ระบบตรวจสอบอีเมล และ รายงานNEIS...งานอ เมล เพ อน าไปใช ในการว เคราะห และ

Post on 29-Jul-2020

5 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

Transcript

ระบบตรวจสอบอเีมล และ รายงาน

Email Monitoring System and Reports

นพกร บุญเลศิทวสีุข

สารนพินธ์นี้เป็นส่วนหน่ึงของการศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวศิวกรรมเครอืข่ายและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลยัเทคโนโลยมีหานคร ปีการศึกษา 2561

I

หัวข้อ ระบบตรวจสอบอีเมล และ รายงาน Email Monitoring System and Reports ชื่อนักศึกษา นพกร บุญเลิศทวีสุข รหัสนักศึกษา 5917810002 หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคง

ปลอดภัยสารสนเทศ ปีการศึกษา 2561 อาจารย์ท่ีปรึกษา ดร.สุรณพีร์ ภูมิวุฒิสาร

บทคัดย่อ

สารนิพนธ์นี้จัดท าขึ้นเพ่ือตรวจสอบการใช้งานอีเมลของบริษัท รวมไปถึงออกรายงานการใช้งานอีเมล เพ่ือน าไปใช้ในการวิเคราะห์ และ รายงานต่อผู้บริหาร เนื่องจากปัจจุบันทางบริษัทเวลาต้องการน าข้อมูลการใช้งานอีเมลของบริษัทไปวิเคราะห์ หรือ ส่งรายงานให้กับผู้บริหาร ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลเป็นเวลานาน ดังนั้น ระบบตรวจสอบอีเมล และ รายงานจะสามารถเข้ามาช่วยในการรวบรวมข้อมูลการใช้งานอีเมลของบริษัทเพ่ือน าข้อมูลไปวิเคราะห์และรายงานต่อผู้บริหารได้

II

กิตติกรรมประกาศ

สารนิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลงได้ด้วยดี ด้วยการได้รับค าปรึกษา และค าแนะน าที่ดีจาก ดร.สุรณพีร์ ภูมิวุฒิสาร อาจารย์ที่ปรึกษา และ อ.ณัฏฐ์ มาเจริญ อาจารย์ผู้ช่วยที่ปรึกษา รวมถึง เพ่ือนๆ ทีไ่ด้ให้ค าปรึกษา แนะน า และ แนวทางต่างๆ จนสารนิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จได้ด้วยดี

สุดท้ายข้าพเจ้าขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกๆท่านที่ช่วยสอนและให้ความรู้ตั้งแต่ท่ีข้าพเจ้าได้เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และข้าพเจ้าหวังว่าสารนิพนธ์ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในภายภาคหน้าไม่มากก็น้อย

นพกร บุญเลิศทวีสุข มีนาคม 2562

III

สารบัญ หน้า

บทคัดย่อ I

กิตติกรรมประกาศ II

สารบัญ III

สารบัญรูป V

สารบัญตาราง IX

บทที่ 1 บทน า 1

1.1 ปัญหาและแรงจูงใจ 1

1.2 แนวทางการแก้ปัญหา 1

1.3 วัตถุประสงค์ 1

1.4 ภาพรวมของระบบที่จัดท า /ภาพรวมของการศึกษาค้นคว้า 1

1.5 ขอบเขตของการท างานระบบ / ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 2

1.6 โครงสร้างของสารนิพนธ์ 2

บทที่ 2 พ้ืนฐานและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3

2.1 การท างานโครงสร้างและโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องของอีเมล 3

2.2 ล็อกที่เกิดข้ึนจากระบบอีเมล 10

2.3 โดเมนเนม (DNS: Domain Name System) 12

2.4 ระบบฐานข้อมูล (Database System) 16

2.5 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน (Python Language) 19

บทที่ 3 ระบบที่น าเสนอ / การด าเนินงาน 22

3.1 โครงสร้างองค์ประกอบและการออกแบบระบบ 22

3.2 แผนภาพแสดงการไหลของระบบ (Flow Chart Diagram) 24

3.3 การออกแบบรายงาน 28

IV

สารบัญ (ต่อ)

หน้า

บทที่ 4 วิธีการทดลอง / ผลการด าเนินงาน 29

4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 29

4.2 วิธีการทดลองและผลการทดลอง 30

4.3 การแสดงรายงานการใช้อีเมลบนหน้าเว็บ 36

บทที่ 5 สรปุผลการด าเนินงาน 43

5.1 สรุปผลการด าเนินงาน 43

5.2 ปัญหาและอุปสรรคของการด าเนินการ 43

5.3 แนวทางแก้ปัญหา 43

5.4 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงงานต่อไปในอนาคต 43

เอกสารอ้างอิง 44

ภาคผนวก ก ก

ก.1 การติดตั้ง python 3.6.5 ก-1

ก.2 การติดตั้งโปรแกรม Xampp ก-3

ก.3 การออก Token Line Notify ก-8

ภาคผนวก ข ข

ข.1 ข้อดี ข้อเสีย ของโปรแกรมที่มีให้ใช้งานฟรีกับระบบที่จัดท า ข-1

ข.2 ติดตั้ง NTP เพ่ือ Sync Time ให้กับ Server ข-3

V

สารบัญรูป

หนา้

รูปที่ 2.1 ภาพรวมการท างานของอีเมลในการรับ-ส่ง 3

รูปที่ 2.2 ตัวอย่างของโครงสร้างอีเมลจากเว็บเมล 3

รูปที่ 2.3 ตัวอย่างของโครงสร้างอีเมลจากการใช้โปรแกรมWireshark 4

รูปที่ 2.4 การท างานของโปรโตคอล SMTP 4

รูปที่ 2.5 แสดงการติดต่อสื่อระหว่าง MTA-Client กับ MTA-Server 5

รูปที่ 2.6 ตัวอย่างการติดต่อสื่อสารระหว่าง MTA-Client กับ MTA-Server 6

รูปที่ 2.7 การท างานของโปรโตคอล POP 7

รูปที่ 2.8 การท างานของโปรโตคอล IMAP 7

รูปที่ 2.9 การท างานของ MIME 8

รูปที่ 2.10 ตัวอย่างของรูปแบบ MIME ที่จากโปรแกรม Wireshark 9

รูปที่ 2.11 การท างานของรีเลย์โฮสต์ 9

รูปที่ 2.12 ตัวอย่างข้อมูล Log ที่บันทึกไว้เมื่อเข้าถึงเครื่องให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 10

รูปที่ 2.13 ตัวอย่างข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้บริการที่เชื่อมต่ออยู่

ขณะเข้ามาใช้บริการ 10

รูปที่ 2.14 ตัวอย่างข้อมูลวันและเวลาการติดต่อ 11

รูปที่ 2.15 ตัวอย่างข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูก

เชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้น 11

รูปที่ 2.16 ตัวอย่างชื่อผู้ใช้งาน 11

รูปที่ 2.17 ตัวอย่างข้อมูลที่บันทึกการเข้าถึงข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 11

รูปที่ 2.18 ตัวอย่างการของดีเอ็นเอส 12

รูปที่ 2.19 ตัวอย่างการforward mapping 13

รูปที่ 2.20 ตัวอย่างการ reverse Mapping 14

รูปที่ 2.21 โครงสร้างของโดเมนเนม 14

รูปที่ 2.22 การท างานของดีเอ็นเอสและประเภทของดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ 15

รูปที่ 2.23 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลตามลาดับความสัมพันธ์ 17

VI

สารบัญรูป (ต่อ)

หน้า

รูปที่ 2.24 ตัวอย่างไฟล์แฟ้มข้อมูล 17

รูปที่ 2.25 ตัวอย่างการเข้าถึงฐานข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานกับฐานข้อมูล 18

รูปที่ 3.1 ภาพรวมของระบบทั้งหมด 23

รูปที่ 3.2 แผนภาพแสดงการไหลของภาพรวมระบบ 24

รูปที่ 3.3 แผนภาพแสดงการไหลกรณีมีการรับ – ส่ง อีเมล 25

รูปที่ 3.4 แผนภาพแสดงการไหลกรณีตรวจสอบโดเมนเนมที่ติดแบล็กลิสต์ 26

รูปที่ 3.5 แผนภาพแสดงการไหลของหน้าเว็บ 27

รูปที่ 3.6 รูปแบบรายงานการใช้งานอีเมล 28

รูปที่ 3.7 รูปแบบรายงานสรุป Top 5 28

รูปที่ 4.1 การตั้งค่าส่งล็อกเมลไปที่เครื่อง Log Server 30

รูปที่ 4.2 ค าสั่งบน cmd เพ่ือใช้งานสคริปต์มอนิเตอร์ล็อกเมลของไพทอน 30

รูปที่ 4.3 ค าสั่งบน cmd เพ่ือใช้งานสคริปต์มอนิเตอร์สแปมเมลของไพทอน 31

รูปที่ 4.4 หน้าเว็บเมล inbox ของ tbn01@tbn-demo.com 32

รูปที่ 4.5 หน้าต่างเขียนข้อความส่งอีเมล 32

รูปที่ 4.6 หน้าเว็บเมล inbox ของ bob@bl-demo.com 33

รูปที่ 4.7 หน้าต่างแสดงของสคริปต์มอนิเตอร์ 33

รูปที่ 4.8 การแจ้งเตือนเมื่อพบโดเมนเนมที่ติดแบล็กลิสต์ทางไลน์ 33

รูปที่ 4.9 ผลการตรวจสอบแบล็กลิสต์กับเว็บที่ให้บริการตรวจสอบ 34

รูปที่ 4.10 การส่งอีเมลออกจ านวนมาก 35

รูปที่ 4.11 การแจ้งเตือนเมื่อพบมีการส่ง-รับอีเมลจ านวนมากภายใน 1 นาทีทางไลน์ 35

รูปที่ 4.12 แสดงหน้า Login ของเว็บรายงาน 36

รูปที่ 4.13 แสดงหน้าเว็บรายงาน 36

รูปที่ 4.14 รายงานการส่ง-รับอีเมลประจ าวัน 37

VII

สารบัญรูป (ต่อ)

หน้า

รูปที่ 4.15 รายงานการส่ง-รับอีเมลประจ าเดือน 37

รูปที่ 4.16 รายงานการส่ง-รับอีเมลประจ าปี 37

รูปที่ 4.17 รายงานแบล็กลิสต์ประจ าวัน 38

รูปที่ 4.18 รายงานแบล็กลิสต์ประจ าเดือน 38

รูปที่ 4.19 รายงานแบล็กลิสต์ประจ าปี 39

รูปที่ 4.20 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลรับ-ส่ง ประจ าวัน 40

รูปที่ 4.21 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลรับ-ส่ง ประจ าเดือน 40

รูปที่ 4.22 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลรับ-ส่ง ประจ าปี 41

รูปที่ 4.23 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลแบล็กลิสต์ประจ าวัน 41

รูปที่ 4.24 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลแบล็กลิสต์ประจ าเดือน 42

รูปที่ 4.25 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลแบล็กลิสต์ประจ าปี 42

รูปที่ ก.1 หน้าเว็บเพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Python 3.6.5 ก-1

รูปที่ ก.2 โปรแกรม Python 3.6.5 ก าลังติดตั้ง ก-1

รูปที่ ก.3 โปรแกรม Python 3.6.5 ติดตั้งเสร็จ ก-2

รูปที่ ก.4 การติดตั้ง Packages Mysqlclient ของ Python 3.6.5 ก-2

รูปที่ ก.5 การติดตั้ง Packages request ของ Python 3.6.5 ก-3

รูปที่ ก.6 หน้าเว็บเพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม XAMPP ก-3

รูปที่ ก.7 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม XAMPP ก-4

รูปที่ ก.8 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม XAMPP ก-4

รูปที่ ก.9 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม XAMPP ก-5

รูปที่ ก.10 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม XAMPP ก-5

รูปที่ ก.11 โปรแกรม XAMPP ก าลังติดตั้ง ก-6

รูปที่ ก.12 โปรแกรม XAMPP ติดตั้งเสร็จ ก-6

รูปที่ ก.13 เปิดการใช้งาน apache และ MySQL ก-7

VIII

สารบัญรูป (ต่อ)

หน้า

รูปที่ ก.14 สร้างกลุ่มไลน์ ก-8

รูปที่ ก.15 การออก Token Line Notify ก-8

รูปที่ ก.16 การตั้งชื่อและเลือกกลุ่มไลน์ในการแจ้งเตือน ก-8

รูปที่ ก.17 Token ของ Line Notify ที่ได้ ก-9

รูปที่ ก.18 ฟังก์ชั่นของไลน์แจ้งเตือนและการน า Token ใส่ใน Code ก-9

รูปที่ ข.1 โปรแกรม Nettime Sync NTP DNS Server ข-3

รูปที่ ข.2 โปรแกรม Nettime Sync NTP Log Server ข-3

รูปที่ ข.3 เปิดใช้งาน NTP ของ Mail Server tbn-demo.com ข-4

รูปที่ ข.4 เปิดใช้งาน NTP ของ Mail Server rmail-demo.com ข-4

รูปที่ ข.5 เปิดใช้งาน NTP ของ Mail Server bl-demo.com ข-5

IX

สารบัญตาราง

หน้า

ตารางที่ 2.1 แสดงตาราง Command จาก MTA-Client ไป MTA-Server 5

ตารางที่ 2.2 แสดงตาราง Responses จาก MTA-Server ไป MTA-Client 5

1

บทที่ 1 บทน า

1.1 ปัญหาและแรงจูงใจ ในปัจจุบันบริษัทยังไม่มีระบบตรวจสอบการใช้ของบริษัทและรวมถึงไม่มีรายงานการใช้งานอีเมลซึ่งเวลาต้องการข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาหรือต้องการข้อมูลสรุปการใช้งานอีเมลของบริษัทท าได้ยากและใช้เวลานานดังนั้นจึงเป็นที่มาของการคิดท าโครงงานนี้ขึ้นเพ่ือน ามาใช้งานภายในบริษัทเองเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์การใช้งานและรายงานการใช้งานต่างๆ 1.2 แนวทางการแก้ปัญหา

สารนิพนธ์นี้ได้จัดท าขึ้นมาเพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โดยท างานในการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานอีเมลของบริษัททั้งหมดจากล็อกของระบบอีเมลแล้วเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลและออกรายงานการใช้งานอีเมลเพ่ือน าข้อมูลไปวิเคราะห์และรายงานให้ผู้บริหาร โดยการเขียนสคริปต์ด้วยภาษาไพทอนอ่านข้อมูลจากล็อกของระบบอีเมลบนเครื่อง Log Server 1.3 วัตถุประสงค์

1) เพ่ือตรวจสอบและออกรายงานการใช้งานอีเมลของบริษัท 2) เพ่ือเอาข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไปวิเคราะห์ แก้ไขและป้องกันต่อไป 3) เพ่ือแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบ 4) เพ่ือลดต้นทุนของบริษัท

1.4 ภาพรวมของระบบท่ีจัดท า /ภาพรวมของการศึกษาค้นคว้า

2

1.5 ขอบเขตของการท างานระบบ / ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1) ระบบสามารถตรวจสอบและออกรายงานการใช้งานรับ–ส่งอีเมลเป็นรายวันรายเดือน

รายปีได้ 2) ระบบสามารถตรวจสอบและออกรายงานโดเมนเนมที่ติดแบล็คลิสต์เป็นรายวันราย

เดือนรายปีได้ 3) ระบบสามารถออกรายงานโดยสามารถแสดงเปอร์เซ็นต์และจัดล าดับ 5 อันดับแรกของ

อีเมลที่รับ – ส่งและโดเมนเนมที่ติดแบล็กลิสต์เป็นรายวันรายเดือนรายปีได้ 4) ระบบสามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบได้ทางไลน์หากพบอีเมลที่ผิดปกติ

1.6 โครงสร้างของสารนิพนธ์

สารนิพนธ์นี้แบ่งเนื้อหาเป็น 5 บท ดังนี้ บทที่ 1: กล่าวถึงบทน า ปัญหาและแรงจูงใจ วัตถุประสงค์ ขอบเขตและประโยชน์ของสาร

นิพนธ์เป็นต้น บทที่ 2: กล่าวถึงพ้ืนฐานหรือทฤษฎีความรู้เบื้องต้นของ

1) การท างานโครงสร้างและโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องของอีเมล 2) ล็อกที่เกิดข้ึนจากระบบอีเมล 3) โดเมนเนม 4) ฐานข้อมูล 5) การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน

บทที่ 3: กล่าวถึงการออกแบบระบบการท างานและออกแบบรายงาน บทที่ 4: กล่าวถึงวิธีการทดลอง ผลการทดลองซึ่งน าวิเคราะห์ประสิทธิภาพการท างานของ

ระบบ บทที่ 5: กล่าวถึงการสรุปผลการด าเนินงาน ปัญหาที่เกิดข้ึน ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

พัฒนาระบบงานให้ดีขึ้นต่อไป

3

บทที่ 2 พื้นฐานและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

2.1 การท างานโครงสร้างและโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องของอีเมล Email (Electronic mail) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้รับ และ ผู้ส่ง เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมี Mail Serverเป็นตัวท าหน้าทีบ่ริหารจัดการในการรับ-ส่งอีเมล โดยที่อีเมลของผู้รับและผู้ส่งจะมีที่อยู่ของอีเมล รูปแบบของที่อยู่อีเมลจะมีชื่อแสดงขึ้นแล้วตามด้วย @ และตามด้วยโดเมนเนมที่ผู้รับและผู้ส่งลงทะเบียนจดโดเมนเนมขึ้น

รูปที่ 2.1 ภาพรวมการท างานของอีเมลในการรับ-ส่ง

โครงสร้างของอีเมลจะประกอบด้วย -Header จะแสดงให้เห็นว่าอีเมลส่งจากใคร (From) ไปหาใคร (To) วันที่ส่ง (Date) ชื่อ

เรื่อง (Subject) - Body จะเป็นส่วนของเนื้อหาของอีเมลที่ต้องการ - Message คือส่วนของ Header และ Body รวมเข้าด้วยกันเป็นอีเมลที่จะส่งไปหาผู้รับ

รูปที่ 2.2 ตัวอย่างของโครงสร้างอีเมลจากเว็บเมล

4

รูปที่ 2.3 ตัวอย่างของโครงสร้างอีเมลจากการใช้โปรแกรม Wireshark

2.1.1 โปรโตคอลของระบบอีเมล เกี่ยวข้องในการรับ-ส่งอีเมล มีดังนี้ โปรโตคอล SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ส าหรับในส่งอีเมลจากผู้ส่งไปยังอีเมลของผู้รับโดยผ่านโปรโตคอลSMTP ที่จะท างานส่งผ่านพอร์ต 25

รูปที่ 2.4 การท างานของโปรโตคอล SMTP

Message Transfer Agent (MTAs) ท าหน้าที่ติดต่อสื่อสารกันระหว่าง ผู้ใช้กับ

Mail Server และ Mail Server ผู้ส่ง กับเมลเซิร์ฟเวอร์ผู้รับ

5

รูปที่ 2.5 แสดงการติดต่อสื่อระหว่าง MTA-Client กับ MTA-Server

HELO NOOP MAIL FROM TURN RCPT TO EXPN DATA HELP QUIT SEND FROM RSET SMOL FROM VRFY SMAL FROM

ตารางท่ี 2.1 แสดงตาราง Command จากMTA-Client ไป MTA-Server

220 Service ready 221 Service closing transmission channel 250 Request command completed 354 Start mail input

ตารางท่ี 2.2 แสดงตาราง Responsesจาก MTA-Server ไป MTA-Client

6

รูปที่ 2.6 ตัวอย่างการติดต่อสื่อสารระหว่าง MTA-Client กับ MTA-Server

โปรโตคอล POP (Post Office Protocol)

เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลจากผู้ส่งไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายขาเข้าของแต่ละคน ซึ่งบนเมลเซิร์ฟเวอร์จะมี POP Server เป็นตัวท าหน้าที่นี้ ปัจจุบันโปรโตคอล POP เป็น version 3 ส่วนผู้รับอีเมลจะใช้โปรแกรมท่ีใช้ส าหรับรับ-ส่งอีเมล (POP Client) เชื่อมต่อเข้ามาดูดอีเมลในกล่องจดหมายของแต่ละคนไปเก็บไว้บนเครื่องของตัวเองเช่น โปรแกรม Microsoft Outlook, บนมือถือเป็นต้น โดยโปรโตคอล POP นี้จะท างานผ่านพอร์ต 110การใช้การรับอีเมลผ่าน POP ข้อดี คือ ประหยัดพ้ืนที่จัดเก็บอีเมลบน Mail Server, หากอีเมลบน Mail Serverหายหรือถูกลบโดยไม่ตั้งใจอีเมลฉบับนั้นจะมีเก็บไว้ที่เครื่องของผู้ใช้ ข้อเสีย คือ ไม่สามารถอ่านอีเมลได้หลายๆเครื่องหากโปรแกรมท่ีใช้รับ-ส่งอีเมลตั้งค่าให้ดูดอีเมลจาก Mail Server ทั้งหมดโดยไม่เก็บไว้บน Mail Server, พ้ืนทีจ่ัดเก็บของเครื่องผู้ใช้จะใช้เยอะ

7

รูปที่ 2.7 การท างานของโปรโตคอล POP โปรโตคอล IMAP (Internet Message Access Protocol)

เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการรับอีเมลเหมือนกับโปรโตคอล POP คือรับอีเมลจากผู้ส่งไปเก็บไว้ในกล่องจดหมายขาเข้าของแต่ละคน ซึ่งบน Mail Serverจะมี IMAP Server เป็นตัวท าหน้าที่นี้ ปัจจุบันโปรโตคอล IMAP เป็น version 4 แต่ต่างจาก POP ตรงที่ IMAP จะเป็นการรีโมทเข้าไปอ่านอีเมลในกล่องจดหมายขาเข้าของแต่ละคนจากเครื่องผู้ใช้โดยผ่านทางหน้า Webmail, บนมือถือ หรือ โปรแกรมที่ใช้รับ-อีเมลโดยมีการตั้งค่าใช้ IMAP ให้การอ่านอีเมลบน Mail Server เป็นต้น โดยโปรโตคอล IMAP นี้จะท างานผ่านพอร์ต 143 การใช้การรับอีเมลผ่าน IMAP ข้อดี คือ สามารถเปิดอ่านอีเมลได้หลายๆเครื่องพร้อมกัน หรือ เปิดอ่านได้ทุกท่ี , พื้นที่จัดเก็บของเครื่องผู้ใช้จะใช้น้อย ข้อเสีย คือ พื้นที่จัดเก็บบน Mail Server จะใช้เยอะ , หากอีเมลบน Mail Serverหายหรือถูกลบโดยไม่ตั้งใจอีเมลฉบับนั้นก็จะหายไปด้วย ถ้า Mail Serverไม่มีการส ารองข้อมูลไว้

รูปที่ 2.8 การท างานของโปรโตคอล IMAP

8

MIME (Multipurpose Internet Mail Extensions) โดยปกติระบบอีเมลการส่งข้อมูลจะรับ-ส่งเป็น ASCII Code 7 bit แต่การ

รับ-ส่งจริงๆจะใช้จ านวน 8 bit ดังนั้นจะต้องมีการแปลงข้อมูลที่ไม่ใช่ ASCII code ต่างๆ ที่เรียกว่า non-ASCII ให้เป็น ASCII code ก่อน-รับสง่ข้อมูล เช่น การแนบไฟล์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ word, excel, pdf ซึ่งเป็นไฟล์ binary หรือ ไฟล์เพลง, ไฟล์วิดีโอ เป็นต้น

รูปที่ 2.9 การท างานของMIME

โดย Header MIME จะมีข้อมูลดังนี้

MIME-Version จะบอก Version ของ MIME ที่ใช้ Content-Type จะบอกประเภทไฟล์ที่มีการแนบในอีเมล ซึ่งใน MIME จะมี Text, Multipart, Message, Image, Video, Audio, Application Content-transfer-Encoding จะบอกข้อมูลว่าใช้วิธีไหนในการ Encode ซึ่งใน MIME จะมี 7 bit, 8bit, binary, base64 Content-Id จะบอก Message ID Content-Description จะบอกลักษณะของตัวเนื้อหาว่าเป็น รูป, ไฟล์เสียง หรือ ไฟล์วิดีโอ

9

รูปที่ 2.10 ตัวอย่างของรูปแบบ MIME ที่จากโปรแกรม Wireshark

รีเลย์โฮสต์ (Relay Host) เรียกอีกอย่างว่าเมลเกตเวย์ ท าหน้าเป็นตัวกลางในการรับ-ส่งอีเมล จาก

Mail Server ช่วยในการตรวจสอบอีเมลขยะ หรือสแปมเมล และ อีเมลที่มีไฟล์ไวรัส หรือ มีลิ้งฟิชชิ่งเมล และยังสามารถเป็น Mail Server ส ารองหาก Mail Server หลักเกิดใช้งานไม่ได้ ซึ่ง Mail Server เองสามารถท ารีเลย์โฮสต์ได้ในตัวเอง แต่ถ้าตัวรีเลย์โฮสต์ไม่มีการตั้งค่าความปลอดภัยที่ดี หากผู้โจมตีสามารถยึดเครื่องรีเลย์โฮสต์ได้ก็จะสามารถน าเครื่องนี้ไปใช้งานในการโจมตีเป้าหมายได้

รูปที่ 2.11 การท างานของรีเลย์โฮสต์

10

2.2. ล็อกที่เกิดขึ้นจากระบบอีเมล

ล็อกของระบบอีเมลมีหน้าที่ในการจัดเก็บ บันทึก ข้อมูลการใช้งานของอีเมล เพ่ือตรวจสอบ

เป็นหลักฐาน หากต้องการดูประวัติย้อนหลัง ทั้งการรับ การส่ง วันเวลา ที่มีการใช้งาน เป็นต้น ซึ่งการ

เก็บข้อมูลล็อกของระบบอีเมลต้องเป็นไปตาม ประกาศแนบท้ายกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550

ข้อ 2 ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการตามประกาศข้อ 5 (1) ข. ประกอบด้วย

1) ข้อมูล Log ที่บันทึกไว้เมื่อเข้าถึงเครื่องให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Simple Mail

Transfers Protocol: SMTP Log) ได้แก่

1) ข้อมูลหมายเลขของข้อความที่ระบุในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Message ID)

2) ข้อมูลชื่อที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่ง (Sender E-mail Address)

3) ข้อมูลชื่อที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับ (Receiver E-mail Address)

4) ข้อมูลที่บอกถึงสถานะในการตรวจสอบ (Status Indicator) ซึ่งได้แก่ จดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งส าเร็จ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งคืน จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่

มีการส่งล่าช้า เป็นต้น

รูปที่ 2.12 ตัวอย่างข้อมูล Log ที่บันทึกไว้เมื่อเข้าถึงเครื่องให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

2) ข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บริการที่เชื่อมต่ออยู่ขณะเข้า

มาใช้บริการ (IP Address of Client Connected to Server)

รูปที่ 2.13 ตัวอย่างข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้บริการที่เชื่อมต่ออยู่ขณะเข้ามาใช้บริการ

11

3) ข้อมูลวัน และ เวลาการติดต่อของเครื่องที่เข้ามาใช้บริการและเครื่องให้บริการ (Date and time of connection of Client Connected to Server)

รูปที่ 2.14 ตัวอย่างข้อมูลวัน และ เวลาการติดต่อ

4) ข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้น (IP Address of Sending Computer)

รูปที่ 2.15 ตัวอย่างข้อมูลหมายเลขชุดอินเทอร์เน็ตของเครื่องบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกเชื่อมต่ออยู่ในขณะนั้น

5) ชื่อผู้ใช้งาน (USER ID) (ถ้ามี)

รูปที่ 2.16 ตัวอย่างชื่อผู้ใช้งาน

6) ข้อมูลที่บันทึกการเข้าถึงข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านโปรแกรมจัดการจากเครื่อง

ของสมาชิกหรือการเข้าถึงเพ่ือเรียกข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องสมาชิก โดยยังคงจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกการเข้าถึงข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ดึงไปนั้นไว้ที่เครื่องบริการ (POP3 (Post Office Protocol version3) Log or IMAP4 (Internet Message Access Protocol Version4) Log)

รูปที่ 2.17 ตัวอย่างข้อมูลที่บันทึกการเข้าถึงข้อมูลจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

12

2.3. โดเมนเนม (DNS: Domain Name System) โดเมนเนมท าหน้าในการแปลงเลขไอพีเป็นชื่อโดเมนเนม เพ่ือให้ผู้ใช้งานจดจ าได้ง่าย เนื่องจากโดยธรรมชาติของคนจะจดจ าชื่อได้ง่ายกว่าชุดเลขไอพี การแปลงจากชื่อโดนเมนเนมไปเป็นเลขชุดไอพีนั้นจะเรียกกว่า Forward Mappingส่วนการแปลงจากเลขชุดไอพีไปเป็นชื่อโดเมนเนมจะเรียกว่า Reverse Mapping โดยจะมี DNS Serverเป็นตัวบริหารจัดการ ในการจัดเก็บข้อมูล Mapping ของโฮสต์ต่างๆ เพราะแต่ละโดเมนจะมีการใช้งาน 1 โฮสต์ หรือ มากกว่า 1 โฮสต์ก็ได้ เช่น Domain tbn-demo.com จะมีโฮสต์ของอีเมล และ เว็บเพจ mail.tbn-demo.com และ www. tbn-demo.com ซ่ึงความหมายของmail ตัวหน้าคือ โฮสต์ของอีเมล ส่วน www คือเป็นโฮสต์ของเว็บเพจดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ จะท างานผ่านโปรโตคอล UDP/TCP พอร์ต 53

รูปที่ 2.18 ตัวอย่างการของดีเอ็นเอส ระดับของโดเมนเนมมี 2 แบบ คือ

1) โดเมน 2 ระดับ จะมีเพียงชื่อโดเมนเนมขององค์กร เช่น tbn-demo.com ตัวอย่างของโดเมนได้แก่ - .com ใช้ส าหรับองค์กรเอกชน การค้า ธุรกิจ - .net ใช้ส าหรับหน่วยงานด้านระบบเครือข่าย - .edu ใช้ส าหรับสถาบันการศึกษา - .org ใช้ส าหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลก าไร - .gov ใช้ส าหรับหน่วยงานของรัฐ

13

2) โดเมน 3 ระดับ จะมีทั้งชื่อโดเมนกับชื่อโดเมนที่อ้างอิงถึงประเทศ เช่น mut.ac.th ตัวอย่างของโดเมนได้แก่ - .ac.th ใช้ส าหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย - .co.th ใช้ส าหรับองค์กรเอกชนในประเทศไทย - .go.th ใช้ส าหรับหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลไทย - .net.th ใช้ส าหรับหน่วยงานด้านระบบเครือข่ายในประเทศไทย - .or.th ใช้ส าหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลก าไรในประเทศไทย

รูปที่ 2.19 ตัวอย่างการ Forward mapping

14

รูปที่ 2.20 ตัวอย่างการ Reverse Mapping โครงสร้างของโดเมนเนม แบ่งออกเป็นล าดับ ได้แก่

1) Root domain คือส่วนบนสุดของโครงสร้างมีสัญลักษณ์เป็นเครื่อหมาย มหัพภาค (.)

2) Top level domain คือระดับถัดลงมา เช่น com , net , org เป็นต้น 3) Second level domain คือชื่อองค์กรที่จดทะเบียน เช่น tbn-demo เมื่อรวมกับ

ระดับ top level domain จะได้ tbn-demo.com 4) ส่วนที่อยู่ล่างสุดของโครงสร้างคือชื่อโฮสต์ เช่น mail.tbn-demo.com

รูปที่ 2.21 โครงสร้างของโดเมนเนม

15

การท างานของดีเอ็นเอส การเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆบนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้คนเข้าชมจดจ าเว็บไซต์ต่างๆได้ง่ายนั้นจะต้องท าการแปลงเลขไอพีของเว็บนั้นเป็นชื่อโดเมนเนม เนื่องจากสมองคนเราจะจดจ าชื่อได้ง่ายกว่าตัวเลข เพราะคอมพิวเตอร์นั้นจะรู้เพียงเลขไอพีของเว็บไซต์นั้นๆ ดังนั้นจึงต้องใช้ดีเอ็นเอสเข้ามาจัดการแปลงเลขไอพีเป็นชื่อ ขั้นตอนการท างานของดีเอ็นเอสที่เกี่ยวข้อง ดังนี้เมื่อมีคนเข้าใช้เว็บไซต์ โดยระบุเป็น www. tbn-demo.comโดยอันดับแรกจะมาหาไอพีหรือ ชื่อเว็บไซต์ที่เรียกท่ีโฮตส์ไฟล์จากคอมพิวเตอร์ตัวเองก่อน ถ้าพบก็เอาไปใช้ทันที ถ้าไม่ครบก็จะไปหาที่ DNS Server ของบริษัท (ถ้ามี) หรือ ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ประเภทของ DNS Server จะแบ่งออกตามลักษณะการท างานได้แก่ 1) Master DNS Server เป็นเซิร์ฟเวอร์หลักท าหน้าที่เก็บข้อมูลทั้งหมดและให้บริการ 2) Slave DNS Serverเป็นเซิร์ฟเวอร์ส ารองหากตัวดีเอ็นเอส เซิร์ฟเวอร์หลักไม่

สามารถใช้งานได้ แต่ไม่สามารถเพ่ิมเติมหรือแก้ไขข้อมูลได้ ท าได้เพียงดึงข้อมูลจากตัวดีเอ็นเอส เซิร์ฟเวอร์หลัก เท่านั้น

รูปที่ 2.22 การท างานของดีเอ็นเอส และ ประเภทของดีเอ็นเอส เซิร์ฟเวอร์ ประเภท Record ของดีเอ็นเอส มีดังนี้

1) A record (Address) การแปลงชื่อโดเมนเนมไปเป็นเลขไอพี 2) NS record (Name server) การก าหนดโซนดีเอ็นเอสว่าจะให้ชี้ไปที่ DNS Server

ตัวไหน 3) MX record (Mail exchange) เป็นการใช้กับMail Server ก าหนดถ้ามีการใช้งาน

อีเมลจะให้ชี้ไปที่ Mail Server ตัวไหน

16

4) Cname record (Canonical name) การก าหนดเซิฟร์เวอร์ปลายทางท่ีต้องการเป็นชื่อโฮตส์

5) SOA (Start of authority) การบอกสถานะของ DNS Serverตัวไหนเป็นตัวหลัก 6) PTR (Pointer) การแปลงเลขไอดีไปเป็นชื่อโดเมนเนม

2.4 ระบบฐานข้อมูล (Database System) ปัจจุบันการน าระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้งานเพ่ือบันทึกข้อมูลต่างๆ นอกจากการเก็บข้อมูลด้วยการจดบันทึก , ไฟล์ของ Microsoft office, ไฟล์ text หรือ รูปแบบอ่ืนๆ ทั้งนี้การน าระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้งานเพ่ือช่วยให้การเก็บข้อมูลมีความถูกต้องแม่นย าขึ้น ลดการเก็บเอกสารที่มีปริมาณเพ่ิมข้ึนเรื่อยๆ และยังช่วยให้การค้นหาข้อมูลได้สะดวก ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงช่วยในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆ ด้วยถือเป็นศูนย์รวมข้อมูลต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ทุกฝ่ายสามารถเขา้มาใช้ข้อมูลร่วมกันได้

โครงสร้างแฟ้มข้อมูล จะประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

1) บิต (Bit) ประกอบด้วยเลขฐานสอง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยจะมีตัวเลข 0 กับ 1 เท่านั้น

2) ไบต์ (Byte) เป็นการน าหลายๆบิตมารวมกันเป็นไบต์ โดยที่ 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ ท าให้สร้างข้อมูลขึ้นมาใช้งานได้ถึง 28 หรือเท่ากับ 256 อักขระ

3) ฟิลด์ (Field) คือการน าไบต์ตั้งแต่ 1 ไบต์ขึ้นไปมารวมกันเพ่ือให้เกิดความหมายท าให้คนสามารถเข้าใจได้

4) เรคอร์ด (Record) กลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และต้องมีจ านวนฟิลด์อย่างน้อย 1 ฟิลด์เพ่ือใช้ในการอ้างอิงข้อมูลในเรคอร์ดนั้น คือ 1 เรคอร์ดจะมีฟิลด์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ฟิลด์วัน-เวลา ผู้ส่งอีเมล ผู้รับอีเมล โดเมนเนม เป็นต้น

5) ไฟล์ (File) คือเรคอร์ดต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันมารวมกัน เช่น ไฟล์รายงานการใช้งานอีเมลจะประกอบไปด้วยเรคอร์ดต่างๆของการใช้งานอีเมล เป็นต้น

17

รูปที่ 2.23 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลตามล าดับความสัมพันธ์

รูปที่ 2.24 ตัวอย่างไฟล์แฟ้มข้อมูล

18

ชนิดของข้อมูล สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1) ข้อความ 2) ข้อมูลที่ถูกก าหนดเป็นรูปแบบของรหัส 3) รูปภาพหรือ กราฟฟิก ต่างๆ 4) ข้อมูลเสียง หรือ วิดีโอ

ระบบการจัดการฐานข้อมูล(Database Management System : DBMS)

เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โดยจะมีฟังก์ชั่นต่างๆ ในการจัดการกับฐานข้อมูล ซึ่งจะใช้ภาษา SQL ในการจัดการระหว่างผู้ใช้งานกับฐานข้อมูล โดยสามารถใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็น DBMS เช่น Mysql เป็นต้นในการเข้าถึงฐานข้อมูลโดยตรง หรือใช้โปรแกรมท่ีเขียนขึ้นมา หรือโปรแกรมประยุกต์ ในการเข้าถึงฐานข้อมูล เช่น เมื่อผู้ใช้งานต้องการเข้าถึงฐานข้อมูล หรือ จัดการกับฐานข้อมูล ของแฟ้มข้อมูลรายงานการใช้งานอีเมล โดยผู้ใช้งานจะเข้าถึงฐานข้อมูล ผ่านการใช้งานโปรแกรมเช่น PowerBI เป็นต้น

รูปที่ 2.25 ตัวอย่างการเข้าถึงฐานข้อมูลระหว่าง ผู้ใช้งานกับฐานข้อมูล ข้อดีของการใช้ฐานข้อมูล

1) โปรแกรมและข้อมูลมีอิสระ 2) ลดความซ้ าซ้อนของข้อมูล 3) ข้อมูลมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน 4) การใช้ข้อมูลร่วมกัน 5) มีมาตรฐาน 6) ข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นย า ค้นหาง่าย

19

ข้อเสียของการใช้งานข้อมูล 1) มีขนาดความจุของข้อมูลที่มากข้ึน 2) ต้นทุนของตัว DBMS ที่สูง 3) ต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์มากขึ้น 4) ต้นทุนเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการท างาน 5) ผลกระทบต่อข้อมูลที่อาจเสียหายสูง

2.5. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน(Python Language) ไพทอน (Python) เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุประสงค์ทั่วไป โค้ดในการอ่าน เขียน มีความเข้าใจได้ง่าย และ การใช้บรรทัดในการเขียนน้อยลง มีระบจัดการหน่วยความจ าอัตโนมัติและสนับสนุนในการเขียนโปรแกรมได้หลากหลาย เช่น การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แบบฟังก์ชั่น แบบขั้นตอน เป็นต้น 2.5.1 โครงสร้างของภาษาไพทอน ประกอบด้วย

1) Module จะประกอบไปด้วย คลาส ฟังก์ชั่น และตัวแปรต่างๆ และยังสามารถ import โมดูลอื่นเข้ามาใช้งานได้ด้วย

2) Comment การคอมเม้นต์ข้อความ หรือ ค าอธิบายโค้ดต่างๆ โดยใช้เครื่องหมาย # ขึ้นต้นก่อนค าอธิบาย

3) Statement เป็นการท างานของแต่ละค าสั่งของการเขียนภาษาไพทอนนั้นจะแบ่งแยกค าสั่งโดยการข้ึนบรรทัด ซึ่งถ้าต้องการใช้หลายค าสั่งในบรรทัดเดียวกันสามารถท าได้โดยใช้เครื่อง ; คั่นแต่ละค าสั่งได้

4) Indentation and while space ในภาษาไพทอนนั้นจะใช้ while space และ tap ในการก าหนดบล็อคของโปรแกรม เช่น ค าสั่ง if else for หรือการประกาศฟังก์ชั่น เป็นต้นซึ่งช่องว่างที่ใช้นั้นจะต้องเท่ากัน

5) Literals คือเครื่องหมายที่ใช้ในการแสดงค่าคงที่ต่างๆในโปรแกรม ในภาษาไพทอนนั้นมี Literals ของข้อมูลต่าง เช่น integer , floating-point number และ strings

6) Expressions คือการท างานระหว่างค่าหนึ่งไปจนหลายๆค่าร่วมกัน Expressions นั้นมี 2 แบบคือ Boolean expression คือการกระท าของตัวแปรกับตัวด าเนินการแล้วได้ค่าท่ีเป็นการเปรียบเทียบต่างๆ และ Expression ทางคณิตศาสตร์ คือการกระท ากับตัวด าเนินการแล้วได้ค่าใหม่

20

7) Keywords เป็นค าที่ถูกสงวนไว้ในการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ซึ่งจะไม่สามารถใช้ค าเหล่านี้ในการประกาศเป็นตัวแปรต่างๆ คลาส ฟังก์ชั่น ใดๆได้รายการของค าสงวนมีดังนี้ False None True and as assert break class continuedef del elif else except finally for from global if import in is lambda nonlocal not or pass raise return try while with yield

2.5.2 ตัวแปรและประเภทข้อมูล ตัวแปร คือ การก าหนดชื่อต่างๆ เพื่อเก็บค่าในหน่วยความจ า เพ่ืออ้างอิงข้อมูล ประเภทของข้อมูล มีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Integer) เช่น year = 2018 age = 34 birthday = int(year–age) print(“Year = ” , year) print(“Age = ” , age) print(“Birthday = ” , birthday)

จากตัวอย่าง ท าการประกาศตัวแปร year = ปีปัจจุบัน age อายุปัจจุบัน โดยน าตัวแปร year ลบกับตัวแปร age ซึ่งปกติตัวแปรที่ประกาศขึ้นจะเป็นข้อมูลตัวอักษร ดังนั้นจึงต้องใช้ค าสั่งที่สนับสนุนข้อมูลด้านตัวเลข เช่น int() เข้ามาช่วยในการค านวณ และ birthday คือ ปีที่เกิด เมื่อรันค าสั่ง print เพ่ือดูผลลัพธ์ออกมาจะได้คือ

Year = 2018 Age = 34 Birthday = 1984

2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Strings) เช่น u = “NoppakornBoonlertthaweesuk” e = “noppakorn.b@outlook.com” age = 34 print(“User = ”, u) print(“Email = ”, e) print(“Age = ”, age)

21

จากตัวอย่าง ท าการประกาศตัวแปร คือ u = ชื่อ-นามสกุล e= อีเมล และ age = อายุ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลตัวอักษร เมื่อรันค าสั่ง print เพ่ือดูผลลัพธ์ออกมาจะได้คือ

User = NoppakornBoonlertthaweesuk Email = noppakorn.b@outlook.com Age = 34

3) ข้อมูลที่เป็นชุดข้อมูล (Lists) เช่น user = [“noppakorn” , “nguang” , “kung” , “ple”] Print(user) จากตัวอย่าง ท าการประกาศตัวแปร คือ user ชื่อที่ในลิสเมื่อรัน

ค าสั่ง print เพ่ือดูผลลัพธ์ออกมาจะได้คือ ['noppakorn', 'nguang', 'kung', 'ple']

22

บทที่ 3 ระบบที่น าเสนอ / การด าเนินงาน

3.1 โครงสร้างองค์ประกอบและการออกแบบระบบ

3.1.1 โครงสร้างองค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย

1) เครื่อง Mail Server@tbn-demo.com เป็นระบบปฏิบัติการลินุกซ์Centos 7,

Software Mail Server Postfix ใช้ส่งอีเมล, Dovecot ใช้รับอีเมล, Squirrel Mailใช้อีเมล

บนหน้าเว็บเมล เป็นอีเมลในองค์กรท างานบน VMware workstation

2) เครื่อง Mail Server @rmail-demo.com เป็นระบบปฏิบัติการลินุกซ์

Centos7, Software Mail Server Postfix ใช้ส่งอีเมล, Dovecot ใช้รับอีเมล, Squirrel

Mailใช้อีเมลบนหน้าเว็บเมล เป็นอีเมลของผู้ติดต่อท างานบน VMware workstation

3) เครื่อง Mail Server @bl-demo.com เป็นระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Centos 7,

Software Mail Server Postfix ใช้ส่งอีเมล, Dovecot ใช้รับอีเมล, Squirrel Mailใช้อีเมล

บนหน้าเว็บเมล เป็นอีเมลของผู้ติดต่อท างานบน VMware workstation

4) เครื่อง Log Serverและฐานข้อมูล เป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์เซิร์ฟเวอร์

2012r2, xampp ใช้ส าหรับระบบฐานข้อมูล (Mysql) และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache) ท างาน

บน VMware workstation , สคริปต์ภาษาไพทอน ใช้ส าหรับรับล็อกการใช้งานอีเมลและ

มอนิเตอร์การใช้งานอีเมลแล้วจัดเก็บข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูล

5) DNS Server เป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2ท างานบน

VMware workstation เป็น Name Server ของ Domain tbn-demo.com, rmail-

demo.com, bl-demo.com

6) Laptop เป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ 7 ท างานบนVMware workstation ใช้

ส าหรับ user ใช้งานอีเมลบนหน้าเว็บเมล

23

3.1.2 การออกแบบระบบ

รูปที่ 3.1 ภาพรวมของระบบทั้งหมด จากรูปที่ 3.1 แสดงภาพขั้นตอนการท างานของระบบโดยรวม ซึ่งมีข้ันตอนดังนี้

1) เมื่อมีการรับ - ส่งอีเมลหรือรับอีเมลเกิดขึ้นในระบบ 2) Mail Server จะท าการเก็บข้อมูลการรับ-ส่งอีเมลไว้ในไฟล์ล็อก 3) จากนั้น Mail Serverจะท าการส่งล็อกการใช้งานไปที่เครื่อง Log Server

และฐานข้อมูลผ่านโปรโตคอล UDP 514 4) เครื่อง Log Serverและฐานข้อมูลจะท าการรับล็อกการใช้งานมามอนิเตอร์

ด้วยสคริปต์ภาษาไพทอน 5) จากนั้นผลการวิเคราะห์ถูกส่งลงไปจัดเก็บในฐานข้อมูลเพื่อแสดงรายงาน

การใช้งานอีเมล

24

3.2 แผนภาพแสดงการไหลของระบบ (Flow Chart Diagram)

3.2.1 แผนภาพแสดงการไหลของภาพรวมระบบ

รูปที่ 3.2 แผนภาพแสดงการไหลของภาพรวมระบบ

จากรูปที่ 3.2 แสดงขั้นตอนการท างานโดยรวมของระบบ ซึ่งมีข้ันตอนดังนี้

1) เมื่อมีล็อกการใช้งานอีเมลเกิดขึ้น

2) สคริปต์ท าการมอนิเตอร์จากล็อกอีเมล

3) จากนั้นบันทึกสื่งที่เกิดขึ้นจากล็อกอีเมลลงฐานข้อมูล

4) จากนั้นข้อมูลที่ถูกบันทึกจากฐานข้อมูลจะแสดงผลเป็นรายงานบนหน้าเว็บ

25

3.2.2 แผนภาพแสดงการไหลกรณีมีการรับ – ส่ง อีเมล

รูปที่ 3.3 แผนภาพแสดงการไหลกรณีมีการรับ – ส่ง อีเมล

จากรูปที่ 3.3 แสดงขั้นตอนการท างานกรณีมีการรับ – ส่งอีเมล ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1) เมื่อมีล็อกการใช้งานการรับ-ส่งอีเมลเกิดข้ึน

2) สคริปต์ท าตรวจสอบข้อมูลผู้รับ ผู้ส่ง และโดเมนเนมจากล็อกอีเมล

3) ถ้าเจอจะบันทึกข้อมูลผู้รับ ผู้ส่ง อีเมล และโดเมนเนมของผู้รับและผู้ส่ง ลง

ฐานข้อมูลถ้าไม่พบข้อมูล ระบบก็จบการท างาน

4) จากนั้นข้อมูลที่ถูกบันทึกจากฐานข้อมูลจะแสดงผลเป็นรายงานบนหน้าเว็บ

26

3.2.3 แผนภาพแสดงการไหลกรณีตรวจสอบโดเมนเนมที่ติดแบล็กลิสต์จากการรับอีเมล

รูปที่ 3.4 แผนภาพแสดงการไหลกรณีตรวจสอบโดเมนเนมที่ติดแบล็กลิสต์

จากรูปที่ 3.4 แสดงขั้นตอนการท างานกรณีตรวจสอบโดเมนเนมที่ติดแบล็กลิสต์จากการรับ

อีเมลซึ่งมีข้ันตอนดังนี้

1) เมื่อมีล็อกการใช้งานการรับอีเมลเกิดข้ึน

2) สคริปต์ท าตรวจสอบโดเมนเนม ผู้รับ ผู้ส่งจากล็อกอีเมล โดยสคริปต์จะตรวจสอบ

จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบโดเมนแบล็กลิสต์

3) ถ้าเจอจะบันทึกโดเมนเนม ผู้รับ ผู้ส่ง ลงฐานข้อมูลพร้อมแจ้งเตือนไปหาผู้ดูแลระบบ

ทางไลน์ ถ้าไม่พบข้อมูลระบบก็จบการท างาน

27

4) จากนั้นข้อมูลที่ถูกบันทึกจากฐานข้อมูลจะแสดงผลเป็นรายงานบนหน้าเว็บ

3.2.4 แผนภาพแสดงการไหลของหน้าเว็บ

รูปที่ 3.5 แผนภาพแสดงการไหลของหน้าเว็บ

28

จากรูปที่ 3.5 แสดงขั้นตอนการท างานของหน้าเว็บ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1) เปิดเว็บรายงานการใช้อีเมลจากเว็บเบราเซอร์แล้วใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

2) ท าการตรวจสอบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

3) ถ้าถูกต้องก็จะสามารถล็อกอินเข้าสู่ระบบได้ แต่ถ้าไม่ถูกต้องระบบจะให้ใส่ชื่อ

ผู้ใช้และรหัสผ่านใหม่อีดครั้ง

4) เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบได้แล้วระบบจะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงบนหน้า

เว็บ

3.3 ออกแบบรายงาน 3.3.1 รูปแบบรายงานการใช้งานอีเมล

รูปที่ 3.6 รูปแบบรายงานการใช้งานอีเมล

3.3.2 รูปแบบรายงานสรุปTop 5

รูปที่ 3.7 รูปแบบรายงานสรุปการใช้งานอีเมล

29

บทที่ 4 วิธีการทดลอง / ผลการด าเนินงาน

4.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

4.1.1 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ส าหรับ DNS Server เป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2 ไอพี 192.168.170.161 ท างานบนVMware workstation เป็น Name Server ของ Domain tbn-demo.com, rmail-demo.com, bl-demo.comและ logmail.tbn-demo.com 4.1.2 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ส าหรับ Log Server เป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์เซิร์ฟเวอร์ 2012

r2, xampp ใช้ส าหรับระบบฐานข้อมูล (Mysql) และ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Apache) R2 ไอพี

192.168.170.160 ท างานบน VMware workstation โดยมีสคริปต์ภาษาไพทอน ใช้ส าหรับ

รับล็อกการใช้งานอีเมลและมอนิเตอร์การใช้งานอีเมลแล้วจัดเก็บข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูล

4.1.3 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ส าหรับ Mail Server โดเมนtbn-demo.com เป็น

ระบบปฏิบัติการลินุกซ์Centos 7, Software Mail Server Postfix ใช้ส่งอีเมล, Dovecot

ใช้รับอีเมล, Squirrel Mailใชอี้เมลบนหน้าเว็บเมล เป็นอีเมลในองค์กรR2 ไอพี

192.168.170.123 ท างานบน VMware workstation

4.1.4 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ส าหรับ Mail Server โดเมน rmail-demo.com เป็น

ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Centos7, Software Mail Server Postfix ใช้ส่งอีเมล, Dovecot

ใช้รับอีเมล, Squirrel Mailใชอี้เมลบนหน้าเว็บเมล เป็นอีเมลของผู้ติดต่อ ไอพี

192.168.170.124 ท างานบน VMware workstation

4.1.5 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ส าหรับ Mail Server โดเมน bl-demo.com เป็นระบบปฏิบัติการ

ลินุกซ์ Centos 7, Software Mail Server Postfix ใช้ส่งอีเมล, Dovecot ใช้รับอีเมล,

Squirrel Mailใช้อีเมลบนหน้าเว็บเมล เป็นอีเมลของผู้ติดต่อ ไอพี 192.168.170.125 ท างาน

บน VMware workstation

4.1.6 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ส าหรับ ใช้งานอีเมลบนหน้าเว็บเมล และ ดูรายงาน เป็น

ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 7 รับไอพีแบบ DHCP ท างานบน VMware workstation ใช้ส าหรับ

user ใช้งานอีเมลบนหน้าเว็บเมล

30

4.2 วิธีทดลองและผลการทดลอง 4.2.1 เครื่อง Mail Server โดเมน tbn-demo.comท าการตั้งค่าส่งล็อคเมลไปที่เครื่อง Log Serverไอพี 192.168.170.160 port UDP 514เข้าไปตั้งค่าโดยพิมพ์ค าสั่ง vi /etc/rsyslog.confเพ่ิม mail.* @192.168.170.160:514ใต้บรรทัด mail.* -/var/log/maillog

รูปที่ 4.1 การตั้งค่าส่งล็อกเมลไปที่เครื่อง Log Server

4.2.2 เครื่อง Log Server ด าเนินการเปิดการท างานของสคริปต์มอนิเตอร์ล็อกเมล โดย

ต้องย้าย path ไปที่ต าแหน่งที่สคริปต์ด้วยค าสั่งcd desktop/logแล้วตามด้วยค าสั่ง

py -3 syslog.py เพ่ือรับล็อกจาก Mail Server และ มอนิเตอร์การใช้งานอีเมล

รูปที่ 4.2 ค าสั่งบน cmd เพ่ือใช้งานสคริปต์มอนิเตอร์ล็อกเมลของไพทอน

31

และ ด าเนินการใช้งานสคริปต์มอนิเตอร์สแปมเมล โดยต้องย้าย path ไปที่ต าแหน่งที่สคริปต์

วางอยู่ด้วยค าสั่ง cd c:\xampp\htdocs\mail แล้วตามด้วยค าสั่งpy -3 spam.py เพ่ือ

มอนิเตอร์การใช้งานอีเมลจากฐานข้อมูล

รูปที่ 4.3 ค าสั่งบน cmd เพ่ือใช้งานสคริปต์มอนิเตอร์สแปมเมลของไพทอน

ผลการทดลองท่ี 4.2.2

จากผลการทดลองที่ 4.2.2การเปิดการใช้งานสคริปต์ไพทอนมอนิเตอร์ล็อกเมล

สามารถท างานได้

32

4.2.3 เครื่อง Window7 ทดสอบมอนิเตอร์การส่ง และ รับ อีเมล ด าเนินส่งอีเมลจาก

tbn01@tbn-demo.com ไปหาอีเมล bob@bl-demo.com

รูปที่ 4.4 หน้าเว็บเมล inbox ของ tbn01@tbn-demo.com

รูปที่ 4.5 หน้าต่างเขียนข้อความส่งอีเมล

33

รูปที่ 4.6 หน้าเว็บเมล inbox ของ bob@bl-demo.com

รูปที่ 4.7 หน้าต่างแสดงของสคริปต์มอนิเตอร์

ผลการทดลองท่ี 4.2.3

จากผลการทดลองที่ 4.2.3ระบบสามารถมอนิเตอร์ขณะมีการส่งอีเมลจาก

tbn01@tbn-demo.comไปหา bob@bl-demo.com ได,้ bob@bl-demo.com สามารถ

รับอีเมลจาก tbn01@tbn-demo.com ได้ และ สคริปต์มอนิเตอร์แสดงผลการรับ-ส่งอีเมล

ได้

4.2.4 การทดสอบมอนิเตอร์รับ-ส่งอีเมลที่มีโดเมนติดแบล็กลิสต์ จากเว็บที่ให้บริการ

ตรวจสอบแบล็กลิสต์

รูปที่ 4.8 การแจ้งเตือนเมื่อพบโดเมนเนมที่ติดแบล็กลิสต์ทางไลน์

34

รูปที่ 4.9 ผลการตรวจสอบแบล็กลิสต์กับเว็บที่ให้บริการตรวจสอบ

ผลการทดลองท่ี 4.2.4

จากผลการทดลองที่ 4.2.4 ด าเนิการส่งอีเมลจาก tbn01@tbn-demo.com ไปหา

อีเมล test@elgaginnifer.su ระบบท าการตรวจสอบโดเมนเนมพบว่าติด แบล็กลิสต์จึงท า

การส่งแจ้งเตือนไปทางไลน์ให้กับผู้ดูแลระบบได้ และเมื่อน าโดเมนเนม elgaginnifer.su ไป

ตรวจสอบเว็บ www.blacklistalert.org พบว่าโดเมนเนมติดแบล็กลิสต์อยู่

4.2.5 การทดสอบมอนิเตอร์รับ-ส่งอีเมลที่มีการส่งหรือรับอีเมลจ านวนมากภายใน 1 นาที

โดยการทดลองนี้ตั้งค่าไว้ที่ 6 ฉบับ/นาที

35

รูปที่ 4.10 การส่งอีเมลออกจ านวนมาก

รูปที่ 4.11 การแจ้งเตือนเมื่อพบมีการส่ง-รับอีเมลจ านวนมากภายใน 1 นาทีทางไลน์

ผลการทดลองท่ี 4.2.5

จากผลการทดลองที่ 4.2.5 ด าเนินการส่งอีเมลออกไปที่ rob@bl-demo.com

จ านวน 6 ฉบับภายใน 1 นาที ระบบสามารถแจ้งเตือนไปหาผู้ดูแลระบบได้ทางไลน์ได้

36

4.3 การแสดงรายงานการใช้งานอีเมลบนหน้าเว็บ

4.3.1 เปิด browser chrome พิมพ์ logmail.tbn-demo.com/mail แล้ว Login ใส่

user &password ในการทดลองนี้ใช้user = admin และ password = @dmin1234

รูปที่ 4.12 แสดงหน้า Login ของเว็บรายงาน

รูปที่ 4.13 แสดงหน้าเว็บรายงาน

37

4.3.2 รายงานการส่งอีเมลและรับอีเมลประจ าวัน ประจ าเดือน และ ประจ าปี

รูปที่ 4.14 รายงานการส่ง-รับอีเมลประจ าวัน

รูปที่ 4.15 รายงานการส่ง-รับอีเมลประจ าเดือน

รูปที่ 4.16 รายงานการส่ง-รับอีเมลประจ าปี

38

ผลการทดลองท่ี 4.3.2

จากผลการทดลองที่ 4.3.2ระบบสามารถแสดงรายงานการใช้งานอีเมลในการรับ

และส่งอีเมลประจ าวัน ประจ าเดือน และ ประจ าปี ได้

4.3.3 รายงานโดเมนเนมที่ติดแบล็คลิสต์ประจ าวัน ประจ าเดือน และ ประจ าปี

รูปที่ 4.17 รายงานแบล็กลิสต์ประจ าวัน

รูปที่ 4.18 รายงานแบล็กลิสต์ประจ าเดือน

39

รูปที่ 4.19 รายงานแบล็กลิสต์ประจ าปี ผลการทดลองท่ี 4.3.3

จากผลการทดลองที่ 4.3.2 ระบบสามารถแสดงรายงานอีเมลที่ติดแบล็กลิสต์

ประจ าวัน ประจ าเดือน และ ประจ าปี ได้

40

4.3.4 รายงานTop 5 และ Percent ของการส่งอีเมลและรับอีเมลประจ าวัน

ประจ าเดือน และ ประจ าปี

รูปที่ 4.20 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลรับ-ส่งประจ าวัน

รูปที่ 4.21 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลรับ-ส่งประจ าเดือน

41

รูปที่ 4.22 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลรับ-ส่งประจ าปี

ผลการทดลองท่ี 4.3.4

จากผลการทดลองที่ 4.3.4ระบบสามารถแสดงรายงาน Top 5 และ percent ของ

อีเมลรับ-ส่งประจ าวัน ประจ าเดือน และ ประจ าปี ได้

4.3.5 รายงาน Top 5 และ Percent ของอีเมลแบล็กลิสต์ ประจ าวัน ประจ าเดือน

และ ประจ าปี

รูปที่ 4.23 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลแบล็กลิสต์ประจ าวัน

42

รูปที่ 4.24 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลแบล็กลิสต์ประจ าเดือน

รูปที่ 4.25 รายงาน Top 5 และ percent ของอีเมลแบล็กลิสต์ประจ าปี

ผลการทดลองท่ี 4.3.5

จากผลการทดลองที่ 4.3.5ระบบสามารถแสดงรายงาน Top 5 และ percent ของ

อีเมลแบล็กลิสต์ประจ าวัน ประจ าเดือน และ ประจ าปี ได้

43

บทที่ 5 สรุปผลการด าเนินงาน

5.1 สรุปผลการด าเนินงาน

จากการทดสอบระบบสามารถตรวจสอบการใช้งานรับ–ส่งอีเมล, โดเมนเนมที่ติดแบล็คลิสต์ ได้ รวมถึงระบบสามารถออกรายงานโดยแสดงเปอร์เซ็นต์และจัดล าดับ 5 อันดับแรกของอีเมลที่รับ – ส่งและโดเมนเนมที่ติดแบล็คลิสต์เป็นรายวันรายเดือนรายปีได้ และ สามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบได้ทางไลน์หากพบอีเมลที่ผิดปกติ 5.2 ปัญหาและอุปสรรคของการด าเนินการ

5.2.1 เนื่องจากระหว่างด าเนินการพบปัญหาเรื่องการใช้งานสิทธิ์เครื่องMail Server ของบริษัทซึ่งไม่ได้สิทธิ์เป็น Rootจึงท าให้ไม่สามารถเข้าไปตั้งค่าไฟล์เพ่ือส่งล็อกเมลไปท่ีLog Server ได ้ 5.3 แนวทางในการแก้ปัญหา

5.3.1 จัดท าระบบจ าลองขึ้นเพ่ือทดสอบ โดยการสร้างMail Server ขึ้นมา 3 เครื่อง DNS Server 1 เครื่อง Log Server และฐานข้อมูล 1 เครื่อง และ เครื่องที่ใช้งานอีเมลบนหน้าเว็บเมล 1 เครื่อง 5.4 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงงานต่อไปในอนาคต

5.4.1 พัฒนาให้รายงานบนหน้าเว็บสามารถแสดงเป็นกราฟได้ 5.4.2 พัฒนาให้ระบบสามารถ Export รายงานได้

44

เอกสารอ้างอิง [1] หนังสือ TCP/IP Protocol Suite Fourth Edition Behrouz A. Forouzan McGRAW HILL INTERNATIONAL EDITION [2] หนังสือ ติดตั้งระบบเครือข่าย Linux Server ภาคปฏิบัติ พิศาล พิทยาธุรวิวัฒน์ [3] หนังสือ ระบบฐานข้อมูล ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม โอภาส เอ่ียมสิริวงศ์ [4] ภาษา Python http://marcuscode.com/lang/python [5] วิธีติดตั้ง Mail Server บน CentOS (Linux) (Postfix, Dovecot, SquirrelMail) http://www.amplysoft.com/knowledge/how-to-install-mail-server-linux-centos.html [6] MIME http://www.nextproject.net/contents/?00047 [7] ภาคผนวก ข. ข้อท่ี 2 ข. ตามประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2550 https://www.etda.or.th/files/1/files/06.pdf [8] DNS โดเมนเนม http://www.prasansoft.com/web-content-network8.php

http://emailserverhosting.maildee.com/2014/11/dns.html

[9] โดเมนเนมแบล็กลิสต์

https://joewein.net/bl-log/bl-log.htm

[10] เว็บตรวจสอบแบล็กลิสต์

http://www.blacklistalert.org/

ภาคผนวก ก การติดตั้งโปรแกรม

ก-1

ก.1 การติดตั้ง python 1) เข้าเว็บ https://www.python.org/downloads/release/python-365/เพ่ือโหลด

โปรแกรมpython ver. 3.6.5 Windows x86-64 executable Installer

รูปที่ ก.1 หน้าเว็บเพ่ือดาวน์โหลดโปรแกรม Python 3.6.5

2) รอโปรแกรมก าลังด าเนินการติดตั้ง

รูปที่ ก.2 โปรแกรม Python 3.6.5 ก าลังติดตั้ง

ก-2

3) กด Close เมื่อโปรแกรมติดตั้งเสร็จ

รูปที่ ก.3 โปรแกรม Python 3.6.5ติดตั้งเสร็จ

4) ติดตั้ง Packages mysqlclient ของ Python เพ่ิมเพ่ือให้สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล

โดยเปิดหน้า CMD พิมพ์ค าสั่ง py -3 -m pip install --only-binary :all: mysqlclient

รูปที่ ก.4 การติดตั้ง Packages mysqlclient ของ Python 3.6.5

ก-3

5) ติดตั้ง Packages request ของ Python เพ่ิมเพ่ือให้สามารถแจ้งเตือนไปท่ีไลน์ โดยเปิด

หน้า CMD พิมพ์ค าสั่ง py -3 -m pip install request

รูปที่ ก.5 การติดตั้ง Packages request ของ Python 3.6.5

ก.2 การติดตั้งโปรแกรม Xampp 1) เข้าเว็บ https://www.apachefriends.org/index.htmlเพ่ือโหลดโปรแกรม XAMPP

รูปที่ ก.6 หน้าเว็บเพ่ือดาวน์โหลดโปรแกรมXAMPP

ก-4

2) ดับเบ้ิลคลิกเพ่ือติดต้ังโปรแกรมกด Next

รูปที่ ก.7 รูปขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมXAMPP 3) ด าเนินการกด Next ต่อไป

รูปที่ ก.8 รูปขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมXAMPP

ก-5

4) เลือก Path ที่ติดตั้ง ด าเนินการกด Next ต่อไป

รูปที่ ก.9 รูปขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมXAMPP 5) กด Next เพ่ือติดตั้ง

รูปที่ ก.10 รูปขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรมXAMPP

ก-6

6) รอโปรแกรมก าลังด าเนินการติดตั้ง

รูปที่ ก.11 โปรแกรม XAMPP ก าลังติดตั้ง 7) กด Finish เมื่อโปรแกรมติดตั้งเสร็จ

รูปที่ ก.12 โปรแกรม XAMPP ติดตั้งเสร็จ

ก-7

8) ด าเนินการเปิด XAMPP Control เพ่ือ Start apache และ MySQL

รูปที่ ก.13 เปิดการใช้งาน apache และ MySQL

ก-8

ก.3 การออก Token Line Notify 1) เข้า https://notify-bot.line.me/my/ แล้ว Login ด้วย user line 2) สร้างกลุ่มไลน์เพ่ือรับการแจ้งเตือน

รูปที่ ก.14 สร้างกลุ่มไลน์ 3) เลือกออก Token

รูปที่ ก.15 การออก Token Line Notify 4) ตั้งชื่อ Token Line Notify และเลือกกลุ่มท่ีจะส่งแจ้งเตือน

รูปที่ ก.16 การตั้งชื่อและเลือกกลุ่มไลน์ในการแจ้งเตือน

ก-9

5) คัดลอก Token เก็บไว้เพ่ือเอาไปใส่ใน Code ต่อไป

รูปที่ ก.17 Token ของ Line Notify ที่ได้ 6) น า Token ที่ได้ไปใส่ใน Code

รูปที่ ก.18 ฟังก์ชั่นของไลน์แจ้งเตือนและการน า Token ใส่ใน Code

ภาคผนวก ข

ข้อดี ข้อเสีย ของโปรแกรมที่มีให้ใช้ฟรี กับ ระบบทีจั่ดท า และ การใช้งาน NTP Sync Time

ข-1

ข.1 ข้อดี ข้อเสีย ระหว่างโปรแกรม Mail Access Monitor for Postfix free version กับ

ระบบท่ีจัดท า

Mail Access Monitor for Postfix free version

ข้อดี

1) สามารถตรวจสอบการรับ-ส่งอีเมล ได้

2) สามารถแสดงข้อมูลจ านวน , percent อีเมลส่ง อีเมลรับ ทั้งภายในและภายนอก

ได้

3) สามารถแสดงเป็น chat ได ้

4) ส่งรายงานทางอีเมลได้

5) สามารถสร้าง task schedule ได ้

6) สามารถบันทึกรายงานเป็นไฟล์ text ได้

ข้อเสีย

1) ไม่สามารถตรวจสอบ blacklist และ spam ได้

2) ไม่สามารถแจ้งเตือนไปทางไลน์ได้

3) ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลได้

4) ไม่สามารถแสดงรายงานบนหน้าเว็บได้

5) ไม่สามารถรับล็อกเมลจาก mail server ได้ตรงๆ

ข-2

ระบบท่ีจัดท า

ข้อดี

1) สามารถมอนิเตอร์รับ-ส่งอีเมล ได้

2) สามารถแสดงข้อมูลจ านวน , percent อีเมลส่ง อีเมลรับ , blacklist ทั้งภายใน

และภายนอกได้

3) สามารถตรวจสอบ blacklist และ spam ได้

4) สามารถจัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูลได้

5) สามารถแสดงรายงานบนหน้าเว็บได้

6) สามารถรับล็อกเมลจาก mail server ได้ตรงๆ

7) สามารถแจ้งเตือนไปทางไลน์ได้

ข้อเสีย

1) ไม่สามารถแสดงเป็น chat ได้

2) ไม่สามารถแจ้งเตือนทางอีเมลได้

3) ไม่สามารถบันทึกรายงานเป็นไฟล์ text ได้

4) ไม่สามารถสร้าง task schedule ได้

ข-3

ข.2 ติดตั้ง NTP เพื่อ Sync Time ให้กับ Server

1) เครื่อง DNS Server ด าเนินการติดตั้งโปรแกรม Nettime เพ่ือ Sync Time ด้วย

NTP

รูปที่ ข.1 รูปโปรแกรม Nettime Sync NTP DNS Server 2) เครื่อง Log Server ด าเนินการติดตั้งโปรแกรม Nettime เพ่ือ Sync Time ด้วย

NTP

รูปที่ ข.2 รูปโปรแกรม Nettime Sync NTP Log Server

ข-4

3) เครื่อง Mail Server tbn-demo.com IP 192.168.170.123 ด าเนินการเปิดใช้งาน

NTP เพ่ือ Sync Time ด้วย NTP

รูปที่ ข.3 เปิดใช้งาน NTP ของ Mail Server tbn-demo.com

4) เครื่อง Mail Server rmail-demo.com IP 192.168.170.124 ด าเนินการเปิดใช้

งาน NTP เพ่ือ Sync Time ด้วย NTP

รูปที่ ข.4 เปิดใช้งาน NTP ของ Mail Server rmail-demo.com

ข-5

5) เครื่อง Mail Server bl-demo.com IP 192.168.170.125 ด าเนินการเปิดใช้งาน

NTP เพ่ือ Sync Time ด้วย NTP

รูปที่ ข.5 เปิดใช้งาน NTP ของ Mail Server bl-demo.com

top related