Top Banner
2010 オ・、エ ヲエツィウオ・サ。ィ ィーェサキエr ィサn、オ。エオヲウオヲ f การแนะแนวการฝก(7UDLQLQJ *XLGDQFH
16

การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

Mar 24, 2016

Download

Documents

การแนะแนวการฝึก และแนะแนวอาชีพ
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

2010 

นายคมธัช รัตนคชและนายดนุพล คลอวุฒินันท 

กลุมงานพัฒนาระบบการฝก 

21/10/2010 

การแนะแนวการฝก(Training Guidance)

Page 2: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

บทนํา

การพฒันาทักษะฝมือภาคแรงงานของประเทศถือเปนหัวใจสําคัญของการพัฒนาประเทศ

โดยเฉพาะอยางประเทศที่กําลังพัฒนาอยางประเทศไทย ซึ่งมีผูใชแรงงานในภาคสวนตางๆ ทั้ง ภาค

เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจบริการ ซึ่งแรงงานที่อยูในภาคอุตสาหกรรมเปนกลุมคนที่

สําคัญที่จะขับเคลื่อนใหภาคอุตสาหกรรมเจริญกาวหนา และสงเสริม สนับสนุนใหเศรษฐกิจของประเทศ

กาวไปขางหนาอยางยั่งยืน กรมพัฒนาฝมือแรงงาน เปนหนวยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการพัฒนาฝมือแรงงาน เพื่อ

แกปญหาดานทักษะฝมือของแรงงานใหสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอยางทัน

เหตุการณ และใหแรงงานมีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองตอความตองการของ

ตลาดแรงงานไดอยางมีประสิทธิภาพ กรมพัฒนาฝมือแรงงาน โดยสํานักพัฒนาผูฝกและเทคโนโลยีการฝก

มีหนาที่คิดคน และพัฒนา ระบบ รูปแบบและวิธีการฝกทักษะที่ตอบสนองตอความตองการดานแรงงาน มี

มาตรฐานฝมือแรงงานและมาตรฐานการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพตางๆ ที่สถานประกอบกิจการและ

ภาคอุตสาหกรรมตองการ

กลุมงานพัฒนาระบบการฝก กรมพัฒนาฝมือแรงงาน ไดจัดทําเอกสารทางวิชาการขึ้น เพื่อเผยแพร

องคความรู และเผยแพรขอมูลขาวสารทางวิชาการที่เกี่ยวของกับการพฒันาทักษะฝมือของผูรับการฝกใน

สถาบันพัฒนาฝมือแรงงานภาค และศูนยพัฒนาฝมือแรงงานจังหวัด เพื่อใหบุคลากร เจาหนาที่และผูที่

เกี่ยวของกับการพฒันาทักษะฝมือแรงงานไดใชเพื่อการศึกษา คนควา และเปนแนวทางในการพัฒนาทักษะ

ฝมือแรงงาน เพื่อประโยชนในการพัฒนาความสามารถของผูรับการฝกใหบรรลุวัตถุประสงคในการฝก

ทักษะฝมือแรงงานและมีมาตรฐานสมรรถนะสอดคลองกับงานและอาชีพตางๆ ที่สถานประกอบกิจการและ

ภาคอุตสาหกรรมมีความตองการ ตอไป

กลุมงานพัฒนาระบบการฝก

สํานักพัฒนาผูฝกและเทคโนโลยีการฝก

กรมพัฒนาฝมือแรงงาน

Page 3: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

สารบัญ หนา 

บทที่5  การแนะแนวการฝก (Training Guidance)  1 ความเปนมาของการแนะแนว  1 ความหมายของการแนะแนว  2 ประเภทของการแนะแนว  2 การแนะแนวการฝก  3 เครือ่งมอืที่ใชในการแนะแนวการฝกและแนะแนวอาชีพ (Training Guidance And Career  Guidance)  5 สื่อแนะแนวการฝกสําหรับเก็บขอมลูจากผูมารับสมัครเขารบัการฝก  5 สื่อการแนะแนวการฝกสําหรับใหความรูแกผูมารับสมัครการฝก  6 การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)  7 การบรกิารแนะแนวอาชีพของกรมการจัดหางาน  8 หลักการสําคัญของการแนะแนวอาชีพ  8 ประโยชนของการแนะแนวอาชีพ  10 ความสําคัญของการเลือกอาชีพ  10 เอกสารและสิ่งอางอิง  12

Page 4: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

บทที่5 การแนะแนวการฝก (Training Guidance) 

ในขั้นตอนแรกๆของกระบวนการพัฒนาฝมอืแรงงานนัน้ กอนการฝกทกัษะฝมอืของผูที่มา รับการฝก จะตองมกีารใหคําแนะนํา และแนะแนวทางการฝกทักษะกอน เพือ่อยางนอยผูที่มารับการ ฝกทักษะฝมอืจะไดทราบวาตนเองเหมาะกับหลกัสูตรหรอืกิจกรรมการฝกอะไร นอกจากความ สนใจในหลักสูตรการฝกตางๆ แลว จะไดรูถึงรายละเอียดของแตละกิจกรรมการฝกวาควรมีพื้นฐาน หรือตองเตรียมความพรอมดานรางกาย  และจิตใจ หรือหลักสูตรนั้นตองใชสมรรถนะและ ความสามารถในเบือ้งตนอะไรบาง  ซึ่งตองใชกระบวนของการแนะแนวการฝก เขามาจัดการนัน่เอง 

ความเปนมาของการแนะแนว ผูเขียนไดนําประวัติความเปนมาของการแนะแนว ซึ่ง วชัรี ทรัพยมี (2531) ไดอธิบายไว 

โดยสรุปดังนี้ 

การแนะแนวในสหรฐัอเมริกาไดเริ่มเปนรูปแบบขึ้นเมือ่ “แฟรงค พารสันส” (Frank Parsons) ไดกอตั้ง “สํานกังานการอาชีพ” (Vocational Bureau) ขึ้นทีเ่มอืงบอสตนั สหรฐัอเมรกิา ใน ป ค.ศ. 1908 เขาไดแตงหนังสอืเรือ่ง “การเลอืกอาชีพ” (Choosing a Vocation) และบัญญตัศิัพท “การแนะแนวอาชีพ” (Vocational Guidance) ขึ้น พารสนัสไดรับการยกยองวาเปนบดิาแหงการแนะ แนวอาชีพ เขายึดหลักในการแนะแนวอาชีพดังนี้ คอื 

1. การวิเคราะหบุคคล นักแนะแนวจะชวยผูมารับบริการวเิคราะหคุณสมบตัิตางๆ เชน ความสามารถ ความสนใจ ความถนดั บุคลิกภาพ เปนตน 

2. การวิเคราะหอาชพี นักแนะแนวจะชวยใหผูรับบรกิารมคีวามรูเกี่ยวกับอาชีพ เชน มี ความรูเกี่ยวกับลกัษณะอาชีพ ความตองการของตลาดเกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ เวลาและทุนทรัพยที่ใชใน การเตรียมตัวเพือ่ประกอบอาชีพ 3. การใชวิจารณญาณในการตัดสินใจเลอืกอาชีพ นักแนะแนวชวย ใหผูรับบริการตัดสินใจเลือกอาชีพ โดยอาศัยหลกัการวเิคราะหตนเองและวิเคราะหอาชีพประกอบ กัน นับไดวา พารสันสเปนผูนําแนวความคิดในการพิจารณาวิเคราะหคณุสมบตัิของบุคคลกอน ตัดสนิใจเลอืกอาชีพ ตอจากนั้น มีการตื่นตัวเกีย่วกับการใชกลวิธตีางๆ ในการวิเคราะหบุคคล ทั้ง กลวิธีที่ใชแบบทดสอบและไมใชแบบทดสอบ ไดมผีูจัดทําแบบทดสอบตางๆ ขึ้น เชน แบบทดสอบ สติปญญา ความถนดั ความสนใจ และมผีูรวบรวมขอมูลเกีย่วกับอาชีพขึน้เพื่อใชในการแนะแนว อาชีพ

Page 5: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

ความหมายของการแนะแนว (Guidance) ในบทนี้เปนการอธิบายถึงการแนะแนวซึ่งมีความหมายกวางพอสมควร แตผูเขียนจะแยก 

อธิบายเปน 2 ประเดน็ที่เกี่ยวของกับกระบวนการพัฒนาฝมือแรงงานไดแก การแนะแนวการฝกและ การแนะแนวอาชีพ กอนอื่นจะกลาวถึงความหมายของคําวา การแนะแนวซึ่งมผีูใหคําจํากดัความ และความหมายในแงตางๆ พอสรุปไดดังนี้ 

วัชรี ทรัพยมี (2531) ไดใหความหมายไววา การแนะแนว (Guidance) หมายถึง กระบวนการชวยเหลอืบคุคลใหเขาใจตนเองและสิ่งแวดลอม สรางเสริมใหเขามคีุณภาพเหมาะสม ตามความแตกตางระหวางบุคคล คนพบและพัฒนาศักยภาพของตน มีทกัษะการดําเนินชีวิต มีวุฒิ ภาวะทางอารมณ ศลีธรรม จริยธรรม รูจักการเรียนรูในเชิงพหุปญหา รูจักคิด ตดัสนิใจ แกปญหา ในชวงวิกฤติ วางแผนการศึกษาตอ ประกอบอาชีพ และสามารถปรับตัวไดอยางมคีวามสุขในชีวิต ไดพัฒนาตนเองใหถึงขีดสุด ในทกุดาน 

ทศพร  ประเสรฐิสุข (2549) ไดไหความหมายไววา การแนะแนว หมายถึง กระบวนการ ทางการศึกษาทีช่วยให บุคคลรูจัก และเขาใจตนเองและสิ่งแวดลอม สามารถนําตนเองได แกปญหา ไดดวยตนเอง และพัฒนาตนเองไดตามศักยภาพ ปฏิบัติตนใหเปนสมาชกิที่ดีของสังคม 

การแนะแนวไมใชการแนะนํา อาจกลาวไดวาการแนะแนวเปนการชวยเหลอื ใหเขา สามารถชวยตนเองได 

จากที่กลาวมาพอสรุปไดวา การแนะแนว หมายถึง กระบวนการใหความชวยเหลอืผูเขารับ การฝกใหรูจักและเขาใจตนเองและสิ่งแวดลอม ใหสามารถนําพาตนเองใหแกปญหาไดตาม ศกัยภาพของตนเองในทุกดาน เชน ดานการศึกษา การปฏบิัติงานและในการดํารงชีวิตประจําวัน 

ประเภทของการแนะแนว ที่กลาวมาเปนความหมายพอสังเขปของการแนะแนวนอกจากนี้ ทศพร  ประเสริฐสขุ 

(2549) ไดกําหนดประเภทของการแนะแนวไว ดังนี้ 1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance) 2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance) 3. การแนะแนวสวนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance) 

การนํากระบวนจัดการฝกอบรมทักษะฝมอืของกรมพัฒนาฝมอืแรงงาน ไดนํากระบวนการ แนะแนวมาใชเพือ่ใหความชวยเหลอืผูมาสมัครเขารับการฝกในแตละศูนยพัฒนาฝมือแรงงานและ ในแตละสถาบันพัฒนาฝมือแรงงานภาคตางๆ ใหรูจัก  เขาใจตนเองและใหสามารถเขารับการฝก ทักษะฝมอืไดตรงกับความสนใจ และความถนัดหรอืตรงกบัความตองการดานทกัษะฝมือของผูเขา

Page 6: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

รับการฝก อยางแทจริง ซึ่งจะชวยใหผูเขารับการฝกสามารถฝกอบรมทกัษะฝมอืไดอยางประสบ ผลสําเร็จตามวัตถุประสงคของการฝก การแนะแนวที่มีประสิทธิภาพจะเปนวิธีการเสริมแรงใหผูเขา รับการฝกเกิดความมั่นใจในตนเองและกระตุนใหเกิดความมุงมั่น เกิดความมุมานะพยามที่จะฝกให ประสบความสําเร็จยิ่งขึ้น  อีกทั้งเปนเครือ่งมือที่จะชวยลดจํานวนของผูที่ตองการออกระหวางการ ฝก(Dropout) ไดอีกดวย 

ในการจัดการฝกอบรมทักษะฝมอืของกรมพัฒนาฝมือแรงงานมีการแนะแนว 2 ประเภทที่ นํามาใชในกระบวนการฝกอบรม ไดแก การแนะแนวการฝก(Training Guidance) และการแนะแนว อาชีพ (Vocational Guidance) ซึ่งในกระบวนการแนะแนวอาชีพจะเปนกระบวนการทีเ่กดิขึน้หลังผู เขารับการฝกจบการฝกอบรมจากกรมพฒันาฝมอืแรงงานและมุงไปสูโลกการทํางาน การแนะแนว อาชีพจึงตกอยูกับกรมจัดหางานตอไป 

ภาพที่ 5.1 แสดงกระบวนการฝกอบรมของกรมพฒันาฝมอืแรงงาน 

การแนะแนวการฝก สําหรับกระบวนการฝกทักษะฝมอืของกรมพัฒนาฝมือแลว ดูเหมอืนวาการนํากระบวนการ 

แนะแนว(Training Guidance) มาใชนั้น จะมีความแตกตางจากสถาบนัการศกึษาและการฝกอบรม โดยทั่วไปอยูพอสมควร เหตุผลกเ็พราะวากรมพฒันาฝมอืแรงงานจัดการฝกอบรมที่เนนใหผูรับการ ฝกเกิดทกัษะฝมือ (Skill) 

ดังนั้นการจัดการฝกจึงเนนที่ภาคปฏิบตัิอยางเปนขั้นเปนตอน (Process) ในแตหนวยการ ฝก (Module) หรือในแตละหลักสูตรตามมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standard) ที่กําหนดใน แตละงาน (Task) ของแตละสาขาอาชีพ (Occupational Area)

Page 7: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

มีนักการฝกอบรมและนกัการศึกษาไดใหความหมายไวหลายทานดวย ซึ่งพอจะสรุปไดพอ สังเขปดังตอไปนี้ 

การแนะแนวการฝก(Training Guidance) หมายถึง กระบวนการชวยเหลอืผูเขารับการฝกให รูจัก เขาใจตนเองและใหสามารถเขารับการฝกทกัษะฝมอืไดตรงกับความสนใจ และความถนัด หรอื ตรงกับความตองการดานทักษะฝมอืของผูเขารับการฝก 

เนื่องจากขัน้ตอนดังกลาว เปนขั้นตอนทีต่อเนื่องมาจากขั้นตอนการรับสมคัร และคัดเลือก ผูสนใจเขารับการฝกซึ่งจะมีขอมลูพื้นฐานที่มคีวามสัมพันธเกี่ยวเนือ่งกับขั้นตอนการเลือกหนวย การฝก หลักสูตรและกิจกรรมการฝกที่สอดคลองกับความตองการและทักษะพื้นฐานของผูเขารับ การฝกดังกลาว และในกระบวนการแนะแนวการฝก ผูมารบัการฝกจะผานการตรวจสอบพื้นฐาน ดานตางๆ ตามทีก่ําหนดไวในระบบการฝกของกรมฯ และจะผานการทดสอบดานตางๆ เชน ทดสอบความถนัด ทดสอบความสนใจ และทศันคติในอาชีพตางๆ หรอื สาขาชางตางๆ ดวย เครือ่งมอืทดสอบที่ไดออกแบบไวอยางมีประสิทธภิาพ และสามารถประเมินผูมารับการฝกให สามารถฝกทกัษะฝมอืไดสอดคลองกับความสนใจ ความสามารถที่ตนมีอยู และชวยใหผูมารับการ ฝกสามารถฝกไดจนบรรลุวัตถุประสงคการฝกทกัษะฝมอืตอไป 

ภาพที่ 5.4 แสดงกระบวนการฝกทกัษะฝมือ 

แนะแนวการฝก 

รบัสมัครเขารบัการฝก 

ตรวจสอบคดัเลือก คุณสมบตัิ 

ทดสอบความถนัด 

ประเมินผล/วิเคราะหความ ตองการ 

เลือกหนวยการฝก 

การฝก 

หนวยการฝก/หลักสูตร 

เทคโนโลยีการฝก 

Methodology & Technique 

ประเมินความสามารถ 

ออกใบรับรองความสามารถ 

Training Material 

ทักษะ  ความรู  เจตคติ 

รูปแบบการฝก 

แนะนําการฝกอบรม

Page 8: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

เคร่ืองมือที่ใชในการแนะแนวการฝกและแนะแนวอาชีพ (Training Guidance and Career Guidance) 

ในกระบวนการฝกอบรมนัน้ จะแบงการใหความชวยเหลอืผูเขารับการฝก 2 ชวง ซึ่งแบง ออกเปน  การใหคําแนะนําในชวงที่1 เรียกวา "การแนะแนวการฝก" 

สําหรับการใหคําแนะนําหลังจากสิน้สดุการฝกทักษะฝมือ คําแนะนําและการใหความ ชวยเหลือผูผานการฝกทักษะฝมือในชวงที2่ นี้วา "การแนะแนวอาชีพ" ซึ่งเปนการใหความ ชวยเหลือและแนะแนวทางการไปประกอบอาชีพหลังจากสิ้นสุดการฝก แตความจริงแลวมันมีสิ่งที่ ตองใหความชวยเหลอืมากกวาแคการแนะนําอาชีพ หรือแนวทางการประกอบอาชีพเพียงอยางเดียว ในสวนกิจกรรมการแนะแนวการฝกซึ่งเปนกิจกรรมทีเ่กี่ยวของกับการฝกอบรมทกัษะฝมอื ที่กรมฯ ตองนําสิ่งเหลานี้ไปใชเพือ่ใหการฝกอบรมเกดิประสิทธภิาพและคณุภาพมากที่สุด จึงขออธิบาย เฉพาะการแนะแนวการฝกเพยีงอยางเดียว ในการใหความชวยเหลอืและการแนะแนวทางการ ฝกอบรมนั้น เจาหนาที่ผูรับผิดชอบตองมเีครือ่งมอืสําหรับใชเก็บขอมลูผูมาสมัครเขารับการฝก เพือ่ นํามาวิเคราะหหาความสนใจ ความถนัดและความตองการที่แทจริงของผูมาสมคัรเขารับการฝก และในขณะเดียวกันจะตองมีขอมลูปอนกลับไปยังผูมารับสมัครเขารับการฝกดวย ความหมายก็คือ นอกจากจะเอาขอมลูจากผูมาสมคัรแลวทางหนวยงานนัน้ตองมขีอมลูที่จําเปนใหกับผูมารับสมัคร ดวย เชน ขอมลูเกี่ยวหนวยการฝก หรอืหลกัสูตรการฝกตางๆ ลักษณะการฝก ระยะเวลาการฝก การ นําทักษะ ความรูและความสามารถที่ไดรับไปประกอบอาชีพตางๆ ทั้งโดยตรงและอาชีพทีเ่กี่ยวของ นําเสนอในรูปแบบสื่อตางๆ เชน รูปแบบแผนพับ เอกสาร หรือสื่ออเิลก็ทรอนกิส เชน VCD, DVD เว็บไซตทีเ่กี่ยวของ เปนตน 

สื่อแนะแนวการฝกสําหรับเก็บขอมลูจากผูมารบัสมัครเขารบัการฝก ในสวนของการเก็บขอมูลจากผูมาสมัครเขารับการฝก เครือ่งมือที่ใชในการเก็บขอมูล 

ไดแก •  แบบทดสอบความสนใจในอาชีพ •  แบบวัดความถนัดในอาชีพ •  แบบวัดทศันคติในอาชพี •  แบบวัดความถนัดทางชาง •  แบบประเมินทกัษะและความรูเบือ้งตน 

ซึ่งแบบประเมิน หรอื แบบทดสอบที่กลาวมา อาจบรรจุในรูปแบบ กระดาษ หรอื สื่อ อเิลก็ทรอนกิสก็ได เชน โปรแกรมวัดความสนใจในอาชีพ เว็บไซตสําหรับประเมินความสนใจและ

Page 9: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

ความถนัดในอาชีพ เปนตน ซึ่งมีตัวอยางใหนําไปทดลองใชกันซึ่งมีทั้งในประเทศและตางประเทศ เปนตน 

สื่อสําหรับการแนะแนวการฝกสําหรับใหความรูแกผูมารับสมัครการฝก สวนเอกสารทีส่ามารถใหความความรูแกผูมารับสมัครฝกอบรม ก็มีหลายสื่อดวยกันที่จะ 

พอใหแนวทางและชวยการตดัสินใจแกผูมารับสมัครฝกอาชีพได เชน สือ่รูปแบบ วีดิทศัน ที่ นําเสนออาชีพตางๆ กิจกรรมการทํางานของอาชีพตางๆ ในสถานที่จริง 

•  สื่อเอกสารที่มเีนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมการฝกและงานตางๆ ที่เกีย่วของในแตละสาขา อาชีพ 

•  เว็บไซตเกี่ยวกับกิจกรรมการฝก ซึ่งถายจากสถานทีฝ่กจริง •  สื่อนําเสนอกิจกรรมการฝกหรือ นําเสนอผูที่ประสบความสําเร็จในการประกอบอาชีพ 

ตางๆ หลังผานการฝกอบรมจากกรมพัฒนาฝมอืแรงงาน  หรือผูที่ประสบความสําเร็จในการ ประกอบอาชพีที่เกี่ยวตางๆ เปนตน เพือ่เปนการสรางขวัญและกําลังใจใหแกผูมาเขารับสมัคร ฝกอบรมไดดเูปนแนวทางและสรางความเชือ่มั่นวาจะสามารถฝกจนประสบผลสําเร็จในหลกัสูตรที่ ตนเองเลือก 

ภาพที่ 5.5 แสดงสือ่แนะแนวอาชีพและแนะแนวการฝกประเภทชดุการฝก

Page 10: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

ภาพที่ 5.6 แสดงสือ่แนะแนวอาชีพและแนะแนวการฝกประเภท CD ROM 

ภาพที่ 5.7 แสดงสือ่ที่ใชในการแนะแนวการฝกทกัษะฝมอื 

การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance) ในกระบวนการพัฒนาฝมอืแรงงานยังตองเกี่ยวของกับการแนะแนวอาชีพซึ่งเปน 

กระบวนการสําคัญสําหรับการใหความชวยเหลือใหผูเขารบัการฝกเตรียมความพรอมกอนเขาสูโลก ของการทํางานตอไป ซึ่งมผีูใหคําจัดความและใหความหมาย พอสรุปไดดังนี้

Page 11: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

กองสงเสริมการมีงานทํา  กรมการจัดหางาน(2552) ไดใหความหมายไววา  การแนะแนว อาชีพ(Vocational Guidance) เปนกระบวนการเพือ่สงเสริมใหบุคคลตดัสนิใจเลอืกประกอบอาชีพ ไดตรงกับความถนดั ความสนใจ บุคลิกภาพ และทักษะ ของตนเอง และใหสอดคลองกับความ ตองการของตลาดแรงงาน 

การแนะแนวอาชีพ เปนกระบวนการเพือ่สงเสริมใหบุคคลตัดสินใจเลือกประกอบอาชพีได ตรงกับความถนัด ความสนใจ บุคลกิภาพ และทกัษะ ของตนเอง และใหสอดคลองกับความตองการ ของตลาดแรงงาน  (กองสงเสริมการมีงานทํา กรมจัดหางาน, 2552) 

ภาพที่ 5.8 แสดงการฝกอบรมอาชีพ 

การบริการแนะแนวอาชีพของกรมการจัดหางาน คือการใหขอมูล การแนะแนว แนะนํา หรอื บริการใหคําปรึกษา ซึ่งดําเนินการโดยกรมการ 

จัดหางานจะใหบริการในเรือ่ง ตาง ๆ ดังนี้ -  ขอมูลขาวสารตลาดแรงงาน -  ขอมูลอาชีพ -  แนวทางในการตัดสินใจเลอืกอาชีพ -  การใหคําปรกึษาดานอาชีพผูอยูในกรุงเทพมหานคร ที่ตองการใชบริการ สามารถติดตอไดที่ 

สํานักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 และผูทีอ่ยูตางจังหวัดติดตอไดทีส่ํานักงานจัดหางานทุกจังหวัด -  ศนูยขอมลูอาชพี 

หลักการสําคัญของการแนะแนวอาชีพ การแนะแนวอาชีพมีหลกัการวา หากบุคคลใดไดศกึษาหรือทํางานที่ตรงกับความถนัด ความ 

สนใจ และอุปนิสยัใจคอแลว เขายอมมีความสขุและ สามารถปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธภิาพกวา

Page 12: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

การที่ตองปฏิบัติงานในสิ่งที่ไมชอบ ไมถนัด หรอืไมเหมาะสมกับอุปนิสัยของตน ดังนั้น ในการ แนะแนวอาชีพ จึงตองคํานึงถึงหลกัการสําคัญดังตอไปนี้ คอื 

1. การแนะแนวอาชีพ เปนการพัฒนาคนใหมีความสามารถ และมีโอกาสใช ศกัยภาพของ ตนอยางเต็มที่ ในการผลิตงานที่จะกอใหเกิดประโยชนแกสังคม และทําใหบุคคลนัน้เกิดความสุข จากความสําเร็จในการทํางาน 

2. การแนะแนวอาชีพ เปนกระบวนการตอเนือ่งโดยมีขั้นตอนตั้งแตการชวยบุคคลให 2.1 รูจักตนเองวาตนมคีวามถนดั มีความสนใจ มีความสามารถ บคุลิกภาพเปนเชนไร จะ 

ไดเลอืกงานไดถูกตอง 

2.2 รูจักขอมลูทางอาชีพอยางกวางขวางและแจมแจงวา อาชีพตาง ๆ มลีกัษณะอยางไร ตองการคนที่มีคณุสมบตัิอยางไรบาง และมีทศันคติที่ดีตอ สัมมาชีพ 

2.3 รูจักตัดสนิใจเลอืกอาชีพทีเ่หมาะสมกับตน โดยพิจารณาโอกาส ความเปนไปไดทั้ง ดานคณุสมบตัิของตนเองและความตองการดานกําลังคนใน อาชีพนัน้ ๆ 

2.4 ไดมีโอกาสศึกษา ฝกฝน อบรม หรือไดสัมผสัอาชีพนั้น ๆ ตามความเหมาะสมกับวัย เพื่อใหเกิดทักษะ ความสามารถที่จะออกไปประกอบอาชีพได ทันที หรือในบางกรณี เพื่อเปนการ สรางพื้นฐานและเพือ่เปนการเตรียมตัวสาํหรับการประกอบอาชีพของตนในอนาคต โดยมกีารศกึษา ฝกฝนเพิ่มเติม 

2.5 การแนะแนวอาชีพเปนกระบวนการทีต่องการความรวมมือจากทกุ ๆ ฝาย การ จัดบริการแนะแนวอาชีพในสถานศกึษาจําเปนตองอาศัยความรวม มือจากบุคคลทกุฝาย ใน สถานศึกษานัน้ และหนวยงานอื่นทีเ่กี่ยวของ ตลอดจนความรวมมือของชุมชนในทองถิน่ที่ สถานศึกษาหรอืหนวยงานนัน้ตั้งอยู จึงจะ ทําใหงานแนะแนวอาชพีเกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธผิลครอบคลุมในทุกดาน 

2.6 การแนะแนวอาชีพเปนกระบวนการที่มุงใหบุคคลตัดสินใจดวยตนเอง โดยยึดหลัก ในเรือ่งของการใหบุคคลเปนผูกําหนดชีวิตของตน 

2.7 มีงานทําหลังจากสําเร็จการศึกษา ซึ่งจะเปนอาชีพอสิระหรอือาชพีรับจางแลวแต กรณี

Page 13: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

10 

2.8 ไดรับการดแูลและตดิตามผล หลังจากที่จบการศึกษาออกไป ประกอบอาชีพแลว วาบุคคลนัน้ ๆ มีความสามารถเหมาะสมกับงานเพียงใด สามารถ ปรับตัวใหเขากับงานไดหรอืไม ไดทํางานตรงตามความรูความสามารถหรอืไม เพียงใด ควรมีการแกไขหรอืปรับปรุงในดานใดบาง ทั้งนี้ ควรมีโครงการตอ เนือ่งในการเพิ่มพูนความรู ความสามารถ ระหวางปฏิบัติงาน (In Service Training) ดวย 

ประโยชนของการแนะแนวอาชีพ 1. รูจักเลือกอาชีพทีเ่หมาะสมกับความสามารถของตน เชน ความถนัด ความสามารถ ความ 

สนใจ บุคลกิภาพ ความตองการของตนเอง เปนตน 

2. ใหรูจักโลกของงานอาชีพ เชน อาชีพตาง ๆ ทีอ่ยูในชุมชนนั้น ๆ ลักษณะงานของอาชีพ คุณสมบัติของบคุคลที่จะประกอบอาชีพ หรืองานยอยในอาชีพ ตาง ๆ ความกาวหนา รายได ความ มั่นคง การฝกอบรมที่จะเขาสูอาชีพตาง ๆ 

3. ใหรูจักเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ เชน การเขารบัการอบรมในอาชพีตาง ๆ เพือ่ใหมี ความรูความสามารถในอาชีพนั้น ๆ เชน การซอมคอมพิวเตอร การแสวงหางาน การสมัครงาน การ เขารับการสัมภาษณ เปนตน 

ภาพที่ 5.9 แสดงการฝกอบรมอาชีพจัดสวน 

ความสําคัญของการเลอืกอาชีพ เนือ่งจากอาชีพมีความสําคัญตอมนษุยมากดังที่ไดกลาวมาแลว การเลือกประกอบอาชพีจึงมี 

ความสําคัญตอมนุษยเปนอนัมาก ในสังคมของเรามีอาชีพ มากมายหลายชนิด เชน อาชีพนกัแสดง นักธุรกิจ และนักวิทยาศาสตร เปนตน อาชีพแตละอาชีพกม็ีความแตกตางกันมาก อาชีพบางอยางก็ อาจเหมาะสมกับ บุคลกิภาพคนหนึ่ง แตกอ็าจมาสอดคลองกับบุคลิกภาพของอีกคนหนึ่ง การเลือก

Page 14: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

11 

ประกอบอาชพีใหเหมาะสมกับบคุลกิภาพ ความสนใจ ความถนัดของแตละ บุคคล จึงมีความสําคัญ มาก คนทีเ่ลอืกประกอบอาชีพทีเ่หมาะสมกับตน ยอมกอใหเกดิความเพลิดเพลินและเกดิความสขุใน การทํางานและยังมีโอกาสที่ จะประสบความสําเร็จในการประกอบอาชพีมาก ในทางตรงขาม ถา บุคคลประกอบอาชีพที่ไมเหมาะสมกับตนเองแลว ก็จะเกิดความเบื่อหนายในการทํางาน เนือ่งจาก คนเราตองใชเวลาประกอบอาชีพภายหลังจากการศึกษาเปนเวลาชานาน ซึ่งการที่จะตองอดทนตอ กิจกรรมที่นาเบือ่หนายเปนระยะเวลาอันแสนนาน เชนนี้ จึงทําใหชีวิตของคนไมมคีวามสุข การ ประกอบอาชพีที่ไมเหมาะสม หรือไมสอดคลองกับบุคลกิภาพ ความสนใจความถนดั นอกจากมี โอกาสประสบ ความสําเร็จในการประกอบอาชีพนอยแลว ยังเปนการทรมานชีวิตอยางหนึ่งอกีดวย 

การเลอืกประกอบอาชีพที่ไมเหมาะสมกับตนเองยังกอใหเกดิผลเสียตอประเทศชาตเิปนอัน มากอกีดวย ดังนั้น การประกอบอาชีพเกือบทกุชนดิจะตอง มีการเตรียมตัว คือ การศกึษาเลาเรียน อาชีพบางอยางตองใชเวลาในการศกึษาเลาเรียนหลายป จึงควรจะตองมีการศกึษาการประกอบ อาชีพอยางรอบคอบ 

จากที่กลาวมาพอสรุปไดวา ในการแนะแนวการฝกซึ่งเปนกิจกรรมในกระบวนการ ฝกอบรมของกรมพัฒนาฝมอืแรงงานนั้น จําเปนอยางยิ่งที่จะตองมกีารออกแบบและพัฒนาสือ่การ แนะแนวและเครือ่งมอืสําหรับวัดและประเมินความตองการ ความถนัดและความสนใจในอาชีพ หรือความสนใจในการฝกอบรมในสาขาอาชีพตางๆ ของผูมารับสมัครเพือ่เขารับการฝกอยาง แทจริง เพือ่ใหการฝกอบรมไดบรรลตุามวัตถุประสงคและผูเขารับการฝกประสบผลสําเร็จในการ ฝกและสามารถพัฒนาตนเองจนประกอบอาชีพไดในอนาคต ดังนั้นจึงตองมีเครือ่งมอืสําหรับเก็บ ขอมลูและนําไปใชในการวิเคราะหผล เพื่อใหการแนะแนวทางการฝกดําเนินไปไดอยางมี ประสิทธิภาพ ตอไป

Page 15: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

12 

เอกสารและสิ่งอางอิง วัชรี  ทรัพยมี (2531). การแนะแนวในโรงเรียน. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพไทย 

วัฒนาพานิช, 

ทศพร  ประเสรฐิสุข (2549).จิตวิทยาการแนะแนว.[Online].Available:http://www.escd.or.th/ escd/escd_training/2006/escd_ex/executive_2.49/psychology.doc.,11/11/2552. 

กองสงเสริมการมีงานทํา  กรมการจัดหางาน(2552). การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance). [Online].Available:http://www.waknowledge.com/readarticle.php?article_id=59.,11/11/2 552. 

กลุมงานพัฒนาระบบการฝก (2553).เปรียบเทียบรูปแบบการฝกแบบเนนเนื้อหาวิชากับรูปแบบที่เนน สมรรถนะ. สํานักพัฒนาผูฝกและเทคโนโลยกีารฝก.กรมพฒันาฝมือแรงงาน. [Online]: Available.http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/index.php?option=com_content& view=article&id=10&Itemid=15.,เปดอาน 12/03/2553.)

Page 16: การแนะแนวการฝึก (Training Guidance)

คณะดําเนินการ

ที่ปรึกษา

๑.นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน

๒.นายประพันธ มนทการติวงศ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน

๓.นายประวิทย เคียงผล รองอธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน

๔.หมอมหลวงปุณฑริก สมิติ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝมือแรงงาน

๕.นายสนัโดษ เต็มแสวงเลศิ ผูอํานวยการสํานักพัฒนาผูฝกและเทคโนโลยีการฝก

ผูจัดทํา

๑.นายณรงค ฉ่ําบุญรอต นักวิชาการพัฒนาฝมือแรงงานชํานาญการพิเศษ

๒.นายคมธัช รัตนคช นักวิชการพัฒนาฝมือแรงงานชํานาญการ

๓.นายดนุพล คลอวุฒินันท นักวิชการพัฒนาฝมือแรงงานปฏิบัติการ