Top Banner
รายงานการวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา โดย ครูณัฐพล บัวอุไร ตาแหน่ง ครู คศ.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลาลูกกา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
45

รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่�...

Nov 12, 2014

Download

Education

Nattapon

รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

รายงานการวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา

โดย ครูณัฐพล บัวอุไร ต าแหน่ง ครู คศ.1

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา

สังกัดส านักงานเขตพื้นท่ีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

Page 2: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Page 3: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สารบัญ เนื้อหา หน้า บทที่ 1 บทน ำ .................................................................................................................................................................................................. 1

ที่มำและควำมส ำคัญของปัญหำ ................................................................................................................................................. 1

จุดประสงค์กำรวิจัย ............................................................................................................................................................................ 2

สมมติฐำน ................................................................................................................................................................................................. 3

ขอบเขตกำรวิจัย ................................................................................................................................................................................... 3

นิยำมศัพท์เฉพำะ ................................................................................................................................................................................. 3

บทที่ 2 เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง ......................................................................................................................................... 5 บทเรียนออนไลน์หรือบนเรียนบนเครือข่ำยอินเตอร์เน็ต (E-Leraning) ........................................................... 5

ลักษณะส ำคัญ.............................................................................................................................................................................. 5 องค์ประกอบของ E- Learning ........................................................................................................................................ 6 กำรน ำ E-Learning ไปใช้ในกำรเรียนกำรสอน ...................................................................................................... 6 ประโยชน์ที่ได้รับจำกกำรน ำ E-Learning ................................................................................................................. 7 ข้อจ ำกัดจำกกำรน ำ E-Learning .................................................................................................................................... 8 ผู้คิด แนวคิด รูปแบบ หลักกำร ออกแบบ E-Leraning ................................................................................... 8 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ E-Learning .............................................................................................................................10

บทที ่3 วิธีด ำเนินกำรวิจัย .....................................................................................................................................................................14 ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง ........................................................................................................................................................14

ระเบียบวิธีวิจัย ...................................................................................................................................................................................14

เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ..............................................................................................................................................................14

กำรสร้ำงและพัฒนำเครื่องมือ ..................................................................................................................................................15

1. แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ ...................................................................................................................................................15 2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ำยอินเตอร์เน็ต ........................................................................15 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน ............................................................................................................16 4. แบบสอบถำมควำมพึงพอใจ .....................................................................................................................................16

ขั้นด ำเนินกำรทดลอง .....................................................................................................................................................................16

บทที่ 4 กำรวิเครำะห์ผลข้อมูล ..........................................................................................................................................................18 ตอนที่ 1 ประสิทธิภำพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ำยอินเตอร์เน็ต (e-learning) . ......................................................................................................................................................................................................................18

ตอนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (e-learning) .....................................................................................................................................19

ตอนที่ 3 ควำมพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ำยอินเตอร์เน็ต (e-learning) ..........................................................................................................................................................19

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรำย และข้อเสนอแนะ .............................................................................................................................21 ตัวแปรที่ศึกษำ ....................................................................................................................................................................................21

ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง ........................................................................................................................................................21

Page 4: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย ..............................................................................................................................................................21

วิธีด ำเนินกำรทดลอง ...................................................................................................................................................................... 22

สถิติที่ใช้ในกำรวิเครำะห์ข้อมูล ................................................................................................................................................22

สรุปผลกำรวิจัย ..................................................................................................................................................................................22

กำรอภิปรำยผลกำรวิจัย ...............................................................................................................................................................23

ข้อเสนอแนะเพ่ือกำรน ำไปใช้ ....................................................................................................................................................27

ข้อเสนอแนะเพ่ือกำรวิจัยครั้งต่อไป ......................................................................................................................................28 บรรณำนุกรม .................................................................................................................................................................................................29 ภำคผนวก ........................................................................................................................................................................................................30

ภำคผนวก ก สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ำยอินเทอร์เน็ต ..................................................31 ประวัติผู้วิจัย ..................................................................................................................................................................................................41

Page 5: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บทที่ 1 บทน ำ

ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเครือข่าย และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทในด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยการน าเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เรียกว่า e-Learning ซึ่ง e-Learning เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์และส่งผ่านองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ไปยังผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกันให้ได้รับความรู้ ทักษะและประสบการณ์ร่วมกัน กระบวนการเรียนรู้จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างเหมาะสม โดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง e-Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีปฏิสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ผู้เรียนกับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง จึงท าให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และท าให้การจัดการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีการปฏิสัมพันธ์กันของผู้สอนและผู้เรียน รูปแบบของ e-Learning อาจเป็นได้ทั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม (Computer Based Training : CBT) หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ (Web Based Instruction : WBI) ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บหรือผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Web Based Instruction : WBI) ถือเป็นการน าความสามารถของเทคโนโลยีและเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนในปัจจุบันไม่จ าเป็นที่จะต้องเรียนอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น สามารถที่จะเรียนที่ไหนและเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ และเป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพ่ือสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีระบบ ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอน ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ 1. การเรียนการสอนสามารถเข้าถึงทุกหน่วยงานและทุกสถานที่ ที่มีอินเตอร์เน็ตติดตั้งอยู่ 2. การเรียนการสอนกระท าได้โดยผู้เรียนไม่จ าเป็นต้องท้ิงงานประจ าเพ่ือเข้าเรียน 3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน เช่น ค่าท่ีพัก ค่าเดินทาง 4. การเรียนการสอนกระท าได้ตลอด 24 ชั่วโมง 5. การจัดการเรียนการสอน มีลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดจากผู้เรียนเข้าเรียนโดยตรง 6. สามารถทบทวนบทเรียนและเนื้อหาได้ตลอดเวลา 7. การเรียนรู้เป็นไปตามความก้าวหน้าของผู้รับการเรียนการสอนเอง 8. สามารถซักถาม หรือเสนอแนะ ได้ด้วยเครื่องมือบนเว็บ 9. สามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างผู้ เรียนได้ โดยเครื่องมือสื่อสาร ในระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา หรือกระดานข่าว

Page 6: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2

ซึ่งจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ท าให้เยาวชนยุคใหม่มีสื่อและแหล่งเรียนรู้มากมาย และมีเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอินเทอร์เน็ต ที่ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว สืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้หากนักเรียนน ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา ก็จะเป็นสิ่งที่จะท าให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรอบด้าน และเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา

จากการสังเกตและสอบถามนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา พบว่ามีนักเรียนจ านวนมากที่มีการใช้บริการอินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Hi5, Facebook, Weblog และ Twitter โดยมีนักเรียนหลายคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้ เพ่ือเข้าไปพบปะพูดคุยกับเพ่ือน หรือเล่นเกม ซึ่งอาจจะส่งผลท าให้ไม่มีเวลาท าการบ้านหรือทบทวนบทเรียน และเป็นผลให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่ าลงได้ แต่ถ้าหากนักเรียนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้งานในเชิงที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ เช่น ใช้ในการปรึกษา สอบถามปัญหาข้อสงสัยกับครูผู้สอนหรือผู้รู้ หรือแนะน าเกี่ยวกับการเรียนและแหล่งเรียนรู้ที่ได้ค้นพบมาให้กับเพ่ือน หรือใช้เป็นแหล่งในการบันทึก เก็บรวบรวมความรู้ ข้อมูลที่นักเรียนได้ศึ กษาเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยสรุปเป็นใจความหรือเนื้อหาส าคัญไว้ เพ่ือใช้เป็นแหล่งทบทวนบทเรียนและเผยแพร่ความรู้ให้เพ่ือนหรือผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษา เครื่องมือเหล่านี้ก็จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเอง และจะช่วยให้นักเรียนสามารถร่วมกันเรียนรู้ ร่วมกันปรึกษา แก้ปัญหา และหาค าตอบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตและน าสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในทางที่เกิดประโยชน์ต่อการเรียนของตนเอง ด้วยเหตุผลและปัญหาที่ได้กล่าวไปข้างต้น ข้าพเจ้าจึงมีความคิดที่จะท าวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา” โดยการใช้นวัตกรรมและสื่ อต่ างๆ มาสร้ าง เป็ น เว็บ ไซต์ อี เลิ ร์ น นิ่ ง (E-learning) เพ่ื อ ใช้ ใน การ เรี ยนการสอ นวิช าภาษาคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพ่ือให้นักเรียนที่ ได้เรียนผ่านสื่อการเรียนรู้นี้สามารถพัฒนาทักษะความรู้เรื่องการเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ระบบอีเลิร์นนิ่ง (e-learning) จะท าให้นักเรียนทุกคนยังสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและสามารถใช้ศึกษาเรียนรู้ที่ใดก็ได้หากที่นั้นสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้

วัตถุประสงค์กำรวิจัย

1. เพ่ื อ พัฒ นาบท เรียนคอมพิ วเตอร์บน เครือข่ าย อิน เตอร์ เน็ ต (e-learning) วิ ช าภาษาคอมพิวเตอร์ ทีม่ีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพ่ือศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา 3. เพ่ือศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning)

Page 7: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3

สมมติฐำนกำรวิจัย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา สูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ ต (e-learning) ในระดับมาก ขอบเขตกำรวิจัย

1. ประชากร กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 8 ห้องเรียน ที่ เรียนวิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา 2. กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จ านวน 45 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) 3. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษามีดังนี้ 3.1 ตัวแปรอิสระ

3.1.1 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning)

3.2 ตัวแปรตาม 3.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.2.2 ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning)

4. ระยะเวลาในการทดลอง ด าเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน นิยำมศัพท์เฉพำะ

เพ่ือความเข้าใจศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยตรงกัน ผู้วิจัยจึงนิยามความหมายและขอบเขตของค าเฉพาะต่างๆ ไว้ดังนี้ 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพ่ือน ามาใช้ประกอบการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และน าเสนอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นการเรียนที่เรียกว่า (e-Learning) โดยบทเรียนนี้จะท าหน้าที่เสมือนครูแล้วให้ผู้เรียนท าการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ โดยมีจุดประสงค์เพ่ือช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนดียิ่งขึ้น และเพ่ือให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ทุกที่ ทุกเวลา (everyone, everywhere, everytime) 2. เกณฑ์ 80/80 หมายถึง การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Page 8: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4

80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยจากการท ากิจกรรมระหว่างเรียนของผู้เรียนโดย คิดเป็นค่าไม่ต่ ากว่าร้อยละ 80

80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยจากการท าแบบทดสอบหลังเรียนของผู้เรียน โดย คิดเป็นค่าไม่ต่ ากว่าร้อยละ 80 3. ความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง ความรู้สึกของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

4. นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา

5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนของผู้เรียนที่ได้รับจากการท าแบบทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

Page 9: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) วิชา

ภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ดังนี้ บทเรียนออนไลน์หรือบนเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning)

ลักษณะส าคัญของ ลักษณะส าคัญของ E-Learning ที่ดีประกอบไปด้วยลักษณะส าคัญ ดังนี้

1. Anywhere, Anytime หมายถึง E-Learning ควรต้องช่วยขยายโอกาสในการเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริง ในที่นี้หมายรวมถึงการที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหาตามความสะดวกของผู้เรียน ยกตัวอย่าง เช่น ในประเทศไทย ควรมีการใช้เทคโนโลยีการน าเสนอเนื้อหาที่สามารถเรียกดูได้ทั้งขณะที่ออนไลน์ (เครื่องมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย) และในขณะที่ออฟไลน์ (เครื่องไม่มีการตอ่เชื่อมกับเครือข่าย)

2. Multimedia หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการน าเสนอเนื้อหาโดย ใช้ประโยชน์จากสื่อประสมเพ่ือช่วยในการประมวลผลสารสนเทศ ของผู้เรียนเพ่ือให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

3. Non-linear หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการน าเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็นเชิงเส้นตรง กล่าวคือ ผู้เรียน สามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย E-Learning จะต้องจัดหาการเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน

4. Interaction หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้ เรียนโต้ตอบ (มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหาหรือกับผู้อ่ืนได้ กล่าวคือ

- E-Learning ควรต้องมีการออกแบบกิจกรรมซึ่งผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับเนื้อหา รวมทั้งมีการจัดเตรียมแบบฝึกหัด และแบบทดสอบให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจด้วยตนเองได ้

- E-Learning ควรต้องมีการจัดหาเครื่องมือในการให้ช่องทางแก่ผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารเพ่ือการปรึกษา อภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็นกับผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือเพ่ือน ๆ

Page 10: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

6

5. Immediate Response หมายถึง E-Learning ควรต้องมีการออกแบบให้มีการทดสอบ การวัดผลและการประเมินผล ซึ่งให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) หรือแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เป็นต้น

องค์ประกอบของ E- Learning ที่ส าคัญม ี4 ส่วน คือ

1.เนื้อหา (content) ส าหรับการเรียน การศึกษาแล้วไม่ว่าจะเรียนอย่างไรก็ตามเนื้อหาถือว่าเป็นสิ่งที่ส าคัญท่ีสุด e-Learning ก็เช่นกัน

2.ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System ท าหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการก าหนดล าดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วน าส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผล ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน ระบบบริหารการเรียนจะท าหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเริ่มเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มท างานโดยส่งบทเรียนตามค าขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปแสดงที่ web browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร

3.การติดต่อสื่อสาร มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพ่ือนร่วมชั้นเรียนคนอ่ืนๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

- ประเภทช่วงเวลาเดียวกัน (synchronous) ได้แก่ chat - ประเภทช่วงเวลาต่างกัน (asynchronous) ได้แก่ web-board, e-mail

4.การสอบ/วัดผลการเรียน โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใด หรือ

เรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ การสอบ/วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบส าคัญที่จะท าให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ บางวิชาจ าเป็นต้องวัดระดับความรู้ก่อนสมัครเข้าเรียน เพ่ือให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมกับตนมากที่สุด ซึ่งจะท าให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียนในแต่ละหลักสูตรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และการสอบใหญ่ก่อนที่จะจบหลักสูตร (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541.)

การน า E-Learning ไปใช้ในการเรียนการสอน สามารถท าได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. สื่อเสริม (Supplementary) นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอ่ืนๆ เช่น จากเอกสารประกอบ การสอน จากวีดิ

Page 11: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

7 ทัศน์ ฯลฯ การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่าผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่ง ส าหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพ่ิมเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น

2. สื่อเพ่ิมเติม (Complementary) หมายถึง การน า e-Learning ไปใช้ในลักษณะเพ่ิมเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอ่ืนๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเพ่ิมเติมจาก e-Learning โดยผู้สอนไม่จ าเป็นต้องสอนซ้ าอีก แต่สามารถใช้เวลาในชั้นเรียนในการอธิบายในเนื้อหาที่เข้าใจได้ยาก ค่อนข้างซับซ้อน หรือเป็นค าถามที่มีความเข้าใจผิดบ่อย ๆ

3. สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) หมายถึง หมายถึงการน า e-Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ และโต้ตอบกับเพื่อนและผู้เรียนอ่ืน ๆ ในชั้นเรียนผ่านทางเครื่องมือติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ที่ e-Learning จัดเตรียมไว้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการน า E-Learning ไปใช้ในการเรียนการสอน คือ

1. E-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วยังเป็น การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

2. E-Learning ช่วยท าให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา

3. E-Learning ช่วยท าให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้

4. E-Learning ช่วยท าให้ผู้ เรียนสามารถเรียนรู้ ได้ตามจังหวะของตน (Self-paced Learning)

5. E-Learning ช่วยท าให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูผู้สอน และกับเพื่อนๆ ได้

6. E-Learning ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รวมทั้งเนื้อหาที่มีความทันสมัย 7. E-Learning ท าให้เกิดรูปแบบการเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน ในวงกว้างข้ึน 8. E-Learning ท าให้สามารถลดต้นทุนในการจัดการศึกษานั้น ๆได้

Page 12: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

8

ข้อจ ากัดจากการน า E-Learning ไปใช้ในการเรียนการสอน มีดังนี้

1. ผู้สอนที่น า E-Learning ไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริม ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลย จะท าให้แรงจูงใจในการเรียนหมดเร็ว

2. ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ ให้ ( Impart) เนื้อหาแก่ผู้ เรียน มาเป็น (facilitator) ผู้ช่วยเหลือและให้ค าแนะน าต่าง ๆ แก่ผู้เรียน

3. การลงทุนในด้านของ E-Learning ต้องครอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาและการติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้สะดวก 4. การออกแบบ E-Learning จะต้องเน้นให้มีการออกแบบให้มีกิจกรรมโต้ตอบอยู่ตลอดเวลา เนื้อหาต้องมีความถูกต้องชัดเจน และยังคงต้องเน้นให้มีความน่าสนใจ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้

5. ผู้เรียนต้องรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) อย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-discipline)

ผู้คิด แนวคิด รูปแบบ หลักการ ออกแบบ E-learning Dillon ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนในการสร้างบทเรียนที่มีลักษณะเป็นสื่อหลายมิติ

(Hypermedia) ซึ่งหลักการนี้สามารถน าไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาเว็บเพ่ือการเรียนการสอน แนวคิดดังกล่าวมีข้ันตอน ดังนี้

1. ศึกษาเกี่ยวกับผู้เรียนและเนื้อหาที่จะน ามาพัฒนา เพ่ือก าหนดวัตถุประสงค์และหา

แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียน 2. วางแผนเกี่ยวกับการจัดรูปแบบโครงสร้างของเนื้อหา ศึกษาคุณลักษณะของเนื้อหาที่จะ

น ามาใช้เป็นบทเรียนว่าควรจะน าเสนอในลักษณะใด 3. ออกแบบโครงสร้างเพ่ือการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ออกแบบควรศึกษาท า

ความเข้าใจกับโครงสร้างของบทเรียนแบบต่างๆ โดยพิจารณาจากลักษณะผู้เรียน และเนื้อหาว่าโครงสร้างลักษณะใดจะเอ้ืออ านวยต่อการเข้าถึงข้อมูลของผู้เรียนได้ดีที่สุด

4. ทดสอบรูปแบบเพ่ือหาข้อผิดพลาด จากนั้นท าการปรับปรุงแก้ไขและทดสอบซ้ าอีกครั้ง

จนแน่ใจว่าเป็นบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะน าไปใช้งาน

Page 13: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

9

Hirumi and Bermudez เสนอกระบวนการในการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ 5 ขั้นตอน คือ

1. วิเคราะห์ทรัพยากรต่างๆ ที่เก่ียวข้อง 2. ออกแบบการเรียนการสอน 3. พัฒนาเว็บเพจโดยใช้แผนโครงเรื่อง (Storyboard) ช่วยในการสร้างและก าหนด

โครงสร้างของข้อมูล 4. น าเว็บไปใช้ในการเรียนการสอน 5. ประเมินผลการใช้งาน (วรัท พฤกษากุลนันท์, 2550 อ้างถึง Hirumi and Bermudez,

1996)

Pernici and Casati เสนอการออกแบบไว้ 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ที่จ าเป็นต่อการออกแบบ ซึ่ง

ประกอบด้วย การตั้งวัตถุประสงค์ การก าหนดผู้เรียน และสิ่งที่จ าเป็นในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 2. ขั้นตอนที่สอง ผู้สอนต้องก าหนดแนวทางในการสร้างเว็บไซต์ ได้แก่ เนื้อหาที่จะใช้

กิจกรรมต่างๆ ขั้นตอนการเรียนการสอน 3. ขั้นตอนที่สามเป็นการออกแบบในแนวกว้าง (Design in the Large) โดยผู้สอนจะต้อง

วางแผนลักษณะการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ซึ่งรวมถึงการก าหนดรายการต่างๆ (Menus) และการเรียงล าดับของข้อมูล

4. ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการออกแบบในแนวแคบ (Design in the Small) คือการก าหนดรายละเอียดต่างๆ ที่มีในแต่ละหน้า (วรัท พฤกษากุลนันท์, 2550 อ้างถึง Pernici and Casati, 1997)

Quinlan ได้เสนอวิธีด าเนินการ 5 ขั้นตอนในการออกแบบและพัฒนาเว็บที่มีประสิทธิภาพ คือ

1. สิ่งแรกคือผู้สอนต้องท าการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน

ของผู้เรียน 2. ขั้นที่สอง ต้องก าหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกิจกรรม 3. ขั้นที่สาม ผู้สอนควรเลือกเนื้อหาที่จะใช้น าเสนอพร้อมกับหางานวิจัยอ่ืนๆ ที่เกี่ยวข้อง

และช่วยสนับสนุนเนื้อหา

Page 14: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

10

4. ขั้นที่สี่ ผู้ออกแบบควรวางโครงสร้างและจัดเรียงล าดับข้อมูลรวมทั้งก าหนดสารบัญ

เครื่องมือ การเข้าสู่เนื้อหา (Navigational Aids) โครงร่างหน้าจอและกราฟิกประกอบ 5. ขั้นตอนสุดท้าย คือ ด าเนินการสร้างเว็บไซต์โดยอาศัยแผนโครงเรื่อง

Bailey and Blythe ได้เสนอกระบวนการ 3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการออกแบบเว็บไซต์เพ่ือ

การเรียนการสอน ดังนี้ 1.ร่างเค้าโครงแนวคิดเบื้องต้นในด้านการน าเสนอ การเชื่อมโยงและจัดเรียงเนื้อหา 2.การวางแผนผังแสดงโครงสร้างของเว็บไซต์ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีโครงสร้างอยู่ 3 ลักษณะ คือ

โครงสร้างแบบเส้นตรง (Linear) ซึ่งก าหนดเส้นทางเดียวให้แก่ผู้เรียนคือเริ่มจากหน้าแรกไปสู่หน้าต่อๆ ไป โครงสร้างแบบล าดับขั้น (Hierarchical) ซึ่งจะแบ่งระดับความส าคัญของข้อมูลลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นๆ และโครงสร้างแบบแตกกิ่ง (Branching) ซึ่งจะมีเส้นทางที่แตกต่างกันในการเข้าสู่เนื้อหาแต่ละส่วน

3.เขียนแผนโครงเรื่อง โดยแสดงรายละเอียดที่จะมีอยู่ในแต่ละหน้าไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร

เสียง วีดิทัศน์ และกราฟิก

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ E-Learning

ADDIE กับการออกแบบ E-Learning

ปัจจุบันการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Learning เป็นเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้เพ่ือสนับสนุน และเพ่ิมช่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถาบันอุดมศึกษาหลายๆ สถาบัน ท าให้ทั้งอาจารย์ผู้สอนและหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้าน E-Learning ของสถาบันการศึกษาต่างๆ หาแนวทางเพ่ือการออกแบบและการผลิตบทเรียน E-Learning ให้ได้เกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ADDIE เป็นโมเดลการออกแบบการสอนที่เป็นแนวทางส าหรับการออกแบบการเรียนการสอนและการผลิตบทเรียน E-Learning ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้กันแพร่หลายเป็นสากล ADDIE เป็นค าหน้าของค า ศั พ ท์ Analyze, Design, Develop, Implement, Evaluation โม เด ล ADDIE มี ขั้ น ต อ นด าเนินการดังนี้

1. วิเคราะห์ (Analyze) ขั้นตอนการวิเคราะห์เพ่ือการออกแบบการสอน และเพ่ือการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั่วไปการวิเคราะห์นี้ อาจารย์ผู้สอนซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา และทีมผู้ด าเนินการ ต้องท างานร่วมกันร่วมกันตอบค าถามในการวิเคราะห์ เช่น ใครคือกลุ่มเป้าหมาย

Page 15: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

11 เนื้อหาอะไรที่จะเรียนหรือสอนผ่าน e-learning ต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร จะส่งข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธีการ กิจกรรมอย่างไรบ้าง ในที่นี้ขออธิบายรายละเอียดการวิเคราะห์ อาทิเช่น

1. การวิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียน ผู้ออกแบบในขั้นนี้คืออาจารย์ผู้สอน หรืออาจารย์ผู้สอนด าเนินการร่วมกับทีมนักออกแบบการสอน โดยการวิเคราะห์ที่เหมาะสมนั้นสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนมากท่ีสุดและตรงกับเป้าหมาย โดยขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา คือ

1.1 ศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียน 1.2 เขียนเนื้อหาสั้นๆ ทุกหัวเรื่องย่อย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1.3 จัดล าดับเนื้อหา 1.4 จัดกลุ่มเนื้อหาเพ่ือแบ่งเป็นหัวเรื่องย่อยๆ ตามปริมาณของเนื้อหา 1.5 จัดล าดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละหัวเรื่องย่อย

2. การวิเคราะห์ผู้เรียน โดยวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลผู้เรียน เช่น ระดับชั้น อายุ ความรู้

พ้ืนฐาน เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

3. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พวกอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น จ านวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถาบัน จ านวนนักศึกษาทีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง ความเร็วของ leaded line เป็นต้น

2. ออกแบบ (Design) ขั้นออกแบบเป็นขั้นตอนประสานระหว่างสิ่งทีเป็นนามธรรมจากขั้น

วิเคราะห์ โดยการแปลงความคิดและน าเสนอเป็นรูปธรรมในขั้นออกแบบ เช่น การเขียนผังงาน การออกแบบ storyboard ขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่ของกออกแบบการสอน นักเทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องประสานงานร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา

1.การออกแบบบทเรียน หมายถึง การน าตัวบทเรียนที่ผ่านการออกแบบและวิเคราะห์จากขั้นวิเคราะห์ มาสร้างเป็นบทเรียน e-Learning ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการน าเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (post-test)

2.การออกแบบผังงาน (flowchart) หมายถึง แผนภูมิที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบท

ด าเนินเรื่อง ซึ่งเป็นการจัดล าดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละส่วนบทด าเนินเรื่อง และการออกแบบบทด าเนินเรื่อง (storyboard) หมายถึง เรื่องราวของบทเรียน ประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งออกเป็นเฟรมๆ ตั้งแต่เฟรมแรกซึ่งเป็น Title ของบทเรียน จนถึงเฟรมสุดท้าย บทด าเนินเรื่องจึงประกอบด้วย ภาพ ข้อความ เสียง หรือมัลติมีเดีย กิจกรรมการเรียน ค าถาม-ค าตอบ และรายละเอียดอื่นๆ

3.การออกแบบหน้าจอภาพ (screen design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัด

พ้ืนที่และองค์ประกอบของจอภาพเพ่ือใช้ในการน าเสนอเนื้อหา ภาพ กราฟิก เสียง สี ตัวอักษร และ

Page 16: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

12 ส่วนประกอบอ่ืนๆ การออกแบบบทเรียน e-Learning มิใช่การน าเนื้อหาจากเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์เปลี่ยนที่การน าเสนอเนื้อหาไปที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงเท่านั้น กล่าวโดยภาพรวมการออกแบบควรออกแบบมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และเนื้อหาวิชา ขนาดของไฟล์ที่ใช้ ขนาดวัตถุต่าง ๆ ที่ปรากฏ ความแตกต่างของสีพ้ืนหน้าและพ้ืนหลัง และต้องค านึงถึงความเร็วในการแสดงผลด้วย

3. พัฒนา (Develop) ขั้นพัฒนาเป็นขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติการสร้างบทเรียนตามผลการออกแบบจากขั้นตอนที่สอง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยผู้มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก นักคอมพิวเตอร์ผู้ดูแลและจัดการระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS :learning management system) การน าเสนอลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นแนวทางหนึ่งส าหรับผู้พัฒนาบทเรียน e-Learning ว่าควรค านึงถึงองค์ประกอบในการพัฒนาบทเรียน e-Learning อาทิเช่น

1. ตัวอักษรของเนื้อหาข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรใช้ตัวหัวกลม แบบธรรมดา

(normal) ขนาด (size) ตั้งแต่ 10 ถึง 20 พอยท์ เช่น AngsanaUPC CordiaUPC BrowalliaUPC JasmineUPC Arial Helvetica ฯลฯ ในหนึ่งหน้าจอควรมีเนื้อหา ไม่เกิน 8 -10 บรรทัดและควรใช้ลักษณะเหมือนกันรูปแบบเดียวตลอดหนึ่งบทเรียน

2. ภาพกราฟิกควรใช้ภาพการ์ตูน ภาพวีดีทัศน์ ภาพล้อเสมือนจริงที่เป็นภาพ เคลื่อนไหว 2 มิติ (animation) และ 3 มิติ (3 D animation) โดยเลือกใช้ จ านวน 1 ถึง 3 ภาพภายในหนึ่งหน้าจอ และภาพพ้ืนหลัง (ถ้ามี) ควรใช้ภาพลายน้ า สีจางลักษณะเดียวกันตลอดหนึ่งบทเรียน

3. สีที่ปรากฏในจอภาพและสีของตัวอักษรข้อความไม่ควรใช้เกินจ านวน 3 สี โดยค านึงถึงสีพ้ืนหลังประกอบด้วย

4. สื่อชั้นน าในการน าทาง (navigational aids) ควรเลือกใช้สัญรูป (icon) แบบปุ่มรูปภาพ, แบบรูปลูกศรพร้อมทั้งอธิบายข้อความสั้น ๆ ประกอบสัญลักษณ์หรือแสดง ข้อความ hypertext และใช้เมนูแบบปุ่ม (button), แบบ Pop Up ที่แสดง สัญลักษณ์สื่อความหมายได้เข้าใจชัดเจน

5. องค์ประกอบทั่วไปของโปรแกรมสามารถสืบค้นข้อมูลด้วย text box, Smart Search

Engine ด้วยเทคนิค Pull Down, Scrolling Bar ข้อความเชื่อมโยง (hypertext link) ใช้อักษรตัวหนา, ตัวขีดเส้นใต้มีสีน้ าเงินเข้มเมื่อคลิกผ่านไปแล้วสีน้ าเงินจางลงโดย อาศัยรูปมือ (Cueing) กะพริบร่วมด้วย และการขยายล าดับข้อมูลสืบค้น (branching) ไม่ควรเกิน 3 ระดับ นอกจากนี้แล้วการพัฒนาบทเรียน e-Learning ควรค านึงถึงด้านของการหาปัจจัยสนับสนุนเพ่ือให้งานต่อการพัฒนาบทเรียนเช่น การเลือกใช้ ระบบบริการจัดการเนื้อหา (CMS :content management system) แหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ URL ต่าง เป็นต้น

Page 17: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

13

4. น าไปใช้ (Implement) การน าไปใช้เป็นการน าบทเรียนที่ผ่านการพัฒนาเป็นบทเรียนในรูปของสื่อดิจิทัล เผยแพร่บนระบบเครือข่าย (network) เพ่ือให้ผู้เรียนได้เรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจารย์ผู้สอน และทีมผู้ด าเนินการผลิตจ าเป็นต้องเก็บข้อมูล รวบรวมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และปัญหาต่างๆ ที่พบจากการเรียนด้วย e-learning เพ่ือการปรับปรุงต่อไป

5. ประเมิน (Evaluation) การประเมินเป็นขั้นตอนที่ต้องด าเนินการกับทุกขั้นตอนในโมเดล ประกอบด้วยการประเมินการวิเคราะห์ การประเมินการออกแบ การประเมินการพัฒนา และการประเมินเมื่อน าไปใช้จริงของระบบ e-Learning โดยกระท าระหว่างด าเนินการ คือการประเมินระหว่างด าเนินงาน (formative evaluation) และประเมินภายหลังการด าเนินงาน (summative evaluation) การประเมินจะท าให้ผู้พัฒนาทราบข้อมูลเพ่ือการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในขั้นตอนต่างๆ สรุป E-learning ที่ดีตามหลักการออกแบบนั้นต้องค านึงถึง หลักการออกแบบ E-Learning โดยการสร้างสื่อจะต้องออกแบบโดยยึดหลักการADDIE กับการออกแบบ E-Learning และไม่เพียงแต่หลักการออกแบเท่านั้นการสร้างสื่อยังคงต้องค านึงถึงทฤษฎี การเรียนรู้ หลักการสื่อสารหลักของทฤษฎีสีหลักการจัดองค์ประกอบ เพ่ือให้สื่อที่เรา สร้างข้ึนมานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

กรอบแนวคิดในการวิจัย

- การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) วชิาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา

ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Page 18: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

14

บทที่ 3 วิธีด ำเนินกำรวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยการการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา เพ่ือช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเป็นทางเลือกส าหรับผู้ที่สนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งมีขั้นตอนในการด าเนินการวิจัยดังนี้ ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง

ประชากร เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 8 ห้องเรียน ที่ เรียนวิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จ านวน 45 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) ระเบียบวิธีวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Postest Design ดังนี้

ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน T1 X T2

เมื่อ T1 คือ การทดสอบก่อนเรียน

X คือ การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ ายอินเตอร์เน็ต

T2 คือ การทดสอบหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในกำรวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 2. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก ส าหรับใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Page 19: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

15 กำรสร้ำงและพัฒนำเครื่องมือ

ผู้วิจัยได้ด าเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ดังนี้ 1. แผนกำรจัดกำรเรียนรู้ การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีข้ันตอนการสร้างดังนี้ 1. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2. ศึกษาเอกสารแนวคิด และเอกสารการวิจัยที่เก่ียวข้องกับวิธีสอนและนวัตกรรมที่มีลักษณะแบบเดียวกัน 3. ศึกษาขั้นตอนการสร้างแผนจัดการเรียนรู้ที่ใช้ส าหรับจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 4. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 5. น าแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการสร้างฟอร์ม (Form) ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพ่ือแก้ปัญหานักเรียน 2. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ำยอินเตอร์เน็ต ส าหรับการการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยวางแผนและก าหนดขั้นตอนดังนี้ 1. วิเคราะห์หลักสูตร เนื้อหา และตัวชี้วัด ในรายวิชาภาษาคอมพิวเตอร์

2. ก าหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยก าหนดเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม และก าหนดเกณฑ์ในการทดสอบให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์ โดยด าเนินการดังนี้

3. ศึกษาการใช้โปรแกรมการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพ่ือสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยเว็บไซต์ www.nattapon.com ท างานร่วมกับ Wordpress Youtube Facebook และ Slideshare

4 . ศึ กษ าการใช้ งาน ระบบจั ดการ เนื้ อห า ระบบจั ดการเรี ยนรู้ (CMS : Content Management System) ซึ่งก็คอืระบบ Wordpress

5. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ 6. สร้างโปรแกรมให้ครอบคลุมเนื้อหา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 7. น าโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สมบูรณ์ไปใช้กับ

กลุ่มตัวอย่าง เพ่ือหาประสิทธิภาพ พบว่าโปรแกรมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.46/80.94 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ได้ก าหนดไว้

Page 20: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

16 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียน

การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน มีข้ันตอนดังนี้ 1. ศึกษาแนวทางการสร้างแบบทดสอบ จากแนวทางการวัดผลและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ศึกษาเนื้อหาที่ใช้ในการสร้างบทเรียน 3. สร้างแบบทดสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ ให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์และส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค ์ 4. น าข้อสอบที่ผ่านขั้นตอนทั้งหมดไปใช้ในการทดลองต่อไป

5. แบบสอบถำมควำมพึงพอใจ

การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ ด าเนินการโดยศึกษาหลักการและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลและประเมินผล ซึ่งมีข้ันตอนดังนี้ 1. ศึกษาหลักการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจจากเอกสารและต าราที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผล 2. ก าหนดรูปแบบของแบบสอบถามออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบปลายปิด มีลักษณะการตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายปิดเพ่ือสอบถามความคิดเห็นต่างๆ 3. สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4. จัดแบบสอบถามเข้าชุดและน าไปใช้ทดลอง เกณฑ์เฉลี่ยของระดับควำมพึงพอใจ

กำรให้คะแนน คะแนนเฉลี่ย ควำมพึงพอใจ 5 4.50-5.00 มากที่สุด 4 3.50-4.49 มาก 3 2.50-3.49 ปานกลาง 2 1.50-2.49 น้อย 1 1.00-1.49 น้อยที่สุด

ขั้นด ำเนินกำรทดลอง 1. ชี้แจงวิธีการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. ให้กลุ่มตัวอย่างท าแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) เพ่ือวัดความรู้ พ้ืนฐาน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์

Page 21: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

17 3. ด าเนินการทดลอง ก าหนดให้กลุ่มตัวอย่างเรียนและท ากิจกรรมจากบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด าเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน ซึ่งในแต่ละหน่วยการเรียนจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 แบบ แบบแรกเป็นการศึกษาทฤษฎี และแบบที่สองเป็นการฝึกปฏิบัติ เมื่อท าการศึกษาจบแต่ละหน่วยการเรียนนักเรียนจะต้องท าแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียน สอบปฏิบัติการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4. หลังจากสิ้นสุดการทดลองแล้ว จึงให้ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน (Pretest) และน าคะแนนที่ได้มาหาค่าประสิทธิภาพ E2 5. ให้ผู้เรียนท าโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์คนละ 1 ชิ้น 6. ให้ผู้เรียนท าแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Page 22: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บทที่ 4 การวิเคราะห์ผลข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและคอมพิวเตอร์ วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา โดยคะแนนและข้อมูลทั้งหมดได้จากการทดลองในการเรียน โดยมีจุดประสงค์การวิจัยดังนี้ 1. เพ่ื อ พัฒ นาบท เรียนคอมพิ วเตอร์บน เครือข่ าย อิน เตอร์ เน็ ต (e-learning) วิ ช าภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพ่ือศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา 3. เพ่ือศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ผู้วิจัยขอน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ตอนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่จัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ตอนที่ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ตอนที่ 1 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) การด าเนินการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ โดยผู้วิจัยได้น าบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ ไปทดลองหาประสิทธิภาพกับนักเรียนโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 45 คน โดยการสุ่มแบบง่าย หลังจากนั้นน าคะแนนที่ได้จากการท าแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนมาค านวณหาคุณภาพของสื่อตามเกณฑ ์80/80 ซึ่งได้ค่าตามตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 4.1 ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

คะแนนสอบ จ านวนนักเรียน

คะแนนเต็ม

ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เกณฑ์ประสิทธิภาพ

คะแนนทดสอบระหว่างเรียน 45 30 24.44 81.46 80 คะแนนทดสอบหลังเรียน 45 20 16.19 80.94 80

Page 23: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

19 สรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.46/80.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนด ท าให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถน าไปใช้เป็นสื่อเพ่ือการเรียนการสอนได้ ตอนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่จัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 45 คน มีรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 4.2 ผลสัมฤทธิ์การเรียนและหลังเรียน

ตัวแปรที่ศึกษา ค่าสถิติ ผลการทดสอบ One Sample T Test

N SD T df Sig(2-tailed)

ผลการเรียนรู้หลังเรียน 45 16.19 1.23 25.56 44 .000

ผลการเรียนรู้ก่อนเรียน 45 9.81 2.25 การศึกษานักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย อินเตอร์เน็ต (e-learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จ านวน 45 คน พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 16.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.23 และมีผลการเรียนรู้ก่อนเรียนโดยเฉลี่ยเท่ากับ 9.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.25 และเมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired-Samples T Test ที่ระดับนัยส าคัญ .05 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ตอนที่ 3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) เมื่อนักเรียนได้ท าแบบทดสอบหลังเรียนเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้ให้นักเรียนท าแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งผลการวิเคราะห์ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 4.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ

SD ความ หมาย

ความถี่ (คน) 5 4 3 2 1

1. วัตถุประสงค์มคีวามชัดเจนสอดคล้องตรงตามเนื้อหา

27 18 - - - 4.66 0.48 มากที่สุด

2. เนื้อหาที่น ามาเรยีน ครอบคลุม น่าสนใจ 20 15 10 - - 4.34 0.75 มาก 3. เนื้อหาที่เรียนมีความยากง่ายเหมาะสมกับผู้เรยีน

17 14 9 5 - 4.16 0.92 มาก

Page 24: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

20

รายการประเมิน ระดับความพึงพอใจ

SD ความ หมาย

ความถี่ (คน) 5 4 3 2 1

4. เนื้อหาที่เรียนเหมาะสมกับพื้นฐานเดิมของผู้เรยีน

19 19 7 - - 4.41 0.61 มาก

5. ปริมาณเนื้อหามีความเหมาะสมไมม่ากหรือน้อยเกินไป

25 20 - - - 4.59 0.50 มากที่สุด

6. เนื้อหาที่เรียนมีความเหมาะสมกับเวลา 16 16 8 5 - 4.16 0.88 มาก 7. ค าสั่ง ค าแนะน า สญัลักษณ์ที่ใช้มีความชัดเจน 18 19 8 - - 4.34 0.65 มาก 8. รูปภาพที่น าเสนอมีความเหมาะสม น่าสนใจและท าให้เข้าใจบทเรียนได้ง่าย

14 23 8 - - 4.21 0.61 มาก

9. เสียงท่ีน ามาใช้มีความเหมาะสม 9 17 13 6 - 3.75 0.84 มาก 10. รูปแบบ ขนาด และสีตัวอักษรที่ใช้มีความเหมาะสม อ่านง่าย

21 18 6 - - 4.50 0.57 มากที่สุด

11. แบบฝึกหัดและการประเมินผลมีความสอดคล้องครอบคลมุกับวัตถุประสงค์

29 16 - - - 4.72 0.46 มากที่สุด

12. ข้อค าถามของแบบฝึกหัดและแบบประเมินผลเข้าใจง่าย

27 18 - - - 4.66 0.48 มากที่สุด

13. การใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความสะดวกไม่ยุ่งยาก

17 21 7 - - 4.34 0.60 มาก

14. มีการเปิดโอกาสให้ผูเ้รียนได้ควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

27 18 - - - 4.66 0.48 มากที่สุด

15. การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนท าให้เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้ง่ายขึ้น

28 17 - - - 4.69 0.47 มากที่สุด

16. ผู้เรียนรูส้ึกสนุกสนาน เพลิดเพลินและพึงพอใจกับการเรียนด้วยบทเรยีนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในครั้งนี ้

32 13 - - - 4.81 0.40 มากที่สุด

รวม 264 204 38 6 0 4.42 0.27 มาก ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ จ านวน 45 คน พบว่านักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้อยู่ที่ระดับ 4.42 ซึ่งอยู่ในระดับ มาก

Page 25: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

การวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-Learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1. เพ่ื อ พัฒ นาบท เรียนคอมพิ วเตอร์บน เครือข่ าย อิน เตอร์ เน็ ต (e-learning) วิ ช าภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพ่ือศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา 3. เพ่ือศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) ตัวแปรที่ศึกษา 1. ตัวแปรอิสระ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครื อข่ายอินเตอร์เน็ต (e-learning) 2. ตัวแปรตาม ได้แก่

2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2 ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย

อินเตอร์เน็ต (e-learning) 3. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า การวิจัยครั้งนี้ด าเนินด าเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จ านวน 8 ห้องเรียน ที่ เรียนวิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา 2. กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จ านวน 45 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับชั้นมัธยมศกึษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.46/80.94 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก ส าหรับใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จ านวน 20 ข้อ

Page 26: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

22

3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งแบบสอบถามมีทั้งหมด 16 ข้อ โดยวัดเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด วิธีด าเนินการทดลอง 1. ชี้แจงวิธีการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. ให้กลุ่มตัวอย่างท าแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) เพ่ือวัดความรู้ พ้ืนฐาน วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ 3. ด าเนินการทดลอง ก าหนดให้กลุ่มตัวอย่างเรียนและท ากิจกรรมจากบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด าเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยใช้เวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน ซึ่งในแต่ละหน่วยการเรียนจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 แบบ แบบแรกเป็นการศึกษาทฤษฎี และแบบที่สองเป็นการฝึกปฏิบัติ เมื่อท าการศึกษาจบแต่ละหน่วยการเรียนนักเรียนจะต้องท าแบบทดสอบท้ายหน่วยการเรียน สอบปฏิบัติการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 4. หลังจากสิ้นสุดการทดลองแล้ว จึงให้ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างท าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน (Pretest) และน าคะแนนที่ได้มาหาค่าประสิทธิภาพ E2 5. ให้ผู้เรียนท าโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์คนละ 1 ชิ้น 6. ให้ผู้เรียนท าแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์เครือข่ายอินเตอร์เน็ต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร E1/E2 2. วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสถิติ t-test แบบ One Sample T Test 3. การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) สรุปผลการวิจัย

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเพ่ือพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา สรุปผลได้ดังนี้

Page 27: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

23

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.46/80 .94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนด ท าให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถน าไปใช้เป็นสื่อเพ่ือการเรียนการสอนได้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก การอภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (E-Learning) วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา สามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ด้านการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขั้นการทดลองหาประสิทธิภาพกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.46/80.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนดไว้ การที่ ผลการวิจัยเป็น เช่นนี้ เนื่ องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ บนเครือข่ายอินเทอร์ เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นี้ได้รับการพัฒนาและสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีวิจัย ซึ่งมีล าดับขั้นตอนโดยเริ่มจากการศึกษาเอกสาร หลักสูตร เนื้อหาวิชา จากนั้นผู้วิจัยได้น าบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ไปท าการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย อีกทั้งในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ ผู้วิจัยได้ท าการผสมผสานระหว่างรูปภาพ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ และเสียง เพ่ือเร้าความสนใจของผู้เรียน ท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเห็นข้อความที่ปรากฏทางหน้าจอ และได้ยินเสียงที่บันทึกไว้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่าย และสนุกไปกับการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกาเย่ ซึ่งกล่าวว่า “การน าเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน ดังนั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างข้ึนมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความสนใจของผู้เรียน” และสอดคล้องกับหลักการออกแบบ e-learning ของยุทธนา จันเทศ (2549) ที่กล่าวว่า หลักการออกแบบและผลิตบทเรียน e-learning นั้นจะต้องมีหลักปฏิบัติ คือเริ่มต้นจากการวิเคราะห์เพ่ือการออกแบบการสอน วิเคราะห์เนื้อหา รวมทั้งหลักสูตร แล้วจึงเริ่มต้นออกแบบเป็น Storyboard โดยต้องประสานกับผู้เชี่ยวชาญเพ่ือให้ผู้เชี่ยวชาญท าการตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงเริ่มท าการพัฒนาบทเรียน e-learning เพ่ือบทเรียน e-learning ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว จึงน าไปใช้และท าการประเมินผล

อีกทั้งผลการวิจัยครั้งนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์ (2546) ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาการประมวลผลข้อมูลและแฟ้มข้อมูล

Page 28: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

24

หลักสูตรสถาบันราชภัฏ และการหาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของบทเรียนที่พัฒนาขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ของสถาบันราชภัฏอุดรธานี ภาคการศึกษา 2/2546 ที่ได้มาจากการเลื อกแบบสุ่มแบบอย่างง่าย 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบทดสอบรวม แบบสอบถามส าหรับผู้ เรียน ผู้ เชียวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคนิควิธีการ ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนดังกล่าวมีประสิทธิภาพ 88.83/88.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่ ก าหนดไว้ และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กรรณิกา ทองพันธ์ (2547) ซึ่งงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพ่ือพัฒนาบทเรียน e-learning แบบปฏิสัมพันธ์วิชาการวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ และเพ่ือศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากที่เรียนด้วยบทเรียน e-learning แบบปฏิสัมพันธ์ วิชาการวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยคือบทเรียน e-learning แบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยตัวบทเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบทดสอบรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยชุมชนเพชรอรุณ จ านวน 35 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า บทเรียน e-learning แบบปฏิสัมพันธ์ ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.19/85.14 สูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่ ก าหนดไว้ และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ อรรฆรัตน์ บุญยะผลานันท์ (2547) เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพ่ือพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสาธิตบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX 2004 ขั้นพ้ืนฐานส าหรับบุคคลทั่วไป และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคคลทั่วไปที่มีวุฒิทางการศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จ านวน 30 คน โดยคัดเลือกจากนักศึกษาประดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาคการศึกษา 1/2547 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสาธิตบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัย พบว่าบทเรียนดังกล่าวมีประสิทธิภาพ 86.90/83.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนดไว้ และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ พนิดา บัวมณี (2549 : 82) ได้ท าการวิจัยโดยพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ส าหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.74/81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนดไว้ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ยุทธพิชัย เขาแก้ว (2550) ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่ององค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองน้ าส้มวิทยาคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนหนองน้ าส้มวิทยาคม อ าเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จ านวน 30 คน โดยสุ่มแบบยกชั้น (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่ององค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบภามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ที่ได้พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.43/80.17 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนด

Page 29: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

25

จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ล าดับขั้นตอนตามระเบียบวิธีวิจัย และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ก าหนด ท าให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นสื่อเสริมหรือใช้ทบทวนความรู้ที่ผ่านมาแล้วได้อีกด้วย

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.25 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.23 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการทดสอบค่า t (t = 25.56) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ มีการน าภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ตัวการ์ตูน ข้อความ เสียง มาผสมผสานกัน จึงท าให้ผู้เรียนจดจ าสาระส าคัญและเข้าใจได้ง่าย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน รวมทั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ได้ผ่านกระบวนการหาประสิทธิภาพจนมีความเหมาะสมก่อนที่จะน าไปใช้จริง นอกจากนี้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ผู้วิจัยสร้างข้ึนยังเป็นสื่อที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้ที่เรียนเก่งไม่ต้องรอผู้ที่เรียนอ่อนกว่า เนื่องจากเป็นการเรียนแบบตัวต่อตัว คือผู้เรียนหนึ่งคนต่อคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง ประกอบกับในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาเนื้อหาจากเอกสารและต าราเรียนหลายๆ เล่ม และน าค าแนะน าจากผู้เชี่ยวชาญมาประกอบการสร้างบทเรียนเป็นหน่วยย่อยๆ จากง่ายไปหายาก โดยยึดจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก โดยเนื้อหาที่จะท าจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือส่วนของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตส าหรับศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และส่วนที่สองคือส่วนของการฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาบทเรียนในหน่วยย่อยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เรียนก็จะต้องท าแบบทดสอบย่อยหลังเรียนแต่ละหน่วย เพ่ือเป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ เรียนมา ซึ่งการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นจะรวดเร็วกว่าการสอนแบบปกติ เพราะนักเรียนจะเรียนไปพร้อมๆ กับการท าแบบฝึกหัดที่รู้ผลได้ทันที ถือเป็นการประเมินผลของการเรียนของตนเองไปพร้อมๆ กัน ถ้านักเรียนท าแบบฝึกหัดผิด และเกิดความไม่เข้าใจ ก็สามารถย้อนกลับไปเรียนทบทวนเพ่ิมเติมได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนุชนาฏ (2529 : 12) กล่าวว่า การน าเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยครูในการเรียนการสอน นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนและฝึกทักษะจากคอมพิวเตอร์ แทนที่จะเรียนจากครูในบางวิชาบางบทเรียน การเรียนการกับคอมพิวเตอร์จะด าเนินไปอย่างเป็นระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถชี้ที่ผิดของนักเรียนได้เมื่อนักเรียนกระท าผิดขั้นตอน และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียนการสอนยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนองความแตกต่างของ ความสามารถระหว่างบุคคลของนักเรียนได้อีกด้วย และสอดคล้องกับแนวคิดของ Caldwell (1980 : 7-8) ที่กล่าวว่า การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ผู้เรียนสามารถควบคุมล าดับการเรียนด้วยตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ ซึ่งรวมถึงการให้ทบทวนในกรอบที่ผ่านมา หรือการเลือกทางเลือกที่จ าน าไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียนในเวลาที่สั้นที่สุด นั่นคือ การให้โอกาสผู้ที่เรียนก้าวไปข้างหน้า หรือทบทวน หรือออกจากบทเรียนในเวลาใดก็ได้ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นจะมีลักษณะเป็นโมดูลย่อยๆ และมี

Page 30: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

26

โครงสร้างที่ต่อเนื่องกันไปเป็นเรื่องราวมีรูปแบบที่เป็นระเบียบ แต่ต้องมีความยืดหยุ่นในการน าไปใช้ได้สูงซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้ อีกทั้งผลการวิจัยครั้งนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ปิยพล จูพิทักษ์ (2548 : 104) ซึ่งได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องกระบวนการออกแบบและสร้างแอนิเมชัน 2 มิติ โดยใช้ระบบจัดการการเรียนรู้ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้ระบบจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นนั้น มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของพรพรรณ บุญเจริญ (2548 : 102) ได้ท าการวิจัยโดยการพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ระบบจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการออกแบบหน้าจอเว็บ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้ระบบจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการออกแบบหน้าจอเว็บนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 จึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นสามารถพัฒนาความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนได้เป็นอย่างดี โดยจะเห็นได้ว่านักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ดังนั้นจึงสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้ 3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา โดยภาพรวมนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 โดยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในหัวข้อผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลินและพึงพอใจกับการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในครั้งนี้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.81) รองลงมาคือ แบบฝึกหัดและการประเมินผลมีความสอดคล้องครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ ( = 4.72) การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนท าให้เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้ง่ายขึ้น ( = 4.69) วัตถุประสงค์มีความชัดเจนสอดคล้องตรงตามเนื้อหา ( = 4.66) ข้อค าถามของแบบฝึกหัดและแบบประเมินผลเข้าใจง่าย ( = 4.66) มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ( = 4.66) ปริมาณเนื้อหามีความเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป ( = 4.59) รูปแบบ ขนาด และสีตัวอักษรที่ใช้มีความเหมาะสม อ่านง่าย ( = 4.50) นอกจากนี้ในข้ออ่ืนๆ ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีช่วงคะแนนอยู่ระหว่าง 3.45 – 4.34 การที่ผลเป็นเช่นนี้เนื่องจากในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ด าเนินการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ล าดับขั้นตอน ตามระเบียบวิธีวิจัย โดยเริ่มจากการศึกษาเนื้อหา หลักสูตร อีกทั้งยัง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการผลิตสื่อการสอนมาโดยตลอด เพ่ือให้ทราบถึงรูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะน ามาใช้กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากนั้นจึงได้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีการผสมผสานกันระหว่างสื่อแบบ CAI และสื่อแบบ LMS อีกทั้งยังมีภาพประกอบและเสียง เพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด แล้วน าสื่อนี้ไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่ม

Page 31: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

27

ตัวอย่าง เมื่อนักเรียนท าการศึกษาเสร็จตามกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ก าหนดไว้แล้ว จึงให้นักเรียนท าแบบทดสอบความพึงพอใจ ซึ่งผลที่ได้พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 4.42 ดังที่ได้กล่าวไปตอนต้น ซึ่งอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพนิดา บัวมณี (2549 : 82) ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ส าหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดี เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับดีทุกรายการ และมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3 ล าดับแรก คือ 1) เนื้อหาที่น ามาเรียนครอบคลุมและน่าสนใจ 2) วัตถุประสงค์มีความชัดเจนสอดคล้องตรงตามเนื้อหา และ 3) รูปแบบ ขนาด และสีตัวอักษรที่ใช้มีความเหมาะสม อ่านง่าย และสอดคล้องกับผลการวิจัยของยุทธพิชัย เขาแก้ว (2550 : 69) ได้ท าการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่ององค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองน้ าส้มวิทยาคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผลการศึกษาความพึงพอใจพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่ององค์ประกอบคอมพิวเตอร์ จ านวน 30 คน มีระดับความพึงพอใจโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.09 ซึ่งอยู่ในระดับ มาก จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมาก จึงสามารถน าไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เพ่ือให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเองตามความสนใจและความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล ข้อเสนอแนะเพื่อการน าไปใช้ 1. จากผลการวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ 81.46/80.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ก าหนด ดังนั้นครูผู้สอนสามารถน าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได ้ 2. จากผลการวิจัยพบว่าหลังการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นและสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นครูผู้สอนควรน าสื่อการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ไปใช้กับนักเรียน โดยจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง 3. จากผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมาก ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรน าบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในหน่วย หรือในเรื่องอ่ืนๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และนักเรียนยังสามารถกลับไปทบทวนที่บ้านเพ่ิมเติมได้

Page 32: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

28

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป หลั งจากที่ ผู้ วิ จั ย ได้ พัฒ นาบท เรียนคอมพิว เตอร์บน เครือข่ าย อิน เตอร์ เน็ ต วิช าภาษาคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา ผู้วิจัยพบว่ามีข้อเสนอแนะในการท าวิจัยครั้งต่อไป ดังต่อไปนี้ 1. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือบทเรียนออนไลน์ ในระดับต่างๆ และในรายวิชาอ่ืนๆ ด้วย 2. ควรมีการศึกษาความต้องการพื้นฐานของโรงเรียน สถาบัน หรือหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการน าบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือบทเรียนออนไลน์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพ่ือชดเชยครูผู้สอนหรือครูที่ขาดแคลนในรายวิชาต่างๆ 3. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือบทเรียนออนไลน์ในรูปแบบอ่ืนๆ เช่น ก าหนดให้มีการแก้ปัญหา การจ าลองเหตุการณ์ การฝึกปฏิบัติ และการทดลองต่างๆ เป็นต้น

Page 33: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

29

บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรรณิกา ทองพันธ์. “การพัฒนาบทเรียน E-Learning แบบปฏิสัมพันธ์ วิชาการวิเคราะห์ระบบและ

การออกแบบ ส าหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ส าหรับวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2538.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2547.

จิรดา บุญอารยะกุล. “การน าเสนอลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

ปิยพล จูพิทักษ์. “การสร้างบทเรียนออนไลน์ เรื่อง กระบวนการออกแบบและสร้างแอนิเมชั่น 2 มิติ

โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี, 2548.

พนิดา บัวมณี. “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ส าหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.

พรพรรณ บุณเจริญ. “การสร้างบทเรียนออนไลน์โดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การออกแบบหน้าจอเว็บ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี, 2548.

มาเรียม นิลพันธุ์. วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: โครงการส่งเสริมการผลิตต ารา และเอกสารการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551.

ยุทธนา จันเทศ. ทฤษฏีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2556. เข้าถึงได้จาก http://gotoknow.org/blog/yuttana-g2/21281

Page 34: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

30

ยุทธพิชัย เขาแก้ว. “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่ององค์ประกอบคอมพิวเตอร์ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองน้ าส้มวิทยาคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.

รุจโรจน์ แก้วอุไร. หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวคิดของ กาเย่ [ออนไลน์].

เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2556. เข้าถึงได้จากhttp://pirun.ku.ac.th/~g4966078/cai.doc สุทธิการ บ่อจักรพันธ์. “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการ

ประมวลผลข้อมูลและแฟ้มข้อมูล หลักสูตรสถาบันราชภัฏ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรม

อรรฆรัตน์ บุญผลานันท์. “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสาธิตบนเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver MX 2004 ขั้นพ้ืนฐาน ส าหรับบุคคลทั่วไป.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2547.

Page 35: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ภาคผนวก

Page 36: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ภาคผนวก ก

บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เนต็

Page 37: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

33 1. หน้าแรกของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาคอมพิวเตอร์

Page 38: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

34 2. หน้าเนื้อหาบทเรียน

Page 39: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

35 2. หน้าเนื้อหาบทเรียน (ต่อ)

Page 40: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

36 2. หน้าเนื้อหาบทเรียน (ต่อ)

Page 41: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

37 2. หน้าเนื้อหาบทเรียน (ต่อ)

Page 42: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

38 2. หน้าเนื้อหาบทเรียน (ต่อ)

Page 43: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

39 2. หน้าเนื้อหาบทเรียน (ต่อ)

Page 44: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

40 2. หน้าเนื้อหาบทเรียน (ต่อ)

Page 45: รายงานการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ประวัติผู้วิจัย ประวัติการศึกษา และการท างาน

ชื่อ–นามสกุล นายณัฐพล บัวอุไร วัน เดือน ปี ท่ีเกิด วันที่ 8 เดือนมกราคม พุทธศักราช 2529 สถานที่เกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประวัติการรับราชการ บรรจุเข้ารับราชการครู ต าแหน่งครูผู้ช่วย เมื่อวันที่

18 พ.ค. 2552 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล าลูกกา ถึงปัจจุบัน

ประวัติการศึกษา 2551 ส าเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2555 ส าเร็จการศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผลงานดีเด่นและ/ หรือรางวัลทางวิชาการ

2552 ผ่านการคัดเลือกเป็นครู Master Teacher วิชา คอมพิวเตอร์ ของส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน 2554 ได้รับรางวัลหนึ่งแสนครูดีของส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน 2554 ได้รับรางวัลพัฒนาเว็บไซต์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ของส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน 2556 ได้รับรางวัลประเภทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในการประกวด “Thailand Social Media Award 2013”