Top Banner
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING º · ·Õè 8 ความเสี่ยง การรวมความแปรผันหลายๆ แหล่งเข้าด้วยกันเพื่อ ให้ใช้กันชนจากแหล่งเดียวกันได้ จะช่วยลดปริมาณกันชนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อบรรลุถึงระดับสมรรถนะที่ต้องการ 8.1 บทนำ การเผชิญหน้ากับผลต่อเนื่องในด้านลบของเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน คือ ความ เสี่ยง จนถึงตอนนี้ เราได้จัดการกับความไม่แน่นอนในรูปของความแปรผันตามปกติแล้ว เช่น ความผันผวนของอุปสงค์และอุปทาน วิธีการที่สมเหตุสมผลในการป้องกันความ เสี่ยงจากความแปรผันปกติ คือการใช้กันชนที่เป็นสินค้าคงคลัง กำลังการผลิต หรือ เวลา แต่ระบบโซ่อุปทานนั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือ ความแปรผันตามปกติด้วย พายุเฮอร์ริเคน ความไม่สงบทางการเมือง การก่อการร้าย วิกฤตการณ์การเงิน การก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คาดไม่ถึง ล้วน มีอิทธิพลต่อโซ่อุปทาน ดังนั้น การจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วน หนึ่งในการจัดการโซ่อุปทาน
12

Supply Chain Science THAI Version -10

Apr 27, 2015

Download

Documents

Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

205PBSUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

º · ·Õè 8

ความเสี่ยง

การรวมความแปรผันหลายๆ แหล่งเข้าด้วยกันเพื่อ

ให้ ใช้กันชนจากแหล่งเดียวกันได้

จะช่วยลดปริมาณกันชนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อบรรลุถึงระดับสมรรถนะที่ต้องการ

8.1 บทนำ

การเผชิญหน้ากับผลต่อเนื่องในด้านลบของเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน คือ ความ

เสี่ยง จนถึงตอนนี้ เราได้จัดการกับความไม่แน่นอนในรูปของความแปรผันตามปกติแล้ว

เช่น ความผันผวนของอุปสงค์และอุปทาน วิธีการที่สมเหตุสมผลในการป้องกันความ

เสี่ยงจากความแปรผันปกติ คือการใช้กันชนที่เป็นสินค้าคงคลัง กำลังการผลิต หรือ

เวลา แต่ระบบโซ่อุปทานนั้นต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือ

ความแปรผันตามปกติด้วย พายุเฮอร์ริเคน ความไม่สงบทางการเมือง การก่อการร้าย

วิกฤตการณ์การเงิน การก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี และเหตุการณ์อื่นๆ ที่คาดไม่ถึง ล้วน

มีอิทธิพลต่อโซ่อุปทาน ดังนั้น การจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วน

หนึ่งในการจัดการโซ่อุปทาน

Page 2: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

207206SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 207206SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

แม้ว่ากันชนทั่วๆ ไปมีประสิทธิผลดีมากในการบรรเทาความเสี่ยงจากความ

แปรผันทั่วๆ ไป แต่ก็ไม่มีประโยชน์นักในการบรรเทาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากและมีผล

ต่อเนื่องรุนแรงกว่า (เช่น ภัยพิบัติ) ตัวอย่างเช่น สินค้าคงคลังสำรองมูลค่า 1 สัปดาห์ คง

ไมช่ว่ยปอ้งกนับรษิทัจากผลกระทบจากเพลงิไหมท้ีท่ำใหโ้รงงานของบรษิทัผูจ้ดัสง่วตัถดุบิ

ต้องปิดตัวไป 6 เดือน จริงอยู่ที่บริษัทอาจถือครองสินค้าคงคลังสำรองไว้ 6 เดือนได้ แต่

เนื่องจากว่าความปั่นป่วนร้ายแรงขนาดนี้แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลย การทำเช่นนั้นคงไม่

คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น เพื่อจัดการกับความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ยากแต่มีผลรุนแรง เราต้องเสริมการใช้กันชนด้วยยุทธศาสตร์อื่นๆ

ภาพที่ 8.1 ระดับชั้นของการป้องกันความเสี่ยงในโซ่อุปทาน

ภาพที่ 8.1 ได้แสดงภาพยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ 4 ยุทธศาสตร์ คือ:

การใช้กันชน (Buffering) คือ การรักษาทรัพยากรส่วนเกินไว้ (สินค้าคงคลัง

กำลังการผลิต เวลา) เพื่อรองรับความผันผวนของอุปทานหรืออุปสงค์

การใช้กันชนร่วมกัน (Pooling) คือ การแบ่งกันใช้กันชนเพื่อรองรับความ

แปรผันจากหลายๆ แหล่ง (เช่น อุปสงค์จากหลายตลาด หรือการผลิตจากกระบวนการที่

แตกต่างกัน)

การวางแผนฉุกเฉิน (Contingency Planning) คือ การกำหนดวิธีการดำเนิน

การสำหรับสถานการณ์ที่ได้คาดคิดไว้แล้วล่วงหน้า เราอาจมองได้ว่าวิธีการนี้เป็นเหมือน

“กันชนแบบเสมือน” เพราะมันเกี่ยวข้องกับการเพิ่มกันชนเมื่อจำเป็นเท่านั้น แทนที่จะ

เก็บกันชนเหล่านี้ไว้ล่วงหน้าและโดยต่อเนื่อง

การจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management) คือ การตอบสนองเหตุการณ์

Page 3: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

209208SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 209208SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

แม้ว่าทรัพยากรในกรณีของแผนฉุกเฉินอาจเป็นแบบเสมือนจริง แต่เวลาและ

แรงงานที่ต้องใช้ในการสร้างแผนนี้เป็นเรื่องจริง ดังนั้น การสร้างแผนฉุกเฉินสำหรับทุก

เหตุการณ์ที่สามารถจินตนาการได้และเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสี่ยงให้กับระบบโซ่-

อุปทานจึงไม่สมเหตุสมผล เช่นเดียวกับการใช้กันชน/การใช้กันชนร่วมกัน การวางแผน

ฉุกเฉินจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นเมื่อความเสี่ยงจากเหตุการณ์มีความรุนแรง

มาก ตัวอย่างเช่น การประท้วงหยุดงานของพนักงานท่าเรือที่จะส่งผลต่อทุกบริษัทใน

อุตสาหกรรมโดยเท่าเทียมกัน ซึ่งไม่ทำให้สมดุลการแข่งขันในตลาดเปลี่ยนแปลง อาจ

ไม่ใช่เรื่องที่บริษัทแต่ละบริษัทต้องวางแผนฉุกเฉินอย่างละเอียด แต่แผนฉุกเฉินน่าจะ

เป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลสำหรับกรณีของความไม่สงบทางการเมืองในภูมิภาคของ

โลกที่รบกวนอุปทานของบริษัท แต่ไม่กระทบกับของคู่แข่ง ด้วยสาเหตุนี้เอง พื้นที่ของ

การวางแผนฉุกเฉินในภาพที่ 8.2 จึงขยายออกไปเมื่อความร้ายแรงของเหตุการณ์เพิ่มขึ้น

และท้ายที่สุด สำหรับกรณีที่โอกาสการเกิดและความร้ายแรงของเหตุการณ์ไม่

สามารถวางแผนฉุกเฉินได้ (หรือเราไม่สามารถจินตนาการออกว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร

ขึ้นเพื่อที่จะรับมือได้) เราจะเหลือเพียงแค่แนวทางการจัดการภาวะวิกฤตในการตอบ-

สนองต่อเหตุการณ์ที่สร้างความชะงักงัน โดยเนื้อแท้ของมันแล้ว การจัดการภาวะวิกฤต

ก็คือการวางแผนฉุกเฉินโดยที่ไม่มีการวางแผน หรือเป็นการสร้างและดำเนินการตาม

ภาพที่ 8.2 การจับคู่ระหว่างยุทธศาสตร์ในการรับมือความเสี่ยงเข้ากับความเสี่ยงแต่ละประเภทของโซ่อุปทาน

Page 4: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

217216SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 217216SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

เข้าใจด้วยตัวอย่างเปรียบเทียบ การชิงแชมป์ ในกีฬา

ถ้าคุณเป็นแฟนกีฬา คุณคงสังเกตเห็นแล้วว่าแชมป์ของสมาคมกีฬาบาสเกตบอลแห่งชาติ (NBA) ไม่ ใช่เรื่องที่ต้องประหลาดใจเลย ในอดีตเมื่อไม่นานมานี้ ทีม Lakers, Bulls, Pistons และ Celtics ต่างเป็นแชมป์ติดต่อกันหลายปีเมื่อชนะได้ตามที่คาดไว้ ในทางกลับกัน แชมป์ของลีกฟุตบอลแห่งชาติ (NFL) มักเหนือความคาดหมาย ในปี 2002 ทีม Patriots เป็นผู้ชนะ แม้ว่าจะเป็นทีมอันดับต่ำที่สุดในปีก่อนหน้านั้น ในปี 2003 ทีม Buccaneers ชนะทีมเก็งอย่าง Raiders อย่างขาดลอย ในปี 2006 ทีม Steelers ชนะแชมป์แม้ว่าจะเป็นทีมที่ ไม่ ได้มีแต้มต่อในการแข่งขันก็ตาม

อะไรทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น? โครงสร้างอะไรในกีฬาบาสเกตบอลและอเมริกันฟุตบอลที่ทำให้กีฬาอเมริกันฟุตบอลคาดได้ยากกว่า?

ปรากฏว่ามีความแตกต่างอยู่จริงๆ และเกี่ยวข้องกับการใช้กันชนร่วมกันด้วย! เพื่อให้เห็นภาพ โปรดสังเกตว่ากีฬาทั้ง 2 เกี่ยวข้องกับการผลัดกันครอบครองลูกซึ่งทีมหนึ่งพยายามจะทำแต้ม หลังจากนั้นอีกทีมก็พยายามจะทำแต้มแทน ทีมที่ ได้แต้มเฉลี่ยต่อการครอบครองสูงกว่าจะมีคะแนนสูงกว่าและจะเป็นทีมที่ชนะ แต่ความแปรผันก็มีผลด้วยเช่นกัน ทีมบาสเกตบอลที่ ได้แต้ม 1.1 แต้มต่อการครอบครอง คงไม่ ได้ 1.1 แต้มทุกครั้งที่เล่น จากการเล่นแต่ละครั้ง ทีมมีโอกาสได้แต้ม 0, 1, 2, 3 หรือแม้กระทั่ง 4 แต้ม (เมื่อถูกฟาลว์ขณะที่พยายามชู้ตลูก 3 แต้ม) ถ้าการแข่งขันดำเนินต่อไปได้ ไม่รู้จบ ความแปรผันจะมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และทีมที่มีค่าเฉลี่ยในการได้แต้มสูงกว่าจะเป็นผู้ชนะ แต่การแข่งขันนั้นไม่ ได้แข่งแบบไม่รู้จบ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ทีมซึ่งมีค่าเฉลี่ยในการได้แต้มสูงกว่ากลายเป็นทีมที่ตามหลังอยู่เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน

ความแตกต่างหลักระหว่างบาสเกตบอลและอเมริกันฟุตบอลคือจำนวนครั้งที่แต่ละทีมเป็นฝ่ายได้ครอบครองลูก ในกีฬาบาสเกตบอล ทีมแต่ละทีมมักเป็นฝ่ายครอบครองลูก 90 ครั้งต่อเกม ขณะที่ ในกีฬาอเมริกันฟุตบอล จำนวนครั้งของการครอบครองจะราวๆ 12 ครั้งต่อเกม เพราะว่าความแปรผันของแต้มต่อการครอบครองถูกกระจายไปกับจำนวนการครอบครองที่มากกว่าในกีฬาบาสเกตบอลเมื่อเทียบกับอเมริกันฟุตบอล จึงมีความเป็นไปได้มากกว่าที่ทีมซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าจะมีคะแนนสูงกว่า เมื่อพิจารณาความจริงที่ว่าการแข่งขันเพลย์ออฟของ NFL เป็นการแข่งแบบแพ้คัดออก ขณะที่การแข่งขันชิงแชมป์ NBA ตัดสินผลจาก 7 เกม (ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความแปรผันรวมกันมากขึ้นอีก) จึงไม่น่าประหลาดใจเลยที่มีทีมบาสเกตบอลครองแชมป์ ได้นานๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ขณะที่ผลแชมป์อเมริกันฟุตบอลสร้างความประหลาดใจได้แทบทุกปี

Page 5: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

221220SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 221220SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

ยุทธศาสตร์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Nokia มุ่งไปที่ความเรียบง่ายและ

การใช้ชิ้นส่วนร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้น แต่เราสามารถสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

เพื่อจะสร้างประโยชน์เหล่านี้ได้เช่นกัน ตัวอย่างที่คลาสสิคของกรณีนี้คือของบริษัท

Black & Decker จากทศวรรษที่ 1970 ที่มีเครื่องมือช่างสำหรับผู้บริโภคจำนวนมากมาย

ที่ใช้มอเตอร์ กรอบ และโครงร่างแบบแตกต่างกัน Black & Decker ได้พยายามอย่าง

มากที่จะปรับแบบและทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน องค์ประกอบหนึ่งใน

ยุทธศาสตร์นี้คือการสร้างมอเตอร์อเนกประสงค์ (ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน แต่มี

ความยาวแกนต่างกันเพื่อเปลี่ยนกำลังของมอเตอร์) เพื่อจะใช้งานในเครื่องมือทุกรุ่น

การใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน (Common Parts) อย่างมาก ช่วยลดทั้งเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ใหม่และลดต้นทุนสินค้าคงคลังและโซ่อุปทาน (เนื่องจากการใช้กันชนร่วมกัน) ประโยชน์

เหล่านี้มีประโยชน์มากจนส่งผลให้ Black & Decker เขย่าตลาดจนสั่นคลอนถึง 5 ปี และ

ทำให้เหลือเพียง Black & Decker และ Sears อยู่ในตลาดเครื่องมือช่างสำหรับมือสมัคร

เล่น

การเลื่อนการผลิต (Postponement)

ตัวอย่างของ Nokia และ Black & Decker ช่วยแสดงตัวอย่างของการใช้

ประโยชน์จากหลักการใช้กันชนร่วมกันในการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่หลักการนี้ยังมีผล

โดยตรงต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับโซ่อุปทานด้วย ยุทธศาสตร์ทั่วไปในการใช้สินค้าคงคลัง

ประเภทเดียวตอบสนองอุปสงค์ที่รวมกันระหว่างหลายผลิตภัณฑ์ถูกเรียกว่า การเลื่อน

การผลิต (Postponement) แนวคิดพื้นฐานก็คือการถือครองสินค้าที่สำเร็จแล้วบางส่วน

ในรูปแบบพื้นฐานทั่วไป และนำมาปรับแต่งเมื่อรู้ความต้องการแล้ว ตัวอย่างเช่น บริษัท

ผู้ค้ารถยนต์ทำเช่นนี้เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่ง ที่วางของบนหลังคา แผ่นรองพื้น และราย-

ละเอียดอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกหลากหลาย โดยที่ไม่ต้องเก็บส่วนประกอบทุกแบบ

ไว้เป็นสินค้าคงคลัง

ประโยชน์ของการเลื่อนการผลิตมาจากความจริงที่ว่า การปรับแต่งผลิตภัณฑ์

ให้เป็นแบบเฉพาะถูกชะลอหรือเลื่อนไปจนกว่าบริษัทมีข้อมูลความต้องการที่แม่นยำ

การชะลอเช่นนี้มีความสำคัญมากเป็นพิเศษในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งยอดประมาณการ

อุปสงค์ในขั้นต้นมักแย่มาก ตัวอย่างที่ดีมากเกี่ยวกับการเลื่อนการผลิตในโซ่อุปทานของ

อุตสาหกรรมแฟชั่น คือ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์เสื้อไหมพรมถักของ Benetton ผู้ผลิต

Page 6: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

221220SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 221220SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

และค้าปลีกเสื้อผ้าระดับโลกซึ่งก่อตั้งในปี 1965

เพื่อจะตอบสนองความต้องการด้านแฟชั่นของลูกค้า Benetton นำเสนอ

ผลิตภัณฑ์ไหมพรมถักหลายร้อยแบบและสี แต่ถึงแม้ว่าสามารถประมาณการอุปสงค์

รวมของแต่ละแบบได้ค่อนข้างแม่นยำ คงเป็นไปได้ยากที่บริษัทจะประมาณการอุปสงค์

ได้สำหรับทุกสี ถ้า Benetton ประมาณการอุปสงค์ไว้สูงเกินไปสำหรับเสื้อสีเขียว และต่ำ

เกินไปสำหรับเสื้อสีแดง บริษัทก็จะมีทั้งยอดขายที่สูญไป (สีแดง) และมีสินค้าคงคลังส่วน

เกิน (สีเขียว) แน่นอนว่าถ้า Benetton สามารถผลิตเสื้อได้ด้วยช่วงเวลานำสั้นมากๆ ก็คง

สามารถรอได้ว่าอุปสงค์จะเป็นไปในทิศทางใด (ในระหว่างฤดูกาล) แล้วค่อยผลิตแต่ละสี

ตามที่ต้องการ แต่ข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตและเวลาในการผลิตทำให้ทางเลือกนี้ไม่

คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์

ดังนั้น ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา Benetton ได้ใช้ยุทธศาสตร์ในการ

เลื่อนการผลิต บริษัทได้ดัดแปลงกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม ที่เส้นไหมพรมหรือผ้าฝ้าย

ต้องย้อมสีก่อนแล้วจึงถักเป็นเสื้อผ้า ให้ถักเสื้อไหมพรมจากเส้นใยสีเทาที่ยังไม่ย้อมก่อน

แล้วจึงย้อมสีตามที่ต้องการ ทำให้ Benetton เก็บแต่เสื้อไหมพรมสีเทา แล้วใช้นโยบาย

แบบย้อมตามคำสั่งเพื่อจัดส่งผลิตภัณฑ์ตามสีที่ถูกต้องให้กับบริษัทค้าปลีก ซึ่งเป็นการ

กลับลำดับการทำงาน

อย่างไรก็ตาม โปรดสังเกตว่า Benetton ไม่ได้ใช้กระบวนการกลับลำดับนี้กับ

การผลิตเสื้อไหมพรมถักทุกแบบ เนื่องจากว่าการย้อมสีผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปยากกว่าการ

ย้อมเส้นใยหรือผ้าฝ้าย ต้นทุนของเสื้อที่ผลิตแบบนี้จึงสูงกว่า ยิ่งไปกว่านั้น Benetton ไม่

จำเป็นต้องใช้วิธีแบบย้อมสีตามคำสั่งกับเสื้อไหมพรมถักทุกตัว เพราะสามารถ

ประมาณการยอดของแต่ละสีที่เกือบจะแน่ใจได้ว่าจะขายได้ การเก็บสัดส่วนเล็กน้อย

ของยอดทั้งหมด (อาจราวๆ 10 หรือ 15%) เป็นสินค้าคงคลังที่ยังผลิตไม่เสร็จ ทำให้

Benetton เพิ่มความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างมากในการตอบสนองผลที่แตกต่างจากอุปสงค์

ในการพยากรณ์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเก็บสินค้าสำเร็จรูปไว้เป็นสินค้าคงคลังส่วนเกิน

ยุทธศาสตร์การผลิตและโซ่อุปทานที่ถือเป็นนวัตกรรมนี้ช่วยส่งเสริมให้ Benetton เติบโต

จนถึงสถานะในปัจจุบันที่เป็นบริษัทมีชื่อ เป็นที่รู้จักและมีมูลค่ากว่า 2,000 ล้านเหรียญ

สหรัฐฯ

ในกรณีของ Benetton เป้าหมายของการเลื่อนการผลิต คือ การลดต้นทุน

Page 7: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

225224SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 225224SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

โดยที่มีกำลังการผลิตรวมเท่ากัน สาเหตุก็คือ ในระบบที่ต่อกันเป็นโซ่ กำลังการผลิตจาก

โรงงานใดก็ตามสามารถนำมาใช้รองรับอุปสงค์ของรุ่นใดๆ ก็ได้ แม้ว่าจะไม่สามารถทำได้

โดยตรงก็ตาม

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอุปสงค์ของรุ่นที่ 2 อยู่ในระดับต่ำ แต่อุปสงค์ของรุ่นที่ 4

อยู่ในระดับสูง เนื่องจากว่าโรงงานที่ 2 ไม่ได้มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการผลิตรุ่นที่ 4 เรา

จึงไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกำลังการผลิตส่วนเกินที่โรงงานที่ 2 เพื่อสนองอุปสงค์ส่วน

เกินของรุ่นที่ 4 ได้ แต่เราสามารถใช้กำลังการผลิตจากโรงงานที่ 3 เพื่อสนองอุปสงค์ของ

รุ่นที่ 4 แล้วใช้กำลังการผลิตส่วนเกินที่โรงงานที่ 2 เพื่อสนองอุปสงค์ใหม่ที่เพิ่งทราบของ

รุ่นที่ 3 ได้ โดยการทำเช่นนี้ เราสามารถใช้กำลังการผลิตของโรงงานที่ 2 เติมเต็มอุปสงค์

รุ่นที่ 4 ได้โดยอ้อม และที่จริงแล้วระบบแบบต่อกันเป็นโซ่ มีเส้นทางจากทุกโรงงานไปยัง

ทุกรุ่น เพื่อให้เราถ่ายเทกำลังการผลิตจากโรงงานใดโรงงานหนึ่งไปให้กับอุปสงค์แบบใด

ก็ได้

ตัวอย่างนี้พิจารณาว่าการทำงานต่อกันเป็นโซ่ช่วยรองรับความแปรผันของ

อุปสงค์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ แต่มันยังช่วยป้องกันไม่ให้การผลิตหยุดชะงักซึ่งร้ายแรง

มากกว่าได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น สมมติว่าโรงงาน 2 ในภาพที่ 8.4 (b) เกิดเพลิงไหม้

ร้ายแรงที่ทำให้ต้องหยุดงานไปหลายสัปดาห์ ในช่วงระหว่างนี้ อุปสงค์บางส่วนของรุ่นที่

2 ก็สามารถจัดส่งได้โดยโรงงาน 1 ขณะที่โรงงาน 6 ช่วยจัดส่งรุ่นที่ 1 โรงงาน 5 ก็จะจัดส่ง

ภาพที่ 8.4 ความยืดหยุ่นเต็มที่และความยืดหยุ่นแบบต่อกันเป็นโซ่

Page 8: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

233232SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 233232SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

8.4 การจัดการภาวะวิกฤต

ความแตกต่างหลักระหว่างการวางแผนฉุกเฉินกับการจัดการภาวะวิกฤต คือ

การวางแผนฉุกเฉินเป็นการเตรียมการล่วงหน้าเหตุการณ์ ขณะที่การจัดการภาวะวิกฤต

เป็นการสร้างแผนในเวลาจริงขณะที่เหตุการณ์กำลังเกิดขึ้น ในความเป็นจริง ไม่ว่าเราจะ

วางแผนล่วงหน้าไว้มากเท่าใดก็ตาม เราก็ไม่สามารถคาดการณ์รายละเอียดทุกเรื่องเพื่อ

ตอบสนองได้ การตอบสนองแบบยืดหยุ่น (การจัดการภาวะวิกฤต) บางส่วนเป็นเรื่องที่

จำเป็นเสมอ แม้ในสถานการณ์ที่วางแผนไว้อย่างรอบคอบที่สุดแล้วก็ตาม ในขณะ

เดียวกัน (เราหวังว่า) มีเพียงไม่กี่เหตุการณ์ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ จนทำให้ไม่

สามารถวางแผนล่วงหน้าใดๆ ได้ ดังนั้น การตอบสนองเหตุการณ์ความปั่นป่วนในโลก

ความเป็นจริงจะเป็นส่วนผสมระหว่างการวางแผนฉุกเฉินและการจัดการภาวะวิกฤต

เสมอ ความท้าทายอยู่ที่การหาจุดสมดุลที่เหมาะสม

การใช้แนวทางที่เน้นการจัดการภาวะวิกฤตจัดการกับเหตุการณ์ที่สมควรใช้

แผนฉุกเฉินที่เตรียมพร้อมไว้มักนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนา ตัวอย่างเช่น ในหนังสือ

คลาสสิคเกี่ยวกับการจัดการภาวะวิกฤตของเขา Fink (1986) ได้บรรยายถึงสถานการณ์

ทีย่อดลกูหนีข้องบรษิทัหนึง่ลา่ชา้ ทำใหก้ระแสเงนิสดกอ่นวนัจา่ยเงนิเดอืนขาดชว่ง สมหุ-

บัญชีบริษัทซึ่งรู้ความเป็นไปได้และผลต่อเนื่องของเหตุการณ์เช่นนี้เป็นอย่างดี ได้ติดตาม

กระแสเงินสดเพื่อระวังปัญหาและเตรียมรับมือด้วยแผนการ สมุหบัญชีจึงกู้เงินสดระยะ

สั้นและจัดการกับค่าใช้จ่ายเงินเดือนโดยไม่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ไม่มีใครนึกถึงเหตุ-

การณ์นี้ว่าเป็นวิกฤตเลยด้วยซ้ำไป

แต่สมมติว่าสมุหบัญชีไม่อยู่บริษัทเพราะติดธุระฉุกเฉิน และ CEO ซึ่งเข้าใจว่า

ทุกอย่างปกติดี และเซ็นเช็คออกไปตามปกติ เช็คเหล่านั้นก็จะเป็นเช็คคืนแน่นอน

เมื่อธนาคารเห็นสถานการณ์นี้ ก็จะช่วยจ่ายเงินให้กับเช็คเหล่านั้น แต่ข่าวลือว่าบริษัท

ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนได้ก็เริ่มแพร่ออกไปแล้ว CEO ของบริษัทจะตอบคำถามของ

สื่อมวลชนว่าข่าวลือว่าบริษัทกำลังมีปัญหาการเงินไม่มีมูลความจริง แต่ผู้จัดส่งวัตถุดิบ

ที่ได้ยินข่าวนี้ก็จะวิตกและเรียกร้องเงินที่ค้างอยู่และปฏิเสธที่จะให้เครดิตการค้าเพิ่มเติม

ทั้งหมดนี้จะทำให้กระแสเงินสดปั่นป่วนมาก ซึ่งทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัท

เพิ่มขึ้นและธนาคารก็จำกัดเครดิตด้วยเช่นกัน ในที่สุด พนักงานที่เสียขวัญจากสถาน-

การณ์นี้ก็จะเริ่มลาออก เมื่อไม่สามารถหยุดสถานการณ์ที่ดำดิ่งลึกลงเรื่อยๆ ได้ บริษัทนี้

Page 9: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

237236SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 237236SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

ความยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถขององค์กรในการปรับตัว

กับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลง และอาจเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่คุ้นเคยด้วย ใน

บทที่ 5 เราได้กล่าวถึงความยืดหยุ่นในบริบทของกันชนเพื่อรองรับความแปรผัน (เช่น

กำลังการผลิต สินค้าคงคลัง และเวลา) และหมายเหตุไว้ว่า ความยืดหยุ่นจะปรับปรุงดี

ขึ้นเมื่อทรัพยากรถูกใช้รองรับหลายวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น สินค้าคงคลังของชิ้นส่วนที่

ใช้ได้ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าสินค้าคงคลังที่เป็นชิ้นส่วนเฉพาะ เพราะชิ้นส่วนที่

ใช้ได้ทั่วไปสามารถนำไปใช้ได้กับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหลายแบบ เรายังปรับให้องค์กร

ต่างๆ มีความยืดหยุ่นมากขึ้นได้โดยการใช้ทรัพยากรเพื่อวัตถุประสงค์หลายๆ อย่าง แต่

เนื่องจากว่าหลายองค์กรเป็นระบบขนาดใหญ่และซับซ้อน จึงมีหลายทางที่ปรับปรุง

ความยืดหยุ่นได้ ความท้าทายอยู่ที่การหานโยบายที่เหมาะสมสำหรับองค์กรนั้นๆ

ยุทธศาสตร์ที่นิยมใช้กันในการใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างยืดหยุ่นมากขึ้นคือการ

สร้างความเป็นมาตรฐานให้กับงาน (Work Standardization) ตัวอย่างเช่น บริษัท UPS

ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์และขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานในศูนย์ของบริษัท ดังนั้น จึงเป็น

เรื่องง่ายที่จะย้ายพนักงานจากศูนย์แห่งหนึ่งไปยังอีกศูนย์หนึ่งได้อย่างง่ายดาย ความ

ยืดหยุ่นของแรงงานในส่วนนี้เป็นประโยชน์ในปี 1994 เมื่อมีพายุหิมะที่ผิดปกติ ก่อให้เกิด

น้ำแข็งและหิมะสูง 16 นิ้ว ทำให้อุณหภูมิติดลบ และทำให้การขนส่งในพื้นที่ Louisville

ต้องหยุดชะงักและมีประกาศหยุดใช้ถนนในกรณีที่ไม่จำเป็นนาน 5 วัน (Gerth 2004)

แต่เนื่องจากว่าสนามบินต่างเปิดใช้งานได้ภายใน 1 วัน UPS จึงสามารถดำเนินการได้

ก่อนที่พนักงานท้องถิ่นใน Louisville จะสามารถขับรถมาทำงานได้ ดังนั้น บริษัทจึงนำ

พนักงานจากสำนักงานอื่นๆ มายังศูนย์นี้โดยทางเครื่องบิน เพื่อดำเนินการกับพัสดุที่ค้าง

อยู่ที่ศูนย์ที่เมือง Louisville กระบวนการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันช่วยให้พนักงานที่มา

จากศูนย์อื่นๆ คุ้นเคยกับการทำงานและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีหลายบริษัทที่ใช้นโยบายการทำให้เป็นมาตรฐานในทำนองนี้ ยกตัวอย่างเช่น

บริษัท Intel ใช้วิธีที่เรียกว่า Copy EXACTLY! ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากศูนย์หนึ่ง

ไปยังอีกศูนย์หนึ่ง (McDonald 1998) วัตถุประสงค์หลักก็คือการเปิดใช้ศูนย์ผลิตสาร

กึ่งตัวนำแห่งใหม่ๆ อย่างรวดเร็วด้วยอัตราผลผลิตและคุณภาพที่ทัดเทียมกับศูนย์ที่มี

อยู่แล้ว แต่ความเหมือนกันระหว่างแต่ละศูนย์ยังมีความหมายด้วยว่า กำลังการผลิตมี

ความยืดหยุ่น ดังนั้น เมื่อเผชิญกับการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์โรค SARS

แพร่ระบาดในปี 2003 โฆษกของ Intel คือ Chuck Mulloy กล่าวว่า “ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น

Page 10: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

241240SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 241240SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

ชั่วโมงขณะที่เจ้าหน้าที่เถียงกันเองว่าข่าวนี้สำคัญพอที่จะรบกวนผู้บังคับบัญชาหรือไม่

ความตื่นตัวรับรู้ในองค์กรเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้กันได้ ตัวอย่างเช่น บาง

องค์กรจะทำการทดสอบโดยการแทรกบุคคลหรือวัตถุที่ไม่รู้จักเข้าไปในศูนย์ การสังเกต

ว่าต้องใช้เวลานานเพียงใดกว่าคนในองค์กรจะดำเนินการบางอย่างและสิ่งที่พวกเขาทำ

ช่วยยกระดับความตื่นตัวในองค์กรนั้น เมื่อบุคลากรรู้ว่าอาจถูกทดสอบ พวกเขาจะมี

แรงจูงใจในการสนใจสถานการณ์อันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้น

การสื่อสาร (Communication) ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในการจัดการภาวะ

วิกฤตเสมอ งานเขียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับหัวข้อนี้จะเน้นที่แง่มุมด้านการประชาสัมพันธ์ใน

การสื่อสารเกี่ยวกับภาวะวิกฤต ตัวอย่างเช่น Fink (1986) เขียนไว้ 2 บทในเรื่องการ

สื่อสารเกี่ยวกับภาวะวิกฤต บทหนึ่งเกี่ยวกับ “การควบคุมสาร” และอีกบทหนึ่งเกี่ยวกับ

“การจัดการกับสื่อมวลชนที่ไม่เป็นมิตร” คำแนะนำในเรื่องนี้ มีดังนี้:

1. ทำใหแ้นใ่จไดว้า่ผูส้ือ่สารภายใน (เชน่ รองประธานฝา่ยประชาสมัพนัธ)์

เป็นผู้ที่มีอำนาจและน่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น Lawrence G. Foster โฆษกหลักของ

Johnson & Johnson ในช่วงสถานการณ์วิกฤตพิษไซยาไนด์ในยา Tylenol ในช่วงปี

1982 เป็นสมาชิกคนหนึ่งของคณะกรรมการบริหารและขึ้นตรงกับประธานของ Johnson

& Johnson ซึ่งคือ James Burke ฐานะเช่นนี้ทำให้เขามีอำนาจในการดำเนินการอย่าง

รวดเร็วและเด็ดขาดในการจัดการกับสื่อมวลชนและน่าเชื่อถือสำหรับสาธารณชน

2. เตรียมตัวสำหรับการสื่อสารเกี่ยวกับภาวะวิกฤตโดยการรวบรวม

ข้อมูลที่จำเป็น ตัวอย่างเช่น องค์กรที่ติดตามบันทึกด้านความปลอดภัยอย่างรอบคอบ

จะพร้อมรับมือกับอุบัติเหตุด้วยคำแถลงการณ์แบบนี้ “เหตุการณ์วันนี้เป็นอุบัติเหตุครั้ง

แรกในรอบ 5 ปีที่ทำให้สูญเสียเวลาการทำงาน” และ “อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ

ครั้งนี้ได้รับการซ่อมบำรุงและรับรองเมื่อเพียง 3 สัปดาห์ก่อน” การตอบสนองอย่าง

รวดเร็วด้วยข้อมูลจริงทำให้องค์กรป้องกันการคาดเดาและข่าวลือในด้านลบในสื่อได้

3. หลีกเลี่ยงการตอบคำถามด้วยคำตอบว่า “ไม่มีความเห็น” และอย่า

เข้าใจว่าจะให้ความเห็นแบบ “นอกรอบ” ได้ 3 คำตอบแบบแรกทำให้ดูเหมือนว่า

3 Pat Buchanan ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารของประธานาธิบดี Ronald Reagan เคยตอบผู้สื่อข่าวคนหนึ่งว่า “ไม่มี

ความเห็น และนั่นก็เป็นความเห็นแบบนอกรอบนะ” (Fink 1986, หน้า 114)

Page 11: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

241240SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 241240SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

ผู้ตอบกำลังพยายามซ่อนอะไรบางอย่าง และกรณีหลังเป็นความเข้าใจที่ใสซื่อเกินไป

สำหรับยุคสมัยของสื่อมวลชนที่ก้าวร้าวในขณะนี้

แม้ว่าการประชาสัมพันธ์อาจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดการภาวะ

วิกฤต หลักการใดก็ตามที่จะนำมาใช้ชี้นำจะต้องมาจากสาขาวิชา เช่น จิตวิทยาหรือการ

สื่อสาร “ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน” คงมีส่วนช่วยเพียงน้อยนิด แต่การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่

ส่วนเดียวที่การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลช่วยในการตอบสนองสถานการณ์วิกฤต ทั้ง

การสื่อสารภายในระหว่างบุคคลในองค์กรและการสื่อสารภายนอกกับบุคคลและกลุ่มคน

ภายนอกองค์กรอาจเป็นส่วนสำคัญในการหาแนวทางแก้ไขและการดำเนินการตาม

แนวทางนั้นอย่างทันท่วงที ศาสตร์เกี่ยวกับเครือข่าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์แห่ง

โซ่อุปทานสามารถช่วยในเรื่องนี้

แม้ว่าจะมีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้วิ เคราะห์เครือข่าย

โซ่อุปทานมาหลายปีแล้ว แต่เครื่องมือเหล่านี้เพิ่งเริ่มนำมาใช้กับเครือข่ายสังคม (อ่าน

Barabasi 2002, Cross และ Parker 2004 และ Watts 2003 เพื่อให้ได้ภาพรวม)

แนวคิดพื้นฐานคือการแทนองค์กรด้วยเครือข่าย ที่จุดเชื่อมต่อคือบุคคล และเส้นเชื่อมต่อ

คือการสื่อสารระหว่างบุคคล4 การพิจารณาโครงสร้างของเครือข่ายสังคมภายในองค์กร

จะช่วยให้เราได้ข้อคิดเกี่ยวกับความสามารถของเครือข่ายในการทำหน้าที่ต่างๆ

ตัวอย่างเช่น ภาพที่ 8.8 เป็นภาพเครือข่ายสังคมขององค์กรแบบดั้งเดิมที่เป็น

ลำดับชั้น โดยมีผู้นำที่อยู่ตรงกลางคนหนึ่งสื่อสารกับผู้จัดการวงใน ผู้ซึ่งก็จะสื่อสารกับ

ผู้นำกลุ่ม (ฝ่าย) ฝ่าย (หรือทีม) ที่เชื่อมต่อกันอย่างเหนียวแน่นโดยมีการดูแลจัดการจาก

ส่วนกลางเป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับงานประจำวัน แต่การสื่อสารมักจะจำกัดตาม

เส้นเชื่อมต่อที่นิยามไว้ในผังองค์กรที่เป็นทางการ การหมุนเวียนหน้าที่ งานในคณะ

กรรมการ และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมักช่วยสร้างเส้นเชื่อมโยงแบบไม่เป็นทางการ ดัง

ที่แสดงอยู่ในภาพที่ 8.9 เส้นเชื่อมต่อเหล่านี้ทำให้องค์กรเชื่อมต่อกันอย่างแน่นหนามาก

ขึ้น และสามารถแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และถ่ายทอดความรู้กันได้ดีขึ้น

4 เครือข่ายสังคมที่เรียบง่ายที่สุดแสดงว่าเส้นทางเชื่อมต่อแต่ละเส้นมีความแข็งแรงเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น มีเส้นเชื่อมต่อ

ระหว่างคน 2 คนเมื่อทั้งคู่พูดคุยกันเป็นประจำ ถ้าคนหนึ่งขอคำปรึกษาจากอีกคนหนึ่ง หรือมีการสื่อสารรูปแบบอื่นเกิด

ขึ้น เครือข่ายที่ซับซ้อนกว่านั้นจะมีเส้นทางเชื่อมต่อที่มีความแข็งแรงหลายระดับเพื่อแทนขอบเขตของการสื่อสาร แม้แต่

เครือข่ายแบบซับซ้อนก็พัฒนาไปตามเวลา โดยมีจุดเชื่อมต่อเพิ่มหรือลด และ/หรือ มีเส้นทางเชื่อมต่อเปลี่ยนแปลงไป

ตามเวลา

Page 12: Supply Chain Science THAI Version -10

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

245244SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง 245244SUPPLY CHAIN SCIENCE ศาสตร์แห่งโซ่อุปทาน บทที่ 8

ความเสี่ยง

ในโซ่อุปทานสมัยใหม่ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน เครือข่ายการสื่อสารจะมีขอบเขต

ไกลกว่าองค์กรมาก ความสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลในโซ่อุปทานขนาด

ใหญ่เห็นได้จากตัวอย่างของเพลิงไหม้รุนแรงในปี 1997 ที่สร้างความเสียหายให้กับ

โรงงาน Aisin Seiki ในเมือง Kariya ประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้น โรงงานนี้ผลิตและจัดส่ง

ชิ้นส่วน P-valve กว่า 99% ในระบบเบรคของรถยนต์ Toyota โดยบริษัทผู้จัดส่งวัตถุดิบ

รายที่ 2 ของ Toyota คือ Nisshin Kogyo ไม่สามารถเพิ่มอัตราการผลิตได้มากพอที่จะ

ชดเชยความเสียหายได้ (Nishigushi และ Beaudet 1998) เนื่องจากมีชิ้นส่วน P-valve

ไว้เหลือพอสำหรับใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมง (เนื่องจากระบบแบบทันเวลาพอดีที่โด่งดัง) Toyota

จึงต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องปิดโรงงานทุกแห่งทั่วโลก

เพื่อสร้างแนวทางตอบสนอง Toyota และ Aisin ได้เรียกประชุมบริษัทผู้จัดส่ง

วัตถุดิบใน keiretsu ของตัวเอง5 เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในหมู่บริษัทเหล่านี้ จึง

คาดหวังได้ว่าแต่ละรายจะร่วมมือแก้ไขภาวะวิกฤตครั้งนี้ ด้วยการทำงานร่วมกันอย่าง

ใกล้ชิดใน “วอร์รูม” (เช่น ทีมเฉพาะกิจ) Toyota และ Aisin และบริษัทสมาชิกใน

keiretsu อีกหลายสิบแห่ง จึงได้แบ่งพิมพ์เขียวและงานการผลิต P-valve (Sheffi 2005,

หน้า 212) ผู้จัดส่งวัตถุดิบเริ่มจัดส่ง P-valve ได้ภายใน 2 วัน และโรงงานของ Toyota

ทุกแห่งก็ดำเนินการได้หลังจากเกิดเพลิงไหม้เพียง 5 วัน จากเหตุการณ์ทั้งหมด Toyota

หยุดการผลิตไปเพียงแค่ 4.5 วัน แม้ว่า Aisin ต้องหยุกการผลิตไปอย่างน้อย 5 สัปดาห์

(Nishiguchi และ Beaudet 1998) การสื่อสารและการประสานงานที่แข็งแกร่งจาก

ระบบ keiretsu ช่วยให้สามารถตอบสนองปัญหาที่น่าจะร้ายแรงได้อย่างเรียบง่าย

การสื่อสารก็เป็นสิ่งที่องค์กรต่างๆ สามารถเรียนรู้ได้ เช่นเดียวกับเรื่องความ

ตื่นตัวรับรู้ ระบบ keiretsu และโครงสร้างพันธมิตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นทางหนึ่งที่จะ

ส่งเสริมให้การสื่อสารระหว่างองค์กรแข็งแกร่งมากขึ้น แต่องค์กรแต่ละองค์กรก็สามารถ

ทำบางอย่างเพื่อปรับปรุงการสื่อสารภายในองค์กรได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท

Southwest ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างหน้าที่งานต่างๆ ด้วยโครงการ “Walk a Mile” ของ

บริษัท ซึ่งอนุญาตให้พนักงานทุกคนทำงานของพนักงานอีกคนได้ 1 วัน (แน่นอนว่า โดย

พิจารณาเหตุและผลด้วย เพราะพนักงานบริการบนเครื่องบินคงไม่สามารถสลับงานกับ

นักบินได้) Southwest รายงานว่ามีพนักงาน 75% ที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ (Kelleher

1997) 5 “keiretsu” คือองค์กรที่เป็นพันธมิตรกันที่เป็นแบบเฉพาะของญี่ปุ่น ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องเกื้อหนุนกัน