Top Banner
www.thaiyogainstitute.com ฉบับเดือน พฤษภาคม 2552 0905 1 คุยกันกอน 2 ปฏิทินกิจกรรม 2 โยคะวิวาทะ 3 เรื่องประจําฉบับ 5 ชีวิตกับความตาย 5 เลงเลาเรื่อง 7 จิตสิกขา 9 เกร็ดความรูโยคะ 10 แนะนําหนังสือใหม 13 ตําราโยคะดั้งเดิม 14 จดหมายขาว โยคะสารัตถะ วิถีชีวิตเพื่อสุขภาวะ จดหมายขาว ถีชีวิต เพื่อสุขภาวะ ที่ปรึกษา แกว วิฑูรยเธียร ธีรเดช อุทัยวิทยรัตน นพ.ยงยุทธ วงศภิรมยศานตินพ.สมศักดิชุณหรัศมิกองบรรณาธิการ กวี คงภักดีพงษ กุลธิดา แซตั้ง จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี ณภัทร วัฒนะวงศี ณัตฐิยา ปยมหันต ณัฏฐวรดี ศิริกุลภัทรศรี ธัญยธรณ อรัณยชลาลัย พรจันทร จันทนไพรวัน วรรณวิภา มาลัยนวล วีระพงษ ไกรวิทย ศันสนีย นิรามิษ อมรรัตน อัศวนนทวิวัฒน : ภาพปก รัฐธนันท พิริยะกุลชัย สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบาน 201 ซอยรามคําแหง 36/1 บางกะป กทม.10240 โทรศัพท 02 732 2016-7, 081 407 7744 โทรสาร 02 732 2811 อีเมล [email protected] เว็บไซท www.thaiyogainstitute.com สิ่งตีพิมพ
16

Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

Apr 04, 2015

Download

Documents

Tang Thai

โยคะสารัตถะ เดือน พฤษภาคม 2552
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

www.thaiyogainstitute.com ฉบับเดือน พฤษภาคม 2552

0905 1

คุยกันกอน 2 ปฏิทินกิจกรรม 2 โยคะวิวาทะ 3 เร่ืองประจําฉบับ 5 ชีวิตกับความตาย 5 เลงเลาเรื่อง 7 จิตสิกขา 9 เกร็ดความรูโยคะ 10 แนะนําหนังสือใหม 13 ตําราโยคะดั้งเดิม 14

จดหมายขาว โยคะสารัตถะ วิถีชีวิตเพ่ือสุขภาวะ

จดหมายขาว วิถีชีวติ เพือ่สุขภาวะ

ท่ีปรึกษา แกว วิฑูรยเธียร ธีรเดช อุทัยวิทยรัตน นพ.ยงยุทธ วงศภิรมยศานติ์ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กองบรรณาธิการ กวี คงภักดีพงษ กุลธิดา แซตั้ง จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี ณภัทร วัฒนะวงศี ณัตฐิยา ปยมหันต ณัฏฐวรดี ศิริกุลภัทรศรี ธัญยธรณ อรัณยชลาลัย พรจันทร จันทนไพรวัน วรรณวิภา มาลัยนวล วีระพงษ ไกรวิทย ศันสนีย นิรามิษ อมรรัตน อัศวนนทวิวัฒน : ภาพปก รัฐธนันท พิริยะกุลชัย

สถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบาน 201 ซอยรามคําแหง 36/1 บางกะป กทม.10240 โทรศัพท 02 732 2016-7, 081 407 7744 โทรสาร 02 732 2811 อีเมล [email protected] เว็บไซท www.thaiyogainstitute.com

สิ่งตีพิมพ

Page 2: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

สวัสดีครับ ขณะเขียนตนฉบับนี้ สายฝนกระหน่ําลงมาอยางชุมฉํ่า สับสนเหมือนกันวา ตกลงภาคกลางของประเทศไทยมีกี่ฤดู ฤดูรอนมันหมดเดือนไหน แลวฤดูฝนมันเริ่มเดือนไหน?

สถาบันฯ ทําการปรับปรุงเวบไซท เรานํา สารัตถะ ขึ้นเวบ ใหดาวนโหลดไปอานกันไดเลย พวกเราที่เปนสมาชิกรับจุลสารนี้ทางไปรษณีย หากมีโอกาสลองแวะเขาไปดูบางนะครับ ใครที่ตั้งใจจะหัดใชอินเตรเนท ลุยเลยครับ ไมตองอิดเอื้อน ใหลูกเราสอนนี่แหละ สะดวกสุด เทคโนโลยีเหลานี้ เปนเคร่ืองมือชวยการทํางานเผยแพรโยคะของเราไดเปนอยางดี นี่อีกไมนาน ขอมูลขาวสารมันจะไปอยูบนโทรศพทมือถือกันหมดแลวนะ บางคนยังใชพีซีไมคลองเลย ☺

เมื่อ 2 วันกอน ทางหมอชาวบาน องคกรตนสังกัดเรา เปรยขึ้นมาวา สถาบันฯ ก็ดําเนินกิจกรรมตางๆ พอสมควรนะ ทํากันทุกภมูิภาคเลย แตคนไมคอยรูขาวคราว ความเคลื่อนไหว เทาไร ชวนวาใหเราเขียนเปนขาว เลาเรื่อง เพ่ือไปลงนิตยสารหมอชาวบาน กําลังนัดจะไปคุยรายละเอียด แลวจะรีบมาแจงพวกเรา เหลาเครือขายโยคะทั้งหลาย ผมวาดีนะ ถาสังคมรับรูความเปนไปของโยคะเชิงวิชาการที่พวกเรากําลังทํากัน ก็จะมีความเขาใจในแกนของโยคะมากขึ้น และ ที่สําคัญ เราจะไดมีแนวรวมผูสนใจในการพัฒนาจิตมากขึ้นดวยไง

กลับมาอีกครั้งตามคําเรียกรอง สําหรับผูที่สนใจในโยคะ และ / หรือ ธรรมะ คอรส “โยคะธรรมะหรรษา ครั้งพิเศษ” ทามกลางบรรยากาศสบาย ๆ และสนุกสนานเปนกันเอง ในแบบวิถีธรรมชาติ โดยทีมวิทยากรโยคะจากสถาบันโยคะวิชาการ นําทีมโดย ครูกิ๊ม บรรยายและนําปฎิบัติธรรมโดย พระอาจารยเอนก เตชะวโร จากวัดโมกขวนาราม จ.ขอนแกน พระอาจารยวิทยากรในแนวทางหลวงพอเทียน

ในวันเสารที่ 30 พฤษภาคม 2552 ณ สถาบันกัลยาราชนครินทร พุทธมณฑลสายส่ี จ. นครปฐม โทรไปถามรายละเอียดกันไดเลยที่ ครูกิ๊ม 089-512-8997 [email protected] หรือ ครูโจ 081-420-4111 [email protected]

สถาบันโยคะวิชาการ รวมกับ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จัดอบรม หลักสูตรครูโยคะระยะยาว 230 ชม. รุนที่ 9 ประจําป 2552 โดยครูฮิโรชิ - ฮิเดโกะ ไอคาตะ และทีมครูของสถาบันฯ ตั้งแตวันที่ 17 กรกฎาคม – 8 พฤศจิกายน 2552 อบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เรียนสัปดาหละ 4วัน เย็นวันจันทร

พุธ พฤหัส เวลา 17.30 – 20.00 น. และวันเสาร เวลา 7.30 – 13.00 น. คาลงทะเบียน 27,000 บาท รับ 30 คน สอบถามหรือ

สํารองที่นั่งที่ สถาบันโยคะวิชาการ โทร.02 732-2016-7 ในวันและเวลาราชการ หรือที่ [email protected]

เปดอบรม ปราณยมะ เทคนิคการหายใจแบบโยคะ โดยครูกวี วันจันทรที่ 25 พ.ค. 1 มิ.ย., และ วันอังคารที่ 9, 16, 23, 30 มิ.ย. เวลา 18.00 – 20.00 น. คาลงทะเบียน

1,200 บาท รับจํานวนจํากัดเพียง 10 คน สนใจติดตอสอบถามหรือสํารองที่นั่งที่ สถาบันโยคะวิชาการ โทร.02 732 - 2016-7 ในวันและเวลาราชการ หรือท่ี [email protected]

วิชา จิตสิกขา ป 2552 ครั้งถัดไป จัดวันเสารที่ 20 มิถุนายน 2552 สถาบันโยคะวิชาการ ขอเชิญครูโยคะ รวมทั้งบุคคลทั่วไป ผูสนใจการพัฒนาจิตตามแนวทางพุทธศาสนา รวมศึกษา

วิชา จิตสิกขา ที่จะจัดตอเนื่องไปตลอดป 2552 ทุกวันเสารที่ 3 ของเดือน เวลา 7.30 – 12.30 น. ณ หอง 262 คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สอบถามเพ่ิมเติมท่ี สถาบันโยคะวิชาการ 02 732 - 2016-7

0905 2

Page 3: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน

วิวาทะวาดวย “สูรยนมัสการ”

วิวาทะในภาษาสันสกฤตมาจากคําวา วิ ซ่ึงมาจากคําวา “วิเศษ” แปลวา “เฉพาะ พิเศษ” รวมกับคําวา วาทะ ซ่ึงแปลวา “คําพูด ถอยคํา (การแสดง)ความคิดเห็น”

คอลัมน “โยคะ-วิวาทะ” จึงเปนเชนเวทีสาธารณะใหผูอานโยคะสารัตถะรวมทั้งผูที่เขาชมเว็บไซตของสถาบันโยคะวิชาการทุกทาน ไดบอกเลาหรือแลกเปลีย่นแงคิดมุมมอง ความเห็น และประสบการณเกี่ยวกับ(การฝก)โยคะในทุกๆ มิติ อีกทั้งยังมุงหมายใหเปนพื้นทีใ่นการปุจฉาวิสัชนาประเด็นตางๆ เกี่ยวกับโยคะดวย

กองบรรณาธิการโยคะสารัตถะและสถาบันโยคะวิชาการขอเชิญชวนทุกทานเขียนมาบอกเลาแลกเปลีย่นมุมมองและประสบการณเกี่ยวกับโยคะ หรือหากมีขอสงสัยใดๆ ก็สามารถถามไถได เพื่อใหเพื่อนพองนองพี่ในแวดวงโยคะไดรวมกันวิสัชนาในปุจฉาที่ทานถามไถไป

การ “วิวาทะ” และ “ปุจฉา-วิสัชนา” ในวงกวางนาจะมีสวนชวยขยายมุมมองและความรับรูที่มีตอโยคะใหลึกซึ้งและรอบดานข้ึน คงไมผิดนัก หากจะบอกวา “โยคะ-วิวาทะ” คือคอลัมนใหผูที่สนใจในโยคะผลัดกันเขียนเวียนกันอาน เพื่อให “สายธารแหงโยคะ” ไหล

เลื่อนเคลื่อนไปอยางถวนทั่วและสืบเน่ือง

“มีครูโยคะทานหนึ่งบอกวาสูรยนมัสการไมใชอาสนะ คุณหมอคิดวาอยางไรครับ” เย็นย่ําวันหนึ่งของเมื่อหกปกอน กัลยาณมิตรรุนพ่ีที่สนิทกับผม ซึ่งชวนเพ่ือนพองนองพ่ีกลุมเล็กๆ มาแลกเปล่ียนเรื่อง

การฝกอาสนะกันมาระยะหนึ่งแลว ถามคําถามนี้หลังจากเสร็จส้ินการฝกอาสนะในวันนั้น พลันที่ฟงคําถามจบ ผมคิดออกามาดังๆ ตั้งแตฝกอาสนะมาผมไมเคยนึกสงสัยวาสูรยนมัสการเปนอาสนะหรือไม หลังจากครุนคิดอยูครูหนึ่ง ผมตอบคําถามดวยการยอนถามวา มันขึ้นอยูกับวาเราใหคําจํากัดความของอาสนะวาอะไร

และเพราะเหตุใดครูทานนั้นจึงมองวาสูรยนมัสการไมใชอาสนะ แกบอกวาครูใหเหตุผลวาสูรยนมัสการไมใชอาสนะ เพราะอาสนะจะตองนิ่ง ในขณะที่สูรยนมัสการจะมีการเคลื่อนไหว

อยูตลอด ผมก็เลยบอกวา ถาคิดวาอาสนะจะตองเปนการหยุดนิ่งอยูในทวงทา สูรยนมัสการก็ยอมไมใชอาสนะอยางที่ครูวา จากนั้นผมจึงแลกเปล่ียนมุมมองของตัวเองวา เวลาเราคางอยูในอาสนะ อาจดูเหมือนวา เราหยุดนิ่งอยูในทวงทานั้นๆ

ทวาหากสํารวจใหลึกลงไป ผมคิดวายังคงมีการเคลื่อนไหวอยูนั่นเอง อยางนอยๆ ก็ยังมีการหายใจเขา-ออก ซึ่งหมายถึงวาโครงสรางรางกายสวนที่เกี่ยวของกับการหายใจตองขยับเขยื้อน

ไปตามจังหวะการหายใจ ไมนับการคอยๆ เหยียดยืดรางกายมากขึ้นในการหายใจรอบตอไป เพ่ือท่ีจะเขาถึงทวงทาใหลึกซึ้งขึ้น อยาวาแตจะกอเกิดเปนอาสนะหนึ่งได ใชหรือไมวาเราตองเคล่ือนไหวรางกายสวนตางๆ ที่จะทําใหไปสูอาสนะนั้นได

เชน จะทําอุตตานาสนะ1 เราจะตองเริ่มจากการยืนตรง ยกแขนขึ้น จากนั้นจึงเหยียดยืดรางกายดานหลังโดยการกมไปขางหนา กระทั่งหลังจากคางอยูในทากมตัวนานเทาที่ตั้งใจแลว ก็ตองยืดตัวขึ้นกลับสูทายืนตรงอีกครั้ง สําหรับผม อาสนะจึงไมใชการหยุดนิ่งอยางสมบูรณ หรือไรการเคลื่อนไหวโดยสิ้นเชิง พูดใหถึงที่สุด ตราบใดที่ชีวิตยัง

ดํารงอยูหรือสืบเนื่องตอไป ตราบนั้นยงัคงมีการเคลื่อนไหว ไมวาจะในการฝกอาสนะหรือในกิจกรรมตางๆ ในชีวิต บางการคลื่อนไหวเปนการเคลื่อนไหวของโครงสรางภายนอกที่มองเห็นหรือรูสึกไดชัดเจน ในขณะที่บางการ

เคล่ือนไหวก็เปนการเคลื่อนไหวภายในที่ละเอียด อยางเชนในการฝกอาสนะ คงไมมีใครปฏิเสธวา มาจากการขบัเคล่ือนของจิตใจที่ตองการจะทําอาสนะ จากนั้นรางกาย

จึงเคล่ือนไหวตามเจตจํานง พรอมๆ ไปกับการหายใจที่สอดคลองกับทิศทางการเหยียดยืดสอาสนะนั้นๆ เมื่อถึงอาสนะปลายทาง เราจึงนิ่งคางอยูในทวงทานั้น กอนจะเคล่ือนไหวกลับสูทาเริ่มตนอีกครั้ง

1

อุตตานาสนะ มาจาก อุต แปลวาเต็มที่ ตานะ แปลวา เหยยีดยืด และอาสนะ แปลวา ทวงทา อุตตานาสนะจึงหมายถึงทวงทาท่ีรางกายเหยยีดยืดอยางเต็มที ่แตในการฝกอาสนะ อุตตานาสนะจะใชเรียกทายืนกมตัว นอกจากนี้คําวาอุตตานาสนะยังสามารถนําไปตอทายคําอื่นๆ เพือ่แสดงนัยถึงการเหยียดยืดรางกายอยางเตม็ที่ เชน ปารศวอุตตานาสนะ ใชเรยีกทายืนกมตัวท่ีเหยียดยืดรางกายทีละขาง เปนตน

0905 3

Page 4: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

0905 4

พูดอีกอยาง ผมคิดวาอาสนะหาใชทวงทาสุดทายของอาสนะนั้นๆ หากเปนกระบวนการหรือการกระทําแหงการเคล่ือนไหวที่ตอเนื่อง โดยมีการประสานสัมพันธกันของรางกายทั้งภายในภายนอก ลมหายใจ และจิตใจ

หัวใจของการฝกอาสนะจึงอยูที่การเคลื่อนไหวไปสู ดํารงอยู และออกจากอาสนะ โดยใหรางกาย ลมหายใจและจิตใจประสานกลมกลืนกัน

หรือจะบอกวาทําใหเสนใยแหงรางกาย ลมหายใจ และจิตใจ ควั่นกันเปนเสนดายที่ราบเรียบไปตลอดเสนสายของอาสนะก็คงไมผิดนัก

ขอกลับมาที่ประเด็นที่ผมมองวา อาสนะคือกระบวนการของการเคลื่อนไหวที่ตอเนื่องอีกที เวลาที่เรานิ่งคางอยูในอาสนะ อาจกลาวไดวาในระหวางการเคลื่อนไหวที่ตอเนื่องนั้น รางกายอาจรั้งอยูในบางตําแหนงแหงที่ – นานกวาการเขาสูและออกจากทวงทา จนดูราวกับวาหยุดนิ่งไมเคล่ือนไหว

ทวาที่จริงแลวยังคงมีการเคลื่อนไหวอันละเอียดดําเนินอยูภายใน หรือจะบอกวาในความนิ่งมีความเคลื่อนไหวก็คงไมผิดนัก

ในทํานองเดียวกัน ระหวางที่เราเคลื่อนไหวไปสูและออกจากอาสนะ หรือฝกอาสนะในลักษณะของการเคลื่อนไหวที่ตอเนื่อง เชน หายใจเขา(หรือออก)พรอมกับเคล่ือนไหวไปสูอาสนะ จากนั้นหายใจออก(หรือเขา)พรอมกับออกจากอาสนะนั้นกลับสูทวงทาเริ่มตน โดยไมคางอยูในอาสนะนั้น หรือเคล่ือนไหวจากอาสนะหนึ่งไปสูอีกอาสนะหนึ่งอยางตอเนื่อง หากการเคล่ือนไหว ลมหายใจและจิตใจหลอมรวมหรือประสานกันอยางกลมกลืน ก็อาจเรียกไดวาในความเคลื่อนไหวมีความมั่นคง หรือความนิ่ง – ในแงที่รางกาย ลมหายใจ และจิตใจยังคงเกาะเกี่ยวกันอยูอยางแนบสนิท

ดวยมุมมองอยางที่กลาวมา ผมจึงคิดวาการทําสูรยนมัสการก็เปนเฉกเชนเดียวกับการทําอาสนะ นั่นคือสูรยนมัสการก็คือกระบวนการหรือการกระทําแหงการเคลื่อนไหวอยางตอเนื่อง ที่ถูกจุดประกายจากเจตจํานง และมีการประสานสัมพันธกับโครงสรางทั้งภายนอกภายในและลมหายใจ

เพียงแตวาในสูรยนมัสการ เราไมรั้งอยูในอาสนะใดอาสนะหนึ่งเทานั้น หรือพูดอีกอยางวาในสูรยนมัสการ เราอาจตองคนหาและเขาถึงความสงบนิ่งภายในทามกลางการเคลื่อนไหวของรางกายภายนอก

ในขณะที่เวลาคางอยูในอาสนะใดอาสนะหนึ่ง เราอาจคนพบและเขาถึงการเคลื่อนไหวภายในอันประณีต แตพูดก็พูดเถอะ ผมไมเคยนึกสงสัยวาสูรยนมัสการเปนอาสนะหรือไม แมจะถูกถามไถดวยคําถามเดียวกันนี้อีก

มากกวาหนึ่งครั้ง ผมก็ยังคงไมติดใจในประเด็นนี้อยูนั่นเอง ตอนที่ถูกถามเรื่องนี้ในคราวหลังๆ ผมกลับอดกังขาไมไดวา คําตอบสําหรับคําถามวาสูรยนมัสการเปนอาสนะหรือไม

มันนําเราไปสูอะไรกระนั้นหรือ ใชหรือไมวา ตอใหเราอยากรูวาสูรยนมัสการเปนอาสนะหรือไม และรูวามันเปนอาสนะหรือไม ไมวาจะจากมุมมองใด

หรือจากคําจํากดัความของอาสนะแบบไหน ถึงที่สุดแลว เราควรฝกสูรยนมัสการโดยใหมีการประสานกันอยางกลมกลืนระหวางรางกาย ลมหายใจ และจิตใจ ซึ่งคือความหมายของโยคะอยางหนึ่ง

ซึ่งเปนทิศทางอยางเดียวกับการฝกอาสนะที่ผูฝกพึงมุงไปนั่นเอง หมายเหตุ : ผมเขียนโยคะวิวาทะฉบับนี้เสร็จ ระหวางอยูบนเครื่องบินที่มุงสูเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต หากไมนับชวงที่เครื่องบินแลนอยางเอื่อยเฉื่อยบนรันเวย จนกระทั่งเรงความเร็วถึงขีดสุดเพ่ือทะยานขึ้นเหินฟา เกือบตลอดเสนทางที่เครื่องบินลําที่ผมโดยสาร บินไปในนานฟาอยางราบเรียบประหนึ่งเสนไหม (smooth as silk) สมดังคําขวัญของสายการบินสายนี้

พูดตามจริง หากไมมองผานชองหนาตางออกไปขางนอกและเห็นมานเมฆบางเบาที่ลอยผาน ผมแทบรูสึกวาเครื่องบินลอยนิ่งอยูในอากาศดวยซ้ํา ทั้งที่เครื่องบินบินดวยความเร็ว(ภาคพื้นดิน)มากกวา ๙๐๐ กิโลเมตรตอชั่วโมง ณ ระดับความสูงราวสามหมื่นฟุต

ภายในเครื่องบินมีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นตลอดเวลา ภาพยนตรที่ฉายอยูบนจอ ผูโดยสารพูดคุยกัน บางคนก็ลุกเดินไปเขาหองน้ํา แอรโฮสเตสเดินบริการอาหารและเครื่องดื่ม ฯลฯ ทวาเครื่องบินทั้งลํากลับเสมือนหนึ่งลอยนิ่งอยูกลางเวิ้งฟาที่เปล่ียนแปลงไป สีสมสวางเรืองรองคอยๆ เปล่ียนเปนสีมวง น้ําเงิน จนกระทั่งความมืดมิดเขาคลี่คลุมบรรยากาศ

Page 5: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

ไดมองเห็นและซึมซับอยูกับฉากของธรรมชาติและปรากฏการณรอบตัว ทําใหผมนึกเปรียบเทียบกับเรื่องของอาสนะและสูรยนมัสการที่ตัวเองครุนคิดและเขียนออกมา

เครื่องบินบินอยางราบเรียบจนรูสึกราวกับวามันลอยนิ่ง ทั้งที่มันยังคงเคล่ือนไปดวยความเร็วสูง ไมนับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในตัวเครื่องตลอดเวลา ดูแลวไมตางกับการทําอาสนะที่เราพึงเขาถึงความสงบนิ่งในทามกลางการเคลื่อนไหว

นึกไมถึงวาเดินทางไปดูไบเปนครั้งแรก ผมไดเห็นเคร่ืองบินทําวิมานาสนะกับตาและหัวใจ

โยคะทาไหน จะ ... ?

John Kimbrough เขียน ธํารงดุล แปล แปล และเรียบเรียงจาก Yoga and Total Health Vol.LIV No.4 November2008

เมื่อ 2-3 ปกอน ผมไดรับเชิญมาออกรายการโทรทัศนที่กรุงเทพฯ เพ่ือสนทนาเกี่ยวกับโยคะ ซึ่งออกอากาศเปนเวลา 30 นาที ชวงหลังอาหารกลางวัน สําหรับผูชมที่มีเวลาอยูบานชวงนั้น ซึ่งเปนประสบการณที่สนุกและนาสนใจ พิธีกรรายการเปนสาวไทยหนาตานารักอายุราวสามสิบตนๆ ซึ่งเคยเปนดาราภาพยนตรมากอน เมื่อเราถกกันถึงเรื่องโยคะ กอนหนาที่จะบันทึกเทปรายการ เธอถามผมเกี่ยวกับโยคะวา “โยคะทาไหนที่จะทําใหคงความสวยไวไดคะ ?“ จากการอาศัยอยูในประเทศไทย และความเขาใจในอาชีพของเธอ ทําใหผมไมแปลกใจเลยที่เธอถามผมแบบนั้น แตนาเสียดายที่คําตอบของผมไมไดทําใหเธอพอใจสักเทาไร ผมบอกเธอวาสิ่งที่เธอตองการไมสามารถเกิดขึ้นไดจากโยคะเพียงทาเดียว หลังจากนั้นเธอดูจะหมดความสนใจตอผมและโยคะไปเลย ผมมักจะถูกถามดวยคําถามเดียวกันในประเด็นเรื่องความงามทั้งจากคนไทยและคนจีนในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต คําถามประเภทนี้บงบอกถึงความยึดติดที่แตกตางกันไปของแตละคน แสดงใหเห็นวาคนเราใหความสําคัญกับส่ิงใดในชีวิต ซึ่งเปนเหมือนกันทั้งที่นี่และประเทศในแถบตะวันตก หลายครั้งแตละคนตองการรูวามีทาหรือเทคนิคใดที่เฉพาะเจาะจงที่จะแกปญหาที่มีหรือใหเกิดผลอยางที่ตองการ ความจริงแลวในโรงเรียนหฐโยคะรุนใหมมีการปราศรัยถึงประเด็นเหลานี้ลึกลงไปในรายละเอียด โดยมุงเนนในแงของรางกาย และจิตใจ แตโยคะเปนศาสตรแบบองครวมทั้งในแงของวิทยาศาสตรและการปฏิบัติ ซึ่งลึกซึ้งกวาจะพูดถึงเพียงแงของผลที่ตรงกับความตองการ โดยเฉพาะอยางยิ่งถาเรื่องนั้นดูเหมือนกับวาจะปราศจากประโยชน เราเริ่มลองดูถึงการปฏิบัติโยคะ ที่ไมใชเพียงแคทําทาไหนแลวจะทําใหเกิดผลอยางนี้ หรืออยางนั้น แตเราสนใจวาเราไดเรียนรูและทําอะไรบางในวันนี้ที่จะเติมเต็มชีวิตใหกับเราหรือผูอื่นแทน ซึ่งมีแนวทางที่หลากหลายที่เราสามารถที่จะทําได ทางหนึ่ง คือการแบงปนส่ิงที่เราไดเรียนรูจากการฝกฝนโยคะของเรา อีกทางหนึ่งมาจากการชี้แนะถึงที่มาและตนทุนภายในของแตละคนที่จะชวยใหเขาสามารถคนหาและสรางแนวทางการฝกฝนเฉพาะตัว สวนอีกทางหนึ่งมาจากความชวยเหลือจากพวกเราที่จะรับฟง ใหคําแนะนํา และเสริมสรางกําลังใจ มีหลายทางที่เราสามาถทําไดในชีวิตประจําวันที่จะรัก และอยูรวมกับผูอื่น อยางผาสุก แลวโยคะทาไหนที่ดีที่สุดสําหรับเรา การไดรับในส่ิงที่เราตองการ? อะไรคือส่ิงที่เราตองการละ? ความสมดุล ความผสานกลมกลืน และสันติภาพ? การมองเห็นจากภายใน การเจริญเติบโต และ ความเขาใจ? ความผอนคลาย ความมั่นคง และ ความสงบเยือกเย็น? ความไมเปล่ียนแปลง พลังงาน และ ความจดจอ? จิตใจที่เต็มเปยม และความสุข? เหลานี้คือส่ิงที่เราควรจะไดรับทั้งหมด

ดล เกตนวิมุต บทที่ 6

“เขาใจความเปนจริงของชีวิตจากความตาย”

ในการลงพ้ืนที่ฝกงานดูแลผูปวยทางดานจิตใจ ไดมีโอกาสพบกรณีศึกษาของครอบครัวหนึ่งที่มีลูกปวยอยูในระยะสุดทายในหอง ICU คุณพอมีตองการการตอบสนองของลูกวัย 12 ที่อยูหอง ICU ที่ไดมีโอกาสเขาไปเยี่ยมลูกตามที่ไดรับ

0905 5

Page 6: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

0905 6

อนุญาต ดวยความเปนหวงในอาการของลูกที่เปราะบาง ออนเพลีย คุณพอมักจะถามลูกวาสูไหม สูไหมลูก ถาสูยักคิ้วใหพอหนอย เมื่อเราเห็นวาควรทําหนาที่เปนกระจกสะทอนใหคุณพอเห็นวาความเปนจริงที่เกิดขึ้นวา นองนาจะเหน่ือย ลืมตายังไมขึ้นเลย จึงไดชวนคุณพอคิดถึงคําถามที่ตองการคําตอบจากนอง อาจไปเพิ่มภาระ หรือรบกวนเวลาพักของนองหรือเปลา ดังนั้นเราอาจเปลี่ยนคําถามเปนการใหกําลังใจซ่ึงกันและกันแทนวา สูนะลูก พอสูอยูขาง ๆ กับลูกนะ เปนความหมายเดียวกัน ตางกันที่เปนประโยคคําถามแลวตองการคําตอบ กับเปนประโยคบอกเลาใหกําลังใจผูปวย และใหกําลังผูพูดใหเขมแข็งไปดวย คุณพอ คุณแมรูสึกขอบคุณมาก ในฐานะที่เราไปชวยเปนกระจกสะทอนใหเห็นวา กรณีนี้ ผูดูแลและผูปวยใกลกันมากจนเกินไป ตองการการตอบสนองในเวลาที่อาจรบกวนการพักผอนของผูปวย สุดทายหลังจากนั้นไมกี่วัน นองไดผานชวงเวลาอันสําคัญที่สุดของชีวิตอยางงดงามเทาที่เด็กอายุ 12 คนหนึ่งจะมีได สัญญาณชีพของนองดับลงในทันทีที่เสียงสวดมนตสุดทายโดยพระคุณเจาที่ทานดูแลนองมาแตตนจบลง ทําใหพ้ืนที่ของความเสียใจอยางใหญหลวงไมไดครอบคลุมหัวใจที่แตกสลายไปทั้งหมดแตยังมีพ้ืนที่พิเศษที่เปนมรณกรรมอันงดงามของลูกใหไดเห็นตอหนาตอตาเก็บไวเปนความทรงจําที่ดีตอพอแมทั้งตอนที่วินาทีแรกที่แกลืมตาดูโลก และวินาสุดทายที่แกปดเปลือกตาลง

ในตอนเชาถัดจากวันที่นองจากพวกเราไป ขาพเจาไดมีโอกาสไปชวยรับศพนองกับพระคุณเจาเพราะทานมีความประสงคจะนําศพนองกลับบานที่จังหวัดตราดตามที่คุณพอคุณแมไดนิมนตทานใหชวย เมื่อไปถึงที่รับศพ เห็นสภาพศพนองสวยงาม ใบหนาดูสงบ ในชวงตอนรับศพผานพิธีกรรมจุดธูปบูชาพระรัตนตรัย นิมนตพระคุณเจาสวดบังสุกุล จุดธูปขอทางเจาที่เจาทาง เรียกวิญญาณใหตามพระไป ตลอดทางดูแลตะเกียงไมใหดับ ระหวางทางพอแมโปรยเหรียญเมื่อผานสะพาน ทางโคง ขอเจาที่เจาทาง ถึงทางแยก เล้ียวซาย เล้ียวขวาใหบอกตลอดทางจากกรุงเทพ-ตราด ชวงเวลาที่อยูในรถตู พระคุณเจานั่งหนาคูคนขับ พอแมปานั่งเบาะแถวแรก และมีเกาอี้ 1 ตัวอยูขางโลงศพของนอง เปนที่ที่ขาพเจานั่ง เมื่อรถเริ่มเคล่ือน พอแมจะเหลียวหลังมาดูลูกตลอดเปนระยะ ๆ ดวยความที่รถขับเร็วมากดวย และทุกครั้งที่ผานแยก เล้ียวซายขวา ขึ้นสะพาน ผานอุโมงค จิตใจพอแมจะจดจออยู เหลียวหนา พะวงหลัง ตลอดเวลา ขาพเจาจึงเอามือขางขวาวางไวบนโลง เหมือนคอยประคองไวและนั่งอยูในอาการสงบตลอดทาง รูสึกพอแมอุนใจขึ้นบาง มีพระนาํทาง มีคนประคองหลัง ตอนนั้นไมตองมีคําพูดใดใดมาปลอบประโลม เพียงแตใหอยูกับเขาขาง ๆ ในส่ิงที่เขาเปน นั่นคือ เหรียญที่เตรียมมาเริ่มหมด เพราะระยะทางไกลมาก ขาพเจาสังเกตเห็นอาการวิตกกังวลของคุณพอ เร่ิมคํานวณวาเหรียญจะพอไหม ขาพเจาจึงหาเหรียญในกระเปาที่มีทั้งหมดสมทบไปให ที่ใหไปไมไดเชื่อตามความเชื่อวาโปรยใหเจาที่เจาทางเพ่ือขออนุญาตใหศพผาน แตใหไปเพราะเขาใจตามความเปนจริงในส่ิงที่พอแมผูสูญเสียลูกในตางถิ่น ที่ไมใชบานเกิดเมืองนอน แลวตองทุลักทุเลนําลูกนําลูกกลับบานในสภาพที่ไมมีชีวิตดวยหัวใจอันปวดราว จนกระทั่งการเดินทางสิ้นสุดลงที่บานเปนไปตามความประสงคของนองที่พอไดสัญญาไววาจะพากลับบาน คุณพอจึงทําพิธีบําเพ็ญกุศลศพลูกที่บาน ไดมีโอกาสไดสัมผัสขาวของเครื่องใช รูปถาย หองนอน ของนองเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู และเมื่อมีโอกาสคุยพอไดคุยเร่ือยพิธีกรรม ความเชื่อ ในเรื่องการโปรยเหรียญกับพระคุณเจาจนคุณพอมีความเขาใจในที่สุด เพราะตอนนั้นใครใหทําอะไรก็ทําตาม ๆ ที่เขาบอก ทําใหเกิดกระบวนการปรับทัศนคติเกี่ยวกับความตาย โดยพระคุณเจาทานไดชวนคิดวาการที่โปรยเหรียญไปตามทางแยก ทางโคง ขึ้นสะพานเปนกุศโลบายที่เปนการเตือนตัวไมใหประมาท จะไดเดินทางถึงบานโดยสวัสดิภาพ ขาพเจาเห็นเพ่ิมเติมในเรื่องของพิธีกรรมความเชื่อหากเรามองวาเปนกุศโลบายที่ภูมิปญญาโบราณมอบไวใหนั่นคือ ในตลอดทางเกือบ 4 ชั่วโมง พ้ืนที่ของความเสียใจไดถูกแบงเบาไปกับการที่คุณพอคุณแมไดมีสติจดจอกับถนนหนทาง บดบังพ้ืนที่ของความเจ็บปวดจากความสูญเสียใหเบาบางลงไดบาง ส่ิงที่ไดเรียนรูอีกอยางคือ จิตใจของขาพเจาไดถูกขัดเกลา ความอยากได อยากมี ปลงในความเปนอนิจจังมากขึ้น

จากกรณีที่เราเห็นถึงความใกลกันระหวางผูปวยกับญาติกันมากเกินไป ก็มีกรณีที่เห็นถึงความหางกันมาก ๆ ของผูปวยกับญาติดวยเชนกัน คุณยายทานหนึ่งใชชีวิตอยูตัวคนเดียวมาตลอดจนกระทั่งมีอาการปวยและทรุดลงจนอยูในขั้นสุดทายจึงถูกนําตัวสงโรงพยาบาล มีลูกสาวที่อยูตางประเทศแตไมมีความผูกพันกันเพราะแยกกันอยูตั้งแตเด็ก ๆ เมื่อทราบวาแมปวยระยะสุดทายแลวก็ไดบินกลับมาทําหนาที่สุดทายที่พึงทําดวยจิตสํานึกตอผูใหกําเนิด สําหรับขาพเจาแวบแรกที่รูสึกขึ้นมาจากการที่ไดพบคุณยายครั้งแรก คือรูสึกตกใจเพราะไมคิดวาจะมมีนุษยที่ยังมีลมหายใจอยูแตสภาพรางกายนาทุกขเวทนาไดถึงเพียงนี้ หากจะใหเทียบส่ิงที่เห็นตรงกับความรูสึกจริง ๆ คงตองบอกวาเหมือนเห็นซากศพที่ยังมีลมหายใจอยูอยางรวยริน รางกายเหี่ยวยน ดํา นันยตาเหลือกเปนระยะ ๆ กลามเนื้อใบหนาเกร็งตัวบงบอกถึงอาการวิตก กังวลใจอะไรบางอยางอยูตลอดเวลา พูดไมได ไดแตรองเสียงครางในลําคอ ฟนบนย่ืนออกมาครอบริมฝปากลาง มือขวาจับราวเตียงไวแนน และมีลูกอยู

Page 7: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

ขางเตียง ขาพเจาเขาไปพูดคุยใกล ๆ ดวยความออนโยน คุณยายอยากสื่อสารดวยไดแตสงเสียงคราง ๆ ใบหนาสะทอนถึงความหวงวิตกกังวลบางอยางใหเห็นตลอดเวลา จึงชวนลูกสาวคุณยายคุยถึงอาการหวงวิตกกังวังวลของคุณยายที่ปรากฎอยางชัดเจน ลูกสาวก็รูสึกเหมือนกัน ที่ผานมาก็ไดแตพูดปลอบบอย ๆ เหมือนกันวาไมตองหวงนะ ไมตองหวงอะไรทั้งส้ิน ทําใจใหสบาย แตก็ไมเห็นอาการวิตกกังวลลดลงเลย ก็เลยลองถามวาคุณยายนาจะหวงอะไรอยู ลูกสาวพยายามนึกก็ไมเห็นมีอะไร ทรัพยสมบัติก็ไมมี ก็มีแตบานที่แมเคยอยู กับแมวที่เล้ียงไว ขาพเจาจึงชวนลูกสาวคุณยายเลาใหคุณยายเห็นเปนภาพวาที่บานใครดูแลทําความสะอาด ใครรดน้ําตนไม ใครคลุกขาวใหแมวกิน ลองคล่ีคําวาไมตองหวงใหคุณยายมองเห็นเปนภาพชัดเจนมากขึ้น ลูกสาวรับคําวาไวจะลองคุยดู ขาพเจาไมรอชาชวนลูกสาวลองทําเดี๋ยวนี้เลยดีไหม ปรากฎวาเห็นผลทันทีตอหนาตอตากับส่ิงที่เรียกวากรรม หรือการกระทํา ใบหนาคุณยายผอนคลายลงทันที สงบลง มือท่ีจับราวเตียงปลอยวางลง สงเสียงตอบรับแสดงการรับรู ลูกสาวแสดงความขอบคุณขาพเจาทั้งที่ขาพเจาไมไดทําอะไรเลย เราอยูตรงนั้นในฐานะแคเปนกระจกสะทอนความเปนจริงแลวพลิกใหเห็นศักยภาพทั้งตัวผูปวยและผูดูแลในอันที่จะปลดเปล้ืองงานคางใจเพ่ือจะไดมีโอกาสทําตามหนาที่อยางสมบูรณ และเห็นทิศทางการเยียวยาซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นไมกี่วันคุณยายก็จากไปตามวาระของชีวิต

ล.เลงเสียงกระดิ่งหยก (ไมใชมังกรบิน) เรา (ยัง) มีทางเลือก

๑. ปวดหัว ก. กินยาพาราฯ ๒ เม็ด ดื่มนํ้าตาม ในกรณีรีบดวน ข. ไปสระผมที่รานตัดผม ปลอยใหมือนุมๆ ของชางสระผม ดําเนินการปลดปลอยความเครียด และ อาการเกร็งตัวของ

กลามเนื้อ เสนเลือด เสนประสาท...ใหคลายออก ใหน้ําเย็นๆ ชําแรกผานเสนผมไปยังหนังศีรษะ ปลอยตัว...ปลอยใจใหสบาย (ราคาไมเกิน ๑๐๐ บาท)

ค. ไปนวดหนาที่รานเสริมสวย หรือท่ีเคานเตอรเครื่องสําอางในหางสรรพสินคา แลวแตวาที่ใดจะใกลกวา (ที่หางเอมพอเรียม สุขุมวิท ๒๔ มีหองนวดหนาเฉพาะ อยูที่ชั้นใตดิน) เผลอๆ ไดหลับไปสัก ๑ งีบ กอนกลับมาโหมงานที่นอนรอเปนตั้งอยูบนโตะทํางาน (ราคาก็เปนไปตามยี่หอ เครื่องสําอาง ถาเปนคลาเร็นของฝรั่งเศส ก็แพงหนอย แตหอมดี คนขายเอสเต ลอเดอรก็นวดเกง แตถาเจอคนขายที่นวดไปก็พูดไป...ไมยอมหยุด...ก็แยหนอยนะ)

ง. นั่งรถไฟฟา ไปหาหมอจีนชื่อหยาง ฉวน หยวน ที่ รพ.หัวเฉียว – แผนจีน ตรงขามตลาดโบเบ นวดหัว - บา - ไหล แลวเอางานที่คางอยูกลับไปทําตอท่ีบาน โชคดีไดเจานายใจดี ใหสงงานกลับมาทางอีเมลl ได (ราคา ๕๐๐ บาท โดยประมาณ)

จ. เอาใบยานาง(ที่กินกับหนอไม) และ ใบหมอนอย (ใบรูปหัวใจ มีขน) ขยํากับน้ําเปลา แลวเอาน้ําที่ไดมาโปะหัว...ทาผมใหทั่วๆ...เอาผาคลุมผม จากนั้นไปนอนพัก ๓๐ นาที กากที่เหลือเอามาโปะหนาผาก หรือที่เปลือกตา (ถามีตนไมทั้ง ๒ อยูในบานแลว ก็ไมเสียเงินสักบาท ...ถาไปซื้อท่ีตลาดมีแตยานางกําละ ๕ บาท หมอนอยไมมีขาย...ถาหาอะไรไมไดเลย เอาแตงกวา กับผักบุง..ตําเอา หรือใสเครื่องปนก็นาจะได...ยังไมเคยใช...ใครใชแลวชวยมารายงานผลดวย)

๒. รอนใน... ก็เลยเปนแผลในปาก ตกดึกตองลุกมาเขาหองน้ําชวงตอน ๔ ทุม ถึง ตี๒ รบกวนเวลานอน นอนหลับก็ไม

สนิท ตื่นมาเพลียๆ หนังตาหนักๆ แบบคน...นอนเทาไรก็ไมรูจักพอ กลางวันก็หิวน้ําบอย กินน้ําบอย เขาหองน้ําบอย หูอื้อ...ฟงอะไรก็ไมคอยไดยิน นึกวาน้ําเขาหู เอาไมพันสําลีไปเช็ดก็ยังไมไดยิน

ก. ไปหาหมอครั้งแรกเพราะหูอื้อ หมอเลยดูขี้หูออก โดนไป ๕๐๐ บาท...ผานไปอีก ๓ เดือน หูอื้ออีกแลว หมอบอกวาจะใหกินยาชวยลดการผลิตขี้หู เพราะคนปกติเคามาดูดขี้หูกัน ๖ เดือนครั้ง นี่มันแค ๓ เดือนเอง ทําไมขี้หูมันถึงไดผลิตกันเร็วนัก...ไมอยากกินยาเลยบอกหมอวาอยาสั่งยาเลย...หมอนารัก...ยอมตามคําขอ อยูไปอีก ๓ เดือน หูอื้ออีกแลว คราวนี้มีของแถม เจอตัวออนของเชื้อราดวย...อี๋.... ครั้งนี้คาดูดขี้หู และคายาแกเชื้อรา รวมทั้งยาละลายขี้หู ปาเขาไป ๗๐๐ บาท

0905 7

Page 8: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

0905 8

ข. กินยาจีน แกรอนใน Zhi Pai Pa Wei Yuan วันละ ๒๔ เม็ด กินไป ๔๐๐ เมด็ ถึงจะครบสูตร ในระหวางที่กินยา ถา

อาการดีขึ้น ก็กินบางไมกินบาง หมอก็รู...แตไมเห็นวาอะไร (คายาขวดละ ๑๐๐ บาท มียาจํานวน ๒๐๐ เม็ด) ค. กินผักฤทธิ์เย็น เชน ยานาง แตงกวา ผักบุง น้ําเตา บัวบก เฉากวย หยวกกลวย ใบเตย หาอะไรไมไดเลยกินถ่ัว

เขียวไมใสน้ําตาลก็ได (ถือวาเปนคาซื้อกับขาวประจําวัน เลยไมนับรวมเปนคาใชจายในการรักษาโรค...ก็แลวกันนะ) ง. ไปหมักโคลนเย็นๆ ไปแชสะโพกในน้ํา แบบที่ประเทศอินเดียเคาชอบทํากันในโรงพยาบาลธรรมชาติบําบัด ถาเปน

แบบคนไทยก็มี...เอาดินสอพอง ผสมน้ําแชผงถาน และ น้ําซาวขาว โปะหนาแกสิว แตถาทิ้งไวนานเกินไป ระวังผงถานเขาไปอุดรูขุมขน...ทําใหหนาดํา...ซึ่งก็ไมดําถาวรหรอก...อีกสักพักก็หาย (ปลอบใจ)

จ. ในที่สุดแลว เมื่อเหตุปจจัยพรอม ก็ไดเวลาไปคายธรรมชาติบําบัด ๑๐ วัน (เดือนเมษายน) ที่บานหมอเขียวจังหวัดมุกดาหาร มีคาใชจายเฉพาะคารถ และคาชอปปง นอกนั้นก็แลวแตวาใครจะบริจาคชวยกันตามกําลังศรัทธา เพราะชาวบานบางคนแคหาคารถมาใหได ก็ลําบากแลว ผานไป ๑๐ วัน อาการรอนในก็ดีขึ้น แถมน้ํามูกที่มีทุกเชา ก็ลดลง

๓. เครียดจากการทํางาน ปวดทอง...เปนโรคกระเพาะ บางคนกระเพาะก็เปนรู ที่เรียกกันวา... Ulcer แลว ...บางคนก็

ลําไสพันกัน... ตื่นมาอาเจียนทุกวันตอนตี ๒ (ชวงกระเพาะหลั่งน้ํายอย แตไมมีอาหารใหยอย มันเลยยอยผนังกระเพาะอาหารซะเลย) นอนไมหลับเพราะปวดทอง บางทีก็เก็บเอางานมาฝนตอ มีงานและเจานายเปนผี...คอยหลอกหลอนทั้งยามหลับและยามตื่น

ก. กินยาแกโรคกระเพาะ ตั้งแต Alamilk Miracid Ulsanic Omeprazole กินมานานหลายเดือนไมหายสักที (จริงๆ กินมาตั้งแตอายุ ๒๐ แลว... ไมอยากนับเลยวามันกี่ปแลว) หมอเลยบอกใหไปทํา Gastro scope สองกลองเขาทางปาก ไปแอบดูขางในกระเพาะสักหนอย ทําไมดื้อ-ดาน ไมยอมหายสักที สองไปเจอแบคทีเรีย ชื่อ H. Pyroli เอา! เอายาฆาเชื้อไปกินอีก ๓๐ วัน กวาเชื้อโรคจะตาย คนกินอาจตายกอน (คารักษามากมายมหาศาล จนคิดไมถูก และ พอดีบริษัทประกันฯ จายให เลยไมไดคิดเอาไว...แคสองกลองอยางเดียวก็เปนหมื่นแลวมั้ง)

ข. ลดเวลาทํางานจาก ๗ วัน เปน ๕วัน หรือแคเสาร-อาทิตย ๒วัน...ถาคุณเปนหมอฟน ดีเจ หรืออาชีพอ่ืนที่เลือกเวลาทํางานได

ค. ฝกโยคะทุกวันหลังเลิกงาน เพ่ือปลุกระบบประสาทผอนคลาย (Parasympathetic Nervures System) ใหฟนคืนชีพ และบอกตัวเองทุกวันวา ...เลิกงานแลว...พักไดแลว ถึงคิดและเครียดตอ...ก็ไมไดโอที แลวจะคิดไปทําไมวา

ง. เดินไปตลาด ซื้อกระเจี๊ยบเขียว ๑๐ บาท มาตมกิน กินมันฝรั่งตมบาง กลวยน้ําวาดิบ ทั้งที่เปนแบบกลวยสด และที่เปนแคปซูลของสันติอโศกก็ได แตกินมากระวังทองอืด ตองกินขมิ้นชันเขาไปชวยยอย บางคนก็วาขมิ้นชันก็รักษาโรคกระเพาะได เลิกกินของทอด ของมัน และเนื้อสัตว (ชั่วคราว) เพ่ือชวยใหกระเพาะอาหารทํางานนอยลง มันจะไดพักผอนเสียบาง

จ. ลาออกจากงาน...อนันี้ขอใหเปนทางเลือกสุดทาย เพราะไมมีงานก็ไมมีเงิน...เดี๋ยวจะเปนโรคซึมเศราแทนโรคกระเพาะ ยกเวนวา ถาทํางานตอไป ไมไหวจริงๆ ก็รักษาชีวิตเราเอาไวกอนดีกวา...บริษัทคงไมเจง เพราะไมมีเราหรอก อยาสําคัญตัวเองผิดขนาดนั้น...

๔. เจ็บตา เพราะตาแหง จองจอคอมพิวเตอรมากเกินไป ยิ่งทํางานในหองแอรยิ่งตาแหง ก. ไปหาหมอตา เอาน้ําตาเทียมมาหยอด หยอดไปหยอดมาหลายอาทิตยก็ไมหาย ก็เพราะยังทํางานเดิม และ ที่เดิม (ที่

ที่เปนทางออกของชองแอร คนที่อยูในอาคารที่ใชระบบแอรรวม คงจะรูวา ตําแหนงนี้หนาวเย็นและความแรงของแอร ประมาณนองๆ ขั้วโลกเหนือทีเดียว...เอากระดาษไปปดก็ไมได ชาวบานแถวนั้นเคาบนวารอน...เฮอ! กรรมเวรจริงๆ)

จากอาการตาแหง เร่ิมเขาสูระยะปวดกระบอกตา จากนั้นเริ่มปวดทั้งหัว(ศีรษะ) และ ตาทุกวันที่ตองมาทํางาน จนหมอไมรูจะรักษายังไงเลยใหกินยาแกปวดไวตั้งแตกอนนอน (หมอเรียกวา...ยากันปวด...ไมใชยาแกปวด...แลวมันตางกันตรงไหนกันนะ...พระเดชพระคุณ) เดินเขาเดินออก รพ.อยู ๖ เดือน หมอตา...คงเบื่อหนา เลยสงไปใหหมอศัลยกรรม

Page 9: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

ประสาทเคาสแกนสมอง เปนการสแกนแบบตองฉีดสีเขาไปกอน เนื่องมีประวัติเปนภูมิแพ แพทั้งอากาศและ อาหารทะเล หมอกลัวแพสีที่ฉีด จึงตองไปกินยากดภูมิไวกอน ๗ วัน ถึงจะมาฉีดสีเขาไปในรางกายได

เฮอ! ยิ่งรักษาย่ิงหมดแรง แตก็ตองรักษาตอไปเพราะไมมีทางเลือกที่ดีกวานี้ (นอกจาก...เลิกทํางาน วันไหนอยูบาน ไมตองใชคอมพิวเตอร ไมอยูหองแอร ไมเห็นมันจะเจ็บตาเลย)

ในที่สุด...ไดสแกนแลว ...แอน แอน แอน...แตไมเห็นเจออะไร...เอานา ไมเจออะไร ก็ดีแลวนี่...อยากใหเจอพยาธิในสมอง...แบบพี่ที่ทํางานโตะขางๆ หรือไงกัน สรุปวาเดินเขาเดินออก รพ. อยู ๖ เดือน ก็รักษาไมหาย จนในที่สุด เลิกทํางานในสํานักงานแลว ไดเวลาพักตา มันก็หายเจ็บเอง เย!!! แตถาใชคอมพิวเตอรเยอะๆ อีก มันก็เจ็บอีก

ข. ไปคายหมอเขียว (คายธรรมชาติบําบัด ตอนนี้มีชื่อใหมวา เปนคายรักษาโรควิถีพุทธ) กินอาหารฤทธิ์เย็น เลิกกินอาหารฤทธิ์รอน(ชั่วคราว) และทําอะไรอีกหลายอยางเพ่ือขจัดพิษรอนออกจากตัว ไปคาย ๕ วัน อาการเจ็บตา (และเจ็บคอ) ก็ดีขึ้น แตตองระวังวาจะทองอืด เพราะ เจอฤทธิ์เย็นเกินไป จากรอนตีกลับเปนเย็น ใครเคยอานหนังสือกําลังภายในคงคุนเคยกับสํานวนแบบนี้ดี ไปคายหมอเขียวมา ๖ ครั้ง ปรับไปปรับมา (สมดุล รอน-เย็น) จนพอรูทางกันวา ถาเรารอนไป...ตองแกยังไป ถาเย็นไปตองทํายังไง

เพ่ือนบางคนก็วาดี มีเซนเซอรที่ละเอียด คอยตรวจจับ อาหารที่ไมดีกับรางกาย เชน ผงชูรสในอาหาร พอกินพวกของทอด แฮมเบอรเกอร บะหมี่ซองฯลฯ ก็จะเปนตุม เปนผื่นขึ้นที่ผิวหนัง...เรียกกันวารางกายขับพิษออกมา...เคาก็ใหเอายาหมอง หรือน้ํามันเขียวที่ไดมาจากคายทาลงไป...แลวทั้งตุมทั้งผื่นก็จะยุบลง

บางคนก็วาละเอียดขนาดนี้ไมดี นารําคาญ... ก็วากันไป... แตพอ ออกจากคายมาไดสักระยะ อาการละเอียดเกินเหตุนี้ก็อาจจะบรรเทาลง

สําหรับ คนที่เปนมะเร็ง เน้ืองอก เบาหวาน ความดัน ไขมนัในเลือดสูง และอีกหลายโรคที่รักษาไมหาย แลวรูสึกวาการดูแลตัวเองตัวเองแบบหมอเขียวทําใหอาการดีขึ้น (ซึ่งมีจํานวนมากกวา ๘๐ เปอรเซ็นต) ก็จะใชวิธีการ โดปยาเย็นตอไป เพราะมันเปนวิธีที่มีคาใชจายนอย และ ไมตองเขาแถวรอหมอตรวจที่ รพ. เปนชั่วโมง แลวก็ไดตรวจแค ๕ นาที

สําหรับคนที่ใชวิธีนี้รักษาแลวไมไดผล เราก็จะไมเจอเคาอีกตอไป (ฮา) ใครสนใจอยากรูรายละเอียดในการไปคายหมอเขียว (ซึ่งเคาไมเก็บเงินคาใชจาย ยกเวนวาเราจะบริจาคเอง ตามศรัทธา)

ก็โทรไปถามนองบอมบที่สํานักงานได นองบอมบก็ไปมาแลว แตระวังวาบอมบจะชวนใหซื้อของ...เปนคาตอบคําถามนะ (ฮา) แตเวลาจะสมัครไปคายจริงๆ ตองโทรศัพทไปจองที่ โรงพยาบาลอํานาจเจริญ โทร ๐๔๕-๕๑๑๙๔๑-๙ ตอ ๑๒๒๑

อยากศึกษาธรรมะ จะเริ่มยังไง?

กวี เรียบเรียง มีคําถามเขามาจากเพื่อน อยากศึกษาธรรมะ และฝกวิปสสนา จะเริ่มยังไง? ผมลองเสนอดังนี้ เมื่อตอนที่เราสนใจที่จะดูแลตนเอง มีประกาศเรื่องการอบรมโยคะเต็มไปหมด เราเริ่มสนใจโยคะละ ก็หาหนังสือมา

อาน บางทีไปสัมนาตางจังหวัด เขาฝกโยคะกัน เราก็ไปรวมฝก ไปลองชิม จนบอกกับตัวเองวา เออ ชอบแฮะ คราวนี้ก็ศึกษาจริงจัง ตัดสินใจเลือกคอรสอบรมที่นาจะเหมาะกับตัวเอง ไปเรียน กลับบานก็ฝกสม่ําเสมอ เร่ิมใหความสําคัญกับโยคะมากขึ้นๆ จนเริ่มนําโยคะมาเปนตัวต้ังในชีวิต จะตัดสินใจอะไร โยคะมากอน อยางอื่นไวทีหลัง สนใจโยคะมากขึ้น ขวนขวายศึกษามากขึ้น ไปอบรมเพิ่มเติม ยิ่งถาเจอครูที่ถูกคอ ยิ่งกาวหนา พบวาตนเองมีพัฒนาการเชิงกาวกระโดดเปนชวงๆ จนโยคะกลายเปนนิสัยหลักของชีวิต และก็ดําเนนิวิถีโยคะตอเนื่องไป ... (จนกวาจะถึงโมกษะมั้ง)

เมื่อสนใจที่จะพัฒนาจิตก็เชนกัน ในสังคมมีพระผูปฏิบัติดี ปฏบัิติชอบเต็มไปหมด อยูมาวันนึง เราเริ่มสนใจ ก็เร่ิมหาขอมูล คุย อานหนังสือ ฟงซีดี อาจมีโอกาสไดปฏิบัติธรรมกับเขาบาง จนบอกกับตัวเองวา เออ นาสนใจแฮะ นาจะมีประโยชนกับชีวิตเรานะ คราวนี้ก็เร่ิมศึกษาจริงจัง หาแนวทางปฏิบัติที่นาจะเหมาะกับตนเอง (ซึ่งจะกลาวตอไป) แลวก็เร่ิมฝก เร่ิมใหความสําคัญกับการพัฒนาจิตมากขึ้น จนเอาการปฏิบัติธรรมมาเปนตัวต้ังของชีวิต จะตัดสินใจทําอะไร ใหสิทธิ์การพัฒนาจิต

0905 9

Page 10: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

กอน อยางอื่นเริ่มผัดผอน ถาชนกัน ตองติดทิ้งก็ยอม สนใจพัฒนาจิตมากขึ้น ขวนขวายศึกษามากขึ้น อบรมเพ่ิมเติม ยิ่งถาเจอพระ เจอหนังสือ เจอศูนยปฏิบัติธรรมที่ถูกคอ ยิ่งกาวหนา พบวาตนเองมีพัฒนาการเชิงกาวกระโดดเปนชวงๆ จนการพัฒนาจิตกลายเปนนิสัยหลักของชีวิต ยึดวิถีธรรมเปนเคร่ืองดําเนินไปอยางตอเนื่อง ในระหวางนั้น เกิดฉุกใจ นี่เราประมาทอยูหรือเปลา เมื่อไตรตรองอยางถ่ีถวน โอ เราประมาทมาก ก็เรงความเพียร จนกวาจะถึงนิพพาน

ถาจะวาไป การเริ่มตนปฏิบัติธรรม ไมตางไปจากการเริ่มตนฝกโยคะ จริงๆ แลว การเริ่มตนทํากิจกรรมที่เปนการเดินทางเขาสูดานในทั้งหลาย ก็ลวนเปนเชนนี้ พูดงายๆ ก็คือ ลุยไปไดเลย เราเคยเริ่มโยคะไดสําเร็จ เราก็เร่ิมปฏิบัติธรรมไดในทํานองเดียวกัน

โยคะมีหลายครู หลายโรงเรียน ตอนเริ่มเลือกเราก็งงๆ การปฏิบัติธรรมมีหลายอาจารย หลายนิกาย เราก็งงๆ เชนกัน แตสังเกตดูสิ ทําไมเราไมไปเรยีนโยคะกับอาจารยคนนั้นคนนี้ ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็พูดถึง เพราะเคมีมันไมตรงกัน เชนกัน เร่ิมปฏิบัติธรรม ไมตองไปกังวล ยกตัวอยางเชน ไมเห็นพวกเราไปปฏิบัติธรรมที่นั่นที่โนนเลย คนไปกันเยอะแยะ เพราะแนวคิดไมตรงกัน เราตองเชื่อมั่นตัวเองในระดับนึงวา เรามีฐาน มีทุนเดิมที่จะศึกษาธรรมะ ในแนวนี้แหละ

เมื่อรูแนวแลว คราวนี้บางคนอาจกังวล อยากไดครูที่ดีที่สุดของสายนี้ คือกลัววาครูนอยจะสูครูใหญไมได อะไรทํานองนั้น จริงหรือ ลองพิจารณาดูพฤติกรรมการเรียนรูของเราสิ เรามีเพ่ือนครูคนนึง ฝกโยคะแนวพุทธกับอาจารยทานนึง พอมาเจอสายไกวัลย แกก็มาศึกษาสายนี้จริงจัง ขณะที่พรรคพวกแกไมมีใครมาสักคน เหตุการณนี้บอกอะไรเรา มันบอกวา พวกเราเปนชุมชนที่ไมยึดตัวบุคคล เราไมยึดครูฮิโรชิ ไมยึด ดร.กาโรเต เรายึดหลักการโยคะ ในการปฏิบัติธรรมก็เชนกัน เมื่อไดแนวทางปฏิบัติที่ตรงจริตแลว เร่ิมไปไดเลย ไมตองไปสนใจวา จะตองเปนคําสอนจากพระรูปนี้รูปนั้นเทานั้น ลองดูอีกตัวอยางสิ พระอาจารยปราโมทยศึกษาธรรมะกบัอาจารยราว 40 รูป และพวกเราไมไดยึดตัวอาจารยปราโมทยนะ เรายึดแนวทางของทานตางหาก ผมเห็นวา สําหรับพวกเรา เรายึด “การรูและเขาใจตนเอง” เปนสําคัญ พวกเราไมใชนักเรียนที่ใชครูพร่ําเพรื่อนะ

ในการเริ่มปฏิบัติโยคะ มันเปนรูปธรรมมาก คอืเริ่มจากอาสนะ เมื่อเวลาผานไป เราเขาใจมากขึ้น เราก็ขยับจากเปลือกไปที่แกน ซึ่งไดแกสมาธิ ในการเริ่มปฏิบัติวิปสสนา ก็เชนกัน เราเริ่มจากการนั่งหลังตรงนิ่งๆ เมื่อเวลาผานไป เราเขาใจมากขึ้น เราก็ขยับจากรูปธรรมไปที่แกน ซึ่งไดแก การ “เห็นตามความเปนจริง”

อยากจะตอบผูถามคําถามขางตนนี้วา จริงๆ คุณไดเริ่มไปแลว ยกเทากาวแลว เดินเลยครับ มีรูปธรรมอะไรในการฝกวิปสสนาบางละ ก็คือ มรรค 8 ของพุทธศาสนานั่นเอง เร่ิมไดหมด รูปธรรมในการมองของพุทธเปนอยางไร ก็เร่ิมมองอยางนั้น รุปธรรมในการคิดแบบพุทธเปนอยางไร ก็เร่ิมคิดอยางนั้น รูปธรรมในการพูดแบบพุทธเปนอยางไร ก็หัดพูดอยางนั้น รูปธรรมชีวิตประจาํวันแบบพุทธเปนอยางไร ก็หัดใชชีวิตอยางนั้น รูปธรรมในอาชีพแบบพุทธเปนอยางไร ก็ทํางานอยางนั้น รูปธรรมในความเพียรของพุทธเปนอยางไร ก็เพียรใปในแนวทางนั้น รูปธรรมในการระลึกรูแบบพุทธเปนอยางไร ก็ใหัระลึกรูอยางนั้น รูปธรรมในความตั้งมั่นแบบพุทธเปนอยางไร ก็หัดตั้งมั่นเชนนั้น ไมยากครับ ลุยเลย

Anatomy of Hatha Yoga

หฐโยคะกับหลักกายวิภาคและสรีรศาสตร ผูแปลและเรียบเรียง - ศันสนีย นิรามิษ

บทพื้นฐาน ในปจจุบันจะเห็นไดวามีโรงเรียนสอนหฐโยคะเพิ่มมากขึ้นในฝงตะวันตก บางแหงอางอิงถึงประวัติที่นาเชื่อถือสืบทอด

ตอกันมายังครูผูสอนรุนสูรุน บางแหงกําหนดการสอนใหเขากับความตองการของยุคสมัยและความคาดหวังของผูเรียน แตยังคงอางอิงถึงศาสตรดั้งเดิม, วิทยาศาสตร และตามหลักดั้งเดิมของโยคะ บางแหงไดพัฒนาการสอนใหเขากับยุคปจจุบันจนไมแนใจถึงศาสตรที่แทจริง

เพราะคนเรามีความแตกตางกัน โรงเรียนหฐโยคะหลายแหงจึงเปดสอนทาอาสนะพ้ืนฐานที่สุดพรอมดวยทาอื่นๆที่แตกตางกันไปตามความคาดหวงัของผูเรียน ในขณะที่ผูสอนพบความนึกคิดของผูเรียนที่แตกตางกันไปต้ังแตนักเตนมีอาชีพ

0905 10

Page 11: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

0905 11

จนถึงนางพยาบาลประจําบานที่กลัววาจะไมสามารถลุกขึ้นไดหลังจากที่นอนฝกลงบนพื้น ซึ่งนั่นไมเปนไร เพราะสําหรับทุกคนแลวไมวาจะมีชวงอายุใดหรือมีความชํานาญระดับไหนส่ิงที่สําคัญที่สุดของหฐโยคะไมใชความยืดหยุนและความสามารถในการฝกทายากตางๆ แตเปนความระลึกรู ระลึกรูรางกายและลมหายใจ รวมถึงรับรูหลักกายวิภาคและสรีรศาสตรภายใตทาฝกนั้นๆดวย จากการระลึกรูนี้จะทําใหควบคุมได และเมื่อสามารถควบคุมไดก็จะนํามาซึง่ความคลองแคลวและสวยงาม ถึงแมวาทาที่ฝกนั้นจะมีการประเมินสําหรับผูเร่ิมตนแลวแตผูฝกก็สามารถรับรูถึงสติและความออนขณะฝกได

เราจะบรรลุถึงเปาหมายนี้ไดอยางไร และเราควรจะฝกและสอนใหผูเรียนอยูในทาตางๆแบบใดเพราะมักจะมีผูที่ไมเห็นดวยถึงรายละเอียดการอยูในทาบอยๆ ดังนั้นส่ิงที่แนะนําใหนั้นเปนแนวทางไมตายตัว จุดประสงคก็เพ่ือใหทราบถึงตําแหนงอางอิงทั่วไปเพ่ือใชในการเรยีนรูถึงกายวิภาคและสรีรศาสตรของหฐโยคะ

มุงเนนความสนใจของคุณจดจอความสนใจไปยังรางกาย คุณจะรับรูถึงลมหายใจ, รับรูถึงเนื้อเยื่อท่ีกําลังยืดตัวออก, รับรูถึงขอตอท่ีมีแรงกําลัง

หดตัว, รับรูถึงความเร็วในการเคลื่อนไหว หรือรับรูความสัมพันธระหวางการหายใจและการยืดตัวของคุณ คุณสามารถจดจอความสนใจของคุณไปยังจุดอื่นๆขณะที่กําลังเคล่ือนไหวเขา-ออกเมื่อฝกทาไดอีกดวย การฝกฝนไปพรอมกับความสนใจในรางกายเปนโยคะขั้นพัฒนาแลว ไมวาทาที่ฝกจะงายหรือยากเพียงใด แตถาคุณไมมีความจดจอระหวางที่ฝกก็เทากับวาคุณเปนผูฝกโยคะเบื้องตนเทานั้น หฐโยคะเปนการฝกที่พัฒนาจิตใจไปพรอมกับรางกาย ดังนั้นจดจอความสนใจขณะที่ฝกไวอยาใหพลาด

เรียนรูลมหายใจของคุณจากที่ผานมาจะเห็นไดวาในหลายๆทาการหายใจเขารางกายจะชวยใหคุณยกตัวขึ้นไดอยางเต็มที่ และยังชวยเพิ่ม

ความตึงและสงบนิ่งในลําตัว คุณสามารถทดลองดวยการนอนคว่ําลงบนพื้นและสังเกตขณะท่ีกําลังยกตัวขึ้นสูงสุดในทางูซึ่งพยุงตัวดวยการหายใจเขา อยางไรก็ตามการหายใจออกจะชวยยืดตัวคุณไดไกลมากขึ้นในหลายๆทา ใหคุณลองฝกในทานั่งเหยียดพับตัวไปดานหนาคุณจะเห็นไดวาการหายใจออกจะชวยใหคุณวางคางลงใกลกับตนขามากขึ้น ไมวาจะกรณีใดก็ตามคุณจะไดรับประโยชน 2 เร่ือง คือการหายใจดวยทองจะชวยผอนคลายเนื้อเยื่อตางๆ และการรับรูของผลลัพธที่เกิดขึ้นกับคุณโดยตรงจะชวยใหคุณจัดปรับรางกายขณะอยูในทาไดดีขึ้น

ขณะที่กําลังฝกนั้นใหคุณหายใจตามปกติ หายใจผานรูจมูกอยางเงียบ, สงบ และสม่ําเสมอ อยากลั้นลมหายใจที่ลําคอหรือทําเสียงใดๆ ยกเวนไดรับคําแนะนําในการฝกฝนพิเศษ

เร่ิมจากการสรางพื้นฐานขณะที่คุณฝกในแตละทานั้น ใหเริ่มประมวลผลพื้นฐานภายในรางกายของคุณและหาตําแหนงของกลามเนื้อหลักเพ่ือ

ชวยใหคุณคงอยูในทาได เชน ปลายแขนปลายขาและกลามเนื้อท่ีหดเพ่ือเหยียดตัวขณะที่อยูในทายืน, หัวไหล คอ กระดูกสันหลัง และกลามเนื้อตางๆของลําตัวในทายืนดวยไหล, สํารวจระบบกลามเนื้อและกระดูกทั้งหมดโดยเฉพาะชองทองและกลามเนื้อลึกของหลังขณะที่ฝกทานกยูง มุงความสนใจของคุณตามอวัยวะตางๆที่เกี่ยวของ ทั้งนี้เพ่ือปองกันการบาดเจ็บและชวยพัฒนาความเขาใจในทามากขึ้น

นอกเหนือจากความเขาใจพ้ืนฐานนี้แลว ยังมีพ้ืนฐานอ่ืนๆที่นาสนใจกวาที่กลาวมาในขางตน นั่นก็คือเขาใจในพื้นฐานของการเชื่อมโยงกันของเน้ือเยื่อท่ัวทั้งรางกาย โดยเฉพาะเนื้อเย่ือตางๆที่เชื่อมโยงระบบกลามเนื้อและกระดูกเขาดวยกัน เน้ือเยื่อท่ีเชื่อมโยงกันเปรียบเสมือนลวดที่อยูขางในคอนกรีต เพราะมันจะเปนตัวชวยยึดแผงคอนกรีตทั้งหมดเขาดวยกัน เพ่ือเตรียมความพรอมในการสรางความแข็งแรงใหกับเนื้อเยื่อเหลานี้ คุณควรจดจออยูกับความแข็งแรงของผังผืดหุมขอ, เอ็นกลามเนื้อยึดกระดูก, เอ็นขอตอ และผังผืดตางๆที่หุมกลามเนื้ออยู วิธีปฏิบัติที่จะบรรลุเพ่ือสรางความแข็งแรงจากภายในสูภายนอกเริ่มจากศูนยกลางกลามเนื้อของลําตัว จากนั้นคอยๆเคล่ือนไปยังปลายแขนปลายขา หากคุณพยายามเหยียดยืดมากจนเกินไปโดยที่ยังไมเคยเริ่มตนฝกและไมรูวิธีปองกันขอตอตางๆมากอน จะทําใหเกิดการเจ็บปวดได ถาคุณไมใชนักยกน้ําหนักหรือนักเพาะกาย เร่ืองความแข็งแรงและความยืดหยุนเปนเรื่องที่ตองคํานึงถึง นอกเสียจากวาคุณไดฝกฝนมาระดับหนึ่งแลวคุณควรพัฒนาการเคลื่อนไหวรอบๆขอตอตอไป

การเคลื่อนไหวเพ่ือเขาสูทาและออกจากทา

Page 12: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

0905 12

ขณะที่คุณกําลังรูสึกนิ่งสงบและมหัศจรรยเมื่อคางอยูในทานั้น แตคุณจะไมเขาถึงความรูสึกนั้นจริงๆถาคุณไมรูวาคุณอยูในทานั้นไดอยางไรและกําลังจะเคล่ือนไหวตอไปในทาไหน ถาคุณเคล่ือนไหวจากทาสูทาอยางรวดเร็ว คุณจะเดินทางโดยไมรูสึกสนุกกับมัน ซึ่งการเดินทางนี้สําคัญเทากับจุดหมายปลายทางเลยทีเดียว ดังนั้นควรเคลื่อนไหวเขาสูทาและออกจากทาอยางชาๆและรูสึกตัวตลอดเวลา ขณะที่คุณกําลังเคล่ือนไหวใหสํารวจรางกายตั้งแตศีรษะจนถึงปลายเทา, สํารวจมือ ขอมือ แขนชวงลาง ขอศอก แขนชวงบน และหัวไหล, สํารวจเทา ขอเทา ขา หัวเขา ตนขา และสะโพก, สํารวจเชิงกราน ชองทอง หนาอก คอ และศีรษะ คุณจะพัฒนาการรับรูหนาที่ตางๆในรางกายและจะสังเกตเห็นถึงอาการแปลกๆและไมตอเนื่องขณที่กําลังฝก ซึ่งจะชวยใหคุณแกปญหานั้นไดตอไป ทายที่สุดขณะที่คุณเรียนรูการเคลื่อนไหวอยางนุมนวลนั้น คุณจะขจัดความยากของการฝกทานั้นได

รับรูอาการปวดอยางตรงไปตรงมาคุณเคยรับฟงหรือปฏิเสธอาการปวดที่เกิดขึ้นหรือไม ถาคุณมีอาการปวดหลังคุณไดปรับทาหรือกิจกรรมตางๆเพื่อลด

ความรูสึกปวดนั้นหรือไม แลวคุณเคยมองสํารวจรางกายของคุณ หรือทํากิจกรรมอื่นๆจนกระทั่งลืมความปวดนั้นไปหรือเปลา ถาคุณไมยอมฟงอาการตางๆที่เกิดขึ้นในตัวคุณ คุณก็มีโอกาสที่จะเปนโรคเอ็นอักเสบ, เสนประสาทกดทับ และหมอนรองกระดูกสันหลังแตกได สําหรับหฐโยคะนั้นคุณตองพัฒนาและเคารพการรับรูภายในตัวคณุเองเพ่ือหลีกเล่ียงอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น คุณควรเริ่มโปรแกรมการฝกดวยความตั้งใจท่ีจะหลีกเล่ียงการบาดเจ็บ ถาคุณเริ่มฝกฝนมาเปนปโดยที่ไมรูวากําลังทําอะไรอยู เทากับวาคุณกําลังผลักตัวคุณเองใหเขาสูอาการบาดเจ็บ ซึ่งไมเพียงแตเปนการบาดเจ็บชั่วคราวเทานั้น แตจะเปนการสรางความรูสึกกลัวและกังวลใหกับคุณในการที่จะฝกตอ ระบบประสาทในรางกายจะจดจําการบาดเจ็บนั้นและจะตอตานการฝกทานั้นซ้ําอีก การบาดเจ็บนั้นถือวาเปนของขวัญที่บอกเราใหแกปญหาตางๆ เราควรวิเคราะหธรรมชาติของปญหาที่เกิดขึ้นแทนการไมใสใจ เมื่อคุณรับรูดวยตนเองประกอบกับคําแนะนําของครูผูสอนแลว คุณจะสามารถฝกทาอื่นๆที่ยากขึ้นได

ฝกฝนอยางสม่ําเสมอ ดวยความกระตือรือรน และความระมัดระวังฝกฝนในเวลาเดิมและสถานที่เดิมทุกวันจนเปนนิสัย จะชวยใหคุณเห็นการเปลี่ยนแปลงไดวันตอวัน การฝกในเวลาเชา

เปนเวลาที่ดีที่สุดสําหรับพัฒนาสุขภาพ รางกายที่แข็งอยูในตอนเชาบอกใหคุณรูวาตองฝกดวยความระมัดระวังและตั้งใจ ในระหวางวันคุณอาจจะรับรูความรูสึกไดชาลงและเส่ียงตอการบาดเจ็บได ฝกดวยความกระตือรือรนอยางสนุกสนานในตอนเชาจะชวยกระตุนใหลดความแข็งของรางกายคุณได และฝกดวยความระลึกรูในชวงบายจะชวยหลีกเล่ียงอาการบาดเจ็บ และไมวาคุณฝกในเวลาใดก็ตามแลวรูสึกถึงความไมปกติ, ไมแข็งแรง, ไมยืดหยุน ใหระมัดระวังรางกายดวย

รับผิดชอบตอตนเองถึงแมคุณจะฝกกับครูที่มีความรูเพียงพอ ในขณะเดียวกันคุณตองรับผิดชอบในการตัดสินใจและการกระทําดวยตัวคุณ

เองดวย ครูผูสอนอาจจะแข็งแรง แข็งขัน และเปนแรงกระตุนใหคุณทําตาม แตคุณตองตัดสินดวยตัวคุณเองวาสามารถทําไดหรือไม เพราะในหลายทาของหฐโยคะจะมีทาที่ไมธรรมชาติ ซึ่งแสดงใหเห็นถึงจุดออนของรางกาย ซึ่งขึ้นอยูกับตัวคุณวาจะมีฝกทานั้นไดหรือไมและอยางไร เกณฑวัดอยางหนึ่งคือไมใชแคคุณรูสึกสบายตัวแค 1 ชั่วโมงหลังจากการฝก แตคุณจะตองรูสึกดีตอไปอีก 24 ชั่วโมงหลังจากนั้นดวย สุดทายใหสังเกตถึงการตอตานขณะที่ฝกแตละทาในแตละชั่วโมงเรียนดวย ถามีปญหาใหปรึกษาครูผูสอนตอไป

ฝกฝนดวยความอดทนเรียนรูจากการเคลื่อนไหวชาๆจะฝกฝนความอดทนในการเคลื่อนไหวอยางมั่นคง จําไววาประโยชนของการฝกหฐ

โยคะคือความแข็งแรงมากขึ้นและการยืดหยุนที่มากขึ้น แตถาคุณดูขอบเขตจากการฝกคุณอาจจะผิดหวังได คุณตองมีความอดทนเพ่ือใหไดประโยชนตางๆจากการฝก ความผิดพลาดหลักที่เกิดขึ้นเพราะคุณตองการที่จะฝกใหสําเร็จโดยไมคํานึงถึงความพยายามที่สอดคลองกัน ซึ่งทําใหเกิดผลเสีย 2 อยาง ส่ิงแรกคือจะทําใหคุณเปล่ียนความตั้งใจของการฝกกอนที่คุณจะรูความจริงทั้งหมด อยางที่สองคือจะเปนการสรางความเปนไปไมไดในการเรียนรูและความรูสึกที่ดีจากการฝก ดังนั้นใหคุณฝกดวยประสบการณในปจจุบันขณะ ฝกดวยความสนุกสนานภายในตัวคุณเอง

Page 13: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

กวี คงภักดีพงษ

สแกนกรรม โดย กฤษณา สุยะมงคล 220 บาท สํานักพิมพ ดีเอ็มจี

ยิ่งศึกษาธรรมะ ผมย่ิงเชื่อเรื่องกรรม เมื่อแรกเห็นชื่อหนังสือ มีคําวา “สแกน” ผมรูสึกวามันออกจะเปนอิทธิฤทธิ์ ก็

ปฏิเสธที่จะซื้อ อาทิตยถัดมา นองขางบานอานจบแลวเอามาฝาก จากแคหยิบมาพลิกดู กลายเปนวา ผมอานรวดเดียวจบเลมเลย แมหนังสือจะเดินเรื่องดวยการเลาถึงเคราะหกรรมของตัวผูเขียน ซึ่งเอาไปทําละครน้ําเนาไดเลย แตหนังสือมีประเด็นสําคัญท่ีสะกิดใจมาก โดยเฉพาะในชวงนี้ ที่ผมกําลังรําคาญชีวิตบางสวนของตนเอง รูสึกวามันคาใจ เหมือนกับมีกอนกรวดในรองเทา เมื่ออานจบ รูสึกวากอนกรวดนี้หลุดไป และผมก็เดินไปซื้อหนังสือเลมนี้ มาไวในหองสมุดสารัตถะ

สาระของหนังสือสรุปอยูในคํานําที่ส้ันกระชับมาก คือ ผูเขียนเปนอีกผูหนึ่งที่ไดรับชะตากรรมจากวิบากที่ตนเองทําไว แตก็ผานมาได และรูสึกดีดวยซ้ํา เพราะในความเปนจริงแลว กรรม กลับทําใหผูเขียนไดพบส่ิงดีๆ ในชีวิต (เหมือนคําวา โชคดีที่เปนมะเร็ง ซึ่งในกรณีนี้ เปนโรคทางใจ) คนเผชิญกรรมมักมองวาตนเองเคราะหราย และหดหู แตการเขาใจผลแหงกรรมจะเปล่ียนมุมมอง แทนที่จะจมในกองทุกข กลับมีสติ และแกปญหาไดดวยปญญา คนเขาใจเรื่องวิบาก จะไมมาเสียเวลาถามวาทําไมเรื่องแบบน้ีตองมาเกิดกับฉัน แตจะถามตัวเองวา เราพรอมจะรับมือกับวิบากกรรมแคไหน ตางหาก

ผูเขียนเปนผูหญิงธรรมดาคนนึง มีเรียน แตไมมีเงิน แตงงานกับผูชายฐานะเดียวกัน มีชีวิตคูอยู 3 ป ขัดสนเงินทองมาก แตสุขใจ เมื่อฝายชายไปมีแฟนใหม เธอใชเวลา 2 ป จมอยูในกองทุกข ใน 2 ปนี้ มีบางสวนที่เหมือนละครน้ําเนาเปยบ เพียงแตนานกวา และฉายทุกวัน และมบีางสวนที่ตางจากละครโดยสิ้นเชิง ก็คือปญญาที่ไดเกิดขึ้นในตัวเธอ

จริงๆ แลว สังคมไทย เวลามีปญหาชีวิต คนจํานวนมากก็จะพูดทํานองวา “ทําใจซะเถอะ มันเปนเวร เปนกรรม” “ชาติกอนเราคงไปทําอะไรเขาไว ชาตินี้จึงโดนกับตัวบาง” ซึ่งก็ไมเห็นวาจะชวยใหคนฟงหยุดทุกขไดเลย แตนาจะเปนเพราะผูเขียน มีความสามารถพิเศษในการมองเห็นอดีตชาติได และความสามารถนี้ ก็ไดรับการพิสูจนมาระดับนึง ดังนั้น เมื่อบทที่ 5 ในหนังสือกลาวถึงการเห็นนิมิต การเห็นเหตุที่ตองเลิกกับคนรักในชาตินี้ ทําใหผูเขียนตระหนัก และหยั่งถึงบทธรรมแหงกรรม ตามความหมายนั้นจริงๆ เปนการพลิกทรรศนะ เกิดปญญา รูแจง และ ถอดถอนความโศกออกไปไดหมดสิ้น ซึ่งก็นาจะเกิดกับผูอานหนังสือเลมนี้เชนกัน คือ ความมืดมิดหายไปโดยพลัน มีแตสวาง โลง เขาถึงสัจธรรมทันที

หนังสือเลมนี้ทําใหผมเขาใจคําวา เจากรรมนายเวร อยางชัดเจน ผูเขียนสะกิดใหเราคิด เวลามีคนมาวิจารณ บางคนดาวาเสียๆ หายๆ เลยนะ เราไมเห็นรูสึกอะไรเลย แตทําไมบางคนตําหนิเรานิดเดียว กลับสรางความเศราเสียใจตอเราอยางมากมาย นานเปนวันๆ เปนสัปดาห เปนเดือน หรือเปนปดวยซ้ํา ที่ถูกใจที่สุด ก็คือเมื่อผูเขียนระบุวา เจากรรมนายเวรที่แรงที่สุด จะมาเกิดใกลตัวที่สุด อยูชิดติดกับเราเปนเวลานานที่สุด ปงเลย ลองสังเกตดูสิ ความไมสบายใจในชีวิตทั้งหลาย มาจากคนใกลตัวท่ีสุดทั้งนั้น นองสุดแสบ พ่ีคูแคน ลูกบังเกิดเกลา พอ/แมที่นารําคาญ ภรรยาคูกรรม สามีตัวดี ลวนเปนโจทยใหญที่วางอยูตรงหนา ที่เราไมอาจปฏิเสธไดเลย

นอกจากจะขอบคุณที่เปดมุมมองของเราตอกรรมและวิบากแลว ผมเกิดจิตคารวะตอผูเขียน ผูหญิงธรรมดาคนนึงคนนี้ อยางยิ่ง ตอความทนทรหดในการเผชิญวิบากของเธอ ซึ่งผมถือวาเปนหัวใจของหนังสือเลมนี้เลยทีเดียว อานแลวหวลคิดถึงตบะอันนอยนิดของตนเองตอวิบากที่เรามี ตอเจากรรมนายเวรของเรา ทั้งในรูปแบบของญาติพ่ีนอง หรือ เพ่ือนรวมงานตัวดี เวลาทําอะไรใหเรารําคาญนิดเดียว เราแทบจะชักดิ้นชักงอ จะเปนจะตายเอาใหได ไมก็หนีสุดหลา หลบหนาสุดฤทธิ์ ลาออกจากงานเพื่อหนีหนาลูกนองก็ทํามาแลว เพียงเพ่ือมาเจอเรื่องอีหรอบเดิมที่บริษัทใหม เหมือนกันเปะ ตางกันแคชื่อเรียกจริงจริ๊ง อานหนังสือเลมนี้แลวก็สรุปไดเลยวา หนีไมพน ไมตองหนี เสียชื่อโยคีผูมีตบะเปนวัตรหมด

หนังสือแมเลมหนา แตอานสบาย บางชวงสนุกเหมือนละครหลังขาวเลย ทั้งฝายศิลปกรรมเขาจัดตัวอักษรสบายตา มีรูปอีกตางหาก ลองหามาอานดูนะครับ เมื่อเขาใจกรรม-วิบากมากขึ้น จะชวยใหเราตัดนิวรณบางสวนออกจากจิตไดเลยนะ จะไดทุมเทสรรพกําลัง ไปสูเปาหมายใหทันขบวนภพนี้

0905 13

Page 14: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

ไวราคยะ : การบรรลุถึงการดับการปรุงแตงของจิต

วีระพงษ ไกรวิทย และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี แปลและเรียบเรียง

ขอเทาความในฉบับที่แลวกันสักนิด ฉบับกอนไดพูดถึงการบรรลุถึงการดับการปรุงแตงของจิตซึ่งปตัญชลีแนะนําใหทํา ๒ วิธีคือ อภยาสะและไวราคยะ (หรือการฝกปฏิบัติและการถอดถอน/ละวาง) และไดอธิบายถึงอภยาสะโดยละเอียด สรุปก็คือ อภยาสะเปนความเพียรที่จะฝกฝนปฏิบัติซ้ําแลวซ้ําเลาเพ่ือใหเขาถึงสภาวะที่มีเสถียรภาพอันเปนที่ปรารถนาของผูฝกโยคะทั้งหลาย และการฝกปฏิบัติซ้ําแลวซ้ําเลาเหลานั้นจะตั้งมั่นไดก็ดวยเง่ือนไข ๓ อยางคือ ๑) การฝกตอเนื่องเปนระยะเวลายาวนาน ๒) การฝกเปนประจําสม่ําเสมอ และ ๓) การมีทัศนคติหรือจิตใจท่ีเปดวางและพึงพอใจ

ฉบับนี้จะอธิบายถึงไวราคยะซึ่งปรากฏอยูในโยคะสูตรบทที่ ๑ ประโยคที่ ๑๕ กลาววา “ทฤษฏานุศรวิกวิษยะวิตฤษณสยะ วศีการสัมชญา ไวราคยัม” มี ๒ ความหมายคือ ๑) ไวราคยะหรือการถอดถอน(ละวาง) ของผูที่ไมสนใจในทุกๆ ส่ิงที่ไดเห็นหรือไดยินจากภายนอก เรียกวา “วศีการะ” หรือ ๒) ไวราคยะคือส่ิงซึ่งมีความตระหนักรูในการกาวพนจากความตองการ(ตัณหา) ทางวัตถุหรือทุกๆ ส่ิงที่ไดเห็นหรือไดยินจากภายนอก

ปตัญชลีไมไดอธิบายไวราคยะตามความหมายดังกลาวขางตน และไมไดใหความสําคัญกับไวราคยะขั้นพ้ืนฐานมากนัก แตเนนอธิบายถึงขั้นที่สูงมากๆ ของไวราคยะซึ่งมีความหมายและความสําคัญในแงของการปฏิบัติโยคะ เหตุผลอาจจะเปนไปไดวาคําวาไวราคยะมีคําอธิบายในตัวเองอยูแลว โดยคํานี้เปนคํานามมาจาก “วิ” แปลวา ไม หรือปราศจาก และคําวา “ราคะ” (มาจากคํากริยา รชะ แปลวา ชอบ หรือ ดึงดูด) คือ ความชอบ ความรัก หรือ การยึดติดผูกพัน สวนคําวา “ยะ” เปนคําปจจัย(ลงทาย) เพ่ือทําใหเปนคํานามบงบอกถึงสภาวะ ดังนั้นความหมายของคําวา ไวราคยะ โดยตรงแลวจึงหมายถึง การไมยึดติดผูกพัน หรือการถอดถอน ละวางนั่นเอง

คําวา “สัมชญา” มีสองความหมายที่แตกตางกัน ถาสัมชญาที่แปลวา การตั้ง การระบุ ตามความหมายนี้ไดมีการจัดแบงการพัฒนาไวราคยะออกเปน ๔ ขั้น ไดแก ๑) ยตมานะ (สัมชญา หรือ สัมชญกะ) ๒) วยติเรกะ ๓) เอเกนทริยะ ๔) วศีการะ

ทั้ง ๔ คําหรือขั้นตอนนี้คอนขางจะมีคําอธิบายในตัวเอง อยางคําแรก “ยตมานะ” ยตะ แปลวา พยายาม + มานะ แปลวา ผูที่มี ผูที่เปนเจาของ นี่คือขั้นแรกสุดของการพัฒนาไวราคยะ สําหรับการพัฒนาไวราคยะนั้นผูฝกตองเขาใจความสําคัญและความจําเปนของโยคะหรือการพัฒนาจิตวิญญาณ นั่นคือในเบ้ืองตนผูฝกตองปลุกความตองการที่จะพัฒนาการถอดถอน/ละวางจากวัตถุหรือส่ิงตางๆ ใหมีขึ้นในตัวเสียกอน จากนั้นเขาจึงเริ่มที่จะพยายามพัฒนาทัศนะเชนนี้ และทันทีที่เขาเริ่มพยายามที่จะพัฒนาทัศนะของการถอดถอน/ละวางน้ี เขายอมอยูในสภาวะของยตมานะ ก็คือ ผูประกอบความเพียร

ตอมาในขณะที่ผูฝกเริ่มลงมือปฏิบัติความเพียรนั้น ทัศนะของการถอดถอน/ละวางก็จะคอยๆ เติบโตขึ้นทีละเล็กละนอย ผูฝกจะเกิดประสบการณในลักษณะเดียวกันคือ ภาวะความชอบหรือการยึดติดผูกพันกับส่ิงตางๆ ของบุคคลนั้นจะแปรเปล่ียนไปตามแรงหรือกําลังที่ยึดติดกับมัน ดังนั้นผูฝกอาจสามารถขจัดบางสิ่งบางอยางออกไปไดงายเพราะสิ่งนั้นมีกําลังที่จะดึงดูดใจเขาไดนอย แตสําหรับส่ิงยึดติดผูกพันอยางอื่นๆ ที่ลึกซึ้งหรือมีกําลังมากกวาอาจยากที่จะขจัดออก ฉะนั้นในขั้นที่สองของไวราคยะผูฝกไดถอดถอน/ละวางการยึดติดหรือความตองการตอส่ิงเหลานั้นออกไปบางแตยังไมทั้งหมด เพราะยังไมสามารถถอดถอน/ละวางส่ิงอื่นๆ บางอยางได ในขั้นนี้เรียกวา “วยติเรกะ” ซึ่งหมายถึง การขจัดออกไปบางสวน

โดยปกติคนเราเมื่อรับรูวัตถุหรือส่ิงตางๆ จะรูสึกสนุกเพลิดเพลินกับมันโดยผานประสาทสัมผัสในชองทางตางๆ (๕ ชองทาง) ความเพลิดเพลินนี้จะนําไปสูการยึดติดผูกพัน ในขั้นตอนที่สามนี้ผูฝกจะเชี่ยวชาญจนสามารถควบคุมประสาทสัมผัสไดส่ีชองทางยกเวนอีกเพียงหนึ่งชองทางที่ยากจะควบคุมได ในขั้นนี้ความเพลิดเพลนิในส่ิงตางๆ ผานทางประสาทสัมผัสทั้งส่ีนั้นจะหมดไป แตเขายังคงเพลิดเพลินยินดี(ยินราย) กับส่ิงตางๆ ที่รับรูผานทางประสาทสัมผัสที่เหลืออีกหนึ่งชองทาง ซึ่งประสาทสัมผัสหนึ่งชองทางนั้นจะเปนดานสุดทายที่ยากที่สุดที่จะขจัดออกไปได และประสาทสัมผัสอยางสุดทายที่ยากที่สุดนี้ก็จะแตกตางกันไปตามธรรมชาติของแตละบุคคล ตัวอยางเชน คนหนึ่งอาจพบวาความเพลิดเพลินในรสชาติเปนส่ิงที่ยากที่สุด

0905 14

Page 15: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

0905 15

สําหรับเขาที่จะควบคุมได แตสําหรับอีกคนหนึ่งอาจจะเปนความเพลิดเพลินในการมองเห็น หรือการไดยินไดฟงส่ิงตางๆ ก็ได ดังนั้นขั้นที่สามของการพัฒนาไวราคยะจึงไดชื่อวา “เอเกนทริยะ” ซึ่งหมายถึง เหลืออีกเพียงหนึ่งประสาทสัมผัสที่ยังทํางานตามปกติอยู ยังไมสามารถควบคุมได

ในขั้นที่ส่ีซึ่งเปนขั้นสุดทายตามลําดับของการพัฒนาไวราคยะคอื “วศีการะ” ซึ่งหมายถึงมคีวามเชี่ยวชาญอยางสมบูรณหรือสามารถขจัดความอยาก(ตัณหา) ที่เคยเพลิดเพลินผานทางประสาทสัมผัสทั้งหลายออกไปไดอยางหมดจด ผูที่เขาถึงไวราคยะในขั้นนี้เรียกไดวาเปนผูตัดกิเลสไดดั่งใจ ในขั้นสุดทายของไวราคยะนี้เปนขั้นที่โยคีมีความเชี่ยวชาญมากจนกระทั่งเขาไมไดรูสึกเพลิดเพลินยินดีกับวัตถุหรือส่ิงตางๆ ที่เขาเห็นหรือไดยิน เหตุที่ปตัญชลีกลาวถึงเฉพาะขั้นสุดทายของไวราคยะในประโยคที่ ๑๕ นี้อาจเปนเพราะขั้นนี้เปนขั้นที่สําคัญมากของการพัฒนาในโยคะ ไมตองสงสัยเลยวาทั้งสามขั้นแรกนั้นผูฝกโยคะทุกคนจําเปนตองกาวผานมาแลว และแมวาตอนนี้พวกเขาจะพัฒนามาถึงขั้นที่ส่ีซึ่งเปนขั้นที่สูงมากของการพัฒนาไวราคยะ แตก็ยังไมถือวาเปนระดับที่กาวหนาและใหความพึงพอใจสูงสุดไดซึ่งจะมีการอธิบายประเด็นนี้ในประโยคถัดไป

ในความหมายที่สองของคําวา “สัมชญา” นั้นแปลวา การตระหนักรู ในประโยคนี้ของโยคะสูตรกําลังชี้ใหเห็นวา มีเพียงขั้นนี้เทานั้นที่โยคีจะมีความเชื่อมั่นวาเขาสามารถควบคุมประสาทสัมผัสทั้งหมดไดจนถึงขนาดที่วาเขาไมรูสึกเพลิดเพลินยินดีกับส่ิงตางๆ ที่รับรูผานทางสัมผัสทั้งหลาย ดังนั้นโยคีจึงขจัดความอยากทั้งปวงออกไปได ในขัน้นี้จึงเปนเปาประสงคของความกาวหนาในโยคะตามการนําเสนอของปตัญชลี

โยคีตองขจัดความยินดีในความอยากทั้งปวงหมายถึงทั้งความอยากในสิ่งที่มองเห็นสัมผัสไดและในสิ่งที่มองไมเห็นแตเชื่อวามีอยู ดั

งที่ปตัญชลีกลาวถึงในคําวา “ทฤษฏะ” (เห็น) หมายรวมถึงทุกส่ิงที่ปรากฏในโลกซึ่งมีใหโยคีไดเพลิดเพลิน สวนคําวา “อนุศรวิกะ” หมายถึงส่ิงซึ่งไมสามารถมองเห็นไดแตอาจจะมีอยูถาเขาเชื่อวามันมีอยูตามที่เคยไดยินไดฟงมา เชน สวรรค เปนตน แมโยคีจะไมเพลิดเพลินยินดีกับส่ิงที่สัมผัสไดแลวแตหากยังติดของอยูกับความอยากในสิ่งที่สัมผัสไมได เชนตองการไปสูสวรรค หรืออยากบรรลุภูมิธรรมใดๆ ก็ตาม ความอยากเชนนี้ก็ควรถอดถอนละวางหรือขจัดออกดวยเชนกัน

ถัดไปในประโยคที่ ๑๖ กลาวไววา “ตัตปะรัม ปุรุษะขยาเตรคุณไวตฤษณยัม” หมายความวา ขั้นสูงสุดในการ

ตระหนักรูของปุรุษะจะเกิดขึ้นเมื่อความตองการ(ตัณหา) ในคุณะทั้งสาม2หมดไปอยางส้ินเชิง

ขั้นสูงสุดของไวราคยะคือขั้นที่ภาวะไรตัณหาไดเกิดขึ้นในโยคี แมแตสภาวะของคุณะทั้งสามซึ่งเปนรูปเดิมของประกฤติก็ไมสงผลตอโยคีเชนกัน ในวศีการะสัมชญาไวราคยะนั้นแมวาโยคีจะควบคุมอินทรียประสาททั้งหมดไวไดแลว ก็ยังมีความเปนไปไดที่การยึดติดผูกพันกับวัตถุตางๆ ไมไดถูกกําจดัออกไปทั้งหมดแตจะกลับขึ้นมาทํางานใหมได เพราะวาความรูสึกตางๆ นั้นมีพลังเหนยีวแนนมาก การเผลอเพียงเล็กนอยของโยคีอาจนําไปสูสถานการณซึ่งความอยากที่จะสนุกเพลิดเพลินกับวัตถุตางๆ ที่กระตุนความรูสึกอาจเงยหัวทะยานขึ้นมาอีกครั้ง เหตุการณนี้เปนส่ิงที่เกิดขึ้นบอยมาก โยคีที่ครั้งหนึ่งเคยพัฒนาสภาวะที่ไรความอยากในวัตถุหรือส่ิงตางๆ ที่เขามากระทบอาจรูสึกวาตอนนี้วัตถุเหลานั้นไมอาจทําใหเขาเกิดความยินดี(ยินราย) หรือทําอันตรายใดใดตอเขาได เพราะเขาเขาไปเกี่ยวของหรือสัมพันธกับวัตถุเหลานั้นดวยอาการที่ไมยึดติดหรือผูกพันทางใจ อยางไรก็ตามเมื่อความไมยึดติดหรือผูกพันทางใจคอยๆ ลดนอยถอยลงจากการเขาไปสัมผัสกับวัตถุเหลานั้นบอยๆ จนโยคีคอยๆ เร่ิมเกิดความพึงพอใจในความเพลิดเพลินกับวัตถุเหลานั้น ดังนั้นการยึดติดผูกพันกับวัตถุจึงกลับมาอีกครั้งในขณะที่ไวราคยะ(การถอดถอน/ละวาง) ก็หายไป มีตัวอยางที่เกิดขึ้นเชนนี้เปนจํานวนมากที่สามารถพบเห็นไดในชีวิตจริง โดยมีเร่ืองเลามากมายของธรรมชาติที่เกิดขึ้นดังกลาวปรากฏอยูในคัมภีรชื่อวา “เปาราณิกะ (Pauranika)”

ความสมบูรณแบบของไวราคยะที่บรรลุถึงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อผูฝกเกิดความตระหนักรูในปุรุษะหรือธรรมชาติเดิมแทของตัวผูรู หรืออาจกลาวไดวา การเขาถึงสภาวะสูงสุดของไวราคยะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อบรรลุถึงเปาหมายสูงสุดของโยคะ การตระหนักรูในปุรุษะก็คือการบรรลุถึงสภาวะของไกวัลยนั่นเอง หรือพูดอีกอยางหนึ่งคณุะไวตฤษณยะ ไวราคยะ ก็เปนคําที่มีความหมาย

เหมือนกับคําวา บรมธรรม3 หรือ summum bonum ตามมรรคาแหงโยคะของปตัญชลี อยางไรก็ตามตราบเทาที่บุคคลยังมีกาย

2

คุณะทั้ง ๓ คือ สัตตวะ รชัส และตมัส (โปรดดูเพิม่เติมเชิงอรรถที่ ๑ ในฉบับ “โยคะสูตรวาดวย การปรุงแตงของจิต ๕ ประการ (๔)”) 3

คําวา summum bonum เปนคําท่ีทานพุทธทาสภิกขุไดเคยแปลไววา “บรมธรรม” ซ่ึงหมายถึง ส่ิงสูงสุดหรือเปาหมายสูงสุดท่ีมนุษยคนหนึ่งเมื่อเกิดมาแลวควรจะบรรลใุหถึง คํานี้จึงมีความหมายกวางและใชไดกับผูปฏิบัติในทุกลัทธิศาสนา (ผูแปล)

Page 16: Yoga Saratta -May 2552 (Vol.0905)

0905 16

และจิตอยูก็ยังมีการเชื่อมโยงสัมพันธกันระหวางปุรุษะกับประกฤติอยู (เพราะในขั้นที่ละเอียดแลวกายและจิตก็เปนสวนที่เกิดจากประกฤติ) ดังนั้นดูเหมือนวาขั้นสูงสุดของไวราคยะหรือคุณะไวตฤษณยะจะไมสามารถบรรลุถึงไดในชีวิตนี้(เพราะยังมีกายและจิตอยู) คําถามที่เกิดขึ้นในใจก็คือ อะไรคือเปาหมายของการกลาวถึงไวราคยะในที่นี้ซึ่งมันเปนไปไมไดที่จะบรรลุถึงในขณะมีชีวิตอยู

อาจเปนเพราะวัตถุประสงคของโศลกนี้ตองการเตือนใหโยคีหรือผูฝกกระตือรือรนอยูเสมอ และไมยอหยอนตอการฝกฝนพัฒนาตนเองใหกาวหนายิ่งๆ ขึ้น หรืออยางนอยที่สุดก็ใหรักษาระดับของไวราคยะที่บรรลุถึงไวใหได(ไมถอยหลัง) เพราะหากโยคีประมาทแมเพียงเล็กนอยโดยเริ่มรูสึกเพลิดเพลินยินดีเมื่อรับรูวัตถุหรือส่ิงตางๆ จากภายนอก เขาก็อาจจะพัฒนาการยึดติดผูกพันกับส่ิงเหลานั้นขึ้นมาอีก ดังนั้นเขาควรจะระมัดระวังไมใหสภาพเชนนี้เกิดขึ้น ในอีกแงหนึ่งภายหลังจากไวราคยะไดรับการพัฒนาขึ้นมาจนถึงระดับสูงแลว ยมะในขออปริคระหะ 4 ก็ยังจําเปนตองไดรับการฝกฝนอยางจริงใจและพิถีพิถันอยูเสมอ

สรุปวาทั้งสองประโยคของโยคะสูตรขางตนนี้ดูเหมือนวาปตัญชลีจะไมไดอธิบายรายละเอียดของไวราคยะขั้นพ้ืนฐาน และก็ไมไดระบุชัดหรืออธิบายรายละเอียดของการฝกปฏิบัติเพ่ือพัฒนาไวราคยะในขั้นตางๆ ใหเกิดขึ้น เพียงแตบอกวาการพัฒนาไวราคยะในระดับสูงมากนั้นเปนส่ิงเดียวที่สําคัญยิ่งตอการฝกฝนพัฒนาดานโยคะอยางแทจริง

4 อปริคระหะ เปนหน่ึงในยมะ ๕ ขอที่กลาวถึงการฝกฝนตนเองดวยการไมรับ ไมครอบครอง และไมสะสมกักตุนส่ิงตางๆ เพื่อไมใหเกิดความรูสึก

เพลิดเพลินยินดี(ราคะ) กับวัตถุตางๆ ที่ไดมา (ผูแปล)

เอกสารอางอิง : Karambelkar, P. V., (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.

เชิญชวนชวยกันเขียนบทความมายังจดหมายขาวฯ

จดหมายขาวโยคะสารัตถะ วิถีชีวิตเพ่ือสุขภาวะ ขอเชิญชวนผูอาน ไมวาจะเปนเพ่ือนครูโยคะ หรือ ผูสนใจ เขียนบทความมาเผยแพรในจดหมายขาวนี้

ตามภารกิจของสถาบันโยคะฯ พวกเรากําลังพัฒนาตนไปสู การมีปญญา คือรูและเขาใจตนเอง ขณะเดียวกัน ก็ชวยกันพัฒนาองคความรูโยคะ ในสังคมไทย ซึ่งการเขียนบทความ เปนชองทางหนึ่งที่จะเอื้อตอการพัฒนาดังกลาว

โดยสามารถเขียนในรูปแบบตางๆ มากมาย เชน เขียนเลาประสบการณการฝกโยคะของตน เลาประสบการณการสอนโยคะของตน หรือ ประสบการณการประสานงานโยคะในงาน ทั้งยังอาจเขียนนําเสนอความคิดเห็น ทรรศนะตางๆ ตลอดจน แปลบทความที่นาสนใจ จากนิตยสาร จากหนังสือตางประเทศ

การเขียนนี้ไมจํากัดวาจะตองเปนเรื่องโยคะโดยตรงเทานั้น จดหมายขาวฯ ยินดีรับเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาตน เชน สุขภาพ ธรรมะ การทองเท่ียว อาหาร แนะนําหนังสือ วิจารณภาพยนตร ฯลฯ

การเขียนบทความนี้ สถาบันฯ ไมมีคาตอบแทน ซึ่งเปนนโยบายที่เราอยากจะสรางสิ่งดีๆ ใหเกิดขึ้น โดยไมตองมีเร่ืองผลประโยชนมาเกี่ยวของ

สงมาไดที่สถาบันโยคะวิชาการ หรือสงมาทางอีเมล [email protected] กองบรรณาธิการจดหมายขาวสารัตถะ ขอขอบคุณเครือขายครูทุกทุกทานที่ไดเขียนบทความสงมาใหโดยตลอด

ขอแสดงความนับถือ กวี คงภักดีพงษ

ตัวแทนกองบรรณาธิการ