. Environ. Eng. Sci.

32: 1007-1015.

Chung, I.M., Ahn J.K., Yun, S.J. 2001. Assessment of allelochemical potential of barnyard

grass (Echinochloa crus-galli) on rice (Oryza sativa L.) cultivar. Crop Prot. 20: 921-928.

กรมควบคุมมลพิษ. 2552. มหันตภัยไดอ๊อกซิน (Dioxins). Available Source: http://www.pcd.go.th/

info_serv/haz_dioxin.html, 17 ตุลาคม 2559.

8. กิตติกรรมประกาศ เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ทุนวิจัย หรือผู้ท่ีได้ให้ความช่วยเหลือในการ

วิจัย

9. ตัวเลขให้พิมพ์โดยใช้ฟอนต์ภาษาอังกฤษเท่านั้น

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

Page 7: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 7

ชื่อบทความหรือผลงานวิจัย (Cordia New ขนาด 18 พอยด์ ตัวหนา กึ่งกลางกระดาษ)

ชื่อผู้วิจัย1 ชื่อผู้วิจัย2 และผู้รับผิดชอบบทความ3,* (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวเอียง ชิดขอบขวา)

1ชื่อหน่วยงาน เมือง และรหัสไปรษณีย์ของผู้วิจัย (Cordia New ขนาด 14 พอยด์ ตัวเอียง ชิดขอบขวา)2ชื่อหน่วยงาน เมือง และรหัสไปรษณีย์ของผู้วิจัย (Cordia New ขนาด 14 พอยด์ ตัวเอียง ชิดขอบขวา)3ชื่อหน่วยงาน เมือง และรหัสไปรษณีย์ของผู้วิจัย (Cordia New ขนาด 14 พอยด์ ตัวเอียง ชิดขอบขวา)

*E-mail: (Cordia New ขนาด 14 พอยด์ ตัวเอียง ชิดขอบขวา)

บทคัดย่อ (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ชิดขอบซ้าย

เนื้อหาในบทคัดย่อ (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ กระจายขอบซ้ายขวา) ต้องเขียนอย่างกระชับ

และกะทัดรัด ไม่เกิน 250 ค�า มีเนื้อหาและรายละเอียดครอบคลุมทั้งบทความหรือผลงานวิจัย กรณีเป็นผลงาน

วิจัยควรมีเน้ือหาที่ประกอบด้วยรายละเอียดของวัตถุประสงค์ วิธีการด�าเนินการวิจัย ผลการวิจัย และสรุปผล

การวิจัยอยู่ในบทคัดย่อ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาได้อย่างพอสังเขป

ค�าส�าคัญ: ควรมีไม่เกิน 5 ค�า (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ ชิดขอบซ้าย)

Page 8: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

8 JAHST

Title of Acadimic or Research Article (Cordia New size 18 Bold Center text)

Author name1, Author name2 and Corresponding author3,* (Cordia New size 16 Italic, Align right)

1Author name affiliation address (Cordia New size 14 Italic, Align right)2Author name affiliation address (Cordia New size 14 Italic, Align right)3Author name affiliation address (Cordia New size 14 Italic, Align right)

*E-mail: (Cordia New size 14 Italic, Align right)

Abstract (Cordia New size 16 Bold, Align left)

Content in an abstract (Cordia New size 16 Regular, Justify text) should be concise and clear with

wording up to 250 words. Structure should include all details of the article. In case of research article, content

should contain briefly information of objective, materials and methods, result and conclusion.

Keywords: Up to 5 words (Cordia New size 16 Regular, Align left)

Page 9: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 9

บทน�า (Cordia New ขนาด 16 ตัวหนา ชิดขอบซ้าย)

เนื้อหาในส่วนนี้ (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ จัดกระจายขอบซ้ายและขวา) เป็นการอธิบาย

ความส�าคัญของปัญหา และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย เขียนรูปแบบเอกสารอ้างอิง ดังนี้ (Gatesoupe, 1999;

Gomes-Gil et al., 2000; Bricknell and Dalmo, 2005; Pirarat et al., 2008) กล่าวคือ เรียงตามล�าดับอักษรตวัแรก

ของภาษาองักฤษ ตามด้วยปี ค.ศ. ทีม่กีารตพีมิพ์ ในกรณีที่มีเอกสารอ้างอิงมากกว่า 1 ฉบับในปีเดียวกันจากผู้เขียน

ท่านนั้น ให้ใส่ a และ b หลังปี ค.ศ. ที่มีการตีพิมพ์ ตามล�าดับการอ้างอิง เช่น (Tummaruk et al., 2000a;

Tummaruk et al., 2000b)

วิธีการด�าเนินการวิจัย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ชิดขอบซ้าย)

เนื้อหาในส่วนนี้ (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ จัดกระจายขอบซ้ายและขวา) เป็นการอธิบาย

วิธีการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ในกรณีที่ผู้เขียนต้องการมีหัวข้อย่อย ให้ใช้

ตัวอักษรเอียง ชิดขอบซ้าย ดังตัวอย่างด้านล่าง

หัวข้อย่อย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวเอียง ชิดขอบซ้าย)

เนื้อหาและรายละเอียดของหัวข้อย่อย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ จัดกระจายขอบซ้าย

และขวา)

ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ชิดขอบซ้าย)

เป็นการน�าเสนอผลการศึกษาตามสิ่งที่ค้นพบ (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ จัดกระจายขอบซ้าย

และขวา) สามารถน�าเสนอในรูปแบบของการเขียนพรรณนาโวหาร และ/หรือรูป ตารางแสดงผลประกอบด้วย

ทั้งนี้ ต้องมีค�าอธิบายรูป หรือตารางแสดงผลอย่างชัดเจนและกระชับ และมีหมายเลขก�ากับด้านล่างของภาพ

หรือด้านบนของตารางแสดงผล ตามล�าดับ กรณีมีการอ้างอิงรูปหรือตารางแสดงผล ให้ระบุแหล่งที่มาและการ

อ้างอิงภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง

รูปที่ 1 คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ที่มา: www.vettech.ku.ac.th)

Page 10: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

10 JAHST

ตารางที่ 1 ตัวอย่างวิธีเตรียมตัวอย่างและวิธีวิเคราะห์ส�าหรับการวิเคราะห์สารพทาเลตในเนื้อสัตว์และ

ผลิตภัณฑ์สัตว์ (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ)

ตัวอย่าง วิธีเตรียมตัวอย่าง วิธีวิเคราะห์ อ้างอิง

แฮม และไส้กรอก สกัดด้วยตัวท�าละลายเฮกเซนร่วมกับ Water

OasisMAX SPE

GC-MS (Guo et al., 2010a)

ปลาและเนื้อ สกัดด้วยอะซิโตนไนไทรล์ร่วมกันการสั่นด้วย

คลื่นเสียงและสกัดด้วยเฮกเซนที่อิ่มตัวด้วย

อะซิโตไนไทรล์ร่วมกับ Florisil

GC-FID (Cirillo et al., 2011)

ปลา ไส้กรอก ชีส สกัดด้วยเฮกเซนและอะซิโตไนไทรล์ร่วมกับ

in-tube SPME

HPLC/DAD (Kataoka et al., 2002)

ปลา สกัดด้วยด้วยเฮกเซนและเฮกเซนที่อิ่มตัวด้วย

อะซิโตไนไทรล์ร่วมกับ silica gel column

GC-FID (Williams, 1973)

เบคอน, ชีส สกัดด้วยสารละลายผสมไซโคลเฮก เซนและได

คลอโรมีเทนร่วมกับ GPC

GC-MS (Lau and Wong, 1996)

(ที่มา: ศิรินิตย์ ธารธาดา และคณะ, 2017)

สรุปผลการวิจัย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ชิดขอบซ้าย)

เป็นการสรุปผลการศึกษาหลักท่ีได้จากงานวิจัย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ จัดกระจายขอบ

ซ้ายและขวา)

กิตติกรรมประกาศ (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ชิดขอบซ้าย)

เป็นการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัย เช่น แหล่งทุนวิจัย หรือผู้ที่ให้ความช่วย

เหลือในการท�าวิจัย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ จัดกระจายขอบซ้ายและขวา)

เอกสารอ้างอิง (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ชิดขอบซ้าย)

เป็นการเขียนเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในงานวิจัย (Cordia New ขนาด 16 พอยด์ ตัวปกติ จัดกระจายขอบซ้าย

และขวา) ให้เรียงตามล�าดับอักษร โดยเขียนเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อน แล้วตามด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ

และจัดย่อหน้าในบรรทัดที 2 ระยะ 1.0 เซนติเมตร ดังตัวอย่างด้านล่าง

จฬุาลกัษณ์ ชพูรหม. 2553. การห่อหุม้เซลล์โปรไบโอตกิร่วมกับพรีไบโอติกและศึกษาการรอดชีวิตในสภาวะท่ีเป็น

กรดและเกลือน�้าดีในหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,

สงขลา.

Page 11: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 11

นพดล พิฬารัตน์, นันทริกา ชันซื่อ, ชาญณรงค์ รอดค�า, คมเคียว พิณพิมาย. 2557. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

โครงการการพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิภาพของโปรไบโอติกแบบบรรจุลงแคปซูลในปลานิล.

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พนารัตน์ มอญใต้. 2555. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่เป็นมิตร: โปรไบโอติก (Probiotics). กรมวิทยาศาสตร ์

บริการ. 60(189): 13-15. วันเชิญ โพธาเจริญ, ไพพรรณ ตคถะ, บัณฑิต ฝั่งสินธุ, ขวัญจิต ควรดี, ลาวัลย์

ชตานนท์. 2537. การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเก็บรักษาแลคติคแอสิดแบคทีเรีย. ใน: เอกสารงานประชุม

แลคติคแอสิดแบคทีเรียในอุตสาหกรรมอาหารไทย ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

44-51.

Anderson, D.P. 1992. Immunostimulants adjuvants and vaccine carriers in fish: Applications to aquaculture.

Annu. Rev. Fish Dis. 281-307.

Bricknell, I., Dalmo R.A. 2005. The use of immunostimulants in fish larval aquaculture. Fish Shellfish

Immunol. 19: 457-472.

Chávarri, M., Marañón, I., Ares, R., Ibáñez, F.C., Marzo F., Villarán, M.C. 2010. Microencap-sulation of

a probiotic and prebiotic in alginate - chitosan capsules improves survival in simulated gastro-

intestinal conditions. Int. J. Food Microbiol. 142: 185-189.

Isnaeni, N.F. 2007. Product formulation of pure instant potatoes [(Ipomoea batatas (L.) Lam] as one of staple

food diversification. M.Sc. thesis, Faculty of Agricultural Technology, Bogor Agricultural University.

Bogor, Indonesia.

Larry, P., Tilley, F.W.K., Smith, Jr. 2011. Panting and Tachypnea. In: Blackwell’s Five-Minute Veterinary

Consult: Canine and Feline (5th Eds.). Blackwell Publishing Professional, John Wiley & Sons Ltd,

The Atrium, Southern Gate, Chichester, West Sussex, UK.

Meij, B. 2015. Atlantoaxial subluxation or instability. In: Proceeding of 14th Chulalongkorn University

Veterinary Conference. Bangkok, Thailand, 353-355.

Oliver, J.E., Lorenz, M.D., Kornegay, J.N. 1997. Handbook of veterinary neurology, 3rded. W.B. Saunders

Company, USA.

Poncelet, D., Picot, A., Mafadi, S.E. 2011. Encapsulation: an essential technology for functional food

applications. http://www.capsulae.com/, 8 June 2017.

Page 12: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

12 JAHST

การเขียนเอกสารอ้างอิงผูแ้ต่ง

1) ผู้แต่ง 1 คน ภาษาไทยขึ้นต้นด้วยชื่อตัวตามด้วยนามสกุล ภาษาต่างประเทศให้ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล

คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วตามด้วยอักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น ชื่อกลาง ตามล�าดับ

2) ผู้แต่ง 2 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 8 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นโดยระหว่าง

ผู้แต่งแต่ละคน ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุลและตามด้วยอักษรย่อตัวแรกของชื่อต้น ชื่อกลาง ตามล�าดับ

3) ผู้แต่ง 8 คนขึ้นไป ให้ลงช่ือผู้แต่ง 3 คนแรก โดยใช้เคร่ืองหมายจุลภาค (,) แล้วตามด้วยอักษรย่อ

ตัวแรกของชื่อต้น ชื่อกลาง ตามล�าดับ แล้วตามด้วยค�าว่า et al.

4) กรณีไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ค�าว่า นิรนาม หรือ Anonymous แทนชื่อผู้แต่ง

นลิน ญานศิริ, สรจักร เกษมสุวรรณ, เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต.

Chávarri, M., Marañón, I., Ares, R., Ibáñez, F.C., Marzo, F., Villarán., M.C.

หนังสือ (ผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ (ถ้ามี). ส�านักพิมพ์, สถานที่พิมพ์.)

นิวัติ เรืองพานิช. 2535. วิทยาศาสตร์ทุ่งหญ้า. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Cochran, W.G., Cox., G.M. 1968. Experimental Designs. 2nd ed. John Wiley and sons, New York.

Oliver J.E., Lorenz, M.D., Kornegay., J.N. 1997. Handbook of veterinary neurology. 3rded. W.B. Saunders

Company, USA.

หนังสือที่มีผู ้เขียนเฉพาะแต่ละบท (ชื่อผู้เขียนบทที่อ้าง. ปีที่พิมพ์. ชื่อบทที่อ้าง. ใน ชื่อบรรณาธิการ หรือ

ผู้รวบรวม, บรรณาธิการ หรือผู้รวบรวม. ชื่อหนังสือ. ส�านักพิมพ์, สถานที่พิมพ์. หน้าที่บทนั้นตีพิมพ์.)

ไพโรจน์ จ๋วงพานิช. 2520. โรคอ้อยที่เกิดจากเชื้อรา. ใน เกษม สุขสถาน และ อุดม พูลเกษม, บรรณาธิการ.

หลักการท�าไร่อ้อย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 141-145.

Spraque, G.F. 1966. Quantitative genetics in plant improvement, In K.J. Frey, ed. Plant Breeding. The Iowa

State University Press, Ames, Iowa. pp. 315-354.

Larry, P., Tilley, F.W.K., Smith, Jr. 2011. Panting and Tachypnea. In: Blackwell’s Five-Minute Veterinary

Consult: Canine and Feline (5th Eds.). Blackwell Publishing Professional, John Wiley & Sons Ltd,

The Atrium, Southern Gate, Chichester, West Sussex, UK.

รายงานกระประชุมทางวิชาการ (ชื่อผู้เขียน. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง, ใน ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ (ถ้ามี).

ชื่อการประชุม ครั้งที่. ส�านักพิมพ์ (หรือหน่วยงานที่จัดการประชุม), สถานที่พิมพ์. หน้าที่ตีพิมพ์.)

วันเชิญ โพธาเจริญ, ไพพรรณ ตคถะ, บัณฑิต ฝั่งสินธุ, ขวัญจิต ควรดี, ลาวัลย์ ชตานนท์. 2537. การศึกษา

เปรียบเทียบวิธีการเก็บรักษาแลคติคแอสิดแบคทีเรีย. ใน เอกสารงานประชุมแลคติคแอสิดแบคทีเรีย

ในอุตสาหกรรมอาหารไทย ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 44-51.

Meij, B. 2015. Atlantoaxial subluxation or instability. In: Proceeding of 14th Chulalongkorn University

Veterinary Conference. Bangkok, Thailand. pp. 353-355.

Page 13: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 13

วิทยานิพนธ์ (ชื่อผู้เขียน. ปีที่พิมพ์. ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์, ชื่อมหาวิทยาลัย.)

จุฬาลักษณ์ ชูพรหม. 2553. การห่อหุ้มเซลล์โปรไบโอติกร่วมกับพรีไบโอติกและศึกษาการรอดชีวิตในสภาวะ

ที่เป็นกรดและเกลือน�้าดีในหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นพดล พิฬารัตน์, นันทริกา ชันซื่อ, ชาญณรงค์ รอดค�า, คมเคียว พิณพิมาย. 2557. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

โครงการการพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิภาพของโปรไบโอติกแบบบรรจุลงแคปซูลในปลานิล.

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Isnaeni, N.F. 2007. Product formulation of pure instant potatoes [(Ipomoea batatas (L.) Lam] as one of

staple food diversification. M.Sc. thesis. Faculty of Agricultural Technology, Bogor Agricultural

University.

บทความในวารสาร (ชื่อผู้เขียนบทความ. ปีที่พิมพ์. ช่ือบทความ. ชื่อวารสาร หรือ นิตยสาร. ปีที่ (ฉบับที่):

เลขหน้าแบบเต็ม.) ระบุชื่อย่อของวารสาร ยกเว้นวารสารชื่อที่ไม่มีค�าย่อ)

พนารัตน์ มอญใต้. 2555. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ที่เป็นมิตร: โปรไบโอติก (Probiotics). กรมวิทยาศาสตร ์

บริการ. 60(189): น. 13-15.

Anderson, D.P. 1992. Immunostimulants adjuvants and vaccine carriers in fish: Applications to aquaculture.

Annu. Rev. Fish. Dis. 281-307.

Bricknell, I., Dalmo, R.A. 2005. The use of immunostimulants in fish larval aquaculture. Fish. Shellfish.

Immunol. 19(1): 457-472.

Chávarri, M., Marañón, I., Ares, R., Ibáñez, F.C., Marzo, F., Villarán, M.C. 2010. Microencapsulation of

a probiotic and prebiotic in alginate - chitosan capsules improves survival in simulated gastro-

intestinal conditions. Int. J. Food. Microbiol. 142(3): 185-189.

ข้อมูลสารสนเทศจากเวิล์ดไวด์เว็บ (ช่ือผู้เขียน. ปีท่ีตีพิมพ์. ช่ือเรื่อง. ชื่อหัวของเวบไซต์. แหล่งที่มา. วัน เดือน

ปีที่สืบค้นข้อมูล.)

นลิน ญานศิริ, สรจักร เกษมสุวรรณ และ เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต. แหล่งที่มาของมลพิษทางทะเลในอ่าวไทย.

การดูแลสุขภาพและเคล็ดลับเพื่อสุขภาพที่ดี. แหล่งที่มา: http://www.healthcarethai.com, 13 สิงหาคม

2557.

Poncelet, D., Picot, A., Mafadi, S.E. 2011. Encapsulation: an essential technology for functional food

applications. Available source: http://www.capsulae.com, June 8, 2017.

Page 14: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 15

สารบัญ

หน้า

ชุดทดสอบวีทีเคยู ซัลบูแทม: ตรวจสอบการปนเปื้อนซัลบูทามอลในเนื้อสัตว์ อย่างรวดเร็ว . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 16ฉันท์ชนก ดวงศรี และวุฒินันท์ รักษาจิตร์

สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพสัตว์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การประยุกต์ใช้สาหร่ายสไปรูไลน่ากับการเลี้ยงสัตว ์. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 22คมสัน สัจจะสถาพร

ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การจ�าแนกชนิดของ แคนดิดา อัลบิแคนส์ ที่เพาะแยกจากสิ่งส่งตรวจ

ทางการสัตวแพทย์ด้วยวิธีทั่วไป . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 31คมสัน สัจจะสถาพร และ ดวงดาว ขันบุตรศรี

ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่องของชา กาแฟ และโกโก้ . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . 38ณัฐกาญจน์ นายมอญ

ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Page 15: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

16 JAHST

ชุดทดสอบวีทีเคยู ซัลบูแทม: ตรวจสอบการปนเปื้อนซัลบูทามอลในเนื้อสัตว์อย่างรวดเร็ว

ฉันท์ชนก ดวงศรี 1 และวุฒินันท์ รักษาจิตร์ 1,*1สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพสัตว์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900

*E-mail: [email protected]

รับบทความ 1 พฤษภาคม 2561 ยอมรับการตีพิมพ์ 17 มิถุนายน 2561

บทคัดย่อ

ซัลบูทามอล หรือสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ ที่ตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์มีผลข้างเคียง

ต่อผู้บริโภคได้ อาทิ การท�าให้หลอดเลือดขยายตัว การท�าให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กล้ามเนื้อสั่น ปวดศีรษะ

กระวนกระวาย คลื่นไส้อาเจียน อาการทางจิตประสาท จึงมีการพัฒนาชุดทดสอบอย่างง่าย เพื่อน�ามาใช้ทดสอบ

เบื้องต้นส�าหรับคัดกรองสารปนเปื้อนในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ก่อนที่จะน�าไปทดสอบอย่างละเอียด

ด้วยเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและแม่นย�าสูงในห้องปฏิบัติการ ผู ้วิจัยได้พัฒนาชุดทดสอบสารตกค้าง

ซัลบูทามอล (VTKU-Salbutam kit) ที่อาศัยการเกิดปฏิกิริยาเชิงซ้อนของซัลบูทามอลกับสารทดสอบ โดยเมื่อเกิด

ปฏิกิริยาสีของสารละลายจะเปลี่ยนจากสีน�้าตาลอ่อนเป็นสีน�้าตาลเข้มแสดงว่ามีการปนเปื้อนซัลบูทามอล

ค�าส�าคัญ : ซัลบูทามอล สารตกค้าง เนื้อสัตว์

Page 16: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 17

VTKU-Salbutam kit: Rapid Test for Salbutamol Contamination in Meat

Chanchanok Duangsri 1 and Wuttinun Raksajit 1,*1Program of Animal Health Technology, Faculty of Veterinary Technology, Kasetsart University, Bangkok, 10900

*E-mail: [email protected]

Received 1 May 2018; Accepted 17 June 2018

Abstract

Salbutamol or beta-agonist chemicals which are residues in meat and animal products have side

effects to the consumer such as vasodilation, tachycardia, tremor, headache, nausea, vomiting, and psychiatric

symptoms. Salbutamol test kits have been developed. It is used for preliminary testing of contaminated

residues in meat and animal products prior to being thoroughly tested with precision instruments in

the laboratory. Researchers have developed a test kit (VTKU-Salbutam kit) for salbutamol residue based on

the complex reaction of salbutamol with substance. When the reaction occurs, the color of the solution

changes from light brown to dark brown which is indicate that it is contaminated with salbutamol.

Keywords : Salbutamol, residues, meat

Page 17: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

18 JAHST

บทน�า

สารปนเปื ้อนในอาหาร (Contaminants)

หมายถึง สารที่ผสมอยู ่ ในอาหารซึ่ งอาจมาจาก

กระบวนการผลิต การบรรจุ ตลอดจนการขนส่งและ

การเก็บรักษา รวมทั้งการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม

เป็นสารที่ท�าให้เกิดกลิ่น สี รส ในการปรุงอาหาร สาร

บางชนิดมีคุณค่าทางอาหาร บางชนิดท�าให้เกิดโทษต่อ

ร่างกาย ซ่ึงในปัจจุบันปัญหาสารปนเปื้อนในอาหารที ่

ส�าคัญอย่างหนึ่ง คือ มีการลักลอบใช้สารเคมีกลุ่มเบต้า

อะโกนิสท์ (β2-agonist) หรือสารเร่งเนื้อแดงผสมลง

ในอาหารสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารสุกรและโค

เพื่อเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ ลดเปอร์เซ็นต์ไขมันในซาก

และท�าให้เนื้อสัตว์มีสีแดงขึ้น (สมโภชน์ ทับเจริญและ

คณะ, 2538) ซึ่งสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์หรือสาร

เร่งเนื้อแดง โดยปกติจะถูกใช้เป็นยาที่ใช้รักษาโรค

ระบบทางเดินหายใจและโรคหอบหืดของมนุษย์อย่าง

ฉับพลัน สามารถออกฤทธิ์เป็นได้ทั้งสารสื่อประสาท

และฮอร์โมนโดยจะจับกับตัวรับโดยเฉพาะบนผิวเซลล์

(Beta receptor) เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูก metabolite

ที่ตับ และถูกก�าจัดออกโดยทางไตเป็นหลัก โดยจะถูก

ก�าจัดออกจากร่างกายได้ประมาณ 70% ของปริมาณ

ที่ได้รับภายในเวลา 24 ชั่วโมงทางปัสสาวะ (Douglas

Pharmaceutical Ltd, 1999) แต่หากผู้บริโภคเนื้อสัตว ์

ได้รับสารเคมีกลุ ่มเบต้าอะโกนิสท์หรือสารเร่งเนื้อ

แดงที่ตกค้างในเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์เข้าไป

เป็นปริมาณมาก จะส่งผลข้างเคียงต่อผู้บริโภคโดยตรง

เช่น ท�าให้หลอดเลือดขยายตัว ท�าให้หัวใจเต้นเร็วกว่า

ปกติ กล้ามเนื้อสั่น ปวดศีรษะ กระวนกระวาย คลื่นไส้

อาเจียน วิงเวียนศีรษะ อาการทางจิตประสาท เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดการแพ้ยาและก่อให้เกิด

มะเร็งได้ เมื่อได้รับเป็นระยะเวลานานๆ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ประกาศ

พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525

และทีแ่ก้ไขเพิม่เตมิโดยพระราชบญัญตัคิวบคมุคณุภาพ

อาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ไม่อนุญาตหรือห้าม

ใช้เพื่อเป็นวัตถุที่เติมลงในอาหารสัตว์ เนื่องจากเป็น

อันตรายต่อผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องโทษจ�า

คุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งสอดคล้องกับ

หลายประเทศที่มีการประกาศห้ามใช้สารนี้ในการเลี้ยง

สัตว์ อาทิเช่น จีน สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศ

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ฝ่าฝืนและลักลอบใช้อยู่เป็นส่วน

ผสมในอาหารสัตว์ เพราะสามารถหาได้ง่ายในรูปของ

ยาที่ไม่มีใบสั่งยา

สารเคมีที่จัดอยู ่ในกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์หรือ

สารเร ่งเนื้อแดงหลายตัว มีไม ่น ้อยกว่า 20 ชนิด

ได้แก่ โบรโมบูเทอรอล (Bromobuterol) คาบูเทอรอล

(Cabuterol) เคลนบูเทอรอล (Clenbuterol) เคลนเพน-

เทอรอล (Clenpenterol) ไซมาเทอรอล (Cimaterol)

ซิมบูเทอรอล (Cimbuterol) มาบิลเทอรอล (Mabuterol)

มาเพนเทอรอล (Mapenterol) แรคโตพามีน (Racto-

pamine) ซัลบูทามอล (Salbutamol) เทอบูตาลีน

(Terbutaline) ทูโลบูเทอรอล (Tulobuterol) และ

ซิลพาเทอรอล (Zilpaterol) (Shao et al., 2009; Tang

et al., 2016; Wang et al., 2015; Zhang et al., 2017)

เป็นต้น ซัลบลูทามอลจัดเป็นสารเคมีที่เป็นท่ีนิยม

และถูกน�ามาใช้ผสมลงในอาหารสัตว์มากที่สุดของ

สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์หรือสารเร่งเนื้อแดง Zhang

และคณะวิจัย (Zhang et al., 2017) พบว่าเมื่อซัลบู-

ทามอล เกิดปฏิกิริยาทางเคมีภายในร่างกาย อาทิ

ปฏิกิริยาออกซิเดชัน ปฏิกิริยารีดักชัน จะได้อนุพันธ ์

ของซัลบูทามอล เพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด เช่น conjugat-

ed glucuronic acid (M1) hydroxylated salbutamol

(M4) hydroxylation และ N-oxide salbutamol (M5),

dehydrated M4 (M6) เป็นต้น แสดงดังรูปที่ 1 และได้

ตรวจสอบร้อยละการกลับคืน (recovery) และความ

แม่นย�า (precision) ในการตรวจหารปริมาณสาร

ซัลบูทามอลในอวัยวะต่างๆของวัวได้แก่ ตับ ไต กล้าม

เนื้อ หัวใจ ม้าม ล�าไส้เล็ก ล�าไส้ใหญ่และผนังรูเมน

ด้วยเทคนิคแมสสเปกโตรเมทรี พบว่า ซัลบูทามอล

ตกค้างในปัสสาวะสูงกว่าในพลาสมาและเนื้อเย่ือภาย

ในอื่นๆ ในช่วงระยะเวลาการให้ยาและถูกก�าจัดออก

อย่างรวดเร็วจากพลาสม่า หัวใจ ม้ามและเนื้อเยื่อไตใน

Page 18: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 19

ช่วงเวลาที่ศึกษา อย่างไรก็ตามการตรวจวิเคราะห์เพื่อ

หาปริมาณ หรือตรวจสอบเพื่อระบุชนิดของสารกลุ่ม

เบต้าอะโกนิสท์หรือสารเร่งเนื้อแดงที่ตกค้างในเนื้อ

สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จ�าเป็นต้องใช้เครื่องมือขั้น

สูงในการวิเคราะห์ ซึ่งจะมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง

ที่ซับซ้อนในการวิเคราะห์ ในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนา

ชุดทดสอบอย่างง่าย (Test kit) เพื่อน�ามาใช้ทดสอบ

เบื้องต้นส�าหรับคัดกรองตัวอย่างที่ปนเปื้อน ก่อนที่จะ

น�าไปทดสอบอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือที่มีความเที่ยง

ตรงและแม่นย�าสูงในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ผลถูก

ต้องมากขึ้น ชุดทดสอบอย่างง่ายมีข้อดีหลายประการ

คือ การทดสอบท�าได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน การใช้งานที่

สะดวกและขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ที่ส�าคัญคือต้นทุนต�่า มี

ผลการทดสอบน่าเช่ือถือ และไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ

ในการลงมือทดสอบ จะท�าให้ประชาชนทั่วไปทั้ง

เกษตรกรและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และ

น�าไปใช้ได้เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร

หลักการของชุดทดสอบอย่างง ่ายส่วนใหญ่อาศัย

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารที่สนใจกับสารทดสอบ

ที่มีความไวและจ�าเพาะต่อการเกิดปฏิกิริยากับสาร

เป้าหมาย เมื่อสารทดสอบท�าปฏิกิริยากับสารที่สนใจ

จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่มองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น สี

เปลี่ยนไปจากเดิม หรือการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางแสง

เช่น เกิดการเรืองแสง เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยได้พัฒนาชุด

ทดสอบสารตกค้างซัลบูทามอล (VTKU-Salbutam kit)

ที่อาศัยการเกิดปฏิกิริยาเชิงซ้อนของซัลบูทามอลกับ

สารทดสอบ โดยเมื่อเกิดปฏิกิริยาสีของสารละลายจะ

เปลี่ยนจากสีน�้าตาลอ่อนเป็นสีเขียวเข้มหรือสีน�้าตาล

เข้มแสดงว่ามีการปนเปื้อนซัลบูทามอล (รูปที่ 2)

ชุดทดสอบสารตกค้างซัลบูทามอลในผลิตภัณฑ์

จากสัตว์ (VTKU-Salbutam kit)

ขั้นตอนการตรวจสอบสารซัลบูทามอล (Salbutamol)

ที่ปนเปื้อนในเนื้อหมู มีดังนี้

1. เตรียมเนื้อหมู 2 กรัม มาบดจนละเอียด จากนั้นเติม

สารละลาย SalWC-1 ปริมาตร 2 มิลลิลิตร

รูปที่ 1 โครงสร้างของซัลบูทามอลและอนุพันธ์ของซัลบูทามอล (Zhang et al., 2017)

Page 19: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

20 JAHST

2. ผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันและน�ามาปั่นตกตะกอน

ที่ความเร็วรอบ 5000 รอบต่อนาที 5 นาที ที่อุณหภูมิ

ห้อง

3. เก็บส่วนใสด้านบน ใส่หลอดใหม่ และระเหย

ของเหลวให้แห้งด้วยความร้อนหรือด้วย Nitrogen

evaporator

4. ใส่สารละลาย SalWC-2 ปริมาตร 2 มิลลิลิตร ลงใน

หลอดที่ระเหยของเหลวออกแล้ว

5. กรองสารแขวนลอยด้วย Syringe filter ขนาด 0.45

ไมครอน และเก็บส่วนใสใส่ขวดสีชา

6. แบ่งสารละลายจากขวดสีชา ปริมาตร 0.5 มิลลิลิตร

ผสมกับสารละลาย SalWC-3 ปริมาตร 0.5 มิลลิลิตร

7. ตั้งทิ้งไว้ 5-10 นาที สีของสารละลายจะเปลี่ยนจาก

สีน�้าตาลอ่อนเป็นสีเขียวเข้มหรือสีน�้าตาลเข้ม แสดง

ถึงการปนเปื้อนสารซัลบูทามอล (Salbutamol)

8. ชุดทดสอบ สามารถใช้ตรวจสอบสารเร่งเนื้อแดง

ที่ปนเปื้อนในระดับไม่ต�่ากว่า 100 ppm

ถ้าหากไม่มีชุดทดสอบ ผู้บริโภคควรมีหลักการเลือกซื้อ

เนื้อหมูเพื่อความปลอดภัยเบื้องต้น ดังนี้

1. เนื้อหมู ปกติจะมีสีชมพูปนสีแดงเรื่อๆ ไม่มีกลิ่น

เหม็นเน่า แต่เนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน

จะมีสีแดงคล�้ากว่าปกติ

2. เ น้ือหมูปกติเมื่อหั่นทิ้งไว ้ จะพบน�้าซึมออกมา

บริเวณผิว แต่เนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน

หั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะเนื้อค่อนข้างแห้ง

รูปที่ 2 ขั้นตอนการตรวจสอบสารซัลบูทามอล (Salbutamol) ในเนื้อหมู

3. เนื้อหมูสามชั้น เนื้อหมูปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน

ต่อมัน 1 ส่วน ส่วนที่เป็นมันควรเป็นสีขาวขุ ่น

แต่เนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อน จะมีปริมาณ

เนื้อสูงถึง 3 ส่วนต่อมัน 1 ส่วน นั่นคือ มีเนื้อแดง

มากกว่ามัน (รูปที่ 3) (กรมปศุสัตว์, 2554)

รูปที่ 3 สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อหมูสด (ไทยรัฐและสถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย. 2560.

สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อหมูสด. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)

Page 20: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 21

บทสรุป

ถึงแม้ว่าชุดทดสอบสารตกค้างซัลบูทามอล

(VTKU-Salbutam kit) จะสามารถตรวจหาสาร

ซัลบูทามอลที่ปนเปื ้อนในเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ ์

จากสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามชุดทดสอบ

เป ็นเพียงการป้องกันอันตรายส�าหรับผู ้บริโภคที่

ปลายเหตุ หากต้องการแก้ไขปัญหาและอันตรายจาก

การตกค้างของสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์หรือสารเร่ง

เน้ือแดงให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการรณรงค์ให้ผู้เลี้ยง

สัตว์ ตระหนักถึงอันตรายของสารเหล่านี้ที่มีผลต่อ

สุขภาพของผู ้บริโภค โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารกลุ ่ม

เบต้าอะโกนิสท์หรือสารเร่งเนื้อแดงเพื่อผสมในอาหาร

สัตว์

เอกสารอ้างอิง

กรมปศุสัตว ์ . 2554. การเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว ์ .

รายงานประจ�าปี 2554. น. 63.

ไทยรัฐและสถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย.

2560. สารเร่งเนื้อแดงกับเนื้อหมูสด. หนังสือ

พิมพ์ไทยรัฐ. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/

content/1164628. 29 ธันวาคม 2560.

สมโภชน์ ทับเจริญ, เสน่ห์ ทองเอียม, เนรมิต สุขมณี,

ศรีสุวรรณ ชมชัย. 2538. ผลการใช ้สาร

Beta-Adrenergic Agonist (salbutamol) ต่อ

สมรรถภาพการผลิตและลักษณะซากสุกร

ลูกผสมระหว่างพันธุ์พ้ืนเมืองและ เหมยซาน.

ใน เอกสารงานประชุมทางวิชาการของ

มหาวิทยาลั ย เกษตรศาสตร ์ ครั้ งที่ 33 .

กรุงเทพฯ. น. 176-182.

Douglas Pharmaceuticals Ltd. 1999. BUVENTOL

EASYHALER® Information for health

professionals. New Zealand medicines and

medical devices safety authority. Available

source: http://www.medsafe. govt.nz/profs/

d a t a s h e e t / b / b u v e n t o l i n h a l p w d . h t m .

19 January 2013

Shao, B., Jia, X., Zhang, J., Meng, J., Wu, Y., Duan,

H., Tu, X. 2009. Multi-residual analysis of

16β-agonists in pig liver, kidney and muscle

by ultra performance liquid chromatography

tandem mass spectrometry. Food. Chem.

114: 1115-1121.

Tang, Y., Lan, J., Gao, X., Liu, X., Zhang, D., Wei,

L., Gao, Z., Li., J. 2016. Determination of

clenbuterol in pork and potable water

samples by molecularly imprinted polymer

through the use of covalent imprinting

method. Food. Chem. 190: 952-959.

Wang, P., Liu, X., Su, X., Zhu., R. 2015. Sensitive

detection of β-agonists in pork tissue with

novel molecularly imprinted polymer

extraction followed liquid chromatography

coupled tandem mass spectrometry detection.

Food. Chem. 184: 72-79.

Zhang, K., Tang, C., Meng, Q., Du, W., Bo,

T., Zhao, Q., Liang, X., Liu, S., Zhang,

Z., Zhang, J. 2017. Residues of salbutamol

and identification of its metabolites in beef

cattle. J. Agric. Food Chem. 65 (13): 2867-

2875.

Page 21: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

22 JAHST

การประยุกต์ใช้สาหร่ายสไปรูไลน่ากับการเลี้ยงสัตว์

คมสัน สัจจะสถาพร 1,* 1ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900

*E-mail: [email protected]

รับบทความ 6 พฤษภาคม 2561 ยอมรับการตีพิมพ์ 25 มิถุนายน 2561

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่แสดงถึงประโยชน์ของสาหร่ายสไปรูไลน่าตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการต่างๆ อย่าง

มากมาย ทั้งประโยชน์ในด้านของเภสัชกรรม ด้านเกษตรกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัสดุชีวภาพทาง

การแพทย์ เป็นต้น โดยบทความนี้จะกล่าวถึงการน�าประโยชน์ต่างๆ ของสาหร่ายสไปรูไลน่าที่ส�าคัญๆ มา

ประยุกต์ใช้ในด้านการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาต่อไป

ค�าส�าคัญ : สไปรูไลน่า การประยุกต์ใช้ การเลี้ยงสัตว์

Page 22: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 23

Application of Spirulina as a Feed Ingredients for Animal Husbandry.

Khomson Satchasataporn 1,*1Department of Veterinary Technology, Faculty of Veterinary Technology, Kasetsart University, Bangkok, 10900

*E-mail: [email protected]

Received: 6 May 2018; Accepted 25 June 2018

Abstract

Nowadays, several Spirulina research have been published. The main objective of these research

focused on utilize benefits from Spirulina algae in different field such as pharmacology, agriculture,

environment and biomedical equipment etc. Therefore, this article aims to reveal the application of Spirulina

algae for animal husbandry.

Keywords : spirulina, application, husbandry

Page 23: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

24 JAHST

บทน�า

สไปรูไลน่า (Spirulina) เป็นไซยาโนแบคทีเรีย

จัดอยู่ในจีนัส Arthrospira มีหลายเซลล์เรียงต่อกัน

(Multicellular) เป ็นเส ้นสายเรียกว ่า ไทรโครม

(Trichome) ซึ่งมีลักษณะเป็นเกลียวหลวม เซลล์มี

ขนาดตั้งแต่ 3 ถึง 12 ไมโครเมตร และยาวประมาณ

50 ถึง 500 ไมโครเมตร โครงสร้างของเซลล์เป็น

โปรคาริโอต (Procaryote) ไม่มีนิวเคลียส ลักษณะ

รูปร่างเมื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ประกอบด้วยเซลล ์

ทรงกระบอกเรียงต่อกันและขดเป็นเกลียว (spiral)

พบสารสีกระจายในไทลาคอยด์ (Thylacoid) ซ่ึงอยู่ใน

ไซโตพลาสซึม ผนังเซลล์ประกอบด้วยชั้นมิวโคโปรตีน

(Mucoprotein) และ เพ็คติน (Pectin) เมื่อสาหร่าย

มีการเจริญเติบโตเต็มที่ จะสามารถสืบพันธุ์ได้ โดย

ไทรโครมจะมีการสร้างเซลล์ที่มีลักษณะพิเศษชื่อว่า

necridia ซึ่งเซลล์นี้จะเป็นบริเวณที่เกิดการแตกตัว

(lysis) หักเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 3-4 เซลล์ ซึ่ง

ไทรโคมที่แตกตัวออกมานั้นจะมีลักษณะรูปร่างที่

เหมือนกัน เรียกว่า hormogonia จากนั้นเซลล์ที่อยู ่

ภายใน hormogonia จะมีการแบ่งตัว (cell fission)

จนมีจ�านวนเซลล์ที่เพิ่มขึ้นและภายในไซโตพลาสซึม

จะมีแกรนูล (granulated) กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้

ท�าให้ไทรโคมมีความยาวเพิ่มขึ้น มีรูปร่างเป็นเกลียว

และท�าให้เซลล์มีสีน�้าเงินแกมเขียว (ดังรูปที่ 1) โดย

สาหร่ายชนิดนี้สามารถพบการแพร่กระจายในแถบ

เขตร้อนทั้งในน�้าจืด น�้ากร่อย และน�้าเค็ม แต่ส่วนใหญ่

พบในน�้าจืด เจริญเติบโตได้ดีในน�้าที่มีความเป็นด่าง

สูง 8.5 - 10 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการแพร่กระจายอยู่

ระหว่างช่วง 29 – 32 องศาเซลเซียส และความเข้มแสง

ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 2,500 – 5,000 ลักซ์ (รัตนา และ

คณะ, 2550)

ส�าหรับสาหร ่ายสไปรูไลน ่าสายพันธุ ์ที่มี

ความส�าคัญในการน�ามาเป็นอาหารของคนและสัตว์

ได้แก่ Spirulina (Arthrospira) maxima และ Spirulina

(Arthrospira) platensis โดยสาหร่ายทั้งสองสายพันธุ์นี้

จะมีความแตกต่างกันที่ขนาด และความสูงระหว่าง

เกลียว (รูปที่ 2) ทั้งนี้สาหร่ายสายพันธุ์ Platensis

รูปที่ 1 วงจรชีวิตของสาหร่ายสไปรูไลน่า

(ที่มา: Ali, S.K. and Saleh, A.M., 2012)

มักพบเจริญเติบโตในแถบทวีปเอเซีย ทวีปอเมริกาใต้

และแถบทวีปแอฟริกา แต่สาหร่ายสายพันธุ์ Maxima

มักพบเจริญเติบโตในแถบอเมริกาตอนกลาง และพบ

ในทะเลสาบ Texcoco ประเทศ เม็กซิโก (Tomaselli,

1997; Henrikson, 1997)

Page 24: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 25

จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางชีวเคมีใน

สาหร่ายสไปรูไลน่าพบว่า สาหร่ายชนิดนี้มีโปรตีนสูง

ถึง 50 - 70% และเป็นโปรตีนคุณภาพดี เพราะมีกรด

อะมิโนทั้งชนิดจ�าเป็นและไม่จ�าเป็น เป็นองค์ประกอบ

มากถึง 18 ชนิด อีกทั้งยังมีวิตามิน เกลือแร่ รวมถึง

กรดไขมันชนิดต่างๆ อีกมากมาย เช่น กรดแกรมมา-

ลิโนเลนิก ซึ่งกรดชนิดนี้มีส่วนช่วยในการลดไขมัน

ชนิดไม่ดี (low-density lipoprotein: LDL) ซึ่งเป็น

ไขมันที่ท�าให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งในผู้ป่วย

ที่มีคลอเรสเตอรอลสูง นอกจากนี้สาหร่ายสไปรูไลน่า

ยังประกอบด้วยสารไฟโคบิลิโปรตีน และ วิตามินบี 1

เป็นต้น (ตารางที่ 1) (Safi et al., 2014)

ก ข

ตารางที่ 1 ตารางแสดงองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายสไปรูไลน่า

Analysis Arthrospira platensis

Crude protein (%) 60.3-65.8

Alanine (%) 5.4-6.5

Arginine (%) 4.0-4.9

Aspartic acid (%) 2.4-9.2

Cystine (%) 0.4-0.5

Glutamic acid (%) 5.7-10.7

Glycine (%) 1.8-5.2

Histidine (%) 1.5-2.7

Isoleucine (%) 4.2-4.4

Leucine (%) 5.5-8.0

Lysine (%) 2.9-3.0

Methionine (%) 1.2-1.6

Phenylalanine (%) 3.0-5.8

Proline (%) 2.0-4.

Serine (%) 2.8-4.3

รูปที่ 2 ลักษณะเซลล์ของสาหร่ายสไปรูไลน่า

ก. คือ Spirulina (Arthrospira) maxima ข. คือ Spirulina (Arthrospira) platensis

(เครื่องหมายบาร์คือขนาด 20 ไมโครเมตร ที่มา: Ali, S.K. and Saleh, A.M., 2012)

Page 25: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

26 JAHST

Analysis Arthrospira platensis

Threonine (%) 2.9-4.9

Tryptophan (%) 0.1-2.5

Valine (%) 4.2-4.6

Crude carbohydrate (%) 17.8-22.6

Crude fibre (%) 0.5-1.8

Crude fat 1.8-7.3

DHA (g/kg) <3.0

EPA (g/kg) <2.5

Ash (%) 6.5-9.5

Ca (g/kg) 1.3-14.0

Fe (mg/kg) 580-1800

K (g/kg) 6.4-16.6

Mg (g/kg) 2.0-3.2

Mn (mg/kg) 19-37

Na (g/kg) 4.5-10.5

P (g/kg) 1.2-9.6

Zn (mg/kg) 21-40

Carotenoids (mg/kg) 330-5040

Folic acid (mg/kg) 0.9

Vitamin B1 (mg/kg) 5-50

Vitamin B6 (mg/kg) 4-50

Vitamin E (mg/kg) 50-190

(ที่มา: Madeira et al., 2017)

นอกจากสาหร่ายสไปรูไลน่า จะเป็นกลุ่มของ

แหล่งอาหารที่มีประโยชน์มากมายดังกล่าวข้างต้น

แล้ว ยังสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย และเก็บเกี่ยวผลผลิต

ได้สะดวกรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมในการน�ามาแปรรูป

ให้เป็นผงแห้งด้วยวิธีใช้ความเย็น (freeze-dried) เพื่อ

เป็นการรักษาคุณค่าของสารอาหาร และสะดวกต่อการ

ท�าไปผสมในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ทั้งในแง่ของ

การใช้เป็นอาหารเสริม หรือใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร

สัตว์เป็นต้น โดยการน�าสาหร่ายสไปรูไลน่ามาใช้

ส�าหรับเป็นอาหารสัตว์นั้น นิยมใช้ในรูปของสารสกัด

(cell extract) หรือน�าสาหร่ายมาใช้ทั้งเซลล์ (whole

cell) ก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ หรือความต้องการใน

การใช้ของเกษตรกร ข้อดีของการใช้สาหร่ายทั้งเซลล ์

คือประหยัดต้นทุน อีกทั้งคุณค่าทางอาหารในสาหร่าย

ยังไม่เสื่อมสภาพไปจากการแปรรูป แต่ทั้งนี้ในการ

ใช้สาหร่ายเป็นอาหารสัตว์น้ัน ควรค�านึงถึงความ

เหมาะสม และการยอมรับได้ของสัตว์แต่ละชนิดด้วย

เช่น การมีผลต่อระบบการย่อยอาหาร หรือลักษณะ

ของ กลิ่น สี และรสชาติ ที่เกิดขึ้น เป็นต้น (นารินทร์,

2561) โดยสาหร่ายสไปรูไลน่ามักเป็นที่นิยมในการใช้

เป็นอาหารสัตว์ในแต่ละประเภทดังนี้

Page 26: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 27

อาหารสัตว์น�้า

เกษตรกรส ่วนใหญ ่จะนิยมใช ้สาหร ่ าย

สไปรูไลน่าในการเลี้ยงสัตว์น�้าประเภทกุ ้ง หอย ปู

และปลากินพืชบางชนิด เนื่องจากสาหร่ายชนิดนี้มี

โปรตีนสูง และมีสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญ

เติบโตดังที่กล่าวข้างต้น รวมท้ังยังมีการใช้สาหร่าย

สไปรูไลน่าในการเลี้ยงปลาบางชนิดเช่นปลาแซลม่อน

และปลาสวยงาม เนื่องจากสาหร่ายสไปรูไลน่ามีสาร

สารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสีสันให้กับปลา

เหล่าน้ีให้เป็นที่ต้องการของตลาด โดยการให้สาหร่าย

สไปรูไลน่าเพื่อเป็นอาหารในสัตว์น�้านั้น ส่วนใหญ่

นิยมน�าไปผสมกับส่วนประกอบอื่นๆ และปั ้นเป็น

ก้อนกลมๆ หรือให้เป็นในรูปของอาหารผงเป็นต้น

(รูปที่ 3 )

มีรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้สาหร่าย

สไปรูไลน่าในการเลี้ยงปลาหลายชนิด โดยพบว่า

สาหร่ายสไปรูไลน่าไม่ได้มีส่วนช่วยเพ่ิมอัตราการเจริญ

เติบโตในปลาทุกชนิด แต่ปริมาณอัตราส่วนต่างๆ ใน

การผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าลงในอาหารน้ันก็มีส่วน

ส�าคัญ อาทิเช่น การศึกษากับปลากะโห้เทศ Catla catla

และปลายี่สกเทศ Labeo rohita พบว่าปลากะโห้เทศที่

กนิอาหารผสมสาหร่ายสไปรไูลน่ามนี�า้หนกัไม่แตกต่าง

กับปลากะโห้เทศที่กินอาหารสูตรปกติ แต่ในขณะที่

ปลายี่สกเทศที่กินอาหารผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าแทน

ปลาป่นในสูตรอาหารหลักในปริมาณ 25% มีการเจริญ

เติบโตเพิ่มขึ้นกว่าปลายี่สกเทศที่กินอาหารสูตรปกติ

อย่างมีนัยส�าคัญ และมีประสิทธิภาพของโปรตีนสูงขึ้น

อีกด้วย (Nandeecha et al., 2001)

น อ ก จ า ก นี้ ยั ง มี ร า ย ง า น ก า ร ศึ ก ษ า ใ น กุ ้ ง

ก้ามกราม Macrobrachium rosenbrgii พบว่าการให ้

กุ้งก้ามกรามได้รับอาหารที่ผสมสาหร่ายสไปรูไลน่า

5-10% จะท�าให้กุ้งมีอัตราการเจริญเติบโต และการอยู่

รอดเพิ่มขึ้น (Nakagawa and Gomez-Diaz, 1995) และ

จากการศึกษาการให้กุ้งกุลาด�า (Penaeus monodon)

ได้รับอาหารผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าในอัตราส่วน

0.1% (w/w) พบว่าการท�างานของเม็ดเลือดชนิด

granulocytes และชนิด hyalinocyte เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย

ส�าคัญ อีกทั้งยังไม่พบเชื้อ Vibrio parahaemolyticus

ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียก่อโรคท่ีส�าคัญในกุ้งอีกด้วย (Lee,

K., 1999) และเม่ือให้กุ้งกุลาด�าได้รับอาหารที่มีส่วน

ผสมของสาหร่ายสไปรูไลน่าที่ระดับ 3% เป็นเวลา

14-28 วัน พบว่าเปลือกกุ ้งจะมีแคโรทีนอยด์สูงขึ้น

อย่างมาก ซ่ึงคาดว่าสารแคโรทีนอยด์ที่พบในสาหร่าย

สไปรูไลน่านั้นมี ซีแซนทินเป็นองค์ประกอบ และสาร

นี้สามารถเปลี่ยนเป็นแอสทาแซนทินได้อย่างรวดเร็ว

ในตัวกุ้ง (Liao et al., 1993) และจากการการศึกษาการ

ให้กุ้งคุรุม่า Marsupenaeus japonicas Bate ได้รับอาหาร

ที่มีส่วนผสมของสาหร่ายสไปรูไลน่าที่ระดับต่างๆ

พบว่าจะท�าให้กุ้งมีแอสทาแซนทินที่เนื้อ และเปลือก

มากกว่า และมีอัตราการอยู ่รอดสูงกว่ากุ ้งที่ได้รับ

อาหารสูตรปกติอย่างมีนัยส�าคัญ (Chien and Shiau,

2005)

รูปที่ 3 ลักษณะของอาหารสัตว์น�้าที่มีส่วนผสมของสาหร่ายสไปรูไลน่า

(ที่มา: www.clarkekoi.com/feeding-your-koi.html, 5 มิถุนายน 2561)

Page 27: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

28 JAHST

อาหารสัตว์ปีก

ปัจจุบันมีแนวโน้มที่ เกษตรกรจะหันมาใช้

สาหร่ายชนิดนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหารส�าหรับสัตว์ปีก

มากขึ้น เนื่องจากสาหร่ายชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารสูง

และยังมีสารเบต้า-แคโรทีนในปริมาณสูงอีกด้วย

โดยจากการทดลองผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าลงไปใน

อาหารไก่เน้ือที่ระดับ 10% ของสูตรอาหาร พบว่าจะ

ท�าให้ไก่เนื้อมีการเจริญเติบโตที่ดี และมีภูมิต้านทาน

โรคเพิ่มขึ้น และจากการทดลองให้ไก่เน้ือได้รับอาหาร

ผสมสาหร่ายสไปรูไลน่าในอาหารที่ระดับ 1% เป็น

เวลา 36 วัน พบว่าไก่เนื้อมีอัตราการแลกเนื้อที่เพิ่มขึ้น

และมีอัตราการใช้อาหารเพื่อเปลี่ยนเป็นเนื้อที่ลดลง

ทั้งนี้สารเบต้า-แคโรทีนในสาหร่ายสไปรูไลน่านั้น

ยังมีความจ�าเป็นต่อแม่ไก่ไข่ เพราะมีผลช่วยให้สีของ

ไข่แดงสด และเป็นที่ต้องการของผู ้บริโภคอีกด้วย

(Shanmugapriya et al., 2015)

อาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

สาหร่ายสไปรูไลน่าถูกใช้เป็นส่วนผสมใน

อาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคนม (รูปที่ 4) โดย

จากการทดลองให้โคนมได้รับสาหร่ายสไปรูไลน่า

จะมีผลท�าให้มีโคนมการผลิตน�้านมเพิ่มขึ้น มีน�้าหนัก

ตัวเพิ่มขึ้น 8.5% - 11% ส่วนการให้แพะและแกะได ้

รับสาหร่ายสไปรูไลน่านั้น จะมีผลท�าให้สัตว์มีน�้าหนัก

ตัวที่เพิ่มขึ้น เพิ่มการกินได้ มีอัตราการใช้อาหารเพื่อ

เปลี่ยนเป็นเนื้อลดลง และมีผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

อีกด้วย (Madeira et al., 2017)

รูปที่ 4 ผลิตภัณฑ์อาหารโคนมที่มีสาหร่ายสไปรูไลน่าเป็นส่วนผสม

(ที่มา:https://www.shop.spirulina.network/product/spirulina-cattle-feed-formula-10kg, 5 มิถุนายน 2561)

อาหารสุกร

จากการทดลองให้สุกรขุนได้รับอาหารผสม

สาหร่ายสไปรูไลน่าที่ระดับ 0.2% พบว่าสุกรมีอัตรา

การแลกเนื้อที่เพิ่มขึ้น และมีอัตราการใช้อาหารเพ่ือ

เปล่ียนเป็นเนื้อที่ลดลง ในขณะที่การให้สาหร่าย

สไปรูไลน่าที่ระดับ 1% ในลูกสุกรหย่านมเป็นเวลา

14 วัน พบว่าไม่มีผลต่อค่าอัตราการแลกเนื้อ และ

ค่าอัตราการใช้อาหารแต่อย่างใด (Furbeyre et al.,

2017; Madeira et al., 2017)

Page 28: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 29

อาหารกระต่าย

จากการทดลองให้กระต่ายได้รับอาหารผสม

สาหร่ายสไปรูไลน่าที่ระดับ 5%-15% เป็นเวลา 24 วัน

พบว่าไม่มีผลต่อค่าอัตราการแลกเน้ือ และค่าอัตราการ

ใช้อาหารแต่อย่างใด (Peiretti and Meineri, 2009)

สรุป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาหร่ายสไปรูไลน่าสามารถ

น�ามาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี จึงเป็น

สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากในการศึกษากลไกการท�างาน

รวมถึงองค์ประกอบของสาระส�าคัญต่างๆ ในสาหร่าย

ชนิดนี้ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการศึกษาขบวนการ

ผลิตเซลล์สาหร่ายที่เป็นสารชีวมวลเหล่านี้ให้มีสภาวะ

ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และมีการเหนี่ยวน�าให้

มีองค์ประกอบของสาระส�าคัญอยู่ภายในเซลล์ เพ่ือท�า

การสกัดส�าหรับน�ามาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ ก็ยังม ี

ความท้าทายต่อการศึกษาค้นคว้าและท�าการทดลอง

ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

นารินทร์ จันทร์สว่าง. 2561. อาหารมนุษย์ อาหารสัตว์

จากสาหร่าย. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

33(1): น. 4-9.

รัตนา ชัยกล้าหาญ, ณัฐยาภรณ์ ชิระสุวรรณ และ

บุษยา บุนนาค. 2550. สาหร่ายสไปรูไลน่า

(อาร์โธรสไปร่า), Spirulina (Arthrospira),

ความรู้ทั่วไป องค์ประกอบชีวเคมี การน�าไปใช้

ประโยชน์ และความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 1.

สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

แสงเทียนการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

Ali, S.K. and Saleh, A.M. 2012. Spirulina - An

Overview. Int. J. Pharm. Pharm. Sci. 4(3):

9-15.

Chien, Y.H. and Shiau, W.C. 2005. The effects of

dietary supplementation of algae and

synthetic astaxanthin on body astaxanthin,

survival, growth and low dissolved oxygen

s t r e s s r e s i s t ance o f ku ruma p rawn ,

Marsupenaeus japonicas Bate. J. Exp. Mar.

Biol. Ecol. 318(2): 201-211.

Furbeyre, H., Milgen, J., Mener, T., Gloaguen,

M., Labussiere, E. 2017. Effects of dietary

supplymentation with freshwater microalgae

on growth performance, nutrient digestibility

and gut health in weaned piglets. Animal.

11: 183-192.

Henrikson, R. 1997. Earth food Spirulina. Ronor

Enterprises Inc. Kenwood, California. U.S.A.

Lee, K. 1999. Spirulina and immunological activity

of cultured prawn, Book of Abstracts. Second

Asian Pacific Phycological Forum. 25.

Madeira, M.S., Cardoso, C., Lopes, P.A., Coelho, D.

and Afonso, C. 2017. Microalgae as feed

ingredients for livestock production and

meat Quality: A review. Livest. Sci. 205:

111-121.

Nakagawa, H. and Gomez-Diaz, G. 1995. Useful

ness of Spirulina sp. meal as feed additive

for giant fresh water prawn, Mcrobrachium

rosenbergii. Suisanzoshoku. 43: 521-526.

Nandeecha, M.C., Gangadhara, B., Manissery, J.K.

and Venkataraman, L.V. 2001. Growth

performance of two Indian major carp,

catla (Catla catla) and rohu (Labeo rohita)

fed diets containing different levels of

Spirulana platensis. Bioresource. Technol.

80: 117-120.

Page 29: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

30 JAHST

Peiretti, P.G. and Meineri, G. 2009. Effects of two

antioxidants on the morpho-biometrical

parameters, apparent digestibility and meat

composition in rabbits fed low and high fat

diets. J. Anim. Vet. Adv. 8: 2299-2304.

Safi, C., Charton, M., Ursu, A.V., Laroche, C., Zebib,

B., Pontalier, P.Y. and Vaca-Garcia, C.,

2014. Release of hydrosoluble microalgal

proteins using mechanical and chemical

treatments. Algal Res. 3: 55-60.

Shanmugapriya, B., Babu, S.S., Hariharan, T.,

Sivaneswaran, S., Anusha, M.B. 2015.

Dietary administration of Spirulina platensis

as probiotics on growth performance and

histopathology in broiler chicks. Int. J.

Recent Sci. Res. 6: 2650-2653.

Tomaselli, L. 1997. Morphology, Ultrastructure

and Taxonomy of Arthrospira (Spirulina)

maxima and Arthrospi ra (Spi ru l ina)

platensis, in Spirulina platensis (Arthrospira):

physiology, cell-biology and biotechnology.

A. Vonshak, ed. Taylor & Francis Inc, Great

Britain.

Page 30: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 31

การจ�าแนกชนิดของ แคนดิดา อัลบิแคนส์

ที่เพาะแยกจากสิ่งส่งตรวจทางการสัตวแพทย์ด้วยวิธีทั่วไป

คมสัน สัจจะสถาพร 1 และ ดวงดาว ขันบุตรศรี 1,*1 ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900

*E-mail: [email protected]

รับบทความ 7 พฤษภาคม 2561 ยอมรับการตีพิมพ์ 27 มิถุนายน 2561

บทคัดย่อ

แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) จัดเป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม เป็นเชื้อฉวยโอกาส

ที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ ดังน้ันเพื่อให้สัตวแพทย์สามารถวางแผนการรักษาสัตว์ป่วยได ้

อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยผลการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการที่มีความถูกต้อง

แม่นย�า โดยทั่วไปการตรวจทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยามีวิธีท่ีใช้ในการระบุสายพันธุ ์ของเชื้อแคนดิดา

(Candida spp.) หลายวิธี แต่ที่นิยมใช้คือวิธีการตรวจทางฟีโนไทป์ ได้แก่ วิธี KOH Preparation การย้อมสีแกรม

ทดสอบคุณสมบัติการสร้างคลาไมโดสปอร์ (Chlamydospore) การสร้างท่องอก (Germ tube) ทดสอบการใช ้

คาร์โบไฮเดรต และทดสอบการหมักคาร์โบไฮเดรต โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อมูล

และวิธีการปฏิบัติทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาในการการระบุชนิดของเชื้อ C. albicans

ค�าส�าคัญ : แคนดิดา อัลบิแคนส์, ท่องอก, คลาไมโดสปอร์

Page 31: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

32 JAHST

Identification of Veterinary Clinical Isolated Candida albicans Using

Conventional Method

Khomson Satchasataporn 1 and Duangdaow khunbutsri 1,*1 Department of Veterinary Technology, Faculty of Veterinary Technology, Kasetsart University, Bangkok,10900

*E-mail: [email protected]

Received 7 May 2018; Accepted 27 June 2018

Abstract

Candida albicans is a commensal yeast species that is commonly found in environment and this

organism can also act as an opportunistic pathogen in both humans and animals. Diagnosis of diseases caused

by Candida albicans in both human and veterinary medicine is required appropriate laboratory examination

of the organism. There are many methods generally used for the identification of this organism in

microbiological laboratory. Phenotypic methods are the standard protocol for C. albicans identification

including KOH preparation, Gram staining, Chlamydospore formation test Germ tube test, Carbohydrate

assimilation tests and Carbohydrate fermentation test. This article aims to demonstrate the brief materials

and methods of those microbiological laboratory for C. albicans identifications.

Keywords : Candida albicans, germ tube, chlamydospore

Page 32: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 33

บทน�า

เชื้อยีสต์ในสกุล Candida spp. พบได้ทั่วไป

ในสิ่งแวดล้อม โดยมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งสาย

พันธุ์ที่มีความส�าคัญทางการแพทย์และพบการก่อโรค

ได้บ่อยในสัตว์ ได้แก่ Candida albicans ยีสต์ชนิด

นี้สามารถพบการแบ่งเซลล์ (budding cell) รูปร่าง

กลมรี ขนาด 3.5-6.0×6.0-10 ไมโครเมตร เจริญได้ด ี

ที่อุณหภูมิ 25-37 องศาเซลเซียส (Markey et al.,

2013) ลักษณะโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Sabouraud

Dextrose Agar ค่อนข้างกลม สีขาวครีม สามารถตรวจ

พบได้บนผิวหนัง เยื่อเมือกของทางเดินอาหาร หรือ

บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในคนและสัตว์ ซึ่งก่อให้เกิด

โรค Candidiasis โดยมีสาเหตุมาจากภาวะการติดเชื้อ

ซ�า้ซ้อน การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียด้วยยาปฏิชีวนะ

เป็นระยะเวลานาน หรือพบในสัตว์ที่มีภูมิคุ ้มกันต�่า

มีภาวะขาดสารอาหาร และมักพบการติดเชื้อจากการ

ใส่ท่อสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ C. albicans ก่อให้เกิดโรคในสัตว์

หลายชนิด เช่น โรค Thrush ในสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสาเหตุ

ให้สัตว์ปีกมีอาการปอดบวม ส่งผลต่อระบบทางเดิน

หายใจ และทางเดินอาหาร โดยพบอาการอักเสบที ่

บริเวณปากและหลอดอาหาร จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที ่

ท�าให้ลูกสัตว์ปีกมีอัตราการตายที่สูงมาก ทั้งนี้ยังม ี

รายงานการเกิดโรคเต้านมอักเสบในโคนม รายงาน

การเกิดแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารของม้า และหมู

ในส่วนของสุนัขและแมวมักเกิดโรคปากอักเสบ มีการ

ติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ และเป็นสาเหตุท�าให้เกิดโรค

Pyothorax ในแมวตามมา (Markey et al., 2013)

รูปที่ 1 ลักษณะเซลล์ยีสต์ที่ผ่านการย้อมสีแกรม และส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ทีก�าลังขยาย 1000 เท่า

ก. ลักษณะเซลล์ที่พบการแบ่งเซลล์ (budding cell)

ข. ลักษณะการสร้างสายราเทียม (Pseudohyphae)

(ที่มา: https://microbeonline.com/candida-albicans-pathogenesis-diagnosis ค้นหา 24 พ.ค. 61)

การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

(Laboratory Diagnosis)

ในการตรวจหาเช้ือ C. albicans สามารถท�า

การเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจด้วยวิธีปลอดเชื้อ จาก

บริเวณท่ีมีการติดเชื้อ เช่น หนองจากท่อปัสสาวะ

ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก เยื่อบุมดลูก และรอย

โรคที่ผิวหนัง เป็นต้น โดยในสัตว์ป่วยที่สงสัยว่ามีการ

ติดเชื้อตามระบบ ควรส่งตัวอย่างเลือดไปท�าการเพาะ

เช้ือยังห้องปฏิบัติการทันที หรืออาจเก็บรักษาตัวอย่าง

ไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาสภาพของ

สิ่งส่งตรวจไว้ ก่อนท�าการตรวจต่อไป (Bajwa et al.,

2013) โดยการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการนั้น สามารถ

แบ่งออกได้ 2 วิธีใหญ่ๆ ได้แก่

Page 33: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

34 JAHST

1. การตรวจหาเชื้อจากสิ่งส่งตรวจโดยตรง (Direct

examination of clinical specimens)

การตรวจหาเชื้อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เป็น

วิธีการที่ง่ายและรวดเร็ว สามารถท�าได้ด้วยการย้อมส ี

แกรม (Gram stain) เมื่อตรวจดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์

จะพบเซลล์ยีสต์ โดยเซลล์ยีสต์มักย้อมติดสีน�้าเงิน

อมม่วง หรือจะใช้การตรวจด้วยวิธี KOH preparation

โดยน�าส่ิงส่งตรวจมาผสมกับสารโปแทสเซียมไฮดร-

ออกไซด์ (KOH) ที่ความเข้มข้น 10-40 % ซึ่งจะเห็น

ลักษณะการแบ่งตัวของเซลล์ (Budding cell) รูปร่างรี

อาจพบ Pseudohyphae หรือท่องอก (Germ tube)

ในกรณีที่ตัวอย่างส่งตรวจเป็นปัสสาวะ ต้องท�าการ

ปั่นเหวี่ยงน�้าปัสสาวะด้วยเครื่องปั่นเหวี่ยงความเร็วสูง

ด้วยความเร็วรอบสูงกว่า 3,000 รอบต่อนาที เป็น

เวลา 3 นาที จากนั้นน�าตะกอนที่ได้มาตรวจด้วยกล้อง

จุลทรรศน์ แต่การตรวจด้วยวิธีน้ีจะสามารถบอกได้

เพียงลักษณะที่เห็น คือ septate, non-septate form หรือ

yeast forms เท่านั้น โดยไม่สามารถระบุสายพันธุ์ของ

เชื้อยีสต์ได้ (Pumirat. et al., 2013)

2. การเพาะเชื้อ (Culture technique)

เชื้อ C. albicans สามารถเจริญได้ดีบนอาหาร

Blood Agar, Brain Heart Infusion Agar หรือ

Sabouraud Dextrose Agar โดยการเพาะเล้ียงอาจม ี

การเติม Chloramphenical ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อเพื่อ

ป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ในสิ่งส่ง

ตรวจ หรือเติม Cycloheximide ประมาณ 0.5 กรัม ต่อ

ลิตร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อราจากสิ่งแวดล้อม

(Saprophytic fungi) และเชื้อราที่โตเร็ว (Rapid growth

fungi) แต่ทั้งนี้ยีสต์บางสายพันธุ์ เช่น Histoplasma

spp., Cryptococcus spp. ก็ไม่สามารถเจริญได้ใน

อาหารที่มียาปฏิชีวนะ (Pumirat. et al., 2013)

เชื้อยีสต์สามารถเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 25-37

องศาเซลเซียส และสามารถตรวจพบการเจริญตั้งแต่

1-3 วัน ในสภาวะการเพาะเล้ียงที่มีออกซิเจน ซึ่ง

ลักษณะโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อจะมีลักษณะดังที่

กล่าวไปแล้วข้างต้น จากนั้นท�าการตรวจดูลักษณะ

เซลล์ยีสต์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อีกครั้ง แล้วจึงท�า

การแยกเชื้อให้ได้เชื้อบริสุทธิ์ เพื่อใช้ในการระบุชนิด

และศึกษาด้านอื่นๆ ต่อไป

รูปที่ 2 แสดงลักษณะโคโลนีของเชื้อ Candida albicans บนอาหาร Sabouraud dextrose agar

(บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 5 วัน)

(ที่มา: Markey et al., 2013)

Page 34: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 35

การระบุสายพันธุ์ของเชื้อสกุล Candida albicans

Germ tube test เป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว

ที่สามารถแยก C. albicans ออกจากสายพันธุ์อื่นๆ

ได้ วิธีทดสอบ Germ tube ท�าได้โดยการใช้ห่วงเขี่ยเชื้อ

ด้วยวิธีการปลอดเชื้อ ลงในซีรั่มจากแกะ วัว กระต่าย

หรือคนปริมาตร 0.5 มิลลิลิตร จากนั้นน�าไปบ่มที่

อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง

เมื่อครบก�าหนดน�าซีรั่มมาหยดลงบนสไลด์ จากนั้น

ท�าการปิดด้วย cover glass แล้วน�าไปตรวจดูภายใต ้

กล้องจุลทรรศน์จะพบลักษณะเซลล์รูปร่างกลมรี ที่ม ี

ท่องอก (Germ tube) ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นของเช้ือ

C. albicans แต่วิธีนี้จะไม่มีความจ�าเพาะเนื่องจากเชื้อ

Candida บางสายพันธุ์อาจให้ผลบวกได้เช่นกัน ทั้งนี้

หากใช้ระยะเวลาในการบ่มนานกว่า 3 ชั่วโมง อาจเกิด

ผลบวกปลอม เป็นท่องอกจากเชื้ออื่น เช่น C. tropicalis

เป็นต้น (Markey et al., 2013)

รูปที่ 3 แสดงลักษณะการสร้าง Germ tubes ของเชื้อ Candida albicans

(ที่มา: Markey et al., 2013)

Chlamydospore formation เป็นการทดสอบ

ที่ให้ผลค่อนข้างแน่นอน โดยสามารถใช้อาหารเล้ียง

เชื้อในการทดสอบได้หลายชนิด เช่น Corn meal

Tween 80 Agar, Rice Tween agar, Glutinous rice

Tween agar การทดสอบสามารถท�าได้โดยท�าการ cut

streak inoculation เป็น 2 เส้น แต่ละเส้นห่างกัน

ประมาณ 1 เซนติเมตร บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมไว้

ปิดด้วย cover glass ที่ปราศจากเชื้อ แล้วน�าไปบ่มที ่

อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-4 วัน จากนั้น

ตรวจดูการเจริญภายใต้กล้องจุลทรรศน์จะพบลักษณะ

Terminal Chlamydospore บริเวณปลายสายรา

Pseudohyphae ซึ่งมีรูปร่างกลม ขอบหนา (Markey et

al., 2013)

นอกเหนือจากการทดสอบการสร้างท่องอก

(Germ tube) และ Chlamydospores แล้วจะต้องยืนยัน

ด้วยการทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี (Biochemical

tests) ด้วยเพื่อเป็นการยืนยันผลการทดสอบให้แน่ชัด

ยิ่งขึ้น

รูปที่ 4 แสดงลักษณะ Terminal chlamydospore ของเชื้อ Candida albicans (Unstained, x400)

(ที่มา: ดัดแปลงจาก Markey et al., 2013)

Page 35: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

36 JAHST

Carbohydrate assimilation tests เป็นการ

ทดสอบความสามารถของเชื้อในการใช้น�้าตาลชนิด

ต่างๆ เป็นแหล่งคาร์บอน ในสภาวะที่มีออกซิเจน ซึ่ง

น�้าตาลท่ีใช้ทดสอบได้แก่ dextrose, maltose, sucrose,

lactose, galactose, melibiose, cellobiose, inositol,

xylose, raffinose, trehalose และdulcitol วิธีการ

ทดสอบท�าได้โดยการเตรียม yeast nitrogen base

6.78 กรัม ในน�้ากลั่น 100 มิลลิลิตร จากนั้นท�าให้

ปราศจากเชื้อโดยการกรองผ่านเมมเบรน (membrane

filter) ก่อนน�าไปใช้ให้ท�าการเจือจาง 10 เท่า จากนั้นน�า

yeast nitrogen base ที่เตรียมไว้ใส่ลงในจานอาหาร

เพาะเชื้อปริมาตร 1.5 มิลลิลิตร เติมเชื้อที่เจือจางด้วย

น�้าเกลือ (normal saline) 2 มิลลิลิตร และเติม 2%

molted special agar noble ในขณะที่อาหารอุ ่น

หมุนวนจานเพาะเชื้อให้สารทุกอย่างเข้ากันดี ปล่อยให ้

อาหารแข็งตัว จากนั้นใช้กระดาษกรองตัดเป็นแผ่น

เล็กๆ ชุบน�้าตาลชนิดต่างๆ ที่มีความเข้มข้น 20 %

วางบนอาหารวุ ้น บ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

นาน 10- 24 ชั่วโมง ถ้าผลบวกจะพบเชื้อเจริญรอบๆ

แผ่นกระดาษกรอง (Bhavan et al., 2010)

Carbohydrate fermentation tests เป็นการ

ทดสอบความสามารถของเชื้อที่การใช้น�้าตาลใน

สภาวะขาดออกซิเจน ซึ่งเชื้อสร้างเอนไซม์ alcohol

dehydrogenase และ pyruvate decarboxylase จึง

สามารถผลิต carbon dioxide, alcohol และเกิดแก๊ส

คาร์บอนไดออกไซด์ น�้าตาลที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่

dextrose, maltose, sucrose, lactose, galactose

และ trehalose (Bhavan et al., 2010) การเตรียม

fermentation medium ประกอบด้วย peptone 1 กรัม,

sugar 1 กรัม, beef extract 0.3 กรัม, NaCl 0.5 กรัม

และ Bromothymol blue 0.2 กรัม ละลายในน�้ากลั่น

1 0 0 มิ ล ลิ ลิ ต ร แ บ ่ ง ใ ส ่ ห ล อ ด ท ด ล อ ง ป ริ ม า ต ร

5 มิลลิลิตร และใส่หลอดดักแก๊ส (Durham tube)

ลงไปด ้วย จากนั้นน�าไปนึ่งฆ ่าเชื้อด ้วยความดัน

15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส

นาน 15 นาที เติม stock sugar solution (ร้อยละ 20)

0.25 มิลลิลิตร ลงใน fermentation medium โดยวิธี

การทดสอบจะท�าการเลี้ยงเชื้อที่จะทดสอบบน beef

extract agar (sugar-free medium) จากการ subculture

ครั้งที่ 3 แล้วละลายเชื้อในน�้าเกลือ เติมเชื้อปริมาตร

0.2 มิลลิลิตร ลงใน fermentation medium บ่มที่อุณหภูมิ

37 องศาเซลเซียส นาน 10 วัน ผลบวกคือเชื้อสามารถ

หมักน�้าตาลชนิดต่างๆ และเกิดแก๊สขึ้นในหลอด

ดักแก๊ส ซึ่งอาหารเลี้ยงเชื้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

เนื่องจากมีการเจริญของเชื้อหรือมีการใช้น�้าตาลแบบ

Assimilation (นงนุช, 2540)

นอกจากนี้ยังมีวิธีการใช้อาหาร CHROM agar

candida (CHROM agar Company, Paris, France)

ซึ่งเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้เพื่อการคัดเลือก และแยก

ความแตกต่าง (selective and differential medium)

ที่ใช้เพาะแยกเชื้อและระบุชนิดของเชื้อ Candida spp.

ซึ่งเกิดจากเอนไซม์ที่มีความจ�าเพาะในแต่ละสายพันธุ ์

ที่ย ่อย Chromogenic substra tes ผลที่ เกิดจาก

การเพาะเลี้ยงท�าให้โคโลนีที่เกิดขึ้นมีสีแตกต่างกัน

(Neppelenbroek et al., 2013)

สรุป

การวินิจฉัยโรคทางสัตวแพทย์ที่เกิดจากเชื้อ

ยีสต์สายพันธุ์ Candida albicans นอกจากจะดูประวัติ

การักษา พยาธิวิทยาการก่อโรค และรอยโรคที่จ�าเพาะ

แล้ว ยังต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

จุลชีววิทยาร่วมด้วย เพื่อเป็นการยืนยันผลที่ถูกต้อง ซึ่ง

จะน�าไปสู่การวางแผนทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

Page 36: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 37

เอกสารอ้างอิง

นงนุช วณิตย์ธนาคม. 2540. วิทยาเชื้อราการแพทย์.

พิมพ์ครั้งที่ 1. พี บี ฟอเรน บุ๊คส์ เซ็นเตอร์,

กรุงเทพฯ.

Bajwa S. and Kulshrestha A. 2013. Fungal infections

in intensive care unit: challenges in diagnosis

and management. Ann. Med. Health. Sci.

Res.3: 238-444.

Bhavan, S. 2010. Culture and Identification of

Candida albicans from vaginal ulcer and

separation of enolase on SDS-PAGE. Int.

J. Biol. 2(1): 84-93.

Neppelenbroek, K.H., Seó, R.S., Urban, V.M., Silva,

S., Dovigo, L.N., Jorge, J.H., Campanha,

N.H. 2014. Identification of candida species

in the clinical laboratory: A review of

conventional, commercial, and molecular

techniques. Oral. Dis. 20(4): 329-344.

Markey B., Finola L., Marie A., Ann C., Dores M.

2013. Clinical veterinary microbiology.

Elsevier Ltd., China.

Pumirat. P., Tunyong. W. and Luplertlop. N. 2013.

Medical mycology. Int. J. Med. Health. Sci.

20(2): 32-44.

Page 37: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

38 JAHST

เรื่องของชา กาแฟ และโกโก้

ณัฐกาญจน์ นายมอญ 1,*1 ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900

*E-mail: [email protected]

รับบทความ 12 พฤษภาคม 2561 ยอมรับการตีพิมพ์ 26 มิถุนายน 2561

บทคัดย่อ

แอลคาลอยด์เป็นสารกลุ่มใหญ่ที่พบในพืชและมีโครงสร้างโมเลกุลของไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

สามารถน�ามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้อย่างมากมาย โดยแอลคาลอยด์หลายชนิดได้ถูกน�ามาใช้ประโยชน ์

ทางด้านของเภสัชวิทยา โดยช่วยในการกระตุ ้นการหลั่งน�้าย่อยในกระเพาะอาหาร ช่วยขยายหลอดเลือด

ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบทางเดินหายใจ และกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้คาแฟอีนจัดเป็น

แอลคาลอยด์อีกชนิดหนึ่ง โดยส่วนใหญ่มนุษย์เมื่อรับประทานอาหารจะได้รับแอลคาลอยด์ทีเป็นส่วนผสมใน

อาหาร เช่น การดื่มชา กาแฟ โกโก้ และน�้าผึ้ง เป็นต้น ทั้งนี้แอลคาลอยด์บางชนิดมีความเป็นพิษ, ใช้เป็นสาร

กระตุ้น, ใช้เป็นยารักษาโรค หรือใช้เป็นยากระตุ้นประสาท เช่น คาเฟอีน, อะโทรปิน, โคเคนและเฮโรอีน เป็นต้น

ค�าส�าคัญ : แอลคาลอยด์ ชา กาแฟ โกโก้

Page 38: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 39

The Story of Tea Coffee and Cocoa

Nattakarn Naimon 1,*1Department of Veterinary Technology, Faculty of Veterinary Technology, Kasetsart University, Bangkok,10900

*E-mail: [email protected]

Received 12 May 2018; Accepted 26 June 2018

Abstract

Alkaloids constitute a very large group of natural nitrogen containing organic compounds in plants

with diverse effects to be human medicine. Many alkaloids are used in pharmacological, stimulants gastric

acid secretion, vasodilation, diuretic, respiratory system and central nervous system. Caffeine is one of the

alkaloids, many people have food also contains alkaloids chief plant type foods like tea, coffee, cocoa and

honey etc. So that alkaloids are used as toxins, stimulants, pharmaceuticals or recreational drugs, including

caffeine, atropine, cocaine and heroin.

Keyword : alkaloids, tea, coffee, cocoa

Page 39: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

40 JAHST

บทน�า

พืชสมุนไพรเป ็นสิ่ งที่ เกิด ข้ึนได ้ เองตาม

ธรรมชาติ สามารถพบการเจริญเติบโตได้ในแต่ละ

ท้องถิ่นที่แตกต่างกันตามสภาพภูมิอากาศ จึงท�าให้พืช

สมุนไพรมีความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละ

พื้นที่ ซึ่งจัดว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อยู ่คู ่กับวิถ ี

ชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน และจากอดีตจนถึง

ปัจจุบันได้มีการน�ามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจ�าวัน

อย่างมากมาย เช่น ใช้เป็นยาป้องกันและรักษาโรค

บ�าบัดหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย บ�ารุงร ่างกาย

การน�าพืชสมุนไพรไปใช้มักจะเป็นไปตามแนวคิด

และรากฐานทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป

และสืบทอดต่อๆ กันมา จนกลายเป็นยากลางบ้าน

(folklore medicine) หรอืเป็นยาแผนโบราณ (traditional

medicine) (พร้อมจิต และรุ่งระวี, 2553) นอกจากนี้ยัง

น�ามาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ประเทศไทย

มีการน�าพืชสมุนไพรมาใช้เป็นส่วนผสมในการปรุง

รสอาหาร โดยมีพืชสมุนไพร จ�านวน 15 ชนิด ที่ได้รับ

การขนานนามว่าเป็น “Thai Herbs for Health” มีฤทธิ ์

ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ผักชี, หอมแดง, ขิง, ข่า,

ตะไคร้, ใบมะกรูด, ผิวมะกรูด, ผิวมะนาว, พริกขี้หนู,

ขมิ้น, ใบกระเพรา โหระพา, มะระขี้นก, มะเขืองพวง

และยอ (Chaisawadi et al., 2005) ปัจจุบันได้มีการ

พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและวัตถุประสงค ์

ในการน�าไปใช้ประโยชน์ของผู้บริโภค และเริ่มได้รับ

ความนิยมโดยการน�าพืชสมุนไพรมาใช้ในกลุ่มคนที่

ใส่ใจในเรื่องการดูสุขภาพ เช่น สารสกัดพร้อมดื่ม

ผงชง ยาลูกกลอน ผงสมุนไพรอัดแคปซูล เจลสมุนไพร

ล้างมือ ครีมหรือขี้ผึ้งทาแผล โลชันบ�ารุงผิว แชมพู

อาบน�้าและสระผม เป็นต้น

“สมุนไพร” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย

สถานพุทธศักราช 2542 หมายถึง ผลิตผลธรรมชาติ

อันได้แก่ พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่น�ามาใช้เป็นยา หรือ

การผสมกับสารหลากหลายชนิด ตามต�ารับยา เพื่อ

น�ามาใช้ในการบ�าบัดโรค บ�ารุงร่างกาย หรือแม้แต ่

การน�ามาใช ้ เป ็นยาพิษ เป ็นต้น ซึ่งตามพระราช

บัญญัติยา พุทธศักราช 2510 ได้ให้ความหมายของ

ค�าว่า “สมุนไพร” คือ ตัวยาที่ได้มาจากส่วนของพืช

สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งยังไม่ได้มีการผสม ปรุง หรือแปร

สภาพ (พิสุทธิพร, 2537) และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ

ของพืชสมุนไพรขึ้นอยู ่กับวิธีการในการเก็บเกี่ยว

การท�าให้แห้ง การแยกสิ่งปลอมปน การบรรจุหีบห่อ

และวิธีในการเก็บรักษา เป็นต้น พืชสมุนไพรแต่ละ

ชนิดจะประกอบด้วยสารเคมีจ�านวนมากแตกต่างกัน

ไปตามชนิดของพืช บางชนิดมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

(pharmacological active) ซึ่งเรียกว่า สารส�าคัญ

(active constituents) และสามารถน�ามาใช้เป็นยาได้

พืชสมุนไพรประกอบด้วยสารประกอบโมเลกุลใหญ ่

และเป็นสารอาหารหลักในการด�ารงชีวิต คือ สาร

แมคโครนิวเทรียนต์ (macronutreint) หรือ primary

metabolite ได้แก่ carbohydrate, protein, lipids

นอกจากนี้ยังมีสารอีกชนิดหนึ่งที่เป็นสารที่มีความ

จ�าเป็นต่อร่างกายเช่นเดียวกันแต่ต้องการปริมาณเพียง

เล็กน้อย คือ สารไมโครนิวเทรียนต์ (micronutrient)

หรือ secondary metabolite ได้แก่ vitamin, mineral,

fiber และ phytochemical (alkaloids และ glycosides)

เป็นต้น ซึ่งสาร phytochemical หรือพฤกษเคมี ม ี

บทบาทส�าคัญในกระบวนการท�าปฏิกิริยาต่าง ๆ ของ

ร่างกาย และเป็นสารประกอบที่เป็นลักษณะเฉพาะที ่

เกิดจากขบวนการชีวสังเคราะห์ที่มีเอมไซม์เข้าร่วม

(วันดี, 2534; รัตนา, 2550; พร้อมจิต และรุ ่งระวี,

2553; สุทธิชัย, 2556)

Alkaloids มีรากศัพท์ว่า “alkali” บ่งบอกถึง

คุณสมบัติของสารที่คล้ายด่าง (alkali-like) ได้จาก

พืช มีไนโตรเจนอยู่ในโครงสร้าง จัดเป็นสารทุติยภูมิ

(secondary metabolite) กลุ ่มใหญ่ที่ได้จากพืชและ

สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ มีความหลากหลายทั้งลักษณะของ

โครงสร้าง วิถีชีวสังเคราะห์ และฤทธิ์ทางชีวภาพ

พบกระจายตัวอย่างจ�ากัดในสิ่งมีชีวิต (Yubin et al.,

2014) และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เด่นชัด หน้าที่ของ

แอลคาลอยด์ในพืช ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเช่นเดียวกับ

Page 40: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 41

สารทุติยภูมิอื่นๆ ที่พบในพืช แต่มีข้อสันนิษฐานว่า

น่าจะท�าหน้าที่บางอย่างในพืช ได้แก่ เป็นแหล่งสะสม

อาหารในพืช โดยเฉพาะไนโตรเจน เป็นสารที่ช่วย

ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยป้องกันพืชจาก

สัตว์และแมลงต่างๆ เนื่องจากแอลคาลอยด์ส่วนใหญ่

มีรสขม และมีความเป็นพิษ ซึ่งสัตว์และแมลงจะ

เรียนรู้ และหลีกเล่ียงพืชที่มีแอลคาลอยด์ นอกจากนี้

ยังช่วยป้องกันเชื้อจุลินทรีย์และเช้ือไวรัส เช่น ต้น

มะเขือเทศซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ SOLANACEAE จะสร้าง

solanine ซึ่งเป็นสารกลุ่มแอลคาลอยด์เพิ่มขึ้นในช่วง

ที่ถูกรุกรานจากเชื้อจุลินทรีย์ (บุญชู, 2553) นอกจากนี้

ยังเป็นสารที่เกิดจากการก�าจัดสารพิษ (detoxification)

จากขบวนการเมตาโบลิซึมของพืช และสามารถ

ควบคุมการงอกของเมล็ดพืชบางชนิดได้ แต่อย่างไร

ก็ตามมีรายงานว่ามีพืชอีกจ�านวนมากกว่า 80% ที่ไม ่

สร้างและไม่สะสมแอลคาลอยด์ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที ่

บ่งชี้ได้ว่าแอลคาลอยด์ อาจจะไม่ได้จ�าเป็นต่อการด�ารง

ชีวิตของพืชโดยทั่วไป (Ranjitha and Sudha, 2015;

วันดี, 2534; วีณา 2534) แต่ทั้งน้ีการใช้ยาที่เป็นสาร

กลุ่มแอลคาลอยด์ซึ่งได้จากองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ

ของพืชนั้น เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานในอดีต โดยมีการ

ค้นพบและแยกแอลคาลอยด์ได้ครั้งแรกเมื่อศตวรรษที่

19 จากนั้นก็ได้มีการน�าแอลคาลอยด์หลายชนิดมา

ประยุกต์ในใช้ทางการรักษา กันอย่างแพร่หลายใน

วงการแพทย์ (Neha, 2015)

การแบ่งกลุ ่มแอลคาลอยด์ตามโครงสร้าง

พื้นฐาน สามารถแบ่งออกเป็น 14 ชนิด ได้แก่ pyrrole

alkaloids, imidazole alkaloids, purine alkaloids,

pyrrolizidine alkaloids, quinolone alkaloids,

isoquinolone alkaloids, tropane alkaloids, aporphine

alkaloids, nor-lupinane alkaloids, indole alkaloids

และ steroid alkaloids อย่างที่ทราบกันเป็นดีว ่า

แอลคาลอยด์ได้ถูกน�ามาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค

กันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากคุณสมบัติทางเคมี ทาง

กายวิภาพ และฤทธ์ิทางเภสัชวิทยาที่มีผลต่อมนุษย ์

และสัตว์ ได้แก่ ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ

มาลาเรีย ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร ฤทธิ์ต้านมะเร็ง

ฤทธ์ิระงับอาการปวด ฤทธิ์ระงับอาการไอ ฤทธิ์ลด

ความดันโลหิต ฤทธิ์ขยายหลอดลม ฤทธิ์ลดน�้ามูก

แก้หวัด เป็นต้น (รัตนา, 2550)

ในปัจจุบันเราได้รับสารแอลคาลอยด์จาก

การด่ืมเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และโกโก้ และมี

แนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากความนิยมกันอย่างแพร่

หลายในทั่วทุกมุมโลก ซึ่งการดื่มจะแตกต่างกันออกไป

ขึ้นอยู ่กับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากชา

กาแฟ และโกโก้ จะมีอิทธิต่อการใช้ชีวิตประจ�าวันของ

ผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกเพศทุกวัย ด้วยความ

หลากหลายทั้งรสชาติ หรือการน�าไปใช้เป็นผสมใน

เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบร้อน หรือเย็น

หลากหลายรูปแบบและเมนูเพื่อตอบสนองผู้บริโภค

ในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งหลังจากการดื่มชา กาแฟ และ

โกโก้ จะท�าให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากย่ิงขึ้น

เนื่องจากแอลคาลอยด์ที่เป็นส่วนประกอบในชา กาแฟ

และโกโก้ จัดอยู่ในกลุ่ม purine alkaloids ซึ่งมีช่วยฤทธิ์

กระตุ้นประสาทกระตุ้นการหายใจ ขยายหลอดเลือด

และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบนั่นเอง

Purine alkaloids มีวิถีชีวสังเคราะห์ใน

ลักษณะใกล้เคียงกับ purine bases ซึ่งได้แก่ adenine

และ guanine ที่เป็นองค์ประกอบใน nucleosides,

nucleotides และ nucleic acid ซึ่งแอลคาลอยด์ใน

กลุ่มนี้เป็นอนุพันธ์ของ xanthine ได้แก่ theobromine,

caffeine และ theophylline

- Theophylline เป็น alkaloids ที่ได้จากใบชา

Camellia sinensis (L.) O.Kuntze วงศ์

Theaceae มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ นิยม

ใช้เป็นยาขยายหลอดเลือดในผู้ป่วยที่เป็น

โรคหืด โรคถุงลมโป่งพองและหลอดลม

อักเสบ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทได้เล็กน้อย

และมีฤทธิ์ ในการขับป ัสสาวะดีกว ่ า

คาเฟอีน และ theobromine

Page 41: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

42 JAHST

- Caffeine คาเฟอีนเป็น alkaloids ที่พบใน

ใบชา วงศ์ Theaceae เมล็ดกาแฟ วงศ์

Rubiaceae และใบเดี่ยวของต้นอ่อนของ

ต้น cola วงศ์ Sterculiaceae มีฤทธิ์กระตุ้น

ระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นการหลั่ง

กรดในกระเพาะอาหาร กระตุ้นการหายใจ

ขยายหลอดเลือด และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ

อ่อนๆ ใช้เสริมฤทธิ์กับยาลดปวด เป็นต้น

- Theobromine เป็น alkaloids ที่ได้จากเมล็ด

สุกของต้นโกโก้ (Theobroma cacao L.)

วงศ์ Sterculiaceae ไม่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบ

ประสาทส่วนกลาง แต่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ

ได้ดี และสามารถช่วยกระตุ ้นหัวใจและ

มีฤทธิ์ช่วยในการขยายหลอดเลือด จึงใช ้

เป็นยาขับปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีภาวะบวม

น�้าและปวดเค้นหน้าอก (Runjitha and

Sudha, 2015; รัตนา, 2550)

ชา (tea)

ต้นชาเป็นพืชในวงศ์ Theaceae มีชื่อวิทยา-

ศาสตร์ Camellia sinensis (L.) O.Kuntze เป็นไม้ยืนต้น

ขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-10 เมตร มีกิ่งแตกเป็นหลาย

แขนง ใบอ่อนจะนิ่มและมีขนอ่อน พอแก่จะมีผิวเรียบ

ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก เป็นพืช

พื้นเมืองของประเทศในทวีปเอเชีย ได้แก่ จีน พม่า ลาว

ไทย และ เวียดนาม ปัจจุบันมีแหล่งเพาะปลูกที่ส�าคัญ

อยู ่ที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา จีน อินโดนีเซีย และ

เคนยา ซึ่งชาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ชาด�า

(black tea) และ ชาเขียว (green tea)

ชาด�า หรือชาฝรั่ง โดยมีกรรมวิธีในการน�าใบ

ชาอ่อนมาบดด้วยลูกกลิ้งเพื่อให้เซลล์ในใบชาแตก

จากนั้นน�าไปหมักในสภาวะที่มีความชื้นก่อนน�าไปท�า

ให้แห้ง ท�าให้ใบชามีสีด�าเนื่องจากในกระบวนการ

หมักท�าให้สารกลุ่ม polyphenols ถูกออกซิไดซ์ด้วย

เอนไซม์ polyphenols oxidase ที่อยู่เซลล์ของใบชา

ท�าให้เกิดสารที่มีสีเข้มและกลิ่นหอม

ชาเขียว เป็นชาที่น�าใบชาสดมาท�าลายเอนไซม์

polyphenols oxidase โดยใช้ความร้อน จากนั้นน�ามาบด

ด้วยลูกกลิ้งและท�าให้แห้งอย่างรวดเร็ว จึงท�าให้ชายัง

คงมีสีเขียว และยังมีสาร polyphenols มากกว่าชาด�า

ชาชนิดนี้นิยมดื่มในประเทศจีน ญี่ปุ่น แอฟริกาเหนือ

และประเทศแถบตะวันออกกลาง

องค์ประกอบทางเคมีในใบชาที่ยังไม่ผ่านการ

หมัก ประกอบด้วย โปรตีน 15-20 % กรดอะมิโน 3 %

น�้าตาล 5% วิตามินซี วิตามินบี และ purine alkaloids

2-4 % นอกจากนี้ยังพบ terpenoid glycoside, aliphatic

alcohols, และ aromatic alcohols เพียงเล็กน้อย และ

พบสารกลุ่ม phenolics ในปริมาณมากกว่า 20 % ของ

น�้าหนักแห้ง สารกลุ่ม phenolics และ alkaloids จะ

ถูกดูดซึมสู่ทางเดินอาหารได้มากถึง 90 % และแพร ่

กระจายไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ภายใน 5 นาที ซึ่งปริมาณ

ขึ้นอยู ่กับสายพันธุ ์ อายุใบชา และฤดูการเก็บเกี่ยว

(บุญชู, 2553)

เนื่องจากปัจจุบันการการด่ืมชาเริ่มมีความนิยม

มากขึ้นในกลุ่มคนที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ เพราะในชาที่ยัง

ไม่ผ่านการหมักมีสารกลุ่ม polyphenols ซึ่งจากการ

วิจัยพบว่าสารกลุ่ม polyphenol โดยเฉพาะ flavonols

มีฤทธิ์ในการต้านสารก่อการกลายพันธุ ์ ยับยั้งการ

เกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation และยับยั้งเอนไซม์

urokinase ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแบ่งตัวและแพร่

การกระจายของเซลล์มะเร็ง การดื่มชาเขียวเป็นประจ�า

สามารถช่วยลดโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ และ

low density lipoprotein (LDL) ส่งผลช่วยให้ลดความ

เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในส่วน

ของชาด�ามีรายงานว่าหากดื่มวันละประมาณ 5 แก้ว

สามารถลดความเสี่ยงที่เกิดจากโรคเกี่ยวกับหลอด

เลือดสมองได้ (ศิริวรรณ, 2550; บุญชู, 2553)

Page 42: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

JAHST 43

กาแฟ (Coffee)

ก า แ ฟ จั ด เ ป ็ น พื ช พื้ น เ มื อ ง ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ

เอธิโอเปียและแอฟริกาตะวันออก อยู่ในสกุล Coffea

วงศ์ Rubiaceae ซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ Coffea arabica

L., C. robusta Linden, C. canephora Pierreex

Froehner และ C. liberica Hiern เป็นต้น จัดเป็นไม้พุ่ม

มีขนาดเล็ก ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อ กล่ินหอม ผล

สีเขียวเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด

สองซีกประกบกัน ส่วนที่น�ามาใช้คือเมล็ดสุกแห้ง

ที่น�าเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออก แหล่งผลิตกาแฟที่ส�าคัญ

ได้แก่ ประเทศบราซลิ โคลมัเบยี เปร ูเมก็ซโิก เวยีดนาม

อินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งการเตรียมเมล็ดกาแฟมี 2 วิธี

คือ การเตรียมแบบเปียกและแบบแห้ง

วิธีการเตรียมกาแฟแบบเปียกคือ การเอาผล

กาแฟเข้าเครื่องเพื่อเอาเนื้อผลออก แล้งทิ้งไว้จนแห้ง

ซึ่งในระหว่างนั้นจะเกิดกระบวนการหมักท�าให้เนื้อ

ผลที่เหลืออยู่หลุดออกไป เหลือเมล็ดที่อยู่ภายใน และ

เหลือเพียงเมล็ดกาแฟที่อยู่ภายใน

วิธีการเตรียมกาแฟแบบแห้งคือ วิธีการที่ท�าให ้

ผลกาแฟแห้งก่อนจากนั้นจึงน�าเข้าเครื่องเพื่อกะเทาะ

เอาเปลือกหุ้มออกก่อนน�าไปใช้

องค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดกาแฟแห้ง พบว่า

สารส่วนใหญ่เป็นพวกน�า้ตาลซึง่มมีากกว่า 50 % ไขมนั

10-18 % โปรตีน 10-12 % และคาแฟอีน 0.6-2 %

นอกจากนี้ยังพบสารกลุ่ม steroids, hydrocarbons,

tocopherols, diterpenoid alcohols, quinic acid,

caffeine acid และ chlorogenic acid (บุญชู, 2553)

นอกจากการดื่มกาแฟจะช่วยกระตุ้นให้สมองท�างานได้

ดีย่ิงขึ้น และระงับอาการซึมเศร้า เนื่องจากโครงสร้าง

โมเลกุลของคาเฟอีนมีลักษณะคล้ายสารเคมีชนิดหน่ึง

ที่ท�าหน้าที่ส่งข่าวสารให้สมอง ซึ่งคาเฟอีนจะเข้าไปจับ

กับตัวรับ ส่งผลให้สมองไม่สามารถรับข่าวสารที่ท�าให้

เกิดอารมณ์หดหู่หรือซึมเศร้าได้ และปริมาณในการดื่ม

ต่อวันไม่ควรเกิน 6 แก้ว (สรจักร, 2551)

โกโก้ (Cocoa)

โกโก้เป็นพืชยืนต้นขนาดเล็ก เป็นพืชพื้นเมือง

ของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีการเพาะปลูกใน

ประเทศแถบกานา บราซิล อินโดนีเซียและมาเลเซีย

มีชื่อวิทยาศาสตร์ Theobroma cacao L. อยู ่ในวงศ์

Sterculiaceae มีลักษณะที่ส�าคัญคือ ออกดอกตามต้น

และกิ่งขนาดใหญ่ ผลมีขนาดใหญ่ประมาณ 15-20

x 10-12 เซนติเมตร เปลือกนอกหนาเหมือนหนัง

มีสีเหลืองถึงแดง ข้างในมีเมล็ด 20-40 เมล็ดที่หุ้มด้วย

เยื่อสีขาว ซึ่งเมล็ดโกโก้สดจะไม่มีกลิ่น รสขม และเมื่อ

ผ่านกระบวนการหมักแล้วท�าให้แห้งจะเปลี่ยนเป็น

สีน�้าตาล

กรรมวิธีในการผลิตผงโกโก้ท�าได้โดยการ

ทุบผลแก่ให้แตก น�าเมล็ดมาหมักที่อุณหภูมิไม่เกิน

60 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-9 วัน ซึ่งขณะหมักจะ

เกิดกลิ่นหอมเฉพาะตัวของโกโก้ จากนั้นน�าเมล็ดมา

ท�าให้แห้งและคั่วที่อุณหภูมิประมาณ 100-140 องศา

เซลเซียส แล้วท�าให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นน�ามา

กะเทาะเปลือกหุ้มออก และน�าไปบดให้ละเอียด เม่ือ

ผ่านการก�าจัดไขมันออกโดยการบีบร้อนก็จะได้ผง

โกโก้ที่พร้อมส�าหรับชงดื่ม

องค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดโกโก้ ประกอบ

ด้วย theobromine 1-3 % คาเฟอีน 0.05-0.3 % และ

สารประกอบส่วนใหญ่ประมาณ 50 % ประกอบด้วย

ไขมัน (cocoa butter) ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างกลีเซอร์

ไรด์ของกรดไขมันหลายชนิด ได้แก่ oleic acid, steric

acid, palmaitic acid และ linoleic acid เป็นต้น (บุญชู,

2553)

การดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และโกโก้

ซึ่งถือว่าได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลายในสังคม

ยุคปัจจุบันและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลายทั้งรสชาติและกลิ่นตามสูตร

ของผู้ผลิต โดยสิ่งส�าคัญจะค�านึงถึงความพึงพอใจของ

ผู ้บริโภคเป็นหลักนั้น ผู ้บริโภคควรทราบถึงข้อมูล

พื้นฐานทั้งในด้านประโยชน์และโทษจากการดื่มที่มาก

เกินปริมาณความต้องการของร่างกายต่อวัน เนื่องจาก

Page 43: } Ö j } Ö !##$%&'( ¥ ¤ l¦เช ยงใหม คอมพ วกราฟฟ ค, เช ยงใหม . พ ทว ส ว ช ยด ษฐ. 2552. ผลของสารสก

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (2561)JOURNAL OF ANIMAL HEALTH SCIENCE AND TECHNOLOGY Vol. 2 Issue 2 (2018)

44 JAHST

เครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และโกโก้ มีแอลคาลอยด์

หลายชนิดเป็นส่วนองค์ประกอบที่ส�าคัญ ซึ่งอาจจะ

ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ ดังนั้นผู้บริโภคควร

ค�านึงถึงข้อควรระวังในการดื่ม เพื่อให้ได้รับประโยชน์

ในการดื่มด้วย ทั้งนี้คุณภาพของชา กาแฟ และโกโก้

จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ พื้นที่ในการเพาะปลูก วิธีเก็บ

เกี่ยว การเก็บรักษา ฤดูการการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะส่งผลถึง

คุณภาพของชา กาแฟ และโกโก้โดยตรง

เอกสารอ้างอิง

บุญชู ศรีตุลารักษ์. 2553. แอลคาลอยด์เคมีและการใช ้

ประโยชน์ทางยา. ภาควิชาเภสัชเวทและ

เภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬา

ลงกรณ์มหาวทิยาลยั. โรงพมิพ์แห่งจฬุาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

พร้อมจิต ศรลัมพ์ และรุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. 2553.

รสยาสมุนไพรกับสารเคมี: ความเหมือนที่

แตกต่าง. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะ

เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ห้างหุ้นส่วน

จ�ากัด สามลดา จ�ากัด, กรุงเทพมหานคร.

พิสุทธิพร ฉ�่าใจ. 2537. สมุนไพร: สรรพคุณและ

ประโยชน์เพื่อการน�ามาใช้, ต้นธรรมส�านัก

พิมพ์, กรุงเทพมหานคร.

รัตนา อินทรานุปกรณ์. 2550. การตรวจสอบและการ

สกัดแยกสารส�าคัญจากสมุนไพร, ภาควิชา

เภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหิดล. ส� านักพิมพ ์มหาวิทยาลัยมหิดล,

กรุงเทพมหานคร.

วันดี กฤษณพันธ์. 2534. การประเมินคุณภาพยา

สมุนไพร. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัช-

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ส�านักพิมพ์

มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

วีณา จิรัชฉริยากูล. 2534. ยาและผลิตภัณฑ์จาก

ธรรมชาติ. ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัช-

ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

ศิริวรรณ สุทธจิตต์. 2550. ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติเพื่อ

สุขภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 4, ส�านักพิมพ์ The

Knowledge Center. ส.เอเซียเพรส (1989)

จ�ากัด, กรุงเทพมหานคร.

สุทธิชัย ปทุมล่องทอง. 2556. สุดยอดยามหัศจรรย์ผัก

พื้นบ้านต้านโรค ฟักข้าว มะเขือพวง. ส�านัก

พิมพ์ Feel good. ฐานบัณฑิต จ�ากัด, กรุงเทพ-

มหานคร.

สรจักร ศิริบริรักษ์. 2551.สุดยอดสมุนไพรเพื่อสุขภาพ.

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ากัด (มหาชน), กรุงเทพ-

มหานคร.

Chaisawadi, S., Thongbute, D., Methawiriyasilp,

W., Pitakworarat, N., Chaisawadi, A.,

J a t u r o n r a s a m e e , K h e m k h a w , J . ,

Tanuthumchareon, W. 2005. Preliminary

study of antimicrobial on medicinal herbs

of Thai food ingredients. In: Proceeding of

III WOCMAP Congress on medical and

aromatic plants. Acta. Hortic. 675 (1): 111-

114.

Neha, B. 2015. An Introduction to alkaloids and

their applications. Pharma. Innovation.

4(10): 74-75.

Runjitha, D., Sudha, K. 2015. Alkaloids in food. Int.

J. Pharm. Biol. Sci. 5(4): 896-906.

Yubin, J., Miao, Y., Bing, W., You, Z. 2014. The

extraction, separation and purification of

alkaloids in the natural medicine. J. Chem.

Pharm. Res. 6(1): 338-345.