Top Banner
PATIENT EDUCATION AND COUNSELING DIABETIC FOOT ญหาพบในวยเบาหวานอ ระบบการไหลเยนของเอดไวมบเยงอการดเอายกา คนวๆไป เอเนแผลหายา และเอความดปกของเนประสาทวนปลายใชางใเยง อการบาดเบ เดบาดแผลาย าไคอยแลอาจงนองดวหอขา การกษาเอเดแผลนแวน ยากกาการองนไใเดแผลงแแรก การแลเา - กษาโรคเบาหวาน วยการควบมอาหาร ออกงกายและการนยาตามแพทแนเอมระบ ตาล าบหอควรเกงแนเนนไป เองจากใเยงอการเดโรคของหลอดเอดมาก ใเอดไปเยงขาและเาไไ - งองงเกตเยวบเาไแ : - รอยแดง อาจงบอกาแรงกดบมาก หอการดเอ - รอยบาด รอยเกา หอเอดออก - งอาจเดจากการเยด หอแรงกดบมาก - อาการบวม บเวณวหงหนานคายตาปลารอยแตกหอไ - อามตรวจบเวณระหางวเาวย - ความดปกบเวณเบ - ามองไเนององจากกระจก หอใคนใกดวยเาใกน ควรจะงเวลาจะตรวจเา เน อนนอนของกน เอจะไเนจตรประนและไม - เวลางอางไขางเนเวลานาน จะใเอดไปเยงขาไ เวลางควรขบเาและอเานลงเน เวลาประมาณ 5 นาประมาณ 2-3 คงอน เอกระนการไหลเยนของเอดในขา - อาเนเาเปาแแตอนอในานควรจะใงเา หอรองเาแตะใในาน - ควรเอกรองเาใสบาย ขนาดพอบเา อนใองตรวจาไอะไรอานใน หอขอบอาจ ใเาเนแผล ในวยบางรายอาจเนองดรองเาเศษ - เวลาอรองเาให เอแรกใไ 5-10 นาใถอดออกมาารอยแดงงแสดงาแรงกดบเวณน หอไ าควรใรองเานก จะใเนแผลไ าไใถอดรองเามางเกตแบบกคง วโมงในนแรกใ - หกเยงการมสความอนหอเน เองจากในวยเบาหวานอาจอาการชาและไกางมส อนณหอางไร เอกลวกไก ใเดการบาดเบมาก ไควรแเาในอน ใง อนหอาอนประคบ วงนอนควรใงเา - ความสะอาดเา โดยใธรรมดาไองใอน (งกาวไปแว) และเดใแง โดยเฉพาะ ระหางวเา เอองนการดเอรา ทาคมบเวณเาเอไใเดวหงแงและแตกงจะไป การดเอโดยไองทาบเวณระหางว - การดเบเาเอไใเดเบขบ ควรดเนแนวตรงไโง และการตะไบเบไใบเวณเน ขอบคม โดยวไปแวแนะใดเบเอเมยาว ประมาณปดาละคง อาดกเาไปในขอบหอ หงมเบ อาจใเนแผลไ อาดบเวณวหงหนานวยวเอง - ควรใแพทตรวจเาอางอยละคง หากเนวยญหาเาควรไบการตรวจอยกาน หากการเปยนแปลงของเาและขาเน ปาง ความก (เน ไกเบ อาการชา) ใไปพบแพท
15

Patient Education Copy

Apr 15, 2016

Download

Documents

Summary of patient education in each conditions for OSCE exam
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: Patient Education Copy

PATIENT EDUCATION !AND COUNSELING!!!!!

DIABETIC FOOT!! ปัญหาที่พบในผู้ป่วยเบาหวานก็คือ ระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ดีร่วมกับเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าคนทั่วๆไป เมื่อเป็นแผลก็หายช้า และเมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายที่ทำให้ชาก็ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เกิดบาดแผลง่าย ถ้าไม่คอยดูแลอาจถึงขั้นต้องตัดนิ้วหรือขา การรักษาเมื่อเกิดแผลขึ้นแล้วนั้น ยากกว่าการป้องกันไม่ให้เกิดแผลตั้งแต่แรก!วิธีการดูแลเท้า!- รักษาโรคเบาหวาน ด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและการกินยาตามที่แพทย์แนนำเพื่อคุมระดับ

น้ำตาล ถ้าสูบบุหรี่อยู่ก็ควรเลิกตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคของหลอดเลือดมาก ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาและเท้าได้ไม่ดี!

- สิ่งที่ต้องสังเกตเกี่ยวกับเท้าได้แก่ : !- รอยแดง อาจบ่งบอกว่ามีแรงกดทับมาก หรือมีการติดเชื้อ!- รอยบาด รอยเกา หรือเลือดออก!- ตุ่มน้ำ ซึ่งอาจเกิดจากการเสียดสี หรือมีแรงกดทับมาก!- อาการบวม บริเวณที่ผิวหนังหนาขึ้นคล้ายตาปลามีรอยแตกหรือไม่!- อย่าลืมตรวจบริเวณระหว่างนิ้วเท้าด้วย!- ความผิดปกติบริเวณเล็บ!- ถ้ามองไม่เห็นก็ต้องส่องดูจากกระจก หรือให้คนใกล้ชิดช่วยดูเท้าให้ทุกวัน ควรจะตั้งเวลาที่จะตรวจดูเท้า

เช่น ก่อนนอนของทุกวัน เพื่อจะได้ทำเป็นกิจวัตรประจำวันและไม่ลืม!- เวลานั่งอย่านั่งไขว้ห้างเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่ดี เวลานั่งก็ควรขยับเท้าและข้อเท้าขึ้นลงเป็น

เวลาประมาณ 5 นาทีประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในขา!- อย่าเดินเท้าเปล่าแม้แต่ตอนอยู่ในบ้านก็ควรจะใส่ถุงเท้า หรือมีรองเท้าแตะใส่ในบ้าน !- ควรเลือกรองเท้าที่ใส่สบาย ขนาดพอดีกับเท้า ก่อนใส่ต้องตรวจดูว่าไม่มีอะไรอยู่ด้านใน หรือมีขอบที่อาจ

ทำให้เท้าเป็นแผล ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องตัดรองเท้าพิเศษ!- เวลาซื้อรองเท้าใหม่ เมื่อแรกใส่ได้ 5-10 นาทีให้ถอดออกมาดูว่ามีรอยแดงซึ่งแสดงว่ามีแรงกดบริเวณนั้น

หรือไม่ ถ้ามีก็ควรใส่รองเท้าคู่นั้นอีก จะทำให้เป็นแผลได้ ถ้าไม่มีให้ถอดรองเท้ามาสังเกตแบบนี้ทุกครึ่งชั่วโมงในวันแรกที่ใส่!

- หลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนหรือเย็น เนื่องจากในผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการชาและไม่รู้สึกว่าสิ่งที่สัมผัสอยู่นั้นมีอุณหภูมิอย่างไร เมื่อถูกลวกก็ไม่รู้สึก ทำให้เกิดการบาดเจ็บมาก ไม่ควรแช่เท้าในน้ำร้อน ใช้ถุงน้ำร้อนหรือผ้าร้อนประคบ ช่วงที่นอนก็ควรใส่ถุงเท้า!

- ทำความสะอาดเท้า โดยใช้น้ำธรรมดาไม่ต้องใช้น้ำร้อน (ดังที่กล่าวไปแล้ว) และเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะระหว่างนิ้วเท้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อรา ทาครีมบริเวณเท้าเพื่อไม่ให้เกิดผิวหนังแห้งและแตกซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อโดยไม่ต้องทาบริเวณระหว่างนิ้ว!

- วิธีการตัดเล็บเท้าเพื่อไม่ให้เกิดเล็บขบ ควรตัดเป็นแนวตรงไม่โค้ง และทำการตะไบเล็บไม่ให้มีบริเวณที่เป็นขอบคม โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ตัดเล็บเมื่อเริ่มยาว ประมาณสัปดาห์ละครั้ง อย่าตัดลึกเข้าไปในขอบหรือหนังริมเล็บ อาจทำให้เป็นแผลได้ อย่าตัดบริเวณที่ผิวหนังหนาขึ้นด้วยตัวเอง!

- ควรให้แพทย์ตรวจเท้าอย่างน้อยปีละครั้ง หากเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาที่เท้าควรได้รับการตรวจบ่อยกว่านั้น ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงของเท้าและขาเช่น รูปร่าง สี ความรู้สึก (เช่น ไม่รู้สึกเจ็บ มีอาการชา) ให้ไปพบแพทย์!!

Page 2: Patient Education Copy

TUBERCULOSIS (วัณโรค)!- ประวัติที่ควรซักเพิ่มเติมได้แก่!! - ถามประวัติการแพ้ยา!! - ประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ติดเชื้อ HIV เคยตรวจหรือไม่? โรคตับ โรคไต โรคตา ที่!! สำคัญคือโรคตับ ให้ถามประวัติดื่มสุรา ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ!! - ถ้าเป็นผู้ป่วยหญิงต้องถามประวัติคุมกำเนิด เพราะ RIF ลดประสิทธิภาพของ OCP ต้องเปลี่ยนวิธี !! ถามว่ากำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่หรือไม่!! - มีประวัติเป็นวัณโรคมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้ามี ถามเกี่ยวกับประวัติการรักษา!! - contact investigation : คนในบ้าน คนใกล้ชิดมีใครบ้าง รวมถึงที่ทำงาน คนใกล้เคียงที่อาจได้รับ!! เชื้อจากผู้ป่วยควรได้รับการตรวจว่าติดเชื้อวัณโรคหรือไม่ ผู้ป่วยอาศัยอยู่ที่ไหน ทำงานที่ไหน ได้เดิน!! ทางไปที่ไหนหรือไม่ คนที่ควรสงสัยคือ คนที่ผู้ป่วย contact ระหว่างที่มีอาการไอ!- แจ้งการวินิจฉัย และอธิบายเกี่ยวกับตัวโรค : !จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเพิ่มเติม พบว่าคุณติดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศที่หายใจเข้าไป คนที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อผ่านทางการไอ จาม !การติดเชื้อจะมีระยะฉับพลัน คือช่วงแรกนี้ที่จะมีอาการไข้ ไอเรื้อรัง สามารถแพร่เชื้อได้ จะตรวจพบว่ามีเชื้ออยู่ในเสมหะ ระยะต่อมาจะเป็นระยะเรื้อรัง หรือ ช่วงสงบ ไม่มีอาการไม่สามารถแพร่เชื้อได้ โดยตัวเชื้อยังคงอยู่ภายในร่างกาย!วิธีการวินิจฉัย!อาการที่พบได้ ได้แก่ มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ไอเรื้อรัง มีเสมหะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด!โรคอื่นๆที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้แก่!! - HIV infection!! - เคยติดเชื้อวัณโรคมาก่อน ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม!! - มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน!! - alcohol abuse!- แนวทางในการรักษา!ในปัจจุบันมียารักษาวัณโรค แต่ต้องกินยาเป็นเวลานานถึง 6 - 9 เดือน และต้องกินยาหลายตัว แต่หากกินยาครบตามที่แพทย์ให้ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้!ต้องกินยาให้ครบ และที่ต้องให้ยาหลายตัวก็เพื่อป้องกันการดื้อยา ถ้าเป็นเชื้อดื้อยาอาจจะต้องกินยานานกว่า 6 เดือน (18 - 24 เดือน) ถ้ากินยาไม่ครบตามที่แพทย์ให้อาจมีเชื้อหลงเหลืออยู่ในร่างกายและกลับเป็นโรคขึ้นใหม่ได้ หลังรักษาประมาณ 2 สัปดาห์อาการจะดีขึ้นแต่ถึงไม่มีอาการแล้วก็ต้องกินยาไปเรื่อยๆจนกว่าแพทย์จะให้หยุด และต้องมาตรวจติดตามตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง!สูตรทั่วไปมียา 4 ตัว (สิ่งสำคัญคือจำนวน dose ที่ได้รับ ไม่ได้ระยะเวลาที่ได้รับยา !!!!)!Initiation phase : ให้เป็น ทั้ง 4 ตัวนาน 2 เดือน (56 doses)! !! ! Izoniazid (INH)! 300 mg/day! ! ตับอักเสบ!! ! Rifampin (RIF)!! < 50kg ให้ 600 mg/day, > 50kg ให้ 450 mg/day ตับอักเสบ !! ! ! อาการคล้ายไข้หวัดใหญ๋!! ! Pyrazinamide (PZA) ! 20 - 30 mg/kg/day! ตับอักเสบ แพ้แสง ปวดมือ!! ! Ethambutol (EMB)! 15-25 mg/kg/day! ตามัว อาจทำให้ตาบอดได้!Continuation phase : จากนั้น อีก 18 weeks ให้เป็น!! - INH + RIF daily 126 doses!! - or INH + RIF twice-weekly 36 doses!อาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้อง มีอาการชา ผื่นขึ้น เลือดออกง่าย ตามัว ได้ยินเสียงในหู เวียนศีรษะ ชารอบปาก!RIF อาจทำให้เกิด ปัสสาวะ น้ำตา น้ำลายเป็นสีส้ม!

Page 3: Patient Education Copy

- หลังจากเริ่มให้การรักษา จะนัดตรวจติดตามเพื่อดูว่ามีผลข้างเคียงจากการกินยาหรือไม่ ดูการตอบสนองต่อการรักษาจาก!

! - อาการของผู้ป่วยลดลงหรือไม่!! - ตรวจเสมหะดูว่ายังพบเชื้ออยู่หรือไม่ ตรวจทุกเดือนจนกว่าจะไม่พบเชื้อ!! - ตรวจ x-ray ดูว่ามีการเปลีย่นแปลงหรือไม่!ต้องประเมินการรักษาหากพบว่า!! - อาการไม่ดีขึ้นหรือ sputum cuture positive หลังรักษาไป 2 เดือน!! - อาการแย่ลงหลังจากดีขึ้นไปช่วงหนึ่ง!! - culture กลับมา positive อีกหลังจากที่ negative ไปแล้ว!!- การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย!

- กินยาให้ครบดังที่กล่าวข้างต้น โดยจะให้กินยาก่อนนอน!- ผู้ป่วยควรแยกห้องนอน หลีกเลี่ยงกับการใกล้ชิดกับผู้อื่น หลังกินยาไป 2 สัปดาห์แล้วจึงอยู่ร่วมกับคนอื่น

ได้ปกติ!- เมื่อไอหรือจามต้องใช้ผ้าปิดปากและจมูก เวลาบ้วนเสมหะให้ทิ้งลงในโถส้วม!- ใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร แยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ช้อนส้อม !- ควรอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก!- ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน โดยกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่มีอาหารที่ห้ามกิน ควร

กินอาหารที่สุกสะอาด ถูกสุขลักษณะ เมื่อแข็งแรงดีแล้วจึงออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ งดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่!

- นำสมาชิกในครอบครัว ผู้ร่วมอาศัย เพื่อนร่วมงาน คนใกล้ชิดมากตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรคว่ามีการติดเชื้อหรือไม่!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

Page 4: Patient Education Copy

!!!!!!!!!HEPATITIS B VIRUS INFECTION!!!!!!!!!

แจ้งการวินิจฉัย : พบว่าคุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี/ มีภูมิจากการฉีดวัคซีนหรือเคยติดเชื้อ/ไม่มีภูมิ!อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!- โรคนี้เป็นโรคติดต่อ เป็นการติดเชื้อไวรัส โดยสามารถแพร่สู่กันโดย!! ติดต่อทางเลือด เช่น ใช้เข็มร่วมกัน!! ติอต่อทางเพศสัมพันธ์!

Page 5: Patient Education Copy

! ติดต่อจากมารดาสู่บุตร มีโอากาสติดเชื้อสูงระหว่างคลอด!- การติดเชื้อสามารถแบ่งออกได้เป็น!! ระยะเฉียบพลัน มีอาการไข้ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้อาเจียน!! ! บางคนอาจมีอาการรุนแรงเป็นตับวาย แต่ส่วนใหญ่จะดีขึ้นใน 1-4 weeks มีเพียง 5 - 10% ที่! ! ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด กลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง!! ระยะเรื้อรัง!! ! ผู้ป่วยที่เป็นพาหะ คือไม่มีอาการ การทำงานของตับปกติ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อได้!! ! ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง จะมีค่าการทำงานของตับผิดปกติ!ถ้าติดเชื้อเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นตับแข็งหรือโรคมะเร็งของตับได้!- การวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หากมีเป็นระยะใด หรือมีภูมิหรือไม่ สามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือด!แนวทางการป้องกันโรค :!- เด็กแรกเกิด ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยรวมทั้งหมดแล้วต้องฉีดสามเข็ม ปัจจุบันเป็นวัคซีนพื้นฐาน

ที่ทางรัฐบาลให้ฉีดฟรี!- ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเป็นพาหะ ควรตรวจเลือดให้ทราบถึงสภาวะของบุคคลนั้นก่อนจะฉีดวัคซีน!แนวทางการรักษาโรค :!มีเพียงผู้ป่วยบางรายที่ต้องได้รับยา!! - HBsAg positive เป็นเวลานานมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน!! - evidence of viral replication!! ! - HBeAg positive with viral load > 20,000 IU/mL!! ! - HBeAg negative with viral load > 2,000 IU/mL!! - ALT > 1.5 x upper normal limit for 2 times, at least 3 months apart!! ยกเว้นถ้ามี cirrhosis, liver failure ให้การรักษาเลย ไม่ต้องรอนาน 3 เดือน!ตัวอย่างยา antiviral ที่มีในปัจจุบัน : adeforvir dipivoxil, interferon alfa-2b, lamivudine,telbivudine)!การปฏิบัติตัวในระยะเฉียบพลัน :!- รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์!- มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูการทำงานของตับ และมารับการตรวจร่างกายและตรวจเพิ่มเติม

ด้วยการเจาะเลือดและ ultrasound เพื่อดูว่ามีมะเร็งตับหรือไม่ อย่างน้อยปีละครั้ง ในผู้ป่วยที่!- มีภาวะตับแข็ง!- เป็นเพศชายอายุมากกว่า 45 ปี !- เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 50 ปี!- มีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว!

- ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น!- แจ้งให้สมาชิกในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดทราบ จะได้ป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนถ้ายังไม่มีภูมิ ไม่เคยติด

เชื้อมาก่อน!- มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยด้วยการสวมถุงยางอนามัน!- งดบริจาคเลือด!- แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเมื่อต้องทำหัตถการ เช่น การผ่าตัด ถอนฟัน!- หญิงตั้งครรภ์เมื่อคลอดบุตร บุตรควรได้รับวัคซีนภายใน 24 ชม.!

- การกินอาหาร !- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ต้องสุกและสะอาด!- หลีกเลี่ยง อาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์รมควัน หรือไหม้เกรียม อาหารที่เก็บถนอมไว้นานๆ ระวังอาหารที่อาจมี

เชื้อรา ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับมากขึ้น เช่น อาหารหมักดอง ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นาน!- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์!!!!

Page 6: Patient Education Copy

!ANKYLOSING SPONDYLITIS (โรคข้อสันหลังอักเสบชนิดยึดติด)!แจ้งการวินิจฉัย และอธิบายเกี่ยวกับตัวโรค : !! เป็นโรคข้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการอักเสบของกระดูกสันหลังเป็นลักษณะเด่น ร่วมกับมีข้ออักเสบ อาจพบการอักเสบของเอ็นและระบบอื่นๆของร่างกาย จะเป็นโรคเรื้อรัง มีอาการเป็นๆหายๆ เมื่อเป็นนานๆ จะทำให้เกิดการเชื่อมติดกันของข้อกระดูกสันหลัง ก้มหรือแอ่นไม่ได้ หลังงอ หลังค่อม !! สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ถ้าในครอบครัวมีประวัติเป็นก็จะเสี่ยง คาดว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติจากการติดเชื้อ โดยโรคนี้จะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 - 3 เท่า!! ช่วงแรกๆจะไม่ค่อยมีอาการ ต่อมาจะเริ่มมีอาการปวดหลังหรือเชิงกราน อาจพบอาการปวดข้ออื่นๆ เช่น ไหล่ เข่า นิ้วมื้อ เอ็นร้อยหวาย จะมีอาการเป็นๆหาย ปวดมากตอนเช้า รู้สึกขยับตัวยาก สักพักจะบรรเทาลง อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง!! ในระยะยาว อาจทำให้เกิดการทำลายข้อ เกิดกระดูกยึดติด ผิดรูป ลงท้ายด้วยการพิการถาวร!แนวทางการรักษา : ในปัจจุบันไม่มีการรักษาตัวโรคให้หายขาด เป็นเพียงการบรรเทาอาการ ประกอบไปด้วยการรักษาสองส่วนคือ!1. การรักษาด้วยยา โดยมียาที่ใช้อยู่สองชนิดคือ!! - ยาแก้ปวด เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการและเป็นยาที่ช่วยลดการอักเสบ (NSAIDs)!! - ยากดภูมิ เพื่อลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (corticosteroid, ! !! sulfasalizine, TNF- alfa blocker)!2. กายภาพบำบัด เป็นส่วนสำคัญและมีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากจะช่วยลดอาการปวดแล้ว สิ่งสำคัญคือ

ช่วยให้ข้อผิดรูปน้อยที่สุด ทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวที่ปกติ โดยการทำกายภาพบำบัดด้วยการบริหารนี้ ผู้ป่วยจะต้องกลับไปทำเองเมื่ออยู่บ้าน สามารถแบ่งท่าบริหารได้เป็น 3 ชนิด คือ!

Page 7: Patient Education Copy

! - การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ!

!!!

Page 8: Patient Education Copy

! - การออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดี ป้องกันการผิดรูป!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

Page 9: Patient Education Copy

! - ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการขยายของทรวงอก!

การปฏิบัติตัว :!- ดังที่ได้บอกไปแล้วว่า การรักษานั้นเป็นเพียงการบรรเทาอาการและต้องใช้ยาร่วมไปกับกายภาพบำบัด ต้อง

ออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตรประจำวัน!- ควรเปลี่ยนท่าทุก 30 นาที ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป!- นอนหนุนหมอนอย่าเกิน 1 ใบ เพราะจะทำให้ไหล่งุ้มมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่ง ยืน หรือ เดิน หลีกเลี่ยงการ

ค่อมไหล่ห่อตัว ต้องยืดตัวให้ตรง เพราะถ้าค้างอยู่ในท่างอเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถตั้งตัวตรง แล้วกลายเป็นอยู่ในท่างออย่างถาวร!!!

! !!!!!!!!!!!!!

Page 10: Patient Education Copy

RHEUMATOID ARTHRITIS (โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์)!!แจ้งการวินิจฉัย!อธิบายเกี่ยวกับโรค :!! เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง!!!!!!!!!HIV INFECTION!แจ้งการวินิจฉัย : จากผลการตรวจเลือดครั้งที่แล้วพบว่าคุณติดเชื้อ HIV!อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!! เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า HIV สามารถแบ่งตัวในเซลล์ของคน ร่างกายจะสร้างภูมิต้านท้านแต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไป เชื้อจะคงอยู่และทำลายเม็ดเลือดขาว นำไปสู่ภูมิต้านทานที่บกพร่อง!! การติดต่อสามารถผ่านได้ 3 ทาง คือ!! - การมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ใช้ถุงยาง ไม่ว่าจะกับเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ เสี่ยงมากขึ้นถ้าหากมีแผล ! ในประเทศไทยพบว่า 80 % ติดเชื้อผ่านทางนี้!! - การรับเชื้อทางเลือด พบได้ในผู้ที่ใช้สารเสพติดแล้วใช้เข็มร่วมกัน ส่วนการรับเลือดในปัจจุบันจะต้อง! ผ่านการตรวจจึงปลอดภัยเกือบ 100%!! - การติดเชื้อผ่านจากแม่สู่ลูก ในปัจจุบันสามารถป้องกันได้ ด้วยการให้มารดากินยาต้านไวรัส หรือใช้! วิธีผ่านคลอดเพื่อลดโอากาสการติดเชื้อ และงดการให้นมแม่!! ปัจจัยที่มีผลได้แก่ ปริมาณเชื้อที่ได้รับ บาดแผลที่เชื้อเข้าถึง การติดเชื้ออื่นๆ จำนวนครั้งที่สัมผัสเชื้อ และสุขภาพของผู้ที่สัมผัสกับเชื้อ!เมื่อได้รับเชื้อ จะมีระยะของโรคคือ!ระยะไม่ปรากฏอาการ จะเหมือนคนปกติ ผลเลือดเป็นบวก 4 สัปดาห์ภายหลังรับเชื้อ !ระยะมีอาการ!- มีอาการร่วมเช่น มีเชื้อราในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นงูสงัด อาการเรื้อรังนานเกิน 1 เดือนไม่ทราบสาเหตุ!- ระยะโรคเอดส์ คือภูมิคุ้มกันถูกทำลายมาก เกิด “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส”ซึ่งไม่พบในคนปกติ เช่น !ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อที่ไม่พบในคนปกติ มีการติดเชื้อรา อาการมะเร็ง เช่น มะเร็งหลอดเลือด (Kaposi’s sarcoma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Non-Hodgekin’s lymphoma)!ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายปี บางรายอยู่นานเป็นสิบปีโดยไม่มีอาการใดๆ ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ ไม่รับเชื้อเพิ่ม หากเริ่มมีอาการมักเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี หลายคนอยู่ได้นานมากกว่า 5 ปี!แนวทางการรักษา :!! การรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ทำให้หายขาด แต่เป็นยาต้านไวรัสที่ช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส แต่ไม่สามารถกำจัดให้หมดไปจากร่างกาย โดยการกินยานี้จะต้องทำร่วมกับการดูแลรักษาสุขภาพให้ดี ป้องกันการติดเชื้อ หากไม่มีโรคแทรกซ้อนก็จะมีชีวิตยืนยาวไปอีกหลายปี!ยาที่ให้จะประกอบไปด้วย!- ยาต้านไวรัส ซึ่งนิยมให้ครั้งละสามตัว ต้องกินให้ครบ กินให้ตรงเวลาไม่คลาดเคลื่อน แม้จะแค่ห้านาที!- ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉแวยโอกาส ให้กรณีที่ภูมิคุ้มกันต่ำมาก โอกาสติดเชื้อสูง!ข้อควรปฏิบัติ :!

Page 11: Patient Education Copy

- กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างครบถ้วน ตรงเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยา ห้ามลืมโดยเด็ดขาด จะต้องมีการกำหนดเวลาอย่างเคร่งครัด ยามักจะมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียน ผื่นผิวหนัง โลหิตจาง ต้องมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อดูผลการรักษา ผลข้างเคียงของยา และตรวจหาการติดเชื้อฉวยโอกาส !

- สามารถอยู่ในสังคมได้ปกติ แตะต้องตัวกันตามธรรมดา ไม่ได้ติดต่อกันทางการสัมผัสหรือทางลมหายใจ หากมีเรื่องเครียด ควรปรึกษาคนที่เข้าใจ เช่น พ่อแม่ คู่สมรส !

- ระมัดระวังไม่ให้สารคัดหลั่ง เช่น น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ เลือด กระเด็นเปื้อนผู้อื่น ถ้าบ้วนก็ควรนำไปทิ้งและทำความสะอาด ถ้าสัมผัสกับสารคัดหลั่งแล้วให้รีบทำความสะอาด ล้างมือ ซักเสื้อผ้าที่เปื้อน!

- หากมีเพศสัมพันธ์ ต้องใช้ถุงยางอนามัยเสมอ เพื่อป้องกันการรับหรือการแพร่เชื้อเอดส์ ไม่ว่าคู่นอนจะติดเชื้อหรือไม่ก็ตาม เพราะ อาจจะเป็นเชื้อคนละสายพันธุ์ที่ดื้อยาต่างกัน การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ช่วยป้องกันการรับหรือแพร่เชื้อ รวมถึงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะถ่ายทอดเชื้อให้ลูกได้ 30% หากต้องการตั้งครรภ์จริง ต้องมาวางแผนครอบครัว!

- หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ!- งดการใช้สิ่งเสพติด งดการบริจาคเลือดหรือวัยวะ!- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ!

- การติดเชื้อจะทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นระยะมีอาการ ต้องกินอาหารเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ เพื่อคงน้ำหนักตัวไว้!

- ป้องกันการติดเชื้อ ถ้า CD4 < 200 : ล้างมือก่อนกินอาหารทุกครั้ง หลีกเลี่ยงของดิบ หรือ นมที่ไผ่านการฆ่าเชื้อ อาหารที่มีเชื้อจุลินทรีย์มีชีวิต (โยเกิร์ต) ตั้งทิ้งไว้นานก็ควรอุ่นก่อนทาน อาหารไม่ควรแช่เย็นเกิน 1 วัน กินผักผลไม้ได้แต่ต้องล้างให้สะอาดก่อน!

- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะ ทำลายตับ มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาต้านไวรัส!- อาจมีน้ำหนักลด ควรเพิ่มอาหารประเภทเนื้อสัตว์และแป้ง หลีกเลี่ยงไขมันเนื่องจากย่อยและดูดซึมยาก!- หากมีแผลในปาก ให้ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารกรอบหรือรสจัด !- คลื่นไส้อาเจียน ให้กินอาหารทีละน้อย เพิ่มจำนวนมื้อ งดอาหารจำพวกของทอด ของมัน !- ท้องเสีย ต้องกินแป้งเพิ่ม กินโพแทสเซียมเพิ่ม (กล้วย ส้ม น้ำมะพร้าว มะเขือเทศ)!

- หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เพราะภูมิต้านทานของผู้ติดเชื้อ HIV จะต่ำ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย!- การกินอาหารควรใช้ช้อนกลาง เพื่อสุขอนามัยที่ดี และป้องกันการติดเชื้อทางเดินระบบอาหาร!- สามารถใช้ห้องน้ำห้องส้วมร่วมกันได้ !- เสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องซักแยก หรือใช้เป็ชนิดพิเศษ ยกเว้นกรณีเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ต้องทำการซัก

แยกต้องหาก เวลาสัมผัสต้องใส่ถุงมื้อ นำมาแช่น้ำผสมยาซักผ้าขาว 30 นาทีก่อนนำไปซักตามปกติ!!!!THALASSEMIA!แจ้งผลการตรวจ : พบว่า คุณ(ผู้ชาย) เป็น…. คุณ(ผู้หญิง) เป็น…..!อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!! เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นความผิดปกติของการสร้างส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายและมีภาวะเลือดจาง สามารถเป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พ่อแม่ที่มียีนผิดปกติจะถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ !

Page 12: Patient Education Copy

Beta-thal : คนเราจะมียีนอยู่สองตัว ยีนผิดปกตินี้เป็นยีนแฝง หมายถึง จะต้องผิดปกติทั้งสองตัวจึงจะเป็นโรค ถ้ามีผิดปกติเพียงตัวเดียวจะเรียกว่าเป็นพาหะ จะมีสุขภาพเหมือนคนทั่วไป!! ! !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!สำหรับคนที่เป็นพาหะจะไม่มีอาการ ดำรงชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป เพียงแต่สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินี้ไปสู่ลูกได้ โดยหากบุตรเป็นโรคจะเป็นชนิดรุนแรง คือ แรกเกิดไม่มีอาการ เมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน จะเห็นอาการซีด อ่อนเพลีย ท้องป่อง เริ่มมีตับม้ามโต ตัวเล็ก การเจริญเติบโตช้า มักต้องรับเลือดเป็นประจำ มักจะมีลักษณะของใบหน้าที่จำเพาะต่อโรคนี้!การวางแผนครอบครัว :!- แจ้งว่าบุตรมีโอกาสเป็นกี่เปอร์เซ็น โดยเพศของบุตรไม่มีความเกี่ยวข้องกับโอกาสของการถ่ายทอด!- การตัดสินใจว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวคุณพ่อและคุณแม่ โดยหากตั้งครรภ์แล้ว แนะนำให้รีบมาฝาก

ครรภ์ การวินิจฉัยว่าเด็กในท้องเป็นโรคหรือเป็นพาหะหรือไม่สามารถทำได้ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ การเก็บรกไปตรวจ การทราบผลก่อนคลอดบุตรจะช่วยในการตัดสินใจว่าต้องการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ หรือาจจะเป็นการให้เวลาพ่อแม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการดูแลบุตรที่เป็นโรค!

Page 13: Patient Education Copy

- ควรแนะนำให้ญาติ พี่น้องไปตรวจเลือดว่าเป็นพาหะหรือไม่ และปรึกษาแพทย์ก่อนสมรสเพื่อวางแผนครอบครัว!

การปฏิบัติตัว :!- ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และควรติดตามการรักษาต่อเนื่อง ไม่เปลี่ยนที่รักษาบ่อยๆ!- รักษาความสะอาดของร่างกาย ปากและฟัน เพราะติดเชื้อง่าย ไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน!- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารโปรตีนสูง พืชผักใบเขียวเพื่อให้ได้โฟเลทที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด

แดง!- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เครื่องใน ตับ หัวใจ !!!POST MYOCARDIAL INFARCTION!แจ้งการวินิจฉัย : เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด !อธิบายเกี่ยวกับตัวโรค :!! เกิดจากมีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสาเหตุที่พบมากที่สุดเกิดจากการมีไขมันอุดตันในเส้นเลือด ทำให้มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจน้อยลง เมื่อออกแรงมากๆ มีอารมณ์โกรธ จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่เพียงพอ เกิดการขาดเลือดติดต่อกันนานก็จะเกิดการตายของกล้ามเนื้อ!! มักพบในคนอายุมาก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยปัจจัยเสี่ยงได้แก่ สูบบุหรี่จัด ความดันโลหิตสูง อ้วน ไขมันในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด!! จะมีอาการแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ อาจร้าวไปที่ไหล่ซ้าย มีอาการในขณะพัก ถ้าเป็นมากๆ อาจเกิดภาวะช็อค เป็นลมหมดสติ เสียชีวิตในทันทีทันใด!แนวทางการรักษา :!จะได้รับยากลับไปกินเป็น!- ยาละลายลิ่มเลือด 2 ตัว (aspirin + clopidogrel) จะทำให้เสี่ยงต่อการเลือดออกง่าย หากจะต้องทำหัตถการ

เช่น การผ่านตัด หรือ ถอนฟัน จะมีความจำเป็นต้องหยุดยาระยะหนึ่งก่อนทำ ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ว่ากำลังกินยาละลายลิ่มเลือดอยู่!

- ยาลดไขมัน (statin) อาจทำให้แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ และต้องมาตรวจการทำงานของตับเป็นครั้งคราว!

- ยาลดความดัน (ACEI + Beta-blocker/CCB)!- ยาอมใต้ลิ้น ให้อมเมื่อมีอาการแน่นหน้าอก หรืออาการอื่นๆที่บ่งบอกว่าอาจมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่!การปฏิบัติตัว :!- ต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอ และมาพบแพทย์ตามนัด!- คอยสังเกตอาการของตัวเอง อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างชัดเจน แต่เป็นการปวดเมื่อยที่ไหล่ หรือขา

กรรไกร จุกแน่นลิ้นปี่ ให้มาพบแพทย์!- เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด งดการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มคาเฟอีน!- ถ้าอ้วนต้องลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ใช้น้ำมันพืชแทนนำ้มันจากสัตว์ ออกกำลังกายอย่าง

สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้แรงอย่างหักโหม แนะนำให้ค่อยๆเพิ่มความหนักของการออกกำลังกาย เช่น เริ่มจากการเดินเร็ว ทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกันมากกว่า 10 นาที จากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มเวลา จนได้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง!

- หลีกเลี่ยงอารมณ์โกรธ หรือความเครียดต่างๆ เนื่องจากมีผล่อการกำเริบ!- การทำงาน : เริ่มทำงานได้หลังมีอาการ 8 - 12 สัปดาห์ โดยไม่ใช้แรงมากเพราะจะทำให้อาการกำเริบอีก กา!- การมีเพศสัมพันธ์ : ภายหลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ควรเริ่มหลังผ่านไปแล้ว 6 สัปดาห์ แต่ถ้า

มีภาวะแทรกซ้อนเช่น หัวใจล้มเหลว อาจต้องปรึกษาแพทย์ อาจมีการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากยาที่ได้รับ ห้ามใช้ยาไวอากร้าโดยเด็ดขาด (ในกลุ่มที่ได้รับยา nitrate) เพราะจะทำให้ควมดันโลหิตต่ำรุนแรง อาจเสียชีวิตได้!!!

Page 14: Patient Education Copy

!!!!!!!!!!!!!!!!!!METABOLIC SYNDROME (กลุ่มอาการเมทาบอลิก หรือ โรคอ้วนลงพุง)!เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยลักษณะหลายอย่าง เช่น มีภาวะอ้วน เป็นโรคเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้อาจจะไม่ได้มีครบทุกเกณฑ์ตามที่กล่าวข้างต้น แต่ถ้ามีกลุ่มอาการเหล่านี้แล้วจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดและหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ เป็นต้น!!!!!!!CHRONIC KIDNEY DISEASE (โรคไตเรื้อรัง)!!การปฏิบัติตัว :!- ควบคุมความดันโลหิต!- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ถ้ามีเบาหวาน!- ควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด!

- ควบคุมปริมาณเกลือที่กินเข้าไป เนื่องจากไตไม่สามารถกำจัดส่วนเกิน จะทำให้น้ำคั่งและเกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด หลีกเลี่ยงอาหารจำพวก ปลาเค็ม ขนมขบเคี้ยว แฮม เบคอน อาหารดอง อาหารกระป๋องต่างๆ ห้ามใช้ซอสปรุงรส เกลือเทียม ซีอิ๊วเทียม น้ำปลาเทียม!

- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งทางขับออกมีทางเดียวคือไต ถ้ามีการสะสม จะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หลีกเลี่ยง กล้วย ส้ม ทุเรียน มะละกอ ขนุน มะเขือเทศ ผักใบเขียว มะขาม หัวผักกาด ผลไม้แห้งทุกขนิด เลือกกินแตงกวา กะหล่ำปลี สับปะรด!

- โปรตีน จำกัดปริมาณที่โปรตีนสูง ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่คอเลสเตอรอลสูง !- รักษาภาวะโลหิตจาง!- ป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก!

Page 15: Patient Education Copy

- ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื้อ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ในสัปดาห์แรก เท่าที่ทำไหว ช่วงแรกอาจทำติดต่อกันนาน 10 นาที แล้วค่อยๆเพิ่มจนกระทั่งได้ ครึ่งชั่วโมงต่อวัน!!

อย่าออกกำลังกายหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ : มีไข้ อากาศร้อนและมีความชื้นสูง มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่อ!หยุดออกกำลังกายทันทีหากรู้สึกดังต่อไปนี้ : เหนื่อยล้าเป็นอย่างมาก หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก!หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือไม่เป็นจังหวะ คลื่นไส้ เป็นตะคริว!!- ป้องกันโรคหัวใจ!- หยุดสูบบุหรี่!- คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา!

- หลีกเลี่ยงยาสมุนไพรต่างๆ เพราะเสี่ยงต่อการทำให้เกิดไตวายสูง!- ควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาที่กินอยู่ ได้แก่ ชื่อ ขนาด วัตถุประสงค์ของการใช้ยา วิธีการกิน ข้อควรระวัง