Top Banner
หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า ก ฐ า น ที่ สํ า คั ญ “การอ่านอดีตเป็นพื้นฐานสำหรับการเข้าใจปัจจุบัน และเพื่อการเขียนอนาคต และการอ่านเป็นจุดเริ่มต้นของการเขียน เพื่อคืนความรู้สู่ประชาชน” เภสัชกรหญิงดวงแก้ว อังกูรสิทธิ
37

หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

Feb 17, 2020

Download

Documents

dariahiddleston
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

หายป่วยด้วยยาแผนไทย

ก า ร อ่ า น คื อ ร า ก ฐ า น ที่ สํ า คั ญ

“การอ่านอดีตเป็นพื้นฐานสำหรับการเข้าใจปัจจุบัน

และเพื่อการเขียนอนาคต

และการอ่านเป็นจุดเริ่มต้นของการเขียน

เพื่อคืนความรู้สู่ประชาชน”

— เภสัชกรหญิงดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์

Page 2: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

สํ า นั ก พิ ม พ์ อ ม ริ น ท ร์ เ ฮ ล ท์ ก รุ ง เ ท พ ม ห า น ค ร

เภสัชกรหญิงดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์

เขียน

na-ru

วาดภาพประกอบ

หายป่วยด้วยยาแผนไทย

Page 3: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

เจ้าของ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ • กรรมการผู้จัดการ อุษณีย์ วิรัตกพันธ์

ที่ปรึกษาสายงานสำนักพิมพ์ในเครือ องอาจ จิระอร • รองบรรณาธิการอำนวยการ จตุพล บุญพรัด, สิริกานต์ ผลงามผู้ช่วยผู้อำนวยการ ทัศพร สนิธวรรณะ • บรรณาธิการบริหาร ใจรัตน์ สมบัติพิบูลย์

บรรณาธิการ วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์ • เลขานุการ สุกัญญา จันทวงศ์ผู้จัดการฝ่ายศิลปกรรม พีระพงศ์ โพสินธุ์, วรรณา ตั้งแสงประทีป • ศิลปกรรม เกติพิบูล โหมดตาดผู้อำนวยการฝ่ายจัดการสำนักพิมพ์ ชัชฎา พรหมเลิศ • ผู้ตรวจทานต้นฉบับ จินดารัตน์ ธรรมรงวุทย์

พิสูจน์อักษร ลดายุ พัดเย็น • คอมพิวเตอร์ ทองเพียร วรรณทองผู้จัดการฝ่ายประสานงานสำนักพิมพ์ อมราลักษณ์ เชยกลิ่น • ประสานงานสำนักพิมพ์ ขนิษฐา ศรีอินทร์

ผู้จัดการส่วนพัฒนากลยุทธ์และช่องทางการขาย กุลพัฒนี บัวละออผู้จัดการส่วนดิจิทัลคอมเมิร์ซและคอนเทนต์ ธนพงษ์ โพธิ์บำรุง

แยกสีและพิมพ์ที่ สายธุรกิจโรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

376 ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170โทรศัพท์ 0-2422-9000, 0-2882-1010 โทรสาร 0-2433-2742, 0-2434-1385

จัดจำหน่ายโดยบริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด

108 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย - จงถนอม ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130โทรศัพท์ 0-2423-9999 โทรสาร 0-2449-9222, 0-2449-9500 - 6 Homepage: http://www.naiin.com

ราคา 275 บาท

ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 248หายป่วยด้วยยาแผนไทย

ในเครือบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)378 ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170

โทรศัพท์ 0-2422-9999 ต่อ 4964, 4969 โทรสาร 0-2434-3555, 0-2434-3777, 0-2435-5111E-mail: [email protected]

สงวนลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนี้ตามพระราชบัญญัติ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558ห้ามคัดลอกเนื้อหา ภาพประกอบ รวมทั้งดัดแปลงเป็นแถบบันทึกเสียง ตลับวีดิทัศน์

หรือเผยแพร่ด้วยรูปแบบและวิธีการอื่นใดก่อนได้รับอนุญาต

เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-616-18-2815-8พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2562

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของศูนย์ข้อมูลอมรินทร์

ดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์. หายป่วยด้วยยาแผนไทย / เภสัชกรหญิงดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์: เขียน; na-ru: ภาพประกอบ.— กรุงเทพฯ: อมรินทร์เฮลท์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2562. (18), 206 หน้า: ภาพประกอบ. (ชุดชีวิตและสุขภาพ ลำดับที่ 248)

1. ยาสมุนไพร. 2. ยาสามัญประจำบ้าน. 3. ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ. 4. ยาแผนไทย. I. na-ru, ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. III. ชื่อชุด.

615.321 ด5ห6 DDC 615.321ISBN 978-616-18-2815-8

Page 4: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า
Page 5: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

คำนิยม (10)

คำนำสำนักพิมพ์ (14)

คำนำผู้เขียน (16)

บทนำ 1

P A R T 1 รู้จักยาสามัญประจำบ้าน แผนปัจจุบัน แผนโบราณ 2

1 Timeline ประวัติความเป็นมา

ของการแพทย์ในประเทศไทย 4

2 คำจำกัดความของยาแต่ละประเภท 10

3 ความหมายของยาสามัญประจำบ้าน 15

4 พัฒนาการของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 16

5 การแบ่งประเภทยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

ตามกฎหมาย 19

6 ความรู้เภสัชกรรมแผนไทยที่เกี่ยวข้อง

กับการใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 21

7 คำศัพท์โบราณที่อาจพบเห็น

บนฉลากยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 24

ส า ร บั ญ

Page 6: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

P A R T 2

เลือกใช้ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 16 กลุ่ม 30

8 ความแตกต่างของการจัดแบ่งกลุ่ม

ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันกับแผนโบราณ 33

9 กลุ่มที่ 1 ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ 35

10 กลุ่มที่ 2 ยาแก้ท้องเสีย 48

11 กลุ่มที่ 3 ยาระบาย 54

12 กลุ่มที่ 4 ยาถ่ายพยาธิ 59

13 กลุ่มที่ 5 ยาแก้ปวด ลดไข้ 63

14 กลุ่มที่ 6 ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก 70

15 กลุ่มที่ 7 ยาแก้ไอ ขับเสมหะ 73

16 กลุ่มที่ 8 ยาดมแก้วิงเวียน 78

17 กลุ่มที่ 9 ยาแก้เมารถเมาเรือ 81

18 กลุ่มที่ 10 ยาโรคตา 85

19 กลุ่มที่ 11 ยาปากและคอ 88

20 กลุ่มที่ 12 ยาใส่แผล 92

21 กลุ่มที่ 13 ยาแผลติดเชื้อไฟไหม้ น้ำร้อนลวก 96

22 กลุ่มที่ 14 ยาแก้ปวดเมื่อย แมลงกัดต่อย 100

23 กลุ่มที่ 15 ยาโรคผิวหนัง 106

24 กลุ่มที่ 16 ยาบำรุง 111

Page 7: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

P A R T 3 กรณีศึกษา งานวิจัย การใช้ยาแผนโบราณเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบัน 118

25 กรณีศึกษา ผลงานวิจัยที่น่าสนใจ 120

26 วิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย 127

P A R T 4 เข้าใจยาสามัญประจำบ้านทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ 132

27 หลักการเลือกใช้ยาสามัญประจำบ้าน 134

28 หลักการเลือกซื้อยาสามัญประจำบ้านแผนไทย 142

29 หลักการจัดยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 144

30 หลักการเก็บรักษายาสามัญประจำบ้าน 147

31 ตู้ยาสามัญประจำบ้าน 150

32 ตู้ยามีชีวิตประจำบ้าน 153

Page 8: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

P A R T 5

เชื่อมั่นยาแผนไทย 160

33 ความเชื่อคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับ

ผลิตภัณฑ์สมุนไพร 162

34 คำถามที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาแผนไทยที่พบบ่อย 170

35 ฐานข้อมูลยาแผนไทยและสมุนไพรที่แนะนำ 176

36 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับยาแผนไทย 184

37 แบบฝึกหัดความรู้เท่าทันโฆษณายาสมุนไพร 189

38 แบบประเมินความฉลาดรู้

ในการใช้ยาสามัญประจำบ้าน 192

บรรณานุกรม 197

คำขอบคุณ 202

เกี่ยวกับผู้เขียน 204

Page 9: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

น่าแปลกที่ยาไทยกลายเป็นเรื่องที่คนไทยในปัจจุบันไม่คุ้นเคย

อาจจะฟังไม่เข้ายุคสมัย แม้แต่ชื่อยายังต้องแปลไทยเป็นไทย แต่เมื่อ

ได้ทำความเข้าใจกลับพบว่ายาไทยนั้นเกิดมาเพื่อคนไทย และที่สำคัญ

อีกข้อคือ ยาไทยกำลังเป็นที่สนใจของนานาชาติ

เภสัชกรหญิงดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์ เป็นเภสัชกรโรงพยาบาล

ที่มีประสบการณ์ในการทำงานซึ่งเกี่ยวข้องทั้งการใช้ยาแผนปัจจุบัน

และยาแผนไทย สามารถนำประสบการณ์การทำงานมาประยุกต์ให้

เข้ากับชีวิตประจำวัน

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนความรู้ครบวงจร ทำให้

รู้ว่าจะป้องกันอาการป่วยได้อย่างไร หากป่วยเล็กน้อยต้องใช้ยาอะไร

ถ้าอาการรุนแรงขนาดไหนต้องรีบไปพบแพทย์ ด้วยการอธิบายศัพท์

ทางด้านยาให้เข้าใจง่าย

นอกจากตัวยาที่ดีแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ความฉลาดทาง

สุขภาพอันเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองของประชาชน

เริ่มต้นจากการเรียนรู้เรื่องราวของยาสามัญประจำบ้านทั้งแผนปัจจุบัน

และแผนไทย เพราะเป็นยาที่ควรอยู่ใกล้ตัวทุกคนมากที่สุด

ไม่สำคัญว่าจะใช้ยาแผนใด สิ่งที่สำคัญคือ พฤติกรรมการใช้ยา

ที่เหมาะสมด้วยความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

และความปลอดภัยจากการใช้ยาอย่างแท้จริง

คํ า นิ ย ม

Page 10: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

เภสัชกรหญิงดวงแก้วเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู ้ และมีความตั้งใจในการ

ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์ จนกระทั่งได้เนื้อหาสาระที่ผสมผสาน

ทั้งความรู้ทางประวัติศาสตร์ กฎหมาย เภสัชกรรมแผนปัจจุบันและ

แผนโบราณได้อย่างลงตัว สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องยาและแสดง

ความรักให้เห็นผ่านตัวหนังสือที่อยู่ภายในเล่มนี้

เภสัชกรลูกครึ่งคนนี้จะทำให้ประชาชนคนไทยรู้จักเสน่ห์ของ

ยาแผนไทยประจำชาติ ทั้งข้อดีและข้อด้อย ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน

ไปจนถึงอนาคต และสำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อยในครั้งต่อไป ขอฝาก

ยาแผนไทยไว้ให้คนไทยช่วยพิจารณา เพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรไทย

ให้กลายเป็นภูมิปัญญาที่มีชื่อเสียงในระดับสากล

เภสัชกรหญิง ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี

Page 11: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

วันหนึ่ง สักประมาณกลาง ๆ ปี ได้รับโทรศัพท์จาก “น้องแก้ว”

ลูกศิษย์ที่กำลังเขียนหนังสือเรื่องยาสมุนไพรให้ช่วยเขียนคำนิยมให้

แม้ว่าในตอนแรกฉันจะตอบเลี่ยงไป แต่เมื่อเธอยืนยันว่า “หนูอยากให้

อาจารย์เขียนค่ะ” ไม่มีอะไรชื่นใจสำหรับคนเป็นครูที่ได้เห็นความสำเร็จ

ในหน้าที่การงานและการใช้ความรู้ของศิษย์เก่าให้เป็นประโยชน์แก่

เพือ่นมนษุย ์ ตามรอยพระบาทสมเดจ็พระมหติลาธเิบศร อดลุยเดชวกิรม

พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์และการสาธารณสุขไทย ฉัน

จึงได้ตอบตกลงและถือว่าเป็นเกียรติของครู

น้องแก้วมาเรียนในหลักสูตร “สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต”

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว

หลักสูตรนี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2491 และเป็นหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร-

มหาบัณฑิตแห่งแรกของประเทศไทยที่มุ่งจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้

นักศึกษาได้ใช้ความรู้ด้านการสาธารณสุข ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อ

ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรโดยถ้วนหน้า และเฉพาะอย่างยิ่ง

ผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส

งานด้านเภสัชสาธารณสุขเป็นงานอีกด้านหนึ่งที่มีความจำเป็น

เร่งด่วน ที่จะต้องขยายโอกาสในการทำหน้าที่ของเภสัชกร ไม่เพียงแต่

ด้านการจัดการด้านเภสัชกรรมให้เกิดประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และ

เป็นธรรมเท่านั้น แต่ยังจะต้องมีบทบาทในการสร้าง ความรอบรู้ด้าน

การใช้ยา อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสามัญประจำบ้านที่อยู่

ใกล้ตัวของทุกคน

คํ า นิ ย ม

Page 12: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

ในยุคสมัยที่คนไทยสนใจใช้ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพจากธรรมชาติ

ยาสมุนไพรไทยกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ท่ามกลางสื่อสังคม

หลากหลายรูปแบบ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้มากมาย ทั้งจริง

ทัง้เทจ็ อาจทำใหป้ระชาชนตกอยูใ่นความเสีย่งของการใชย้าทีไ่มป่ลอดภยั

และไม่คุ้มค่า

เภสัชกรหญิงดวงแก้ว ศิษย์เก่าคนนี้ได้ทุ่มเทเวลา ประมวล

ประสบการณ์จากการทำงาน เขียนหนังสือ หายป่วยด้วยยาแผนไทย

เล่มนี้ นอกจากจะใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ประกอบแผนภูมิในการนำเสนอ

แล้ว ยังได้ประมวลพัฒนาการและสรรพคุณของยาแผนไทยที่พึงใช้กับ

อาการหรือกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคนทั่วไป จะเป็น

แนวทางการศึกษา วิจัย พัฒนาต่อยอดต่อไป และถือได้ว่าเป็นการ

ประมวลมรดกทางภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่ายิ่งของบรรพบุรุษไทย ที่มอบ

ไว้ให้แก่คนรุ่นลูกหลาน

รองศาสตราจารย ์ ดร.ชนินทร์ เจริญกุล

อดีตคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Page 13: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

คนเราเกิดแค่ครั้งเดียว เราตายแค่ครั้งเดียว แต่ตลอดชีวิตเรา

มีโอกาสเจ็บป่วยได้ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง และเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคน

ร่างกายอ่อนแอลง โอกาสเจ็บป่วยก็ยิ่งมีมากขึ้น ๆ

อย่างไรก็ดี มนุษย์ทุกวัฒนธรรมทั่วโลกต่างก็รักชีวิต ไม่ยอม

ป่วยตายกันง่าย ๆ จึงพยายามคิดหา “วิธีรักษาโรค” เริ่มจากใช้สิ่งต่าง ๆ

จากธรรมชาติรอบตัวมาเป็น “ยา” เมื่อใช้ได้ผลก็ถ่ายทอดความรู้สืบต่อ

กันไป บรรพบุรุษของไทยเราก็เช่นเดียวกัน

เมื่ออิทธิพลจากโลกฝั่งตะวันตกเผยแพร่เข้าสู่โลกฝั่งตะวันออก

คนไทยก็เริ่มตอบรับวัฒนธรรมใหม ่ๆ รวมถึงยาฝรั่งหรือยาแผนปัจจุบัน

ด้วย จากเดิมที่กล้า ๆ กลัว ๆ แต่สุดท้ายก็ยอมรับและชื่นชมยาฝรั่ง

มากกว่ายาแผนโบราณของไทยเราเสียเอง เพราะคิดว่ายาฝรั่งมีประสิทธิ-

ภาพที่ดีกว่า ปลอดภัยกว่า และได้มาตรฐานกว่า

ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง สมุนไพรไทย หรือยาแผนโบราณ

สามารถรักษาอาการป่วยบางอย่างได้ดีกว่ายาฝรั่ง หรือยาแผนปัจจุบัน

เสียอีก แถมยังมีราคาถูก และมีผลข้างเคียงน้อยอีกด้วย เพียงแต่

เรื่องนี้เราอาจยังไม่รู ้ หรือรู้ไม่มากพอ

เภสัชกรหญิงดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์ เจ้าของผลงานเล่ม Drug

Guru ฉลาดรู้ เรื่องยา ซึ่งมีความรู้ทั้งเรื่องยาแผนปัจจุบันและยา

แผนโบราณได้เล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทยนี้ เธอจึงตัดสินใจ

เขียนหนังสือ หายป่วยด้วยยาแผนไทย ขึ้น เพื่อนำคุณผู้อ่านไปทำความ

รู้จักยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณของไทยอย่างละเอียด วิธีใช้ยา

กลุ่มต่าง ๆ อย่างปลอดภัย รับรองว่าชื่อยาบางชื่อคุณอาจจะเคยได้ยิน

เป็นครั้งแรกในหนังสือเล่มนี้ เช่น ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาประสะเจตพังคี

ยาธรณีสันฑะฆาต ยามหานิลแท่งทอง

คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์

Page 14: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

ไม่เพียงเท่านั้น ไฮไลต์ของหนังสือเล่มนี้ยังอยู่ที่ “การเปรียบเทียบ

สรรพคุณของยาแผนโบราณกับยาแผนปัจจุบันทั้ง 16 รายการ” เพื่อ

ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มอาการป่วยแบบนี้จะใช้ยาแผนโบราณชนิดใดทดแทน

ยาแผนปัจจุบันได้บ้าง ไม่ว่าจะปวดท้อง ท้องเสีย แก้ปวด ลดไข้

แก้ไอ ขับเสมหะ เมารถ รักษาโรคผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ แมลงสัตว์

กัดต่อย แผลติดเชื้อ แม้แต่ยาบำรุงร่างกายก็ตาม อีกทั้งยังมีเรื่อง

สมุนไพรไทยรวมอยู่ด้วย เรียกได้ว่าหนังสือเล่มนี้แนะนำการใช้ยา

แผนโบราณได้แบบรู้ลึก รู้จริง และปลอดภัยจริง ๆ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ยาหรือมีคนที่คุณรักต้องใช้ยา และ

อยากเลีย่ง หรอืลดการใชย้าทีส่กดัจากสารเคมดีบูา้ง ยาสามญัประจำบา้น

แผนโบราณและสมุนไพรไทยเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ รับรองว่า

“ดีงามไม่แพ้ยาฝรั่งแน่ๆ แถมราคายังสบายกระเป๋ากว่ากันเยอะ”

มกราคม 2562

Page 15: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

ในยุคโลกไร้พรมแดน คนไทยอาจจะคุ้นเคยกับยาสมุนไพรชื่อดัง

จากต่างประเทศ อย่างโสมจากเกาหลี หญ้าฝรั่นจากอินเดีย หรือ

คาโมมายล์ โรสแมรี่ ลาเวนเดอร์จากยุโรป แต่หากเป็นสมุนไพร

ของไทยเราเอง “คุณจะนึกถึงยาสมุนไพรชนิดไหนบ้าง”

ยาแผนไทยถือกำเนิดมาจากความรักและหวังดีของบรรพบุรุษ

ที่ส่งต่อวิธีการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยด้วยสิ่งที่เป็นธรรมชาติรอบตัว

สะสมเป็นมรดกองค์ความรู้จนกลายเป็นสมบัติประจำชาติ

ไมน่า่เชือ่วา่ยาแผนไทยทีเ่กอืบจะหายสาบสญูไปจากสงัคมไทยแลว้

แต่กลับฟื้นคืนชีพมาได้ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณ

ของพระมหากษัตริย์ไทย กระทั่งในปัจจุบันยาแผนไทยก็กำลังปรับตัว

ให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อต่อลมหายใจให้กับภูมิปัญญาของปู่ย่าตาทวด

ที่ฝากไว้ให้ลูกหลานชาวไทย

แม้ว่าฉันจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านยา

แผนปัจจุบัน แต่ก็เป็นคนหนึ่งที่นิยมชมชอบยาสมุนไพรไทยแผนโบราณ

ฉันรู้จักทั้งยาแผนปัจจุบันและยาแผนไทย สามารถหาวิธีการที่จะ

ผสมผสานความแตกต่างของยาทั้งสองแผนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างแท้จริง

มาเริ่มต้นทำความรู้จักกับยาแผนไทยใกล้ตัวจากยาสามัญ

ประจำบ้าน แม้ว่าจะเป็นยาที่ค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่เมื่อเปิด

ช่องทางเข้าถึงยาได้อย่างเสรี ผู้ที่ใช้ยาก็จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะ

ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ยา เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย

คนเรามีความฉลาดในหลายด้าน ความฉลาดทางสุขภาพของ

ประชาชนเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับการเลือกใช้ยาโดยไม่ผ่าน

บุคลากรทางการแพทย์ ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสม

คํ า นํ า ผู้ เ ขี ย น

Page 16: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเลือกกระทำ

พฤติกรรมสุขภาพ เพื่อกำหนดคุณภาพชีวิตของตัวเอง

“คุณรู้จักยาสามัญประจำบ้านชนิดไหนบ้าง” หากนึกไม่ออกคง

ต้องนึกถึงสมัยเป็นเด็ก ถ้าเป็นคนรุ่นฉัน ได้เรียนรู้เรื่องยาเหล่านี้ใน

วิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สลน.) ซึ่งเป็นวิชาที่ใช้เวลาเรียนน้อยกว่า

วิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ หากไม่ได้มาเรียนต่อเภสัชฯ

ฉันก็คงรู้จักเรื่องยาเพียงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงความรู้เรื่องยา

กลับเป็นวิชาที่จำเป็นต่อสุขภาพ และน่าจะได้ใช้ไปตลอดชีวิต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่ผู้ป่วยแน่นล้นโรงพยาบาล คงเป็น

เรื่องที่น่าสนับสนุนให้คนไทยสามารถดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้

เหมือนเป็นหมอรักษาตัวเอง

หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจยาสามัญประจำบ้านเหมือนรู้จัก

เพื่อนข้างบ้าน ต้องรู้จักชื่อ จะได้เรียกใช้กันถูก รู้จักความถนัด จะได้

ขอความช่วยเหลือกันได้ รู้จักนิสัยของเพื่อน จะได้รู้ว่าชอบหรือไม่ชอบ

อะไร และเมื่อเป็นเพื่อนรู้ใจแล้ว จะได้เป็นเพื่อนรักช่วยรักษาโรค

ไม่กลายเป็นเพื่อนร้ายมาทำลายกันภายหลัง

แม้ว่าใครหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับยาแผนปัจจุบันมากกว่า แต่

เมื่อคุณได้อ่านหนังสือจนจบเนื้อหาทั้งหมด ก็จะช่วยเติมเต็มความรู้

เรื่องยาทั้งสองแผนได้โดยเน้นยาแผนโบราณให้เป็นที่รู้จักของคนไทย

มากยิ่งขึ้น

สุดท้าย ฉันอยากขอโอกาสให้ยาแผนไทยได้กลับเข้าสู่หัวใจของ

คนไทยอีกครั้ง

ดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์

Page 17: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า
Page 18: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

1เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

จากประสบการณใ์นการทำงานทีผ่า่นมา ผูเ้ขยีนไดพ้ดูคยุกบัผูป้ว่ย

ที่ใช้ยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณอยู่ตลอด จึงได้รับรู้ความคิดเห็น

ของผู้ป่วยที่มีต่อยาสมุนไพรไทยในหลายแง่มุม รวมทั้งคำถามยอดฮิต

ต่าง ๆ เช่น

“ยาสมุนไพรนี้มีสเตียรอยด์เหมือนที่เป็นข่าวไหม”

“ยาแผนโบราณเหรอ ไม่กล้าใช้หรอก กลัวไม่ได้ผล”

ในสายตาของผู้ป่วยบางคนกลับมองยาไทยเป็นยาผู้ร้าย แต่ผู้ป่วย

บางคนก็เห็นยาสมุนไพรไทยเป็นยาเทวดา

“ยาสมุนไพรตัวนี้เขาว่าได้ผล ใช้แล้วไม่ต้องไปหาหมอเลย”

“ยาฝรั่งใช้แล้วแพ้ ใช้ยาไทยดีกว่า แพงแค่ไหนก็ยอม ขอให้

หายป่วยก็พอ”

ความเชือ่ของผูป้ว่ยทีข่ดัแยง้กนันัน้กลายเปน็ความสงสยัจนเภสชักร

คนหนึ่งต้องกลับไปค้นหาความจริง

อยา่งไรกด็ ี เนือ่งจากสมนุไพรไทยมมีากมายหลายชนดิ ในหนงัสอื

เล่มนี้ขอเน้นที่การใช้ประโยชน์จากยาสมุนไพรไทยที่ เป็นยาสามัญ

ประจำบ้าน เพราะเป็นกลุ่มยาที่มีข้อมูลชัดเจน มีประกาศตามกฎหมาย

สำหรับยาสมุนไพรชนิดอื่น คงต้องรอให้มีข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต

บทนำ

Page 19: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

2 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

1P A R T

รู้ จ ัก ย า ส า มั ญ ป ร ะ จ ํ า บ้ า น

แ ผ น ปั จ จ ุบั น แ ผ น โ บ ร า ณ

Page 20: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

3เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

ในอดีต เมื่อผู้คนเจ็บป่วยก็วิ่งเข้าป่า หยิบใบไม้รากหญ้ามาต้มกิน

โดยอาศัยตามคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนว่า ถ้ามีอาการแบบนี้ ไปหาต้นนี้

มากินแล้วจะหาย หากมีอาการหนักจริง ๆ จึงไปขอความช่วยเหลือจาก

หมอตัวจริงเพื่อรับการตรวจ วินิจฉัยโรค และเลือกจ่ายยาให้ตรงกับโรค

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ป่วยจะไปหาหมอได้ทุกครั้ง ดังนั้นยาสามัญประจำบ้าน

จึงมีความสำคัญ

ไม่ว่าคนเชื้อชาติใดย่อมมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยกันทั้งนั้น จึงต้องมี

วิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละประเทศ และไม่ว่าจะเป็นศาสตร์การแพทย์

แผนใดก็ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การช่วยเหลือผู้ป่วยให้คลาย

จากอาการเจ็บป่วย แม้ว่าศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ได้รับการพัฒนาขึ้น

แต่ศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมยังคงอยู่คู่กับสังคมไทย เพื่อดูแลสุขภาพ

ของประชาชนตราบจนทุกวันนี้

Page 21: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

4 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

1

*เรียบเรียงจาก รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน

และการแพทย์ทางเลือก

Timeline ประวัติความเป็นมาของการแพทย์ในประเทศไทย*

สมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325 - 2352) โปรดเกล้าฯให้รวบรวมความรู้ทางการแพทย์ จารึกตำรายา

และฤๅษีดัดตนไว้ตามศาลาราย ณ วัดพระเชตุพนวิมล-

มังคลาราม (วัดโพธิ์)

สมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352 - 2367)

โปรดเกล้าฯให้ผู้มีตำรายาดีนำเข้ามาถวายจัดเป็นตำราหลวง

และโปรดเกล้าฯให้ตรา “กฎหมายพนักงานพระโอสถเสวย”

แสดงให้เห็นว่าทรงให้ความสำคัญกับการปรุงยาโดยจัดเป็น

ศิลปะและศาสตร์ชั้นสูง

Page 22: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

5เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

สมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 – 2394)

ได้รับการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์

แผนไทย” หลงับรูณปฏสิงัขรณว์ดัพระเชตพุนวมิลมงัคลาราม

ครัง้ใหญ ่ โปรดเกลา้ฯใหห้าตำรายามาจารกึบนแผน่ศลิา โดยม ี

พระราชประสงค์ให้ความรู้วิชาแพทย์แผนไทยเผยแพร่สู่

สาธารณชน ความรู้เหล่านั้นจึงตกทอดมาถึงในสมัยปัจจุบัน

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยเปิด

ทางด้านการแพทย์แผนไทยแห่งแรก

สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411)

ยุคแห่งการเปิดประเทศ การแพทย์ตะวันตกเริ่มแพร่หลาย

เข้ามา มีการแต่งตั้งหมอฝรั่งเป็นหมอหลวงประจำราชสำนัก

เหมือนช่วงกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ราษฎรทั่วไปยังนิยมรักษา

กับหมอไทยอยู่

สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)

แม้อิทธิพลจากการแพทย์ตะวันตกจะมีมากขึ้น แต่คนไทย

ก็ยังนิยมรักษากับหมอไทยอยู่ โรงพยาบาลในสมัยนั้นจึงให้

การรักษาพยาบาลทั้งสองแบบ โดยอนุญาตให้ผู้ป่วยเลือกใช้

บริการตามใจชอบ

มีการจัดตั้ง “โอสถสภา” ทำหน้าที่ผลิตยาเพื่อจำหน่ายให้

ราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามชนบทที่อยู่ห่างไกล ในระยะ

แรกที่ผลิตยาฝรั่งออกมา แต่ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงมีการ

ผลิตยาไทยด้วยเป็นจำนวน 10 ขนาน ซึ่งยาบางรายการ

ยังมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

Page 23: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

6 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 - 2468)

การแพทยต์ะวนัตกไดร้บัความนยิมมากขึน้ ในขณะทีก่ารแพทย ์

แผนไทยกลับเสื่อมถอยลง

มีการประกาศพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.

2466 นับว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกที่วางระบบการควบคุม

ผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภค

ทางการแพทย ์

สมัยรัชกาลที ่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)

ยกเลิกการสอนวิชาแพทย์แผนไทย อีกทั้งยาไทยยังไม่ได้รับ

ความนิยมเหมือนแต่ก่อน กระทั่ง พ.ศ. 2472 ได้แบ่งการ

ประกอบโรคศิลปะเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ**

สมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489)

จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเกี่ยวกับการตรวจค้นหา

ความรู้เรื่องยาสมุนไพรในประเทศ เพื่อนำมาดัดแปลงเป็นยา

แผนตะวันตกให้มากขึ้น ประกอบกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

เกิดภาวะขาดแคลนยาจากต่างประเทศ

** พ.ศ. 2472 ได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ ซึ่งกำหนดว่า

(ก) ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชา

โดยสากลนิยม ซึ่งดำเนินและจำเริญขึ้นโดยอาศัยการศึกษาตรวจคนและทดลองของผู้รู้ในทาง

วิทยาศาสตร์ทั่วโลก

(ข) ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความสังเกต ความชำนาญ

อนัใดบอกเลา่สบืตอ่กนัมาเปน็ทีต่ัง้ หรอือาศยัตำราอนัมมีาแตโ่บราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์

ทั้งยังจำแนกสาขาเป็นสาขาบำบัดโรคทางยา สาขาการปรุงหรือจำหน่ายยา สาขาหมอตำแย และสาขา

หมอนวด

Page 24: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

7เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 - 2559)

โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งหลักสูตรโรงเรียนแพทย์แผนไทยขึ้น

อีกครั้ง เปิดสอนครั้งแรกที่วัดโพธิ์

พ.ศ. 2521 องค์การอนามัยโลกได้ออกคำแถลงการณ์แห่ง

อัลมา-อาตาว่าด้วยการสาธารณสุขมูลฐาน โดยพยายาม

ผลักดันให้ประเทศสมาชิกผนวกการรักษาแบบพื้นบ้านและ

สมุนไพรเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสาธารณสุขมูลฐาน

ซึ่งเป็นผลให้รัฐบาลไทยหันกลับมาสนใจศึกษาและพัฒนา

การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมากขึ้น

ตลอดรัชสมัย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงฟื้นฟูและสนับสนุน

กิจการด้านภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่าง

กว้างขวาง ทั้งโครงการสมุนไพรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

การจัดพิมพ์ตำราการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย การ

ก่อตั้งองค์กรเครือข่ายด้านการแพทย์แผนไทย พัฒนาการ

ศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์

ในสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี

สมัยรัชกาลที่ 10 (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน) สบืสานวชิาการแพทยแ์ผนไทยเพือ่ใหเ้กดิคณุปูการแกป่ระชาชน

ต่อไป

Page 25: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

8 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

ประวัติศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย

สมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325 - 2352)รวบรวมความรู้ทางการแพทย์โบราณและฤๅษีดัดตนไว้ที่วัดโพธิ์

สมัยรัชกาลที่ 2(พ.ศ. 2352 - 2367)เกิดยาตำราหลวง และมีการตรา “กฎหมายพนักงานพระโอสถเสวย”

สมัยรัชกาลที่ 3(พ.ศ. 2367 - 2394)รวบรวมตำรายามาจารึกในแผ่นศิลา วัดโพธิ์

พ.ศ. 2300

พ.ศ. 2400พ.ศ. 2325 พ.ศ. 2425พ.ศ. 2350 พ.ศ. 2375

สมัยรัชกาลที่ 7(พ.ศ. 2468 - 2477)แบ่งการประกอบโรคศิลปะเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ

สมัยรัชกาลที่ 6(พ.ศ. 2453 - 2468)การแพทย์ตะวันตกได้รับความนิยมมากขึ้น มีการประกาศ “พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ”

Page 26: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

9เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

สมัยรัชกาลที่ 9(พ.ศ. 2489 - 2559)จัดตั้ง “โรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย” ฟื้นฟูและสนับสนุนกิจการด้านภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยให้เจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน

สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411)การแพทย์ตะวันตกเริ่มแพร่หลายเข้ามา

สมัยรัชกาลที่ 5(พ.ศ. 2411 - 2453)การรักษาแบบคู่ขนานตะวันออก - ตะวันตกและมีการตั้ง “โอสถสภา” ผลิตยาจำหน่ายให้ราษฎร

พ.ศ. 2500 ปัจจุบันพ.ศ. 2525พ.ศ. 2450 พ.ศ. 2550พ.ศ. 2475

สมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489) จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข เริ่มกลับมาใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น

สมัยรัชกาลที่ 10(พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)สืบสานวิชาการแพทย์แผนไทย ต่อไป

พ.ศ. 2425

Page 27: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

10 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

2คำจำกัดความของยาแต่ละประเภท

ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522 ได้ให้ความหมายคำว่า “ยา”

ดังนี้

ยา หมายถึง สารที่ใช้ในการวิเคราะห์ บำบัดรักษา ป้องกันโรค

หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งใช้บำรุง เสริมสร้าง

สุขภาพร่างกายและจิตใจ

ยามีหลากหลายประเภท สามารถแบ่งย่อยลงไปอีกได้เป็น

1. แบ่งตามศาสตร์การรักษา ภายหลังการประกาศพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพ ทำให้

การแพทย์แผนตะวันตกกับการแพทย์แผนไทยแยกออกจากกัน

อย่างชัดเจน โดยคำจำกัดความตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

มีความหมายดังนี้

ยาแผนปัจจุบัน หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการ

ประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือ

การบำบัดโรคสัตว์

ยาแผนโบราณ หมายความว่า ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการ

ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรา

ยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยา

แผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยา

แผนโบราณ

Page 28: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

11เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ (ยาแผนไทย)

ข้อดี • มีรายงานวิจัยการใช้ยา • เป็นการดูแลสุขภาพแบบ ที่น่าเชื่อถือ องค์รวม เน้นการปรับ

• มีตัวยาสำคัญในปริมาณคงที่ พฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค ตามมาตรฐานกำหนด และลดปัจจัยเสี่ยง • กลไกการออกฤทธิ์ของยา • เชื่อว่ามีความปลอดภัย แน่นอน เนื่องจากเป็นสารธรรมชาติ • ออกฤทธิ์เร็ว ใช้ในโรคที่มี มีรายงานการเกิดอาการ ความรุนแรง ข้างเคียงน้อยหากใช้อย่างถูกวิธี • ใช้กับโรคที่มีอันตรายถึงชีวิต • ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ลดการเสียดุลการค้าจาก การนำเข้ายาต่างประเทศ • สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในยาม ขาดแคลน เช่น ในภาวะสงคราม หรืออยู่ในถิ่นทุรกันดาร • ค่าใช้จ่ายไม่สูง ช่วยประหยัด งบประมาณสุขภาพ • ช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญา สนับสนุนนโยบายของชาติ

ข้อด้อย • เน้นการรักษาแบบเฉพาะทาง • ประชาชนยังขาดความรู้ • ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และความเชื่อมั่นต่อการใช้ยา ราคาแพง เข้าถึงยาก • รายงานการวิจัยที่น่าเชื่อถือ • อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง ยังไม่เพียงพอ ที่รุนแรง จำเป็นต้องติดตาม • เห็นผลช้าเพราะเป็นสาร การใช้ยาอย่างใกล้ชิด ธรรมชาติ • หากผู้ใช้ยาไม่มีความรู้ • ออกฤทธิ์ไม่คงที่ตามปริมาณ มีโอกาสใช้ยาในทางที่ผิด สารสำคัญ ขึ้นกับแหล่งปลูก เช่น การเสพติดยา การดื้อยา ฤดูเก็บเกี่ยว • วัตถุดิบบางชนิดหายาก บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ • บางผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้ มาตรฐาน มีสารปลอมปน

ตารางเปรียบเทียบข้อดี - ข้อด้อย ยาแผนปัจจุบัน vs ยาแผนโบราณ

Page 29: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

12 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

ในอดีตคนไทยคุ้นเคยกับยาแผนไทยมากกว่ายาฝรั่ง จนกระทั่ง

ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ยาฝรั่งกลายเป็น “ยาแผนปัจจุบัน” ในขณะที่

ยาไทยกลายเป็น “ยาแผนโบราณ” ทั้งที่การแพทย์ทั้งสองศาสตร์ล้วนมี

ข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป หากสามารถนำจุดเด่นของทั้งสองแผนมา

รวมกันได้ก็คงเป็นเรื่องที่ดี เพราะไม่ว่าจะเป็นการแพทย์แผนใดก็ล้วน

มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วยทั้งสิ้น

2. แบ่งตามระดับความเข้มงวดในการควบคุมการจำหน่ายจากนิยามในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ให้ความหมายยา

แต่ละประเภท ดังนี้

ยาควบคุมพิ เศษ หมายความว่า ยาแผนปัจจุบัน หรือยา

แผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาควบคุมพิเศษ ยกตัวอย่าง

ยามะเร็ง ยาต้านไวรัสบางชนิดที่จำเป็นต้องสั่งจ่ายและติดตามการใช้ยา

อย่างใกล้ชิดโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ยาอันตราย หมายความว่า ยาแผนปัจจุบัน หรือยาแผนโบราณ

ที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาอันตราย เป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยบุคลากร

ทางการแพทย์ สำหรับรักษาโรคที่มีความรุนแรง เช่น ยาปฏิชีวนะ

ชนิดต่าง ๆ ยาโรคเรื้อรัง อย่างความดัน เบาหวาน ไขมัน เป็นต้น

ยาสามัญประจำบ้าน หมายความว่า ยาแผนปัจจุบัน หรือ

ยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่

ประชาชนสามารถเลือกใช้เองได้ สำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อย อย่าง

ยาธาตุน้ำแดง ยาขับลม ยาหม่อง ยาดม เป็นต้น

Page 30: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

13เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย ยาสามัญประจำบ้าน

สถานที่ เฉพาะ เฉพาะ ร้านค้าทั่วไป จำหน่าย สถานพยาบาล สถานพยาบาล ที่มีผู้เชี่ยวชาญ หรือร้านขายยา ที่ได้รับอนุญาต

บุคลากร จำเป็น จำเป็น ไม่จำเป็น ทางการ แพทย์

หมายเหต ุ : นอกจากนีย้งัมยีาบางรายการทีไ่ดร้บัการยกเวน้ไมเ่ปน็ยาอนัตราย หรือยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ

การเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างยาควบคุมพิเศษ

ยาอันตราย และยาสามัญประจำบ้าน

ยา

แบ่งตามศาสตร์การรักษา1. ยาแผนปัจจุบันใช้ในการประกอบโรคศิลปะใช้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใช้ในการประกอบโรคศิลปะ แผนปัจจุบัน หรือการบำบัด โรคสัตว ์2. ยาแผนโบราณใช้ในการประกอบโรคศิลปะ แผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์

แบ่งตามระดับความเข้มงวดในการควบคุมจำหน่าย1. ยาควบคุมพิเศษ สั่งจ่ายและติดตามการใช้ยาอย่างใกล้ชิดโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง2. ยาอันตรายสั่งจ่ายโดยบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับรักษาโรคที่มีความรุนแรง3. ยาสามัญประจำบ้านประชาชนสามารถเลือกใช้เองได้สำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อย

Page 31: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

14 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

ปัจจุบันยาส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาที่จำเป็นต้องผ่านการตรวจ

อาการจากบุคลากรทางการแพทย์ก่อนการใช้ยา แต่ก็ยังมียาบางส่วน

ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเลือกใช้ได้ด้วยตัวเอง พวกเราคงคุ้นเคยกับ

ยาในกลุ่มนี้ที่มีชื่อเรียกว่า “ยาสามัญประจำบ้าน”

Page 32: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

15เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

ยาสามัญประจำบ้าน แปลตรงตัวว่าเป็นกลุ่มยาที่ควรมีไว้ติดบ้าน

เป็นรายการยาที่กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้วว่าเป็นยาที่ค่อนข้าง

ปลอดภัยสำหรับประชาชน สามารถเลือกใช้ยารักษาอาการเจ็บป่วย

เบื้องต้นด้วยตัวเอง

ยาสามัญประจำบ้านแบ่งออกเป็น

1) ยาแผนปัจจุบัน

2) ยาแผนโบราณ

ยาสามัญประจำบ้านมีเป้าหมายเพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชน

สว่นใหญ ่ จงึไดร้บัการยกเวน้ใหจ้ำหนา่ยไดโ้ดยไมต่อ้งมใีบอนญุาตขายยา

เพือ่เพิม่การเขา้ถงึการใชย้าใหง้า่ยขึน้ เหมาะแกก่ารบรรเทาอาการเจบ็ปว่ย

เล็กน้อยในเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ยาสามัญประจำบ้านได้ด้วย

ตัวเองโดยไม่ต้องผ่านการสั่งจ่ายจากบุคลากรทางการแพทย์

ดังนั้นประชาชนที่ใช้ยาสามัญประจำบ้านจึงจำเป็นต้องมีความรู้

ความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมในการใช้ยากลุ่มนี้เป็นพิเศษ เพื่อการ

ดูแลสุขภาพด้วยตัวเองให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการ

ใช้ยา

ในหนงัสือเล่มนี้จะเนน้เนื้อหาทีเ่กี่ยวขอ้งกับ “ยาสามญัประจำบา้น

แผนโบราณ” จึงขอใช้อีกชื่อเรียกว่า “ยาแผนไทย” หรือ “ยาสมุนไพร”

เพื่อความเข้าใจตรงกัน

3ความหมายของ

ยาสามัญประจำบ้าน

Page 33: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

16 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

4พัฒนาการของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ตามคำจำกัดความของยาสามัญประจำบ้าน หมายถึง ยาแผน

ปัจจุบันหรือยาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตามประกาศของทางราชการที่มีการ

ปรับปรุงแก้ไขรายการยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพ

สังคมในปัจจุบัน

ต่อมาเป็น

28 ตำรับยา

เพิ่มตำรับอื่น

ตัด ยาเทพมงคล

แยกเป็น

25 กลุ่ม

และ

27 ตำรับยา

ตัด ยาเนาวหอย

ปรับเป็น

27 กลุ่ม

และ

24 ตำรับยา

ตัด ไคร้เครือ

เริ่มต้น มี

16 ตำรับยา

ตามตำราโบราณ

พัฒนาการของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2511

พ.ศ. 2542

พ.ศ. 2537

พ.ศ. 2556

Page 34: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

17เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

กอ่นทีจ่ะมปีระกาศกระทรวงสาธารณสขุ เรือ่งยาสามญัประจำบา้น

แผนโบราณ พ.ศ. 2556 ในการประชุมคณะกรรมการยา เมื่อวันที่ 19

สิงหาคม 2551 มีมติแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกยาสามัญประจำบ้าน

เป็นดังนี้

1) เป็นยาที่ใช้บ่อย และ/หรือมีความจำเป็นสำหรับแก้ปัญหา

สาธารณสุขมูลฐานของประเทศ

2) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคที่ไม่อันตราย และบรรเทาอาการเจ็บป่วย

ที่สามารถให้ประชาชนดูแลได้ด้วยตนเอง

3) เป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงและมีโอกาสที่จะนำไปใช้ในทาง

ที่ผิดน้อย

4) เป็นยาที่มีความคงตัวดี

5) เป็นยาที่มีวิธีการใช้ที่ไม่ยุ่งยาก

6) เป็นยาที่มีราคาไม่แพง

7) เป็นยาที่มีขนาดบรรจุที่เหมาะสม

8) คำนึงถึงความนิยมของผู้บริโภคและความจำเป็น

9) ไม่มีส่วนประกอบของตัวยาที่ได้จากสัตว์ หรืออวัยวะของ

สัตว์คุ้มครอง

การปรบัเปลีย่นหลกัเกณฑต์ามยคุสมยัสง่ผลตอ่ตำรบัยาบางรายการ

ยกตัวอย่างการเปลี่ยนสถานะ ยาเทพมงคล จากยาสามัญประจำบ้าน

แผนโบราณเป็นยาแผนโบราณ เนื่องจากมีส่วนผสมจากสัตว์ชนิดต่าง ๆ

ได้แก่ เขี้ยวจระเข้คั่ว เขี้ยวเสือคั่ว งาช้างคั่ว เช่นเดียวกับการตัด

ยาเนาวหอย ออกจากบัญชียาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ เนื่องจาก

ในตำรับมีส่วนผสมของกระดูกเสือเผา กระดูกโคเผา กระดูกแพะเผา

กระดูกงูเหลือมเผา และเปลือกหอยหลายชนิด

นอกจากนั้นยังมีการประกาศตัด ไคร้เครือ ออกจากส่วนผสม

ของยาแผนไทย เนื่องจากมีงานวิจัยจากต่างประเทศพบว่า พืชในตระกูล

Page 35: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

18 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

เดียวกับไคร้เครือมีสารก่อมะเร็งทางเดินปัสสาวะ และมีความเป็นพิษ

ต่อไตอย่างรุนแรง ถึงแม้ยังไม่พบปัญหานี้ในประเทศไทย ทั้งนี้อาจ

เนื่องด้วยการรักษาแผนไทยไม่ใช้ไคร้เครือเป็นยาเดี่ยว แต่ใช้เป็น

ยาตำรับมีสมุนไพรหลายชนิด จึงอาจมีสมุนไพรชนิดอื่นช่วยทำให้พิษ

อ่อนลงจนไม่เป็นอันตราย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติได้ประกาศ

ตัดส่วนผสมของสมุนไพรไคร้เครือออกจากตำรับยาแผนไทยในบัญชี

ยาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554 จำนวน 10 ตำรับ ได้แก่

ยาหอมนวโกฐ ยาหอมแก้ลมวิงเวียน ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ

ยาประสะกานพลู ยาประสะเจตพังคี ยามันทธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่

ยาเขียวหอม และยาอำมฤควาที เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

Page 36: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

19เ ภ สั ช ก ร ห ญิ ง ด ว ง แ ก้ ว อั ง กู ร สิ ท ธิ์

5การแบ่งประเภท

ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามกฎหมาย

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจําบ้าน

แผนโบราณ พ.ศ. 2556 แบ่งประเภทยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

ตามกฎหมายไว้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ให้ยาแผนโบราณตามตำรายาที่มีตัวยาสำคัญตัวใด

ตัวหนึ่ง หรือหลายตัวดังต่อไปนี ้ เป็นยาสามัญประจำบ้าน เช่น กลุ่มยา

ขับลม (แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ) ตัวยาตรง ได้แก่ ขมิ้นชัน

(เหง้า) ตะไคร ้ (ต้นหรือเหง้า) มหาหิงคุ์ (ยาง) พริกไทย (เมล็ดหรือผล)

โดยสูตรส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดการใช้ และ

ขนาดบรรจุต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร

และยา

กลุ่มที่ 2 ให้ตำรับยาแผนโบราณซึ่งมีชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ

สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือน และขนาดบรรจุ ต่อไปนี้เป็น

ยาสามัญประจำบ้าน

Page 37: หายป่วยด้วยยาแผนไทย · 2019-01-24 · หายป่วยด้วยยาแผนไทย ก า ร อ่ า น คื อ ร า

◆ ยาแสงหมึก ◆

ส่วนผสม:

หมึกหอม จันทน์ชะมด

ลูกกระวาน จันทน์เทศ

ใบพิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์

กานพลู ใบสันพร้าหอม

หัวหอม ใบกะเพรา

สรรพคุณ:

แก้ไอ ขับเสมหะ

เมื่อละลายกับนํ้าลูกมะแว้งเครือ

หรือลูกมะแว้งต้น

20 ห า ย ป่ ว ย ด้ ว ย ย า แ ผ น ไ ท ย

ตัวอย่างรายละเอียดของยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตำรับ

หนึ่งที่มีชื่อว่า