Top Banner
ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหมศรสวรรค์ ปินะกาสัง
23

ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

Mar 10, 2016

Download

Documents

ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่
Welcome message from author
This document is posted to help you gain knowledge. Please leave a comment to let me know what you think about it! Share it to your friends and learn new things together.
Transcript
Page 1: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

ปราสาทศพสันป่าตอง เชียงใหม่

ศรสวรรค์ ปินะกาสัง

Page 2: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

“ในอดีตไม่มีการจำาหน่ายปราสาทศพ คนในหมู่บ้านจะมาช่วยกันทำาเพราะเชื่อว่าจะได้

บุญกุศล ปราสาทในอดีตจึงมีความละเอียดงดงามมาก แต่ในปัจจุบันการสร้างปราสาทศพจะ

สร้างเพื่อความสะดวกและเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นสำาคัญ จึงทำาให้ปราสาทศพในปัจจุบัน

ลดความงามลงเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต ทว่าการทำาในปัจจุบันก็ยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างลักษณะใน

ส่วนที่สำาคัญๆไว้ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกตัดทอนออก”

Page 3: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

บุษบกปราสาท (ปราสาทศพ) ถือเป็นองค์ประกอบหลักของประเพณีเผาศพปราสาท ลักษณะโดยทั่วไปมักทำาเป็นรูปทรงปราสาท

หรือทรงจัตุรมุขที่มีหลังคาลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ไม่มีการปิดผนัง อาจมีผ้าม่านห้อยประดับอยู่ข้างเสา โดยมีเสา

ตั้งรับเป็นช่วง ๆ และมีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง

วัสดุที่ใช้ในส่วนโครงสร้าง เป็นไม้เนื้ออ่อนที่ไหม้ไฟง่าย ส่วนประดับตกแต่งจะใช้กระดาษสีตัดฉลุ

ประดับเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม

บุษบกปราสาท ถือเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนกลางของจักรวาลตามคติไตรภูมิ

แต่ในคติระดับชาวบ้านถือว่า บุษบกปราสาทเป็นการจำาลองวิมานบนสวรรค์มาใช้กับผู้ตาย โดยเชื่อว่าการ

เผาศพปราสาทจะส่งผลให้วิญญาณของผู้ตายได้ขึ้นไปเสวยสุขบนสรวงสวรรค์

ความเชื่อ

ของการสร้างปราสาทศพ

การเผาปราสาทไปพร้อมกับผู้ตาย คือ เพื่อให้ผู้ตายจะได้มีที่อยู่ ที่อาศัยต่อไปในภายภาคหน้า

โดยที่อยู่อาศัยนั้นก็มีความสวยงามมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม เหมือนกับปราสาทที่เผาไป

เพื่อการได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดีกว่า การเกิดเป็นมนุษย์คือ การเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม ซึ่งเป็นความเชื่อในทางศาสนาพุทธ ดังนั้น เมื่อ

เกิดการตายของบุคคลอันเป็นที่รัก จึงได้มีการสร้างปราสาทขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่อาศัยในภาคภาคหน้า อนึ่ง

ปราสาทมิได้เป็นที่อาศัยของบุคคลธรรมดา หากเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีฐานันดรศักดิ์ชั้นสูง หรือ ในหมู่เทวดา

บนสวรรค์ ซึ่งเป็นความเชื่อในทางศาสนาอีกเช่นกัน ดังนั้น เมื่อญาติผู้ตายได้ทำาการเผาศพไปพร้อมๆ กับ

ปราสาท นั่นหมายถึง การที่พยายามทำาให้ผู้ตายผู้เป็นที่รักได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดีกว่า เช่น ไปเกิดบน

สวรรค์ ซึ่งเป็นที่สถิตของเหล่าเทพเทวดานั่นเอง

Page 4: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่
Page 5: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

รูปแบบปราสาทศพ

แต่ก่อน การทำาปราสาทศพ คนจะมาช่วยกันทำาไม่มีขายเหมือนในปัจจุบัน

ซึ่งมีความเชื่อว่าทำาแล้วจะได้บุญกุศล ฉะนั้นปราสาทในอดีตจะมีความสวยงาม

ละเอียด งดงามมาก หากในปัจจุบันในเรื่องของรายละเอียดลวดลาย รวมทั้ง

เครื่องเคราต่าง ๆ ของปราสาทถูกตัดทอนลง เพื่อความสะดวกและที่สำาคัญ คือ

เรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ เพื่อธุรกิจเป็นสำาคัญ ดังนั้น อะไรที่พอ

จะประหยัดต้นทุนได้ก็จะทำา จึงทำาให้ปราสาทในปัจจุบันลดความงามลง เมื่อ

เปรียบเทียบกับอดีต ทว่า การทำาในปัจจุบันก็ยังคงไว้ซึ่งโครงสร้าง ลักษณะใน

ส่วนที่สำาคัญ ๆ ไว้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือ ถูกตัดทอนออก

Page 6: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่
Page 7: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

ทรงกระโจม

ปราสาทศพรูปแบบนี้ ถือว่าเป็นต้นแบบ หรือลักษณะของปราสาทในระยะแรก ๆ ที่มีการสร้าง

ปราสาทขึ้นมา ซึ่งปราสาททรงกระโจมพัฒนามาจากแมวควบ (แมวครอบ) ที่คลี่คลายมาเป็นทรงกระโจม

ในปัจจุบัน ปราสาทในรูปแบบนี้นิยมกันมากในอดีต เนื่องจากสะดวกในการสร้าง และใช้วัสดุไม่สิ้นเปลือง

เป็นการประหยัดไปในตัว อีกทั้งยังสวยงาม และตกแต่งลวดลายได้ง่าย ในส่วนฐานจะเป็นฐานธรรมดา ที่

เรียกว่า “ฐานคอกหมู” มีลักษณะเป็นฐานซ้อนชั้นกันสองชั้นเรียบ ๆ ไม่มีการย่อมุมใด ๆ ทั้งสิ้น จึงง่ายต่อ

การทำา และการตกแต่งลวดลาย โดยส่วนบนสุดเป็นยอดปราสาท มีลักษณะเป็นทรงจอมแหชะลูดขึ้นไป

ยอดบนสุดเป็นรูปดอกบัวตูม

Page 8: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

ทรงจั่วชั้นเดียวสี่ด้าน

ปราสาทศพรูปแบบนี้เริ่มมีวิวัฒนาการและพัฒนารูปแบบจากทรงกระโจม มาเป็นทรงปราสาทมีจั่ว

แบบในงานจิตรกรรมที่ชาวบ้านมักจะพบเห็นจากผนังวิหาร ผนังโบสถ์ตามวัดต่าง ๆ และด้วยความคิดที่ว่า

ปราสาทเป็นที่อยู่ของเทวดานางฟ้าที่อยู่บนสวรรค์ ซึ่งด้วยความต้องการที่จะให้ผู้ตาย ซึ่งเป็นญาติของตนได้

ขึ้นสวรรค์ จึงเกิดการสร้างปราสาทรูปแบบนี้ขึ้นมาตามที่เคยเห็นในภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ คล้าย

กับปราสาททรงกระโจม ต่างกันเพียงแต่ในส่วนของหลังคา ที่เริ่มมีพัฒนาการมาเป็นทรงจั่วที่มีลักษณะเป็น

จัตุรมุข คือมีจั่วสี่ด้าน ตามศัพท์ที่ช่างเรียกกันนั้น เรียกว่า ปราสาท 1 ชั้น 4 ด้าน เสา 8 ต้น ซึ่งจะพบเห็น

ว่ามีเสาอยู่จำานวนแปดต้น เรียงคู่กันสี่คู่ ในส่วนฐานนิยมใช้ฐานธรรมดา ถือเป็นปราสาทที่ทำายากขึ้นจาก

ปราสาททรงกระโจม และมีราคาสูงกว่า

Page 9: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

ทรงจั่วสองชั้นสี่ด้าน

ปราสาทรูปแบบนี้ มีทรวดทรงคล้ายกับปราสาทรูปทรงกระโจม และรูปแบบทรงจั่วชั้นเดียวสี่ด้าน คือ

ในส่วนของฐานล่าง และส่วนของตัวปราสาทที่มีลักษณะเป็น ฐานแบบธรรมดา หรือฐานคอกหมู อีกทั้งตัว

ปราสาทที่มีเสา 8 ต้น เรียงคู่ขนานกันตามความยาวของส่วนฐาน ปราสาทรูปแบบทรงจั่วสองชั้นสี่ด้านฐาน

ธรรมดา จะต่างจากรูปทรงอื่น ๆ คือ ในส่วนของหลังคาจะมีลักษณะเป็นหลังคาจั่ว ซ้อนชั้นกันสองชั้นขึ้นไป

โดยมีเสารองรับน้ำาหนักเพียงแปดต้นเท่านั้น โดยในส่วนปลียอดก็มีลักษณะที่เหมือนกับปราสาทรูปแบบอื่น

ทุกประการ

Page 10: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

ทรงจั่วสามชั้นสี่ด้าน

มีลักษณะเป็นปราสาทหลังคาซ้อนชั้นสามชั้น เป็นทรงจัตุรมุข ที่บริเวณฐานมีการย่อมุม มักใช้เป็น

ฐานแท่นแก้ว มีลักษณะคล้ายกับฐานแท่นพระในวิหารมาก ปราสาทในลักษณะนี้นิยมใช้กันในกลุ่มคนที่มี

ฐานะปานกลางจนถึงมีฐานะดี เพราะมีราคาสูงขึ้นมาจากปราสาทรูปแบบทรงแรก ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว อีก

ทั้งวิธีการทำาก็ยากและสลับซับซ้อนกว่ามาก วัสดุที่ใช้ก็ต้องใช้ในจำานวนที่มากกว่าด้วยเช่นกัน

ปราสาทรูปแบบนี้มีลักษณะทรวดทรงดังนี้ คือ บริเวณฐานล่างจะนิยมฐานทรงแท่นแก้ว ชั้นต่อมาจะ

เป็นส่วนของตัวปราสาท ในส่วนนี้จะมีเสารองรับหลังคาจำานวน 16 – 20 ต้น ทรวดทรงโดยรวมจะคล้ายกับ

ปราสาททรงจัตุรมุขทั่วไป ซึ่งมีหลังคาซ้อนชั้นสามชั้น ปลียอดมีลักษณะเป็นทรงจอมแหสูงชะลูดขึ้นไป ใน

ส่วนบนสุดเป็นรูปคล้ายดอกบัวตูมมักจะใช้ประกอบร่วมในพิธีศพกับนกหัสดีลิงค์ ซึ่งมักใช้ในงานพิธีศพของ

พระชั้นผู้ใหญ่

Page 11: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่
Page 12: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่
Page 13: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

ส่วนประกอบ

สำาคัญของปราสาทศพ

Page 14: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

“โก่งคิ้ว” เป็นส่วนประกอบที่สำาคัญอย่างหนึ่ งของ

ปราสาทศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบปราสาทศพ

ทรงจั่วสองชั้นสี่ด้านฐานย่อมุม และปราสาทศพทรง

จั่วสามชั้นสี่ด้าน ซึ่งจะมีรายละเอียดมากกว่าปราสาท

ศพรูปแบบอื่นๆ การใช้โก่งคิ้วในปราสาทศพ อาจมา

จากการพบเห็นโก่งคิ้วที่บริเวณโบสถ์ วิหารตามวัด

ต่างๆในล้านนา ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำาวันของช่าง

(สล่า) จึงได้คิดดัดแปลงหรือนำาลักษณะของโก่งคิ้วมา

ประดับไว้กับปราสาทศพด้วย

“ช่อฟ้า” เป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด

สำาหรับปราสาทศพแบบที่มีจั่ว คือจะต้องประดับ

ด้วยช่อฟ้าในทุกๆจั่ว การใช้ช่อฟ้าร่วมกับปราสาท

ศพ สืบเนื่องมาจากความคิดที่ว่า ปราสาทเป็นที่อยู่

ของบุคคลชั้นสูง จึงมีการประดับประดาช่อฟ้า และ

เมื่อเกิดการตายขึ้น โดยญาติได้ฌาปนกิจผู้ตายใน

ปราสาท แสดงถึง ความต้องการให้ผู้ตายได้ขึ้นสวรรค์

หรือ ไปสู่สุขคติภูมิ โดยได้อยู่ภายในปราสาทซึ่งเป็น

ที่อยู่ของเหล่าเทพ เทวดา นั่นเอง เมื่อมีการใช้ช่อฟ้า

ในปราสาทศพ ก็จะต้องมีใบระกา-หางหงส์ในบริเวณ

เดียวกันอย่างแน่นอน เพราะถือได้ว่า เป็นสูตรสำาเร็จ

ของการประดับตกแต่งของไทยก็ว่าได้

Page 15: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

“ใบระกา – หางหงส์” นอกจากจะพบว่า “หางหงส์” ประดับอยู่

บริเวณจั่ว หรือปลายสุดของป้านลมแล้ว ยังพบการ

ใช้ “หางหงส์” ประดับตกแต่งในบริเวณส่วนยอดของ

ปราสาทศพอีกด้วย โดยใช้ตกแต่งที่บริเวณมุมของชั้น

ฐานยอด ซึ่งก่อให้เกิดความงดงามที่สมบูรณ์แบบ

“คันทวย” เนื่ อ งมาจากรูปทรงของปราสาทศพที่มี

ลักษณะเป็นเรือนจั่วซ้อนชั้น คล้ายกับ โบสถ์วิหาร

ของวัด เพื่อทำาหน้าที่ถ่ายเทน้ำาหนักหรือค้ำายันชายคา

โบสถ์ วิหารต่าง ๆ ดังนั้นจึงปรากฏคันทวยอยู่เสมอ

ถึงแม้ว่า ไม่มีหน้าที่ใช้สอยก็ตาม คันทวยที่ใช้ประดับ

ตกแต่งปราสาทศพ มีโครงสร้างทำาด้วยกระดาษ และ

ลวดลายประดับตกแต่งก็ทำาด้วยกระดาษสีต่างๆ

และด้วยลักษณะที่สวยงามของคันทวย จึงช่วยทำาให้

ปราสาทศพแต่ละหลังดูสวยงามและสมบูรณ์แบบ

มากยิ่งขึ้น

“กระจัง” ถือเป็นส่วนประกอบที่เป็นส่วนช่วยประดับ

ตกแต่งให้หลังคาของปราสาททุกรูปแบบดูสมบูรณ์

และสวยงาม มีลักษณะเป็นลายซี่สลับฟันปลา ใน

ส่วนที่เป็นลวดลายคล้ายกับลายกาบบัวของบริเวณ

เสา แต่มีลักษณะซ้อนทับสับหว่างกัน

Page 16: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

“ใบโล” มักจะพบคู่กับกระจังโดยใบโลจะมีหน้าที่สับ

ระหว่างกระจังเพื่อให้แลดูมีจังหวะสวยงาม มีลักษณะ

คล้ายกับลายดอกบัวตูมที่มีกลีบดอกซ้อนชั้นลด

หลั่นกันไป โดยมีฐานแผ่กว้างออก ซึ่งถือเป็นจุดที่ใช้

สังเกตความแตกต่างระหว่างลายดอกบัวตูมกับใบโล

ได้ง่าย

“ตุ้มห้อย” มักอยู่บริเวณหลังคาปราสาทศพทุกหลัง

เพื่อเพิ่มความงาม และลดความแข็งกระด้างของ

โครงสร้างของปราสาท เนื่องจากเวลาที่มีการชักลาก

ปราสาท ตุ้มห้อยจะไหวตัวตามแรงชักลาก ทำาให้

ปราสาทดูอ่อนไหว งดงามยิ่งขึ้น

“กาบเสา” มักจะพบอยู่บริเวณโคนเสาทุกต้น ถือเป็นส่วน

ประดับตกแต่งที่ขาดไม่ได้สำาหรับปราสาทศพทุกหลัง

มีลักษณะคล้ายกับกาบกล้วย สาเหตุที่นิยมประดับ

กาบเสา มาจากการประยุกต์จากธรรมชาติก็และช่วย

ลดความแข็งกระด้างของเสาที่มีลักษณะตั้งตรงให้ดู

บอบบางลง

Page 17: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

ลวดลายที่ใช้ในการตกแต่งปราสาทศพ มีวิวัฒนาการโดยน่าจะเริ่มจากลายพรรณพฤกษา

แล้วเกิดความคิดสร้างสรรค์จากสภาพแวดล้อมรอบตัว นำามาดัดแปลงจนเป็นลวดลายต่างๆใน

ปัจจุบัน ลายไหนที่นิยมและทำาได้รวดเร็วก็จะเป็นลายที่ถูกนำามาตกแต่งมากที่สุด เพราะปัจจุบัน

เวลาเป็นเรื่องสำาคัญในการสร้างปราสาทศพเพื่อธุรกิจ

ลวดลายส่วนใหญ่จะถูกประดิษฐ์ขึ้นตามความคิดสร้างสรรค์ของช่าง และปะติดตามความ

พอใจของช่าง แต่มักจะมีรูปแบบที่คล้ายๆกัน เช่น ลวดลายบริเวณหน้าบัน(หน้าแหนบ) ลวดลาย

บริเวณโก่งคิ้ว เป็นต้น สำาหรับบริเวณหน้าแหนบที่ใช้กันอยู่บ่อย ๆเป็นที่นิยมได้แก่ ลายเทพพนม

ลายช้างเอราวัณ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น สำาหรับบริเวณโก่งคิ้ว และเหนือโก่งคิ้ว ก็มักจะเป็น

ลายหน้ากาฬ หรือลายพรรณพฤกษา เป็นส่วนใหญ่

ลวดลาย

หน้าบันปราสาทศพ

Page 18: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

“ลายเทพพนม”

มีลักษณะเป็นลายเทพพนม รูปแบบคล้ายของภาคกลาง เพียงแต่ทำาการตัดทอนในรายละเอียดที่ไม่

จำาเป็นออกไป รูปแบบของลายเทพพนมที่ติดอยู่บริเวณ “หน้าแหนบ” มีลักษณะเป็น เทวดาพนมมือบนเศียร

สวมชฏา เบื้องล่างจากบริเวณเอวลงไปเป็นลายกนก หรือลายพรรณพฤกษา โดยรูปแบบถูกกำาหนดตาม

ลักษณะของหน้าแหนบ คือ เป็นสามเหลี่ยม สีที่นิยมใช้คือ สีเขียว ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากความคิดความเชื่อ

เรื่องจักรวาลวิทยาก็เป็นได คือ ในส่วนของพระอินทร์ ผู้สถิตอยู่เหนือเขาพระสุเมรุ นั่นเอง

“ลายช้างเอราวัณ”

มีลักษณะเป็นภาพช้างเอราวัณ หรือช้างสามเศียร เพียงแต่ตัดทอนรายละเอียดที่ไม่จำาเป็นออก

ไป จากการที่ช้างเอราวัณถูกนำามาประกอบบริเวณ “หน้าแหนบ” นี้ เนื่องจาก ช้างเอราวัณเป็นช้างทรงของ

พระอินทร์ นั่นเอง

“ลายพุ่มข้าวบิณฑ์”

มีลักษณะเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ คล้ายกับของภาคกลาง เพียงแต่ทอนในรายละเอียดส่วนที่ซับซ้อน

ออกไป เพราะลายที่ได้นั้นต้องผ่านการฉลุกระดาษ หากรายละเอียดมากไป จะเป็นการยุ่งยากในขั้นตอน

การผลิต

Page 19: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

“ลายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ”

มีลักษณะเป็นลายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ โดยรูปแบบมีลักษณะเป็นภาพพระอินทร์ครึ่งตัว คือ

ตั้งแต่เศียรลงมาถึงเอว ต่อมาเบื้องล่างเป็นหัวช้างเอราวัณ สันนิษฐานได้ว่าเป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจาก

ภาคกลาง การสอบถามพบว่า ที่เป็นลายเทพพนม หรือลายพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ คงสืบเนื่องมา

จาก พระอินทร์เป็นเทพที่อยู่เหนือสุดเขาพระสุเมรุ และช้างเอราวัณก็เป็นพาหนะของพระอินทร์ ดังนั้น จึงจัด

วางให้ตำาแหน่งอยู่สูงขึ้นไป คือ อยู่ในบริเวณหน้าบัน สรุปแล้วเป็นไปตามคติความเชื่อเกี่ยวกับ เขาพระสุเมรุ

นั่นเองจากก

“ลายพรรณพฤกษา”

มีลักษณะเป็นลวดลายพรรณพฤกษา เช่น ดอกไม้ เถาไม้ ดอกพุดตาล ดอกบัว เป็นต้น ถือได้ว่ามี

ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์มากที่สุด หากจะมองในแง่ของช่างพื้นเมือง เนื่องจากในแถบล้านนานิยมประดิษฐ์

ลวดลายพรรณพฤกษากันมากนั่นเอง ดอกบัวหรือดอกพุดตานมักจะพบบริเวณฐานล่าง

Page 20: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

สีที่ใช้กับปราสาทศพ

Page 21: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

เพื่อบ่งบอกวัยของผู้ตาย

ผู้ตายที่อายุน้อย ในระหว่างเด็ก วัยรุ่น ไปจนถึง

อายุ 30 ปี มักจะนิยมใช้สีสด ๆ เช่น สีแดง, สีทอง,

เขียว, เหลือง และสีชมพูสด เป็นต้น

ผู้ตายที่มีอายุประมาณ 30-60 ปี มักจะนิยม

สีที่ไม่สดนัก หรือสีที่ไม่ฉูดฉาด เช่น สีขาว, สีเงิน,

สีน้ำาเงิน, สีเหลือง และสีชมพูอ่อน เป็นต้น

ผู้ตายที่เป็นผู้สูงอายุ มักนิยมใช้ปราสาทสีขาว

ซึ่งรวมไปถึงผ้าม่านสีขาว และสีพื้นของปราสาทก็จะ

เป็นสีขาว สำาหรับในส่วนของลวดลายอาจใช้สีเงิน หรือ

สีทองประกอบ

เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้ปราสาท

การใช้สีในลักษณะนี้ มักจะนิยมใช้สีฉูดฉาด

เช่น สีแดง, สีเขียว, สีบานเย็น, สีทอง และสีเงิน เป็นต้น

โดยการนำาสีเหล่านี้มาทำาการประดับตกแต่งทั้งใน

ส่วนของสีพื้น และลวดลายประดับตกแต่ง ซึ่งมักจะใช้

สีที่ตัดกัน เพื่อให้เกิดความเร้าใจ และดึงดูดสายตาให้

โดดเด่น เช่น การใช้สีพื้นแดง และใช้สีทองในส่วนของ

ลวดลาย เป็นต้น

เพื่อลดความแข็งกระด้าง

จะพบการใช้สีในลักษณะนี้มาก ใน

ส่วนของตัวปราสาท คือ บริเวณผ้าม่าน ซึ่งเป็น

ส่วนประกอบสำาคัญของปราสาทศพ ผ้าม่านที่

ใช้ประดับตกแต่งส่วนใหญ่จะมีสีที่ไม่ฉูดฉาด

นัก คือ จะเป็นสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว, สีเหลือง,

สีชมพู, สีฟ้า เป็นต้น เนื่องจากสีดังกล่าว แลดู

อ่อนหวานจึงเป็นการช่วยลดความแข็งกระด้าง

ของปราสาทศพได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ

ความแข็งกระด้างในส่วนของเสา เป็นต้น

Page 22: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่

สัญลักษณ์

ที่เกี่ยวข้องกับปราสาทศพ

นกหัสดีลิงค์ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะเป็นสัตว์ผสม ตัวเห็นหงส์ แต่ส่วนหัวเป็นช้าง มีขนาด

ใหญ่มาก และกินช้างเป็นอาหาร นกหัสดีลิงค์นี้สามารถบินได้สูงถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เชื่อกันว่า เมื่อเผาศพ

ด้วยบุษบกฐานนกหัสดีลิงค์แล้ว นกหัสดีลิงค์จะเปรียบเสมือนเป็นพาหนะที่สามารถนำาเอาดวงวิญญาณของ

ผู้ตายขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ได้

สำาหรับบุษบกฐานนกหัสดีลิงค์นั้น จะใช้ได้แต่เฉพาะพระสงฆ์ หรือผู้ครองนครเท่านั้น บุคคลธรรมดา

ไม่สามารถทำาได้ เพราะถือว่าเป็นขึด คือ เป็นเสนียดต่อผู้ตาย และผู้ทำาให้

สัตว์หิมพานต์ เป็นสัญลักษณ์ประกอบในส่วนประกอบหลัก โดยเป็นการแสดงให้เห็นตามคติจักรวาลอันมีเขา

พระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง และมีป่าหิมพานต์อยู่เบื้องล่าง เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเน้นระบบจักรวาลให้เด่นชัด

ยิ่งขึ้น ลักษณะโดยทั่วไป จะทำาเป็นโครงไม้ไผ่สาน หุ้มด้วยกระดาษสี โดยจะใช้ร่วมกับขบวนแห่ปราสาทศพ

หรือวางประดับรอบบุษบกปราสาทตั้งศพ และจะใช้เผาไฟพร้อมกับปราสาทนั้น

สัตว์ประจำาปีเกิด นิยมทำาขึ้นเพื่อเป็นรูปสัญลักษณ์แทนตัวผู้ตาย ถ้าผู้ตายเกิดในราศีใด ก็จะทำาสัตว์ประจำาตามราศี

นั้น ๆ โดยส่วนใหญ่มักจะทำาในระดับตั้งแต่ พระสงฆ์ เจ้าเมือง จนถึงระดับคหบดี ชาวบ้าน โดยทั่วไปมักไม่

นิยมทำากัน แต่จะมีเพียงบุษบกปราสาทเท่านั้น ในบางครั้งอาจมีสัตว์ทั้ง 12 ราศี ร่วมขบวนลากปราสาท

เพื่อเป็นการแสดงฐานะหรือแสดงให้เห็นว่า ผู้ตายเป็นผู้มีเกียรติ มีลูกศิษย์และผู้เคารพนับถือมากมาย

Page 23: ปราสาทศพ สันป่าตอง เชียงใหม่