Top Banner
OP.2 รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรร-รรรร รรร รรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรรร รรรรรรรรรรรรรรรรร 1
31

VRUengagement.vru.ac.th/manager/upload/doc/040219_185046_0.docx · Web viewหล กส ตรนว ตกรรมด จ ท ลและว ศวกรรมซอฟต แวร

Oct 21, 2020

Download

Documents

dariahiddleston
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript

รายงานผลการศึกษาชุมชนและแผนพัฒนาครัวเรือนเป้าหมาย

ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต

โดย

สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำนำ

การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นนโยบายหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การดำเนินโครงการศึกษาชุมชนและพัฒนาครัวเรือนเป้าหมาย ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนและค้นหาปัญหาหรือความต้องการ เพื่อนำไปวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

รายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วยรายละเอียดการสำรวจบริบทชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และการวิเคราะห์สภาพชุมชนและรายละเอียดปัญหา ทางคณะผู้จัดทำโครงการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

หน้า

1. บทนำ1

1.1 หลักการและเหตุผล21.2 วัตถุประสงค์ของการสำรวจลงพื้นที่ชุมชน1

1.3 ขอบเขตการสำรวจลงพื้นที่ชุมชน2

1.4 วิธีการดำเนินการสำรวจความต้องการชุมชน2

1.5 เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจความต้องการชุมชน 32. ผลการศึกษาชุมชนเบื้องต้น4

2.1 ข้อมูลทั่วไปของชุมชน4

2.2 ข้อมูลด้านสภาพนิเวศวิทยา5

2.3 ข้อมูลด้านสภาพพื้นฐานด้านเกษตรกรรม 6

2.4 ข้อมูลด้านประชากร6

2.5 ข้อมูลด้านสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน6

2.6 ข้อมูลด้านสังคม7

2.7 ข้อมูลด้านการศึกษา8

2.8 ข้อมูลด้านการสาธารณสุข9

2.9 ข้อมูลด้านศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ และการสันทนาการ9

2.10 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ10

2.11 ข้อมูลด้านการเมืองและการปกครองท้องถิ่น11

2.12 ข้อมูลด้านแผนงาน โครงการ และแนวทางการพัฒนาของชุมชน11

3. ผลการวิเคราะห์ชุมชน 12

3.1 ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชน 12

3.2 ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของกลุ่มครัวเรือนเป้าหมาย12

3.3 แผนการพัฒนาชุมชนระยะ 3-5 ปี13

3.4 ข้อเสนอโครงการพัฒนาที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Quick Win Project) 13

4. สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ 15

4.1 สภาพปัญหา ความต้องการ โอกาสในการพัฒนาจากชุมชนหรือครัวเรือนเป้าหมาย 15

4.2 สรุปความต้องการเชิงพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของหน่วยงาน 15

เครือข่ายประชารัฐที่เกี่ยวข้อง

4.3 ข้อเสนอแนะ จุดเน้น โครงการพัฒนาที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Quick Win Project)15

OP.2

2

บทนำ

1.1 หลักการและเหตุผล

ชุมชนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันและเป็นแหล่งรวบรวมวัฒนธรรม ประเพณีที่มีความหลากหลาย ระบบการปกครองในชุมชนจะปกครองโดยมีผู้นำซึ่งมาจากการแต่งตั้งจากรัฐบาลหรือบางแห่งมีผู้นำโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นบุคคลที่สมาชิกในชุมชนนั้น ๆ ให้ความเคารพ ยกย่อง เนื่องจากชุมชนประกอบด้วยกลุ่มคน ชุมชนจึงมีบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนและปลูกฝังคติ ความคิด ความเชื่อและค่านิยมต่าง ๆ ชุมชนในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบ ชุมชนที่ตั้งอยู่ในชนบทจะมีความแตกต่างจากชุมชนที่อยู่ในตัวเมือง ทั้งในด้านสังคม การศึกษา การเมืองการปกครอง และ เศรษฐกิจ ดังนั้นการพัฒนาชุมชนแต่ละแห่งจึงมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างดังกล่าวข้างต้น

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีนโยบายหลักในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นรอบๆ มหาวิทยาลัย โดยใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ไปช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเหล่านั้นให้ดีขึ้น ชุมชนที่อยู่รอบ ๆ มหาวิทยาลัยมีทั้งชุมชนดั้งเดิมและชุมชนที่ก่อตั้งใหม่ ทั้งนี้เป็นไปตามการขยายตัวของธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ ชุมชนดั้งเดิมจะมีเอกลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณีที่ชัดเจนและฝังรากลึก ส่วนชุมชนใหม่จะมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและเชื้อชาติ การจะพัฒนาชุมชนเหล่านั้นจำเป็นต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการศึกษาและเรียนรู้ มหาวิทยาลัยได้กำหนดชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบให้แต่ละหน่วยงานดูแล แก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมที่สะท้อนผลการพัฒนาในครัวเรือนเป้าหมาย โดยได้รับงบประมาณจากจังหวัดปทุมธานี

หลักสูตรนวัตกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่น จึงเข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชนกับมหาวิทยาลัย โดยได้รับผิดชอบชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต หมู่ที่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี การดำเนินโครงการแบ่งออกเป็นสองรอบ ได้แก่ การสำรวจบริบทชุมชนและจัดทำฐานข้อมูลชุมชน และ การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน โดยเน้นการแก้ไขปัญหาแบบภาพรวมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์ของการสำรวจลงพื้นที่ชุมชน

1.2.1 เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชน

1.2.2 เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการพัฒนา

1.2.3 เพื่อกำหนดจุดเน้นหรือโครงการที่ต้องการพัฒนา

1.3 ขอบเขตการสำรวจลงพื้นที่ชุมชน

1.3.1 สถานที่ ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต หมู่ที่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

1.3.2 ระยะเวลา วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 31 มกราคม 2562

1.4 วิธีการดำเนินการสำรวจความต้องการชุมชน

ขั้นตอนการดำเนินการสำรวจบริบทชุมชน มีดังนี้

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินการสำรวจบริบทชุมชน

1. คณะกรรมการประชุมผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชน เพื่อกำหนดแนวทางการลงสำรวจพื้นที่และวางแผนการลงพื้นที่ชุมชนและระบุข้อมูลหรือผลลัพธ์ของการศึกษาร่วมกัน

ครั้งที่

กิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ต้องการ

1

จัดทำแผนที่เดินดิน

ข้อมูลสถานที่ต่าง ๆ ในหมู่บ้าน

2

เสวนา

ข้อมูลทั่วไปของชุมชน, สภาพเศรษฐกิจ, อาชีพ, สังคม. วัฒนธรรม, ศาสนา

3

เสวนา

ข้อมูลสรุปปัญหาหรือความต้องการของครัวเรือนเป้าหมาย

2. ลงพื้นที่สำรวจรอบ ๆ บริเวณชุมชน และรวบรวมข้อมูลแหล่งที่อยู่อาศัยและสถานที่สำคัญต่าง ๆ นำมาจัดทำแผนที่เดินดิน

3. ลงพื้นที่สำรวจชุมชนและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ตามแผนที่วางไว้ โดยการจัดงานเสวนาร่วมกับชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ โอ่งชีวิต, เส้นเวลา, ปฏิทินกิจกรรม ทำเนียบผู้รู้ และแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน โดยเน้นการรับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้าน

3. คณะกรรมการประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่อสรุปผลการสำรวจชุมชน และเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการพัฒนา รวมถึงกำหนดโครงการพัฒนาที่สะท้อนถึงผลการพัฒนาในระดับชุมชน

4. จัดทำรายงานสรุปผลการสำรวจความต้องการชุมชน และนำเสนอต่อมหาวิทยาลัย

1.5 เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจความต้องการชุมชน

คณะกรรการกำหนดเครื่องมือสำหรับการศึกษาชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต ดังนี้

1. แผนที่เดินดิน ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลตำแหน่ง ที่ตั้งของสถานที่สำคัญภายในชุมชน เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของชุมชน

2. โอ่งชีวิต ใช้วิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของชุมชน รายรับ รายจ่ายภาพรวมของชุมชน เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาอาชีพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้

3. ปฏิทินกิจกรรม ใช้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อค้นหาเอกลักษณ์ชุมชน วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน

4. เส้นเวลา ใช้ศึกษาประวัติ ความเป็นมาของชุมชน เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน

5. ทำเนียบผู้รู้ ใช้รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ ของชุมชน สามารถใช้วิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานหรืออาชีพต่อไป

6. แบบสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปของชุมชน เช่น รายได้ต่อครัวเรือน อาชีพ และ การศึกษา เป็นต้น เพื่อให้ประกอบการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชนและครัวเรือนเป้าหมาย

ผลการศึกษาชุมชนเบื้องต้น

2.1 ข้อมูลทั่วไปของชุมชน

2.1.1 ประวัติหมู่บ้าน

ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2532 โดยการสนับสนุนของเทศบาลตำบลท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี ที่มีนโยบายในการจัดแหล่งที่อยู่อาศัยภายในชุมชนรอบ ๆ นวนครให้เป็นระเบียบ เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยชั่วคราวของพนักงานและนักศึกษา จึงได้วางแผนผังชุมชนและสร้างอาคารสำหรับพักอาศัยใหม่ทั้งหมด และตั้งชื่อชุมชนเป็นนวนครวิลล่า ซึ่งต่อมาได้รวมกับบริเวณที่อยู่อาศัยที่เป็นแฟลต ชุมชนจึงได้ชื่อใหม่ว่า นวนครวิลล่า-แฟลต สมาชิกของชุมชนร้อยละ 90 อพยพหรือย้ายมาจากแหล่งอื่น ๆ เพื่อมาพักอาศัยชั่วคราวและมักจะย้ายกลับภูมิลำเนาเมื่อสิ้นสุดจากการทำงาน ดังนั้นวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนจะเป็นแบบสากล กล่าวคือ เมื่อถึงวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จะมีกิจกรรมที่ส่วนกลางให้ชาวชุมชนได้เข้าร่วม ตลอดจนการแต่งกาย ภาษา และศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ จะเหมือนกับภาคกลางโดยทั่วไป

สถานที่สำคัญในชุมชนประกอบด้วย ศาลาอเนกประสงค์ ซึ่งตั้งอยู่กลางชุมชน เป็นแหล่งรวมตัวกันของสมาชิกในชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน และทุก ๆ เดือน จะมีการจัดการประชุมชมรมผู้สูงอายุ และโบสถ์ศาสนาคริสต์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและทำกิจกรรมต่าง ๆ สถานที่ทั้งสองแห่งจะอยู่ติดกัน ชุมชนไม่มีวัดและโรงเรียน ดังนั้นชาวไทยพุทธที่ต้องการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจะไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนใกล้เคียง เช่น ชุมชนวัดธรรมนาวา เป็นต้น

เหตุการณ์สำคัญในชุมชน คือ อุทกภัย ปี พ.ศ. 2554 ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความเสียหายให้กับชุมชนเป็นอย่างมาก อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ถูกน้ำทั่วขังตลอดทั้งเดือน ส่งผลต่อสุขอนามัยของคนในชุมชนและความเสียหายของอาคารบ้านเรือนที่ต้องมีการเยียวยา ตลอดจนการขาดรายได้ เพราะต้องติดอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยเป็นเวลานาน

2.1.2 เหตุผลในการเลือกหมู่บ้าน การเริ่มต้น ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการขยายตัวของหมู่บ้าน

จากข้อมูล จปฐ. ด้านความต้องการพัฒนาตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน พบว่าชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต มีครัวเรือนจำนวน 22 ครัวเรือน ที่ต้องการพัฒนาตนเอง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้นำน่าจะมีศักยภาพในการปกครอง หรือ ชุมชนมีความพร้อมในการพัฒนาตนเองสูงและให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี

2.1.3 การสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์สำคัญๆ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมและผู้คนที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่อพยพมาจากแหล่งอื่นแบบชั่วคราว เมื่อเสร็จสิ้นการทำงานจะแยกย้ายกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง ดังนั้นสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมจึงเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ที่ประกอบกิจกรรม ซึ่งเหตการณ์สำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนมากที่สุด คือ เหตุการณ์นำท่วมใหญ่ปี 2554 อาคารบ้านเรือนต่างได้รับความเสียหายและผู้คนในชุมชนขาดรายได้ เพราะน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลาหลายเดือน ประกอบกับการสัญจรไปมาไม่สะดวก ผู้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กและคนแก่จึงอยู่กับบ้าน กลุ่มอาชีพคนที่ได้รับลกระทบมากที่สุด คือ ค้าขาย ผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สมาชิกในชุมชนที่ค้าขายขาดรายได้ และคนที่ทำงานประจำได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ปกติอีกด้วย จากการสำรวจบริเวณชุมชน พบบางบริเวณที่ถูกปล่อยทิ้งร้างหรือไม่มีคนทำความสะอาด เนื่องจากน้ำท่วมสูง

2.2 ข้อมูลด้านสภาพนิเวศวิทยา

2.2.1 สภาพทางภูมิประเทศ (พิกัด แหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน ภูเขา ป่าไม้ อากาศ ดิน ฯลฯ)

ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลตตั้งอยู่ละติจูด 14.116983 และ ลองจิจูด 100.605646 บนพื้นที่ประมาณ 16 ไร่ บริเวณทิศเหนือของชุมชนติดคลองเปรมประชากร

2.2.2 สภาพทางนิเวศวิทยาจำเพาะ (ต้นไม้ สัตว์ประจำถิ่น หรืออพยพมา)

ชุมชนเป็นชุมชนตั้งใหม่และเป็นชุมชนเมือง ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากแหล่งอื่น มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ดังนั้นจึงไม่มีเอกลักษณ์ของชุมชนที่โดดเด่นและชัดเจน

2.2.3 สภาพการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อชุมชน

การจัดระเบียบที่อยู่อาศัยของเทศบาลท่าโขลงที่มีการรวมพื้นที่ของชุมชนแฟลต เข้ากับชุมชนนวนครวิลล่า ทำให้ชุมชนนวนครวิลล่าต้องปรับเปลี่ยนลักษณะที่อยู่อาศัยไปเป็นตึกและผังของหมู่บ้านและบ้าบเรือนถูกย้าย เพื่อจัดให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งเมื่อมองจากแผนที่หรือภาพถ่ายทางดาวเทียมจะเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยม

2.3 ข้อมูลด้านสภาพพื้นฐานด้านเกษตรกรรม

ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต เป็นชุมชนเมืองและพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัยสำหรับให้เช่า ดังนั้นจึงไม่มีการเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพ ซึ่งอาชีพหลักของคนในชุมชน ได้แก่ พนักงานบริษัท ลูกจ้าง และ ค้าขาย

2.4 ข้อมูลด้านประชากร

2.4.1 จำนวนครัวเรือน 1,300 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 3,000 คน

2.4.2 การเปลี่ยนแปลงประชากร

ไม่มี

2.4.3 ประเภทกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมของชาติพันธ์นั้น ๆ

ไม่มี

2.5 ข้อมูลด้านสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน

2.5.1 การคมนาคม การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกหมู่บ้าน

ชุมชนมีถนนล้อมรอบชุมชนและจัดแบ่งพื้นที่เป็นซอย มีทั้งหมด 4 ซอย ที่พักอาศัยและอาคารต่าง ๆ แบ่งเป็นสัดส่วนทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกสบาย บริการรถประจำทาง ประกอบด้วย รถสองแถว รถตู้ มอเตอร์ไซต์รับจ้างรับจ้าง และรถแท็กซี่

2.5.2 การมีไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้านและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชุมชน

ชุมชนเริ่มมีไฟฟ้าใช้เมื่อประมาณ 30 – 40 ปีที่แล้ว ก่อนเริ่มก่อตั้งชุมชน ทำให้วิชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไป ประกอบกับตามจุดต่าง ๆ ที่ต้องมีการสัญจร เช่น แยกระหว่างซอย และ หน้าปากซอย มีไฟให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการสัญจร

2.5.3 การมีประปาหมู่บ้านและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชุมชน

ชุมชนใช้บริการน้ำประปา จากกรมชลประทาน โดยอาศัยแหล่งบริหารจัดการน้ำประปาของชุมชนใกล้เคียง เพราะชุมชนยังไม่มีที่แจกจ่ายแหล่งน้ำ อย่างไรก็ตามการใช้น้ำประปามีข้อดีกว่าการใช้น้ำจากคลองโดยตรง เพราะสะอาดและปราศจากเชื้อโรค

2.5.4 การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต

ชุมชนไม่มีบริการอินเทอร์เน็ตส่วนกลาง ดังนั้นสมาชิกในชุมชนที่มีอายุน้อยกว่า 60 ลงมา จึงใช้อินเทอร์เน็ตส่วนตัว ซึ่งมีสองแบบคือ บริการอินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ จาดบริษัทผู้ให้บริการ

2.6 ข้อมูลด้านสังคม

2.6.1 ลักษณะของครอบครัว ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย

จำนวนสมาชิกของชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของบริษัทและโรงงานต่าง ๆ จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า ลักษณะครอบครัวของชุมชนร้อยละ 90 เป็นครอบครัวเดี่ยว เพราะผู้คนอพยพมาจากถิ่นอื่นและไม่ต้องการตั้งรกรากถาวร

2.6.2 การตัดสินใจและการจัดการในครอบครัว การเลือกคู่ครองและการแต่งงาน

จากการสำรวจยังไม่พบปัญหาในครอบครัว อย่างไรก็ตามสมาชิกในชุมชนที่หย่าร้าง ต้องเลี้ยงบุตรด้วยตนเอง สามารถทำงานและส่งเสียเลี้ยงดูบุตรหลาน รวมถึงคนในครอบครัวได้ การตัดสินใจเลือกคู่ครองเป็นแบบอิสระ แต่ยังคงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของไทย และคำนึงถึงความแตกต่างต่างทางเชื้อชาติและศาสนาอีกด้วย

2.6.3 ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัวซึ่งไปทำงานที่อื่น

สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่ทำงานใกล้บ้าน คือ ทำงานโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัท บางส่วนค้าขาย ดังนั้นจึงมีสมาชิกในชุมชนส่วนน้อยมากไปทำงานที่อื่น ซึ่งกลุ่มคนเหล่านั้นประกอบอาชีพอื่นที่ไม่ใช่การค้าขาย และรับจ้าง โดยการทำการค้าขายของชุมชน ร้านค้าส่วนใหญ่จะไปรับของที่ต้องจำหน่ายจากแหล่งซื้อขายภายนอก

2.6.4 ระบบเครือญาติและแผนภูมิเครือญาติ (Pedigree)

ชุมชนเป็นชุมชนเมืองและมีผู้คนผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนมาอยู่อาศัย ซึ่งอยู่อาศัยร่วมกันแบบพี่น้อง

2.6.5 การรวมกลุ่มทางสังคมในเชิงพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน

การร่วมกลุ่มของชุมชนจะอยู่ในลักษณะการทำกิจกรรมร่วมกันในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเด็ก และ วันคริสต์มาส เป็นต้น โดยทำกิจกรรมที่ครอบคลุม ทั่วถึงทุกศาสนา นอกจากนั้นในวันศุกร์ยังมีการรวมกลุ่มของชาวพุทธ เพื่อสวดมนต์ ภาวนาร่วมกัน

2.6.6 ความขัดแย้ง ความแตกต่างทางสังคม อุดมการณ์

สมาชิกในชุมชนนับถือศาสนาที่หลากหลาย ได้แก่ พุทธ คริสต์ และ อิสลาม ซึ่งแต่ละศาสนาจะประกอบกิจกรรมของตนเอง และอยู่ร่วมกันได้ โดยที่ไม่มีปัญหาความจัดแย้งใด ๆ เกิดขึ้น

2.6.7 ปราชญ์ชุมชน และภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สำคัญ

ชุมชนไม่มีปราชญ์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาทั้งถิ่น แต่มีผู้รู้ ซึ่งศึกษาเรื่องที่สนใจและนำมาประกอบเป็นอาชีพรอง ดังนี้

ลำดับ

ชื่อ

ความรู้/ความเชี่ยวชาญ

1

ป้านา

การดูดวงและการนวด มีการรวมกลุ่มกับผู้ที่สนใจและสามารถถ่ายทอดความรู้พื้นฐานได้

2

พี่คำสอน

การทำไม้ตาลยึดเส้น รับจ้างทำเป็นอาชีพรอง ส่งขายยังต่างจังหวัด

3

พี่ภาวนา

การทำกะหรี่ปั๊บงาดำ ทำขายเป็นอาชีพรอง

4

พี่ทัศนีย์

การทำช้างกายภาพ อุปกรณ์บริหารมือ มีการรวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่อทำแจกและทำขาย ตลอดจนการเป็นวิทยากรรับเชิญยังสถานที่ต่าง ๆ

5

พี่ไพรวรรณ

การทำสมุนไพรความงาม เช่น แชมพู สบู่ และเซรั่ม เป็นต้น มีการคิดค้น ทดลองสร้างสูตรของตนเอง แต่แหล่งผลิตยังอยู่ต่างจังหวัด มีต้นทุนสูง

2.7 ข้อมูลด้านการศึกษา

ชุมชนไม่มีโรงเรียน ไม่มีวัด แต่มีโบสถ์สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ประจำชุมชน คือ คริสตจักรเฟรนด์ชิพนวนคร สำหรับผู้คนที่นับถือศาสนาพุทธสามารถเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ประจำสัปดาห์ทุก ๆ วันศุกร์ได้ที่ศาลาอเอนกประสงค์ หรือ ร่วมกิจกรรมกับวัดที่อยู่ใกล้เคียง ด้านการศึกษาจะส่งบุตรหลานไปเรียนยังโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ใกล้เคียงกับชุมชน เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลท่าโขลง โรงเรียนยิ่งยศ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้น

2.8 ข้อมูลด้านการสาธารณสุข

2.8.1 บริการสาธารณสุขในหมู่บ้าน (ตู้ยา สหกรณ์ สถานีอนามัย ฯลฯ)

ภายในชุมชนมีคลินิกที่ให้บริการจำนวน 1 แห่ง ซึ่งคนในชุมชนสามารถใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยคลินิกดังกล่าวมีชุมชนใกล้เคียงมาใช้บริการด้วย

2.8.2 บทบาทของ ผสส. อสม.

อสม.ประจำชุมชนมีหน้าที่สำรวจ ดูแลและให้คำปรึกษาสมาชิกในชุมชนเกี่ยวกับสุขภาพเป็นหลัก โดยดำเนินตามแนวทางของเทศบาลท่าโขลง เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การตรวจสุขภาพประจำเดือน ซึ่ง อสม.จะเก็บข้อมูลดังกล่าวและประสานงานกับสถานีอนามัยต่อไป นอกจากนั้นยังมีหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานของชุมชนในแต่ละปีอีกด้วย

2.8.3 ภาวะโภชนาการของเด็กวัย 0-5 ปี

เด็กในชุมชนมีสภาวะร่างกายปกติ เพราะได้รับการดูแลจากเทศบาลท่าโขลง โดยมีสวัสดิการให้สามารถเข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลได้ ซึ่งนอกจากดูแลบุตรหลานแล้ว ผู้ปกครองยังได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของบุตรหลานอีกด้วย

2.8.4 อนามัยแม่และเด็ก

อสม. และผู้นำชุมชนมีการตรวจเยี่ยมแม่ที่คลอดบุตรเพื่อให้ขวัญกำลังใจ และมีการติดตามดูและเรื่องสุขภาพอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าศูนย์เด็กเล็ก โดยมีการให้ความรู้เรื่องการดูแลบุตรควบคู่กันไปด้วย

2.9 ข้อมูลด้านศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ และการสันทนาการ

2.9.1 ชื่อวัดในหมู่บ้าน ความเป็นมา จำนวนพระภิกษุ สามเณร เสนาสนะ การปกครองคณะสงฆ์

ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต ไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน แต่มีคริสตจักรเฟรนด์ชิพนวนคร มีบาทหลวงจำนวน 1 รูป เป็นผู้ดูแล

2.9.2 บทบาทของวัดในด้านการเผยแผ่ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ และการพัฒนาชุมชน

คริสตจักรเฟรนด์ชิพนวนครมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ศาสนาอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางคริสตจักรแห่งประเทศไทย

2.9.3 ขนบธรรมเนียม ประเพณี กีฬา และสันทนาการพื้นบ้าน เช่น การละเล่นพื้นฐาน และดนตรีพื้นบ้าน

ชุมชนจัดกิจกรรมตามวันสำคัญทางศาสนาสำหรับศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ได้แก่ กิจกรรมวันคริสต์มาส วันเด็ก วันปีใหม่ วันสงกรานต์และวันสำคัญทางศาสนา เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมและสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

2.9.4 อิทธิพลศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านต่อชุมชน

เนื่องจากชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต เป็นชุมชนที่มีสมาชิกชุมชนเป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากแหล่งอื่น ๆ จึงทำให้มีความเชื่อและวัฒนธรรมที่หลากหลาย

2.10 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

2.10.1 การประกอบอาชีพหลัก อาชีพรองของชาวบ้าน

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพค้าขาย

2.10.2 การผลิต การลงทุน และการใช้แรงงาน และเทคโนโลยีต่าง ๆ รูปแบบการแลกเปลี่ยนแรงงาน การลงแขก

สมาชิกบางส่วนในชุมชนลงทุนค้าขายและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้เช่าที่พักอาศัย

2.10.3 ตลาดสำหรับผลผลิต ทั้งในและนอกหมู่บ้าน ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของภายในและภายนอกหมู่บ้าน

ไม่มี

2.10.4 ผลตอบแทนที่ชาวบ้านได้รับ เช่น รายได้ ภาวะหนี้สิน การกู้ยืม เป็นต้น

ชาวบ้านมีรายได้หลักจากการรับจ้าง เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ เบี้ยบำนาญ ค่าเลี้ยงดู - ลูกหลาน ค่าตอบแทน อสม. และรายได้จากการค้าขาย และมีรายจ่าย เช่น การกู้ยืมเงิน ค่าอาหาร ค่าการศึกษา ค่าสาธารณูปโภค ภาษีสังคม และ ค่ารักษาสุขภาพ เป็นต้น

2.10.5 ลักษณะจำนวนร้านค้าภายในหมู่บ้าน และชนิดสินค้า

ร้านขายสินค้าส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นร้านขายสินค้าแบบเบ็ดเตล็ด เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน

2.10.6 ครัวเรือนที่มีที่ดินจำนวนมากที่สุดและน้อยที่สุด จำนวนที่ดินทำกินโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือน จำนวนครัวเรือนไม่มีที่ดินทำกิน

ครัวเรือนมีที่ดินเพื่อปลูกสิ่งก่อสร้าง คือ ที่ดินปลูกบ้าน แต่ไม่มีที่ดินที่เป็นที่ทำกินเป็นของตนเอง

2.10.7 ปัญหาทางด้านการทำมาหากิน ขาดเงินทุน แหล่งน้ำ ที่ทำกิน ภัยธรรมชาติ การบุกรุกที่ดินสาธารณะ ป่าสงวนแห่งชาติ

ไม่มี

2.10.8 สภาวะของความยากจนในหมู่บ้าน รวมทั้งความคิดเป็นของชาวบ้านต่อสภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกหมู่บ้าน ข้อเสนอแนะของชาวบ้านต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

ชาวบ้านมีความคิดเห็นว่า สภาพเศรษฐกิจในชุมชนปานกลาง เพราะชาวบานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพคล้ายๆ กัน คือ พนักงานบริษัท หรือ พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามรายจ่ายก็ยังคงมีมากกว่ารายได้ ดังนั้นจึงควรมีอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มให้แก่ครอบครัว

2.10.9 บทบาทของธนาคารข้าว ธนาคารโค-กระบือ ในทางเศรษฐกิจ กิจกรรมพัฒนาต่างๆ ในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่ม ธ.ก.ส. และกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ พร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

ไม่มี

2.10.10 ปัญหาหนี้สิน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน อิทธิพลของการขายของเร่จากภายนอกเข้ามาในหมู่บ้าน การให้เครดิตหรือสินเชื่อ และผลต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน

มีการใช้บริการเงินกู้กองทุนหมู่บ้าน กู้ออมทรัพย์ และกู้นอกระบบ

2.10.11 ปัญหาการเช่านา พ่อค้าคนกลางในหมู่บ้าน บทบาทและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับชุมชน

ไม่มี

2.11 ข้อมูลด้านการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

2.11.1 โครงสร้างการปกครองของชุมชน (ชื่อฝ่ายปกครอง ผู้นำกลุ่มหรือคุ้มบ้าน)

ชุมชนมีผู้นำชุมชน เพื่อดูแลลูกบ้าน จัดกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชน

2.11.2 องค์กรหรือกลุ่มทางการ และไม่ทางการ เช่น กม. กพสม. เป็นต้น

ไม่มี

2.11.3 ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนในด้านการคิดและการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของชุมชน

มีการลงคะแนนเพื่อออกเสียง หรือแสดงความคิดเห็นต่างๆ ในที่ประชุมหมู่บ้าน และใช้ระบบการลงคะแนนเสียงในการเลือกผู้นำชุมชนและในกิจกรรม โครงการต่าง ๆ ของชุมชน

2.12 ข้อมูลด้านแผนงาน โครงการ และแนวทางการพัฒนาของชุมชน

2.12.1 รายชื่อโครงการ หน่วยงานดำเนินงาน และงบประมาณที่ได้รับ ย้อนหลัง 2-3 ปี

ไม่มี

2.12.2 ความสำเร็จ และผลกระทบของโครงการพัฒนาทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีต่อชุมชน

ไม่มี

ผลการวิเคราะห์ชุมชน

การวิเคราะห์ชุมชนโดยใช้เทคนิค SWOT ซึ่งอาจจะใช้ทฤษฎี หรือเทคนิคอื่นๆ มาเป็นกรอบแนวทางการศึกษาก็ได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับประเด็นหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา

3.1 ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชน

จุดแข็ง

ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันของประชากรในชุมชน มีการนัดประชุมกันเป็นประจำ เพื่อให้คำปรึกษา หารือกัน แสดงความคิดเห็น ร่วมมือกันในการทำงาน การทำกิจกรรมต่าง ๆ การช่วยเหลือกันในชุมชนเป็นอย่างดี

จุดอ่อน

ประชากรในหมู่บ้านที่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เป็นเพียงประชากรส่วนหนึ่งในชุมชน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ทำงานประจำ พอมีวันหยุดก็จะพักผ่อน ไม่ร่วมกิจกรรมของชุมชน

อุปสรรค

1. สมาชิกของชุมชนส่วนใหญ่ทำงานประจำ เช่น รับจ้าง และ ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ทำให้การประสานงานดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ทำได้ยาก หากต้องการนัดหมายประชุมจำเป็นต้องดำเนินการในวันหยุดพักผ่อน

2. วิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นชุมชนเมืองและเป็นชุมชนที่รวม 2 ชุมชนเข้าด้วยกัน ทำให้กิจกรรมหรือโครงการทำได้ไม่ทั่วถึง

โอกาส

ชุมชนมีผู้คนที่ทำอาชีพเสริมหลากหลาย เช่น การทำขนม การทำของใช้ ของชำร่วย เครื่องมือเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงาม เป็นต้น ทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมหรือโครงการเพื่อพัฒนาต่อยอดสินค้าและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำได้ง่าย เพราะมีกลุ่มเป้าหมาย

3.2 ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของกลุ่มครัวเรือนเป้าหมาย

จุดแข็ง

1. ผู้นำครัวเรือนทำงานประจำ แต่รายได้น้อย อยากสร้างรายได้ให้ครัวเรือนเพิ่มเติม จึงคิดค้นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทำแบรนด์เป็นของตนเอง

2. ผู้นำครัวเรือนมีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงามที่ชัดเจน

3. ผู้นำครัวเรือนมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมความงาม พร้อมให้ความร่วมมือเมื่อมีการดำเนินโครงการ

จุดอ่อน

1. ครัวเรือนเป้าหมายขาดความรู้ที่จะโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สร้างแบรนด์ของตนเองให้เป็นที่รู้จัก หรือเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย

2. ช่องทางการขายสินค้าที่ผ่านมาเป็นแบบปากต่อปากและแจกจำหน่ายให้ทดลองใช้ จึงยังไม่สร้างรายได้

3. ผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับการรองจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีมาตรฐาน ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือด้านต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัยในการใช้ และ ผลกระทบข้างเคียง เป็นต้น

อุปสรรค

1. แหล่งผลิตวัตถุดิบอยู่ต่างจังหวัด ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดิน

2. วัตถุดิบหลัก เช่น สมุนไพร ต้องนำเข้าจากแหล่งปลูก ซึ่งอยู่ต่างจังหวัด ไม่สามารถนำเข้ามาจากชุมชนได้ ทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย

โอกาส

1. ครัวเรือนเป้าหมายมีความพร้อมในการพัฒนาและให้ความร่วมมือกับหลักสูตรในการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

2. สมุนไพรเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไป ไม่จำกัดพื้นที่ แม้จะเป็นบ้านพักหรือพื้นที่ขนาดเล็กก็สามารถปลูกได้ หากชาวบ้านมีความรู้เรื่องการปลูกสมุนไพรในพื้นที่จำกัด จะสามารถใช้ที่พักอาศัยเป็นแหล่งปลูกสุมนไพรและจำหน่ายให้กับครัวเรือนเป้าหมายได้

3.3 แผนการพัฒนาชุมชนระยะ 3-5 ปี

ดำเนินโครงการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนที่เน้นการนำสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น ยาสระผม สบู่ เซรั่มบำรุงผิว และ ครีม เป็นต้น การดำเนินการแบ่งเป็น 5 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การให้ความรู้และสนับสนุนการปลูกสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของผลิตภัณฑ์

ระยะที่ 2 การให้ความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ระยะที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ระยะที่ 4 การประชาสัมพันธ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์

3.4 ข้อเสนอโครงการพัฒนาที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Quick Win Project)

โครงการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงาม ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชนและสร้างผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก ซึ่งการดำเนินงานจะครอบคลุมตั้งแต่การให้ความรู้และสนับสนุนการปลูกสมุนไพรในครัวเรือนเพื่อส่งขายให้กับวิสาหกิจ การให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต การจำหน่าย และการประชาสัมพันธ์สินค้า โดยเน้นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อให้ชุมชนมีอาชีพที่ยั่งยืน

สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ

4.1 สภาพปัญหา ความต้องการ โอกาสในการพัฒนาจากชุมชนหรือครัวเรือนเป้าหมาย

จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหา ความต้องการ โอกาสในการพัฒนาจากครัวเรือนเป้าหมาย สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้

1. ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงามที่คิดค้นขึ้น เป็นผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของชุมชน

2. ต้องการมีอาชีพเสริมที่สามารถพัฒนาเป็นอาชีพหลักในอนาคตได้

3. ต้องการองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมความงามเพิ่มเติม เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด

4. ต้องการเผยแพร่องค์ความรู้ที่มาจากการศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงามให้คนในชุมชนได้นำไปใช้ในการประกอบอาชีพ

4.2 สรุปความต้องการเชิงพัฒนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของหน่วยงาน เครือข่ายประชารัฐที่เกี่ยวข้อง

ครัวเรือนเป้าหมายต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงามที่ได้ศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อจำหน่ายลักษณะผลิตภัณฑ์ของชุมชนนวนครวิลล่า โดยมีแนวคิดว่า ต้องการลดต้นทุนการผลิต เช่น วัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงามโดยต้องการส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงามส่งขายให้ครัวเรือนเป้าหมายในราคาต่ำ ซึ่งการปลูกสมุนไพรในพื้นที่จำกัดจำเป็นต้องอาศัยความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และในอนาคตครัวเรือน นอกจากนี้ยังต้องการถ่ายทอดความรู้ รวมกลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงาม และจดทะเบียนอาหารและยา เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ผลิตภัณฑ์ต่อไป

4.3 ข้อเสนอแนะ จุดเน้น โครงการพัฒนาที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Quick Win Project)

ต้องการดำเนินโครงการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงาม ชุมชนนวนครวิลล่า-แฟลต ซึ่งการดำเนินงานจะครอบคลุมตั้งแต่การให้ความรู้และสนับสนุนการปลูกสมุนไพรในครัวเรือนเพื่อส่งขายให้กับวิสาหกิจ การให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต การจำหน่าย และการประชาสัมพันธ์สินค้า โดยเน้นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้คนในชุมชนที่ว่างงาน กลุ่มผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่สนใจมีอาชีพ โดยจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมความงาม

ประชุมวางแผน

ลงพื้นที่สำรวจชุมชน

ประชุมวิเคราะห์และสรุปผลการสำรวจ

จัดทำรายงานและนำเสนอ