Top Banner
รายงานการศกษาชนดพันธุ์ไม้ “หม้อข้าวหม้อแกงลง” (Nepenthes) กจกรรมพัฒนาระบบวนเกษตร กจกรรมพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน ประจำาปงบประมาณ พ.ศ. 2554 ศูนย์ศกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนท่ 9 สำานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ท่ 9 (ชลบุร) กรมป่าไม้
47

Morkhaomorgangling_CS9 (1)

Feb 08, 2016

Download

Documents

SakkarinAchimar

Carnivorous plant of the world.pdf
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

รายงานการศึกษาชนิดพันธุ์ไม้

“หม้อข้าวหม้อแกงลิง” (Nepenthes)กิจกรรมพัฒนาระบบวนเกษตร กิจกรรมพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน

ประจำาปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 9

สำานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) กรมป่าไม้

Page 2: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

รายงานการศึกษาชนิดพันธุ์ไม้

“หม้อข้าวหม้อแกงลิง” (Nepenthes)กิจกรรมพัฒนาระบบวนเกษตร กิจกรรมพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน

ประจำาปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

คณะผู้จัดทำานางสาวพัชญ์สิตา ฐิตะเลิศวงศ์ นักวิชาการป่าไม้

นางสาวสิริภรณ์ ครวญหา นักวิชาการป่าไม้

นายรักษา สุนินทบูรณ์ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ

นายอูฐ เชาวน์ทวี หัวหน้าศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 9

ที่ปรึกษานายพงษ์ศักดิ์ ปิ่นแก้ว ผู้อำานวยการส่วนจัดการป่าชุมชน

นายสมคิด แก้วไทรหงวน ผู้อำานวยการสำานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี)

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 9

สำานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) กรมป่าไม้

Page 3: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

คำ�นำ�

หม้อข้าวหม้อแกงลิงทุกชนิด เป็นพืชอนุรักษ์ ใน อนุสัญญาไซเตส (CITES ย่อมาจาก

Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หมายถึง อนุสัญญา

ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำาลังจะสูญพันธุ์ โดยปัจจุบัน เป็นพืชที่ได้รับ

ความสนใจในตลาดไม้ประดับทั้งในและต่างประเทศ ทำาให้พืชชนิดนี้ถูกเก็บจากธรรมชาติมาจำาหน่ายเป็น

จำานวนมาก ส่งผลให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีแนวโน้มไปสู่ความเสี่ยงต่อการสูญพัันธุ์ แต่หม้อข้าวหม้อแกงลิง

มีศักยภาพเป็นพืชเศรษฐกิจ เนื่องจาก สามารถปลูกเลี้ยง คัดเลือกพันธุ์ เพาะพันธุ์เองได้เป็นจำานวนมาก

โดยไม่ต้องรบกวนจากธรรมชาติแม้แต่น้อย

รายงานการศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง “หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes)” มีเนื้อหา

ประกอบด้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง, การจัดจำาแนกหม้อข้าวหม้อแกงลิง, หม้อ

ข้าวหม้อแกงลิงที่พบในประเทศไทย, การปลูกเลี้ยง และการดูแลรักษาหม้อข้าวหม้อแกงลิง ไปจนถึง การ

ขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งสามารถนำาไปทดลองปฏิบัติเองได้จริง สร้างรายได้ให้กับชุมชน ลดการ

รบกวนในธรรมชาติ และสามารถนำาหม้อข้าวหม้อแกงลิงคืนสู่ธรรมชาติได้อีกทางหนึ่ง

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 9 ส่วนจัดการป่าชุมชน สำานักจัดการทรัพยากร

ป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) ได้ดำาเนินการศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงิน ประจำา

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 แผนงานอนุรักษ์และบริหารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผลผลิตที่ 1 พื้นที่

ป่าไม้ได้รับการบริหารจัดการ กิจกรรมลักส่งเสริมและพัฒนาการป่าไม้ กิจกรรมพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จักเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่่ ประชาชน และผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย หากมี

ข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 9

ส่วนจัดการป่าชุมชน สำานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี)

กรมป่าไม้

Page 4: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

ส�รบัญ

เรื่อง หน้�ความเป็นมาของหม้อข้าวหม้อแกงลิง 1

พืชกินแมลง 3

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง 8

การจัดจำาแนกหม้อข้าวหม้อแกงลิง 12

หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบในประเทศไทย 13

หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบในภาคตะวันออกของไทย 18

การปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง 19

การดูแลรักษาหม้อข้าวหม้อแกงลิง 24

การขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง 26

การให้ปุ๋ยหม้อข้าวหม้อแกงลิง 37

โรค แมลงศัตรู และการป้องกันกำาจัด 38

หม้อข้าวหม้อแกงลิงในตลาดไม้ประดับของไทย 39

การใช้ประโยชน์หม้อข้าวหม้อแกงลิง 40

พืชในบัญชีไซเตสกับการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง 42

บรรณานุกรม 43

Page 5: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

หม้อข้าวหม้อแกงลิง (สกุล Nepenthes)

ความเป็นมาของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

มีชื่อสามัญว่า Tropical Pitcher Plant หรือ Monkey Cup ส่วนใหญ่มีถิ่นกำาเนิดในแถบเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ แต่มี 3 ชนิด ที่กระจายพันธุ์ไปไกลทางตะวันออกถึงทวีปออสเตรเลีย และอีก 2 ชนิด

กระจายพันธุ์ไปไกลทางตะวันตก ถึงเกาะมาดากัสการ์ นับเป็นพืชกินแมลงที่มีลักษณะโดดเด่นและนิยมปลูก

เป็นไม้ประดับมากที่สุดในเมืองไทย ปัจจุบันมีการค้นพบในธรรมชาติมากกว่า 100 ชนิด และยังพบชนิด

ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นแทบทุกปี

แม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่พบอยู่ในเอเชียตะวัน

ออกเฉียงใต้ แต่ชนิดแรกที่ได้รับการบันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1658

คือ N. madagascariensis Poir. ซึ่ง Etienne de Flacurt ข้าหลวง

ฝรั่งเศสประจำามาดากัสการ์เป็นผู้สำารวจพบ บรรยายถึงความ

แปลกประหลาดของพืชชนิดนี้ไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของเกาะ

มาดากัสการ์ว่า “ดอกหรือผลดูคล้ายแจกันใบเล็กๆที่มีฝาปิด”

สำาหรับชนิดที่สองที่มีการค้นพบ คือ N. distillatoria L. ซึ่งเป็น

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดเดียวที่พบในศรีลังกา หลังจากที่คาร์ล

ลินเนียส เห็นตัวอย่างพรรณไม้แห้งของพืชชนิดนี้เป็นครั้งแรก

ทำาให้เขาระลึกถึงยาที่เรียกว่า “Nepenthe” ของเฮเลนแห่งทรอย

ในมหากาพย์โอดิสซีย์บทประพันธ์ชองโฮเมอร์ ที่เล่ากันว่าเป็นยาที่

ช่วยให้ลืมความโศกเศร้า ลินเนียส บรรยายไว้ว่า

การกระจายพันธุ์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

คาร์ล ลินเนียส บิดาแห่งอนุกรมวิธาน

Nepenthes

ในคริสต์ศสวรรษที่ 17 ผู้ตั้งชื่อสกุล

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

1

Page 6: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

“If this is not Helen’s Nepenthes, it certainly will be for all botanists. What botanist would not be

filled with admiration if, after a long journey, he should find this wonderful plant. In his astonishment past

ills would be forgotten when beholding this admirable work of the creator!”

นั่นคือที่มาของชื่อสกุล Nepenthes ซึ่งลินเนียสตั้งขึ้นในปี

ค.ศ. 1737 และนับว่า N. distillatoria L. เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ชนิดแรกที่ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ทั้งลินเนียส

และนักพฤกษศาสตร์อีกหลายท่านในยุคนั้น ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับพืช

กินแมลง จึงสันนิษฐานกันว่าส่วนหม้อที่เกิดบริเวณปลายใบมีหน้าที่

เก็บน้ำาเพื่อให้พืชอยู่รอดในสภาวะที่แห้งแล้ง

ต่อมาในยุคแห่งการล่าอาณานิคม หม้อข้าวหม้อแกงลิงเริ่ม

เป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อชาวยุโรปออกสำารวจและเข้ายึดครองพื้นที่

ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ พวกเขานำาพืชประจำาถิ่นนานาชนิด เช่น

ปาล์ม กล้วยไม้ รวมทั้งหม้อข้าวหม้อแกงลิงกลับมาปลูกในยุโรป

มีการก่อสร้างโรงเรือนกระจกขึ้นเพื่อให้พรรณไม้เหล่านั้นเจริญเติบโต

อยู่ได้

ในปี ค.ศ. 1789 Sir Joseph Banks หนึ่งในผู้บุกเบิกสวนพฤกษศาสตร์หลวงคิว ประเทศอังกฤษ

ได้นำา N. mirabilis ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรก ต่อมา ปี ค.ศ. 1819 Dr. William Jack ได้ค้นพบ N.

rafflesiana ในประเทศสิงคโปร์ จึงตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ Sir Stamford Raffles ผู้ก่อตั้งประเทศ นอกจาก

นี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ยังมีการค้นพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สวยงามอีก 4 ชนิด คือ N. edwardsiana,

N. lowii, N. rajah และ N. villosa บนยอดเขากีนาบาลู เกาะบอร์เนียว โดยการออกสำารวจถึงสามครั้ง

ของ Hugh Jr. บุตรชายเจ้าของเนิร์สเซอรี่ Hugh Low & Co. เขายังเป็นผู้นำา N. x hookeriana มาปลูกเป็น

ไม้ประดับอีกด้วย

ในยุคนั้นมีเนิร์สเซอรี่เพาะเลี้ยง และขยายพันธุ์ไม้ประดับเกิดขึ้นหลายแห่งในปี ค.ศ. 1825

Conred Loddiges และ Georges บุตรชายเจ้าของเนิร์สเซอรี่ Loddiges ในอังกฤษ เป็นผู้นำา N. khasiana

Hook.f. ซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นชนิดเดียวของอินเดียเข้าสู่วงการไม้ประดับ ปี ค.ศ. 1873 เซอร์โจเซฟ ฮุก

เกอร์ ซึ่งได้รับตำาแหน่งผู้อำานวยการสวนพฤกษศาสตร์หลวงคิวต่อจากเซอร์วิลเลียม ฮุกเกอร์ ผู้เป็นบิดา ได้

ตีพิมพ์รายชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง 33 ชนิด นอกจากนี้ยังมีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการปลูกเลี้ยงหม้อ

ข้าวหม้อแกงลิงพร้อมภาพประกอบสวยงามในวารสารไม้ประดับต่างๆ และลงโฆษณาจำาหน่าย ทำาให้มีผู้นิยม

ปลูกเลี้ยงแพร่หลายมากขึ้น ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นยุคเฟื่องฟูของหม้อข้าวหม้อแกงลิง ในยุโรป

มีการเพาะพันธุ์ลูกผสมที่น่าตื่นตาตื่นใจขึ้นมากมาย แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น หม้อข้าวหม้อแกง

ลิงที่สวยงามหลายชนิดในสมัยนั้นกลับต้องสูญหายไปนับแต่นั้นเป็นต้นมา

N. distillatoria มีถิ่นกำาเนิดในศรีลังกา

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

2

Page 7: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

พืชกินแมลง

พืชกินแมลงส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ในดินที่มีธาตุอาหารต่ำ� หลายชนิดพบในที่ชื้นแฉะ และมีน้ำ�ไหลเวียน

พาเอาธาตุอาหารสำาคัญออกไปเกือบหมด ดังนั้นพืชเหล่านี้ จึงมีวิวัฒนาการแตกต่างจากพืชอื่นๆ เพื่อให้

สามารถสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ โดยเปลี่ยนรูปใบเป็นกับดักล่อเหยื่อ แล้วย่อยสลายเพื่อดูดซับธาตุอาหารที่

จำาเป็นสำาหรับการเจริญเติบโต โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจนที่เป็นส่วนประกอบสำาคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

พืชกินแมลงมีส่วนของใบที่เปลี่ยนรูปไปเป็นกับดัก แบ่งเป็น 2 รูป ดังนี้

1. กับดักที่ไม่เคลื่อนไหว (Passive traps) ได้แก่

1.1 ถุงดักเหยื่อ (pitfall) ลักษณะเป็นถุงมีน้ำ�ขัง

เมื่อเหยื่อถูกหลอกล่อด้วยกลิ่นน้ำ�หวาน และสีสันสะดุดตาจะ

พลัดตกลงไปในถุงและไม่สามารถปีนกลับขึ้นมาได้ ในที่สุดก็

จมน้ำ�ตาย และถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์หรือแบคทีเรีย ได้แก่

สกุล Cephalotus, Darlingtonia, Heliamphora, Nepenthes

และ Sarracenia

1.2 ลอบดักเหยื่อ (Lobster pot) ภายในกับดักมี

ขนที่เรียงชี้ไปในทิศทางเดียวกันสู่ด้านใน เมื่อเหยื่อหลงเข้าไปจึง

ไม่สามารถเดินย้อนกลับออกมาได้ และถูกย่อยเป็นอาหารใน

ที่สุด พบในสกุล Genlisea และ Sarracenia psittacina

1.3 กาวดักเหยื่อ (flypaper) เป็นกับดักที่มีเมือกเหนียว สร้างจากรยางค์บนผิวใบ ทำาให้เหยื่อที่

มีขนาดเล็กไม่สามารถดิ้นหลุดได้ ได้แก่ สกุล Byblis, Drosera, Drosdphyllum, Pinguicula, Roridula และ

Triphyophyllum สำาหรับสกุล Drosera และ Pinguicula บางชนิด ใบจะม้วนรัดเหยื่อเอาไว้เมื่อต้องการย่อย

สลายเหยื่อ

Pinguicula มีกับดักแบบกาวดักเหยื่อ กับดักแบบลอบดักเหยื่อของ Sarracenia psittacina

ถุงดักเยื่อของ Heliamphora

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

3

Page 8: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

2. กับดักที่เคลื่อนไหว (Active traps) ได้แก่

2.1 กับดักงับเหยื่อ (steel trap) เป็นกับ

ดักที่มีลักษณะคล้ายกับบานพับเปิดออก เมื่อเหยื่อก้าว

เข้าสู่กับดัก บานพับจะปิดพับลงอย่างรวดเร็ว กักขัง

เหยื่อไว้ภายในจนตาย หลังจากดูดกินธาตุอาหารจาก

ซากเหยื่อจนพียงพอแล้ว กับดักจึงเปิดออกอีกครั้ง

เพื่อรอเหยื่อรายต่อไป พบในสกุล Aldrovanda และ

Dionaea

2.2 ถุงดูดเหยื่อ (bladder trap, mousetrap suction)

เป็นกับดักของพืชกินแมลงที่อยู่ในน้ำ�หรือที่ชื้นแฉะ เมื่อเหยื่อขนาด

เล็กว่ายน้ำ�ผ่านมาสัมผัสรยางค์ขนด้านนอก กับดักที่ดูคล้ายถุง

จะเปิดออกพร้อมดูดเหยื่อและน้ำ�เข้าสู่ในถุงอย่างรวดเร็ว พบใน

สกุล Utricularia

ปัจจุบันมีพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชกินแมลง 10 วงศ์

มากกว่า 600 ชนิด ได้แก่

1. วงศ์ Bromeliaceae หรือ วงศ์สับปะรด มี 3

ชนิด ที่เป็นพืชกินแมลง ได้แก่ Brocchinia hechtioides Mez,

Brocchinia reducta Baker พบในบราซิล กายอานา โคลอมเบีย

เวเนซูเอลา และ Catopsis berteroniana (Schult.F.) Mez พบใน

รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ไปจนถึงบราซิล

2. วงศ์ Byblidaceae ได้แก่ สกุล Byblis (Rainbow

Plants) พบในทวีปออสเตรเลียและเกาะนิวกินี มี 6 ชนิด

ซากแมลงในกับดักงับเหยื่อของ กาบหอยแครง

U longifolia มีถุงดูดเหยื่อ

Brocchinia reducta

Catopsis berteroniana

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

4

Page 9: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

3. วงศ์ Cepalotaceae ได้แก่ สกุล Cephalotus

(West Australian Picher) มีเพียงชนิดเดียว คือ Cephalotus

follicularis Labill. พบในทวีปออสเตรเลีย

4. วงศ์ Dioncophyllaceae ได้แก่ สกุล Triphyo-

phyllum (Hookleaf) มีเพียงชนิดเดียว คือ Triphyophylum

peltatum (Hutch. & Dalziel) Airy Shaw พบในประเทศ

เซียร์ราลีโอนและไลบีเลีย ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา

5. วงศ์ Droceraceae ได้แก่ สกุล

Aldrovanda (Waterwheel Plant) มีเพียชนิดเดียว

คือ Aldrovanda vesiculosa L. พบในทวีปยุโรป

เอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สกุล Dioneae

(venus Flytrap) หรือ กาบหอยแครง มีเพียงชนิด

เดียว คือ Dioneae muscipula J.Ellis พบในรัฐนอร์ท

แคโรไลนาและเซาท์แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา และ

สกุล Drosera (Sundews) หรือหยาดน้ำ�ค้าง มี

ประมาณ 160 ชนิด กระจายพันธุ์เกือบทั่วโลก

6. วงศ์ Drosophyllaceae ได้แก่ สกุล

Drosophyllum (Dewy Pine หรือ Portuguese

Sundews) มีเพียงชนิดเดียว คือ Drosophyllum

lusitanicum (L.) Link พบตามแนวชายฝั่งของประเทศ

สเปน โปรตุเกส และโมร็อกโก

Cephalotus follicularis

Drosera capensis

Dionaea muscipula

Drosera spatulata

Drosera x california

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ

: พ

ืชกินแ

มลง

Carn

ivoro

us P

lant

5

Page 10: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

7. วงศ์ Lentibulariaceae ได้แก่ สกุล Genlisea

(Corkscrew Plant) มีประมาณ 21 ชนิด พบในทวีปแอฟริกา

เกาะมาดากัสการ์ และทวีปอเมริกาใต้ นับเป็นพืชหายาก สกุล

Pinguicula (Butterworts) มีประมาณ 86 ชนิด ส่วนใหญ่

กระจายพันทางซีกโลกเหนือ สกุล Utricularia (Bladderworts)

มีประมาณ 285 ชนิด กระจายเกือบทั่วโลก

8. วงศ์ Nepenthaceae ได้แก่ สกุล Nepenthes

(Tropical Pitcher Plant) หรือหม้อข้าวหม้อแกงลิง มีประมาณ

116 ชนิด ส่วนใหญ่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

9. วงศ์ Roridulaceae ได้แก่ สกุล Roridula (Bug Plant)

มี 2 ชนิด คือ Roridula dentate L. และ Roridula gorgonias

Planch. พบในประเทศแอฟริกาใต้

10. วงศ์ Sarraceniaceae ได้แก่ สกุล Darlingtonia

(Cobra Lily) หรือลิลี่งูเห่า มีเพียงชนิดเดียว คือ Darlingtonia

californica Torr. สกุล Heliamphora (Sun Picher) มี 14

ชนิด สกุล Sarracenia (Trumpet Pitcher) หรือ ซาร์ราซีเนีย

มี 9 ชนิด ทั้งสามสกุลพบในทวีปอเมริกา

นอกจากพืชกินแมลงทั้ง 10 วงศ์ ดังกล่าวแล้ว ยัง

มีพืชชนิดอื่นๆ ที่มีลักษณะสำาคัญบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นพืชกินแมลง

เช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับจากนักวิชาการเพียง

บางกลุ่ม และอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อหาข้อมูลเพิ่ม

เติม พืชดังกล่าวมี 3 วงศ์ คือ

Pinguicula sp.

Nepenthes raffl esiana Roridula gorgonias

Sarracenia hybrid

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

6

Page 11: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

1. วงศ์ Eriocaulaceae ได้แก่ สกุล Paepalanthus ซึ่งใกล้ชิดกับวงศ์สับปะรด มีเพียงชนิดเดียว

ที่เป็นพืชกินแมลงคือ Paepalanthus bromelioides Silv. พบแหล่งเดียวกับ Brocchinia reducta ในบราซิล

พืชชนิดนี้มีพฤติกรรมและรูปแบบกับดักแบบเดียวกับ B. reducta แต่ไม่พบเอนไซม์ที่ใช้ย่อยสลายเหยื่อ

นักวิชาการบางกลุ่มจึงไม่ยอมรับว่าเป็นพืชกินแมลง อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นกับ B. reducta

มาแล้ว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 จึงเพิ่งพบว่า B. reducta มีเอนไซม์ฟอสฟาเตส (Phoaphatase) ดังนั้น

หากมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอาจพบข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า Paepalanthus bromelioides เป็นพืชกินแมลงที่แท้

จริง

2. วงศ์ Martyniaceae ได้แก่ สกุล Ibicella (Devil’s Claw) มีเพียงชนิดเดียวคือ Ibicella lutea

(Lindl.) Van Eselt. พบในทวีปอเมริกาใต้และรัฐแคลิฟอร์เนีย

3. วงศ์ Stylidiaceae ได้แก่ สกุล Stylidium (Trigger Plant) มีมากกว่า 300 ชนิด ส่วนใหญ่

พบในทวีปออสเตรเลีย เอกสารอ้างอิงล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2006 คือ “Evidence of Protocarnivory in

Triggerplants (Stylidium spp.; Styildiaceae)” ซึ่งรายงานผลกาศึกษาวิจัยโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ 5 ท่าน

ได้แก่ D.W. Darnowski, D.M. Carroll, B. Plachno, E. Kabanoff และ E. Cinnamon ระบุว่าพืชในวงศ์นี้มี

ลักษณะสำาคัญหลายประการเหมือนพืชสกุล Byblis และ Drosera ซึ่งกระจายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน ไม่ว่าจะ

เป็นกลไกในการจับเหยื่อ ประเภทของแมลงที่ตกเป็นเหยื่อ และมีเอนไซม์ย่อยสลายเหยื่อแบบเดียวกับที่พบ

ในสกุล Drosera ทำาให้สรุปได้ว่าพืชดังกล่าวน่าจะเป็นพืชกินแมลง อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

ในเรื่องการดูดซึมธาตุอาหารต่อไป

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

7

Page 12: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินแมลงที่นิยมปลูกเลี้ยงกันมากที่สุดในเมืองไทย ข้อมูลรายละเอียดของ

พืชสกุล Nepenthes มีดังต่อไปนี้

1. หม้อ

หม้อคือส่วนของใบ ไม่ใช่ดอก

หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ Nepenthes

เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้เลื้อย มีใบเดี่ยว รูปขอบขนาน

ถึงรูปไข่ ปลายเรียวแหลม เส้นกลางใบนูนเป็นสันแข็ง

ด้านท้องใบ และยืดยาวออกเป็นสาย เรียกว่า มือพัน

(tendril) หรือที่ผู้ปลูกเลี้ยงเรียกกันว่า สายดิ่ง ส่วน

ปลายพองออกเป็นกระบอกดักเหยื่อ (pitcher) ที่ผู้ปลูก

เลี้ยงนิยมเรียกว่า “หม้อ” มี 2 ลักษณะตามอายุของ

พืช ได้แก่

หม้อล่าง (Lower pitcher หรือ Terres-

trial pitcher) เกิดบริเวณปลายใบที่อยู่ใกล้กับพื้นดิน

มีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก มักมีสีสันหรือลวดลาย

สวยงามสะดุดตาไว้ล่อเหยื่อ ส่วนใหญ่ปากหม้อหัน

เข้าหาสายดิ่ง มีบางชนิดปากหม้อหันออกจากสายดิ่ง เช่น N. x ventrata

หม้อล่างของ N. mirabilis หม้อล่างของไวกิ้ง

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

8

Page 13: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

หม้อบน (Upper pitcher หรือ Aerial pitcher) เกิดเมื่อพืชเติบโตขึ้นจนเป็นเถาเลื้อยยาว สาย

ดิ่งจะม้วนเป็นมือเกาะเพื่อหาหลักยึดพยุงลำาต้น ส่วนหม้อยืดออกเป็นรูปกรวย ก้นแหลม ปากหันออกจาก

สายดิ่ง และมักเปลี่ยนเป็นสีเขียวเรียบๆ มีเพียงไม่กี่ชนิดที่หม้อบนยังคงความสวยงาม เช่น N. rafflesiana

ส่วนประกอบของหม้อ

หม้อข้าวหม้อแกงลิงแต่ละหม้อประกอบด้วย ปาก (peristome หรือ lip) มีผิวเรียบเป็นมันหรือ

เป็นซี่ฟัน มักมีสีสันและลวดลายสวยงาม ภายในมีต่อมน้ำ�หวานไว้ล่อเหยื่อ ด้านหลังยกขึ้นเชื่อมต่อกับฝา

(operculum หรือ lid) ซึ่งมีต่อมน้ำ�หวานมากมายอยู่ข้างใต้ เมื่อหม้อเจริญเติบโตเต็มที่ ฝาจะเปิดออกและ

ไม่สามารถปิดได้ มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำ�ฝนตกลงไปจนทำาให้น้ำ�ย่อยในก้นหม้อเจือจางลง ที่ฐานของฝามี

เดือย (spur) ส่วนหน้าของหม้อล่างมีปีก (wing หรือ ladder) สองอันเป็นชายครุย ช่วยให้แมลงไต่ขึ้นไปยัง

ปากหม้อได้สะดวก สำาหรับหม้อบนลดรูปไปเหลือเพียงริ้วบางๆ (rib) และไม่มีชายครุย

หม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

หม้อบนของไวกิ้ง หม้อหม้อบนของ N. raffl esiana

ส่วนประกอบของหม้อ

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ

: พ

ืชกินแ

มลง

Carn

ivoro

us P

lant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

9

Page 14: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

1. ส่วนล่อเหยื่อ (Attractive zone) ประกอบด้วย ตัวหม้อ ปาก และฝา ซึ่งมีสีสันและลวดลาย

สวยงาม มีต่อมน้ำ�หวานล่อเหยื่อที่มักเป็นพวกมด ส่วนปากหม้อมีผิวเรียบลื่น ทำาให้เหยื่อพลัดตกลงไปใน

หม้อได้ง่าย

2. ส่วนที่มีขี้ผึ้ง (Waxy zone) ผิวด้านในหม้อที่อยู่ลึกจากปริเวณปากลงไปประมาณหนึ่งในสาม

ถึงครึ่งหนึ่งมีสีขาวนวลเรียบลื่นคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง ทำาให้เหยื่อไม่สามารถปีนกลับขึ้นมาได้

3. ส่วนที่ย่อยซากเหยื่อ (Digestive zone) เป้นส่วนที่อยู่ลึกที่สุด มีต่อมเล็กๆมากมาย ทำาหน้าที่

ผลิตน้ำ�ย่อยตั้งแต่ก่อนฝาเปิด มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ สามารถย่อยสลายซากเหยื่อส่วนที่อ่อนนุ่มเพื่อดูดซึม

ธาตุอาหาร

2. ดอก

หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่มีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน (Dioecious) และส่วนใหญ่พบว่าให้

ดอกเพศผู้มากกว่าดอกเพศเมีย ช่อดอกเป็นช่อกระจะ (raceme) หรือช่อแยกแขนง (panicle) แต่ละ

แขนงย่อยมี 1-3 ดอก ยกเว้นบางชนิด เช่น N. Bicalcarata มีมากกว่า 10 ดอก แต่ละดอก

มีเฉพาะกลีบเลี้ยง 4 กลีบ สำาหรับดอกเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียอยู่บนรังไข่รูปรี ส่วนช่อดอก

เพศผู้ มีขนาดใหญ่และมีจำานวนดอกมากว่าช่อดอกเพศเมีย อับเรณูอยู่ส่วนปลาย เมื่อพร้อมผสม

จะแตกออก ภายในมีละอองเรณูสีเหลือง

เหยื่อถูกล่อด้วยน้ำ�หวานจากต่อม

บริเวณปาก

Waxy Zone ที่ส่วนบน ซากแมลงภายในหม้อ

ช่อดอกเพศเมียของไวกิ้ง ช่อดอกเพศผู้ช่อดอกเพศผู้

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plantภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

10

Page 15: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

๓. ผลและเมล็ด

เมื่อดอกเพศเมียได้รับการผสมเกสรจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นฝักรูปรีเรียวยาว ฝักแก่มีสีน้ำาตาล

และแตกออกเป็น 4 พู ภายในมีเมล็ดเล็กๆ คล้ายเส้นด้ายประมาณ 50-500 เมล็ด สามารถ

นำาไปขยายพันธุ์ได้

เคล็ดลับ

- เนื่องจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน หากต้องการขยายพันธุ์

ด้วยเมล็ด ผู้ปลูกต้องมีทั้งต้นเพศผู้และเพศเมีย

- การผสมเกสรเพศผู้และเพศเมียต่างชนิดกัน จะได้ลูกผสมใหม่ๆ ที่มีลักษณะแตกต่าง

จากต้นเดิม บางต้นอาจสวยงามโดดเด่นเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสม

- ลูกผสมแต่ละต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดในรุ่นเดียวกันมักมีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับว่า

จะได้ลักษณะเด่นจากต้นพ่อพันธุ์เหมือนแม่พันธุ์

รังไข่เพศเมียขยายใหญ่ขึ้นหลังผสมเกสร

ฝักที่สมบูรณ์ที่ได้รับการผสมกับเกสรเพศผู้

ฝักแก่เริ่มแตกออก

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

11

Page 16: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การจัดจำาแนกหม้อข้าวหม้อแกงลิง

การจัดจำาแนกตามถิ่นที่พบพืชสกุล Nepenthes ชนิดแท้มากกว่า 100 ชนิด ทั้งในป่าพรุ บนเขา

หินปูน หรือตามทุ่งหญ้าโล่งแจ้งที่ดูแห้งแล้ง แต่มีทางน้ำ�เล็กๆไหลผ่าน ทำาให้รากได้รับความชื้นสม่ำ�เสมอ

หากจำาแนกตามถิ่นที่พบ สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. กลุ่มโลว์แลนด์ (Lowland Pitcher plant หรือ L/L) พบตั้งแต่พื้นราบไปจนถึงพื้นที่สูงไม่เกิน

1,000 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเล เช่น N. ampullaria, N. rafflesiana เป็นต้น

2. กลุ่มไฮแลนด ์(Hightland Pitcher Plant หรือ H/L) พบในพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000-3,000 เมตร

จากระดับน้ำ�ทะเล มีสภาพเป็นภูเขาสูง อากาศเย็น ฝนตกชุกและมีความชุ่มชื้นสูง หม้อข้าวหม้อแกงลิงใน

กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีรูปทรงและสีสันงดงามกว่ากลุ่มโลแลนด์ ทั้งยังพบในธรรมชาติมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์

ของทั้งหมดที่พบบนโลก เช่น N. adrianii, N. spectabilis, N. ventricosa เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีบางชนิดที่สามารถพบได้ทั้งพื้นที่โลว์แลนด์ และไฮแลนด์ ทำาให้นักวิชาการบางท่าน

จำาแนกออกเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง คือ Intermediate Nepenthse แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง

N. mirabilis อยู่ในกลุ่ม โลว์แลนด์

N. rajah พบที่ความสูงกว่า 2,000 เมตร

จากระดับน้ำ�ทะเล อยู่ในกลุ่ม ไฮแลนด์

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

12

Page 17: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบในประเทศไทย

ข้อมูลจากหนังสือ “ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย” ของศาสตราจารย์ ดร. เต็ม สมิตินันทน์

สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ ในปี 2544 ระบุว่าพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศไทย 5 ชนิด

ได้แก่ หม้อแกงลิง (N. ampullaria Jack), หม้อข้าวหม้อแกงลิง (N. gracillis Korth.), เขนงนายพราน

(N. mirabilis (Lour) Druce), นำา้เต้าฤาษี (N. smilesii Hemsl.), และ น้ำ�เต้าลม (N. thorelii Lecomye) (มยุรี

ภิญโญศักดิ์ และคณะ, 2552)

ส่วนข้อมูล จากกรมวิชาการเกษตรระบุว่า หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีแหล่งกำาเนิดในประเทศไทย มี

อยู่ 6 ชนิด ดังนี้ เขนงนายพราน (N. mirabilis (Lour) Druce), กระดึงพระราม (N. distillatoria), น้ำ�เต้า

ฤาษี (N. smilesii Hemsl.), น้ำ�เต้าลม (N. thorelii), หม้อข้าวหม้อแกงลิง (N. gracillis Korth.), น้ำ�เต้าฤาษี (N.

kampotiana Lecomte.) ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบว่า N. kampotiana เป็นชนิดเดียวกับน้ำ�เต้าลม (N. thorelii

Lecomye) ซึ่งแตกต่างกับข้อมูลกรมป่าไม้ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาพืชสกุลนี้อย่างเป็นทางการ แต่ปัจจุบัน

นักปลูกเลี้ยงไม้ประดับหันมาสนใจ ทำาให้นักวิชาการตื่นตัวและเริ่มศึกษาอย่างจริงจังมากขึ้น (มยุรี ภิญโญ -

ศักดิ์ และคณะ, 2552)

สาวินีย์ หมู่โสภณ กล่าวว่า หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชกินแมลง วงศ์ Nephenthaceae สกุล

หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nephenthes) พืชสกุลนี้มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่มีการศึกษาและรวบรวมรายชื่อ

พรรณไม้ในประเทศไทย (Smitinand, 1980) พบว่ามีพืชในวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่ 5 ชนิด ซึ่งแต่ละ

ชนิดจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ หม้อข้าวหม้อแกงลิง (N. ampullaria Jack), น้ำ�เต้า

ฤาษี (N. kampotiana Lec.), เขนงนายพราน (N. mirabilis Druce หรือ N. phyllamphora Willd), น้ำ�เต้าฤาษี

(N. smilesii Hemsl.), และ น้ำ�เต้าลม (N. thorelii Lec.) หม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่เจริญอยู่ในบริเวณที่มี

น้ำ�ท่วมขัง ซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดธาตุไนโตรเจน ดังนั้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง จึงมีวิวัฒนาการหรือมีการปรับตัว

โดยการเปลี่ยนแปลงของใบไปเป็นถุงดักแมลงหรือหม้อ (pitcher) เพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ลำาต้น และมัก

พบหม้อข้าวหม้อแกงลิง ในนิเวศวิทยาป่าชายหาด และนิเวศวิทยาพื้นที่ชุ่มน้ำ� (มยุรี ภิญโญศักดิ์ และคณะ,

2552)

นอกจากข้อมูลที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น พบว่ามีหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีกชนิด ที่จัดเป็นพืชหายาก ซึ่งได้

กล่าวถึงไว้ ในหนังสือ “พืชหายากของประเทศไทย (Rare Plants of Thailand)” ของสำานักงานหอพรรณไม้

สำานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ราชันย์ ภู่มา, 2551)

คือ หม้อแกงลิงเขา (N. sanguinea Lindl.) โดยเป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี ลำาต้นเป็นเหลี่ยมมน มีต่อม

สีแดงกระจายไปทั่วตามส่วนต่างๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปใบพาย ปลายใบกว้าง โคนใบแคบ ยาวได้ประมาณ

20 เซนติเมตร ใบตามลำาต้นช่วงปลายมีขนาดเล็กกว่า ปลายเส้นกลางใบยืดยาวเป็นมือจับ ปลายเป็นรูป

เหยือก ใบรูปเหยือกล่างรูปรีกว้าง ยาว 13-25 เซนติเมตร มีสันเป็นปีก 2 สัน ขอบเป็นชายครุย ใบรูป

เหยือกบนรูปทรงกระบอก ช่อดอกตามปลายกิ่ง ช่อดอกเพศผู้ยาว 35-65 เซนติเมตร ดอกจำานวนมาก

ช่อดอกเพศเมียสั้นกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า กลีบรวม 4 กลีบ ยาวประมาณ 0.3 เซ็นติเมตร เกสรเพศ

ผู้ติดกันเป็นหลอด ยาว 0.2-0.3 เซนติเมตร ผลแบบแคบซูล ยาว 2-2.5 เซนติเมตร เมล็ดเป็นจำานวน

มากรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร การกระจายพันธุ์ คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ตอนล่าง

ของไทย พบที่จังหวัดยะลา ขึ้นตามยอดเขาในป่าดิบเขาที่เปิดโล่ง ระดับความสูง 1200-1500 เมตร

(Cheek & Jebb, 2001)

13

Page 18: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

แม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่มีแหล่งกำาเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในเมืองไทยยังมีผู้

ศึกษาและบันทึกข้อมูลของพืชสกุลนี้น้อยมาก หม้อข้าวหม้อแกงลิงของไทยส่วนมากพบในภาคตะวันออก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งอยู่ในกลุ่มโลว์แลนด์ จัดเป็นพืชอนุรักษ์ตามอนุสัญญาไซเตสใน

บัญชีที่ 2 ชาวบ้านในท้องถิ่นมักมองว่า หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นวัชพืช จึงถูกกำาจัดอยู่เสมอ เมื่อมีการขยาย

พื้นที่ทางการเกษตร ส่วนชนิดที่เป็นที่ต้องการในตลาดไม้ประดับก็ถูกเก็บมาจำาหน่ายจนแทบจะสูญพันธุ์ไป

จากธรรมชาติ

สำาหรับชนิดซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในตลาดไม้ประดับ ได้แก่

N. ampullaria Jack

หม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีชื่ออื่นว่า ช่อหม้อแกง

หม้อแกงค่าง แต่ทางการค้ามักเรียกสั้นๆว่า “แอม” ซึ่งมาจากชื่อ

ชนิดว่า “แอมพลูลาเรีย” พบทางภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา สตูล

ปัตตานี นราธิวาส กระจายพันธุ์ไปถึงมาเลเซีย สิงค์โปร์ เกาะ

บอร์เนียว สุมาตรา นิวกินี ลักษณะเด่นคือ ใบหนาและมีขนนุ่ม

ปกคลุมผิวใบ หม้อค่อนข้างกลมหรือเป็นกระเปาะ สีเขียวล้วน

หรือมีจุดประสีน้ำ�ตาลแดง ส่วนพันธุ์สีแดง ที่พบในประเทศเพื่อน

บ้าน ค่อนข้างหายากและมีราคาสูง เมื่อต้นมีขนาดใหญ่มักมีหม้อ

ผุดขึ้นที่โคนต้นและบริเวณไหล หม้อบนมีขนาดเล็กมากหรือไม่มีให้

เห็น ปัจจุบันเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสมภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

พันธุ์ต่างประเทศสีเขียวปากแดง

พันธุ์ไทยสีเขียวประน้ำ�ตาล

พันธุ์ต่างประเทศสีแดงปากแดง

14

Page 19: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

N. gracilis Korth.

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

เดิมตลาดไม้ประดับเรียกกันว่า “ใบไผ่” แต่ปัจจุบัน

นิยมเรียกตามชื่อชนิดว่า “กราซิลิส” พบทางภาคใต้ในพื้นที่ใกล้

เคียงที่พบ N. ampullaria กระจายพันธุ์ไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์

เกาะสุมาตรา เป็นไม้ขนาดเล็ก ใบเรียวแหลม หม้อรูปเพรียวยาว

คอดตรงกลาง ปากหม้อบาง มีหลายสี เช่น สีเขียว สีแดง สี

ม่วงคล้ำ� หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้เข้าสู่ตลาดไม้ประดับของไทย

มานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากหม้อมี

ขนาดเล็ก ไม่สะดุดตา

N. mirabilis (Lour.) Druce

เขนงนายพราน

มีชื่ออื่นว่า กระบอกน้ำ�นายพราน ลึงค์นายพราน หม้อข้าว

หม้อแกงลิง หม้อข้าวลิง และเหน่งนายพราน ในตลาดไม้ประดับ

มักเรียกชื่อชนิดว่า “มิราบิลิส” มีการกระจายพันธุ์มากที่สุด พบใน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะนิวกินี ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย จีน

ฮ่องกง มาเก๊า ฯลฯ ในเมืองไทยพบทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวัน

ออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้

เลี้ยงง่าย โตเร็ว มีสายพันธุ์หลากหลาย ใบบาง ขอบใบจักฟันเลื่อย

หม้อรูปทรงกระบอก มีทั้งสีเขียว สีแดง สีเขียวเหลือบแดง หรือ

สีชมพู ออกดอกง่าย ขยายพันธุ์ได้เป็นจำานวนมาก ปัจจุบันเป็นชนิด

ที่แพร่หลายในตลาดไม้ประดับมากที่สุด เพราะมีราคาย่อมเยา

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

N. gracilis

ลูกผสมในธรรมชาติระหว่าง N. mirabilisกับ N. gracilis ซึ่งพบได้ยาก

N. mirabilis พันธุ์ปากสีแดง N. mirabilis พันธุ์สีแดง N. mirabilis ‘Kuraburi’

15

Page 20: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

N. thorelii Lecomte

น้ำ�เต้าลม

มีการกระจายพันธุ์ในเขตอินโดจีน สำาหรับเมืองไทยพบใน

ภาคตะวันออกที่จังหวัดตราด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัด

อุบลราชธานี มีใบเรียวยาวรูปหอก ไม่มีก้านใบ แผ่นใบโอบครึ่งลำาต้น

หม้อรูปกระเปาะ ก้นป่อง มีสีแดงหรือสีส้ม ส่วนมากผิวด้านนอกมีลาย

ประสีแดง ภายในหม้อมักมีลายประชัดเจน ปากหม้อสีแดง เหลืองอม

เขียว หรือมีลายริ้ว หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ออกดอกง่าย และเป็น

พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่ให้ลูกผสมสวยงาม

มีหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีกชนิดหนึ่งที่พบทางภาคใต้ในเขตจังหวัด

สุราษฎร์ธานี และจังหวัดพังงา ลักษณะคล้ายคลึงกับ N. thorelii

สำาหรับต้นที่พบในจังหวัดพังงามีลักษณะแตกต่างจากต้นที่พบในจังหวัด

สุราษฎร์ธานี ผู้ปลูกเลี้ยงในเมืองไทยนิยมเรียกกันว่า “ไทเกอร์” ซึ่ง

ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นชนิดใด ปัจจุบันเกิดความสับสน ระหว่าง

ชื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงกลุ่มนี้มาก ซึ่งผู้ที่ตั้งชื่อ “ไทเกอร์” คือ

คุณสุรศักดิ์ เลศวัตรกานต์ เป็นชื่อที่เขาใช้เรียกหม้อข้าวหม้อแกงลิง

จากจังหวัดพังงาฝั่งอันดามัน เนื่องจากเห็นว่าพืชชนิดนี้มีลายคล้ายเสือ

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plantภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

N. aff. thorelii จากจังหวัดตราด

N. aff. thorelii จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

N. thorelii จากกัมพูชา

ไทเกอร์จากพังงา ไทเกอร์จากพังงา

แผ่นใบโอบครึ่งลำาต้น

N. thorelii มีลักษณะเด่นที่ใบแคบยาว

16

Page 21: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

N. ‘Viking’

ไวกิ้ง

คาดว่าเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบที่หมู่เกาะพระทอง

จังหวัดพังงา และมีการจำาหน่ายในตลาดไม้ประดับมานานกว่า 20

ปีแล้ว เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นหลังเหตุการณ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26

ธันวาคม พ.ศ. 2547 เพราะถิ่นกำาเนิดถูกทำาลายจนมีแนวโน้มว่า

จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ

ผู้ที่ตั้งชื่อ คือ คุณสุรศักดิ์ เลศวัตรกานต์ ด้วยเหตุที่รูป

ทรงของหม้อและปากหม้อที่ยกชันขึ้นดูเหมือนหัวเรือไวกิ้ง ชื่อนี้

เป็นที่รู้จักในหมู่นักสะสมทั่วโลก แต่ในงานสัมนาวิชาการ “Sarawak

Nepenthes Summit” ที่เกาะบอร์เนียว เมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2550 สรุปว่า ไวกิ้งเป็นแค่สายพันธุ์ย่อยของ

N. mirabilis อย่างไรก็ตามยังไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้ปลูกเลี้ยงหลายท่าน โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งต้องทำา

การศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เพื่อพิสูจน์ว่าไวกิ้งเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ของไทยหรือไม่

หม้อข้าวหม้อแกงลิงไวกิ้งมีรูปทรงกลมหรือเป็นกระเปาะสีเขียวเหลือบแดง หากสภาพแวดล้อม

เหมาะสมจะให้หม้อสีแดงสด ออกดอกง่าย เหมาะสำาหรับเป็น พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ทั้งยังเป็นที่ต้องการของ

นักสะสมชาวต่างชาติ โดยเฉพาะต้นที่ให้หม้อค่อนข้างกลมจะมีราคาสูง ปัจจุบันมีผู้ผลิตบางรายสามารถ

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดได้เป็นจำานวนมาก คาดว่าจะเป็นอีกชนิดหนึ่งที่แพร่หลายในตลาดไม้ประดับต่อ

จาก N. mirabilis

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

N. ‘Viking’

N. ‘Viking’

17

Page 22: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่พบในภาคตะวันออกของไทย

จากการศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ของกลุ่มพืชกินแมลง (Carnivorous Plant) ในพื้นที่ภาคตะวันออก

ของไทย (มยุรี ภิญโญศักดิ์ และคณะ, 2550-2551) และ การศึกษาสภาพนิเวศวิทยาพืชกินแมลง

สกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) เพื่อการอนุรักษ์ (มยุรี ภิญโญศักดิ์ และคณะ, 2552) ของศูนย์

รวมพรรณไม้ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง สังกัดองค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม พบว่า สำารวจพบพืชกินแมลงในสกุล Nepenthes จำานวน 2 ชนิด ได้แก่ เขนงนายพราน

(Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce) และน้ำ�เต้าลม (Nepenthes thorelii H. Lec)

จากการสังเกตแหล่งที่อยู่อาศัยหรือระบบนิเวศของพืชกินแมลงแต่ละชนิด พบว่าหม้อข้าวหม้อแกง

ลิง จะชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มมีน้ำ�ท่วมขัง ชื้นแฉะ อยู่ตลอดเวลา อยู่บนซากหญ้าเน่าที่เชื่อมติดกัน

เป็นผืนลอยอยู่บนผิวน้ำ� (พรุ) ซึ่งภาษาท้องถิ่น เรียกชั้นพรุนี้ว่า “หนังหมา” หรืออยู่บนบกใกล้แหล่งน้ำ� ตาม

ส่วนที่ปล่อยให้รกร้างไม่มีการดูแล และพบ เขนงนายพราน (Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce) ได้มากกว่า

น้ำ�เต้าลม (Nepenthes thorelii H. Lec) ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า เขนงนายพราน มีความสามารถในการปรับตัว

ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมระบบนิเวศที่อาศัยในเขตภาคตะวันออก ได้ดีกว่า น้ำ�เต้าลม

ในด้านการกระจายพันธุ์ ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั้ง 2 ชนิด นั้น พบว่า มีการกระจายพันธุ์ได้น้อย

และค่อนข้างหายาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และการคุกคามของมนุษย์ โดย เขนงนายพราน (Nepenthes

mirabilis (Lour.) Druce) จากการออกสำารวจ พบที่ อำาเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด, ตำาบลสองสลึง อำาเภอ

แกลง จังหวัดระยอง, บ้านหนองปลาไหล (บ้านอิ่มอำาพร) ตำาบลชากโดน อำาเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี,

และบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ�บึงจำารุง ในพื้นที่ของศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง และ น้ำ�เต้าลม

(Nepenthes thorelii H. Lec) จากการออกสำารวจ พบที่ อำาภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเหลือเพียงแห่ง

เดียวในภาคตะวันออก และสุ่มเสียงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างสูง

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

Nepenthes thorelii H. Lecภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

Nepenthes mirabilis (Lour.) Druceน้ำ�เต้าลม

เขนงนายพราน

18

Page 23: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง

แม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะมีรูปลักษณะที่ดึงดูดใจ แต่คนส่วนใหญ่แทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับพืชชนิด

นี้เลย และมักคิดว่าปลูกเลี้ยงยาก ความจริงแล้วหลายชนิดโดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมือง เช่น N. ampullaria, N.

mirabilis และ N. thorelii ค่อนข้างแข็งแรงทนทาน เลี้ยงง่าย และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ความ

สำาเร็จในการปลูกเลี้ยงให้ออกหม้อ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. สายพันธุ์

สำาหรับสภาพอากาศในเมืองไทยเหมาะที่จะปลูกเลี้ยงไม้กลุ่มโลว์แลนมากกว่า ส่วนกลุ่มไฮแลนด์บาง

ชนิดสามารถปลูกเลี้ยงให้งดงามได้เฉพาะพื้นที่สูงทางภาคเหนือ นอกจากนี้ยังมีลูกผสมระหว่างกลุ่มไฮแลนด์

และโลว์แลนด์ ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นและปลูกเลี้ยงง่ายกว่าพันธุ์แท้ อย่างไรก็ตาม มือใหม่ควรเริ่มต้นจาก

พันธุ์พื้นเมืองซึ่งมีราคาไม่แพง เมื่อมั่นใจในการปลูกเลี้ยงแล้วค่อยหาสายพันธุ์อื่นๆเพิ่มเติม

ภาพ

: พ

ืชกินแ

มลง

Carn

ivoro

us P

lant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

N. mirabilis เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่แพร่หลายที่สุด

N. raffl esiana หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

19

Page 24: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

2. วัสดุปลูก

หม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่จะเจริญได้ดีในดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ และบางชนิดอยู่ในแหล่ง

น้ำ�ตื้นๆ แต่เมื่อนำามาปลูกเลี้ยง ควรใช้วัสดุปลูกที่มีคุณภาพและระบายน้ำ�ได้ดี เพื่อช่วยให้พืชเจริญเติบโต

และมีระบบรากแข็งแรง

1) กาบมะพร้าวสับ

ใช้ได้ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

โดยเลือกให้เหมาะกับขนาดกระถาง หากเป็นกระ-

ถางขนาดใหญ่ควรใช้กาบมะพร้าวสับชิ้นใหญ่ เพื่อ

ไม่ให้วัสดุปลูกอมน้ำ�มากเกินไปจนทำาให้รากเสียหาย

หม้อข้าวหม้อแกงลิง ที่ปลูกด้วยกาบมะพร้าวสับ

เจริญเติบโตดี และมีระบบรากแข็งแรง ทั้งยังไม่มี

ปัญหาเรื่องแมลงรบกวนที่อาศัยอยู่ในดินที่เป็นวัสดุ

ปลูก อย่างไรก็ตามกาบมะพร้าวไม่มีธาตุอาหาร จึง

ควรให้ปุ๋ยแก่พืชบ้างตามความเหมาะสม

2) ดินผสม

ส่วนผสมหลักคือ ดินก้ามปูและแกลบดิบ อัตราส่วน 2 : 1 อาจใช้กาบมะพร้าวสับชิ้นเล็ก

หรือเศษถ่านผสมลงไปด้วยก็ได้ สำาหรับดินผสมบางสูตรที่จำาหน่ายในท้องตลาดมักมีเนื้อดินมากเกินไป จึง

ระบายน้ำ�ไม่ดีเมื่อรากแฉะจนเน่า พืชจะอ่อนแอ ทรุดโทรม และตายง่าย ผู้ปลูกควรพิถีพิถันเรื่องส่วนผสม

ของวัสดุปลูกให้มาก เมื่อใช้ดินผสมปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้นเล็กจนถึงต้นที่ปลูกในกระถาง 8 นิ้ว แต่

พบว่าต้นใหญ่ที่ปลูกด้วยกาบมะพร้าวสับ เจริญเติบโตดีและมีรากที่แข็งแรงกว่า จึงใช้ดินผสมกับกับหม้อ-

ข้าวหม้อแกงลิงต้นเล็กในกระถางไม่เกิน 4 นิ้วเท่านั้น

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ปลูกด้วยดินผสม

ปลูกด้วยกาบมะพร้าวสับ

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

20

Page 25: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ปลูกในสวนเฟิน ให้หม้อใหญ่กว่าชนิดเดียวกัน ที่ปลูกเลี้ยงแห่งอื่น

อย่างไรก็ตามการเลือกวัสดุปลูกขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสภาพแวดล้อมและช่วงเวลาในการ

รดน้ำ� ผู้ปลูกเลี้ยงบางท่านอาจใช้กาบมะพร้าวสับผสมดินใบก้ามปู ขุยมะพร้าวผสมทรายหยาบ พีตมอส

ผสมเพอร์ไลต์ หรือสแฟกนัมมอส ซึ่งสามารถปลูกเลี้ยงได้งดงามเช่นเดียวกัน ผู้อ่านอาจศึกษาข้อมูลเหล่านี้

เป็นแนวทางเพื่อนำาไปใช้ให้เหมาะสมกับการปลูกเลี้ยงของตนเอง

เคล็ดลับ!!

- ก่อนนำากาบมะพร้าวสับมาใช้ควรแช่นำาไว้ 1-2 วัน เพื่อให้มีความชุ่มชื้นเพียงพอ

น้ำ�ที่แช่จะมีสี น้ำ�ตาลแดง ควรเทน้ำ�ทิ้ง เปลี่ยนน้ำ�ใหม่ 2-3 ครั้งจนกว่าสีจะจางลง

- ขุยมะพร้าวสามารถอุ้มน้ำ�ไว้ได้นานมาก ไม่เหมาะกับผู้ที่รดน้ำ�ทุกวัน โดยเฉพาะ

ถ้าปลูกในกระถางใหญ่ เพราะทำาให้รากพืชแฉะและเน่าง่าย หากต้องการใช้ขุยมะพร้าว

ควรผสมทรายหยาบ เศษถ่าน เพอร์ไลต์ หรือวัสดุอื่นๆ เพื่อช่วยให้ระบายน้ำ�ได้ดี

3) ทราย

ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (มยุรี ภิญโญศักดิ์ และคณะ, 2551)

ได้มีการทดลองปักชำาหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce) ในวัสดุปลูกที่แตก

ต่างกัน พบว่า หม้อข้าวหม้อแกงลิง สามารถเติบโตได้ดี ในวัสดุปลูกที่ใช้ทรายเพียงอย่างเดียวซึ่ง

สอดคล้องกับหลักการของพืชกินแมลง ที่มักพบได้ในบริเวณที่ดินเลว ดินเป็นกรด ดินดาน หรือ

ดินที่ขาดธาตุอาหารที่จำาเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น ทรายจึงเป็นวัสดุปลูกที่ให้ผลดี

และเหมาะสม ในการปักชำากิ่งหม้อข้าวหม้อแกงลิงมากกว่าวัสดุปลูกชนิดอื่นๆ

3. สภาพแวดล้อม

หม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิดต้องการความชื้นในอากาศสูง

เช่นเดียวกับเฟิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำาคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้พืชผลิ

หม้อ และให้หม้อขนาดใหญ่ หากได้รับความชื้นไม่เพียงพอ ส่วนปลาย

ใบที่เป็นติ่งเล็กๆ จะชะงักการเจริญเติบโตไม่พัฒนาเป็นหม้อ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการปลูกเลี้ยงควรมีความชื้น

สัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ผู้ปลูกเลี้ยงบางท่านที่สะสมไว้

หลายชนิดได้ติดตั้งระบบการให้น้ำ�แบบตั้งเวลาอัตโนมัติ พ่นละอองน้ำ�

วันละ 2-3 ครั้งเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แต่ถ้าบริเวณบ้านมีต้นไม้

อื่นๆ อยู่มากพอสมควรแล้ว ก็สามารถเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้โดย

ไม่ต้องติดตั้งระบบน้ำ�

21

Page 26: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

4. แสงแดด

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชอบแสงแดดจัด หลายชนิดสามารถปลูกกลาง

แจ้งได้อย่างสบาย เช่น N. bicalcarata, N. mirabilis และ N. rafflesiana

อาจใช้จานรองหล่อน้ำ�ไว้ก้นกระถาง เพื่อให้รากได้รับความชุ่มชื้นสม่ำ�เสมอ

แต่ถ้าปลูกในกระถางขนาดใหญ่ และวัสดุปลุกที่ใช้สามารถเก็บความชื้นได้ดี

ก็ไม่จำาเป็นต้องหล่อน้ำ�ก้นกระถาง

ถ้าต้องกรปลูกเลี้ยงให้ใบสวยงาม ควรมีการพลางแสงประมาณ

50 เปอร์เซ็นต์ ต้นที่ได้รับแสงแดดเพียงพอจะแข็งแรง ไม่ยืดยาวเก้งก้าง

ผลิหม้อได้ดีและมีสีสันสวยงาม บางชนิดเมื่อถูกแดดจัด ใบจะเปลี่ยนเป็น

สีแดง สำาหรับต้นที่กำาลังออกดอกจะช่วยให้ช่อดอกแข็งแรง และดอกเพศ

เมียสามารถติดฝักที่สมบูรณ์ได้เป็นจำานวนมาก

5. การรดน้ำ�

หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่มีใบใหญ่ปกคลุมกระถาง ทำาให้น้ำ�ไหล

ลงวัสดุปลูกไม่สะดวก ต้องรดน้ำ�ด้วยความเอาใจใส่ เพราะต้นอาจได้รับน้ำ�ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในฤดูฝน

ที่ผู้ปลูกคิดว่าไม่จำาเป็นต้องรดน้ำ� มักทำาให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงขาดน้ำ�ได้ง่าย เนื่องจากพุ่มบังไม่ให้น้ำ�ไหลลง

กระถาง ผู้ปลูกเลี้ยงควรหมั่นสำารวจอยู่เสมอ หากปล่อยให้วัสดุปลูกแห้งจนรากกระทบกระเทือน อาจทำาให้

ต้นตายได้

ใช้สายยางสวมหัวรดน้ำ�แบบปรับละอองได้เป็นหลัก และใช้ระบบสปริงเกลอร์บางส่วน รดน้ำ�วันละ

1 ครั้งตอนเช้า ในฤดูร้อนจะเปิดสปริงเกลอร์ช่วงบ่ายนาน 1-2 นาที หรือใช้สายยางสาดรอบๆสวนพอให้

ใบเปียกเพื่อลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นในอากาศ แต่ไม่รดลงกระถางเพราะจะทำาให้วัสดุปลูกเปียกเกินไป

ภาพ

: พ

ืชกินแ

มลง

Carn

ivoro

us P

lant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ฝักที่สมบูรณ์เมื่อได้รับแสงแดดจัด

ควรรดน้ำ�ที่โคนต้นเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำ�ไหลลงกระถาง ใช้จานหล่อน้ำ�ก้้นกระถาง

22

Page 27: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

6. ฤดูกาล

หม้อข้าวหม้อแกงลิงจะงดงามมากที่สุดในฤดูฝน เพราะ

มีอากาศชุ่มชื้น หลายชนิดยังสวยงามมากขึ้นอีกในช่วงฤดูหนาว

เนื่องจากอุณหภูมิที่เย็นลงช่วยให้ต้นที่มีหม้อสีแดงออกสีสดใสกว่าปกติ

แต่ในฤดูหนาวควรใส่ใจเรื่องสภาพแวดล้อมให้มาก เพราะความชื้นใน

อากาศน้อยและมีแสงแดดจัดตอนกลางวัน

7. ภาชนะปลูก

สามารถเลือกใช้กระถางได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งกระถาง

พลาสติก เซรามิก และดินเผา สิ่งสำาคัญคือต้องระบายน้ำ�ได้ดี เพื่อ

ป้องกันระบบรากเสียหาย สำาหรับกระถางกล้วยไม้ที่มีรูรอบๆ สามารถ

ใช้เป็นภาชนะปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิงลูกผสมของกลุ่มไฮแลนด์ได้ดี

แต่ต้องเอาใจใส่เรื่องการรดน้ำ�เป็นพิเศษ เพราะวัสดุปลูกจะแห้งเร็ว

อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้กระถางที่มีขนาดเหมาะสมกับต้น ไม่เล็ก

หรือใหญ่เกินไป การเปลี่ยนกระถางหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้องระวังไม่ให้

รากกระทบกระเทือน เพราะอาจทำาให้ต้นทรุดโทรมถึงตายได้

หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย บางชนิดเติบโตเร็วมาก ต้อง

มีหลักค้ำ�จุนเพื่อไม่ให้ต้นล้มไปมา เมื่อต้นยังเล็กอาจเลี้ยงในกระถาง

แขวนเพื่อให้ยึดเกาะลวดได้ พอต้นโตขึ้นจึงย้ายลงกระถางใหญ่ และ

ทำาซุ้มไม้เลื้อยครอบกระถางไว้ จะได้ต้นที่มีทรงพุ่มสวยงาม และเมื่อ

ต้นผลิหม้อบนและพัฒนาสายดิ่งเป็นมือเกาะ หม้อที่มีหลักให้ยึดเกาะ

จะมีขนาดใหญ่กว่าหม้ออื่นๆ ที่แขวนอยู่กลางอากาศ

ภาพ

: พ

ืชกินแ

มลง

Carn

ivoro

us P

lant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

หม้อที่ออกในฤดูฝน

ปลูกในกระถางดินเผา

ปลูกในกระถางแขวนปลูกในกระถางกล้วยไม้

หม้อบน ม้วนเกาะซุ่มไม้เลื้อย

23

Page 28: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การดูแลรักษาหม้อข้าวหม้อแกงลิง

1. เลี้ยงอย่างไรให้มีหม้อ

แม้ว่าเราจะเลือกปลูกชนิดที่เลี้ยงง่ายแล้ว แต่ก็ยังไม่ผลิหม้อให้เห็น ควรสังเกตว่าต้นได้รับ

แสงแดด และมีความชื้นในอากาศเพียงพอหรือไม่ รวมถึงการรดน้ำ�และปริมาณอาหารที่พืชได้รับ พบว่า

ต้นที่รากเต็มกระถางมักไม่ผลิหม้อ เนื่องจากได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ นอกจากนี้วัสดุปลูกยังมักแห้ง

ง่ายเพราะรากดูดน้ำ�เร็ว เมื่อต้นขาดน้ำ�จะทำาให้หม้อหยุดการเจริญเติบโต เรียกว่าหม้อฝ่อ ต้องบำารุงให้ต้น

สมบูรณ์ จึงจะแตกใบใหม่ที่ให้หม้อได้อีกครั้ง

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

สัปดาห์แรกเริ่มเป็นติ่งเล็กๆที่ปลายใบ สัปดาห์ที่สอง

สัปดาห์ที่สาม สัปดาห์ที่สี่

พัฒนาการการออกหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

24

Page 29: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

2. ต้องหล่อน้ำ�ไว้ก้นกระถางหรือไม่

บางท่านนิยมใช้จานรองหล่อน้ำ�ก้นกระถางบางชนิดที่ปลูกกลางแจ้ง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น แต่ไม่

ควรใช้วิธีนี้กับชนิดที่มีถิ่นกำาเนิดบนพื้นดินแห้ง โดยเฉพาะกลุ่มไฮแลนด์และลูกผสมของพืชกลุ่มนี้

3. ควรเติมน้ำ�ลงในหม้อหรือไม่

ธรรมชาติของหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีฝาที่ทำาหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำ�ฝนไหล ลงไปเจือจางน้ำ�ย่อยที่

ผลิตอยู่ในหม้อ เวลารดน้ำ�ต้นไม้อาจมีน้ำ�ลงไปบ้าง ซึ่งไม่เกิดผลเสียแต่อย่างใด แต่ผู้ปลูกไม่จำาเป็นต้องเติม

น้ำ�ให้เต็มหม้อ แค่ให้มีน้ำ�ขังอยู่เล็กน้อยเพื่อป้องกันการแห้งฝ่อก็พอ เพราะหากมีน้ำ�มากเกินไป หม้ออาจ

ทานน้ำ�หนักไม่ไหวและหักพับได้ โดยเฉพาะหม้อที่แขวนอยู่กลางอากาศ

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ฝา ป้องกันน้ำ�ไหลลงไปภายในหม้อหม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนมากงดงามโดยไม่ต้องหล่อน้ำ�

25

Page 30: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ที่นิยมกันมากที่สุดคือ การปักชำากิ่งและเพาะเมล็ด ส่วน

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีที่ผู้ผลิตบางรายเลือกใช้เพื่อให้ได้ลูกไม้ปริมาณมากสำาหรับการค้าส่งออกในตลาด

ไม้ประดับ สำาหรับการขยายพันธุ์จะกล่าวถึงเพียง 2 วิธี ดังนี้

1. การปักชำากิ่งหม้อข้าวหม้อแกงลิง

แม้เป็นวิธีขายพันธุ์ที่ให้ผลเร็วที่สุด แต่ได้จำานวน

ต้นน้อย และบางชนิดอาจไม่ประสบความสำาเร็จได้ง่าย เช่น N.

ampullaria, N. Bicalcarata, N. truncata ฯลฯ ที่ออกรากช้า กิ่ง

ชำามักเน่าหรือแห้งตายเสียก่อน ส่วนชนิดที่ปักชำาง่ายและออกราก

เร็ว ได้แก่ N. mirabilis และไวกิ้ง ฯลฯ สำาหรับวัสดุปักชำาอาจใช้

ขุยมะพร้าวล้วนๆ ขุยมะพร้าวผสมทรายหยาบ ขี้เถ้าแกลบ หรือ

พีตมอสผสมเพอร์ไลต์ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ขั้นตอน

1. เลือกกิ่งที่มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์เต็มที่

เนื้อไม้ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป

2. ใช้กรรไกรหรือมีดตัดกิ่งเป็นท่อนๆ

แต่ละท่อนควรมีข้อติดอย่างน้อย 2 ข้อ ลิดใบออก

ให้เหลือ 1-2 ใบ และตัดใบออกครึ่งหนึ่งเพื่อลด

การคายน้ำา

3. ใช้มีดปาดโคนกิ่งให้เป็นแนวเฉียง ควร

ปาดเพียงครั้งเดียวเพื่อป้องกันเนื้อไม้ซ้ำ� อาจใช้มีด

กรีดรอบๆรอยตัด เพื่อเพิ่มพื้นที่การออกราก

4. จุ่มหรือทารอยตัดด้วยสารกระตุ้นการ

เจริญเติบโตของราก ซึ่งมีทั้งแบบผงและแบบน้ำ�

5. นำากิ่งที่ได้ปักชำาลงในวัสดุที่เตรียมไว้ให้

ลึกประมาณ 2 เซนติเมตร

6. รดน้ำาให้ชุ่ม หากสภาพแวดล้อมมีความ

ชุ่มชื้นเพียงพอ นำาไปวางในที่ร่มรำาไร อย่าให้ได้รับ

แสงแดดโดยตรง และควรรดน้ำ�สม่ำาเสมอทุกวัน

ถ้ากิ่งไม่เน่าหรือแห้งไปเสียก่อน จะออกรากและ

แตกใบใหม่ภายใน 1-2 เดือน

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

หม้อข้าวหม้อแกงลิงไวกิ้งปักชำาง่ายออกรากเร็ว

ลำาดับขั้นตอน และวิธีการปักชำาหม้อข้าวหม้อแกงลิง

26

Page 31: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

เคล็ดลับ

- มีดหรือกรรไกรที่ใช้ต้องคมและสะอาด

- กิ่งที่แก่จนแห้งแกร็นเป็นสีน้ำ�ตาลมักปักชำาไม่ได้ผล ควรตัดแต่งและย้าย

ปลูกใหม่เพื่อให้ ต้นแข็งแรง และแตกกิ่งใหม่ที่สมบูรณ์ จึงค่อยตัดมาปักชำา

- หากพื้นที่มีความชื้นในอากาศน้อย หลังจากรดน้ำ�ควรนำากระถางที่ปักชำา

กิ่งใส่ในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่นเพื่อรักษาความชื้น วางในที่ร่มรำาไรโดยไม่ต้องเปิดถุง

รอจนกว่ากิ่งออกรากดี เริ่มแตกใบใหม่ และแข็งแรงแล้วจึงค่อยๆเปิดออกวันละนิด หรือ

เจาะรูรอบถุงเพิ่มทุกสัปดาห์ เพื่อให้ต้นค่อยๆปรับตัว ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน เมื่อ

นำาต้นออกจากถุงได้สำาเร็จ และพืชปรับตัวได้ดีแล้วจึงย้ายกระถางให้ได้รับแสงแดดมากขึ้น

วิธีการปักชำาที่ได้ผลดีที่สุด คือการปักชำาในน้ำ� โดยนำากิ่งที่เตรียมไว้ปักชำาลงในขวดแก้วขนาด

เล็ก ใส่น้ำ�ให้ท่วมโคนกิ่งอย่างน้อย 3-4 เซนติเมตร หมั่นเปลี่ยนน้ำ�ให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อกิ่งเริ่ม

แตกรากและใบใหม่จนแข็งแรงแล้วจึงย้ายปลูกลงกระถาง

2. การเพาะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง

เนื่องจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน จึงต้องนำาเกสรเพศผู้และเกสรเพศ

เมียจากคนละต้นมาผสมกันจึงจะสามารถติดเมล็ดได้ ซึ่งเป็นเหตุให้มีไม้ลูกผสมเกิดขึ้นมากมาย และถึงแม้

มีแม่พันธุ์-พ่อพันธุ์ชนิดเดียวกันก็ยังให้ลูกที่แตกต่างกันได้ เพราะหม้อข้าวหม้อแกงลิงแต่ละต้นมักให้หม้อที่มี

เอกลักษณ์เฉพาะตัว การเพาะเมล็ดเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่ให้ต้นจำานวนมาก

ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ เมื่อบานเต็มที่จะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆคล้ายกัน

ทุกต้น แต่แตกต่างที่ดอกเพศผู้มีก้านชูอับเรณู ส่วนดอกเพศเมียมีรังไข่ เป็นกระเปาะอยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง

และยอดเกสร

การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดมีขั้นตอนซับซ้อน ตั้งแต่การคััดเลือกแม่พันธุ์- พ่อพันธุ์ การผสมเกสร

การเก็บเกสรเพศผู้ การเก็บเมล็ด การเพาะเมล็ด และการย้ายปลูกต้นกล้า ดังนี้

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ลำาดับขั้นตอน และวิธีการปักชำาหม้อข้าวหม้อแกงลิง

27

Page 32: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การคัดเลือกแม่พันธุ์-พ่อพันธุ์

สิ่งสำาคัญในการขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงด้วยวิธีการเพาะเมล็ด คือ การคัดเลือก

พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ที่มีลักษณะเด่น สวยงาม ปลูกเลี้ยงง่าย มีคำากล่าวในหมู่ผู้เพาะพันธุ์ไม้ประดับ

ว่า “พ่อให้สี แม่ให้ทรง” ซึ่งเป็นจริงอยู่บ้างสำาหรับหม้อข้าวหม้อแกงลิง

การใช้พ่อพันธุ์ที่เป็นลูกผสม ทำาให้ลูกไม้มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ไม่เพียงแต่ได้

ลักษณะเด่นจากพ่อหรือแม่เท่านั้ั้น บางต้นยังได้ลักษณะเด่นของปู่ย่าตายายติดมาด้วย

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ตัวอย่างการผสมพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง

28

Page 33: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การผสมเกสร

หม้อข้าวหม้อแกงลิงมัดเริ่มออกดอกตั้งแต่ช่วงปลายปี

ประมาณเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม แต่ก็มีหลาย

ชนิดที่ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี แต่ละช่อดอกมีดอกย่อยหลาย

สิบดอก ทยอยบานไล่จากส่วนล่างขึ้นสู่ปลายช่อภายในหนึ่ง

สัปดาห์ ยกเว้นบางชนิด เช่น N. bicalcarata ใช้เวลากว่า 2

สัปดาห์ดอกจึงบานหมดทั้งช่อ ดอกมักเริ่มบานช่วงบ่ายถึงเย็น

ตามปกติเมื่อต้นเพศผู้และเพศเมียออกดอกพร้อมกัน สามารถ

ผสมเกสรติดเมล็ดได้เอง เพราะมีแมลงช่วยผสมเกสร หากผู้

ปลูกต้องการคัดเลือกสายพันธุ์ ต้องป้องกันไม่ให้แมลงมาผสม

เกสร โดยเฉพาะผู้ที่ปลูกเลี้ยงต้นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ไว้จำานวนมาก

บางแห่งมักย้ายต้นแม่พันธุ์ไปไว้ในโรงเรือนปิดหรือใช้มุ้งครอบไว้

สำาหรับขั้นตอนมีดังนี้

1. เมื่อดอกเพศผู้เริ่มบาน กลีบเลี้ยงทั้ง 4 กลีบจะเปิดออกให้เห็นอับเรณูอยู่ภายใน หลัง

จากนั้น 2-4 ชั่วโมง อับเรณูจะแตกเป็นผงสีเหลือง (ยกเว้นบางชนิดที่อับเรณูจะแตกในวันถัดไป)

2. สังเกตดอกเพศเมียที่เริ่มบาน หากมีน้ำ�หวานเหนียวใสอยู่บริเวณยอดเกสรสีเขียวแสดงว่า

ดอกพร้อมผสมแล้ว

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

การผสมเกสรด้วยแมลงตามธรรมชาติ

ลักษณะของดอกเพศผู้ที่เริ่มบาน ลักษณะของดอกเพศเมียที่เริ่มบาน

29

Page 34: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

3. แตะเกสรเพศผู้สีเหลืองเบาๆ ที่ยอดเกสรเพศเมีย

4. หากผสมติด ภายใน 1-2 วัน น้ำ�หวานของเกสรเพศเมียจะแห้งไป ยอดเกสรมีสีเข้ม

ขึ้นหรือกลายเป็นสีน้ำ�ตาล ภายใน 1 สัปดาห์ รังไข่หรือฝักของดอกเพศเมียที่ได้รับการผสมจะ

ขยายขนาดขึ้น

5. หากต้นมีความสมบูรณ์ ฝักจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

ประมาณ 2 เดือนต่อมา ฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำ�ตาล และ

จะเริ่มแตกจากส่วนล่างของช่อ แสดงว่าเมล็ดแก่เต็มที่

พร้อมนำาไปขยายพันธุ์

เคล็ดลับ

- ต้นที่กำาลังออกดอก หากได้รับแสงแดดค่อนข้างมาก

มีความชื้นในอากาศเพียงพอ จะให้ช่อดอกขนาดใหญ่

แข็งแรง หากผสมเกสรจะติดฝักที่มีความสมบูรณ์ทั้งช่อ

- เกสรเพศผู้ 1 ดอก สามารถเขี่ยเกสรเพศเมียได้

7-10 ดอก

- ถ้าหลังจากวันที่ผสมเกสรแล้วน้ำ�หวานยังไม่แห้ง

แสดงว่ายังไม่ได้ผล สามารถนำาเกสรเพศผู้มาเขี่ยซ้ำ�ได้อีก

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

แตะเกสรเพศผู้ที่ยอดเกสรเพศเมีย ลักษณะของเกสรเพศเมียที่ได้รับการผสมแล้ว

ฝักเริ่มแตก แสดงว่าเมล็ดแก่พร้อมนำาไปขยายพันธุ์

30

Page 35: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การเก็บเกสรเพศผู้

ในกรณีที่ดอกเพศผู้บานก่อนดอกเพศเมีย สามารถเก็บเกสรไว้ได้ระยะหนึ่ง สำาหรับ

นำามาใช้เมื่อเกสรเพศเมียบานพร้อมผสม เริ่มจาก

1. สังเกตช่อดอกเพศผู้ที่เริ่มแย้มบาน

2. ใช้ผู้กันขนอ่อนค่อยๆ เขี่ยละอองเกสรสีเหลือง

3. เคาะเกสรใส่ขวดพลาสติกใสขนาดเล็ก หรือเด็ดทีละดอกมาเขี่ยละอองเกสรลงในขวด

4. ปิดฝาขวดให้สนิท เขียนชื่อพันธุ์และวันที่ไว้ข้างขวด แล้วเก็บไว้ในช่องแช่ผักในตู้เย็น เพื่อ

ไม่ให้เย็นจัดเกินไป สามารถเก็บรักษาเกสรเพศผู้ไว้ได้นาน 2-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นเมื่อ

นำาไปผสม อัตราการติดเมล็ดจะลดลงตามเวลา

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

การเก็บเกสรเพศผู้ไว้ใช้เมื่อเกสรเพศเมียบานไม่พร้อมกัน

31

Page 36: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การเก็บเมล็ด

1. เมื่อฝักของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่อยู่ส่วนล่างของช่อเริ่มแตก ให้ตัดทั้งช่อ

2. นำาไปวางบนแผ่นกระดาษสีขาวในที่อับลม

3. หลังจากนั้นทุกฝักจะทยอยแตกออกและมีเมล็ดลักษณะเป็นเส้นๆ ร่วงหล่นลงมา

มากมาย อาจต้องเคาะฝักเพื่อให้เมล็ดร่วงออกมาจนหมด ถ้าฝักสมบูรณ์จะได้เมล็ดจำานวน

มาก

เคล็ดลับ

- เมล็ดของหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีอายุค่อนข้างสั้น จึงควรนำาไปเพาะให้เร็วที่สุด

หากทิ้งไว้นาน อัตราการงอกจะลดลงอย่างมาก และไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพราะ

อาจทำาให้เมล็ดเสียคุณภาพ

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

การเก็บเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง

32

Page 37: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การเพาะเมล็ด

ในการเพาะเมล็ดนั้นเราใช้วัสดุเพาะเมล็ด 2 แบบ คือ พีตมอส และสแฟกนัมมอส โดย

เพาะเมล็ด 2 วิธี ได้แก่ การเพาะในกล่องพลาสติกใสปิดฝาและเพาะในตะกร้าพลาสติก ในที่นี่

เป็นการยกตัวอย่างเท่านั้น ท่านสามารถใช้วัสดุชนิดอื่น หรือ วิธีการอื่น ตามความเหมาะสม ซึ่ง

มีขั้นตอนดังนี้

1. การเพาะเมล็ดในกล่องพลาสติกใส

1.1 ใส่พีตมอสในกล่องพลาสติกใสประมาณหนึ่งในสามของกล่อง โรยเมล็ดหม้อข้าว

หม้อแกงลิงให้กระจายทั่ว ไม่หนาแน่นจนเกินไป

1.2 สเปรย์น้ำ�จนเปียกชุ่ม ปิดฝากล่อง นำาไปวางในที่ได้รับแสงแดดประมาณ 40

เปอร์เซ็นต์ หากร่มเกินไปเมล็ดจะไม่งอก

1.3 ภายในหนึ่งเดือน เมล็ดจะเริ่มงอกใบเล็กๆสีเขียว เมื่อต้นกล้าเติบโตจนเบียดกัน

แน่น ให้แง้มฝากล่องวันละนิด เพื่อให้ลูกไม้ค่อยๆปรับตัวก่อนย้ายปลูก ระยะนี้หากอยู่ในช่วงฤดูฝน

ต้องระวังไม่ให้น้ำ�ฝนไหลเข้าไปท่วมในกล่อง

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

การเพาะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง

33

Page 38: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

1.4 แยกต้นกล้าปลูกลงในตะกร้าโดยใช้แฟกนัมมอสเป็นวัสดุปลูก อาจแยกเป็นกอเพื่อ

ป้องกันรากกระทบกระเทือน เว้นระยะห่างให้เติบโตได้ รดน้ำ�ให้ชุ่มชื้น

1.5 นำาตะกร้าใส่ไว้ในตู้อบที่มีช่องให้อากาศถ่ายเทได้ เพื่อควบคุมความชื้นในระดับหนึ่ง

หลังจากนั้นหนึ่งเดือนต้นแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น จึงย้ายตะกร้าลูกไม้ออกจากตู้อบไว้ภายนอกเพื่อรอ

การแยกปลูกต่อไป

เคล็ดลับ

- การแยกต้นกล้าจากกล่องปลูกลงตะกร้าควรทำาด้วยควมระมัดระวัง เพราะพืชต้อง

ปรับตัวมาก หากอากาศร้อนจัด หรือความชื้นไม่เพียงพออาจทำาให้ต้นกล้าตายได้

- การเพาะเมล็ดในกล่องพลาสติกมีข้อดีคือ เมล็ดมีอัตราการงอกสูงและเติบโตเร็ว

แต่ข้องเสียคือ ยุ่งยากใช้เวลานานกว่าต้นกล้าจะปรับตัวได้ ส่วนการเพาะในตะกร้าพลาสติก

แม้จะเติบโตช้ากว่า การเพาะในกล่อง แต่แข็งแรงกว่า และลดขึ้นตอนยุ่งยาก

2. การเพาะเมล็ดในตะกร้า

2.1 ใส่แฟกนัมมอสลงในตะกร้าให้หนาพอประมาณ รดน้ำ�จนชุ่ม โรยเมล็ดให้กระจาย

ทั่ว ไม่หนาแน่นจนเกินไป รดน้ำาให้ชุ่มอีกครั้ง นำาเข้าตู้อบที่มีช่องให้อากาศถ่ายเทได้ เพื่อควบคุม

ความชื้นในระดับหนึ่ง ควรได้รับแสงแดดประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับการเพาะในกล่อง

2.2 ภายในหนึ่งเดือนเมล็ดจะเริ่มงอก เมื่อแน่ใจว่าต้นแข็งแรงแล้วจึงย้ายออกจากตู้อบ

มาไว้ภายนอก

2.3 เมื่อต้นเติบโตจนใบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร หรือเริ่มเบียดกัน จึงแยกปลูกใน

กระถางขนาดเล็ก

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

การเพาะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง

34

Page 39: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

ในการใช้วัสดุเพาะในตะกล้าเป็นพีตมอสผสมเพอร์ไลต์ รองก้นด้วยมะพร้าวสับ แต่

มีปัญหาเมื่อนำาออกมาไว้ภายนอก เวลารดน้ำ�หรือเมื่อฝนตกพีตมอสและเพอร์ไลต์จะค่อยๆถูกชะ

ออกไปจนหมด ส่วนรากของต้นกล้าจะชอนไชไปเกาะชิ้นมะพร้าวสับที่รองก้นตะกร้า เวลาแยกปลูก

รากมักจะขาดง่าย ได้รับการกระทบกระเทือน เมื่อเปลี่ยนมาใช้สแฟกนัมมอสจึงหมดปัญหาเรื่องนี้

และพบว่ารากเจริญเติบโตได้ดี แข็งแรง ย้ายปลูกง่าย แต่ที่สำาคัญ ต้องระวังไม่ให้สแฟกนัมมอส

เปียกแฉะมากเกินไป

เคล็ดลับ

- การเพาะเมล็ดในตะกร้าเหมาะกับสถานที่ที่มีความชุ่มชื้นสูง มิเช่นนั้นเมื่อนำาออกจากตู้อบ

ต้นกล้าอาจตายได้

- หมั่นสังเกตว่าวัสดุเพาะในตู้อบมีความชื้นเพียงพอหรือไม่ ควรเปิดฝาตู้เพื่อรดน้ำาเมื่อวัสดุ

เริ่มแห้งเท่านั้น หากแฉะเกินไปอาจทำาให้เมล็ดไม่งอก

การย้ายปลูกต้นกล้า

กระถางที่ใช้ปลูกต้นกล้าควรมีขนาด 2-3 นิ้ว วัสดุที่แนะนำาให้ใช้มี 2 แบบ คือ ดินผสม

และกาบมะพร้าวสับชิ้นเล็กๆ มีขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมกระถาง วัสดุปลูก และอุปกรณ์ให้พร้อม ใช้นิ้ว หรือคีมปลายแบนคีบที่โคนต้น

ดึงขึ้นช้าๆ ด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาด อาจให้มีสแฟกนัมมอสติดมาบ้างก็ได้

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plantการเพาะเมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง

35

Page 40: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

2. รวบใบขึ้น วางต้นลงบนวัสดุปลูกที่เตรียมไว้ แล้วกลบรากให้มิดถึงโคนต้นรดน้ำ�ให้ชุ่ม

วางในที่ร่มรำาไร

3. เมื่อต้นแตกใบใหม่แข็งแรงดีค่อยย้ายไปในตำาแหน่งที่ได้รับแสงแดดมากขึ้น

หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเติบโตเร็วในสภาพแวดล้อมที่มีความชุ่มชื้น

สูงและได้รับแสงแดดมากเพียงพอ จะเติบโตเต็มที่เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปีครึ่ง และเริ่ม

ให้ดอกเมื่อย่างเข้าปีที่สอง ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยเรื่องสภาพแวดล้อมและแสงแดด

เคล็ดลับ

- ต้นกล้าที่พร้อมย้ายปลูกควรมีใบยาวประมาณ 2 เซนติเมตร หากต้นเล็ก

กว่านี้จะยังไม่แข็งแรง ต้องใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวหรืออาจตายได้

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plantการย้ายปลูกกล้าหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

36

Page 41: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การให้ปุ๋ยหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ปุ๋ยที่ให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงมี 2 ประเภท ดังนี้

1. ปุ๋ยเม็ดละลายช้า ใช้เพียงเล็กน้อยเพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหารเสริมเพียงพอ โดยเฉพาะต้นที่

ปลูกด้วยกาบมะพร้าวสับล้วนๆต้องให้ปุ๋ยเสริมบ้าง มิเช่นนั้นเมื่อนานไปใบจะซีดเหลืองและต้นโทรมอย่างเห็น

ได้ชัด

2. ปุ๋ยปลา เป็นปุ๋ยที่อุดมไปด้วยธาตุอาหาร

หลักที่จำาเป็นสำาหรับการเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะ

ไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

การที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงพัฒนาส่วนปลายใบให้กลาย

เป็นหม้อ ก็เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจับเหยื่อและดูดซึมธาตุ

อาหาร แต่หากหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่นำามาปลูกเลี้ยง

ไม่มีเหยื่อให้บริโภคอย่างเพียงพอเช่นในธรรมชาติ การ

ให้ปุ๋ยที่อุดมด้วยไนโตรเจนจึงช่วยให้พืชแข็งแรงและ

งดงามมากขึ้น ใช้ปุ๋ยปลาอัตราส่วน 1 ซีซี ต่อน้ำ�

1 ลิตร ฉีดพ่นหม้อข้าวหม้อแกงลิงทุก 2 สัปดาห์

พบว่าทำาให้ใบใหญ่ขึ้น และผลิตหม้อขนาดใหญ่ขึ้น

เกือบเท่าตัว ทั้งยังมีสีสันสวยงามกว่าเดิม แม้แต่บาง

ต้นที่ขาดการบำารุงจนไม่ผลิหม้อแล้วก็ยังสามารถผลิ

หม้อได้อีกครั้ง

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ให้ปุ๋ยเมล็ดละลายช้าแก่เมล็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงให้หม้อใหญ่ขึ้น และมีสีสดใสขึ้นเมื่อได้รับปุ๋ยปลา

37

Page 42: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

โรค แมลงศัตรู และการป้องกันกำาจัด

แม้หม้อข้าวหม้อแกงลิงจะเป็นพืชกินแมลง แต่ก็เป็นอาหารโปรดของแมลงนานาชนิดเช่นกัน ไม่ว่าจะ

เป็นแมลงปีกแข็งที่ชอบกัดกินยอดอ่อนในเวลากลางคืน หนอนบุ้ง เพลี้ย และไรแดง ซึ่งดูดกินน้ำ�เลี้ยงตาม

ใบ ทำาให้ใบหงิกม้วนและไม่ผลิหม้อ นอกจากนี้ยังพบหนอนเจาะกลางลำาต้น ทำาให้ต้นเหี่ยวเฉาโดยไม่ทราบ

สาเหตุ เมื่อต้นตายหากลองตัดกิ่งดู จะพบตัวหนอนอยู่ภายใน สำาหรับในฤดูฝนมักมีการระบาดของเชื้อรา

ต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคใบจุด โรคแอนแทรกโนส โรคลำาต้นเน่า ทำาให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงตายได้

สารป้องกันและกำาจัดแมลงที่ผู้ปลูกเลี้ยงหลายท่านใช้ ได้แก่ คาร์บาริล (Carbaryl : ชื่อสามัญ)

ไดเมโทเอต (Dimethoate : ชื่อสามัญ) สำาหรับแมลงที่อาศัยอยู่ในดินให้ใช้คาร์โบฟูราน (Carbofuran : ชื่อ

สามัญ) ส่วนสารป้องกันและกำาจัดโรคราแอนแทรกโนส ได้แก่ แคปแทน (Capten : ชื่อสามัญ) คาร์เบนดา

ซิม (Carbendazim : ชื่อสามัญ) แมนโคเซป (Mancocep : ชื่อสามัญ) หากมีปัญหาเรื่องหอยทากกัดกินใบให้

ใช้สารกำาจัดหอยเมทัลดีไฮด์ (Methaldehyde : ชื่อสามัญ)

อย่างไรก็ตามหากปัญหาโรคและแมลงที่พบไม่รุนแรงนัก ควรใช้วิธีกล คือ จัดการแมลงด้วยมือ

หรือใช้สารสกัดจากธรรมชาติซึ่งปลอดภัยต่อคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อมน่าจะดีกว่า ซึ่งโดยทั่วไปหาก

หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีสุขภาพแข็งแรง ได้รับปุ๋ย แสง และความชื้นอย่างเพียงพอ มักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่อง

โรคและแมลงนัก

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant ภาพ : พืชกินแมลง Carnivorous Plant

หนอนผีเสื้อกัดกินใบ

ปาดซ่อนในหม้อรอกินแมลง

หม้อที่ถูกศัตรูพืชกัดกิน ไรแดงทำาให้ใบหงิกม้วน

38

Page 43: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

หม้อข้าวหม้อแกงลิงในตลาดไม้ประดับของไทย

แม้ทวีปเอเชียจะเป็นแหล่งกำาเนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิงนานาชนิด แต่ชาวยุโรปกลับเป็นผู้ริเริ่มนำา

พืชกลุ่มนี้ไปปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์เป็นการค้าตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่ผู้ปลูก

เลี้ยงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีการก่อตั้งสมาคมพืชกินแมลงขึ้นหลายแห่ง เช่น สมาคมพืชกินแมลงนานาชาติ

(International Carnivorous Plant Society หรือ ICPS) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1972 สมาคมพืชกินแมลงของ

อังกฤษ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1978 ส่วนสมาคมพืชกินแมลงของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก่อตั้งในปี

เดียวกันคือ ค.ศ. 1982 ฯลฯ

สำาหรับในประเทศไทย มีผู้นำาหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากธรรมชาติมาจำาหน่ายในตลาดไม้ประดับนาน

กว่า 20 ปีแล้ว โดยมักจำาหน่ายกันในตลาดค้าไม้ป่า แต่พืชส่วนใหญ่ที่มีผู้ซื้อไปสามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้

ต่อมามีผู้นำา “ไวกิ้ง” หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่คาดว่าเป็นชนิดใหม่ และเป็นพืชชนิดเดียวของไทยจากฝั่งทะเล

อันดามันเข้าสู่ตลาดไม้ประดับ และมีการสร้างกระแสให้เป็นที่กล่าวขานในกลุ่มนักสะสมหม้อข้าวหม้อแกงลิง

โดยเฉพาะชาวต่างชาติ เพื่อหวังผลทางการค้า ทำาให้พืชชนิดนี้ถูกเก็บจากธรรมชาติมาจำาหน่ายเป็นจำานวน

มาก ยิ่งกว่านั้นหลังจากที่แหล่งกำาเนิดได้รับผลกระทบจากเหตุสึนามิเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ก็มี

กระแสข่าวอีกระลอกว่าพืชชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ ทำาให้ราคาขายไวกิ้งถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมีผู้ผลิตบางราย สามารถขยายพันธุ์ไวกิ้งด้วยวิธีเพาะเมล็ดออกจำาหน่าย ซึ่งได้รับ

ความนิยมจากผู้ปลูกเลี้ยงมากกว่าไม้ที่เก็บจากป่า เนื่องจากต้นแข็งแรง เลี้ยงง่าย และมีราคาย่อมเยา ช่วย

ให้การบุกรุกทำาลายไวกิ้งในธรรมชาติลดลงอย่างมาก

หม้อข้าวหม้อแกงลิงและพืชกินแมลงสกุลอื่นๆ เพิ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มผู้ปลูก

เลี้ยงชาวไทย เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากเริ่มมีผู้นำาไม้สายพันธุ์ต่างประเทศที่งดงามมาจำาหน่าย นอกจากนี้

ยังมีเวปไซต์ของไทยที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพืชกลุ่มนี้เกิดขึ้นมากมาย แต่กระแสความนิยมดังกล่าวกลับส่งผลให้

มีการบุกรุกพืชในธรรมชาติมากขึ้นไปอีก ไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านก็ได้

รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไป มีแนวโน้มว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจาก

ธรรมชาติ ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับการศึกษา หรือบันทึกข้อมูลทางวิชาการมาก่อนเลย

แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่ามีผู้ขยายพันธุ์พืชสกุลนี้เป็นการค้าด้วยวิธีเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยง

เนื้อเยื่อเป็นจำานวนมาก โดยไม่จำาเป็นต้องรบกวนธรรมชาติ อีกทั้งมีความงดงามและปลูกเลี้ยงง่ายกว่าไม้ป่า

เชื่อว่าอีกไม่นานจะมีหม้อข้าวหม้อแกงลิงนานาชนิดจำาหน่ายแพร่หลายในตลาดไม้ประดับของไทยและมีราคา

ถูกกว่าปัจจุบันมาก

39

Page 44: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

การใช้ประโยชน์หม้อข้าวหม้อแกงลิง

การใช้ประโยชน์ พืชสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) นั้น ส่วนใหญใช้ประโยชน์ทางการ

ค้า เป็นสินค้าส่งออก พืชไม้ดอกไม้ประดับ สร้างรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงเป็นจำานวนมาก ข้อมูลเกี่ยวกับ

ความรู้ในการนำาหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร และการนำามาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ

มีรายละเอียดค่อนข้างน้อย ด้วยรูปแบบของการดำาเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป การพึ่งพิงธรรมชาติลดน้อยลง อีก

ทั้งเทคโนโลยีก็มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำาให้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการใช้ประโยชน์หม้อ-

ข้าวหม้อแกงลิง ไม่ได้รับความสนใจจากบุคคลรุ่นหลัง โดยเฉพาะภาคตะวันออก นิยมนำามาใส่กระถาง

เป็นไม้ประดับ และเป็นพืชเศรษฐกิจจำาหน่ายในท้องตลาดเท่านั้น

แต่ประชาชนในภาคใต้ นิยมนำาส่วนที่เป็นหม้อของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง นำามาทำาขนมพื้นบ้าน

เรียกว่า “ขนมหม้อลิง” ถือเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน และยังมีความเชื่ออีกว่าน้ำาย่อยที่อยู่ในหม้อ

สามารถนำามาใช้เป็นยาหยอดตา แก้อักเสบ ทำาให้ตาใส เถาหรือลำาต้นที่ทอดเลื้อย ของต้นหม้อข้าวหม้อ

แกงลิง ที่เกี่ยวพันต้นไม้อื่น สามารถนำามาลอกเปลือกออก แล้วฟั่นเป็นเชือกใช้ล่ามวัวได้ดี มีความทนทาน

(www.geocities.com : อ้างใน มยุรี ภิญโญศักดิ์ และคณะ, 2551) นอกจากนี้ ประชาชนในท้องถิ่นสมัย

ก่อน ยังมีการนำาพืชกินแมลงมาใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำาวันที่หลากหลาย เช่น ทำาอาหาร เครื่องดื่ม

เสื้อผ้า ยารักษาโรค ฯลฯ มีรายงานของฝรั่งเขียนไว้ว่า ชาวพื้นเมืองในเขตร้อนใช้น้ำ�ในหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ใบอ่อนที่ยังไม่เปิดฝารักษาตาอักเสบได้ และยังบอกอีกว่า ชาวพื้นเมืองใช้หม้อดักแมลงใส่น้ำ� และหุงข้าวได้

ด้วย (นิรมูล มูลจินดา, 2539 อ้างใน มยุรี ภิญโญศักดิ์ และคณะ, 2551)

พบว่า นอกจากพื้นที่ในภาคใต้ที่นำาหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงนำามาทำา “ขนมหม้อลิง” แล้ว มี

รายงานว่าในภาคอื่นๆ ก็มีการทำาอาหารลักษณะนี้เช่นกัน (www.neofarmthailand.com) เช่น “ข้าวเหนียวนึ่ง

บึงโขงหลง” แต่ปัจจุบันเป็นเพียงตำานานที่เล่าขาน ไม่มีใครทำาขาย คนรุ่นใหม่ทำาไม่เป็นแล้ว แต่ก็สามารถ

กล่าวได้ว่าทุกจังหวัดที่มีหม้อข้าวหม้อแกงลิงในพื้นที่ที่ตั้งรกราก ต่างมีตำาราอาหารโดยมีหม้อข้าวหม้อแกงลิง

เป็นส่วนประกอบ

กรรมวิธีการทำา “ขนมข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง” (www.neofarmthailand.com)

โดยเจ้าของสูตร คือ “ป้ากา” ซึ่งทำาข้าวเหนียวหม้อฯ ขายในตลาดคูขวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

มานานหลายปี ซึ่งตั้งแต่เกิดมา ก็จำาได้ว่าที่บ้านได้ทำาข้าวเหนียวหม้อขายอยู่ก่อนแล้ว โดยยายเป็นผู้สืบทอด

การทำาข้าวเหนียวหม้อฯ มาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่ออายุ 75 ปี ต่อจากนั้น คุณแม่ของ ป้ากา

เป็นผู้รับช่วงความรู้ และได้ถ่ายทอดให้ป้ากาอีกต่อหนึ่ง และคุณป้าก็ยินดีถ่ายทอดความรู้และสาธิตวิธีทำา

ข้าวเหนียวหม้อฯ ซึ่งมีกรรมวิธีการทำาดังต่อไปนี้

ภาพ : http://nepenthes-trang.blogspot.com/2010/11/blog-post_07.html

ขนมข้าวเหนียวหม้อลิง

40

Page 45: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

1. หาหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

2. ก่อนจะดำาเนินการขั้นต่อไปให้นำาข้าวเหนียวมาแช่น้ำ�ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยแช่ให้น้ำ�ท่วมข้าว

เหนียวทั้งหมดเพื่อให้ข้าวเหนียวนุ่ม

3. หลังจากเม็ดข้าวเหนียวนุ่มแล้ว นำาไปพักให้สะเด็ดน้ำ�พอหมาดๆ เด็ดหม้อข้าวหม้อแกงลิงแช่น้ำ�

4. ล้างให้สะอาดด้วยพู่กันขนไก่ และคว่ำ�ไว้จนแห้ง

5. จากนั้นนำาข้าวเหนียวที่พักจนสะเด็ดน้ำ�ได้ที่ กรอกใส่หม้อข้าวหม้อแกงลิง ไม่ต้องใส่จนเต็ม แค่

ประมาณครึ่งหม้อ แล้วนำามาวางเรียงในถาดภาพ : www.neofarmthailand.com

6. ผสมกะทิสดเข้มข้นผสมกับน้ำ�ตาล และเกลือไอโอดีน คนให้เข้ากันจนละลาย และกรอกน้ำ�กะทิที่

ผสมแล้วลงในหม้อจนเกือบเต็ม วางเรียงในรางถึง

7. นึ่งไฟปานกลางประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อข้าวเหนียวสุกได้ที่นำาออกมาผึ่งลมให้เย็น จัดใส่ที่ให้

เป็นระเบียบเพื่อจำาหน่าย โดยราคาที่จำาหน่ายจะตกหม้อละ 2-5 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อ สามารถรับ

ประทานกันได้ทันที ทานกันทั้งหม้อและข้าวเหนียว เคล็ดลับอยู่ที่การเลือกหม้อที่ไม่แก่หรือว่าอ่อนเกินไป

เพราะถ้าแก่มากๆ มันจะเป็นเสี้ยน เวลากินจะไม่อร่อย

ภาพ : www.neofarmthailand.com ภาพ : www.neofarmthailand.com ภาพ

: w

ww

.neo

farm

thai

land

.com

ภาพ : www.neofarmthailand.com ภาพ : www.neofarmthailand.comภาพ : www.neofarmthailand.com

ภาพ : www.neofarmthailand.com

ภาพ : www.neofarmthailand.com ภาพ

: w

ww

.neo

farm

thai

land

.com

ภาพ : www.neofarmthailand.com

41

Page 46: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

พืชในบัญชีไซเตสกับการเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงทุกชนิด เป็นพืชอนุรักษ์ ใน อนุสัญญาไซเตส (CITES ย่อมาจาก Convention

on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หมายถึง อนุสัญญาว่าด้วยการค้า

ระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำาลังจะสูญพันธุ์

สำาหรับพืชอนุรักษ์ในอนุสัญญาไซเตสแบ่งเป็น 3 บัญชี ดังนี้

บัญชีที่ 1 หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ จึงห้ามทำาการค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้นที่ได้จากการ

ขยายพันธุ์เทียมหรือเพื่อการศึกษาวิจัย การนำาเข้าหรือส่งออก ต้องคำานึงถึงความอยู่รอด และผลกระทบต่อ

จำานวนประชากรในธรรมชาติของชนิดพันธุ์นั้นๆ ผู้ส่งออกจะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศที่จะนำาเข้าเสียก่อน

หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่อยู่ในบัญชีที่ 1 เช่น N. khasiana และ N. rajah

บัญชีที่ 2 หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่มีอยู่น้อย แต่ยังไม่ใกล้จะสูญพันธุ์สามารถทำาการค้าได้ แต่ต้อง

ได้รับการควบคุมไม่ให้ส่งผลกระทบต่อจำานวนประชากรในธรรมชาติ หม้อข้าวหม้อแกงลิงนอกเหนือจาก

บัญชีที่ 1 ทุกชนิดจัดอยู่ในบัญชีนี้

บัญชีที่ 3 หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายของประเทศในประเทศหนึ่ง และขอ

ความร่วมมือจากประเทศภาคีให้ช่วยดูแล หากต้องการนำาเข้าจะต้องมีหนังสือรับรองจากประเทศถิ่นกำาเนิด

กรณีที่ผู้ปลูกเลี้ยงต้องการขยายพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงพันธุ์แท้ เพื่อจำาหน่ายเป็นการค้านั้น

สามารถทำาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย หากปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ

ที่ 2) พ.ศ. 2535 ซึ่งระบุว่า การขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์ในอนุสัญญาไซเตสเพื่อการค้า ให้ยื่นคำาขอขึ้น

ทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร และห้ามมิให้ผู้ใดนำาเข้า ส่งออก หรือ นำาผ่าน

พืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

สำาหรับผู้ที่ปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกไม่จัดอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว จึงไม่ต้องกังวลว่าการเลี้ยงหม้อข้าว-

หม้อแกงลิง จะเป็นเรื่องผิดกฎหมายแต่อย่างใด

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายการค้าพืชตามอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการ

เกษตร หรือ www.cites.org

42

Page 47: Morkhaomorgangling_CS9 (1)

บรรณ�นุกรม

มยุรี ภิญโญศักดิ์ และคณะ. 2550. การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ของกลุ่มพืชกินแมลง (Carnivorous Plant)

ในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย. ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง, ระยอง.

_______. 2551. การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ของกลุ่มพืชกินแมลง (Carnivorous Plant) ในพื้นที่

ภาคตะวันออกของประเทศไทย. ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง, ระยอง.

_______. 2552. การศึกษาสภาพนิเวศวิทยาพืชกินแมลง สกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) เพื่อการ

อนุรักษ์. ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง, ระยอง.

ราชันย์ ภู่มา. 2551. พืชหายากของประเทศไทย (Rare Plants of Thailand). ชุมชนสหกรณ์แห่งประเทศไทย,

กรุงเทพฯ.

ภัทรา แสงดานุช และ วีระ โดแวนเว. 2551. พืชกินแมลง (Carnivorous Plant). บ้านและสวน,

กรุงเทพฯ.

ขนมข้าวเหนียวหม้อข้าวหม้อแกงลิง สืบค้นได้จาก http://www.neofarmthailand.com/index.php?lay=show&

ac=article&Id=104765&Ntype=2

ขนมหม้อข้าวหม้อแกงลิง สืบค้นได้จาก http://nepenthes-trang.blogspot.com/2010/11/

blog-post_07.html

ข้าวเหนียวหม้อแกงลิง สืบค้นได้จาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/121521

หม้อแกงลิง พืชสารพัดประโยชน์ สืบค้นได้จาก http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&vie

w=article&id=226:libery&catid=65:2009-11-12-08-43-25&Itemid=80

หม้อข้าวหม้อแกงลิง สืบค้นได้จาก http://www.neofarmthailand.com/

43