Top Banner
Ref. code: 25595701033044LBK การขายทอดตลาดออนไลน์ โดย นางสาวรวยรื่น พรวัฒนวิชัย วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
173

Öø×÷ìéêúéî úîdethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016... · 2018. 5. 8. · Ref. code: 25595701033044LBK Öø×÷ìéêúéî úîd é÷ îÜÿüøü÷ø îðóøüçîü

Jan 31, 2021

Download

Documents

dariahiddleston
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
  • Ref. code: 25595701033044LBK

    การขายทอดตลาดออนไลน์

    โดย

    นางสาวรวยรื่น พรวัฒนวิชัย

    วิทยานิพนธน์ี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ

    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559

    ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    การขายทอดตลาดออนไลน์

    โดย

    นางสาวรวยรื่น พรวัฒนวิชัย

    วิทยานิพนธน์ี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร นิติศาสตรมหาบัณฑิต

    สาขากฎหมายธุรกิจ

    คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ์ปีการศึกษา 2559

    ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    E-AUCTION

    BY

    MISS RUAYRUEN PORNVATANAVICHAI

    A THESIS SUBMITTED IN PARTIALFULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS

    FOR THE DEGREE OFMASTER OF LAWS BUSINESS LAW

    FACULTY OF LAW THAMMASAT UNIVERSITY

    ACADEMIC YEAR 2016 COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY

  • Ref. code: 25595701033044LBK

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (1)

    บทคัดย่อ

    การขายทอดตลาดเป็นการจ าหน่ายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่มีการน าเสนอขายสินค้าต่อ

    สาธารณะในลักษณะ Public Sale ท าให้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีการบัญญัติกฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญา ซึ่งมีการรับรองความมีผลของสัญญา สิทธิ หน้าที่ ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดต่างไปจากการซื้อขายทั่วไป เมื่อมีการน าเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้กับการขายทอดตลาดท าให้ลักษณะการด าเนินการบางประการในการขายทอดตลาดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเคาะไม้ การตรวจดูทรัพย์สินก่อนเข้าสู้ราคา หรือรูปการแสดงเจตนาที่เปลี่ยนจากการแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้ามาเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง กรณีจึงน ามาสู่ปัญหาการพิจารณาสถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ และสิทธิ หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องว่าจะน าบทบัญญัติลักษณะใดมาใช้บังคับรวมถึงความเหมาะสมของบทบัญญัติที่มีอยู่

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมุ่งน าเสนอให้เห็นถึงปัญหาที่ส าคัญของการขายทอดตลาดออนไลน์ โดยผู้เขียนจะได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายและแนวทางแก้ไขของประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมัน ซึ่งในแต่ละประเทศล้วนเห็นถึงปัญหาของการขายทอดตลาดออนไลน์ จึงได้มีการก าหนดและตีความกฎหมายโดยมุ่งให้ความส าคัญกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ เสียเปรียบยิ่งกว่าเป็นส าคัญโดยเฉพาะผู้บริโภค ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาของแต่ละประเทศจะใช้วิธีการที่แตกต่างกันไปตามภูมิหลังของสังคม กฎหมาย จารีตประเพณีที่มีมาแต่เดิมและสภาพปัญหาที่แต่ละประเทศได้เผชิญ ซึ่งวิทยานิพนธ์เล่มนี้จะได้น าเสนอให้เห็นถึงปัญหา 5 ประการดังนี้

    1. สถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ ซึ่งแม้ทุกประเทศจะไม่มีการนิยามความหมายของการขายทอดตลาดไว้ แต่ก็เห็นไปในแนวทางเดียวกันว่าการขายทอดตลาดต้องมีสาระส าคัญคือการเสนอขายต่อสาธารณะ โดยในญี่ปุ่นไม่มีการนิยามความหมายของการขายทอดตลาดหรือก าหนดให้บทบัญญัติต่างๆที่ใช้กับการขายทอดตลาดว่าให้น ามาใช้บังคับกับการขาย

    หัวข้อวิทยานิพนธ์ การขายทอดตลาดออนไลน ์ชื่อผู้เขียน นางสาวรวยรื่น พรวัฒนวิชัย ชื่อปริญญา นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา/คณะ/มหาวิทยาลัย กฎหมายธุรกิจ

    นิติศาสตร ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ์

    อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ศาสตราจารย์ดร. สหธน รัตนไพจิตร ปีการศึกษา 2559

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (2)

    ทอดตลาดที่ด าเนินการด้วยวิธีออนไลน์ด้วยหรือไม่ แต่เนื่องจากการด าเนินการขายทอดตลาดของผู้ทอดตลาดเป็นเพียงวิธีการซื้อขายสินค้าที่มีตัวแทนเข้ามาช่วยในการขาย ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้วิธีการขายแบบเดิมหรือแบบออนไลน์ สถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดนี้ก็ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่อังกฤษและเยอรมันได้มีการรับเอานิยามความหมายของการขายทอดตลาดซึ่งก าหนดไว้ใน DIRECTIVE 2011/83/EU มาบัญญัติเป็นกฎหมายภายในของตนแล้ว แต่นิยามนั้นก็ยังมิได้ชัดเจนถึงขนาดชี้ชัดว่าหมายรวมถึงการขายทอดตลาดออนไลน์หรือไม่ เพราะหากครบองค์ประกอบทั้งสามประการแล้ว การขายทอดตลาดออนไลน์ก็เป็นการขายทอดตลาดได้

    อย่างไรก็ตาม อารัมภบทข้อ 24 ของ DIRECTIVE ฉบับดังกล่าวก าหนดให้การขายทอดตลาดหมายถึงการขายทอดตลาดแบบเดิมเท่านั้น ดังนั้น การตีความการขายทอดตลาดจึงต้องพิจารณาถึงแนวปฏิบัติ แนวค าพิพากษา เจตนารมณ์และความมุ่งหมายของเรื่องนั้นๆประกอบกันด้วย กรณีจึงถือได้ว่าการขายทอดตลาดออนไลน์ในอังกฤษและเยอรมันไม่เป็นการขายทอดตลาด แต่เป็นเพียงนิติกรรมการซื้อขายออนไลน์อย่างหนึ่ง บทบัญญัติในเรื่องการขายทอดตลาดจึงไม่น ามาใช้บังคับกับการขายทอดตลาดออนไลน์ แต่ให้น าบทบัญญัติในเรื่องซื้อขายทั่วไปและซื้อขายออนไลน์มาใช้บังคับ

    2. การที่ผู้ซื้อหรือผู้เข้าสู้ราคาไม่มีโอกาสในการตรวจดูทรัพย์สินก่อนตัดสินใจเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดออนไลน์เหมือนอย่างการขายทอดตลาดแบบเดิม จึงน ามาสู่ประเด็นที่สอง ในเรื่องความรับผิดเพื่อความช ารุดบกพร่องของผู้ขาย ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 473(3) ก าหนดให้ผู้ขายไม่ต้องรับผิดเพื่อความช ารุดบกพร่องกรณีการซื้อสินค้ามาจากการขายทอดตลาดไม่ว่าจะเป็นการขายทอดตลาดเพื่อบังคับช าระหนี้หรือในภาคธุรกิจ หากน าบทบัญญัติในส่วนนี้มาใช้กับการขายทอดตลาดออนไลน์ เห็นได้ว่าจะไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งส าหรับผู้ซื้อทอดตลาด โดยเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบปัญหาในข้อนี้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ พบว่าในปัจจุบัน ญี่ปุ่นได้มีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาการซื้อขายสินค้าผิดกฎหมายจากการขายทอดตลาดซึ่งรวมถึงการขายทอดตลาดออนไลน์ด้วย โดยกฎหมายฉบับนี้ของญี่ปุ่นได้มีการก าหนดหน้าที่และความรับผิดให้กับผู้ขายทอดตลาดมากขึ้นกว่าความรับผิดทั่วไปในสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น

    ในอังกฤษและเยอรมันมีแนวค าพิพากษาที่ชัดเจนถึงการน าบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับส าหรับกรณีปัญหาความรับผิดเพื่อความช ารุดบกพร่อง ที่ต่างก็ใช้หลักความรับผิดส าหรับกรณีซื้อขายออนไลน์กับการขายทอดตลาดออนไลน์ ประกอบกับบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดของผู้ขายในการขายทอดตลาดในต่างประเทศส่วนใหญ่มีการระบุชัดเจนให้ยกเว้นความรับผิดของผู้ขายในความช ารุดบกพร่องเฉพาะการขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีหรือเฉพาะกรณีผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินแล้ว การขายทอดตลาดในทางธุรกิจที่ผู้ซื้อไม่ได้มีโอกาสในการตรวจดูทรัพย์สินก่อน จึงเป็นไปตาม

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (3)

    หลักความรับผิดโดยทั่วไป การใช้และตีความกฎหมายในประเด็นนี้ในต่างประเทศจึงไม่จ าต้องออกกฎหมายใหม่เป็นการเฉพาะแต่อย่างใด

    3. การขายทอดตลาดออนไลน์เป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางอย่างหนึ่ง ที่ต่างประเทศก็ได้ให้ความส าคัญกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในส่วนนี้และไทยเองก็ได้รับเอากฎหมายของต่างประเทศเป็นต้นแบบในการก าหนดพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 แต่เมื่อพิจารณานิยามการตลาดแบบตรงในกฎหมายฉบับนี้ประกอบกับความเห็นทางวิชาการแล้ว กลับพบว่ามีลักษณะเป็นการจ ากัดการตีความที่ค าเสนอต้องมาจากฝ่ายผู้ขายเท่านั้น ซึ่งมีผลท าให้การขายทอดตลาดออนไลน์ไม่อาจจัดอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ดังนั้น การขายทอดตลาดออนไลน์ จึงไม่มีกฎเกณฑ์ใดบังคับให้ผู้ขายต้องให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค ไม่มีการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการบอกเลิกสัญญาเมื่อพบว่าสินค้าที่ตนชนะการสู้ราคาไม่ตรงกับที่ผู้ขายน าเสนอในค าโฆษณาการขายทอดตลาด โดยเมื่อพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศพบว่ามีการก าหนดและตีความการขายทอดตลาดออนไลน์ให้เป็นการซื้อขายออนไลน์อย่างหนึ่ง ซึ่งท าให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองและสามารถใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาภายหลังได้รับสินค้าโดยไม่จ าต้องปรากฎเหตุในการผิดสัญญาใดๆได้ ดังนั้น การตีความกฎหมายฉบับนี้จึงควรใช้และตีความไปตามกฎหมายต้นแบบและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กฎหมายมุ่งให้ความคุม้ครองด้วย

    4. เมื่อได้พิจารณามาแล้วว่าการขายทอดตลาดออนไลน์ควรอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรงพ.ศ. 2545 ปัญหาที่ควรวินิจฉัยอีกประการหนึ่งคือ การน าบทบัญญัติในเรื่องการขายซ้ าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ ซึ่งความมุ่งหมายของกฎหมายในเรื่องการขายซ้ ามีเพื่อคุ้มครองผู้ขายทอดตลาด ในขณะที่สิทธิในการเลิกสัญญาตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรงพ.ศ. 2545 มีเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภค โดยในต่างประเทศพบว่าไม่มีบทกฎหมายในเรื่องการขายซ้ าก าหนดไว้แต่ประการใด ดังนั้น หากผู้ซื้อในการขายทอดตลาดไม่ช าระราคา กรณีจึงต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายในเรื่องสัญญาทั่วไป

    ในประเด็นนี้ผู้เขียนได้แยกพิจารณาเป็น 3 กรณี โดยการแยกพิจารณาท าให้เห็นได้ว่าสิทธิในเรื่องการขายซ้ ากับสิทธิในการเลิกสัญญาของผู้บริโภคเป็นคนละเรื่องกัน แม้โอกาสในการน าบทบัญญัติในเรื่องการขายซ้ ามาใช้กับการขายทอดตลาดออนไลน์จะเกิดขึ้นได้ในช่วงสั้นๆ คือช่วงเวลาก่อนมีการช าระเงินอันเป็นเงื่อนไขส าคัญของการส่งมอบทรัพย์สินในการขายทอดตลาดออนไลน์ แต่ก็มิใช่กรณีที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยเพราะหากผู้ซื้อไม่ช าระราคา ผู้ขายทอดตลาดก็ควรได้รับความคุ้มครองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นตามหลักกฎหมายในเรื่องการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะการขายทอดตลาดมีวิธีการ โอกาส ความเสี่ยงและต้นทุนที่แตกต่างไปจากการซื้อขายทั่วไป ดังนั้น หากผู้ขายทอดตลาดได้รับความเสียหายเพราะผู้ซื้อทอดตลาดไม่ช าระราคา

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (4)

    แล้ว แม้จะเป็นการขายทอดตลาดออนไลน์ ผู้ขายก็สามารถน าทรัพย์สินออกขายซ้ าและเรียกให้ผู้ซื้อเดิมช าระราคาในส่วนที่ขาดไปเพราะการขายซ้ าได้

    5. เมื่อการขายทอดตลาดและการขายทอดตลาดออนไลน์เป็นสัญญาซื้อขายอย่างหนึ่งที่บทบัญญัติส่วนใหญ่มิใช่เรื่องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงสามารถตกลงเป็นอย่างอื่นได้ ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ผู้ขายทอดตลาดและผู้ทอดตลาดในการขายทอดตลาดออนไลน์ที่ป็นผู้ประกอบการมักมีการจ ากัดหรือยกเว้นความรับผิดของตนไว้ในลักษณะสัญญาส าเร็จรูป ผู้สู้ราคาและผู้ซื้อทอดตลาดโดยเฉพาะที่เป็นผู้บริโภคจึงไม่อาจปฏิเสธการยอมรับเงื่อนไขเหล่านี้ได้เลย แม้จะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 วางหลักเกณฑ์ควบคุมข้อสัญญาในสัญญาผู้บริโภคไว้ แต่ส าหรับสัญญาที่คู่สัญญามีสถานะเท่าเทียมกันกลับไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายเหล่านี้ และไม่มีบทกฎหมายหรือองค์กรใดเข้าก ากับดูแลขอบเขตของการก าหนดข้อตกลงในสัญญาไว้ ดังนั้น เพื่อเป็นหลักประกันและความมั่นใจให้แก่คู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง จึงควรก าหนดให้หน่วยงานของรัฐเข้าก ากับดูแลกิจการขายทอดตลาดออนไลน์ โดยก าหนดหน้าที่บางประการแก่ผู้ให้บริการเว็บไซต์ อันมีลักษณะเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาปญัหา 5 ประการที่กล่าวมาแล้วและเสนอแนวทางการแก้ไข

    โดยวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความชัดเจนเหมาะสมยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการใช้

    และตีความกฎหมายที่มีอยู่ใหส้อดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเรื่องเพ่ือเป็นการลดและป้องกันปัญหาที่

    อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากการขายทอดตลาดออนไลน์ได้

    ค าส าคัญ: ขายทอดตลาด, ออนไลน์, ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, การตลาดแบบตรง, การขายทอดตลาด

    ทางอินเทอร์เน็ต

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (5)

    ABSTRACT The auction is selling assets one presented by appearance in the Public

    Sale, cause to Civil and Commercial law is enacted to the individuality contract which certify the binding of auction contract, rights, duties of those associated is different from general trading. Adopting the Internet technology to the auction proceeding, make some characteristic of auction different from the traditional auction. Whether a fall of hamper, an examination of the property prior to compete on price or type of the declaration of intention change from face to face presence to the distance presence. The case was brought to the consideration of the legal status of the online auction and the rights and duties of those related to bring provisions in any way to apply including the suitability of existing provisions.

    This thesis focuses on the major problems of online auction. An author would study and compare with the law and solution of Japan, England and Germany, each country has the problems of online auction. It has been defined and interpreted the law by focusing on the protection of the rights of those who lose the advantage especially the consumers. The method to solving problem in each country is different according to the background of the social, law, customary with originally, and problems that each country has to confront. This thesis proposes the main 5 problems as follows;

    1. The legal status of the online auction which even every country there will be no definition of the meaning of the auction. But all agree that the most

    Thesis Title E-AUCTION Author Miss RuayruenPornvatanavichai Degree Master of Laws Major Field/Faculty/University Business Law

    Law Thammasat University

    Thesis Advisor Professor SahathonRattanaphaichit, Ph.D. Academic Years 2016

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (6)

    significant is offer for sale to the public. In Japan, there is no definition of the auction or defined the status of online auction. However, due to the operation of the auctioneer, the auction is the only way of dealing with its agent to assist in the sale so that either traditional or online sales. The legal status of the auction was no different. While England and Germany have embraced the definition of the auction which is defined in DIRECTIVE 2011/83 /EU into its internal law but the definition is not clear enough whether it is include online auction or not. Because of complete all three elements, the online auction could be an auction.

    However, the introduction number 24 of this DIRECTIVE specified the meaning of an auction focus only for the traditional auction. Therefore, the interpretation of an auction must consider as the practice, the judgment, the intention and purpose of the Law. It can be considered that online auction in England and Germany is not an auction but being a trading online. The provisions of traditional auction will not apply to online auction but shall be the general trading and online trading.

    2. The buyer or the bidder has not had a chance to examine the goods before the contract is made as traditional auction. It led to the second issue which is the liability for the defect of the seller. The civil and commercial code, Section 473 (3) enact the Seller shall not liable for the defect of goods from the auction, whether it is auction in execution or in business. If this provision use in an online auction, it absolutely not fair for the buyer. By considering this issue on foreign country, found that Japan has specific legislation to solve problem on trading illegal goods from the auction, which includes an online auction. According to this law, Japan has set the duty and liability to the seller more than general liability of sale contract on the Civil law of Japan.

    England and Germany have the clearly judgment on the relevant provisions applicable for the case of liability to defect. Each country has use liability principles for online trading to an online auction. According to the provisions on except liability of the seller in traditional auction in foreign country have used only for the case of execution auction or buyers have opportunity to examine the goods before the contract is made. Therefore, the liability of the seller on commercial

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (7)

    auction which the buyers do not have the opportunity to examine the goods before contract is made shall according to the principal of general liability. So, the use and interpretation of the law in this aspect in a foreign country is not need to legislate new specifically.

    3. The online auction is an offer to person away by a distance. The foreign country has given priority to the protection of consumer rights in this section and Thailand have also been taken the law of foreign country as a model of the Direct Sales and Direct Marketing Act B.E. 2545, but considering the definition of marketing sale in this law together with the academic opinion. It was found that there are limited interpretation of the tender offer must come from the vendor. As a result, the online auction does not under this law. So, there are no rules forcing sellers to provide information to the consumers, no protection of consumer rights to terminate the contract when the highest bidder find out that the product not as good as the seller advertise. As consider, the relevant laws of foreign countries are defined and interpreted an online auction as the online trading. This makes consumers are protected and have the right to terminate the contract after receiving the product without visible result in the breach of any contract, so the interpretation of this law should be applied and interpreted following the model law and the purpose of the legislation intended to protect.

    4. As a result of considering the online auction should be under the Direct Sales and Direct Marketing Act B.E. 2545. Another problem to be diagnosed is the bringing provisions of renew auction process on Civil and Commercial Code to the online auction where the intent of the law in regarding to protect seller while the right to termination under the Direct Sales and Direct Marketing Act B.E. 2545 is meant to protect the buyer who is a consumer. In foreign countries, found that there are no laws in regard to the renew auction process. Therefore, if the buyer does not pay the price, the case must be in accordance with the general provisions of sale contract.

    In this issue, the author has considered splitting into 3 cases. The consideration can be include that the right of renew auction and the right to terminate are different issues. However, even the opportunity to bring the provisions

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (8)

    of renew auction to an online auction will occur in a short period of time before paying the price which is the important term of online auction but this case might possible as if the buyer does not pay the price, the seller should be protected by the law in auction according to the Civil and Commercial Code. Because of the seller in auction have a method, opportunity, risk and cost that are different from the general trading. If the seller has been default by the buyer did not pay the prices at auctions even the online auction. The seller can renew auction process and request the original buyers paid absentee rates from the renew auction.

    5. Sales by auction and online auction are the sale contract that the majority are not related to the public order and good morals which can agree otherwise. The entrepreneurs of Web Hosting, Seller and the auctioneer in online auction are often limited or except their liability in their standard form contract. So, the bidders and the buyers at auction, especially as a consumer could not refuse to accept these terms and conditions. Although the Consumer Protection Act B.E. 2522 and the Unfair Contract Term Act B.E.2554 enact the rules to control consumer contract, but the contract between the parties who have equal status was not under these law and does not be enforced from any provision or any organization supervise and scope their contract. Therefore, to guarantee and create confidence to the involved parties, state agency should be assign to supervise online auction business and specify some duty to the Web Hosting for online auction transaction which is one approach to promote the electronic transactions.

    This thesis focuses on the study as mentioned above and offer solutions by way of amending the law to clear more proper together with proposes the application and interpretation of the existing law in accordance with the purpose to reduce and prevent the problems that may occur in the future from the online auction. Keywords: Auction, Online, Electronic transaction, Direct marketing, Internet auction.

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (9)

    กิตติกรรมประกาศ

    วิทยานิพนธ์เล่มนี้ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลือของท่านอาจารย์ศาสตราจารย์ ดร. สหธน รัตนไพจิตร ซึ่งได้กรุณารับเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้เขียน ได้ให้ความเมตตาและเสียสละเวลาอันมีค่าเพื่อให้ค าปรึกษา ชี้แนะ และข้อคิดเห็นต่างๆแก่ผู้เขียนมาโดยตลอด นอกจากนั้น ผู้ เขียนขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ศาสตราจารย์ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ท่านอาจารย์ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ และท่านอาจารย์เสถียร รุ่งทองค ากุล ที่กรุณาสละเวลาอันมีค่าเป็นกรรมการสอบ พร้อมทั้งชี้แนะและเสนอแนวทางการจัดท าวิทยานิพนธ์เล่มนี้ให้ออกมาอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นและเกิดประโยชน์แก่วงการธุรกิจขายทอดตลาดออนไลน ์

    นอกจากคณาจารย์ดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนขอขอบคุณเจ้าหน้าที่กรมการปกครองฝ่ายงานทะเบียนการขายทอดตลาดและค้าของเก่า เจ้าหน้าที่นิติกรส านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่าในการพูดคุยและตอบข้อซักถามของผู้เขียนเพื่อเป็นความรู้และน ามาสู่การพัฒนาแนวทางการจัดท าวิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้ส าเร็จลุล่วง

    ขอกราบขอบพระคุณบิดา มารดาและพี่สาวอันเป็นที่รักยิ่งของผู้เขียน ที่คอยสนับสนุนเสริมสร้างขวัญและก าลังใจแก่ผู้เขียน ขอขอบคุณพี่มานะชัย ขาวประพันธ์ผู้ร่วมงานของผู้เขียนที่เข้าใจและสนับสนุนการศึกษาของผู้เขียนตลอดระยะเวลาที่ร่วมงานกัน ขอขอบคุณน้องบงกช สังคเลิศคุณฐิรญาภักค์ อ านาจ และพี่ศุภพงศ์ ตันเงิน ที่คอยช่วยเหลือผู้เขียนในการจัดท าวิทยานิพนธ์จนส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีทุกประการ ผู้เขียนจะไม่สามารถส าเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและสร้างงานวิทยานิพนธ์นี้ส าเร็จได้เลยหากขาดการช่วยเหลือ สนับสนุนและก าลังใจส าคัญจากพวกท่านไป

    ประโยชน์หรือกุศลอันใดอันเกิดจากวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ผู้เขียนขอมอบให้แก่บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่าน ส่วนความบกพร่องใดๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียง ผู้เดียว

    นางสาวรวยรื่น พรวัฒนวิชัย

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (10)

    สารบญั หน้า

    บทคัดย่อภาษาไทย (1) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (5)

    กิตติกรรมประกาศ (9) สารบัญตาราง (14) รายการสัญลักษณ์และค าย่อ (15) บทที่ 1 บทน า 1

    1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหาและความส าคัญของปัญหา 1 1.2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา 5 1.3 สมมติฐานการศึกษา 6 1.4 ขอบเขตของการศึกษา 6 1.5 วิธีการด าเนินการวิจัย 6 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 7

    บทที่ 2 ความทั่วไปเกี่ยวกับการขายทอดตลาดออนไลน ์ 8

    2.1 ความเป็นมาของการขายทอดตลาดออนไลน์ 8 2.2 บุคคลที่กี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน ์ 12

    2.2.1 ผู้ขายทอดตลาด 12 2.2.2 ผู้ทอดตลาด 14 2.2.3 ผู้สู้ราคา 17 2.2.4 ผู้ให้บรกิารเว็บไซต ์ 18

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (11)

    2.3 รูปแบบของธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่น ามาใชก้ับการขายทอดตลาดออนไลน์ 19 2.3.1 การด าเนินการระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจ (B2B) 19 2.3.2 การด าเนินการระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) 19 2.3.3 การด าเนินการระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) 20

    2.4 รูปแบบการขายทอดตลาดออนไลน์บนหน้าเว็บไซต์ในปัจจุบัน 21 2.4.1 พิจารณาจากบทบาทของผู้ให้บริการช่องทางการขายทอดตลาดออนไลน์ 21 2.4.2 พิจารณาจากรูปแบบการช าระค่าธรรมเนียมแกผู่้ให้บริการเว็บไซต์ 23 2.4.3 พิจารณาจากเทคนิคทีผู่้ให้บริการใชใ้นการขายทอดตลาดออนไลน์ 25 2.5 ขั้นตอนและวิธีการส าคัญในขายทอดตลาดออนไลน์ 26 2.6 ข้อแตกต่างระหว่างการขายทอดตลาดออนไลน์กับธุรกรรมอื่น 30

    2.6.1 เปรียบเทียบกับการขายตามค าพรรณนา 31 2.6.2 เปรียบเทียบกับการขายทอดตลาด 33 2.6.3เปรียบเทียบกับการซื้อขายโดยการสู้ราคา 34

    บทที่ 3 กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการขายทอดตลาดออนไลน์ 36

    3.1 กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น 36 3.1.1 สถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ 36 3.1.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน ์ 39

    3.1.2.1 JapanCivil Code 39 3.1.2.2 Japan Commercial Code 40 3.1.2.3 The Consumer Contract Act 2000 40

    3.2 กฎหมายของประเทศอังกฤษ 41 3.2.1 สถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ 41 3.2.2 กฎหมายที่เกีย่วข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน ์ 48 3.2.2.1 The Sale of Goods Act 1979 48 3.2.2.2 The Unfair Contract Term Act 1977 49 3.2.2.3 The Consumer Right Act 2015 49 3.2.2.4 The Consumer Contract Regulations 2013 50 3.3 กฎหมายของประเทศเยอรมัน 53 3.3.1 สถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ 53

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (12)

    3.3.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน ์ 58 3.3.2.1 German Civil Code 58 3.3.2.2 German Commercial Code 59 3.3.2.3 Teleservice Act 60

    บทที่ 4 กฎหมายไทยเก่ียวกับการขายทอดตลาดออนไลน์ 62 4.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน ์ 62 4.1.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย ์ 62 4.1.2 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 73 4.1.3 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 77 4.1.4 พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 82 4.1.5 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 86 4.2 ปัญหาการปรับใช้กฎหมายไทยกับการขายทอดตลาดออนไลน์ 90 4.2.1 สถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ 90 4.2.2 ความรับผิดเพื่อความช ารุดบกพร่องของผู้ขายทอดตลาดออนไลน์ 98 4.2.3 การใช้สทิธิเลิกสัญญาของผู้ซื้อทอดตลาดออนไลน์ 101 4.2.4 การน ามาบทบัญญัติเรือ่งการขายซ้ ามาใช้กับการขายทอดตลาดออนไลน์ 105 4.2.5 ปัญหาขอบเขตการตกลงยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับ 111

    การขายทอดตลาดออนไลน ์ บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ 116

    5.1 บทสรุป 116

    5.2 ข้อเสนอแนะ 129

    บรรณานุกรม 135

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (13)

    ภาคผนวก 141

    ภาคผนวก ก ตัวอย่างข้อก าหนดและเงื่อนไขเว็บไซต์ผู้ให้บริการ 142 ขายทอดตลาดออนไลน์ ภาคผนวก ข ตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของผู้ให้บริการเว็บไซต ์ 147 ขายทอดตลาดออนไลน์ 7 แห่ง ภาคผนวก ค ตัวอย่างการโฆษณาการขายทอดตลาดพระเครื่อง 148 ภาคผนวก ง ตัวอย่างข้อก าหนดการเก็บค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมการสู้ราคา 150 ภาคผนวก จ ตัวอย่างบริการตรวจสอบและรับประกันพระเครื่องจาก 151 การขายทอดตลาดออนไลน ์ ภาคผนวก ฉ ตัวอย่างวิธีการสู้ราคา 152

    ประวัติผู้เขียน 154

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (14)

    สารบญัตาราง

    ตารางที่ หน้า 5.1 แสดงการเปรียบเทียบแนวทางการตีความและแก้ไขปญัหา 134 ในแต่ละประเด็นปัญหาส าหรับประเทศญี่ปุ่น อังกฤษและเยอรมัน 5.2 แสดงการเปรียบเทียบบทกฎหมายเดิมและข้อเสนอแนะในแต่ละประเด็น 140

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    (15)

    รายการสัญลักษณ์และค ายอ่ สัญลักษณ์/ค าย่อ ค าเต็ม/ค าจ ากัดความ ป.พ.พ. พรบ.

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติ

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    1

    บทที่ 1 บทน า

    1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

    การขายทอดตลาดเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการจ าหน่ายทรัพย์สินประเภทหนึ่ง

    โดยมีวิธีการตั้งและตกลงราคาที่ต่างไปจากการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทั่วไป ซึ่งการขายทอดตลาดนี้ท าให้ผู้ขายได้ทราบและขายสินค้าของตนในราคาที่สอดคล้องกับกลไกและความต้องการของสินค้านั้นๆในขณะนั้นได้อย่างแท้จริง ในขณะที่ฝ่ายผู้ซื้อก็จะได้การรับประกันว่าตนได้ซื้อสินค้านั้นมาด้วยวิธีการที่โปร่งใส ในราคาที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับกลไกการตลาด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ก าหนดบทบัญญัติรับรองนิติกรรมการขายทอดตลาดไว้เป็นการเฉพาะในบรรพ 3 ลักษณะ 1 หมวด 4 ส่วนที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งให้เกิดความชัดเจนในเรื่องวิธีการเกิดขึ้นของสัญญาหรือความบริบูรณ์ ทางกฎหมายส าหรับการขายทอดตลาดซึ่งมีลักษณะเป็นการน าเสนอการขายต่อสาธารณะ (Public Sale) อันแตกต่างไปจากการซื้อขายทั่วไปที่เป็นการเจรจาต่อรองกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (Private Sale) การขายทอดตลาดจึงเป็นวิธีการจ าหน่ายสินค้าหรือบริการที่มีการก าหนดราคาจากการสู้ราคาของฝ่ายผู้ประสงค์จะซื้อสินค้านั้นเป็นส าคัญ ราคาที่ได้มักเป็นราคาสูงสุดที่ผู้สู้ราคาได้เสนออันสะท้อนให้เห็นสภาวะความต้องการสินค้าของตลาดในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี

    การขายทอดตลาดในยุคแรกเริ่มมีการด าเนินการเพียงวิธีการเดียวคือให้ผู้ที่สนใจสินค้ามาอยู่รวมกัน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง มีการยกมือหรือป้ายเพื่อแข่งขันสู้ราคากันเพื่อให้ได้สินค้าที่น ามา ขายทอดตลาดนั้นๆ โดยผู้ขายและผู้ทอดตลาดมีนิติสัมพันธ์อย่างตัวการตัวแทน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นไปจากหลักกฎหมายในเรื่องตัวการ ตัวแทนเพราะในเรื่องการตั้งตัวแทนนั้น ผู้เป็นตัวการจ าต้องมีการแต่งตั้งหรือแสดงเจตนาแก่ตัวแทนก่อนเสมอ ไม่ว่าการแสดงเจตนานั้นจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย ต่อมาเมื่อสังคมมีการพัฒนาขึ้น มีการคิดค้นเทคโนโลยีและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่างๆเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายต่อคนในสังคมมากขึ้น ธุรกรรมต่างๆที่มีมาแต่อดีตรวมถึงการขายทอดตลาดจึงได้รับผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นที่มาของการน าระบบออนไลน์มาใช้กับการขายทอดตลาดและพัฒนาเป็นการขายทอดตลาดออนไลน์

    เว็บไซต์ขายทอดตลาดออนไลน์ที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในปัจจุบัน เช่น www.ebay.com มีการขายสินค้าทั่วไปตั้งแต่สินค้าเบ็ดเตล็ดจนกระทั่งสินค้าขนาดใหญ่เช่นเครื่องจักร ซึ่งผู้ขายมีทั้งที่เป็นผู้ประกอบการและที่เป็นผู้บริโภคที่ไม่ต้องการสินค้านั้นๆแล้ว จึงได้น าสินค้ามาจ าหน่ายผ่านหน้าเว็บไซต์หรืออาจเป็นการขายสินค้าเฉพาะอย่างหรือเฉพาะประเภท โดยสินค้าที่จ าหน่ายอาจเป็นสินค้า

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    2

    ใหม่หรือสินค้ามือสองก็ได้เช่น www.uamulet.com, www.web-pra.com ที่เปิดให้มีการซื้อขายเฉพาะพระเครื่องเท่านั้น โดยเว็บไซต์ทั้งสองนี้นอกจากจะจัดให้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้ขายสามารถใช้วิธีการขายทอดตลาดเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการจ าหน่ายพระเครื่องอีกด้วยเว็บไซต์ขายทอดตลาดออนไลน์เป็นธุรกรรมทางเลือกที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากขึ้นในทุกปี เพราะมีรูปแบบของการจ าหน่ายสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ เรียบง่าย รวดเร็วและแตกต่างไปจากการซื้อขายออนไลน์ทั่วไป อีกทั้งข้อก าหนดต่างๆรวมถึงกฎหมายในปัจจุบันก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าสถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ควรต้องถูกจัดให้เป็นไปตามกฎหมายลักษณะใด ผู้ขายและผู้ให้บริการเว็บไซต์จึงมีอิสระเต็มที่ในการก าหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการด าเนินกิจการของตน

    การขายทอดตลาดออนไลน์มีลักษณะการแสดงเจตนาที่เปลี่ยนจากต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง การแสดงความตกลงให้ผู้สู้ราคาที่เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ชนะการสู้ราคาเปลี่ยนจากการเคาะไม้มาเป็นการตั้ งเวลาอัตโนมัติและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ชนะการสู้ราคาแทน และมีการด าเนินการของผู้ให้บริการเว็บไซต์เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการด าเนินการในฐานะผู้ทอดตลาดหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ผู้ให้บริการเว็บไซต์จึงอาจมิได้เป็นตัวแทนของผู้ขายทอดตลาดเหมือนอย่างการขายทอดตลาดแบบเดิม จึงเป็นข้อพิจารณาว่า การขายทอดตลาดออนไลน์นั้นสามารถจัดให้เป็นการขายทอดตลาดประเภทหนึ่งที่ต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับการขายทอดตลาดแบบเดิมหรือไม่ ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้มีการนิยามความหมายของการขายทอดตลาดไว้ จะมีก็แต่เพียงการก าหนดความบริบูรณ์ของการขายทอดตลาดในมาตรา 509 ที่บัญญัติว่า “การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้ หรือด้วยกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ถ้ายังมิได้แสดงเช่นนั้นอยู่ตราบใด ท่านว่าผู้สู้ราคาจะถอนค าสู้ราคาของตนเสียก็ยังถอนได้” ประเด็นปัญหาจึงมีว่า การขายทอดตลาดที่แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร การขายทอดตลาดออนไลน์ที่ใช้วิธีการด าเนินการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการขายทอดตลาดอย่างหนึ่งที่ต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมายเรื่องการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยห์รือไม ่

    เมื่อปรากฏว่าการขายทอดตลาดออนไลน์เป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดย

    ระยะทางเช่นเดียวกับการซื้อขายออนไลน์ชนิดอื่น แต่ต่างไปจากการขายทอดตลาดแบบเดิมซึ่งมี

    ลักษณะเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้า ในขณะที่ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวกับ

    ธุรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ฉบับใดได้ให้การยอมรับหรือคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ เกี่ยวข้องกับการขาย

    ทอดตลาดออนไลน์ อีกทั้งการปรับใช้กฎหมายที่ เกี่ยวกับการขายทอดตลาดเดิมและการขาย

    ทอดตลาดออนไลน์อาจยังมีข้อที่ไม่เหมาะสมและเป็นธรรม แม้จะเคยได้มีผู้จัดท าวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    3

    เกี่ยวกับการขายทอดตลาดออนไลน์ทั้งในประเด็นสถานะทางกฎหมายและความรับผิดของผู้ขาย

    ทอดตลาดไว้แล้ว แต่วิทยานิพนธ์เล่มนี้ ผู้เขียนจะได้น าเสนอให้เห็นถึงแนวทางการวินิจฉัย เหตุผลของ

    การใช้และตีความ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาในต่างประเทศที่แตกต่างออกไป พร้อมทั้งยังได้

    น าเสนอให้เห็นปัญหาในประการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน์เพิ่มเติมไปจาก

    วิทยานิพนธ์เล่มอื่นที่ได้มีการจัดท ามาก่อนหน้านี้แล้วด้วย โดยปัญหา 5 ประการที่ส าคัญ มีดังต่อไปน้ี

    1.สถานะทางกฎหมายของการขายทอดตลาดออนไลน์ ซึ่งไม่มีกฎหมายฉบับใดได้ให้นิยามหรือค าจ ากัดความไว้ แม้การขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเป็นที่เข้าใจถึงลักษณะเฉพาะอันแตกต่างไปจากการซื้อขายทั่วไปอยู่แล้ว แต่เมื่อลักษณะการด าเนินการในการขายทอดตลาดออนไลน์เปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากการขายทอดตลาดแบบเดิม จนอาจน ามาสู่ประเด็นปัญหาในเรื่องของการเลือกใช้กฎหมายที่จะน ามาใช้บังคับกับการขายทอดตลาดออนไลน์ กรณีจึงต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่าการขายทอดตลาดหมายถึงนิติกรรมที่มีลักษณะและองค์ประกอบทางกฎหมายอย่างไร เพื่อให้ทราบว่าจะน าบทบัญญัติลักษณะใดมาใช้กับการขายทอดตลาดออนไลน์ซึ่งเป็นธุรกรรมที่เกิดจากการน าลักษณะการขายทอดตลาดแบบเดิมมาประยุกต์ใช้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดความสะดวกและขจัดอุปสรรคในเรื่องการแสดงเจตนาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคจากการขายทอดตลาดออนไลน์ด้วยหรือไม่ มีความเหมาะสมที่จะให้ความคุ้มครองและสร้างเป็นธรรมเพียงพอส าหรับนิติกรรมการขายทอดตลาดออนไลน์แล้วหรือไม่ หรือหากจ าเป็นต้องมีการแก้ไข ควรจะต้องแก้ไขไปในทิศทางใดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ชัดเจนและรอบด้านมากที่สุด

    2. สิทธิในการเรียกให้ผู้ขายทอดตลาดรับผิดเพื่อความช ารุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 473 (3) ที่ได้มีการได้ก าหนดยกเว้นความรับผิดของผู้ขายทอดตลาดไว้ เพราะการขายทอดตลาดแบบเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ซื้อมีสิทธิเข้าตรวจดูทรัพย์สินก่อนด าเนินการสู้ราคาทุกครั้งและถือเป็นหน้าที่ของผู้ทอดตลาดในการโฆษณาการขายทอดตลาดพร้อมทั้งจัดแสดงสินค้าที่จะน าออกขายทอดตลาดก่อนเริ่มการสู้ราคาทุกครั้ง ผู้สู้ราคาหรือผู้ที่จะเป็นผู้ซื้อจึงย่อมทราบดีถึงความช ารุดบกพร่องในสินค้าที่น าออกขายทอดตลาดอยู่แล้ว กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองสิทธิของผู้ขายทอดตลาดในส่วนนี้ยิ่งกว่าสิทธิของผู้ขายในการซื้อขายทั่วไป ในขณะที่การขายทอดตลาดออนไลน์ผู้ซื้อสินค้ากลับมิได้มีโอกาสในการตรวจดูทรัพย์สินในทางกายภาพแต่อย่างใดการพิจารณาและตัดสินใจเข้าร่วมการสู้ราคาของผู้สู้ราคาอาศัยค าบรรยายและภาพประกอบจากผู้ขายทอดตลาดหรือผู้ทอดตลาดเป็นหลัก ดังนั้น การน าข้อกฎหมายความรับผิดเพื่อความช ารุด

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    4

    บกพร่องในการขายทอดตลาดแบบเดิมมาใช้กับการขายทอดตลาดออนไลน์ย่อมไม่เป็นธรรม ส่งผลเสียต่อผู้ซื้อสินค้าจากการขายทอดตลาดออนไลน์ที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองเหมือนอย่างการซื้อขายสินค้าออนไลน์ตามสมควรและเหตุผลของเรื่อง ซึ่งอาจกลายเป็นการจ ากัดขอบเขตและการพัฒนาธุรกิจขายทอดตลาดได้

    3. เมื่อการขายทอดตลาดออนไลน์เป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางเช่นเดียวกับนิติกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆซึ่งได้รับความคุ้มครองและรับรองสิทธิของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 จะมีก็แต่เพียงลักษณะการเกิดขึ้นของสัญญาขายทอดตลาดที่ฝ่ายท าค าเสนอมาจากฝ่ายผู้ซื้อซึ่งกฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคหลายๆฉบับก็มิได้มีการจ ากัดสิทธิการให้ความคุ้มครองโดยพิจารณาจากผู้ท าค าเสนอว่ามาจากฝ่ายใด แต่กลับพบว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ได้นิยามความหมายของการตลาดแบบตรงในลักษณะจ ากัดให้ค าเสนอต้องมาจากฝ่ายผู้ขายเท่านั้น จึงมีข้อควรพิจารณาว่าแท้จริงแล้วการขายทอดตลาดออนไลน์เป็นการตลาดแบบตรงอย่างหนึ่งและควรตกอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับนี้หรือไม่ การพิจารณาส่งผลโดยตรงต่อสิทธิของผู้บริโภคในการขายทอดตลาดออนไลน์ซึ่งแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ในส่วนของสิทธิในการถอนการแสดงเจตนาหรือบอกเลิกสัญญาซื้อขายออนไลน์ที่ผู้บริโภคสามารถบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จ าต้องระบุเหตุแห่งการเลิกสัญญาตามที่ปรากฏในกฎหมายฉบับนี้ มาตรา 33 บัญญัติว่า “ในการซื้อสินคาหรือบริการจากการขายตรงหรือจากการขายผ่านตลาดแบบตรงผู้บริโภคมีสิทธิเลิกสัญญาโดยการสงหนังสือแสดงเจตนาภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ไดรับสินคาหรือบริการ ไปยังผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง. . .” เพราะเหตุผลเบื้องหลังการให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในส่วนนี้มาจากการที่ผู้บริโภคมิได้มีโอกาสในการเห็นหรือตรวจดูสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อในขณะที่การขายทอดตลาดออนไลน์ ผู้สู้ราคาหรือผู้ที่จะเป็นผู้ซื้อสินค้าก็มิได้มีโอกาสตรวจดูสินค้าเช่นเดียวกัน ค าจ ากัดความของการตลาดแบบตรงที่จ ากัดฝ่ายผู้ท าค าเสนอให้ต้องมาจากผู้ขายเท่านั้น จึงอาจเป็นปัญหาและข้อจ ากัดที่ส าคัญท าให้ผู้บริโภคจากการขายทอดตลาดออนไลน์ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือความคุ้มครองเท่าที่ควรได้

    4. การน าบทบัญญัติในเรื่องการซ้ าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 516 ที่บัญญัติให้ผู้ทอดตลาดน าทรัพย์สินออกขายซ้ าเมื่อผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยไม่ใช้ราคา ซึ่งหากผู้ทอดตลาดละเลยไม่ด าเนินการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขายทอดตลาด ผู้ทอดตลาดย่อมมีความรับผิดและต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ขายทอดตลาด ซึ่งเมื่อพิจารณาลักษณะการด าเนินการในการขายทอดตลาดออนไลน์ เห็นว่าผู้ให้บริการเว็บไซต์ในการขายทอดตลาดออนไลน์มักมีทางเลือกให้ผู้ขายทอดตลาดสามารถน าสินค้าของตนออกขายซ้ าได้ แต่มิได้ก าหนดหลักเกณฑ์ในการขายซ้ าและผลักภาระหน้าที่ในส่วนนี้คืนแก่ผู้ขายทอดตลาด ท าให้บทบัญญัติในเรื่องการขายซ้ าที่เดิมเป็น “หน้าที่”

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    5

    ของผู้ทอดตลาด แปรเปลี่ยนไปเป็น “สิทธิ” ของผู้ขายทอดตลาดซึ่งอาจใช้หรือไม่ใช้ ด าเนินการผ่าน ผู้ทอดตลาดออนไลน์หรือด าเนินการด้วยตนเองก็ได้จึงน ามาสู่การวินิจฉัยถึงความเหมาะสม จ าเป็นส าหรับการน าบทบัญญัติเรื่องการขายซ้ ามาใช้กับการขายทอดตลาดออนไลน์ซึ่งจะได้พิจารณาถึงความเหมาะสมของหน้าที่ในส่วนนี้ส าหรับผู้ทอดตลาดในการขายทอดตลาดออนไลน์รวมถึงการพิจารณาแนวทางการปรับใช้บทบัญญัติในเรื่องการขายซ้ ากับการให้สิทธิผู้บริโภคในการบอกเลิกสัญญาขายทอดตลาดออนไลน์ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดกันในการปฏิบัติหรือสามารถน าบทบัญญัติทั้งสองมาใช้พร้อมกันได้หรือไม่

    5. ปัญหาขอบเขตในเรื่องการตกลงยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดออนไลน์ อันเนื่องมาจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาที่เกี่ยวข้องจึงย่อมสามารถตกลงเป็นอื่นให้แตกต่างจากที่กฎหมายก าหนดบนพื้นฐานหลักความยินยอมหรือเสรีภาพในการท าสัญญาได้ แต่การที่กฎหมายเปิดโอกาสให้คู่สัญญาสามารถตกลงเป็นอื่นได้ย่อมท าให้ง่ายต่อการเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมของ ข้อสัญญาไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาเป็นผู้บริ โภคฝ่ายหนึ่งหรือไม่ การใช้สิทธิของคู่สัญญาใน การตกลงท าสัญญาระหว่างกันจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นธรรมและสอดคล้องกับจารีตประเพณีการค้าสินค้านั้นๆ วิทยานิพนธ์เล่มนี้จะได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นพิจารณาถึงขอบเขตการใช้เสรีภาพในการท าสัญญา แนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมสัญญาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการเลือกใช้กฎหมายเพื่อการตีความและบังคับสิทธิของคู่สัญญาทั้ง 3 รูปแบบความสัมพันธ์ในการขายทอดตลาดออนไลน ์ 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา

    1. เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป วิธีการ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆในการด าเนินการขายทอดตลาดออนไลน ์

    2. เพื่อศึกษาค้นคว้ากฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน์ในต่างประเทศ

    3. เพื่อศึกษาค้นคว้ากฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน์ในประเทศไทย

    4. เพื่อน าเสนอให้เห็นถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการขายทอดตลาดออนไลน์ในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะส าหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาในแต่ละประเด็น

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    6

    1.3สมมติฐานการศึกษา

    การขายทอดตลาดออนไลน์เป็นนิติกรรมที่เกิดการผสมผสานกันระหว่างการขายทอดตลาดกับการซื้อขายออนไลน์ บทกฎหมายที่จะน ามาใช้ในการก าหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดออนไลน์จึงต้องพิจารณากฎหมายทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับ การขายทอดตลาดและการซื้อขายออนไลน์ควบคู่กันไปบนพื้นฐานของธุรกรรมพาณิชย์ที่เป็นธรรม บทบัญญัติในส่วนที่ไม่ชัดเจนควรได้รับการก าหนดแนวทางในการใช้และตีความให้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยต้องพิจารณาหลักการและเหตุผลเบื้องหลังของกฎหมายนั้นๆ ประกอบด้วย 1.4 ขอบเขตของการศึกษา

    ผู้เขียนจะได้ท าการศึกษาระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการการขายทอดตลาดออนไลน์เฉพาะในส่วนภาคเอกชนซึ่งได้ด าเนินการบนหน้าเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดให้มีการด าเนินการขายทอดตลาดบนหน้าเว็บไซต์ของตนโดยเฉพาะไม่รวมถึงเว็บไซต์ให้บริการสื่อสารประเภทอื่นที่อาจมีการจัดการขายทอดตลาดออนไลน์แฝงอยู่ได้ โดยผู้เขียนมุ่งเน้นศึกษาในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) และระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (C2C) ซึ่งแต่ละความสัมพันธ์ล้วนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน โดยจะได้ศึกษาทั้งในส่วนของสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในแต่ละลักษณะความสัมพันธ์ด้วย

    นอกจากนี้ผู้เขียนจะได้น าเสนอให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขายทอดตลาดออนไลน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยผู้เขียนเลือกศึกษากฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งมีการใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอว์ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเยอรมันซึ่งมีการใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นความแตกต่างของแนวคิด เบื้องหลังของกฎหมาย การตีความและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขายทอดตลาดออนไลน์ในแต่ละประเทศภายใต้สภาพสังคมที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งจะได้วิเคราะห์ถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ของกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ในปะเทศไทยที่ควรจะเป็นไปเพื่อให้สอดรับกับธุรกรรมการขายทอดตลาดออนไลน์ในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น 1.5 วิธีการด าเนินการวิจัย

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ บทความ แนวค าพิพากษา วิทยานิพนธ์และเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือ

  • Ref. code: 25595701033044LBK

    7

    องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งที่เป็นภาษาไทยและภา