Top Banner
บทที1 บทนํา 1.1 ที่มาและความสําคัญของปญหา ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเปนเทคโนโลยีคอมพิวเตอรระบบหนึ่งที่นิยมใชกันมากใน หนวยงานภาครัฐและองคกรที่เกี่ยวของกับการจัดการขอมูลดานภูมิศาสตรที่ตองการขอมูลที่ใกลเคียง ความเปนจริง ถูกตองและทันสมัย เพื่อนําไปใชประโยชนในการปฏิบัติงาน ใหเกิดประสิทธิภาพ และมี ประสิทธิผล ทั้งในดาน การกําหนดนโยบาย การวางแผน ตลอดจนการวิเคราะหเพื่อสนับสนุนการ ตัดสินใจของผูบริหารทุกระดับ โดยสามารถรองรับงานเชิงพื้นที่ไดทุกสาขา อาทิ การวางผังเมือง ระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ สาธารณสุข ระบบคมนาคมและการจราจร การขนสง การ วางแผนการใชที่ดิน การวางแผนดานการเกษตรและการชลประทาน การจัดการเขตบริการดาน การศึกษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม การสรางระบบแผนที่ภาษี การผลิตแผน ที่เฉพาะกิจ และการประยุกตใชเพื่อภารกิจทางการทหาร เปนตน แตเนื่องจากในอดีตที่ผานมาการ ใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรจะอยูในวงจํากัดเฉพาะผูใชงานของหนวยงานภาครัฐและองคกร ที่เปนผูจัดทําสารสนเทศเทานั้น บุคคลภายนอกหรือผูใชงานทั่วไปจะเขาถึงขอมูลสารสนเทศ ภูมิศาสตรไดยากเนื่องจากการใชโปรแกรมประยุกตในงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตรสวนมาก คอนขางยุงยากซับซอน ทําใหการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตร ยังไมเปนที่แพรหลายมากนัก ปจจุบันไดมีการพัฒนาการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตโดย โปรแกรมประยุกตหลายโปรแกรมเชน Google Earth, Nasa World Wind, Microsoft Virtual Earth และ Point Asia เปนตน โดยโปรแกรมเหลานี้มีคุณสมบัติและความสามารถในการนําขอมูล สารสนเทศภูมิศาสตรไปแสดงผลบนพื้นผิวโลกผานหนาจอคอมพิวเตอรทั้งแบบสองมิติและ แบบสามมิติเคลื่อนไหวไดตามมุมมองที่ตองการ การใชงานงายไมยุงยากซับซอน ผูใชงานสามารถ ใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตในการสํารวจศึกษาเกี่ยวกับลักษณะ สภาพภูมิประเทศ ถิ่นที่อยูอาศัย ทรัพยากรธรรมชาติ แหลงน้ํา และสถานที่สําคัญตางๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะโปรแกรม Google Earth เปนโปรแกรมที่มีผูนิยมใชงานมากที่สุด ความสามารถ ประการสําคัญของโปรแกรม Google Earth คือการนําสารสนเทศภูมิศาสตรไปแสดงผลได หลากหลายรูปแบบตามมุมมองของกลุมผูใชงาน เชน การแสดงจุดพิกัดสถานทีการนําเขาพิกัด ขอมูล GPS การวัดพื้นที่และระยะทาง การใชภาพแผนที่ซอนทับ เปนตน ดังนั้นการนําสารสนเทศ ภูมิศาสตรไปเผยแพรทางเครือขายอินเตอรเน็ต จะชวยทําใหการเขาถึงสารสนเทศภูมิศาสตรเปนเรื่อง งายและสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศภูมิศาสตรที่เปนประโยชนสําหรับกลุมผูใชงาน
19

1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1...

May 22, 2020

Download

Documents

dariahiddleston
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

บทท่ี 1 บทนํา

1.1 ท่ีมาและความสําคัญของปญหา

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเปนเทคโนโลยีคอมพิวเตอรระบบหน่ึงท่ีนิยมใชกันมากในหนวยงานภาครัฐและองคกรท่ีเกี่ยวของกับการจัดการขอมูลดานภูมิศาสตรท่ีตองการขอมูลท่ีใกลเคียงความเปนจริง ถูกตองและทันสมัย เพื่อนําไปใชประโยชนในการปฏิบัติงาน ใหเกิดประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ท้ังในดาน การกําหนดนโยบาย การวางแผน ตลอดจนการวิเคราะหเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผูบริหารทุกระดับ โดยสามารถรองรับงานเชิงพื้นท่ีไดทุกสาขา อาทิ การวางผังเมือง ระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ สาธารณสุข ระบบคมนาคมและการจราจร การขนสง การวางแผนการใชท่ีดิน การวางแผนดานการเกษตรและการชลประทาน การจัดการเขตบริการดานการศึกษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม การสรางระบบแผนท่ีภาษี การผลิตแผนท่ีเฉพาะกิจ และการประยุกตใชเพื่อภารกิจทางการทหาร เปนตน แตเนื่องจากในอดีตท่ีผานมาการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรจะอยูในวงจํากัดเฉพาะผูใชงานของหนวยงานภาครัฐและองคกรท่ีเปนผูจัดทําสารสนเทศเทานั้น บุคคลภายนอกหรือผูใชงานท่ัวไปจะเขาถึงขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรไดยากเนื่องจากการใชโปรแกรมประยุกตในงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตรสวนมากคอนขางยุงยากซับซอน ทําใหการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตร ยังไมเปนท่ีแพรหลายมากนัก

ปจจุบันไดมีการพัฒนาการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตโดยโปรแกรมประยุกตหลายโปรแกรมเชน Google Earth, Nasa World Wind, Microsoft Virtual Earth และ Point Asia เปนตน โดยโปรแกรมเหลานี้มีคุณสมบัติและความสามารถในการนําขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรไปแสดงผลบนพื้นผิวโลกผานหนาจอคอมพิวเตอรทั้งแบบสองมิติและแบบสามมิติเคล่ือนไหวไดตามมุมมองท่ีตองการ การใชงานงายไมยุงยากซับซอน ผูใชงานสามารถใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตในการสํารวจศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสภาพภูมิประเทศ ถ่ินท่ีอยูอาศัย ทรัพยากรธรรมชาติ แหลงน้ํา และสถานท่ีสําคัญตางๆ ท่ัวโลก โดยเฉพาะโปรแกรม Google Earth เปนโปรแกรมที่มีผูนิยมใชงานมากที่สุด ความสามารถประการสําคัญของโปรแกรม Google Earth คือการนําสารสนเทศภูมิศาสตรไปแสดงผลไดหลากหลายรูปแบบตามมุมมองของกลุมผูใชงาน เชน การแสดงจุดพิกัดสถานท่ี การนําเขาพิกัดขอมูล GPS การวัดพื้นท่ีและระยะทาง การใชภาพแผนท่ีซอนทับ เปนตน ดังนั้นการนําสารสนเทศภูมิศาสตรไปเผยแพรทางเครือขายอินเตอรเน็ต จะชวยทําใหการเขาถึงสารสนเทศภูมิศาสตรเปนเร่ืองงายและสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะสารสนเทศภูมิศาสตรที่เปนประโยชนสําหรับกลุมผูใชงาน

Page 2: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

2

ท้ังในระดับประเทศและระดับทองถ่ินในการนําไปประยุกตใชประกอบการวางแผนและตัดสินใจเพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดตอหนวยงานของตนเอง ซ่ึงจะนําไปสูการพัฒนาประเทศในท่ีสุด ประเทศไทยเกิดเหตุการณภัยดินถลมบอยคร้ัง โดยเฉพาะในชวงฤดูฝน มักเกิดภัยดินถลม ในบริเวณพ้ืนท่ีเกือบทุกภาคของประเทศไทย สวนมากดินถลมมักเกิดข้ึนตามพื้นท่ีภูเขาสูงชัน โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณพื้นท่ีปาตนน้ําท่ีมีสภาพเส่ือมโทรม เม่ือเกิดฝนตกหนักตอเนื่องเปนเวลานานติดตอกัน จนเกินความสามารถของดินท่ีจะอุมน้ําไวได จึงทําใหดินพังทลายถลมลงมาพรอมกระแสนํ้า และพัดพามวลดิน หินและตนไมโคนลมลงไปยังพื้นท่ีเบ้ืองลาง การเกิดภัยดินถลมฉับพลันนั้น เปนภัยทางธรรมชาติท่ีไมสามารถยับยั้งได และแนวโนมความเส่ียงในการเกิดดินถลมนับวันจะมากข้ึน เนื่องจากอิทธิพลความแปรปรวนของสภาพดินฟาอากาศ ซ่ึงสงผลทําใหเกิดลมพายุในเขตรอนบอยคร้ังและทวีความรุนแรง อีกท้ังการบุกรุกทําลายปาตนน้ํา ทําใหขาดสมดุลระบบนิเวศตนน้ํา หนาดินขาดปาไมปกคลุม โอกาสที่จะเกิดดินถลมจึงมีสูงข้ึน

การเตรียมความพรอมรับสถานการณ การวางแผนมาตรการปองกัน และบรรเทาความเสียหายหากเกิดดินถลมในพ้ืนท่ีเส่ียงภัย เปนภารกิจสําคัญเรงดวนท่ีตองรีบดําเนินการ เพื่อลดความเสียหายท่ีจะเกิดข้ึนตอชีวิตและทรัพยสินของประชาชน รวมท้ังเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การวางแผนมาตรการปองกันและบรรเทาภัยดินถลม จําเปนตองไดรับความรวมมือจากประชาชนในพื้นท่ีเส่ียงภัย เพื่อเฝาระวังและแจงเตือนภัยลวงหนาใหแกชุมชน โดยไดรับการสนับสนุนขอมูลเกี่ยวกับพื้นท่ีเส่ียงภัย มาตรการเฝาระวัง อุปกรณเตือนภัย และวิธีการแจงเตือนภัยลวงหนาจากหนวยงานราชการที่เกี่ยวของในการวางแผนปองกันภัยดินถลม

การนําสารสนเทศภูมิศาสตรและผลลัพธขอมูลในรูปแบบแผนท่ีแสดงการจําแนกพื้นท่ี และหมูบานท่ีต้ังอยูในพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลมไปเผยแพรบนเครือขายอินเตอรเน็ตโดยใชโปรแกรมประยุกตท่ีมีการใชงานไมยุงยากซับซอน เชน โปรแกรม Google Earth แสดงผลลัพธขอมูลเชิงพื้นท่ีและขอมูลแผนท่ี จะชวยใหผูใชงานสามารถเรียกคนและเขาถึงขอมูลท่ีตองการได หนวยงานหรือชุมชนท่ีเกี่ยวของในพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลม สามารถนําขอมูลไปใชประโยชนในการวางแผนปองกันภัยดินถลม การเตรียมความพรอม การใหความชวยเหลือแกผูประสบภัย และการตัดสินใจแกไขปญหาหากเกิดดินถลมจริง

การศึกษาวิจัยคร้ังนี้ มุงท่ีจะทําการศึกษาการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรจากความตองการใชสารสนเทศภูมิศาสตร และรวบรวมขอมูลท่ีเกี่ยวของกับภัยดินถลม นําไปจัดทําสารสนเทศภูมิศาสตรในการจัดการภัยดินถลมบนเครือขายอินเตอรเน็ต โดยใชโปรแกรม Google Earth และทําการประเมินการใชงานสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ต ผลการประเมินสามารถใชเปนแนวทางในการปรับปรุงสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตใหมี

Page 3: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

3

คุณภาพ ประสิทธิภาพ และเปนประโยชนตอการพัฒนารูปแบบในการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรใหสอดคลองและเหมาะสมตอไป

ในการศึกษาวิจัยคร้ังนี้ กําหนดพื้นท่ีลุมน้ําเปนขอบเขตพ้ืนท่ีศึกษาไดคัดเลือกตัวแทน ลุมน้ําโดยพิจารณาลักษณะกายภาพลุมน้ําท่ีประกอบดวยปจจัยท่ีมีผลตอการเกิดดินถลม ไดแก ความลาดชัน ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะของเนื้อดิน และการใชท่ีดิน องคประกอบของลุมน้ํากําหนดใหครอบคลุมช้ันคุณภาพลุมน้ําครบท้ัง 5 ช้ัน ซ่ึงมีความหลากหลายของลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา และรูปแบบการใชท่ีดินหลายประเภทเชน นาขาว, พืชไร,ไมผลและไมยืนตน, ปาดิบเขา, ปาเส่ือมโทรม, ปาเบญจพรรณ, สวนปา, ชุมชนและส่ิงปลูกสราง เปนตน รวมท้ังปญหาดินถลมท่ีมักเกิดข้ึนบนภูเขาสูงชันบริเวณตนน้ําลําธารท่ีมีสภาพเส่ือมโทรมปราศจากตนไม จึงไดกําหนดลุมน้ําแมจัน ซ่ึงเปนลุมน้ํายอยของลุมน้ําสาขาแมจัน (ลุมน้ํายอยของลุมน้ําหลักโขงตอนบน) มีพื้นท่ีอยูในเขตอําเภอแมจันและอําเภอแมฟาหลวง จังหวัดเชียงราย เปนพื้นท่ีลุมน้ําศึกษาโดยลุมน้ําแมจันประกอบดวยช้ันคุณภาพลุมน้ําท้ัง 5 ช้ันและมีลักษณะทางกายภาพท่ีมีปจจัยท่ีมีความเส่ียงตอการเกิดดินถลมสูง อีกทั้งลุมน้ําแมจันประสบปญหาในการใชประโยชนทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นท่ีลุมน้ําหลายมิติ โดยเฉพาะในเขตตนน้ําลําธารบริเวณพื้นท่ีคุณภาพลุมน้ําช้ันท่ี 1A, 1B และช้ันท่ี 2 ไดแก ความเส่ือมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปญหาการบุกรุกทําลายปา ปญหาการใชประโยชนท่ีดินไมถูกตองและเหมาะสมตามหลักการอนุรักษดินและน้ํา ปญหาการต้ังบานเรือนอยูอาศัย และการทําเกษตรกรรมบนพื้นท่ีสูง แหลงตนน้ําลําธารท่ีเคยอุดมสมบูรณไดถูกเปล่ียนแปลงสภาพเปนพื้นท่ีเกษตรกรรมและท่ีอยูอาศัย พื้นท่ีตนน้ําปราศจากปาไมและพืชพรรณธรรมชาติชวยปกคลุม และยึดหนาดินไว ทําใหเกิดภัยธรรมชาติดินถลมบอยคร้ัง

1.2 วัตถุประสงคการศึกษา

1.2.1 เพื่อศึกษาความตองการใชสารสนเทศภูมิศาสตรสําหรับพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลมและพัฒนา รูปแบบในการนําเสนอสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเนต็

1.2.2 เพื่อประเมินการใชสารสนเทศภูมิศาสตรสําหรับพื้นท่ีเส่ียงภยัดนิถลมบนเครือขายอินเทอรเน็ตของกลุมผูใชงานในพืน้ท่ีลุมน้ําแมจนั จังหวัดเชียงราย

Page 4: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

4

1.3 ขอบเขตการศึกษา 1.3.1 ขอบเขตประเด็นเนื้อหา

การศึกษานี้มุงท่ีจะศึกษาการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลมและศึกษาความตองการใชของผูใชงาน เพื่อรวบรวมขอมูลนําไปจัดทําสารสนเทศภูมิศาสตรในการจัดการภัยดินถลมบนเครือขายอินเตอรเน็ต และทําการประเมินการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตของกลุมผูใชงาน โดยทําการศึกษาในประเด็นตางๆ ดังตอไปนี้

1) ศึกษาและรวบรวมขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรในการจัดการภัยดนิถลมและจัดทําสารสนเทศภูมิศาสตรเพื่อนําเสนอบนเครือขายอินเตอรเนต็โดยใชโปรแกรม Google Earth

2) ประเมินการใชสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตของผูใชในพืน้ท่ีศึกษาโดยกําหนดประชากรท่ีใชในการประเมินคร้ังนี้ แบงเปน 2 กลุมไดแก

2.1) กลุมเจาหนาท่ี ไดแก บุคลากรท่ีมีหนาท่ีเกี่ยวของในการจัดการภัยดินถลม ของหนวยงานรัฐ อาทิเชน สํานักงานปองกันและบรรเทาสาธารณภัย, ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอม, ท่ีวาการอําเภอ, องคกรปกครองสวนทองถ่ิน และสถานศึกษา เปนตน

2.2) กลุมบุคคล ไดแก สมาชิกเครือขายแจงเหตุธรณีพิบัติภัยในพ้ืนท่ีศึกษา

1.3.2 ขอบเขตพื้นท่ีศึกษา กําหนดพื้นท่ีศึกษาบริเวณพ้ืนท่ีลุมน้ําตอนบนของลุมน้ําแมจันมีเนื้อท่ีประมาณ 235

ตารางกิโลเมตร(146,875ไร) อยู ระหวาง ละติจูดท่ี 20 องศา 01 ลิปดา 49 ฟลิปดาเหนือ ถึง ละติจูดท่ี 20 องศา 11 ลิปดา 02 ฟลิปดาเหนือ และลองติจูดท่ี 99 องศา 30 ลิปดา 40 ฟลิปดาตะวันออก ถึง ลองติจูดท่ี 99 องศา 49 ลิปดา 12 ฟลิปดาตะวันออก ในเขตตําบลปาตึง อําเภอแมจัน และ ตําบลแมสลองนอก อําเภอแมฟาหลวง จังหวัดเชียงราย

Page 5: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

5

รูป 1.1 ขอบเขตพ้ืนท่ีศึกษา

1.4 นิยามศัพทปฏิบัต ิ

1.4.1 การจัดการ (management) หมายถึง กระบวนการดําเนินกิจกรรมในรูปแบบตางๆ เพื่อใหบรรลุผลสําเร็จตามเปาหมายท่ีกําหนดไวอยางมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

1.4.2 พื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลม (landslide risk area) หมายถึง พื้นท่ีท่ีมีโอกาสไดรับความเสียหายหากเกิดภัยดินถลม

1.4.3 สารสนเทศภูมิศาสตร หมายถึง ขอมูลเชิงพื้นท่ี (spatial data) และขอมูลเชิงคุณลักษณะ (attribute data) ท่ีเกีย่วของกบัตําแหนงอางอิงบนพ้ืนผิวโลก (geospatial data)

1.4.4 กลุมผูใชงาน หมายถึง กลุมผูใชงานท่ีเปน เจาหนาท่ีของหนวยงานรัฐท่ีมีหนาท่ีเกี่ยวของในการจัดการภัยดินถลม และบุคคลในพื้นท่ีศึกษาท่ีเปนสมาชิกเครือขายแจงเหตุธรณีพิบัติภัย

1.4.5 สมาชิกเครือขายแจงเหตุธรณีพิบัติภัย หมายถึง บุคคลในพื้นท่ีศึกษาท่ีเปนสมาชิกเครือ ขายแจงเหตุธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณีในการเฝาระวังและแจงเตือนภัยแกชุมชน

Page 6: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

6

1.5 ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ

1.5.1ไดแนวทางในการใชสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตเพื่อนําไปใชประโยชนในการวางแผนและตัดสินใจในงานภารกิจสําคัญเรงดวนตางๆ เชน การวางแผนและการเตรียมความพรอมรับภัยธรรมชาติ

1.5.2 ทราบปญหาอุปสรรคในการใชประโยชนสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ต และนําไปพัฒนารูปแบบการใชสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตใหเกิดประสิทธิภาพตอไป

1.6 แนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวของ

แนวคิดและทฤษฎีท่ีเกี่ยวของประกอบดวย 1) ความตองการใชสารสนเทศ 2) การออกแบบสารสนเทศ 3) ขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตร 4) การประยุกตใชโปรแกรม Google Earth 5) การจัดการภัยดินถลม 6) แนวคิดการประเมิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.6.1 ความตองการใชสารสนเทศ Devadason (1996) ไดอธิบายวา ความตองการใชสารสนเทศเกิดข้ึนและเปล่ียนแปลงอยู

ตลอดเวลา และความตองการใชสารสนเทศของแตละบุคคลยอมแตกตางกันไปโดยผลสืบเนื่องมาจากองคการและสภาพแวดลอม และสวนท่ีเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือผูใช นอกจากนี้การพิจารณาความตองการใชสารสนเทศของผูใชสามารถพิจารณาไดจากลักษณะของสารสนเทศ และแหลงสารสนเทศ เพื่อใหเขาใจความตองการใชของผูใชอยางชัดเจน Devadason ไดจําแนกปจจัยท่ีมีผลตอความตองการใชสารสนเทศของผูใชเปน 3 สวน ดังนี้

1) ปจจัยท่ีเกี่ยวกับองคการและสภาพแวดลอม โดยศึกษา 1.1) ภูมิหลัง โครงสราง วัตถุประสงคขององคการ 1.2) ผลิตภัณฑหรือบริการท่ีองคการผลิต รวมท้ังประเภทกิจการ 1.3) แหลงสารสนเทศท่ีใชในหนวยงาน มีท้ังแหลงสารสนเทศภายใน และแหลง

สารสนเทศภายนอก และรูปแบบสารสนเทศ เชน รายงานการประชุม รายงานประจําป เปนตน 1.4) สภาพแวดลอมท่ีสงผลตอการทาํงาน เชน กฎหมาย สังคม เศรษฐกจิ และเทคโนโลย ี

2) ปจจยัท่ีเกีย่วกับบุคคลหรือผูใช โดยศึกษา 2 ลักษณะไดแก 2.1) ศึกษาลักษณะเฉพาะของผูใช ซ่ึงแบงไดเปน 2.1.1) ประเภทของผูใช ซ่ึงแบงเปนผูใชปจจุบัน หรือผูท่ีเคยใช และกําลังใชสารสนเทศ ผูใชกลุมนี้จะมีความตองการสารสนเทศ และมีลักษณะการใชสารสนเทศเปนประจําสมํ่าเสมอ ท้ังนี้ข้ึนกับหนาท่ีการงาน หรือภารกิจของผูใช และผูใชในอนาคต หรือผูท่ียังไมเคยใชสารสนเทศ 2.1.2) ประเภทของผูใชตามหนาท่ีการปฏิบัติงาน

Page 7: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

7

2.2) ศึกษาเกี่ยวกับผูใช โดยศึกษา 2 ดาน คือ 2.2.1) ศึกษาลักษณะของผูใช โดยศึกษาวัตถุประสงคการใชสารสนเทศ หรือเร่ืองท่ี

ผูใชสนใจ ภูมิหลังทางการศึกษา การอบรม และหนาท่ีในองคการ 2.2.2) แหลงสารสนเทศหรือบริการสารสนเทศท่ีใชโดยศึกษาประเภทของแหลง

หรือบริการสารสนเทศ ความถ่ีในการใช ความสะดวกในการเขาถึงแหลงสารสนเทศหรือบริการสารสนเทศ

3) ปจจัยท่ีเกี่ยวกับลักษณะของสารสนเทศ โดยศึกษาลักษณะของสารสนเทศท่ีผูใชตองการ ไดแก เนื้อหาสารสนเทศ ลักษณะของเนื้อหา รูปแบบ และความทันสมัยของสารสนเทศ

การศึกษาการใชและความตองการใชสารสนเทศ เปนการศึกษาเพ่ือใหไดขอมูลไปใชในการวางแผนและกําหนดเปนนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ในการใชสารสนเทศของผูท่ีมีความตองการที่จะใชสามารถท่ีจะพิจารณาไดในแงมุมตางๆ ดังนี้

1) เนื้อหาสาระของสารสนเทศ (content of information) 2) คุณลักษณะของสารสนเทศ (nature of information) 3) ปริมาณของสารสนเทศ (quantity of information) 4) กระบวนการและข้ันตอน (processing of information) 5) รูปแบบของสารสนเทศ (packaging of information) 6) ความเร็วในการไดรับสารสนเทศ (speed of supply information) 7) ความทันสมัยและเหตุการณของสารสนเทศ (data range of information) 8) คุณลักษณะเฉพาะของสารสนเทศ (specificity of information) 9) คุณภาพของสารสนเทศ (quality of information) 10) ความมีระดับของสารสนเทศ (level of information)

ท้ัง 10 ประการนี้ เปนคุณลักษณะพ้ืนฐานท่ีสําคัญระดับหนึ่ง สําหรับผูท่ีมีความตองการและใชสารสนเทศ เม่ือใดก็ตามท่ีบุคคล มีความตองการใชสารสนเทศและอยูในสาเหตุแหงการเขาถึง ดังตอไปนี้คือ

1) สารสนเทศหาไดงาย สะดวกในการใชท้ังจากแหลงทางการและแหลงอ่ืนๆ 2) สารสนเทศน้ันมีประโยชน ไมวาจะเปนประโยชนตอการปฏิบัติงาน การศึกษา หรือ ประโยชนดานอ่ืน ๆ

3) ลักษณะเฉพาะบุคคลของผูใชสารสนเทศ ไดแก ลักษณะงานท่ีทํา ประสบการณในการทํางาน ระดับการศึกษา

Page 8: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

8

4) ระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองท่ีแวดลอมผูใช 5) ผลของการใชสารสนเทศท่ีผานมาวา ผูใชมีความพอใจเพียงใด

ความตองการสารสนเทศเปนเพียงจุดเร่ิมตนท่ีบุคคลตระหนักถึงความสําคัญของสารสนเทศซ่ึงจะสงผลใหบุคคลแสวงหาสารสนเทศท่ีตองการตอไปซ่ึงในความจําเปนและความตองการในอันท่ีจะใชสารสนเทศของแตละบุคคลนั้นอาจลําดับเปนกิจกรรมเพื่อใหไดมาซ่ึงสารสนเทศตามวัตถุประสงค (ธัญญรัตน ธิชัย, 2543)

1.6.2 การออกแบบสารสนเทศ

ขอควรพิจารณาเบ้ืองตนในการออกแบบสารสนเทศ ไดแก การจัดภาพ สี ความสมดุลของภาพ ความมีชีวิตชีวา การเพิ่มเติมการเนน การตรงตอความเปนจริง และความกลมกลืน การเลือกรูปทรงหรือรูปแบบจะตองคํานึงถึงความสมดุล (balance) ของภาพ อาจจะเปนการจัดองคประกอบใหมีความสมดุลตามแบบซ่ึงจะใหความรูสึกท่ีม่ันคง หรือความสมดุลไมตามแบบทําใหเกิดความรูสึกท่ีมีการเคล่ือนไหวมีชีวิตชีวา แตถาเปนการจัดองคประกอบท่ีไมมีความสมดุลเลย จะใหความรูสึกท่ีอึดอัดไมสบายตาซ่ึงเปนส่ิงที่ผูออกแบบตองหลีกเล่ียง สีเปนองคประกอบหน่ึงท่ีสําคัญในการออกแบบ เพื่อท่ีจะใหความเหมือนเปนจริงและช้ีใหเห็นความคลายคลึงและความแตกตาง และเนนส่ิงท่ีตองการสรางอารมณการตอบสนอง เชน สีน้ําเงิน, เขียว, ฟา จัดเปนโทนสีเย็น สวนสีแดง, สม จัดเปนโทนสีรอน อิทธิพลของสีตอความรูสึกของมนุษย พบวา โทนสีรอน หรืออุนเปนสีท่ีดึงดูดความสนใจตรงขามกับสีเย็นซ่ึงจะทําใหเกิดความรูสึกโดดเด่ียว ดังนั้นผูออกแบบสารสนเทศควรจะนําหลักการดังกลาวไปใชในการออกแบบ โดยส่ิงสําคัญควรใชสีแดงและสีสม เพื่อดึงดูดความสนใจ ผูท่ีออกแบบควรจะใชสีท่ีจะทําใหเกิดอารมณตางๆ ในการส่ือความหมายในส่ิงท่ีตองการ และชวยทําใหสามารถบรรลุวัตถุประสงค แตถาใชสีมากเกินไปในการจัดแสดง เชน ปายนิเทศ ปายนิทรรศการ จะทําใหขาดความกลมกลืน (graphic harmony)

ในการออกแบบส่ือสําหรับการนําเสนอ จะตองคํานึงวัตถุประสงคของการนําเสนอ เพื่อใหการนําเสนอน้ันบรรลุตามเปาหมายท่ีกําหนด ผูนําเสนอควรมีการวิเคราะหเพื่อใหส่ือท่ีจะนํามาใชมีรายละเอียดตางๆ ภายในภาพตรงตามวัตถุประสงค 3 ดาน ดังนี้

1) ดานพุทธิพิสัย (cognitive domain) ซ่ึงเนนในเร่ืองความจํา ความเขาใจ เปนตน ในการออกแบบภาพควรระมัดระวังในเร่ืองของความถูกตอง เปนรายละเอียดท่ีชัดเจน การเรียงลําดับของความคิด และควรมีตัวอยางชัดเจน เพื่อผูฟงจะไดเกิดมโนมติ

Page 9: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

9

2) ดานจิตตพิสัย (affective domain) ซ่ึงเกี่ยวของกับความรูสึกนึกคิด อารมณ เชน การจูงใจ ดังนั้น ภาพท่ีจะนํามาใชเพื่อสอนใหผูเรียนบรรลุวัตถุประสงคดานจิตตพิสัย ควรเปนภาพท่ีมีรายละเอียด เนื้อหาดึงดูดความสนใจ บางคร้ังควรเปนภาพท่ีแสดงเกินความจริง

3) ดานทักษะพิสัย (psychomotor domain) วัตถุประสงคดานนี้เปนการกระทําการปฏิบัติภาพท่ีจะนํามาใชควรจะตองมีการเนนอยางชัดเจน (ไพศาล สุวรรณนอย, 2551)

1.6.3 ขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตร

1) ความหมายสารสนเทศทางภูมิศาสตร Burroughs (1986) ไดใหคํานิยามระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร หมายถึง ระบบ

เคร่ืองมือท่ีใชในการเก็บรวบรวม การเก็บบันทึก การเรียกใช การเปล่ียนแปลง และการแสดงผลขอมูลในเชิงพื้นท่ี (spatial data) จากส่ิงท่ีปรากฏบนพ้ืนโลก เพื่อวัตถุประสงคตางกันโดยเฉพาะ

สุระ พัฒนเกียรติ (2545) ไดใหความหมายวา ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร เปนเคร่ืองมือท่ีใชในการวิเคราะหขอมูลเชิงพื้นท่ี โดยขอมูลลักษณะตางๆ ในพื้นท่ีท่ีทําการศึกษาจะถูกนํามาจัดใหอยูในรูปแบบท่ีมีความสัมพันธเช่ือมโยงกันและกัน ซ่ึงจะข้ึนอยูกับชนิดและรายละเอียดของขอมูลนั้นๆ เพื่อใหไดผลลัพธท่ีดีท่ีสุดตามตองการ

2) ลักษณะของขอมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร สุพรรณ กาญจนสุธรรม (2534) ไดกลาววา ขอมูล คือ คาสังเกต คาท่ีไดจากการจัดการ

บันทึกคุณสมบัติของวัตถุ คาตางๆ เหลานี้ไมมีความหมายถาไมดําเนินการวิเคราะห ขอมูลท่ีดีจะตองเกี่ยวของกับงานท่ีทํา แมนยําถูกตอง และทันตอเหตุการณ ขอมูลท่ีไดแปลความหมายแลวเรียกวา สารสนเทศ (information) ผูบริหารอาจจะนําขอมูลท่ีบันทึกไวมากล่ันกรองเปนสารสนเทศกอน เชน โดยการหาคาเฉล่ีย เปรียบเทียบขอมูลปจจุบันกับอดีตหาความเบ่ียงเบน และความแปรปรวน เปนตน ความสําคัญของสารสนเทศทําใหผูบริหารเขาใจในการดําเนินงานของตนเอง และเม่ือทราบแลวก็สามารถตัดสินใจวาจะตองทําอะไรตอไป โดยในทางภูมิศาสตรแบงประเภทขอมูลออกเปน 2 ประเภท คือ

2.1) ขอมูลเชิงพื้นท่ี (spatial data) เปนขอมูลท่ีสามารถอางอิงกับตําแหนงทางภูมิศาสตร (geo-referenced data) ซ่ึงลักษณะขอมูลเชิงพื้นท่ีแบงเปน 2 ประเภท ดังนี้

2.1.1) แบบจําลองขอมูลราสเตอร (raster data model) คือ จุดของเซลที่อยูในแตละชวงส่ีเหล่ียม (grid) โครงสรางของ ราสเตอร จะประกอบดวยชุดของชองกริด (grid cell) บางคร้ังจะเรียกวา จุดภาพ (pixel) หรือองคประกอบของภาพ (picture element cell) โดยขอมูลแบบราสเตอร

Page 10: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

10

เปนขอมูลท่ีอยูบนพิกัดรูปตารางแถวนอนและแถวต้ัง ซ่ึงแตละชองกริดอางอิง โดยแถวและสดมภภายในชองกริดจะมีท้ังตัวเลขหรือภาพขอมูลราสเตอร ความสามารถแสดงรายละเอียดของขอมูลราสเตอรข้ึนอยูกับขนาดชองกริด ณ จุดพิกัดท่ีประกอบข้ึนเปนฐานขอมูลแสดงตําแหนงนั้น ซ่ึงขอมูลประเภทราสเตอรมีขอไดเปรียบในการใชทรัพยากรระบบคอมพิวเตอรท่ีมีประสิทธิภาพดีกวา ชวยใหสามารถทําการวิเคราะหไดรวดเร็ว ขอมูลราสเตอรอาจแปรรูปมาจากขอมูลเวกเตอรหรือแปลงจากราสเตอรไปเปนเวคเตอร แตจะเห็นไดวามีความคลาดเคล่ือนเกิดข้ึนระหวางการแปรรูปขอมูล ขอมูลเชิงพื้นท่ีสามารถแสดงสัญลักษณได 3 สัญลักษณ (features) คือ

1) จุด (point) ไดแก ท่ีต้ังหมูบาน จุดตัดของถนน จุดตัดของแมน้ํา เปนตน 2) เสน (line) ไดแก ถนน ลําคลอง แมน้ํา เปนตน 3) พื้นท่ีหรือรูปหลายเหล่ียม (area or polygons) เชน พื้นท่ีเพาะปลูกพืช

พื้นท่ีปา ขอบเขตอําเภอ และ ขอบเขตจังหวัด เปนตน

2.1.2) แบบจําลองขอมูลเวคเตอร (vector data model) โดยท่ีตัวแทนของเวคเตอรนี้อาจแสดงดวย จุด เสน หรือพื้นท่ี ซ่ึงถูกกําหนดโดยจุดพิกัด ซ่ึงขอมูลประกอบดวยจุดพิกัดทางแนวราบ (X,Y) และ/หรือแนวดิ่ง (Z) หรือระบบพิกัดคารเตเชียน (Cartesian Coordinate System) ถาเปนพิกัดตําแหนงเดียวก็จะเปนคาของจุด ถาจุดพิกัดสองจุด หรือมากกวาก็เปนเสน สวนพื้นท่ีนั้นจะตองมีจุดมากกวา 3 จุดข้ึนไป โดยจุดพิกัดเร่ิมตนและจุดพิกัดสุดทาย จะตองอยูในตําแหนงเดียวกัน ขอมูลเวคเตอร ไดแก ถนน แมน้ํา ลําคลอง ขอบเขตการปกครอง

2.2) ขอมูลท่ีไมใชเชิงพื้นท่ี (non-spatial data) เปนขอมูลเกี่ยวของกับคุณลักษณะตางๆ ในพื้นท่ีนั้นๆ (attributes) ไดแก ขอมูลการถือครองท่ีดิน ขอมูลปริมาณธาตุอาหารในดิน ขอมูลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคม

1.6.4 การประยุกตใชโปรแกรม Google Earth

โปรแกรม Google Earth นับเปนอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสรางระบบติดตอกับผูใชงาน (user interfacing) เพื่ออํานวยความสะดวกในการคนหาขอมูลและยังทําใหการแสดงผลของขอมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการนําเอาภาพถายทางอากาศ และภาพถายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี Streaming และทําการเชื่อมโยงขอมูลจากฐานขอมูลของ Google เองเพื่อใหผูใชงานสามารถคนหาตําแหนงตางๆ ที่ตองการบนแผนที่โลกดิจิตอลได แผนที่ Google Earth ไดรวบรวมภาพถายดาวเทียมจาก แหลงขอมูลตางๆ และนํามาเชื่อมตอกันเสมือนวาเปนผืนเดียวกันในแตละภาพถายซึ่งมีความละเอียดไมเทากัน แตดวย

Page 11: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

11

ความสามารถในการประมวลผล ทําใหเสมือนวาเปนผืนเดียวกัน จากนั้นก็นําเอาขอมูลอ่ืนๆ มาซอนทับภาพถายเหลานี้อีกช้ันหนึ่ง ซ่ึงแตละช้ัน (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดตาง ๆ เชน ท่ีต้ังโรงพยาบาล สถานีตํารวจ สนามบิน และช้ันของขอมูลอื่นๆ อีกมากมาย ท้ังแบบท่ี Google จัดเตรียมไวแลว หรือ การใหผูใชงานสามารถใชบริการโดยกําหนดช้ันขอมูลข้ึนเองได การสรางช้ันขอมูลตางๆ ไดแก การแสดงขอมูลท้ังแบบจุด ลายเสน หรือรูปหลายเหล่ียมตางๆของ Google Earth สรางดวยภาษา KML (Keyhole Markup Language) เวอรช่ันปจจุบันคือ KML 2.0 รูปแบบการทํางานของ Google Earth เปนการทํางานแบบ Client-Server โปรแกรมสวนผูใชงานเรียกวา Google Earth Client นอกจาก Google จะใหบริการแบบไมคิดคาใชบริการแลว ยังมีการใหบริการในรูปแบบอ่ืนๆ อีกดวย ซ่ึงแตละแบบก็จะมีความสามารถท่ีแตกตางกัน เชน การใหบริการสราง server ซ่ึงทําใหเกิดการใหบริการอ่ืนๆ ตามมาอีกมากมาย เชน การประกันภัย การขนสง การออกแบบสถาปตยกรรม และการปองกันประเทศ เปนตน (ชัยภัทร เนื่องคํามา, 2549)

1) การแสดงผลขอมูลเวกเตอร การแสดงขอมูลเชิงพื้นท่ีบนโปรแกรม Google Earth ผูใชตองนําเขาขอมูลเวกเตอร

โดยโครงสรางภาษา KML ในรูปแบบ point, line และ polygon เนื่องจาก KML เปนไฟลในลักษณะท่ีเรียกวา ASCII TEXT การแสดงผลจึงคอนขางชา และในกรณีท่ีขอมูลเวกเตอรมีจํานวนฟเจอรท่ีมากก็จะทําใหขนาดไฟล KML ใหญและแสดงผลชาลงอีก ดังนั้นในกรณีท่ีตองการจะแสดงผลขอมูลเวกเตอรท่ีมีจํานวนรายละเอียดของฟเจอรมาก เชน ขอมูลถนน ขอมูลตําบล และ ขอมูลหมูบาน เปนตน จึงตองใชชองทางของ network link ในการชวยแสดงผล KMLโดยจะเปนการแสดงผลแบบ dynamic KML ซ่ึงสามารถทําไดโดยการผานแมขาย (server) สําหรับสรางเอกสาร KML สงให โปรแกรม Google Earth ทางฝงของลูกขาย (client)

2) การแสดงผลขอมูลราสเตอร เนื่องจากโปรแกรม Google Earth มีการแสดงผลขอมูลภาพถายดาวเทียมราย ละเอียดสูงเพียงบางบริเวณเทานั้น การนําขอมูลภาพถายดาวเทียมหรือภาพถายทางอากาศทับซอนลงไปในโปรแกรม Google Earth สามารถทําไดโดยใชฟงกช่ัน image overlay โดยระบุคาพิกัดใหถูกตอง

3) การเช่ือมโยงขอมูลเชิงคุณลักษณะกับขอมูลเชิงพื้นท่ี การเช่ือมโยงระหวางขอมูลเชิงคุณลักษณะในโปรแกรม Google Earth จะทําไดโดยผานชองทางของ KMLโดยใช <tag> ท่ีช่ือวา <description> ทําการเขียน HTML ลงไปใน <tag> นั้น โดยสามารถนําเขาไดท้ังช้ันขอมูลท่ีเปน point, line และ polygon

Page 12: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

12

4) การแสดงผลขอมูลสามมิติ Google Earth เปนโปรแกรมท่ีสามารถแสดงผลขอมูลสามมิติไดเปนอยางดี

โดยเฉพาะขอมูลสภาพภูมิประเทศ สามารถนํามาใชวางแผนหรือประกอบการตัดสินใจในงานท่ีเกี่ยวของกับโลกได

1.6.5 การจัดการภัยดนิถลม

Small (1972) ไดใหความหมายวา แผนดินถลม เปนการเคล่ือนท่ีของมวลวัตถุดินและหินตามแนวความลาดชัน ภายใตอิทธิพลของแรงโนมถวงโลก หรือมวลวัตถุดินและหินท่ีไดสึกกรอนหลุดรวงอันเนื่องจากการไหลพัดพาของกระแสน้ํา การเคล่ือนท่ีของหิมะน้ําแข็งหรือกระแสลม

Varnes (1978) กลาววา แผนดินถลม คือ กระบวนการเคล่ือนท่ีหรือการเล่ือนไหลของมวลทราย ดิน และหินจากท่ีสูงลงสูท่ีตํ่า

สมิทธ ธรรมสโรช (2534) กลาววา แผนดินถลม เปนปรากฏการณทางธรรมชาติของการสึกกรอนชนิดหนึ่งที่กอใหเกิดความเสียหายบริเวณพื้นที่ที่เปนเนินสูง หรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก

กรมทรัพยากรธรณี (2547) ไดใหความหมายของดินถลมหรือโคลนถลม คือ การเคล่ือนท่ีของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาดวยอิทธิพลของแรงโนมถวงโลก และจะมีน้ําเขามาเกี่ยวของ ในการทําใหมวลดินและหินเคลื่อนตัวดวยเสมอ ดินถลมมักเกิดตามมา หลังจากน้ําปาไหลหลากในขณะท่ีเกิดพายุฝนหรือภายหลังจากเกิดฝนตกรุนแรงอยางตอเนื่อง ดังนั้น สามารถสรุปไดวาแผนดินถลมเปนปรากฏการณธรรมชาติที่เกิดการเคลื่อนท่ีของมวลวัตถุดิน หิน และสิ่งตางๆ ลงมาตามแนวลาดเอียงภูเขา สวนใหญมักเกิดในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงซ่ึงขาดความสมดุลในตัว ทําใหเกิดการปรับตัวตามแรงดึงดูดของโลก โดยมีปจจัยหลายอยางท่ีเกี่ยวของ เชน ปริมาณนํ้าฝน ลักษณะดิน ความลาดชัน เปนตน

1) ปจจัยทางกายภาพท่ีมีผลตอการเกิดภัยธรรมชาติแผนดินถลม แผนดินถลมในพื้นท่ีใดๆ มักเกิดจากปจจัยหลายอยาง เชน สภาพลาดชันของ ภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา การใชประโยชนท่ีดิน และสภาพภูมิอากาศ โดยมีปจจัยสําคัญทําใหเกิดแผนดินถลมในประเทศไทย (สุเทพ จันทรเขียว, 2546) ดังนี้

1.1) ลักษณะภูมิประเทศ ไดแก ความลาดชัน (slope) ความยาวของความชัน (slope length) ทิศดานลาด (aspect) ลักษณะแผนดิน (landform) และระดับความสูงของพื้นท่ี (elevation) ลักษณะภูมิประเทศเหลานี้ตางมีอิทธิพลตอความรุนแรงของการเกิดแผนดินถลมท้ังส้ิน โดยเฉพาะ

Page 13: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

13

ความลาดชันของพื้นท่ีนั้น นับวาเปนปจจัยท่ีมีผลตอการเกิดดินถลมมากท่ีสุด หากพ้ืนท่ีมีความลาดชันสูงกวา 30 เปอรเซ็นต จะมีโอกาสเกิดแผนดินถลมสูงมาก เม่ือฝนตกหนัก

1.2) ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา ลักษณะของดินและหิน เปนปจจัยสําคัญท่ีมีอิทธิพลอยางมากตอเสถียรภาพในความลาดชันของพื้นท่ี จากการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพบางประการของดินพบวา มีแรงท่ีตานการพังทลายของดินอยูสองแรง คือแรงเช่ือมแนน (effective cohesion) และแรงเสียดทานภายในดิน (internal friction) ดินเหนียวจะมีแรงเช่ือมแนนสูงมาก แตมีแรงเสียดทานภายในดินนอย สวนดินทรายจะมีแรงเช่ือมแนนคอนขางนอย แตมีแรงเสียดทานภายในดินมาก ดินท่ีเกิดจากการสลายตัวผุพังของหินแกรนิตสวนใหญ จะเปนดินเหนียวปนทราย คือมีชองวางขนาดใหญเปนจํานวนมาก เพราะมีปริมาณทรายมากกวาปริมาณดินเหนียว ดินจึงมีแรงเช่ือมแนนคอนขางนอย แตมีแรงเสียดทานภายในคอนขางมาก ซ่ึงโดยปกติแลวในสภาพท่ีดินแหงสนิท จะไมมีแรงเช่ือมแนนเกิดข้ึนเลย จะมีเพียงเล็กนอยขณะท่ีดินเปยกเทานั้น และแรงเสียดทานระหวางดินกับหิน แตจะมีคามากกวาระหวางดินกับดิน หินแกรนิตมีคุณสมบัติทางกายภาพท่ีงายตอการเกิดแผนดินถลม มากกวาหินชนิดอ่ืนๆ และในอดีตนั้นแผนดินถลมมักเกิดข้ึนในพื้นท่ีท่ีมีช้ันหินดานเปนหินแกรนิตเสมอ

1.3) ลักษณะการใชประโยชนท่ีดิน การใชประโยชนท่ีดินรูปแบบตางๆมีผลโดยตรงตอส่ิงปกคลุมพื้นดิน เชน ปาไม ทุงหญา สวนยางพารา สวนผลไม และส่ิงกอสราง อาคารบานเรือน เปนตน ส่ิงปกคลุมพื้นดินเหลานี้จะชวยลดแรงปะทะของเม็ดฝนกอนตกลงถึงผิวดิน ทําใหเกิดการพังทลายของดินนอยลง โดยเฉพาะไมยืนตนขนาดใหญ จะมีระบบรากท่ีลึกชอนไชลงไปจนถึงช้ันหิน ซ่ึงมีระบบรากหลากหลายชนิด และหลายระดับความลึกของตนไมในปา ดังนั้นหากสภาพการใชประโยชนท่ีดินมีพืชปกคลุมดินนอยหรือมีการตัดไมทําลายปามาก และหากพื้นท่ีมีความลาดชันสูงดวยแลว ก็จะยิ่งทําใหเกิดแผนดินถลมไดงายข้ึน

1.4) ลักษณะภูมิอากาศ เปนปจจัยสําคัญของการเกิดดินถลม โดยเฉพาะอยางยิ่ง ปริมาณนํ้าฝน นับวาเปนปจจัยท่ีสําคัญท่ีสุด กลาวคือ หากฝนตกเปนเวลานานติดตอกัน จนเกินความสามารถของดินหรือตนไมจะดูดซับเอาไวได จะทําใหเกิดการกัดเซาะเปนรองลึก ทําใหแผนดินแยกขาดออกจากกัน จากนั้นจะเกิดแผนดินถลมลงมา

2) แนวทางการปองกันภัยดินถลม ดินถลมเปนสาธารณภัยประเภทหนึ่งท่ีมีวัฏจักรการเกิดและขบวนการการจัดการภัย

คลายกับภัยประเภทอ่ืนๆ ซ่ึงเปนขบวนการตอเนื่อง มิใชการดําเนินการเฉพาะเม่ือเกิดภัย และภายหลังการชวยเหลือฟนฟูเสร็จส้ินลงแลวเทานั้น แตยังมีขบวนการที่ตองดําเนินการในชวงปกติเม่ือไมมีภัยและชวงกอนเกิดภัยเพื่อลดผลกระทบของภัยใหนอยท่ีสุด ไดแก

Page 14: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

14

2.1) การเตรียมพรอมรับภัย (preparedness) ไดแก ชวงเวลาท่ีภัยดินถลมมีโอกาสเกิดข้ึน เชน ชวงตนฤดูฝนท่ีมีฝนตกชุก เปนตน ซ่ึงจะตองมีการเตรียมตัวของราษฎร ซักซอมทําความเขาใจถึงการหนีภัย การแจงภัย และการปฏิบัติตัวในระหวางเกิดภัย ตรวจสอบระบบเตือนภัย

2.2) การเตือนภัย (warning) ไดแก ชวงท่ีเร่ิมวิกฤติ เชน พายุฝนตอเนื่องใกลเคียงระดับคาดการณหรือเคยเกิดภัยพิบัติ มีรอยเล่ือนบนไหลเขา เปนตน ชวงนี้ตองมีการเฝาระวังโดยอาสาสมัคร มีการแจงขาวสถานการณ และการเตือนภัยเปนระยะ ตามระดับความรุนแรงท่ีคาดวาจะเกิดข้ึนและส่ังการใหมีการอพยพไปในท่ีปลอดภัย

การบรรเทาและการเตือนภัยพิบัติของดินถลม เปนข้ันตอนท่ีควรดําเนินการในชวงกอนเกิดภัยพิบัติ ซ่ึงในการบรรเทาภัยพิบัติ ทําไดโดยการเพ่ิมความม่ันคงของลาดดิน หรือทําการพยากรณภัยดินถลมแลวทําการเตือนภัยเพื่อประกาศใหประชาชนท่ีอาจไดรับผลกระทบจากดินถลม ทําใหสามารถบรรเทาหรือลดความสูญเสียท่ีเกิดจากดินถลม การเตือนภัยเปนการแจง หรือประกาศใหผูท่ีมีสวนเกี่ยวของท่ีไดรับผลกระทบ โดยจะตองมีการพยากรณท่ีดี หรือนาเช่ือถือ และตองมีระยะเวลาเตือนภัยท่ีเพียงพอในการดําเนินการปองกัน บรรเทาความเสียหายกอนท่ีจะเกิดดินถลม ซ่ึงการเตือนภัยดินถลมตองหาความเส่ียงหรือโอกาสเกิดดินถลมในแตละพื้นท่ี โดยพิจารณาถึงปจจัยตางๆท่ีทําใหเกิดดินถลม แผนท่ี โอกาสของการเกิดดินถลม ท่ีไดจัดทําข้ึนเปนขอมูลสําคัญท่ีจะนําไปใชในการเตือนภัยดินถลมไดในเบ้ืองตน โดยในบริเวณพื้นท่ีท่ีมีโอกาสเกิดดินถลมอยูในระดับเดียวกันนั้นแสดงวาพื้นท่ีนั้นๆ จะมีโอกาสเกิดดินถลมเทากันแตไมแนวาจะเกิดภัยพิบัติข้ึนพรอมกัน ดังนั้นในพ้ืนท่ีท่ีมีโอกาสเกิดดินถลมสูงหรือเปนพื้นท่ีท่ีมีความสําคัญควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทําการพยากรณใหแมนยํามากข้ึน ลดความผิดพลาดในการเตือนภัย หรือถาในบางพื้นท่ีท่ีมีความสําคัญและมีความไมแนนอนในการพยากรณสูง จําเปนตองทําการติดต้ังเคร่ืองมือวัดพฤติกรรมเพ่ิมเติม หรือทําการปองกันภัยดินถลม (สุเทพ จันทรเขียว, 2546)

3) สารสนเทศภูมิศาสตรกับการจัดการภัยดินถลม การเตรียมความพรอม การเตือนภัย การปองกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น

จากภัยดินถลมใหเหลือนอยที่สุดเทาที่จะทําไดนั้น ขึ้นอยูกับการจัดการที่ดีและมีขอมูลที่ถูกตองและเชื่อถือได การไดมาซึ่งขอมูลที่ถูกตองและเชื่อถือไดนั้นตองอาศัยเทคโนโลยีตางๆเขามาเกี่ยวของทั้งนี้เทคโนโลยีที่มีบทบาทสําคัญในการจัดการภัยดินถลม ไดแก ระบบการสื่อสาร ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบการพยากรณอากาศ ระบบสัญญาณแจงเตือนภัย และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร ขอมูลที่ใชสนับสนุนการจัดการภัยดินถลมตองเปนขอมูลที่มีความทันสมัย ทันเหตุการณ และสามารถเรียกใชไดงายและรวดเร็ว เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูม ิศาสตร เป นเครื ่องม ือสําค ัญในการจ ัดทําฐานขอม ูล การว ิเคราะห การสัง เคราะห

Page 15: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

15

การคาดการณ และจัดทําแบบจําลองเชิงพื้นที่ทั้งแบบสองมิติและสามมิติเพื่อชวยในการบริหารจัดการปญหาดินถลมในพื้นท่ีเส่ียงภัยไดอยางถูกตองและเหมาะสม ผลลัพธสามารถแสดงถึงสภาพปญหาพ้ืนท่ีท่ีเกิดดินถลมและแสดงแผนท่ีการจําแนกพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลม เพื่อใชประกอบการวางแผนและการตัดสินใจในการแกไขปญหาในแตละพื้นท่ีไดอยางมีประสิทธิภาพ

สมบัติ อยูเมือง (2548) ไดศึกษาการประยุกตใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรประเมินศักยภาพของตะกอนไหลถลมและน้ําปนตะกอนบา บริเวณพ้ืนท่ีน้ํากอ อําเภอหลมสัก จังหวัดเพชรบูรณ ผลการศึกษาสรุปไดวา เหตุการณพิบัติภัยดังกลาวนี้ ไมไดมีสาเหตุมาจากฝนตกหนักผิดปกติแตเพียงอยางเดียว แตเปนการทํางานรวมกันของปจจัยท่ีมีอิทธิพลหลายประการจากลักษณะภูมิประเทศท่ีมีส่ิงปกคลุมดินเปนลักษณะเฉพาะ คุณสมบัติทางธรณี เทคนิคของวัสดุรองรับในพื้นท่ี และการหนวงเพ่ือการสะสมตัวของซากตนไมและตะกอน การประสมประสานของปจจัยท่ีมีอิทธิพลดังกลาวเหลานี้ไดทําใหเกิดตะกอนไหลถลมและน้ําปนตะกอนทวมบาได

กรมพัฒนาท่ีดิน (2551) ไดวิเคราะหพื้นท่ีท่ีมีความเส่ียงจากดินถลมในประเทศไทย โดยใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตร อาศัยปจจัยในการวิเคราะห ไดแก พืชพรรณและสภาพการใชท่ีดิน, ดินและลักษณะดิน, ความลาดชันของพื้นท่ี และ ปริมาณฝน และจําแนกพื้นท่ีท่ีมีโอกาสเกิดดินถลม แบงเปน 4 ระดับ ไดแก

1) พื้นท่ีท่ีไมมีความเส่ียงเกิดดินถลม

2) พื้นท่ีท่ีมีความเส่ียงเกิดดินถลมปานกลาง

3) พื้นท่ีท่ีมีความเส่ียงเกิดดินถลมนอย

4) พื้นท่ีท่ีมีความเส่ียงเกิดดินถลมสูง

ศูนยภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ (2549) ศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยดินถลมในเขตภาคเหนือตอนบน โดยมีเปาหมายในการจัดทําฐานขอมูลเพื ่อเปนแนวทางใหกับองคกร หรือหนวยงานท่ีเกี่ยวของสามารถนําไปใชประโยชน ผลการศึกษาไดแสดงออกมาในรูปของแผนที่พื้นที่ที่เสี่ยงตอการเกิดดินถลม โดยแบงพื้นที่เสี่ยงออกเปน 3 ระดับ คือ พื้นท่ีเสี่ยง, พื้นที่เสี่ยงนอย และพื้นที่ไมเสี่ยง โดยในพื้นที่ศึกษามีหมูบานเสี่ยงภัยดินถลม 9 หมูบาน แสดงในตาราง 1.1 ดังตอไปนี้

Page 16: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

16

ตาราง 1.1 พื้นท่ีเส่ียงภยัดินถลมระดับตางๆ ในพื้นท่ีศึกษา จังหวัด อําเภอ ตําบล หมูบาน เชียงราย แมจัน ปาตึง โปงนํ้ารอน

อาแหยะ หวยยาโน

แมฟาหลวง แมสลองนอก ปาคาสามัคคี ปาคาสุขใจ พนาสวรรค แมจันหลวง สันติคีรี อาแบ

รวมท้ังหมด 9 หมูบาน

1.6.6 แนวคิดการประเมิน การประเมินเปนการวัดคุณคาของกิจกรรมหรือวัตถุประสงค โดยการประยุกตใชวิธีทาง

วิทยาศาสตรท่ีเปนสาขาหนึ่งของการวิจัย มาชวยในการตัดสินใจวากิจกรรมดําเนินไปไดดีเพียงใดหรือเปนการรวบรวมขอมูลเพื่อการตัดสินใจเลือกหนทางท่ีทําใหบรรลุผลตามท่ีตองการมากที่สุด (Lancaster, 1993)

การประเมินเปนกระบวนการอยางหนึ่งทางสังคม ซ่ึงมีวัตถุประสงคหลักอยูท่ีการตัดสินคุณคาของส่ิงท่ีประเมิน เพื่อมุงไปสูเปาหมายของการพัฒนาคุณคาและอํานาจของสถาบัน/องคการและสังคมโดยสวนรวม (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2539)

การประเมินเปนกระบวนการท่ีมีการเก็บรวบรวมขอมูล และตัดสินคุณคาของส่ิงตางๆ โดยเทียบกับเกณฑท่ีกําหนด หากการประเมินใดมีความครบถวนสมบูรณในดานการวัด (measurement) และดานเกณฑการตัดสินคุณคา (criteria for judgment) จะสงผลใหการประเมินมีความถูกตองและนาเช่ือถือมากข้ึน (สุพักตร พิบูลย, 2544)

การประเมิน มีความหมายใน 2 นัย คือ หากเปนการประเมินในความหมายของการวัดผล จะเปนการประเมินท่ีไดพัฒนาข้ึนตามหลักการทางวิทยาศาสตรของการวัด โดยเนนความเปนปรนัยในเชิงประจักษ ความเท่ียงตรงของการวัด ความเปนมาตรฐานของเคร่ืองมือท่ีใชวัด และการตีความหมายจากคะแนนท่ีวัดได แตถาเปนการประเมินในความหมายของการวิจัย เปนการประเมินท่ีไดนําระเบียบวิธีวิจัยมาประยุกตใชเพื่อตัดสินและพัฒนาโครงการใหเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล (สุวิมล ติรกานันท, 2548)

Page 17: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

17

1.7 ทบทวนวรรณกรรม กรมทรัพยากรธรณี (2551) ไดนําเสนอการใชสารสนเทศบนเครือขายอินเตอรเน็ตผานโปรแกรม Google Earth เพื่อเผยแพรสูประชาชน โดยนําฐานขอมูลดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีประกอบดวย 1) แหลงทองเท่ียวธรรมชาติทางธรณีวิทยา 2) ตําแหนงพบแร 3) ประทานบัตร 4) หลุมยุบ และ 5) ตําแหนงแผนดินไหว โดยผูใชบริการสามารถเขาไปใชงานไดท่ีหัวขอขอมูลบริการและศึกษาวิธีการใชงานไดท่ีหัวขอวิธีการใชงาน ผูใชบริการสามารถเขาดูขอมูลบริการผาน network link และใหดาวนโหลดไฟลขอมูลประเภท KML เพื่อแสดงผลเปดขอมูลผานโปรแกรม Google Earth ทําใหการแสดงผลขอมูลเชิงพื้นท่ีและขอมูลอรรถาธิบายในดานธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีเปนเร่ืองงายและสะดวกรวดเร็ว สามารถมองเห็นแผนท่ีท้ังแบบสองมิติและแบบสามมิติเคล่ือนไหวไดตามมุมมองและความตองการของผูใชบริการ

สลิลทิพย ชีระภากร และวิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์ (2547) ศึกษาเร่ืองการประยุกตใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรรวมกับฐานขอมูลกลุมชาติพันธุผานเครือขายอินเตอรเน็ต โดยจัดทําแผนท่ีกลุมชาติพันธุดวยโปรแกรม ArcView GIS แลวแปลงอยูในรูปของไฟล SVG (Scalable Vector Graphic) พรอมท้ังจัดทําเว็บไซดเพื่อนําเสนอผานเครือขายอินเตอรเน็ต จากผลการวิจัยพบวา การเผยแพรขอมูลและการประชาสัมพันธ สามารถแสดงขอมูลของกลุมชาติพันธุในเชิงพื้นท่ี เชน การกระจายตัวของกลุมชาติพันธุ ไดอยางชัดเจนยิ่งข้ึน โดยสามารถเรียกดูขอมูลพรอมกันได ท้ังขอมูลกลุมชาติพันธุ ขอมูลเชิงพื้นท่ี และขอมูลเชิงบรรยาย การเผยแพรขอมูลทําไดในวงกวางรวมท้ังมีความสะดวกรวดเร็วในการสืบคน มีผลตอความรูความเขาใจของคนท่ัวไป

ทิพยวรรณ สุภาควัฒน และวิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์ (2547) ศึกษาเร่ืองการประยุกตใชภาพถายดาวเทียม เพื่อการสรางแผนท่ีทางภูมิศาสตร โดยนําเสนอวิธีการประยุกตใชภาพถายดาวเทียมจากโปรแกรม Google Earth เพื่อสรางแผนท่ีภูมิศาสตร ในพื้นท่ีบริเวณกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบวา แผนท่ีภูมิศาสตรจากโปรแกรม Google Earth ใหขอมูลท่ีเปนประโยชนกับผูใชไดมากกวาแผนท่ีในลักษณะลายเสนท่ัวไป อีกท้ังยังชวยอํานวยความสะดวกในการคนหาเสนทาง หรือพื้นท่ีที่สนใจ สําหรับโมเดลแบบจําลองบนแผนท่ีภูมิศาสตรชวยประกอบการตัดสินใจไดในระดับพอใช เนื่องจากตองคํานึงถึงสภาพแวดลอมตางๆ เปนองคประกอบดวย

ชัชชัย หนูเจริญ (2550) ศึกษาการประยุกตใชโปรแกรม Google Earth กับการจัดการทรัพยากรน้ํา โดยการนําเขาขอมูลทางภูมิศาสตรสารสนเทศ และคาพิกัดจากระบบสํารวจหาตําแหนงพื้นโลกดวยดาวเทียมในพื้นท่ีศึกษา บนโปรแกรม Google Earth แลวนําผลท่ีไดไปใชเปนขอมูลในการตัดสินใจในการวิเคราะหความเหมาะสมในการพิจารณาโครงการเบื้องตนของโครงการจัดหาน้ําใหแกราษฎรในเขตพื้นท่ีสํานักชลประทานท่ี 17 ผลการศึกษาสรุปวา โปรแกรม

Page 18: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

18

Google Earth สามารถนําไปใชรวมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตรไดเปนอยางดี เปนการเพ่ิมศักยภาพในการเขาถึงขอมูลและเปนการเพิ่มมูลคาของขอมูล

จากการทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวของสรุปไดวา การนําเสนอขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ต ชวยในการเผยแพรขอมูลออกไปเปนวงกวางสูสาธารณชน การแสดงผลขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตโดยใชโปรแกรม Google Earth สามารถชวยอํานวยความสะดวกแกผูใชงานในการเขาถึงขอมูลไดงายและรวดเร็ว การนําขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรไปใชงานบนเครือขายอินเตอรเน็ตเปนการชวยเพิ่มมูลคาขอมูลและเพิ่มศักยภาพในการเขาถึงสารสนเทศภูมิศาสตร อีกท้ังยังเปนประโยชนในการนําไปใชวางแผนและตัดสินใจเพื่อการปรับปรุงพัฒนางานไดอยางมีประสิทธิภาพตรงตามความตองการของผูใชงาน

Page 19: 1.1 ที่มาและความส ําคัญของป ญหาarchive.lib.cmu.ac.th/full/t/2552/geomat0552pn_ch1.pdf · บทที่1 บทนํา 1.1 ที่มาและความส

19

1.8 กรอบแนวคิดในการศึกษา

ในการศึกษาไดกําหนดกรอบแนวคิดการดําเนินงานดังนี้

ฐานขอมูลสารสนเทศภูมศิาสตรพื้นท่ีเสี่ยงภยั

ดินถลมสําหรับการใชงานบนเครือขายอินเตอรเน็ต

รูป 1.2 กรอบแนวคิดในการศึกษา

แนวคิดของการศึกษาเร่ิมจากการศึกษาความตองการใชสารสนเทศภูมิศาสตรของผูใชงาน และการศึกษาขอมูลท่ีเกี่ยวของในการจัดการพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลม ข้ันตอนถัดไป ผูศึกษาไดรวบรวมขอมูลท่ีไดไปจัดทําฐานขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลม เพื่อนําไปพัฒนารูปแบบสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตโดยใชโปรแกรม Google Earth และใชแนวคิดการออกแบบสารสนเทศ เพื่อการแสดงผลขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรในรูปแบบสองมิติ และแบบสามมิติบนพื้นโลก ตามความตองการของผูใชงาน สุดทายผูศึกษาไดใชแนวคิดประเมินเพื่อประเมินผลการใชงานสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ตโดยกลุมผูใชงานท่ีมีสวนเกี่ยวของในการจัดการพื้นท่ีเส่ียงภัยดินถลม

การศึกษาการเชื่อมโยงขอมูลสารสนเทศภูมิศาสตรสําหรับการจัดการพื้นท่ีเสี่ยงภยัดินถลม

การศึกษาขอมูลและสารสนเทศภูมิศาสตรในการจัดการพื้นท่ี

เสี่ยงภัยดินถลม

การศึกษาความตองการใชขอมลู สารสนเทศในการจัดการพื้นท่ี

เสี่ยงภัยดินถลม

การศึกษาขอมูล สารสนเทศภูมิศาสตร

รูปแบบการนําเสนอสารสนเทศภูมิศาสตรเพื่อการจัดการพื้นท่ีเสี่ยงภัยดินถลมบนเครือขาย

อินเตอรเน็ตโดยใชโปรแกรมกูเกิลเอริธ

ประเมินการใชสารสนเทศภูมิศาสตรบนเครือขายอินเตอรเน็ต

กลุมผูใชงานประเภทบุคคล

กลุมผูใชงานประเภทหนวยงาน

ศึกษาแนวคิดการประเมินเพื่อประเมินผลการใชงาน

การศึกษาการออกแบบสารสนเทศเพื่อนําเสนอบน

เครือขายอินเตอรเน็ต

การศึกษาการประยุกตใช โปรแกรม กูเกิลเอริธ